บุญนิยมจากโลกาภิวัฒน์ ตอนที่ ๑ หน้า ๑
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๗ เนื่องในงานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ ๑๘

เอ้าตั้งใจฟัง เราจะเริ่มต้นบุญนิยมจากโลกาภิวัฒน์ อาตมาได้พยายามตั้งชื่อว่า "บุญนิยม" ขึ้นมานี่ ถ้าใคร มีไหวพริบก็คงจะเข้าใจได้ทันทีว่าอาตมาไม่ได้ทิ้งโลก ที่เอาโลกาภิวัฒน์มาพูด ก็คือภาษาของชาวโลก ทั้งหมด หลายคนก็บอกว่าไม่ใช่ธรรมะ ก็ถ้าเมื่อคุณฟังบุญนิยมเป็นธรรมะมาตลอดเวลา คำว่า "ทุนนิยม" ก็คือธรรมะ ฟังดีๆ เพราะว่า "บุญนิยม" นี่ก็ตั้งคู่เทียบคู่เคียง

ซึ่งอาตมาก็พูดถึงอยู่เสมอ ว่าเป็นตัวที่จะเอาเข้ามาแก้ไขคำว่า "ทุนนิยม" เพราะฉะนั้นพอถึงวัน ถึงโอกาส อาตมาก็หยิบเรื่องของทุนนิยมมาพูดกันเต็มที่ ก็คือบทความ "โลกาวิวัฒน์ ๒,๐๐๐" นั่นแหละ พอได้ฤกษ์ ได้โอกาสก็หยิบขึ้นมาพูด เมื่อคุณเข้าใจ "บุญนิยม" คุณจะต้องเข้าใจ "ทุนนิยม" เพราะเหมือนกับที่พูดแล้วว่า ในโลกุตระนั้นมีโลกียะอยู่ในนั้นเสร็จ แน่นอนที่สุดพวกทุนนิยม เขาไม่รู้จักบุญนิยม ในโลกียะเขาไม่รู้จัก โลกุตระ เพราะในโลกียะมันไม่มีโลกุตระ หรือในทุนนิยม มันไม่มีบุญนิยม แต่ในบุญนิยมนั่นมันมีทุนนิยม มันมีทุนนิยมอยู่ในนั้นเสร็จ

เพราะฉะนั้นคนที่ศึกษามา ฟังธรรมะมา พออาตมาเอา "โลกาวิวัฒน์ ๒,๐๐๐" มาพูด ยี้เลย ฟังไม่ได้ ไม่รู้เรื่อง แสดงว่า เรียนมาตลอดเวลาไม่รู้เรื่อง เรียนมาตลอดเวลาไม่ได้เกิดปัญญา เรียนมาตลอดเวลา ไม่ได้เป็นธรรมะ ไม่ได้รู้จักธรรมะ

ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นน่ะ เรียนรู้จักสมมติสัจจะ เรียนรู้จักรูป นาม เรียนรู้จักสิ่งที่เป็นที่มี แล้วเราก็อยู่ เหนือสิ่งที่เป็นที่มี จนกระทั่งจิตว่าง จิตมันไม่ไปติดไปยึดอะไร สิ่งที่เป็นที่มีเหล่านั้น ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีอำนาจ ที่จะมาครอบงำจิตของผู้ที่บรรลุแล้วนั้น แต่เราจะไปห้าม ให้อะไรต่างๆ มันไม่มีไม่ได้

เพราะฉะนั้นพระอริยะยิ่งปฏิบัติ ยิ่งเรียนรู้ ก็ยิ่งจะรู้จักสิ่งที่มีในโลกมากขึ้นๆ ยิ่งเกิดปัญญา ยิ่งมีโลกวิทู ยิ่งมีพหูสูต ยิ่งมีความรู้รอบ ความรู้กว้าง หรือความรู้ที่ชัดเจน แต่ที่ว่าเราจะต้องตัด หรือว่าเราจะต้องตีกรอบ เราจะต้องไม่ขยายให้กว้างออกก่อน ก็เพราะว่าอินทรีย์พละของแต่ละคนที่ปฏิบัตินั้นน่ะ จะอ้าขาผวาปีก พอเริ่มต้นก็รู้มันไปเสียทั้งหมด แล้วก็รู้ยาวเหยียด รู้เหมือนอย่างที่คนโลกๆ เขาศึกษานี่ เขาจะรู้กว้างๆ ไป แต่เขาพ่ายแพ้ไปตลอด เขาไม่เคยอยู่เหนือมันได้สักอย่าง เขาก็มีแต่แบนกับแบน มีแต่ตายกับตาย เพราะถูก สิ่งเหล่านี้ทับถม หลุดไม่ได้มีแต่ผูก มีแต่มัด มีแต่ทำให้ตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้นไปตลอด เพราะวิธี การเรียน ของเขา เขาไม่ได้เรียนอย่างละ อย่างวาง แต่เขาเรียนอย่างติด อย่างยึด มันจึงผูก มันจึงพัน มันจึงยิ่ง ทำให้เขายิ่งยุ่งยิ่งหนักยิ่งหนา

แต่ศาสนาหรือโดยเฉพาะศาสนาพุทธนั้น เรียนรู้แล้วก็ละก็วาง เพราะฉะนั้น เราเองเราไปรู้อะไร หรือเราไปรับ อะไรมาตั้งเยอะตั้งแยะแล้ว เราต้องตีกรอบก่อน ขีดเส้นก่อนว่า เราอย่าเพิ่งน่ะ บางที บางอัน บางอย่าง เราไปรู้มากๆ แล้ว เราก็ยังสู้มันไม่ได้ หรือว่าไปรับมันมาไว้มาก่อนแล้วตั้งมากๆ ติดมันตั้งมากๆ แล้ว เราก็ตีกรอบว่า เราเอาแค่นี้ก่อน เรียนรู้เท่านี้ แต่รู้น่ะไม่ใช่ว่าไม่รู้ ศาสนาพุทธไม่ใช่ว่า หลับหูหลับตา แล้วก็ทิ้ง มันไปดื้อๆ ไม่ใช่ รู้มันให้เท่าทันเลยว่ามันก็คือมัน อะไรคืออะไร

ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างอบายมุขนี่มันอะไร กินเหล้าสูบยาคืออะไร ลิปสติกคืออะไร เครื่องทาหน้าคืออะไร เสื้อผ้า คืออะไร ไม่ใช่ว่าทิ้งมันไปหมดดื้อๆ ง่ายๆ

แต่ทีนี้ก็มาหัดวางมาหัดปล่อยดูซิ พอหัดปล่อยหัดวางมันก็จะปล่อยจะวาง ก็ไม่ได้หมายความว่า เราเอง เราจะต้องไปทำลายสิ่งเหล่านั้น ก็ไม่ถึงทำลายสิ่งเหล่านั้น ก็ให้คนไปใครเขาจะติดจะยึดก็ว่าไป เราก็มักน้อย อาศัยมันแต่น้อยลงมาเรื่อยๆ แล้วมันก็มีอยู่ในโลกนี้แหละ มันมีมามาก มันมีมามีฤทธิ์ทางรูป ทางรส ทางกลิ่น ทางเสียง ทางสัมผัส มีอย่างไรๆ มาเราก็เรียนรู้มันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าใจฤทธิ์เดชของโลกีย์ ฤทธิ์เดชของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ฤทธิ์เดชของค่านิยม ที่คนไปหลงนิยม ไปหลงยึดหลงติดเอาไว้ จนเรียกทางภาษาธรรมะว่าอุปาทาน คือติดยึด ฉวยเอาไว้ไม่ปล่อยอุปาทาน ติดยึด ก็ค่านิยมทั้งนั้นแหละ สมมติกันขึ้นมาจะสวย จะไพเราะ จะชื่นใจด้วยกลิ่น จะอร่อยด้วยรส จะเป็นสุขเพราะได้สัมผัสทางกาย หรือแม้แต่จะเป็นสุขเพราะได้ปั้นขึ้นมาทางจิต ปั้นเนรมิตสร้าง คิดฝัน อะไรก็ตามใจเถิดขึ้นมาแต่ทางจิต แล้วเราก็เป็นสุข อร่อย หรือได้สมใจ ตามที่เราไปยึดไว้แล้วในจิต จะต้องเอาอย่างนี้ จะต้องเป็นอย่างนี้ จะต้องได้อย่างนี้ ต้องมีอย่างนี้

เมื่อไม่ได้ไม่เป็น ไม่มีก็ทุกข์ ไม่สมใจ ไม่ชอบใจอะไรต่างๆ ก็ตาม แล้วก็เรียนรู้ ไปในสิ่งที่มันมาประกอบ ด้วยกับชีวิต แล้วเราก็ไปหลงเขรอะขระ เยอะแยะหอบหิ้วอะไรๆ ก็จะต้องมีมาก มีมาย มาพิสูจน์เพื่อปลด เพื่อปล่อยออก ลดละแม้แต่เป็นวัตถุรูป เป็นอะไรต่ออะไรออกไปเรื่อยๆ แล้วเราก็มี ชีวิตอยู่ลองดู ตั้งแต่ ใกล้ตัว ตั้งแต่รู้ว่ามันรู้สึกหยาบ รู้สึกได้ด้วยปัญญาว่า เอ้อ ! อย่างนั้นมันไม่ต้อง ไปยึด ติดเอาไว้แล้ว ปล่อยเถิดเลิกเถิด ไม่ต้องมีไม่ต้องเป็นก็ได้อย่างนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งเห็นว่าโอ ! ชีวิตนี้มันเบา ชีวิตนี้ ไม่ต้องไปหอบ ชีวิตนี้ไม่ต้องไปหาม ไม่ต้องไปเป็น ไม่ต้องไปมีอย่างเขาเป็นเขามี มันก็สมบูรณ์ ในตัวมันแล้ว กินมีรสแค่นี้ตามจริงของมัน ไม่ต้องไปปรุงอะไรมาก จนกระทั่งกินอาหาร ก็กินตามธรรมชาติ ข้าวหุงมา ก็คือข้าวหุง มีผักก็กินกับผัก กินคนละที ข้าวก็กินที ผักก็กินที ผลไม้ก็กินที กินเข้าไปแล้ว ในท้อง มันไม่เคย บอกว่า เฮ้ย ! ไม่ทำงาน เอ็งกินมาไม่ประสม เอ็งกินมาไม่ปรุงแต่ง ข้าไม่ทำงาน ท้องมันไม่เคย ว่าเลย มีแต่มันทำหน้าที่สังเคราะห์ แล้วก็ได้ธาตุที่ดีมา มันจะบอกว่าสบายเลยไม่ยุ่งงานนี้ โอ้โฮ ! แต่ก่อนนี้ มันประสมเละมาเลย โอ๊ย ! กว่าจะเป็นผักมันเอาไปต้ม มันเอาไปดอง เอาไปแกง มันเอาไปยำ มันเอาไป ผสมเค็ม ผสมเปรี้ยวให้เข้าเนื้อให้ทาสีให้พอกกันมา โอ๊ย ! กว่าจะมาสังเคราะห์ออก ถ้ามันบ่นได้ มันคงบ่น อย่างนั้น กว่าจะสังเคราะห์เอาธาตุแท้ๆ มา แล้วก็เอาไปเลี้ยงเซลล์ประสาทร่างกาย ธาตุที่เป็นธาตุอะไร ที่ใช้ในร่างกายนี้ โอ ! ยุ่งฉิบหายเลย ถ้ามันบ่นได้มันคงบ่นอย่างนี้นะ แต่เจ้าคนนี่ไม่ค่อยรู้เรื่อง

ฉะนั้น เรามารู้เรื่อง แล้วเราก็สะอาด ร่างกายก็สบายซ้อนเนียนจริงๆ ไม่ใช่เดา การจะสังเคราะห์ เพื่อที่จะ แยกแตกตัว จะอะไรออกมานี่ มันก็เป็นแคลอรี่ที่เป็นพลังงานที่มันจะไปทำงาน ถ้าเราไม่ไปทำเลอะอย่างนั้น มากมาย มันก็ทำงาน แต่ใช้แคลอรี่แต่น้อย มันก็ง่ายน่ะซิ ท้องไส้ก็สบาย อะไรก็สบาย เพราะมันไม่ต้อง ยุ่งมาก น้ำย่อยมันเวียนหัวเป็นเหมือนกันน่ะ ใช่ไหม

ถ้าเผื่อว่าเราไม่ทำให้น้ำย่อยมันเวียนหัว ท้องไส้เราก็ไม่ปั่นป่วน ถ้าน้ำย่อยมันเวียนหัว ท้องไส้เรา ก็ปั่นป่วน โธ่ ! เวียนหัวฉิบเป๋งเลย กินอะไรมาให้ย่อย น้ำย่อยมันก็อาจจะบ่นอย่างนั้นก็ได้ นี่พูดเป็นภาษาคน ให้ฟัง ให้มันดูหยาบๆ อย่างนี้เป็นต้น โรคภูมิแพ้ยิ่งเยอะ เพราะว่าพลังงานมันหมด มันจะย่อย มันจะทำโน่น ทำนี่ ก็ชีวิตร่างกาย คนไปทำให้มันหมด ทำให้มันยุ่งน่ะ เพราะฉะนั้นเราก็ง่ายขึ้นมา สะดวกขึ้นมา อะไร ขึ้นมา แล้วเราก็เรียนรู้กัน ไปติดมันทำไม ? รสอร่อยไปติดมันทำไม ไอ้กลิ่นเหม็น กลิ่นหอม กลิ่นธรรมชาติ กลิ่นอย่างโน้น อย่างนี้มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เรียกว่าหอมก็ว่าไป อย่างนี้เรียกว่าเหม็นก็ว่าไป ไอ้คนที่เกลียด น้ำหอม ก็ว่าเหม็น เวียนหัว เหม็นขิว ภาษาอีสานว่าเหม็นขิว ภาษาภาคกลางก็ว่าเหม็นฉุน แต่คนที่ชอบ ก็ว่ามันหอม มันก็ว่ากันไป สมมติกันไป เรามาเรียนรู้แล้ว นี่อาตมาก็เท้าความ มาย้ำ มาพยายามที่จะพูด ให้รำลึก ซ้ำซากก็เป็นอย่างนี้ หลักๆ มันก็มีอยู่แค่กามคุณ ๕ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วก็ในภายใน ซึ่งเป็นเรื่อง ของจิตวิญญาณที่จะลึกซึ้งเข้าไปอีกมากมายเลย เป็นเรื่องของจิตในภายใน

เพราะฉะนั้นเมื่อเราเรียนภายในเราก็เรียน ภายนอกเราก็เรียน ทีนี้พอเรารู้ภายในได้ดี เราลดละได้ดี ก็มีพลัง อินทรีย์พละแข็งแรง เราก็ยิ่งจะมาเป็นฐานอาศัย เป็นตัวพลังงาน เป็นฐานราก ที่แข็งแรง สามารถที่จะไปรู้ แล้วก็เพิ่ม ตอนแรกเราตีกรอบเราก็ต้องขยายกรอบเพิ่มขึ้นที่นี้เอ้า สัมผัสเก่งขึ้น รู้อะไรต่ออะไรมากขึ้น โดยธรรมชาติ ไม่ต้องไปหามาให้ตัวเองดอก ไม่ต้องไปแสวงหา โอ๊ย ! ยังไม่เคยแต่งงาน ต้องไปแต่งงาน ดูก่อน ไม่ต้อง ยังไม่เคยไปมีเงินล้านจะต้องไปมีเงินล้านก่อน มันจะทิ้งได้ไหม ต้องไปมีก่อน ต้องไปหา เงินล้าน แล้วค่อยทิ้ง ยังไม่ได้กินนี้อร่อยๆ เขาว่าอร่อยนักอร่อยหนา ต้องไปชิม มันยังไม่รู้ว่าวางได้หรือเปล่า เขาว่าจะต้องไปดูนางสาวไทยแล้วกิเลสขึ้น ต้องไปดูก่อน ตีตั๋วขึ้นไปดูก่อน มันถึงจะพิสูจน์ ไม่ต้อง ไม่ต้องไปหาเรื่องมา เพื่อที่จะละ มันจะมาโดยธรรมชาติ โจทย์มันจะมาเอง ยิ่งไม่เอามันยิ่งจะมาเอง อาตมา ไม่ต้องไปหาเงินล้านดอกทุกวันนี้ ก็มีคนมาถวายเป็นทีละล้านอย่างนี้ มันก็เหมือนกันนั่นแหละ มันก็ได้ลองแล้ว เฮ้อ! ไอ้ล้านนี่เราจะเอาไหมนี่ เป็นของเราน่ะนะ เขาให้แล้วนี่แล้วแต่เถิด พ่อท่าน จะเอาไป จ่ายอะไรใช้อะไรก็ตามสบาย แน่ะ โอ้โฮ ! มันสบายหยอกใครอย่างนี้เป็นต้น เขาก็เอามาให้เองแหละ มันก็จะต้องมี ไอ้ที่แหลมที่ลึก ที่เรื่องนั่นเรื่องนี่อะไรก็แล้วแต่ เรื่องกามก็ตามใจเถิด มันจะมีตามวิบาก ตามฐานะ ของบุคคล มันจะเจอ สู้ให้ได้ก็แล้วกัน ไม่ต้องไปแสวงหาโจทย์ โจทย์มันจะวิ่งมาหาเอง สู้ให้ดี ก็แล้วกัน หาวิธีให้ดี ใครไม่มีโจทย์มากก็ดีแล้ว มันไม่เป็นไรดอก แต่มันต้องมีไปตามขั้นตอน ตามฐานะ ของบุคคลตามวิบาก ตามกรรมวิบาก มันจะต้องมี

เพราะฉะนั้นเรายังอยู่ในโลกเราก็เปิดขอบ เปิดเขตตามที่เรากำหนดเองว่า เออ! เรามันอยู่เหนือแล้ว มันก็ อยู่ได้ อะไรที่เราเหนือมันไปแล้ว อบายมุขเหนือมันแล้ว ไม่ต้องไปหาอบายมุข เดี๋ยวมันก็มา บางทีน่าเกลียด อบายมุขนี่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่หยาบๆก็คืออบายมุข เราไม่ต้องไปหามัน มันก็มาหาเรา แล้วเราก็ สู้มันให้ดี ตรวจใจให้ดี สัมผัสแล้วเราเองเป็นทาสสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เสร็จแล้วเราก็จะเกิดปัญญา อีกอย่างหนึ่ง ว่าเราเอง เมื่อเราไม่เป็นทาสมันแล้ว เราจะให้มันเป็นประโยชน์อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ในการรังสรรค์ธรรมะ รังสรรค์ศาสนา รังสรรค์คนที่ควรรังสรรค์ รังสรรค์ระบบ รังสรรค์การงาน รังสรรค์อะไร ที่ควรสร้าง ควรก่อ ควรทำ มันเป็นองค์ประกอบที่จะต้องเกี่ยวเนื่องกัน

อาตมาทำงานมา ๒๐ ปีนี่ จะเห็นได้ว่ามันก็มีรูปรอยของโลกมาอยู่เรื่อยๆ ซ้อน เป็นสัมมา กัมมันตะ เป็นสัมมาอาชีพ จนมาถึงวันนี้อาตมาพูดคำว่า "อาชีพ" พวกคุณก็คงจะชัดเจนขึ้น มันจะไม่เหมือน ศาสนา ที่เข้าใจผิดของโลกๆ เขา เขาบอกว่าเขาปฏิบัติศาสนา ปฏิบัติธรรมะแล้ว อาตมาเรียกว่าโลกๆ เพราะมัน ไม่เป็นโลกุตระ เขาหนีไปเลย เป็นฤาษี ทิ้งไปเลย โลกุตระของเขาก็คือไม่มีโลกียะเลย มันก็เหมือน โลกียะ ไม่มีโลกุตระนั่นแหละ เหมือนกับโลกียะวิ่งหนีโลุกตระ แล้วเขาก็บอกว่าของเขาโลกุตระ คือวิ่งหนี โลกียะ เขาก็คือโลกียะ ก็อัน เดียวกันน่ะ อย่างเดียวกัน วิ่งหนีโลกก็โลกียะธรรมดา เขาไม่ได้เหนือ เขาไม่ได้ เข้าใจ เขาไม่ได้ชัดเจน เขาไม่ได้มีความรู้

ที่เราอยู่เหนือ เราหลุดพ้น ที่เราหลุดพ้นได้ หรืออยู่เหนือได้ โลกุตระ อุตระนี่แปลว่าอยู่เหนือ ทิศอุดรนี่อุดร อุตระ เป็นภาษาไทยก็อุดร แปลว่าเหนือ ไม่ได้แปลว่าทิ้ง

เพราะฉะนั้น การอยู่เหนือกับการทิ้ง มันถึงต่างกัน แค่นี้แหละ โลกียะกับโลกุตระที่มันเพี้ยนกันอยู่ ทุกวันนี้ เพราะลักษณะ ที่อยู่เหนือได้นี่ พวกเราจะเห็นเด่นชัด เมื่อเราเองเรามีชีวิตอยู่ เราอยู่เหนือสิ่งเหล่าใดแล้ว เราก็อาศัย หรือว่ารับแต่น้อย เพราะฉะนั้นเสื้อผ้าหน้าแพร เครื่องกินเครื่องใช้ เราได้โภชเนมัตตัญญุตา เราได้พิจารณา เครื่องอุปโภคบริโภคมาแล้ว แล้วเราก็หลุดละวาง ปล่อย พอ สันโดษ มักน้อยมาเรื่อยๆ ตามลำดับ ปลดลงมาปล่อยลงมาแล้วพวกเรานี่อาตมาสอนในวิธีจากสูงมาหาต่ำ เอายากมาก่อนแล้วค่อยๆ อนุโลม ขึ้นมา ที่จริงมันยากขึ้นน่ะ มันเนียน มันยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เข้มข้น เล่นบทเข้มมาก่อน ทิ้งเลย แหม ! เสื้อผ้าหน้าแพร กินข้าวมามื้อเดียวปั๊บ เสื้อผ้าหน้าแพรแต่งม่อฮ่อม รองเท้าถอด ปื๊ด แหม ! เรียกว่า pass ชั้นเลย พวกนักศึกษา ยิ่งกว่ากศน. นักศึกษายิ่งกว่ากศน.pass สอบพรวด ยังไม่เรียน ป.๑ เลยน่ะ เล่นสอบ ป.๔ เลย สอบพรวดจาก ป.๔ ยังไม่ได้เรียน ป.๕ ป.๖ ป.๗ สอบ ป.๗ เลย พอจบ ป.๗ ปั๊บไม่เรียน ม.๑ ม.๒ ม.๓ ม.๔ ม.๕ ม.๖ สอบ ม.๖ มันเลยพรวด เป็นนักศึกษาอย่างนั้น คือถืออินทรีย์พละ คล้ายๆ กับอาตมาคัดคน คนที่มีบุญบารมีมาเก่าก็เอา มาถึงพรวดๆ แล้วมันได้ตามบุญ บางคนก็ไม่จริง อวดดี ฉันนึกว่าฉันแน่ สอบ pass pass สอบไปสอบมา ทำท่าเหมือนจะได้ เอาเข้าจริงๆ ไม่ได้ว่ะ ตก ! บางคน ตีลังกา ลงไปตามภูมิ ก็เป็นจริง คนที่ไม่มีภูมิ มันก็กลิ้งลงไป คนมีภูมิ ไปรอดก็ไปได้ ก็อยู่

คุณได้ก็หมายความว่า เมื่อได้แล้วมันก็เบา ว่าง สบาย มันก็พอ มีสันโดษ มีสงบ ปวิเวกะ ใจสงบ ใจพอ กินเท่านี้ มีอาศัยเท่านี้ ใช้เท่านี้ มีเท่านี้ สำหรับตน พอ เพื่อผู้อื่น อันนี้แหละมันแฝงอ้าง ! ฉันมีมานี่ ฉันรับ ไอ้โน่น ฉันอยากได้ไอ้นี่ มาเพื่อผู้อื่นนะ แต่ตัวเองก็ผ่านมือตัวเองก็อร่อยผ่านน่ะ มาผ่านตัวเอง ให้เสพก่อน แล้วค่อย ไปให้คนอื่น ตัวนี้แหละแฝง ระวัง ทำทีเป็นว่าเพื่อผู้อื่น ฉันทำนี่เพื่อผู้อื่น แต่ต้องผ่านมือตัวเรา เสียก่อน เราก็เสพก่อน แล้วก็ค่อยโบ้ยให้คนอื่น แล้วบอกว่าฉันไม่เอา ก็ไม่เอาซีผ่านคุณแล้ว แล้วคุณก็โบ้ย ให้คนอื่นแล้ว ไอ้อย่างนั้นมันก็แฝงได้ ระวัง ! ต้องศึกษาดีๆ ถ้ามันสะอาดบริสุทธิ์จริงๆ แล้ว มันก็ทำเพื่อ ผู้อื่นจริงๆ จะต้องมีอาคารบ้านเรือนเพื่อที่จะรังสรรค์สร้างสรร เพื่อที่จะทำประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่มีเพื่อเรา ไม่ใช่เรา โอ้โฮมีอันนี้แล้ว สบาย เราชอบ ติดใจ โอ้โฮ ! วิหารนี้ เรือนนี้ อาคารนี้ พูดถึงตัวใหญ่ๆ ก่อน มีเครื่องมืออันนี้ อู๊ย ! ชื่นชอบ มีปากกาอันนี้ เอามา ฉันเอามาทำงานเพื่อผู้อื่น แต่ชื่นชมปากกา เสพอยู่ นั่นแหละ มีเครื่องใช้อุปโภค มีเครื่องมือ มีเครื่องนั่นเครื่องนี่ ชื่นชม เสพอร่อยก็เราได้ใช้ ได้เป็น ได้มี แล้วก็มาอ้าง เพื่อผู้อื่น ใช่ ผู้อื่นใช่ต้องเป็นจริง คุณไม่ขายก็เพื่อผู้อื่นดีแล้ว คุณสร้างเครื่องมืออันนี้ คุณมาใช้ แล้วก็ทำ แล้วก็ไปเพื่อผู้อื่น เพื่อผู้อื่นโดยไม่ขาย โดยไม่เอาค่าแรงงาน ไม่เอาอะไรมาก็ดีชั้นหนึ่งแล้ว แต่คุณ ก็ยังแอบเสพอยู่ตรงนี้ นี่มันเป็นชั้น เห็นไหม ต้องเรียนรู้ ในที่อื่นนะ เขาไม่ได้สอนละเอียดอย่างนี้ เขาก็ต้องการ เครื่องใช้มาตัวเองเสพด้วย ผลิตออกไปแล้วขายด้วย ผลิตออกไปแล้ว ต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน กลับคืนมาด้วย แม้แต่ในวงการศาสนา ได้ยินชัดนะ เขามาบริจาคให้น่ะเงินนี่ เขามาบริจาคให้น่ะ เครื่องมือนี้ สำหรับพระเชียวน่ะ เสร็จแล้วก็ใช้เครื่องมือนี้ เงินนี้ใช้สร้าง สร้างเสร็จแล้วขายต่ออีกนะ ไม่ใช่ไม่ขาย เป็นประโยชน์กับคนอื่นอีกต่อเหมือนกัน เป็นประโยชน์กับคนอื่นต่อเหมือนกันฟังดีๆ

เพราะฉะนั้น จะกลบเกลื่อนว่านี่เราทำเพื่อผู้อื่นก็ได้ เป็นของทุนนิยม ทุนนิยมก็นัยนี้ แต่ทุนนิยม ไม่มีใคร มาบริจาคให้เท่าไรดอก ต้องซื้อแล้วก็ต้องขาย สร้างไปต่อคนอื่น สร้างไปแล้วให้คนอื่น ขายให้คนอื่น แล้วเขาก็ยืนยันว่า ขายให้คนอื่นนั่นแหละ เขาทำประโยชน์ ซึ่งอาตมาบอกแล้วว่า ลักษณะทุนนิยม มันไม่มีประโยชน์ มันไม่มีคุณค่า คุณสร้างอะไรขึ้นมา คุณลงทุนเองแล้วคุณก็สร้าง สร้างเสร็จแล้ว เป็นผลผลิต พอเป็นผลผลิตแล้ว ทุนมันเท่าไหร่ เขาคิดหมดแม้แต่ error แม้แต่ไอ้ที่คิดยังไม่ออกว่า มันอะไร มันยังนึกไม่ออก เผื่อมันจะขาดหกตกหล่น ต้องบวก ๕ % error % รวมเป็นทุน วิธีคิดน่ะนา วิธีคิดการค้า โดยระบบธุรกิจ โดยระบบพาณิชย์ เขาจะต้องอย่างนี้เสมอแหละ หรือเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เขาจะต้องคิด อย่างนี้แหละทุน ก็คิดทุนสมมติให้พันหนึ่ง คิดหมดแล้ว ค่าอะไรทุกอย่างคิดหมดแล้ว เขาจะให้คนอื่น เอาไปใช้ เป็นประโยชน์ว่านะ ทุนมันพัน ขายพันกว่า แล้วก็เอาเงินคืนมา เอาเงินนั้นมา มันมาเป็นเงิน มันตีราคา มาเป็นเงิน เกินทุน เกินของชิ้นนี้ คนได้ของชิ้นนี้ไปใช้นั้นน่ะไม่ได้ไปเปล่า เขาเสียเงินมา คุณเอาคืน มาหมดแล้ว แต่มันเป็นตัวเงิน ทุนเป็นพัน คุณก็เอาคืนมาหมดแล้ว เอาเกินมาอีก แล้วคุณ ยังมีน้ำหน้า บอกว่า ฉันนี้เป็นประโยชน์ นี่สร้างพวกนี้ให้คุณได้ใช้ สร้างพวกนี้ ฉันนี่แหละสร้าง เป็นไอ้ พวกนี้ได้ใช้ ให้คุณได้ใช้ ฉันเป็นประโยชน์ต่อโลกต่อสังคม ... เห็นชัดเจนไหม นี่ทุนนิยมเขาก็ยืนยันว่า ของเขามีประโยชน์แก่โลก

อาตมาขอยืนยันว่า ทุนลักษณะระบบทุนนิยมไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่าในโลก อาตมาพูดซ้ำซากกว่านี้ จะพูดไปอีกจนปากเปียกปากแฉะ มุมประเด็นพวกนี้ เพื่อแก้ประเด็นของความล้มเหลวของทุนนิยม เขายืนยัน เขาหลงอยู่ว่าเขามีประโยชน์คุณค่าในโลก ไม่ใช่แต่เฉพาะที่เป็นวัตถุแท่งก้อนอย่างนี้ ค่าแรงงาน ค่าความคิด ค่าโดยเฉพาะแรงงานทางความคิดนักวิชาการคิด แล้วเขาก็คิดค่าแรงงาน เขาจะไปแสดงออก เขาจะไปบอก ในความคิดของเขา เขาจะไปให้ความคิดของเขาแก่ใครก็ตาม เขาก็คิดมาเป็นเงินหมดแล้ว ก็ฉันเดียวกัน มันไม่เป็นรูป มันเป็นนามธรรม มันไม่เป็นตัวแท่งตัวก้อน แต่เขาก็คิดราคามันมาหมดแล้ว เหมือนกันนั่นแหละ แล้วเขาก็ยังยืนยันว่าเขามีประโยชน์คุณค่าต่อโลก ต่ออะไรก็แล้วแต่ ที่เขาได้สร้างออกไป ได้คิดออกไป ได้ทำออกไป แต่เขาคิดราคามันคืนมาหมดแล้ว ค่าแรงน่ะ ค่าแรงทางกายกรรม ค่าแรง ทางความคิด เขาเอามันมาหมดแล้ว ไม่ได้เหลือเป็นประโยชน์ไว้ให้แก่ใครดอก แล้วเขาก็ยืนยันว่า เขามีประโยชน์คุณค่าในโลก ... มันไม่มีประโยชน์คุณค่าอะไรเท่าขี้หมาด้วย ขี้หมานี่เป็นปุ๋ยได้ไหม ? ได้ ! นี่มันไม่มีประโยชน์ เท่าขี้หมาเลย เห็นไหม เป็นปุ๋ยไม่ได้ เขาเอาไปหมดแล้ว

ฟังความนี้ให้ชัดว่า ระบบทุนนิยมในโลกนี้ทั้งโลกใช่ไหม เพราะฉะนั้น ระบบทั้งโลกนี้ คนที่สร้างสรร ทั้งความคิด และสร้างวัตถุ สร้างอะไรก็แล้วแต่นี่ ขายทั้งนั้นใช่ไหม ในระบบการขายทั้งนั้น ใช่ไหม แล้วมันมี คุณค่าอะไรแก่กันไหม มันไม่มีเลย เขารู้เหมือนกันว่าทานนี่เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นคุณค่า เรียกในภาษาโลกว่า คุณค่าประโยชน์ เรียกในภาษาธรรมะว่าบุญ กุศล เป็นบุญ เราได้ทาน เราได้ให้นี่เป็นบุญ เป็นกุศล เรียกใน ภาษาธรรมะ เรียกในภาษาโลกๆ ก็ว่า เป็นคุณค่าเป็นประโยชน์ นี่เราได้เป็นประโยชน์เป็นคุณค่าให้คุณ โดยเรา ไม่แลกเปลี่ยนมา คือทานนี่คือให้หรือบริจาคนี่ เราได้บริจาค บริจาควัตถุ นี่ก็เอาบริจาคของไป เราได้เป็น ประโยชน์ เพราะของนี้ของเรา เราให้เขาเราก็เลยมีคุณค่ามีประโยชน์แก่เขา เพราะเราไม่ได้ แลกเปลี่ยน อะไรคืนมา มันไม่ได้สูญเสียอะไร เราให้แรงงานโดยไม่คิดค่าแรง ค่าแรงงานลงไปเลย เหงื่อไหล ไคลย้อยเลยนะ เหมือนกันทำให้เสร็จ หรือทางความคิดก็ตาม ให้ความคิดเราไม่ได้แลกคืนมานี่มันเห็นชัด เราก็คืนนะ ไม่ได้ให้เขา ได้ประโยชน์ได้คุณค่า ได้บุญ ได้บุญได้กุศล เพราะเราได้ให้

ตามองนี่ทำทั้งรูปร่างวิธีให้ฟัง หูฟัง ตามอง จมูกดูดกลิ่น ถ้าเอากลิ่นไปได้ กลิ่นของคุณธรรม กำลังพูด ความจริง อธิบายความจริง

เพราะฉะนั้น บุญนิยมกับทุนนิยมต่างกันอยู่อย่างนี้ ถ้าเข้าใจบุญ พวกทุนมันไม่ยอมหมดตัว ทุนนิยมเห็นไหม มันไม่ยอมหมดตัว แล้วมันก็มีระบบที่ยังไม่หมดตัว มันมีระบบที่จะไม่หมดตัว ทุนนิยม ส่วนบุญนิยม มีความชัด แล้วคุณกล้าให้หมดไหมเล่า ยังว่าให้ไม่หมดไม่ได้ ก็แหม ! ทุนมันตั้งพันเห็นไหมนี่ เอาไปก่อน ๙๐๐ ก่อน ให้ไป ๑๐๐ เดียว มีประโยชน์แค่ร้อยเดียว มีบุญแค่ร้อยเดียว ทุนมันพันขอคืนก่อน ๙๐๐ เรายังต้องกิน ต้องใช้ เรายังไม่ไหว เรายังน้อยไม่ได้ เรายังไม่มีพลังงาน เรายังไม่มีทุนรอน เรายังเลี้ยงตัวไม่ได้ ขอคืนก่อน แต่ก็ยังมียังมีบุญอยู่ตั้งร้อยบุญนิยม ทุนพันหนึ่งก็เอามาแค่ ๙๐๐ ก่อน ถ้าเก่งกว่านั้น เอ้าขอ ๘๐๐ แหม ! ชื่นใจ เราได้กำไรตั้ง ๒๐๐ แล้ว มีคุณค่าประโยชน์ตั้ง ๒๐๐ เมื่อไรเราจะมีความรู้สึก อย่างนี้ จริงๆ ทุนพันหนึ่ง ไม่ต้องเอาคืนมา อยู่รอด อยู่ได้เอาไปเลย คนนี้เหมาะสมที่จะได้เอาไป ไม่แลกเปลี่ยน ไม่ต้องคืน ไม่ต้องอะไรมา โอ้โฮ ! ได้ตั้งพันเต็ม ทุนมันพันหนึ่ง ได้ตั้งพันหนึ่งเต็มเลย ให้มันชัดๆ แล้วมัน ก็สบาย

เพราะฉะนั้นใครที่ได้เข้าใจอย่างนี้ด้วยปัญญาญาณ ล้างอุปาทานเก่าๆ ล้างความเห็นเก่าๆ ทุนนิยมออกไป เป็นบุญนิยม เข้ามาแทนที่ในหัวใจ มีเลือดบุญนิยม ถ่ายเลือดใหม่ ถ่ายวิญญาณที่มันเป็นเลือดใหม่ เชื้อใหม่ คนใหม่ พันธุ์ใหม่ เข้าใจอย่างนี้จริงๆ แล้วก็เป็นความจริง รู้สึกจริงๆ สดชื่นเบิกบานที่ได้เสียสละ ได้สร้างสรร แล้วคุณจะไปเอาของคนอื่นมาเสียสละมันเป็นของคุณหรือ หือ ? เราไม่มี ไปขโมยเขามาทาน เสียสละ ไปขโมย ของคนอื่นมาทานไม่ได้ดอก เพราะฉะนั้น เรานี่แหละ จะเป็นผู้สร้างสรร มีวิธีการร่วมกันสร้างสรร ทำเข้าไป เป็นระบบ ถ้าโลกอย่างนี้ไม่เกิด แก้วิกฤตที่เขาพูดถึงนี่ ที่เอามา สาธยาย เดี๋ยวนี้กำลังพูดมาก โอ้โฮ หนังสือที่ วิธีนี้นี่ หนังสือที่โพนทะนาถึงความไปไม่รอดแล้ว ... คลื่นลูกที่สามเล่มนี้นี่ของออร์วิน คัฟเฟ่อ ใช่ไหมๆ นี่ ใช่ไหม เขาเอาไปทอฟเฟอร์ นี่คลื่นลูกที่สามนี่ อาตมาก็เปิดอ่านไปในราวสามหน้าละกระมัง เสร็จแล้ว ก็เก็บเอาไว้ หลายปีแล้วน่ะ หลายปีแล้ว อ่านประมาณ ๓ หน้า แล้วก็เก็บไว้ในหิ้ง หลายปีแล้ว ยังไม่ถึงเวลา ที่อาตมาจะเอามาเปิด อาตมาว่าอาตมาไม่ต้องอ่าน แล้วก็ไม่ได้อ่านดอก แต่อาตมาว่า อาตมาพูดได้ พอนี่ผู้นี้อ่าน อ่านมาทั้งเล่ม อ่านมาหลายเล่มกว่านี้ด้วย แต่เสร็จแล้ว ไม่เห็นอธิบายได้เก่ง เท่าอาตมาเลย ยังมาซูฮก แหม ! พ่อท่านเอามามัน อู้ฮู้ ! เพราะตัวเองรับบัญญัติพวกนี้ไว้ใช่ไหม ก็รู้นี่ อาตมาพูด อื้อฮื้อ ! โลกใบเก่า โลกใบใหม่ มันก็วนเวียนกันอยู่อย่างนี้แหละ มันไม่มีอะไรมากดอก ถ้ารู้จักหลัก พระพุทธศาสนานี่ สอนถึงเรื่องแก่น แกน แก่นแกนของจักรวาลทั้งนั้น โลกจะหมุนเวียนไป อีกกี่โลก มันก็มีปรุงใหม่ ปรุงใหม่มามันก็อยู่ในครอบ ในทฤษฎีหรือว่า อยู่ในรูปนามเดิม เท่านั้นแหละ วนเวียนไป

ถ้าเผื่อว่า เราศึกษาธรรมะเข้าไปสู่บุญนิยม เข้าไปสู่พุทธะ เข้าไปสู่สิ่งที่มันสมบูรณ์จริงๆ แล้วนี่น่ะ ยิ่งลึกก็ยิ่งกว้าง มันจะลึกจะกว้าง บอกแล้วว่าไม่หนี มันไม่หนีดอก มันจะรู้รอบ มันจะรู้ชัด รู้เจน รู้กว้าง เราก็ไปรู้บัญญัติ ไปรู้ตัวที่เขาเรียกเขาสมมติ เขาปรุงมาใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกเท่านั้นแหละ แล้วเรา ก็ไม่ต้อง ไปวิ่งหาอะไรมามากมายดอก พอเราเปิดนิดหน่อยมันก็มาเองแหละ มันอยู่ที่เรากำหนด การกำหนด เป็นของเรา เราจะเปิดกว้างแค่ใด แค่ไหน มันเป็นของเรา

เพราะฉะนั้น สรุปแล้ว ที่อาตมาสาธยาย เอาโลกาวิวัฒน์ เอาโลกานุวัฒน์อะไรของเขานั่นมาพูด เป็นแค่เพียง ตัวอย่างเดียว อาตมาก็ว่าสมบูรณ์อยู่แล้วในตัวมันเอง ฉะนั้นผู้ใดที่ฟังแล้ว เราจะตัดรอบของเราเองแค่ไหน เราก็จัดแจงเอา เราสามารถรับรู้ เราสามารถที่จะใช้สิ่งเหล่านี้ เปิดออกไปเท่านี้ ให้เท่านั้นมันเข้ามาหาเรา โดยเรา ไม่ต้องวิ่งไปหามัน เท่านี้เราจะสู้ได้ไหม มาสัมผัสแตะต้องเกี่ยวข้องแล้ว สู้ได้เราก็สู้ได้ สู้ไม่ได้ เราก็สู้ไม่ได้ กำลังสู้อยู่ก็สู้ ได้ให้มันชนะเรื่อยๆ ละ ถ้าไม่ได้ก็ปิดอีก ปิดอีกหน่อย แหม ! มันเปิดมากไปหน่อย มันไม่ไหว แหม ! นึกว่าเราแน่ มันยังไม่แน่ อย่าไปอวดเก่ง เอาพอสมควร ไอ้อันมัชฌิมามันอยู่ตรงนี้ มัชฌิมา แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม คุณไม่ต้องเปิดดอก ไปกับอาตมาจะพาเปิดเอง อาตมานี่นักเปิด นักปิดชั้นหนึ่ง อาตมา เปิดโรงเอง คุณไปด้วยกันนี่ อาตมาพาเป็นเอง คุณไม่เก่ง คุณไม่รู้ว่าจะเปิดอะไรจะปิดอะไรก็ไม่ต้องห่วง อาตมาเปิดอยู่แล้ว ปิดก็พาปิดอยู่แล้ว บอกเสมอคำว่า "นโยบาย" นี่เราจะเปิดกว้างแค่ไหน เราจะเอาแค่ไหน ก็บอกเสมอ ให้สัญญาณอยู่เสมอ แล้วมันเข้ามาก็มีเพื่อนฝูง มีนายทวาร มีคนรับคนต้าน คนกรอง มาเป็น ขั้นๆ ตอนๆ กว่าจะถึงเรา ใครที่จะอยู่ปากทางเขาก็ไปจัดเอง คนนี้ไปอยู่เวรโน่น ปากทางทางโน้น คนนี้อยู่เวร ตรงนี้ มันก็มีของมันเอง ดีไม่ดีมันก็มีการเสนอหน้าเอง ฉันอยู่เอง มันอวดดีบางคน ฉันอยากเจออย่างนี้ เขาก็ไปเจอเองแหละ บางทีดึงไม่ค่อยอยู่ ห้าม ! อย่าไปเลยคนนี้ อย่าเพิ่งไปทางโน้นเลย ให้คนนั้นไปดีกว่า ฉันจะเอา ฉันจะไปอันนี้ชอบ เตือนกันไป บางคนก็เชื่อ บางคนไม่เชื่อ ไม่เชื่อไปเจอ เออ ! หงิกกลับมา บางคนไม่เชื่อ บางคนเชื่อก็เอา พอทำเนา มีเหมือนกัน อวดดีไปสู้ได้ ก็มีเหมือนกัน ถือว่าเคราะห์ดี

เคราะห์นะ ไม่ใช่โชค ฟังคำว่า "เคราะห์" กับ "โชค" นี่ให้ชัด ที่ตัดสินไปน่ะ อยู่ในลักษณะเคราะห์ ไม่ใช่โชค แต่มันได้ดี เอ้อ ! เคราะห์ดีไปเอ็ง เพราะฉะนั้น ถ้าประมาณดี เขาเรียกว่าโชค ประมาณอย่างดี แล้วไม่อวดดี อะไรนี่โชค แต่โชคร้ายเป็นได้อีกเหมือนกัน แหม ! ประมาณดีแล้ว เรานึกว่าโชคแท้ๆ น่ะ ตาย ! เสร็จเหมือนกัน โชคร้าย เป็นได้เหมือนกัน แต่ก็ยังดีเพราะว่า โชคก็คือการได้กรอง การได้พิจารณา การไม่อวดดีอะไร โชคนี่ก็คือ ใช้สภาวะอย่างผู้ปฏิบัติ มีการประมาณ มีการไม่เอากิเลสเป็นเจ้าเรือน แต่มันเป็นได้ โชคนี่ไม่มีเสี่ยง เขาถึงเรียกว่ามันลอยๆ มันได้มาโดยไม่ได้คิด โอ๊ย ! ไม่นึกไม่ฝันอะไรเลยโชค แต่เคราะห์นี่ มันเสี่ยงอยู่เสมอ เคราะห์นี่เสี่ยงอยู่เสมอ สภาวะเคราะห์ เข้าใจคุณลักษณะของเคราะห์ กับ โชคให้ดีๆ

เมื่อเราปฏิบัติธรรมะ อาตมาก็ใช้วิธีการของอาตมานะ สอนแนะนำบำเพ็ญประพฤติ จนกระทั่ง ได้เกิดมา เป็นคุณค่าประโยชน์ เกิดมาเป็นความจริงของแต่ละบุคคลจนกระทั่งรวมกันเป็นหมู่ชน เป็นพุทธบริษัท แล้วก็เกิดระบบ เกิดสิ่งแวดล้อม มีจารีตประเพณี มีวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ เป็นสังคมกลุ่ม มีชีวิต มีสัมมาอาชีพ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาสังกัปปะ มีแนวคิด มี concept มีหมดนั่นแหละ ที่เขาจะพูด ในสมัยใหม่ vision vision นี่อาตมาแปลว่า "ฝั่งฝัน" แต่ทางโลกแปลว่า ญาณทัศน์ vision แปลว่า มุมมอง แปลว่า ความคาดหวังไปข้างหน้า โอ้ ! อะไรก็สารพัดก็แล้วแต่เถิด จะเป็นภาษาร่วมสมัยน่ะนะ เป็นภาษา สมัยใหม่ อะไรเขาสารพัด นักบัญญัติก็บัญญัติขึ้นมา ใครบัญญัติขึ้นมา ใครยอมรับนับถือด้วย เขาก็เอา ไปใช้กัน ใช้จนกระทั่งติดยึด ใช้จนกระทั่งติดตลาดก็ใช้ไป เราก็รู้ร่วมกับเขา เป็นอะไรก็แล้วแต่ ภาษาของโลกเขาที่ใช้กันอยู่ เมื่อเรามาเปิดโลกขึ้นมาก็มาร่วมรู้กับเขา ก็เข้าใจ เขาจะมีความรู้สึกนึกคิด มีรสนิยม มีค่านิยม มีความสุขความทุกข์ขนาดไหน

ถ้าเราเองเรารู้แล้วว่า เราสุขทุกข์เราก็ถึงขั้นไม่สุขไม่ทุกข์ อุเบกขา เขาสุขเขาทุกข์อยู่ อ้อ ! แค่นี้นะ ได้กิน ได้ใช้ ได้สัมผัสทางตา แค่นี้เขาก็สุขทุกข์ ได้มาเป็นของตัว ของตน แค่นี้เขาก็สุขก็ทุกข์ เราไม่สุขไม่ทุกข์แล้ว เราไม่จำเป็นจะต้องเอามาเป็นของตัวของตนแล้ว เราก็สบายแล้ว จะเรียกว่าสุข ก็วูปสโมสุข สุขอย่างไม่เอามา เป็นของตัวของตน ไม่ต้องเสพ เสพนี่คือ ภาษาของอาตมาว่า คือจิตมันยังมีรสอร่อย เสพนี่คือ จิตมันยังมีรสอร่อย รสอร่อยนี่ ไม่ใช่แต่แค่ลิ้นน่ะ รสชื่นใจ รสสบายใจ รสอะไรละ อัสสาทะนี่ มันไม่ใช่รสอร่อยก็คือมันอร่อย ความอร่อย ภาษาคำว่าอร่อย นั้นมาใช้ที่ลิ้น มันอร่อยทางจมูก มันคือหอมชื่นใจ หรือว่า มันเป็นกลิ่นที่เราพอใจ มันอร่อยทางตาก็คือ มันเป็นภาพ ที่ดูแล้ว มันเป็นสุขทางตา มันเป็นสุขที่ได้ยินเสียง เสียงทางหู มันเป็นสุขทางหู มันเป็นสุข ทางได้สัมผัส แตะต้อง หรือว่าได้รับรู้ รับสัมผัสทั้งหมด แล้วเราก็ชอบใจชื่นใจ มันเป็นรสอยู่ มันยังเหลือรสอยู่ รสอันนี้แหละ ภาษาพระ ท่านเรียกว่าอัสสาทะ ยังเป็นรสสุข ถ้ามันไม่ชอบใจ มันก็เป็นรสทุกข์ รสทุกข์ ก็เรียกว่า อัสสาทะด้วย รสสุขรสทุกข์ เรียกว่า อัสสาทะ เป็นสุขเป็นทุกข์อยู่ จนกระทั่ง เราไม่มีอัสสาทะ คือ ไม่มีรสสุข ไม่มีรสทุกข์ อทุกขมสุข หรืออุเบกขา จิตสัมผัสแตะต้องเกี่ยวข้องอาการที่มันไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ชอบไม่ชัง ธรรมดา ไม่ปฏิเสธ ไม่ผลัก และก็ไม่ดูด สมควรร่วมด้วยก็ร่วม สมควรกินก็กิน สมควรฟังก็ฟัง สมควรเห็นก็เห็น สมควรจับต้อง ปฏิบัติด้วยทำด้วย ทำ แต่ไม่มีรส แต่ไปไหนๆ ได้

รสคำนี้ก็แสลงเป็นตัว ถ สะกดเสีย ไม่มีรถ แต่ไปไหนๆๆ ได้ ทำด้วยได้ เป็นอะไรไปด้วยได้ คำเนินไปด้วยได้ เรียกว่า สุคโต ดำเนินไปดี ดำเนินไป ทำไป สร้างสรรไป ประกอบการไปด้วย แล้วดีด้วย ดีที่ว่านี่คือ ไม่เป็นภัย แก่ตน และไม่เป็นภัยแก่ผู้อื่น ดีนี่ ร่วมทำด้วย แต่ไม่เป็นภัย เช่นว่าในวัดนี้ปรุงอาหาร ปรุงน่ะ ไม่ใช่ไม่ปรุง สำหรับคน ในฐาน ต้องปรุง ก็ต้องปรุงมาให้เขากินบ้าง ก็ปฏิบัติไป ขนาดนี้มันก็ไม่จัดอะไรนัก คนบางคนนี่ โอ้โฮ! อาหารของวัด ปรุงแล้วนี่ กินไม่ลงหรอก ต้องออกไปกินข้างนอก ไปปรุงต่างหาก ไม่ไหว อาหารวัดนี่ มันปรุง ไม่ได้เรื่องเลย ก็จริง แต่เราปรุงขนาดนี้นี่ บางคนก็บอก โอ้โฮ ! ปรุงจังเลย คนที่ทำได้แล้วก็บอกเออ ! แค่นี้ก็ปรุง ขนาดนี้แหละ เราก็ไม่ติดไม่แอบเสพอะไร สบาย วางได้ ปรุงก็ได้ ไม่ปรุงก็ได้ อยู่เหนือมันแล้ว ปรุงก็ได้ ไม่ปรุงก็ได้ จริงๆ

โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินนี่ เป็นพระอรหันต์ก็ต้องกิน พระพุทธเจ้าก็ต้องกิน เพราะฉะนั้น มันจะอยู่กับเรา จนตาย เสื้อผ้าหน้าแพรนี่คุณไม่ไปแต่งไอ้ชะเวิ้บชะวาบ ไม่ไปแต่งไอ้สวยๆ หรูๆ อะไรกับเขา คุณไม่ต้องแต่ง มีเสื้อผ้า หน้าแพรคลุมตัวแล้ว แต่อาหารนี่ มันยังปฏิเสธไม่ได้เลยน่ะ มันจะต้องมี มันจะต้องมา ดีไม่ดี โอ้โฮ ! มาถึงเอามาประเคนเรานี่ ปรุงอย่างวิเศษวิเสโสมาเลยนะ เรียกว่าอาหารฮ่องเต้มาเลยก็ได้ เขาก็มีสิทธิ ที่จะปรุง มาถวายเรา แล้วเราก็ต้องกิน เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่อยู่เหนือมันนะ มันฤทธิ์แรง โอ้โฮ มันดึงเอาเรา ไปเลยน่ะ หากอยู่เหนือมันเขาจะปรุงมาอย่างไรก็ไม่มีปัญหา

เมถุนสังโยค ๗ ข้อที่ ๖ ของเมถุนสังโยค ๗ นั้นก็คือ บุตรคหบดีที่ พรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ เสร็จแล้ว เราก็ไปสัมผัสแตะต้องกับบุตรคหบดี ภาษาของมันฟังยากน่ะ มันเป็นภาษาธรรมะ แต่คนก็ไปฟังเป็นภาษา แบบโลกียะ บุตรคหบดี ก็หมายความว่า โอ้โฮ ! ไม่ไปเอาพ่อแม่ของคหบดีดอก มันแก่ มันไม่น่าเอ๊าะๆ มันไม่น่าดูดอก นี่ภาษาธรรมะนะ ฟังดีๆน่ะ ยิ่งบุตรสาวคือนางอรตี นางตัณหา นางราคะ บุตรพญา มารใหญ่ นี่เอ๊าะๆ เรียกว่านางสาวไทยสู้ไม่ได้ นอกจากนางสาวไทยสู้ไม่ได้แล้ว ก็ดาวยั่วเต็มเหนี่ยว ก็สู้ไม่ได้ นั่นแหละ บุตรพญามาร พรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ มายั่วยวนคุณเกิดไหม กิเลสเกิดไหม นี่เมถุนสังโยค ข้อที่ ๖

แต่เขาแปลกันนี่ อาตมาแปล แม้แต่ในคำแปลของ พระธัมมปิฎก หรือว่า เจ้าคุณ ประยุทธ ปยุตโตนี่ ในพจนานุกรมบาลี ก็แปลความอันนี้ของเมถุนสังโยค ข้อนี้ไปอีกอย่างหนึ่ง มันไม่ได้ เป็นการพิสูจน์ มันไม่ได้ เป็นเนื้อหาอะไร เพราะว่ามันไม่เป็นสภาวะ อาตมาดูแล้ว เออ ! นี่พยัญชนะ ต่อพยัญชนะ แปลกันมา จนกลายมาเป็นอย่างนี้ มันฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ฟังรู้เรื่องบ้าง แต่เอามาปฏิบัติ มันไม่สมบูรณ์ ที่อาตมาอธิบายนี่ เขาแปลว่า บุตรคหบดี ได้เห็นบุตรคหบดี หรือบุตรคหบดีที่พรั่งพร้อมไปด้วย เบญจกามคุณ นั้นยังเกิด เมถุน อยู่ เกิดสังโยคในเมถุน เกิดปฏิกิริยา เกิดมีรส เดี๋ยวนี้ก็ต้องพิสูจน์ เพราะฉะนั้น อยู่เหนือ ก็หมายความว่า ต่อให้มายั่วยวน เหมือนพระพุทธเจ้านี่ ถูกบุตรพญามาร มาฟ้อนรำ ยั่วยวน ยั่วยวนทุกประการ นั่นแหละ เฉย วาง ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่เกิดกิเลสเลย แม้เท่าธุลีละออง ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ โลกธรรมขนาดนี้ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปติ จิตไม่หวั่นไหวอะไรเลย ไม่มีธุลีหมอง ไม่มีธุลีเริง อโสกะ วิรชะ ก็ไม่มี เขมัง สุขเกษม เป็นสุขอันเกษม สบาย จิตลักษณะอย่างนี้นี่ อาตมาพยายามอธิบาย ให้พวกเราฟัง ให้พวกเราเข้าใจ แล้วก็ พยายามเรียนรู้ แล้วก็ดูซิว่า ใจเราเกิดหรือยัง มีได้บ้างไหม เกิดได้ไหม ใจก็ไม่ใช่หัวใจที่ สูบฉีดโลหิต อยู่ตรงนี้ ดอกน่ะ ใจมันอยู่ทั่วๆ ความรู้สึก มันไม่มีรูปร่าง มันอยู่ในถ้ำนี้ คูหาสยังนี้ เรียนรู้มันเถิด อาการพวกนี้ มันจะเป็นได้แค่ไหน ?

เพราะฉะนั้น คนที่จะถูกบุตรคหบดีแค่ไหน ก็ต้องไปตามฐานะ ไม่ต้องไปอ้าขาผวาปีกดอก มันจะมีมาเอง ตามโจทย์ ตามบุญบารมี แค่นั้นแค่นี้ เป็นไปเอง ไม่เจอได้มันก็ไม่เมื่อยใช่ไหม บุญบารมี ดีอย่างหนึ่งนะ บางคน เอาแต่เจอๆ เหนื่อยไปทั้งกับปีกับชาติ ก็เรื่องของเขาน่ะ วิบากของใครของมัน ไม่เจอเสียได้ก็สบาย ขนาดอาตมา ยังเจอเลย แต่อาตมาเองมีวรยุทธ์น่ะ เพราะฉะนั้น พวกคุณไม่ค่อยรู้ตัวเท่าไรดอก เพราะ อาตมา มีวรยุทธ์ไม่ค่อยเปิดตัว จัดการไปก็ไม่ได้มาทำหยาบทำคายอะไรเท่าไร มีไปทั้งนั้นแหละ ทุกคนแหละ จะมีวิบาก เพราะว่าเรื่องเหล่านี้ มันเป็นเรื่องที่มากมาย จะเป็นเรื่องผู้หญิงผู้ชาย จะเป็นเรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นเรื่องของลาภ ยศ สรรเสริญ อะไรก็แล้วแต่ มีทั้งนั้น นั่นแหละ เป็นตัวโจทย์ที่แท้ อยู่ในโลก

เมื่อศึกษาบุญนิยม เมื่อศึกษาการสร้าง การสละ สร้างใจให้แข็งแรง สร้างตัวเราให้เป็นจิตที่เป็นโลกุตรจิต อยู่เหนือโลก อยู่เหนือโลกียะ แต่สร้างสรรได้ เพราะฉะนั้น เป็นคนมีบุญที่สร้างสรร คนในฐานะอื่น ก็ได้ ประโยชน์จากเรา เพราะเราเป็นผู้สร้างสรร

บอกแล้วว่า ทุนนิยมน่ะ สร้างสรรแล้วก็ไปทำคุยว่ามีประโยชน์คุณค่า ความจริงไม่มีเลย เท่าขี้หมา ยังไม่ได้ ใช่ไหม ? บอกแล้วอธิบายไปแล้ว คิดค่ามันแลกเปลี่ยนคืนมาตั้งมาก ตั้งกว่าเลยอีก ไม่มีประโยชน์คุณค่า

แต่โลกุตระ บุญนิยมนั่นน่ะ สร้างเหมือนโลกียะ สร้างเหมือนพวกทุนนิยม แต่เราไม่ได้ใช้ระบบทุนนิยม

(อ่านต่อหน้า ๒)

# GLB1A.TAP บุญนิยมจากโลกาภิวัฒน์ ตอน ๑