บุญนิยมจากโลกาภิวัฒน์ ตอน ๔
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๗
เนื่องในงานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ ๑๘ ณ พุทธสถานศาลีอโศก


บุญนิยมจากโลกาภิวัฒน์ เรากำลังมาเน้นบุญนิยม มาเน้นต่อที่ว่า คำตอบอยู่ที่คน เพราะฉะนั้น จะต้องพัฒนาตรงคนนี่ อภิวัฒน์พัฒนาตรงคนนี่แหละ เมื่ออภิวัฒน์พัฒนาคนนี่ได้ ทำให้คนนี้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จนกระทำถึงขั้นโลกุตระเหนือโลก จนกระทั่งถึง มีความเป็นคนพิเศษ เป็นคนที่ไม่ใช่อย่างคน โลกานุวัฒน์ ที่ไหลไปตามโลกเขาไป โลกหมุนเวียนเขาเกิดอย่างไรก็ไปอย่างนั้น ตามเขาไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง ไม่รู้เรื่องอะไร ต้นสายปลายเหตุอะไรก็ไม่รู้เรื่อง เขาพาไปอย่างไร ก็หมุนไปตามเขา หรือแม้จะตั้งหลักตั้งลำ ขึ้นมาหน่อยหนึ่ง พยายามที่จะรู้อะไรบ้าง อะไรมันดี อะไรมันไม่ดี อะไรมันเสื่อม อะไรมันไม่เสื่อม พอจะตั้งตัวตั้งตน พอจะทวนโลกเขาขึ้นมาบ้าง พอให้รู้ว่าก็อยู่ไปยังไง จะเป็นปลาตายลอยตามน้ำ ตุ๊บป่องๆ ไปตลอดโลกแตก มันก็ไม่เข้าที เกิดยับยั้งหยุดอยู่ดูแลอะไรบ้าง เป็นโลกาภิวัฒน์ดูตั้งแต่ สายน้ำต้น สายน้ำปลาย ที่ตัวเองวิ่งไหลมา มีอะไรบ้างก็พอรู้ แต่ก็ยังไม่รู้จักวิธีทวนน้ำ ยังไม่รู้จักวิธีทวนกระแส ยังไม่รู้จัก วิธีที่จะแก้ไข ปรับปรุง กอบกู้อะไรต่างๆ ขึ้นมา ก็เพราะว่าเราไม่รู้ตัวเอง ไม่รู้ว่าสิ่งที่จะรู้ยอดรู้เยี่ยมที่สุด ก็อยู่ที่จิตวิญญาณเป็นประธานสิ่งทั้งปวง อยู่ที่ตัวคนนี่แหละ

คนแต่ละคนก็มาเรียนรู้จิตวิญญาณ เอาแก้ไข มาล้างละกิเลสออก วิธีของพระพุทธเจ้านั่น ก็ละล้างกิเลส ชนิดที่มีของจริง ค่อยๆ เขยิบขยับตามลำดับของตัวเอง ตัวเองมีความสามารถที่จะรอบรู้ รู้ได้ขนาดไหน จะทำให้แก่ตน ได้ขนาดไหน ก็ประมาณตั้งศีล สมาธิ ปัญญา คือตั้งกฎ ตั้งหลัก ตั้งเกณฑ์ ตั้งตบะ ตั้งขนาด เอาไว้ของตัวเองว่า เราก็ทำขนาดนี้แหละ อันไหนที่มันเป็นกิเลส เราก็รู้ว่า มันเป็นกิเลส อันนี้เป็นเรื่องที่เราติด เรายึด เราจะปลดจะปล่อย เราจะละล้างมาจากเหตุ คืออาการที่เรียกว่ากิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังไงก็ ภาษาเรียก และก็รู้อาการให้ได้ว่า ตัวนี้นี่แหละ เป็นตัวเหตุที่มันมีฤทธิ์แรงอย่างนี้ มันทำให้เราไปติด ไปยึด เป็นภาระ ไม่ปลด ไม่ปล่อย ไม่หลุด ไม่พ้นกันตรงนี้ อาการอย่างนี้ อ่านให้ชัด รู้กิเลส รู้อาการ ลิงคะ นิมิต รู้เครื่องหมาย ที่ทำให้เรารู้ นิมิต นี่คือเครื่องหมาย มันมีเครื่องหมายของมัน โลภมันเป็นอย่างนี้ มันมีราคะ มันมีอาการ กำหนัดใคร่อยาก ต้องการมาบำเรอตน ต้องการมาเสพ มาได้ มามี มาเป็น มันเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้ หรือว่าอาการที่มันจะเที่ยวได้ห้ำหั่น พยาบาท เคียดแค้นโกรธเคือง หม่นหมอง ไม่ชอบ ผลัก มันไม่วางเฉยๆ มันไม่เป็นกลาง มันไม่หยุดการดูดการผลัก ควรรู้อาการของมัน หยาบ กลาง ละเอียด และ เพราะเหตุอะไร มีองค์ประกอบไปเกี่ยว ไปเนื่องกับอะไร เรียกว่ากายะ องค์ประชุม มันมีอาการอย่างนี้ จนกระทั่ง หยาบไปถึงข้างนอก เป็นวัตถุแท่งก้อน เป็นสิ่งที่ตั้งแต่ใกล้ตัว จนถึงไกลตัว ขนาดไหน อย่างไร ก็รู้ต่อเนื่องให้ได้

โดยเฉพาะต้องรู้ที่จิต อาการของจิต แล้วก็ทำให้อาการของจิตนั้นที่เป็นกิเลส ที่เราเรียกมันว่ากิเลส หรือเป็น อุปาทานก็ตาม หรือจะเป็นตัณหา เรียกในภาษาว่าไปเป็นกามตัณหา ภวตัณหา อาตมาเรียกแค่กามตัณหา กับ ภวตัณหานะ กามตัณหามันอยู่นอก มันเกี่ยวกับภายนอก ภวตัณหาก็เกี่ยวกับตัวจิตในภายใน เกิดอาการ อย่างนั้น ปรารถนาอยากใคร่มาเป็นโลกียะ โลกียะกับโลกุตระต่างกัน อย่างไร วิภวตัณหา แปลว่า ตัณหาในภพ ในจิตนี่แหละ แต่มันมีอุดมการณ์ มันต้องการที่จะล้างกามตัณหา ล้างภวตัณหาที่มันหมัก เป็นของหยาบ นั่นแหละ เรียกว่า วิภวตัณหา ตัณหาล้างตัณหา ต้องใช้ตัณหาล้างตัณหา ไม่ใช่จืดมะลื่อทืด วางเฉย ไม่ใช่นะ เป็นลำดับๆ ไปเลย วิภวตัณหานี่เป็นตัณหาที่ล้างตัณหา เป็นตัณหาที่จะต้องรู้กิเลส และก็ต้องอยาก จะให้กิเลสมันหมด และก็รู้วิธีทำให้กิเลสมันหมด สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนาคืออย่างไร ปฏิบัติโดย แบบมรรคองค์ ๘ นี่แหละ รู้สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ในกรรมกิริยาขนาดไหน มีหลักเกณฑ์ ของเราตามศีล เสร็จแล้วเราก็พยายามอ่านรู้จริงๆ รู้ว่าอาการของจิต ที่เรียกว่าสติเป็นอย่างไร รู้ว่าอาการของธัมมวิจัย ก็คือจิตอีกเหมือนกัน มันมีบทบาทของธัมมวิจัยอยู่อย่างไร ก็รู้ และทำให้มันเกิด ทำให้มันเป็น ทำให้มันได้ มันจะวิจัยไปเรื่อยๆ วิจัยอยู่ในตัวสำคัญนั่นแหละ มีความระลึกรู้ตัวอยู่ มีผัสสะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดใจด้วย ทวารทั้ง ๖ จะคิดอยู่ จะพูดอยู่ จะทำกรรมกิริยาอะไรอยู่ ทำการงานอะไรอยู่ ทำอาชีพอยู่ มีสิ่งแวดล้อม มีทั้งวัตถุ มีทั้งผู้คน คนนั้นพูดแหย่อย่างนี้ คนนี้พูดไม่ถูกใจอย่างโน้น แหมคนนี้ พูดถูกใจ คนนี้ก็ทำให้เกิดติด เกิดยึดอะไรยังไงก็แล้วแต่ ต้องรู้เท่าทันหมด วิจัยออกเลยว่า อย่างนี้เป็นอาการ ของการหลงติดยึด หรือว่าหลงโกรธ หลงเคือง หลงผลัก อ่านให้มันชัดเจน และเอาตัวสภาพเหล่านั้น กรรมกิริยา ของงานยังอยู่ งานก็ดีอยู่ ทำงานทำอาชีพสร้างสรร กรรมกิริยา กาย วาจา ความนึกคิดอะไรทำอยู่ ทำได้ดีด้วย แต่สิ่งที่เกิดอารมณ์ของกิเลส อารมณ์ของสิ่งที่มันเป็นผีนี่ มันดูดมันผลักนี่ หรือเป็นรสอร่อยๆ ก็เป็นรสรวมแล้ว ปรุงแล้วเสพสมก็เป็นสุข ไม่สมใจก็เป็นทุกข์ ขัดเคืองก็เป็นทุกข์ ก็รู้ว่ารสอร่อยนี่ ไม่ให้เกิด

สองไม่ให้เกิดตัวกิเลส ที่เป็นตัวการใหญ่เลย เป็นตัณหาที่มาบงการ เพื่อให้สมใจตัว ข้อสำคัญก็ต้องรู้ว่า มันมาทำ เพื่อให้สมใจตัว มาบำเรอสมใจตน อ่านอาการพวกนี้ให้ออกให้ชัด และทำให้มันลดให้ได้ ถ้าทำลดไม่ได้ ก็ไม่มีหวังจะได้เป็นพระอรหันต์ ทำลดได้จริง ถ้าไม่รู้ก็ไม่มีหวังได้เป็นพระอรหันต์ จะถือว่าเป็น โพชฌงค์ ถือว่าเป็นสัมโพชฌงค์ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ก็เพราะต้องมีปัญญารู้น่ะ ฟังตัวปัญญาตัวนี้ให้ชัด ตอนนี้ทศวรรษที่ ๓ ถึงระดับปัญญาแล้ว ทศวรรษที่ ๑ เราเร่งศีลกัน มาปฏิบัติศีลเคร่ง เป็นตัวหุ่นยนต์กัน เยอะเลย รุ่นแรก ๑๐ ปีแรก เป็นศีล โอ๋ยแข็งเป๊ก ทำงาม ใครเห็นศีลงาม ศีลเคร่งทรงสภาพศีลว่ายังไง เป็นอย่างนั้น ไม่นึกไม่คิด ไม่มีอะไรมาก ปฏิบัติเป๊ะเลย

พอช่วงที่ ๒ มาสมาธิ อาตมาก็พยายามขยายเรื่องสมาธิให้เห็น สมาธิพุทธเป็นอย่างไร อะไรเป็นอย่างไร ออกมา

ตอนนี้ปัญญา ถ้าเผื่อว่าปัญญานี่ไม่ได้ ไม่มีความเป็นอริยะ

สติที่อาตมาแบ่งออกเป็น ๓
สติปุถุชน
สติกัลยาณชน
สติอาริยชน หรือสติสัมโพชฌงค์ มันต่างกันตรงไหน ตัดเขตกันตรงไหน

สติปุถุชนนั้น เขาศึกษา เขาก็ไม่รู้เรื่องของอะไรหรอกโลกๆ โลกเขาจะศึกษา เขาก็รู้แต่สติ ความระลึกรู้ ทั่วไปก็รู้ เขาก็รู้ว่าตัวที่มันระลึกรู้ ใครก็รู้ ทั่วไปก็รู้ มันก็รู้ระลึกรู้ แล้วรู้อะไรก็ไม่รู้ รู้อย่างโลกๆ โดยเฉพาะ ตามโลก ก็รู้ไปตามโลกๆ โลกเขาพาเป็น เวลานี้ควรเป็นควรมี อะไรก็เอา อะไรมันผิดก็เลี่ยงให้ได้ เลี่ยงได้ก็ได้ เลี่ยงไม่ได้ กิเลสมันมาก เอามันเลยทั้งๆ ที่มันผิดๆ นั่นแหละ ถ้ามันยิ่งชอบ มันยิ่งอร่อย แหมมันจะผิด มันก็ลอบทำ แอบทำ มีสตินะ ไม่มีสติแอบทำไม่ได้หรอก อย่างไอ้โจรหรือว่าอย่างนักหลอก นักหลอกล่อ นักต้ม นักตุ๋นนี่ ไม่มีปัญญา ไม่มีสติสัมปชัญญะ และก็มีสติควบคุมนะ ทำอย่างนี้ ต้องท่าทีอย่างนี้ ต้องมีไหวพริบให้ทันนะ ถ้าไม่เฉลียวฉลาด ไม่มีปัญญา ต้องใช้ปัญญา เขาเอาปัญญาไปเรียก ที่จริง ความเฉลียวฉลาดแบบนั้น เราเรียกว่าเฉกะ เฉกตา เขาไม่เรียกปัญญาหรอก แต่เขาก็เอาไปเรียก เพราะว่า เขาไม่อยากได้ภาษา ที่มันเป็นสื่อเรียก ความเป็นคนไม่ดี ฉลาดก็รู้อยู่แล้ว ถ้าฉลาดโกง ฉลาดแกมโกง ฉลาดทุจริต ใครจะบอกว่า คนนี้ฉลาดจังเลย แต่ฉลาดอย่างทุจริตนะ เรียกว่า เฉกตา หรือ เฉกะนี่ ฉลาดอย่างนี้ แหมคนนี้เฉกะ ดีจังเลย ก็เท่ากับประจานบอก อ้อฉันฉลาดแกมโกงเก่ง เขาก็ไม่อยากจะไดัรับคำนี้ ไม่ใช่คำชม แต่เป็นคำด่า

เพราะฉะนั้น เขาไม่ชอบหรอก คนก็ว่าถ้าฉลาดแล้วก็เอาปัญญา คำว่าเป็นปัญญาแปลว่า ความเฉลียวฉลาด ที่ไปในทางดี ทางเกื้อกูล ทางเป็นบุญ ก็เอาปัญญามาเรียก ฉลาดก็เอาคำนี้มาเรียกหมด ไปเรียกเฉกะ เดี๋ยวตบให้เท่านั้น หน็อย มาด่าฉันนะ มาหาว่าฉันฉลาดโกง เขาไม่ชอบหรอก

คำว่าเศรษฐีกับกระฎุมพีก็เหมือนกัน กระฎุมพีมันก็ร่ำรวยอย่างโลภโมโทสัน กอบโกย เอาเปรียบเอารัด มันถึงรวย คนรวย กระฎุมพีแปลว่าคนรวย เศรษฐีแปลว่าคนจน และมันก็ต้องรวยด้วย อย่างพวกเรานี่รวย แต่รวย ไม่ได้เห็นแก่ตัว รวยไม่เป็นของตัว สามารถสร้างสรรทำอะไรได้มาก เพราะฉะนั้น พวกเราถึงไม่แปลก หรอก ที่ไพศาลีนี่ ไม่รู้ว่าเขาชมกันหรือยัง ว่าที่นี่ร่ำรวย ชมหรือยังไม่รู้ คนชาวบ้านน่ะ บอกว่าพวกไพศาลีนะ อย่าไปยุ่ง กับมันเลย พวกนั้นร่ำรวย พวกวัดป่าช้าเหรอ พวกศาลีอโศก อย่าไปยุ่งกับมัน ปฐมอโศกนี่ ไม่ต้องห่วงหรอก ชาวบ้านเขาบอกว่า เฮ้ย พวกนี้มันคนร่ำรวย อย่าไปยุ่งกับมัน เขาว่าร่ำรวยผิดปกติด้วย สงสัยจะต้อง ถูกสอบสวนริบทรัพย์ ร่ำรวยผิดปกติ ต้องถูก ปปป.สอบ เขามองเห็นจริงๆ และรู้สึกอย่างนั้น จริงๆ เพราะพวกเราเอง เราอุดมสมบูรณ์ เราไม่ได้ผลาญพร่า เราไม่ได้ทำลาย มันก็เหลือ ได้แล้วก็เอามา รวมเป็นกองกลาง รวมกันอยู่ สร้างสรรร่วมกัน ดูเห็นชัด มีไอ้โน่นไอ้นี่ใหญ่ๆ มากๆ ไม่เป็นของตัวของตน ได้เยอะแยะ ดูเพ่นๆ พ่านๆ ดูเยอะ เป็นเศรษฐีนี่มันซ้อนๆ อยู่ เศรษฐีนั่นคือ ผู้ที่ประเสริฐ เสฏ เสฏโฐ ผู้ประเสริฐ ผู้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างถูกต้องตามคุณลักษณะ ของพระพุทธเจ้า คนมันก็รู้เหมือนกันอีกแหละ กะไอ้ฉลาด จะเอาคำว่า กระฎุมพีมาเรียก เท่ากับด่าว่า ไอ้คนนี้มันกอบโกย มันหอบ มันเอาเปรียบเอารัด และ มันถึงรวย ใครเขาอยากจะให้เรียกตัวเอง ว่าอย่างนั้น ไม่มีใครเขาจะยอม ต้องเรียกเขาว่าเศรษฐี อย่างนั้น อีกแหละ นัยเดียวกัน

ทีนี้มาฟังสภาพของการแตกต่างที่ชัดเด่น ตัดรอบตรงไหน จึงเรียกว่าอาริยะ เมื่อไหร่ถึงจะเรียกว่า เราเป็น อาริยะ สติเป็นอาริยะ หรือว่าตัวเราเอง เป็นอาริยะตรงไหน ปุถุชนบอกแล้วว่าทั่วไป ทุกคนเป็นทุกคน เป็นมาก่อนทุกคน เคยเป็นสติอย่างนั้น ธัมมวิจัยอย่างนั้น นักวิจัยทุกวันนี้ทั่วโลกเต็มโลก นักวิจัย เขาได้เงิน ได้ทอง ได้ลาภได้ราคาแพงๆ วิจัยเก่งๆ พวกนี้วิจัย วิจัยเก่งทั้งนั้นแหละ แต่ไม่ใช่วิจัยสัมโพชฌงค์ วิจัยปุถุชน

ทีนี้จากปุถุชนมาถึงกัลยาณชน เอาตรงนี้ก่อน มาถึงกัลยาณชน ตัดขีดตรงไหน ตัดขีดตรงที่ว่า เริ่มทำให้เป็น ประโยชน์ คุณค่าต่อผู้อื่น เสียสละ หรือทาน เป็นประโยชน์จริงๆ จริงคือตรงไหน จริง..คือคนเป็นประโยชน์ คือคนที่ จากเรานี่ให้แก่เขาได้ ให้ความรู้ ให้แรงงาน ให้วัตถุ ให้ข้าวของทรัพย์สิน ให้สิ่งที่เป็นของเราแก่เขา เป็นต้นว่า เราบรรลุธรรมแล้ว มีเมียสวย เอาไปเลยเมีย นี่ยกตัวอย่างให้เจ๋งๆ หน่อย เมียนี่ของเราเดิมใช่ไหม กัลยาณชนนี่ ให้ได้ด้วย ฟังให้ชัดๆ นะ ให้นะ กัลยาณชนให้นะ นี่ตรงนี้แหละชัดๆ ตรงนี้ ปุถุชนน่ะ ไม่ให้ มีแต่หวง กับหอบกับหวง ถึงแม้ว่าจะให้ปุถุชนนี่ ก็มีเล่ห์เหลี่ยมที่จะให้ เพื่อที่จะได้มามากกว่าเก่า เพราะฉะนั้น เต็มโลกเลย ฉลาดนะ ฉลาดเฉลียว แต่เป็นเฉโกทั้งนั้น ฉลาดเฉกตาทั้งนั้น เขาให้วิธีการให้ๆ ดูดีดูงามดู แต่เขาจะต้องได้วนเวียนกลับมาหาตัวเองให้ได้มากกว่าเก่า มีกรรมวิธีเฉลียวฉลาดมาก เหนือกว่า ปุถุชน

ส่วนกัลยาณชนนี่ จะซื่อสัตย์ขึ้น ให้ พยายามได้ให้จริงๆ แต่ซื่อสัตย์ขึ้น ให้มีวิธีการจะให้ มีวิธีการสละออก ให้ด้วยจิตใจ ที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่เอา ไม่เอามาเป็นของตัว พยายามกระทำ

เพราะฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อจะเป็นกัลยาณชน คือผู้ที่หาทางบรรลุเหมือนกัน ถึงแม้ไม่บรรลุ เขาก็จะมี ภูมิธรรม หรือมีปัญญา มีความเฉลียวฉลาดจะรู้ว่า เออ เราจะต้องทำตนให้เป็นคนเจริญแบบมีคุณค่า เขาก็จะทำ ด้วยวิธีต่างๆ ด้วยความมีปัญญา ด้วยความมีความฉลาดด้วย และด้วยความมีวิธีการ อย่างฤาษี หรือ ศาสนาต่างๆ พยายามที่จะเสียสละๆๆ อย่างแม่ชีเทเรซ่า อย่างนี้เป็นต้น นี่กัลยาณชน เสียสละจังเลย กัลยาณชน เสียสละทั้งชีวิตเลยนะ เห็นว่าดีเลยเพื่อพระเจ้านะ หรือฤาษีที่จะไปอยู่ป่าเขาถ้ำ สะกดจิต ทิ้งทรัพย์ ศฤงคาร สะกดจิตๆๆ สละได้ๆ ไม่เอาคืน ตลอดทั้งชาตินี้ ไม่เอาอะไรคืนหรอก ไม่เจตนาจะเอาคืน เป็นกัลยาณชนๆ ฟังดีๆ นะ มันจะตัดเขตตรงอาริยะตรงไหน เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติในระดับกัลยาณชนนี่ มีศีลเคร่งได้ มีสมาธิเก่งได้ แต่ไม่ถึงขั้นปัญญา หรือญาณ ขั้นปัญญาหรือญาณคืออะไร ตรงนี้แหละ จะชัด กันตรงนี้ ฉะนั้นพวกเรานี่ก็เหมือนกัน ยังเป็นกัลยาณชนอยู่เยอะ มาบางคนทิ้งบ้านทิ้งเรือน ทิ้งข้าวทิ้งของ ทิ้งทรัพย์ศฤงคาร ทิ้งยศถาบรรดาศักดิ์ ทิ้งตำแหน่งมานะ แต่ยังไม่เข้าขีดอาริยะ มันจะเข้าตรงไหน

ตรงปัญญา ไตรสิกขา สิกขา ๓ นี่ ศีล สมาธิ ปฏิบัติศีลเคร่ง สมาธิเก่ง แล้วก็สมาธิทั่วไป ไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิ ที่เรียนรู้ก็ทำไปอย่างนั้นแหละ แต่ยังไม่ถึงขั้นมีปัญญาเข้าไปร่วมประกอบ ต้องมีปัญญาเข้าไป อ่านเห็น เข้าไปรู้อาการ ลิงคะ นิมิต เข้าไปรู้ มีอาการอย่างไร ไตรสิกขานี่มีสมาธิ ก็เป็นสมาธิอย่างอ่าน อาการของจิต ศีลก็ครบว่าเรากำหนดเท่าใด เราจะทำขนาดไหนสำหรับเรา ศีลที่เป็นอธิขนาดไหน จะเอานี้แหละ ศีล ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ มันก็กำลังโลภโกรธหลงนั่นแหละ สรุปเข้าแล้ว

สมาธิก็คือทำให้ถึงความตั้งมั่น สมาธิมีความหมายว่า
๑.ทำให้ถึงจิต
๒.ทำให้สงบลงได้
๓.ทำให้แข็งแรงตั้งมั่น สั่งสมลงให้ตั้งมั่น สมาธินี่

สมาธินี่หมายความว่าจิต ผู้ที่ไปนั่งหลับตาสมาธิ อย่างฤาษีทั้งหลายแหล่ เขาทำถึงจิตเหมือนกัน สะกดจิต และก็ทำถึงสงบเหมือนกัน สงบ และทำให้ถึงตั้งมั่นเหมือนกัน เขาทำสมาธิสำเร็จ พวกที่ทำสมาธิทั่วไป ทุกวันนี้ ทั้งโลกเขาก็รู้กัน เขาก็ทำให้ถึงจิต สะกดทางจิตนี่ แล้วให้จิตนิ่ง จิตสงบ หยุด แล้วก็ให้ตั้งมั่น แข็งแรง ถาวร ทำอย่างนั้นได้เก่ง ทำอย่างนั้นได้ยืนนานเป็นสมาธิ สั่งสมทำไป ฝึกทำๆจนตาย เก่งเป็นสมาธิ แต่ไม่มีปัญญา เขาก็คิดว่า เขามีปัญญาเหมือนกัน คือเขาอ่านจิตของเขาออกเหมือนกัน อ่านจิต เห็นจิตสงบ นั่งสะกดจิตให้ดี เขาก็อ่านจิต ให้จิตมันรวมๆๆ หยุดคิด หยุดนึกเป็นหนึ่งๆ นิ่งๆ นิ่งๆ หนึ่งนิ่งๆๆ ฤาษีมีแต่ หนึ่งนิ่ง หนึ่งนั่ง จนกระทั่งก้นเน่า หนึ่งนิ่ง หนึ่งนั่ง และก็หนึ่งเน่า อยู่อย่างนั้น ก็สำเร็จ แล้วเขา ก็อ่านจิตใจ มันนึกมันคิดบ้าง พูดอะไรต่ออะไรบ้าง ก็เป็นแต่ฐานของทวารที่หก ในภพในภวังค์ จิตมันนึกถึงกาม ถึงพยาบาท ถึงนั่นถึงนี่ก็ได้ แต่ก็พยายามระงับๆ ตามที่คิด ในจิตระงับ โลกธรรมฟุ้งซ่านไปคิดถึงลาภ ยศ สรรเสริญ ไปคิดถึงเรื่องราวโน่นๆ นี่อะไร หยุดๆ ให้ได้ หาทางหยุด วิธีใดที่จะหยุด หยุด แม้จะเอาเหตุผล เราก็หลงเรียกว่า วิปัสสนา เอาเหตุผลต่างๆ มาอ้างอิงให้จิตหยุด และหยุดได้ วิธีนี้ของพุทธก็ทำ แต่เป็นของ ทวารที่ ๖ ทวารทางใจอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนทวารทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เขาไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องเลย ไม่ได้มาฝึก มาปรือ เหมือนมรรคองค์ ๘ ไม่ได้มาทำเหตุปัจจัยจริงในปัจจุบันนั้นๆ ในเรื่องของทางตา ในเรื่องของ ทางหู จมูก ลิ้น กาย อะไรเขาไม่รู้เรื่อง เขาไม่ได้มาฝึก เขาไม่ได้มารู้จักรู้เจน รู้แจ้ง รู้ชัด รู้รอบ รู้จริง รู้ในขณะนั้นๆ จริงๆ ว่ามันเกิดอาการกิเลสแท้ๆ ไอ้นี่มันมานั่งนึก นั่ง มันก็เกิดอาการที่เป็นสัญญา เป็นความจำ เป็นความนึก ไม่ใช่ความจริงที่เป็นปัจจุบันนั้น จะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ปัจจุบันไม่ใช่ ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ก็ได้แต่ศีลกับสมาธิ ปัญญาเขาก็ได้แต่ปัญญาที่เป็นจินตามยปัญญา ไม่ใช่ภาวนามยปัญญา ที่แท้ ไม่ใช่การเกิดภาวะ เกิดภาวะนั้น เกิดสภาพนั้นจริง ไม่ใช่ มันก็ได้สภาวะนี่ เราก็ได้อันนี้นะ อันนี้อยู่ในขีด กัลยาณชนแค่นั้น เพราะฉะนั้น ฤาษีที่เก่งขนาดไหน เป็นศาสดาขนาดไหน พุทธเจ้าท่านก็ยังไม่รับรอง ถึงโสดาบัน เพราะฉะนั้น โสดาบันนี่เหมือนสะกดจิตไม่ได้เก่งหรอก สงบระงับไม่ได้เก่งเท่าบรรดาศาสดา อาจารย์ อย่างฤาษีนี่หรอก โสดาบันของพุทธนี่ มีผัวมีเมียก็ได้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสก็ยังติดอยู่เลย แต่ต้องรู้ตัวเอง ในฐานปัญญาว่า ในขณะปฏิบัติสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ มีของจริงพวกนี้อ่านรู้นะ แล้วก็ญาณของเรา คือปัญญาตัวที่ ๓ นี่ ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาตัวนี้ ต้องอ่านของตัวเองออก มีปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อ่านชัดเลยว่า โอ๊ กระทบอย่างนี้เกิดกิเลสจริงแล้ว มีวิปัสสนาญาณ หรือมี วิปัสสนา ภาวนา มีการปฏิบัติเดี๋ยวนั้น วิปัสสนานี่ ต้องมีปัจจุบันธรรมด้วย วิปัสสนาถือเป็นปัจจุบันธรรม ถ้าไม่มี องค์ประกอบ ของปัจจุบันธรรม ไม่ถือว่าวิปัสสนาบริบูรณ์ อานาปาณสตินี่เป็นอุปการะ ไม่ใช่วิปัสสนา เป็นสมถะ เจโตสมถะเป็นอุปการะ

เพราะฉะนั้น วิปัสสนาแท้ต้องมีปัจจุบันธรรม รู้กิเลสกระทบสัมผัสเดี๋ยวนี้ เกิดกิเลสเดี๋ยวนี้ ตามรู้กิเลสเดี๋ยวนี้ ปฏิบัติประพฤติ รู้จักกิเลสแล้วมีญาณปัญญาเห็นความจริงตามหลักฐานความจริงเลยว่า กิเลสอย่างนี้ มันเก่งยังไง มันจะพาเราไปทางภพไหน เราก็กลับทางมัน ไม่เอา ให้มันเห็นเลยว่า ด้วยญาณปัญญาแท้ๆ ไปล้มล้างกันเลย ให้กิเลสมันอ่อนตัว ให้กิเลสมันจางคลาย ให้กิเลสลดละลงไปเดี๋ยวนั้นๆ เลย นั่นแหละ ยิ่งมีญาณ เห็นมันจริงๆ เลยว่า มันกำลังเกิด มันกำลังสู้ เราเอาวิธีการ เอาโพชฌงค์ เอาธัมมวิจัย เอาวิริยะ มีสติรู้ทัน แล้วก็มีวิปัสสนาภาวนา มีการหาเหตุผลที่เป็นเครื่องจริง เหตุผลที่ถูกต้องจริง เป็นความจริงเลยว่า เอ็งโตขึ้นไปนี่ ข้าทุกข์นะ เอ็งลดลงนี่ข้าสุขนะ ข้าว่าง ข้าเบานะ เกิดความจริงๆ เลย เอ็งอย่าโง่นะ เอ็งโง่ เอ็งอวิชชาตายเลย เป็นโลกียะแย่เลย ให้เอ็งลดลง โลกุตระนะ ลดลง แล้วก็อ่านอาการซ้อนเข้าไปอีก อาการที่ว่า เมื่อลดแล้วในจิต มันว่างอย่างไร มันเบาอย่างไร โล่งยังไง สบายยังไง เห็นชัดอีก นี่คือญาณ รู้ทางใน แล้วรู้ในปัจจุบันนั้นๆ ตามจิตหมดเลย ถ้าผู้ใดเริ่มอ่านเห็นอย่างนี้แหละ เริ่มเป็น อาริยชน ตัดเขต กันตรงนี้ เรียกว่าศีล สมาธิ มีปัญญาแท้ๆ ไม่ใช่มีแต่ความนึกคิด มีปัญญา เฉกตานั่นไม่มีแล้ว ฉลาดแบบ แกมโกง ไม่โกงแล้ว มีแต่จะสละออกๆ ออกทางจิตเลยนะ จิตสละออกจริงๆ ไม่มีอะไรกลับคืนมา อย่างชนิด ปรมัตถ์ อย่างชนิด จับจิต เจตสิก อาการ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พิจารณากายในกาย องค์ประชุม นอกด้วย ไม่ใช่กายในกายไม่มีหลับตา มีกายที่ไหน ตัดตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ลืมตามีกายนอก กายหยาบ มีร่างกาย มีทวารทั้ง ๖ มีวัตถุที่มากระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย กาโย องค์ประชุมครบพร้อม ปัจจุบันนั้น แล้วก็มีเวทนา อ่านไชชอนความรู้สึกไปจนกระทั่งถึงเวทนา อาการของเวทนาคืออย่างไร ลักษณะของมัน หน้าที่ของมัน อาการของสัญญาคืออะไร อาการของสังขารคืออะไร นี่เจตสิก ๓ เจตสิกหลัก เราก็รู้อาการ เวทนานั่น ตัวรู้สึก ตัวรับรส ตัวรู้รส ตัวที่จะโง่ๆ ปรุงเป็นรสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือว่าไม่สุข ไม่ทุกข์หรอก กลางๆ บางทีไม่พิจารณาไม่ตื่นเต้นอะไร เฉยๆ กลางๆ แหมอย่างกะเป็น พระอรหันต์แน่ะ แต่เปล่าหรอก เฉยๆ กลางๆ แต่เฉโก เฉยๆ กลางๆ แบบซื่อบื้อ เป็นคนด้านๆ ไปเฉยๆ น่ะ แต่มันวางเฉย เพราะเราล้าง สุขทุกข์ออกหมด และมันก็กลางได้ นั่นถึงเรียกว่า เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา ขออภัยน่ะ ผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน ต่อหลักวิชาภาษาพวกนี้ ต้องไปติดตามค้นคว้า ติดตามมาใหม่ให้ดีๆ เพราะผู้ที่ฟังมาแล้ว ตอนนี้ ติวหนักนะ แล้วก็ค่อยๆ ศึกษาติดตามไป มันต้องรู้อาการพวกนั้นเฉยๆ ไม่ใช่รู้แต่ภาษา เนกขัมมสิต อุเบกขาเวทนา เวทนาอย่างนี้ มันเป็นยังไง เคหสิตอุเบกขาเวทนา เฉยๆ แบบโลกๆ เราก็เอาแต่วางเฉย เขาบอกว่า เรื่องนี้ทำไมไม่มา ผมเอาแต่วางเฉยๆ อย่างเฉยโลกๆ ฉันไม่เอาเรื่องกับคุณ ฉันไม่เกี่ยวกับคุณ ฉันทิ้งไปดื้อๆ ไอ้อย่างงั้นน่ะ อุเบกขาโลกๆ อุเบกขาแบบเคหสิต แบบปุถุชน หรือแม้แต่กัลยาณชนก็ตาม ทำจิตให้มันตัดจิตซะ อย่าไปยุ่งกับมัน

อุเบกขาแบบกัลยาณชน มันก็มีอานิสงส์เบาว่างเหมือนกัน แต่มันไม่ชนตาอยู่เลย อยู่เหนือมันเดี๋ยวนี้ ของเหล่านี้ ไม่ต้องไปลืม ไม่ต้องไปทิ้ง ร่วมปรุงด้วยสังขารด้วยซ้ำ ร่วมคิดร่วมนึกด้วย แต่ใจของเราก็แข็งแรง ใจของเรา ก็อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา สังกัปปะด้วย คิดด้วยนึกด้วย ปรุงแต่งด้วย แต่ใจเราแข็งแรง ไม่ถึงอย่างไร ก็ไม่หวั่นไม่ไหวด้วย เป็นหลักใหญ่เลย ต่อให้คุณ จะแกว่งอย่างไร หลักคุณนี่ จะแน่นไม่มีสั่นคลอน ไม่มีอะไรวูบวาบเลยแข็งแรง จะคลอน จะสั่นกระแทกอย่างไรก็ไม่มีกระเทือน มันมีสมถะ อยู่ในตัว คือตัวนิ่งแน่สงบ และก็มีตัวพลังงาน แห่งการคิดนึก พลังงานแห่งการปรุง มีพลังงานในการรับรู้ ทำงานอยู่ร่วมกัน ทั้งสองอัน มีทั้งปัญญา และมีทั้งสมถะร่วมกันอยู่ทั้งสองอัน มีประสิทธิภาพของทั้งปัญญาสมถะครบพร้อม ของพุทธนี่ สมถะก็สงบสนิท ปัญญาก็เฉียบแหลมแววไว ว่องไวปราดเปรียว รู้รอบรู้ทะลุ รู้แจ้งรู้ชัด รู้จริง ไม่ใช่ว่าสมถะสงบแล้วรู้ไหม ขืนไม่รู้ไม่ไหว ไม่ได้รู้เรื่อง เอาไปคิดด้วยไม่ได้ อย่างนี้มันก็ยังเป็นฤาษี คิดด้วยก็ไม่ได้ ไปรับรู้ด้วยก็ไม่ได้ไม่เอา เลิก อย่าไปยุ่ง นั่นแบบฤาษี

เพราะฉะนั้นแบบพุทธนี่จะต้องรู้ด้วย ช่วยเขาได้ ตัวเองรู้เท่าทัน รู้ความจริงตามความเป็นจริง รู้อันนี้ รู้ความจริง ตามความเป็นจริง คือรู้อาการของจิตเจตสิกจริงๆ ไม่ใช่เดา ไม่ใช่รู้แต่ความหมาย ที่กำลังอธิบายนี่ เป็นความหมาย เป็นความรู้ของหลักวิชชา ได้รู้แต่ภาษา รู้แต่ตำรา รู้แต่ทฤษฎี เวลาคุณไปเจอเข้าจริงๆ คุณก็ต้องรู้ของจริง อ่านของจริงออก อ๋อ อย่างนี้เรียกว่ากระทบแล้ว อย่างนี้เรียกว่าเกิดผัสสะ กระทบแล้ว โอ กระทบแล้ว อาการทางจิตเกิดแล้ว อาการทางจิต เกิดกิเลส เข้ามาร่วมแล้ว โอ้โฮ หน้าตามันเป็นอย่างนี้เอง โลภก็ดี โกรธก็ดี เป็นอย่างนี้เอง รู้แล้ว รู้ให้ชัด รู้ให้ตรง ไม่ให้หลงผิด ไม่ให้หลงเลอะ ไม่ให้หลงเบลอ ไม่ให้หลงจนพ้นวิจิกิจฉา จับมั่นคั้นตาย เพราะฉะนั้น สังโยชน์ ๓ สักกายะ ก็คือตัวเอง รู้จักหรือเปล่าตัวเอง รู้ตัวเอง รู้ตัวของกิเลส รู้ตัวของอาการทางจิต รู้ตัวเรียกว่าสักกายะ ตัวการ ตัวการก็คือ พอรู้ตัวจิต มีอาการ แล้วก็วิจัย ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิจัยจิตนี่ให้ออกว่า อาการรู้หรือความเฉลียวฉลาดที่รู้ของจริงตามความเป็นจริงนั้นเป็นคุณภาพของจิต เป็นคุณวิเศษ ของจิต เป็นความสามารถของจิต ไม่ต้องไปทำลายอันนั้น แต่วิจัยกิเลสให้ออก วิจัยตัณหา วิจัยกามตัณหา ภวตัณหานี่ วิจัยตัวนี้ หรือรสอัสสาทะ ที่มันเป็นอยู่นี้ให้ออก อันนั้นต่างหาก ทำให้มันจางคลาย ไม่ใช่ไปทำให้ความรู้จางคลาย โง่เหรอ ใช่ โง่จริง เพราะฉะนั้นคนโง่จริงก็เละเลย ไประงับไปหมด ไปหยุดคิด หยุด ไม่ให้รู้อะไรหมด มันก็ทั้งดุ้นหมดเลย อาตมาก็ยกตัวอย่าง เหมือนอย่างกับ จะจับโจร โจรมันเข้าไปอยู่ในบ้าน จะจับโจรเผาบ้านทั้งบ้าน หมด ฉิบหายหมดเลย ของตัวเองก็หมด โจรก็ตาย โจรหนีขุดรูหนีออกไปทางไหนก็ไม่รู้ เผาใหญ่เลยเผาบ้านใหญ่เลย เราไม่เอาหรอก ลงทุนอย่างนั้นไม่คุ้มหรอก จะจับโจรทั้งที เผาบ้านทั้งบ้านเพื่อจับโจร แล้วก็ไม่รู้ หน้าตาโจร มันรอดหนีออกไปตรงไหนก็ยังไม่รู้ด้วย ส่วนมากจับโจรไม่ค่อยอยู่ มันเล็ดลอดหนี โจรมันเก่งนะ กิเลสมันเก่ง เผามันไม่ค่อยได้ นี่ไม่ได้ ต้องธัมมวิจัยนี่แหละ ชอนไชจับโจรให้มั่น คั้นให้ตายตรงไหน เชือดตรงไหน ตายอย่างสนิท เชือดให้ถูกจุดสำคัญเลย เชือดให้ตายสนิทเลย ธัมมวิจัยต้องวิจัยอย่างนี้ ต้องมีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อย่างนี้นะ

เพราะฉะนั้นสักกายะก็คือตัวตนพวกนี้ ธัมมวิจัยนี่แหละ วิเคราะห์วิจัยออกให้ชัดเจน พ้นวิจิกิจฉา แล้วก็ใช้ วรยุทธ์ศีลพรต สีลัพพต มีศีล มีพรต มีการปฏิบัติประพฤติบำเพ็ญอด พยายามทั้งวิปัสสนา ทั้งสมถะ เพื่อให้กิเลสนี่ลดลงได้ เรียกว่า พ้นปรามาส พ้นสีลลัพพตปรามาส ไม่ใช่แค่ศีล แค่พรตไป แล้วก็ไม่รู้เรื่อง ไม่เกิดผลอะไร ไม่รู้ปรมัตถ์ ไม่ถึงขีดปรมัตถ์ ไม่มีญาณ ไม่เกิดญาณปัญญา ไตรสิกขา ไม่เกิดตัวปัญญา เกิดแต่ศีลเกิดแต่สมาธิ แต่ไม่ถึงปัญญา ปัญญานี้คือญาณ คือปัญญา ตัวที่รู้ของจริง ตามความเป็นจริง แล้วรู้อย่างชัดเจน อย่างพ้นวิจิกิจฉาด้วยว่า เราปฏิบัติวรยุทธ์มีศีล มีพรต ปฏิบัติไม่ใช่แค่ลูบๆ คลำๆ ต้องแรง ไม่ใช่ลูบคลำหรอก น็อค เฉือนลูกกระเดือกมัน ทำให้มัน อ่อนแรงลงไปได้ ชนะนิดหนึ่งก็เรียกว่าพ้นปรามาส พ้นการจับๆ จดๆ เหลาะๆ แหละๆ ลูบๆ คลำๆ เอาจริง ไม่ปล่อยให้ชีวิตของกิเลสนี่มันแรงอย่างเก่า ต้องลดค่าของกิเลสลง ให้ลดลงๆ จางคลาย ลงให้ได้ นั่นเริ่มชนะ นั่นเริ่มพ้นสีลลัพพตปรามาส

สังโยชน์ ๓ ก็เป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล โสดาปัตติมรรคก็สะสมเป็นผลขึ้นเรื่อยๆ แหม ฉายหนัง slow motion ขนาดนี้ไม่รู้ เอาหัวไปหา กองขี้ควาย แล้วเอาหัวไปจิ้ม ขี้ควายซะ ที่แพ้กิเลส ครั้งแรกๆ ก็แสดงว่าเราเองก็ยังไม่พ้น โคตรของ ปุถุชน โคตรของกัลยาณชน แต่เริ่มต้นเป็นคนปฏิบัติ เข้าทางแล้ว แต่มรรคมันยังสู้ไม่ไหว ยังไม่ ก้าวหน้า มันยังไม่เดินพ้นมิจฉาทิฐิ พ้นอนิจจานุปัสสี เห็นอนิจจัง พ้นมิจฉาทิฐิ นี่คนพ้นมิจฉาทิฐิของพุทธ ต้องปฏิบัติถึงขั้นมีญาณ เห็นการปฏิบัติว่า เราสู้กับกิเลสจริง ไม่ใช่โมเมกิเลสเป็นอย่างไร เอาแต่กดข่ม เอาแต่นั่งสมาธิสะกดจิต แล้วก็วิจัย แบบสะกดจิตเฉยๆ แบบฤาษีที่เรียนอยู่ทั้งหมด ไม่ใช่ ไม่แค่นั้น เพราะฉะนั้น จะเข้าทางศาสนา ของพระพุทธเจ้าเป็นอาริยะ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์เป็นสติอาริยะ ธัมมวิจัยก็เป็น ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ หรือเป็นธัมมวิจัยอาริยะ วิริยะ พากเพียรก็พากเพียรจนถึงขีดนี่ คุณสู้อยู่ แม้คุณแพ้ วิริยะคุณเพียร แพ้ก็เรียกว่า คุณพ้นมิจฉาทิฐิ แต่ยังตีไม่แตก คือยังไม่พ้นสักกายทิฐิ ยังไม่เก่ง อินทรีย์พละยังไม่พอ ต้องวิจัยต่อไป แพ้เพราะอะไร ทำไปเรื่อยๆ ทำไปจนกระทั่ง คุณรู้ว่า คุณชนะ ต้องเอาจริงจึงชนะ

เวทนา สัญญา สังขารนี่เรียกเป็นตัวๆ ชัดดี ตามให้เจอ แล้วต้องละมันให้ได้ ต้องปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ปฏิบัติ อย่างนี้ จะรู้ปริยัติ รู้ภาษา นี่อาตมาอธิบายคุณคงพอเข้าใจได้ คนที่ต้องศึกษา ถ้าเอา ด็อกเตอร์ มานั่งเรียน รับรองเขารู้หมดเลย พวกนี้เก่ง บัญญัติภาษา เอาพวกที่หัวดีๆ พวกด็อกเตอร์ มานั่งเรียนนี่ รับรองเขาจะรู้หมดเลย ฟังนี่เข้าใจหมด แต่ปฏิบัติได้ไหม ปฏิบัติไม่ได้ ไม่เป็นอาริยชน ปฏิบัติจนไม่เกิดญาณที่เป็นของจริงตามความเป็นจริงที่อธิบายนี้ ไม่เกิดอาริยชน ไม่เป็นโพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้

เพราะฉะนั้นจะเป็นสติถึงขั้นองค์แห่งการตรัสรู้ ก็ต้องอย่างนี้ ต้องมีสติรู้ตัวแล้วก็ได้ปฏิบัติ มีผัสสะแล้ว ก็ได้ธัมมวิจัย ถึงขีด วิริยะถึงขีด จนเกิดผลปีติสัมโพชฌงค์ คือได้ดี ได้เจริญขึ้นมาได้ดี ได้ความเป็นอาริยะ ความลดละกิเลส เมื่อปฏิบัติถูกทาง แม้คุณแพ้ แพ้กิเลส คุณพ้นมิจฉาทิฐิ เพราะฉะนั้นพ้นมิจฉาทิฐิที่เป็นอาริยะ จึงไม่ได้พ้นมิจฉาแค่คุณได้รู้ได้เข้าใจ ความรู้ ความเห็น อันนั้นใช่ ความเห็นจะเป็น สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา คุณจะพ้นมิจฉาทิฐิ ในระดับปรมัตถ์ หรือ ในระดับสัจจะ เข้าถึงขั้นจิต เจตสิก เข้าถึงขั้นที่ริเริ่มเรียกได้ว่าอาริยชน ต่อเมื่อคุณพ้นมิจฉาทิฐินั้น ได้ซัดกันจริงๆ เลย ในสงคราม ทางจิต จิตของตัวเองนะ ไม่ใช่คุณไปซัดจิตในทางของคนอื่น จิตของตัวเอง คุณได้ทำสงครามเลย สู้กับมัน เห็นอนิจจัง เห็นความไม่เที่ยง มันไม่เที่ยงถึงขนาดว่า อาการทางจิตของเรานี่แหละเป็นกิเลส แล้วเราก็พยายาม เปลี่ยนแปลง สู้กับมัน ให้มันลด มันก็ลด ไม่ได้ มันไม่เที่ยงจริงๆ นะ มันยังเที่ยง มันยังอยู่กิเลสร้อย ชกกันใหญ่เลย ตีกันใหญ่เลยนะ เราเห็น กิเลส ชัดแล้ว มีทิฐิคือความเห็นที่เห็นจิตวิญญาณแล้ว กิเลสร้อย เสร็จแล้วสู้กับกิเลส มันขึ้นเป็น ร้อยห้า ไม่เที่ยงๆ กิเลสขึ้นไปร้อยห้า สู้ไปสู้มาขึ้นเป็น ร้อยห้า ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง เห็นความไม่เที่ยง แต่ไม่เที่ยง ไปหาความหนานี่ซิ กิเลสมันหนาขึ้นนี่ซิ โธ่เอ๊ย จะเป็นอาริยชนแท้ๆ แต่คุณรู้ของจริง มีปัญญา เห็นความจริงตามความเป็นจริงแล้วนะตรงนี้ ถึงขั้นศีล สมาธิ ปัญญา ถึงขั้นปัญญา แล้วนะ ปัญญาที่เห็นของจริงตามความเป็นจริง แต่มันไปเป็นปุถุชน รู้แล้วมันหนาอย่างนี้เอง ก็มันร้อย มันหนาขึ้น ร้อยห้า หนาขึ้นร้อยหก หนาขึ้นร้อยสิบ หนาขึ้นร้อยยี่สิบ นี่ มันเห็นความไม่เที่ยง แต่ไม่เที่ยงไปในทาง ไม่ใช่จางคลาย แต่ยิ่งหนาขึ้น เห็นปุถุ ไม่ใช่เห็นวิราคะ นี่พ้นมิจฉาทิฐิแล้ว อนิจจัง แต่ยังไม่พ้นสักกายทิฐิ ยังตีไอ้ตัวการใหญ่ สักกายะตัวใหญ่ นี่ยังไม่แตก ยังไม่เป็นลักษณะ จางคลาย จนกว่าจะตีมันลดจางคลายลงได้ เห็นความจางคลาย วิราคานุปัสสี เห็นความจางคลาย เมื่อคุณจางคลายได้ คุณต้องเห็นความลดทุกข์ได้ เห็นทุกข์เห็นความลดทุกข์ เห็นความลดเหตุ แห่งทุกข์ จากน้อยเท่าไหร่ ก็อาจจะรู้ยากหน่อยมันน้อย มันต้องลดลงมากหน่อย มันถึงจะเห็นชัด มันจะให้กินขนม ไม่กินขนม ไม่แพ้มัน เห็นเลยว่าชนะ กิเลสมันลด มันจาง มันคลาย แต่ก่อนนี้ มันอร่อยจังเลย กินไปๆ อร่อยๆ น้อยลง อย่าไปเสียใจ ต้องดีใจ คนโลกนี้ โอ๊ยตาย กินข้าวไม่อร่อยแล้ว กินขนมไม่อร่อยแล้ว สงสัยจะต้องตายแน่ๆ คนโลกๆ เขา แต่พวกเราโอ๋ย อย่างนี้เจริญ อย่างนี้ งอกงาม ยิ่งกินขนมไม่อร่อยนี่ ยิ่งสบายเลย ยิ่งอะไรลด รสอัสสาทะลงไปได้ยิ่งสบาย มันกลับกัน ไปหมด รู้สึกจริง เราต้องรู้สึกจริง ไม่ใช่แกล้งรู้สึก ก่อนเราไม่ทันรู้จริงก็แกล้งก่อน ไม่รู้สึกจริง ก็แกล้ง ไปก่อนก็ได้ โน้มน้อมมันไปในทางทิศนี้ ให้จริงให้ชัดๆ จะรู้ว่าเราเองยังไม่จริง มันเกิดจริงเมื่อไหร่ เมื่อนั้น คุณก็เป็นตัวจริงเมื่อนั้น ลดไปเรื่อยๆ

อธิบายมาถึงขนาดนี้ พอจะรู้จักขีดขอบความเป็นอาริยะหรือยัง เอาละตอนนี้ระวังเถอะ อาริยะระบาด เดี๋ยวอาริยะ ระบาดกัน ทีนี้หลงตัว หลงตน นั่นโอ้โฮอวดอุตริ โอ้โฮ ! อาจหาญ ไม่ได้อายเลยนะนี่ บอกว่า ไม่ได้หลงหรอก มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ อวดอย่างไม่รู้สึกตัวว่าอวดเลย อวดอย่าง innocent อวดอย่าง ไม่เดียงสา คือซื่อๆ น่ะ มีก็ว่ามี ไม่มีก็ว่าไม่มี ไม่มีเลศเล่ห์ อะไรหรอก ความจริงใจนะ มันก็เป็นได้ อย่างนี้ก็เรียกว่าไม่มีเลศเล่ห์อะไร ไม่มีความผิดอะไรหรอก นี่เราจะเข้าใจขีด อาตมา ยกแต่ละสูตร แต่ละอันที่อาตมาเอามาขยายความ ประกอบให้เห็นได้ว่า เราต้องมีญาณปัญญา คำว่า ญาณปัญญานี่ ไม่ใช่ของตื้น ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาทุกวันนี้ ปฏิบัติปัญญาก็แค่ สุตมยปัญญา กับ จินตามยปัญญา เต็มบ้านเต็มเมือง เปรียญ ๙ เป็นพุทธศาสนบัณฑิต เป็นด็อกเตอร์ของทาง พุทธศาสนา อะไรก็แล้วแต่ อยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ได้มาปฏิบัติ เพื่อที่จะรู้ยิ่ง เห็นจริงสิ่งเหล่านี้ ถ้าคุณชัดเจน อย่างนี้จริงๆ และพากเพียรปฏิบัติให้ดีจริงๆนะ ๗ ปี ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ อย่างต่ำ ก็เป็น พระอนาคามี จับมั่นคั้นตายให้ชัดเถอะ พอเชื่อไหมว่า ถ้าเป็นจริง สามารถรู้รอบรู้จริง เป็นสุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน ญายปฏิปันโน จริงๆ นี่ มันมีสภาวะเรียนรู้พวกนี้ ชัดอย่างนี้จริงๆ จับได้มั่น จริงๆ นี่ และมันทำได้ ตัดกิเลสพากเพียรได้เพียงพอจริงๆ ๗ ปี ยกไว้ บางคนไม่ถึง บางคน ๖ บางคน ๕ ก็ต้องทำให้มากที่สุดละ ให้มันได้นะ ก็จะ ๗๐ ก็ยังไม่ได้เสร็จแล้วก็ต่อ ๗๐๐ แล้วกัน ๗๐ ปี ไม่ได้ขอ ๗๐๐ ปี ๗๐๐ ปีไม่ได้ขอ ๗๐๐๐ ต่อไปหลายชาติ นั่นซิไม่ทุกข์นะ มันจะกี่ปี ก็ต้องถาม กิเลสตัวเองซิ มันมีมาก มีน้อยแค่ไหน ไปทำดูให้จริง

(อ่านต่อหน้า ๒)

GLB1G.TAP บุญนิยมจากโลกาภิวัฒน์ ตอน ๔