มองตนให้พ้นอวิชชา

โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ แสดงธรรมก่อนฉัน
เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๒ ณ พุทธสถานสันติอโศก


เมื่อเช้าได้เทศน์...ถึงเรื่อง...เกี่ยวกะ...ความอาฆาตน่ะ เราจะละลายความอาฆาต ที่จริงก็มันไม่ใช่ ความอาฆาตเท่านั้น มันมีโทสะ พยาบาทน่ะ พยาบาท หรืออาฆาต ผูกโกรธ หรือกระทั่ง แม้กระทั่ง ซึ่งที่ยังมีความไม่ชอบใจติด เหลืออยู่ในจิตใจ ติดยึด ที่ไม่ควรจะยึดเอาไว้ จนถึงที่สุด ที่...ก็ให้เห็น แล้วว่า มันติด มันยึด มันผูก มันไม่ปล่อยสุด... แล้วก็ไอ้ความที่ไม่ปล่อย ออกไปนั้น ยังถือไม่ ชอบใจ เพราะเหตุแห่ง ความไม่ชอบใจ เพราะสิ่งที่เราไม่สมใจน่ะ ก็พยายาม ได้อธิบาย... ได้บอกให้ เมื่อเช้าว่า ให้รู้ว่า เมื่อเราจะปฏิบัติธรรม ในระดับสูงขึ้นๆ สูงขึ้น... เราจะต้องรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อสุดยอดแล้ว เราก็ปลดปล่อยทุกอย่าง ไม่ติดใจ ไม่ว่าจะสายโลภะ สายโทสะอะไร แม้ที่สุด เราปล่อยวาง สิ่งที่มันไม่ชอบ ใจทั้งหมด ทั้งมวลในโลกนี้ เราไม่ต้องทำใจ ของเราที่จะไม่สบายใจ เพราะไม่ ชอบใจนี่ มันไม่สบายใจ ภาษาไทยนะ อันนี้... มันเป็นภาษาไทย ไม่สบายใจ หรือ ไม่ชอบใจนี่ สบาย มันก็มาจากภาษาบาลีว่า สปายะ สปายะ แปลว่าเจริญ มันไม่เจริญแล้ว สายไม่สบายนี่ มันไม่เจริญ มัน..เป็นความไม่สบายนี่ มันพา ไม่เจริญทั้งนั้นแหละ นี่เราพูด ด้วยภาษาเท่านั้น มันก็สื่อสภาวะละเอียดลออถึงที่สุด ก็ยังได้นะ เข้าใจได้

เพราะฉะนั้น ขอให้เราพิจารณาตัวเองให้ดีๆ ส่วนสายโลภมูลนั้น หรือความต้องการ ความปรารถนา นั้น เรายังใช้งาน... ตราบที่เรายังมีขันธ์ ๕ ใช้งาน แต่ที่สุดอีกที่สุดเหมือนกัน อย่าว่าแต่โทสะเลย โทสะนั้นตัดได้ก่อน ไม่ให้ มีได้ตลอดตั้งแต่เป็นๆ ไม่ต้องเอามาใช้ทำงานด้วย ความไม่ชอบใจ อาการไม่ ชอบใจ เป็นแต่เพียงใช้ความรู้ให้จริงเลย ใช้ความรู้ ไม่ต้องใช้แรง แห่งความ ไม่ชอบใจ ทั้งหมดทั้งมวล ใช้ความรู้ รู้ให้ชัดว่า เออ นี่ไม่ดี ไม่ดีแล้วก็ต้อง นอกจากไม่ดี ไม่ชอบใจแล้ว เรายังจะพยายาม ยินดีด้วยซ้ำไปนะ ยินดีก็คือ ชอบ ใจก็ได้ ยังยินดีที่จะช่วยเขา ไม่ใช่ผลักเลย ไม่ชอบใจ แล้วจะผลัก ไม่ใช่ ยินดีที่จะคบหา ยินดีที่จะต้องช่วยเหลือเขา ถ้าเรามีฤทธิ์ มีแรงพอ นอกจากว่าเราเอง เราไม่มีฤทธิ์ ไม่มีแรงพอ คบหาเขา หรือไปช่วยเขา มันจะเป็นภัยด้วยซ้ำ เขาจะฉุดเราลง เพราะเราไม่มีแรงพอ เราไม่มีความสามารถ แล้วเราก็ไม่มี เวลาพอที่จะไปเสียเวลา กับเขามาก ควรจะทำกับคนอื่น ที่จะมีประโยชน์กว่า เราก็จำเป็น เราก็ต้องวางมือเขาก่อน ปล่อยให้เขา เป็นไปตามเรื่องของเขา ส่วนตัวเอง ด้วยบุญบารมีเขาเท่าไหร่ ก็...เราก็มีงานอื่น ที่จะต้องทำ มีคนอื่นที่ เราจะต้องช่วย อะไรอย่างนี้เป็นต้นนะ นี่ก็ลึกๆ ก็ได้อธิบายไปบ้างน่ะ ที่เรา ได้พูดกัน เมื่อเช้านี้ ในแนวความหมายอะไรต่ออะไร ต่างๆนานา แล้วทีนี้ มาฟังต่อ

พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม นี่ ก็สอดคล้องกัน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่สรรเสริญ ความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยว่า เราจะสรรเสริญ ความเสื่อม นี่แหละ ฐีติสูตร นี่แหละ ในกุศลธรรมทั้งหลายน่ะ เราจะสรรเสริญความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมสรรเสริญความเจริญ ไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ ไม่สรรเสริญ ความเสื่อม ไม่..ไม่ใช่...ไม่ ไม่สรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความ หยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ เป็นอย่างไรน่ะ นี่ ขยายความ...ตอนนี้... ความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ ลองฟังดูเลยทีนี้ ท่านขยายความแล้ว

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร หรือแค่ไหนน่ะ มีพื้นเพแค่ไร หรือมีพื้นเพแค่ไหน เกี่ยวกับ ศรัทธา... คือ ความเชื่อ ศีล ศีลในนี้เขาแปลความ ว่า ความเป็นปกติทางกาย วาจาน่ะ เขาแปลว่า ความเป็นปกติทางกายวาจา แปล ให้ลึกเลยว่าศีลนี่ คือหลักเกณฑ์ ที่มาปฏิบัติแล้ว จนเป็นผล ให้กายวาจานี่ ทำได้ อย่างเป็นธรรมดา ปกติ เพราะใจมีกำลัง เพราะใจมีปัญญาเพียงพอ หรือใจ หมดกิเลสต้านน่ะ ใจหมดแรงต้าน ถ้าเพียงกดข่ม ไม่ให้มันมาดันกายวาจา ใจ เราจะทำ ต้องการทำอย่างนี้ ให้มันเป็นจารีตประเพณี เป็นความเคยชนิด เฉยๆ ก็ทำได้ แต่ว่าเราไม่รู้ว่า อนุสัยอาสวะ หรือว่า หลัก...ราก ราก เหง้าของอกุศล ที่มันเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ทำให้กายวาจา ของเราจะตีกลับเวียน กลับได้นั้นน่ะ เรายังไม่รู้ว่าเราถอนหรือไม่... เราก็มันก็ยังไม่สมบูรณ์ ถ้าเรา๐รู้ จนกระทั่งอ่านเห็นชัด มีทฤษฎีตรวจสอบว่าเราเอง เราไม่มีแล้วละกิเลส ตัณหา อนุสัย อาสวะอะไร ที่มันจะตีกลับ มันจะกลับมาย้อนแย้งคืนอีกทีหนี่งมันไม่ มี..อย่างนั้น เราก็ค่อยจะแน่ใจน่ะ เพราะฉะนั้น ศีลนี่ก็เคยอธิบายแล้วนะ ต้องถึง ไปถึงจิต ถึงถอนอนุสัยอาสวะโน่นละ สุตะ คือ ความสดับตรับฟัง จาคะ คือ ความเสียสละ ปัญญาคือความรู้ ปฏิภาณ คือ...คือไหวพริบน่ะ ปฏิภาณ คืออาการ ของไหวพริบต่างๆ ธรรมะเหล่านั้นของเธอ ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เจริญขึ้น นี่ ขยายความว่า การตั้งอยู่ หรือการหยุดอยู่ มันคืออะไร ภิกษุในธรรมวินัยนี่ พื้นเพ ของศรัทธาน่ะ เราต้องตรวจว่า ไอ้ที่มันตั้งอยู่เฉยๆ มันเท่าเก่าอยู่นี่ มันคือ ศรัทธา มันก็ไม่เพิ่ม ศีลก็ไม่เพิ่ม สุตะก็ไม่เพิ่ม จาคะก็ไม่เพิ่ม ปัญญาก็ไม่เพิ่ม ปฏิภาณก็ไม่เพิ่มน่ะ นั่นเรียกว่า ธรรมะเหล่านั้น ของเธอ ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่ เจริญขึ้น เรากล่าวข้อนั้นว่า เป็นความเสื่อม ถ้ามันไม่ตั้งอยู่ มันก็เสื่อมกว่าเก่า ศรัทธาก็เสื่อม ศีลก็เสื่อม สุตะก็เสื่อม จาคะก็เสื่อม ปัญญาก็เสื่อม ปฏิภาณก็ เสื่อม มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญน่ะ ไม่ใช่ความ...มันเสื่อม มันไม่ได้ ตั้งอยู่เท่าเก่า แล้วมันก็ไม่เจริญ...แน่นอน

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญน่ะ อย่างนี้ คือความเสื่อม ก็ต้องมีเหตุปัจจัย ว่า เสื่อมเอาอะไรเป็นตัวอ่านน่ะ ฟังนะ... อีกที เอาตัวศรัทธา ตัวศีล ตัวสุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เป็นตัวอ่าน เป็นลักษณะ ที่จะตรวจสอบ ตรวจสอบใน ๖ ประการนี้น่ะ ตรวจสอบใน ๖ ประการนี้ ว่ามันเสื่อม หรือมันตั้งอยู่ หรือว่ามัน เจริญ ถ้ามันเสื่อม มันไม่ได้ตั้งอยู่ ไม่เท่าเก่า แล้วมันก็ไม่เจริญ...แน่นอน นั่นแหละ คือความเสื่อม

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความ เสื่อม ตอนนี้ไม่ใช่ความเสื่อม เป็นความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ แต่ก็ไม่ใช่ ความเจริญ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพ แค่ไร คือ ตรวจเลย ตรวจพื้นเพ ตรวจความเป็นอยู่ขนาดของเรา เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ ธรรมะเหล่านั้นของเธอ ย่อมไม่เสื่อมไปน่ะ ย่อมไม่เจริญขึ้น ไม่เสื่อมน่ะ แต่ไม่เจริญขึ้น เรากล่าวข้อนั้นว่า เป็นความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือ ความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ ซึ่งก็เหลือความเจริญ ก็คงอธิบายอีกก็คงเดาได้แล้วน่ะ

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในธรรม ในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ ธรรมะเหล่านั้นของเธอ ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เสื่อมไปน่ะ เรากล่าวข้อนั้นว่า เป็นความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม

อันที่จริงสูตรนี้ หรือเรื่องนี้ เราเอามาอธิบาย เอามายืนยัน เอามาพูด เอามาใช้ อาตมาเอามาใช้ จริงๆว่า คนเราเกิดมานี่ มันไม่ควรอยู่ที่เก่า แล้วมันก็ไม่ควรเสื่อม มันต้องเจริญๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็แง่เงื่อนไข ที่อาตมาเห็นพระพุทธเจ้าท่านสอนเราไว้ มากมาย...แม้แต่พระพุทธองค์ ก็ตรัสเองว่า ท่านเอง ท่านยังไม่สันโดษในกุศล...แหม ขนาดพระพุทธเจ้านี่ ทำดีมามากมาย มหาศาลน่ะ จริงๆ น่ะ ทำมาจริงๆ สะสมมาต่างๆ นานาสารพัด ไม่ได้หยุดได้ หย่อน เสร็จแล้ว แม้ในชาติที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็ไม่ได้หยุด เพราะฉะนั้น ลักษณะนี้ อาตมาพยายาม นำมาเปรียบ มาเทียบ มาวัด มายืนยัน มาอธิบาย ให้เห็นว่า คนเราเกิดมานี่ มันไม่ใช่ฤาษีนะ ศาสนาพุทธนี่ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ เห็นความเห็นเป็นแบบฤาษี เราหยุดอยู่ เราไม่ไป เบียดเบียนใคร แต่เราก็ไม่ช่วยใคร อะไรอย่างนี้เป็นต้น นั่นมันไม่เจริญ มันไม่มีประโยชน์ มันไม่มีคุณค่า มันเอาละ จะว่าไม่เสื่อม สมมุตินะว่า จะไม่เสื่อม ก็มันก็ไม่ควรทำ มันอยู่เท่าเก่า เราเคยทำความดี เสร็จแล้ว ก็ไม่ทำแล้วความดี ดีไม่ทำ ชั่วไม่ทำน่ะ ทั้งชั่วทั้งดีอัปรีย์ทั้งนั้น ไม่ได้ ไม่ได้การนะ ไอ้นี่ ยังเข้าใจเผินๆนะ ทำดีไม่อัปรีย์หรอก อัปรีย์นี่ แปลว่า ไม่เป็นที่รัก อัปรีย์ นี่ อับ มาจากคำว่า อับ ก็ อะ นี่แหละ มันเป็นการปฏิเสธิ อ ปรียะ หรือปรียา นี่ หรือ ปิยะ นี่ แปลว่า อัน เป็นที่รัก

เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำความดีนั้น มันเป็นสิ่งที่อันเป็นที่รักน่ะ มันไม่ใช่ อะ อัปรีย์นะ มันเป็นสิ่งที่ เป็นที่รักนะ มันทำความดีนี่ มันไม่เป็นที่ชังหรอกนะ เป็นที่ชังก็แต่คนโง่ๆเท่านั้นแหละ แก่คนที่ ไม่รู้จักอะไรกัน คนดีไปชังเขาได้เหรอ คนทำดี เหมือนอย่างชาวอโศกมั้ง โพธิรักษ์นี่ ทำดี ทำดี แต่ก็ชังโพธิรักษ์ แหม มันยังไงกัน เหอ เนาะ ประหลาดแท้ๆ เพราะฉะนั้น คนที่ทำดีนี่ เป็นที่รักนะ มันไม่ใช่เรื่องที่จะต้องหยุดหย่อน มันลึกซึ้ง ตรงที่ว่า เราทำดีนี่ ทำไปเถิด ไม่ หยุดหย่อน แต่เราต้องลึกซึ้ง ที่จะต้องไม่ติดดีเป็นของเรานี่ ก็พูดกันมามาก เรา ก็อธิบายกันมามาก ให้รู้สภาวะ เราอย่าไปยึดมั่นถือมั่น ไปคิดว่าเป็นของตัวของตน ทั้งๆที่มันเป็นของตัวของตนหรอก ใครปล้น ไม่ได้ ใครจี้ไม่ได้ ใครโกงไม่ได้หรอก โดยสัจจะ ก็เป็นของตนนี่ล่ะ ก็เราทำก็เป็นของเรา กัมมัสสโกมหิ กัมมทายาโท แต่เราจะทำในใจที่ไปยึดติดว่าเป็นของเรา ใครจะตู่เอา ใครจะว่าไม่ใช่ เฮ้อ เฉย นอกจากว่าไม่ใช่แล้ว ด่าอีกน่ะ กลบเกลื่อน แกล้งทำลาย ความดี ถูกเขา ลบหลู่ ถูกเขาบิด บิดผันอะไรไป มันไม่สูญไปไหนหรอก ถ้าเข้าใจชัดๆแล้ว มันมีความจบน่ะ มันมีความจบที่ว่า เอ๊อ เราไม่สงสัย เราไม่มีปัญหาหรอก ใครจะว่ายังไง ไม่มีปัญหา ไม่ต้องไปสะดุ้งสะเทือนอะไรด้วยเลย จริงๆ ไม่สะดุ้งสะเทือน ก็เราตรวจสอบความดี หรือความถูกต้องของเรา ให้ตรวจสอบให้ชัด ก็แล้วกัน ตรวจให้จริงๆซิ ตรวจเเข้าไป ความดีความถูกต้องนี่ แล้วดีจริงๆไหมล่ะ ถูกต้องไหมล่ะ ถ้าถูกต้องแล้ว ก็จบ ใครจะด่า ใครจะว่า อะไรก็ฟังเขา เออ คนนี้ด่าเก่งนะ คนนี้ด่าไม่เก่ง คนนี้ด่า ได้ขนาดปากคลอง ตลาด คนนี้ด่าได้ขนาด...สยามสแคว์... คนนี้ด่าได้ขนาดระดับ ทำเนียบแน่ะ คนนี้ ด่าได้ในระดับเอาละ พอ...มันจะมากไป ด่าได้ในระดับนั้น ระดับนี้ ก็รู้ซิว่า เขาด่าขนาดไหน ด่าอย่างไร ด่าในระดับโน้น ระดับนี้ เราก็เข้าใจลึกซึ้งได้ บางคนด่าเรานี่ โอ้โห ! ด่าอย่างผู้ดีนะ อย่างหวานจ๋อย ด่าอย่างให้ไม่ได้รู้ทัน ที ๗ วันค่อยสะดุ้งน่ะ ค่อยคิดออก เฮ้ย นั่นเขาด่าเรานี่หว่า ที่จริงหลงว่าเขา ชม หลงว่าเขาชื่น หลงว่าเขาเห็นด้วย หลงว่าเขาจะส่งเสริม เสียด้วยซ้ำไป ที่ไหนได้ เขาด่าซ้อน แหม ซ้อน ซับซ้อนไว้ กว่าจะรู้ตัว โถเอ๊ย ตั้ง ๗ วัน ค่อยสะดุ้ง ตลบ ๘ ตลบกลับ ... เฮ้ย นี่เขาด่าเรานี่หว่า...กว่าจะรู้ตัว บางคนด่าไม่ให้ รู้ตัวง่ายๆ ถึงขนาดนั้น... ด่าโดยที่เราไม่ตอบ ไม่โต้อะไรต่ออะไร บางทีเขาด่า แล้วยังไม่รู้ตัว จนกระทั่งชาตินี้ๆ ยังไม่รู้เรื่องเลย ตายไปแล้ว ยังไม่รู้เรื่องเลยว่าเขาด่า โอ๋ย กว่าจะรู้สึกตัวอีกหลายชาติ แหม ไอ้อย่างนี้ ก็แย่เหมือนกัน แล้วมันก็เป็นได้นะ เป็นอย่างที่ว่านี้ได้ด้วยน่ะ พระพุทธเจ้าท่านให้เงื่อนไขของ เราว่า การจะตรวจว่าเราเองเรา เราเสื่อม หรือเราหยุดอยู่ ทรงอยู่ ตั้งอยู่ เท่าเดิม หรือเราจะเจริญขึ้นนี่ เอาอะไรเป็นตัว...เป็นตัวอ่าน เป็นเครื่องอ่าน เป็นเครื่องชี้ เป็นดรรชนีชี้ค่าน่ะ ก็อริยทรัพย์นั่นแหละ เป็นหลักน่ะ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณน่ะ

ศรัทธานี่ เราก็พูดๆ พูดกัน ไม่ได้ไปศรัทธา ไม่ได้ไปเชื่อแบบกาลาม สูตร ๑๐ ข้อ เราไม่ได้เชื่อ เพราะอย่างโน้นอย่างนี้ แต่เราเชื่อเพราะกุศลนั้น นี่ แน่ะ กุศลนั้นก็ยืนยันว่า กุศลธรรมทั้งหลาย กุศลนั้น ความถูกต้องแล้ว ความดีงาม แล้ว ความฉลาดเฉลียวแล้ว อันนั้น เรื่องนั้น นั่นน่ะ เราได้พิสูจน์ให้มี ให้เกิด ขึ้นในตนแล้ว จนรู้สภาพดีนี่ ว่ามีผลดีต่อตน มีผลดีต่อท่าน มีผลดีต่อ มหาชนเป็นอันมาก ไม่ได้เห็นแก่ตัว มันไม่ได้ไปทำลายทำร้ายใคร ตนก็ไม่ได้ทำลาย ผู้อื่นก็ไม่ได้ ทำลาย แล้วมีรส มีธรรมรสด้วย นอกจากธรรมได้แล้วๆก็มีรส เป็นรส ธรรมรส เป็นรส วิมุติ เป็นรสว่าง เป็นรสสูงนะ ขนาดไม่ต้องฟูใจ แม้แต่อุปกิเลสปี ปีติ ยินดี ที่ เราได้ทำดีนั้นก็ไม่มี ถึงขั้นนั้นหรือเปล่า หรือแม้อาตมาก็บอกหลายที ถึงแม้ว่าคุณจะ ยังมีความดีใจ ความพอใจ ปลาบปลื้มในสิ่งที่เราทำดีอยู่ มันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย อะไรเกินไปนัก ถ้าคุณยังจำเป็น ที่จะต้องใช้อันนี้ เป็นเครื่องชูใจ สำหรับคนที่ยัง อินทรีย์พละไม่แก่กล้า ต้องมีเครื่องชูใจพวกนี้ ทำดีแล้ว ก็ยินดีในดี จริง มันเป็น มันเป็นภพเป็นชาติ เป็นอัตตา มานะอยู่ในตัว เหมือนกัน ถือว่า เราทำดีอะไรต่อ อะไรมากมาย แล้วก็ยึดดีจนกระทั่งกระด้างกระเดื่อง ต่างๆนานา มีอุปกิเลสซ้อน เชิงเข้าไปอีก กลายเป็นคนถือดี ถือตัว แพ้ภัยตัวอะไรขึ้นไป เราก็ระวัง

แต่ถ้าเผื่อว่ามันไม่ไปทำร้ายทำเลวอะไร ก็ถือว่าก็ยังดี สูงสุดแล้ว เราก็แม้แต่ดี ที่เราได้ทำ เราก็ต้อง ไม่ต้อง ไปหลงดีนะ ไม่ต้องไปติดยึดดี ดีแล้วก็แล้วไป ทำแล้วก็จบ ไม่ต้องถือเป็นของตน ไม่ต้องไปเที่ยว ได้จดได้ทำอะไร เอาไว้ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องจำยังได้เลย ความดีที่เราทำ ไม่ต้องจำ ให้มาก แต่ความชั่วที่เราทำ ต้องจำไว้ เพื่อแก้ไขน่ะ ความดีที่ทำไม่ต้องจำ เพื่อเอาไว้ระลึก บุญคุณเอา ไปทวงทวงคุณเอากับใครเขาหรอก แต่ความชั่วนั่น ... ระวัง ส่วนความดีของ ผู้อื่นนี่ เขาทำแก่เรา เราต้องจำไว้ เพื่อตอบแทน ความดีของเรา ทำแก่เขา ไม่ต้องไปจำไว้ เพื่อทวงบุญ ทวงคุณ แต่ความดีของผู้อื่น ที่ทำกับเขา ต้องจำไว้ เพื่อ ตอบแทนน่ะ ความชั่วก็ต้องจำ ของเรา ก็ต้องจำ ความชั่วของคนอื่นก็ไม่ต้องไปจำ มากมายนักหรอก ความชั่วของเรานั่น ส่วนมาก ไม่ค่อยจำ ไปจำแต่ความชั่วของ คนอื่นน่ะ

ในเรื่องของศรัทธา ความเชื่อ เราก็ต้องมีผลของเราเองจริงๆ แล้ว เราจะเชื่อมั่น อย่างที่อาตมา พยายามวิเคราะห์วิจัยให้ฟังว่า ลักษณะเชื่อถือ เชื่อฟัง จนถึงเชื่อมั่น มันเป็นลักษณะอย่างไร ลักษณะนั้น ต้องมีในตัวเรา มี สภาวะ แล้วเราก็จะเห็นว่า อ้อ นี่เป็นความเชื่อมั่น เราไม่ได้เชื่อ ในกาลาม สูตรทั้ง ๑๐ แต่เราเชื่อเพราะเราถึงซึ่งกุศลธรรมนั้นแล้ว และเห็นรู้ได้ด้วยตน... เป็นความเชื่อมั่น นี้เป็นศรัทธา ที่จะเกิดศรัทธินทรีย์ ศรัทธาพละ เราตรวจดูว่า ศรัทธา เราศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีปัญญารู้แจ้งไหม ว่า พระพุทธคืออะไร

พระพุทธ คือ พระพุทธรูป พระพุทธ คือ ตัวบุคคลที่เป็นคนใน ประวัติศาสตร์ ชื่อเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีเนื้อมีหนัง มี ตัวตนบุคคล เดี๋ยวนี้ ก็ไม่เหลือแล้ว เมื่อไม่เหลือแล้ว เราจะไปศรัทธาอยู่แต่ตัว ตนเท่านั้นหรือ เราจะเอาตัวตนของท่านมาเป็นเราได้ไหม ... เนื้อหนัง เอา เนื้อหนังของท่านมาเป็นตัวเราน่ะ มันเป็นไปไม่ได้ หรือแม้อย่าว่าแต่เอาเนื้อ หนังเลย เราจะต้อง เกิดมาให้รูปหล่อเหมือนท่าน ให้แข็งแรงเหมือนท่านเท่านั้น เฉยๆ มันจะไปได้เรื่องอะไร เอาคุณธรรม เอาตัวกุศลธรรม เอาตัวเนื้อหา ของปรมัตถธรรมโน่นแหละ ที่พระพุทธเจ้า ท่านค้นพบว่า ทฤษฎีอย่างนี้ ปฏิบัติแล้ว เราจะเป็นอย่างนี้ได้ เป็นคนดี คนเจริญ เป็นอริยบุคคล อย่างนี้ๆ เอาอันนั้นละ เป็นตัวพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเราค้นพบ พระพุทธเจ้าเราค้นพบธรรมะนี้ ในโลก แล้วก็เอามาพิสูจน์ตนเอง ตนเองพิสูจน์ได้จริง แล้วเอามาสอนคนที่ได้รับการสอน ก็เป็นเหมือน อย่างพระพุทธเจ้าเป็น จึงเรียกว่า เดินตามรอยพระยุคลบาท เป็น อย่างที่ท่านเป็นก่อน แล้วเชื่อไหมว่าเป็นอย่างที่ท่านเป็นนั่นดี ถ้าเชื่อว่า อย่างที่ ท่านเป็นนั่นแหละ ท่านได้ ...แก่ตนเอง อย่างนั้นๆ มานั่นดี เอาเลย ฝึกฝนเอาตามอย่าง นั่นน่ะ คือเราได้ เราก็เห็นว่า พระพุทธเจ้า คืออันนั้น มันจะเป็นอันเดียว กันกับพระธรรม คือการทรงไว้ซึ่งสภาพนั้น สภาพซึ่งพระพุทธเจ้า ท่านได้ทรงไว้ ทำให้เกิดที่ตน แล้วก็ทรงไว้ จนกว่าจะตายไป นี่ท่านก็ตายไปแล้ว ท่านก็เคยมี สภาพนั้น ทรงไว้อย่างแข็งแรง มั่นคง เป็นคุณธรรมอันดี ทางกาย วาจา ใจ เราก็ เอาอันนั้นแหละ เป็นพระพุทธเจ้า คำสอนของท่านทั้งหมด เอามาปฏิบัติประพฤติให้ ทรงขึ้น เมื่อทรงขึ้น เราก็เป็น พระสงฆ์ เราเชื่อมั่นในอย่างนั้น ศีล หลักเกณฑ์ต่างๆ หรือว่าเขาจะแปลว่า ความปกติทางกาย วาจาน่ะ ทางโน้น เขาให้ความหมายว่าอย่างนั้น ก็ไม่ขัดแย้งอะไรกันนะ ความเป็นปกติทางกาย วาจา ศีลว่าอย่างนั้น ศีลเขาก็แปลว่า ความปกติ

ทีนี้ การเข้าใจคำว่าปกตินี่ อาตมาก็เคยอธิบาย เรามีหลักเกณฑ์อย่างนี้ ว่า เราจะไม่ฆ่าสัตว์ จนเรากาย วาจา เราก็ไม่ฆ่าสัตว์ อย่าว่าแต่วาจาเลย ใจ เราก็ไม่ได้อยากฆ่าสัตว์เลย ไม่ปรารถนา จะฆ่าสัตว์ ไม่แกล้ง มีเมตตาแก่สัตว์ทั้ง หลายแหล่ มีสติสัมปชัญญะ ไม่ไปทำให้จิตใด ไม่ไปทำ ให้ชีวิตใดเขาตกร่วง ตกต่ำ มีแต่จะทำให้ชีวิตเขา เจริญขึ้น โดยเฉพาะไปทำให้เขาตายด้วยร่างกาย ด้วย ชีวิตร่างกาย เราก็ไม่ทำ เป็นปกติ จะลักทรัพย์ จะผิดผัวเขาเมียใคร จะพูดปด เมามาย อะไรต่างๆ นานา โดยศีลกี่หลัก กี่ข้อก็ตาม ตรวจตนเอง จะมีอธิศีลขนาดไหน แล้วเราทรงไว้ เราเป็นอยู่ เราเสื่อม หรือตั้งอยู่ หรือ...เจริญขึ้นอีก เป็นอธิๆๆ อธิศีล ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นี่ตรวจนะ ศรัทธา ศีล สุตะ ความรอบรู้ต่างๆ สุตะ ความได้สดับตรับฟัง สุตะนี่ ความสดับ ตรับฟัง ความรู้ ทางแบบ...แบบศึกษาทฤษฎี ความหมายอะไรต่างๆนานา น่ะ เป็นความรู้ ที่ไม่เหมือนกันกับ ปัญญา อันนี้มันมีสุตะ ในนี้เขาแปลว่า ความสดับตรับฟังเท่านั้น บางที เขาก็แปลว่า ความรู้ ผู้มีสุตะมาก เขาก็เรียกเป็นผู้ที่รู้มาก แต่เป็นความรู้ใน ด้านได้ฟัง ได้สดับ ตรับฟังมา เป็นความรู้ที่จำมาได้รู้มา ได้ยินมา ศึกษามา ค้น คว้ามา คิดนึกด้วย รวมถึง ตรรกศาสตร์ ด้วย สุตะ เป็นจินตามยปัญญา เท่านั้น เป็นสุตะ เป็นจินตา จินตาก็อยู่ในระดับของ... สุตมยปัญญา แล้วก็เลื่อนขึ้น มาหาจินตา ก็เอามาคิด ผกผันอยู่ใน ตรรกศาสตร์น่ะ

ส่วน ปัญญา อาตมาก็เคยย้ำไม่รู้กี่ที โดยเฉพาะได้เรียกให้ชัดเจนขึ้นไป เป็นว่า อธิปัญญา หรือ ญาณทัสสนวิเศษ มันเป็น ไม่ใช่ความรู้โดยฟัง มัน เป็นญาณทัสสนะ มันเป็นความเห็น ความจริง รู้ก็รู้ผล รู้ผลที่เกิด ที่เป็น ที่มีในตัว เรา รู้ผลแล้ว รู้ค่าของผลด้วยว่าเป็นค่า เป็นคุณ เป็นประโยชน์ เป็นกุศล เป็นสิ่งดี นี่ก็ขออธิบายเลยไปสู่ถึงตัวปัญญาด้วย เพราะฉะนั้น สุตะ ความ สดับตรับฟัง หรือความรู้ มันจึงมีนัย ที่ต่างกันอยู่ ละเอียดลออต่างกันนะ หรือ แม้...เราเคยได้ยินว่า สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา

เพราะฉะนั้น สุตะก็ได้แค่ขั้นสุตะ จะเลยไปอีก ก็แค่จินตามยปัญญา เป็นตรรกศาสตร์ ยังไม่ถึงขั้น ภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญานั่นแหละ คือตัวที่ หมายเอาว่า เป็นปัญญา ตัวสมบูรณ์ เป็นตัว ที่เกิดผล ภาวนานี่ แปลว่าเจริญ หรือ แปลว่า เกิดผล มันเจริญถึงรอบ เจริญถึงที่สุด เจริญอย่างสมบูรณ์ ของมัน แล้ว เราก็รู้เห็นตัวที่เจริญสมบูรณ์นั้น รู้รสของความสมบูรณ์นั้นด้วย เป็นธรรมรส ส่วนจะเป็นสูงสุด ก็เป็นวิมุติรส ปัญญาเห็นวิมุติรส เห็นของจริง ตามความเป็น จริง นี่ มันต่างกันนะ สุตะ กับปัญญา มันต่างกันตรงนี้ ก่อนจะถึงปัญญา มันก็มี สุตะ แล้วก็มีจาคะ จาคะ เราก็ได้อธิบาย มันเป็นการเสียสละ เป็นการสละ ออก สละออกตั้งแต่เราไม่ติดไม่ยึด ตั้งแต่วัตถุ ตั้งแต่ของที่มันหยาบ มันต่ำ มัน ติด มันยึด ที่จิตวิญญาณ มันยังกอบยังโกย ยังจะต้อง มาเสวย บำเรออะไรอยู่ ลดละปละปล่อยออกไป หลุดพ้นออกไปเรื่อยๆๆๆ จนกระทั่งในโลกที่สูงขึ้น โลก กาม โลกธรรม ลาภ ยศ สรรเสริญ ทรัพย์ศฤงคาร รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

แม้กระทั่งที่สุด ภวตัณหา ติดภพ ติดชาติ ติดอารมณ์ ติดที่เป็นอุปาทาน สมมุติ ในจิตในใจ สละออกให้หมด จาคะ คุณอยู่ที่เก่า หรือว่าคุณเจริญขึ้น ป่วยการกล่าว ไปไยถึงเสื่อม จาคะ สละ สละแท้ขึ้น เรื่อยๆนะ มันสละ แล้วบริสุทธิ์ใจขึ้นเรื่อยๆ เห็นรสของความสละ ยินดีในสภาพของ การสละว่า เออ นี่เป็นความประเสริฐ ของมนุษย์ เกิดมาได้เป็นผู้สละ เกิดมาได้เป็นผู้ให้ ให้โดย จิตที่บริสุทธิ์ของเรา เราได้สร้างสรร วัตถุนี่ให้ไปหมดแล้ว ไม่มีเหลืออะไรแล้ว จะบริจาคอีก ก็มีเสื้อ ผ้าที่นุ่งห่ม ขืนให้ไปอีก ก็โป๊เท่านั้นแหละ ขอนุ่งห่มไว้ชุดนี้ นอกนั้นเหลือแต่แรงงาน มีความคิด ความอ่าน สมรรถภาพ การสร้างสรร สร้างวันๆคืนๆ กินข้าวแล้ว ทำงาน ทำงานแล้ว ถึงเวลา พักผ่อน ก็มันเมื่อย มันอะไรมากเกินควร มันจะเสื่อมต่อ สุขภาพร่างกาย ก็พักบ้าง พักผ่อน ถึงเวลาหลับ เวลานอนก็นอน ตื่นเช้าขึ้น มาอีก ทำ สร้างสรรทำงาน ทำไป สร้างไป แล้วก็ได้ สละไปเท่านั้น

อาตมาก็เคยแนะนำหลายที ว่าเสียสละแรงงานนี่แหละ มันสดกว่าเสีย สละวัตถุ สุดท้าย มันก็อยู่ที่แรงงาน วัตถุหมดไปแล้ว เสียสละวัตถุหมดไปแล้ว เหลือแต่แรงงาน แรงงานนี่ มันสดเลย ใครโกงไม่ได้เลย แล้วก็ไม่เบี้ยวด้วย ถ้าคุณยิ่งบริสุทธิ์ใจ ยิ่งมีการเสียสละด้วยจิตจริงๆเลยนะ จิตเห็นเลยว่า เราควร เสียสละ เราควรช่วยเหลือ เราควรสร้างสรร เราควรกอปรก่อขึ้นมา เพื่อให้ คนอื่นได้รับผล ได้รับประโยชน์ต่อไป มันเป็นการอุ้มโลกไว้ เป็นการ ช่วยอนุเคราะห์ เป็นตัวบุญคุณ เป็นตัวประโยชน์ของโลก ยิ่งจะมีประโยชน์มาก คนนี่ ถ้าทำให้เป็นคนดี อย่างที่กล่าวแล้วได้ เราไม่ได้ทำเพื่อหวังบุญ หวังคุณ ไม่ได้ทำเพื่อยกย่องสรรเสริญ คนมาชมเชย ไม่ต้องหรอก เขาก็ชมเชย เองแหละ ถ้าเราดีจริง แล้วไม่ต้องเหนียม ไม่ต้องเขินอะไรหรอกน่ะ

อย่างอาตมานี่ ไม่มีใครชม อาตมาก็ชมตัวเองเสียเลย ชมออกบ่อย๐ไป แต่ไม่ได้หมายความว่า แกล้งจะชมเอง อยากจะชมเอง ไม่ใช่หรอก มันถึง บทการพูดก็พูด มีตัวอย่างที่จะต้องยก ก็ยก ไม่ได้เขิน ไม่ได้อาย แล้วไม่ได้ อยากทำ จะทำเมื่อถึงกาลเทศะน่ะ ฮะ นั่นน่ะ ใช่ ก็มีหิริโอตตัปปะ ก็เป็นคุณ มันด้วยจะเอาหิริโอตตัปปะมาใช้ประกอบนี้ก็ได้ แต่นี่ตรัสไว้นี่ หมวด ๖ นี่ มันมีแค่ ไม่มีหิริโอตตัปปะ มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ ก็เอา เราก็เอาอัน นี้เป็นเครื่องวัด นอกจากจาคะแล้วก็ปัญญา ปัญญาไม่ใช่เฉกตา ไม่ใช่เฉโก ไม่ใช่ความฉลาดอย่างนั้น ไม่ใช่ความรู้ ด้วยสุตะเท่านั้นด้วย ปัญญา ไม่ใช่ความรู้แค่ สุตะ ไม่ใช่ความฉลาดเฉลียวแบบเฉกตา หรือเฉกะ เฉกะ เฉโก ที่ ภาษาบาลีแปลว่า ความเฉลียวฉลาดกัน คนโลกๆ เฉลียวฉลาดแบบเฉกตา แบบ เฉกะ ฉลาดแกมโกง ฉลาดโลภ ฉลาดเห็นแก่ตัว ฉลาดที่จะโลภโมโทสัน เอา มาให้แก่ตัว หรือ แก้แค้นอาฆาตด้วยซ้ำ ฉลาดแบบนั้น มันใช้ไม่ได้ ฉลาดหาทางแก้ แค้นให้คนอื่น โดยที่คนอื่น ไม่รู้ตัวได้ นั่นนึกว่าฉลาด ที่จริงมันเป็นบาป เป็น ความเลว ความชั่ว ฉลาดอย่างบริสุทธิ์ ไม่เป็นเลว ไม่เป็นบาป ไม่เป็นชั่วน่ะ ฉลาดอย่างถูกทิศถูกทางของมัน ปัญญานี่ บอกความเฉลียวฉลาด ก็มีอยู่ในนั้น ด้วยปัญญา มีความเฉลียวฉลาด หรือมีความรู้ของจริง ตามความเป็นจริง รู้ ความจริงตามความเป็นจริงด้วย ฉลาดก็คือตัวคล้ายๆ ปฏิภาณ น่ะ ไหวพริบ ตัว ฉลาดตัวนี้ คือไหวพริบ

เพราะฉะนั้น ตัวปัญญาจริงๆ นั้นคือ ตัวเห็นความจริงตามความเป็น จริง ตัวปัญญานะ ส่วนตัว ที่ว่า เฉลียวฉลาดนั้นก็คือ ตัวปฏิภาณนั่นแหละ ชัดกว่า ตัวปฏิภาณไหวพริบ มีความเฉลียวฉลาด ความเฉลียวฉลาดต่างๆเหล่านี้ ไม่ใช่ เฉกตา บอกแล้วมันไม่ใช่ตัวฉลาดเฉลียวที่มันจะโกง มันเอาเปรียบ เอารัด มันทำชั่ว ทำบาป โดยไม่รู้ตัวน่ะ ไม่เข้าใจถึงลักษณะกุศล อกุศลไม่ใช่ ตัวปฏิภาณนี้ จะ ต้องมีความเฉลียวฉลาดที่แยกกุศล อกุศลออก แล้วไม่มีตัวกิเลสเข้าไปร่วมปลอม ปนด้วย

เพราะฉะนั้น ตัวปฏิภาณ กับตัวฉลาดที่เป็นเฉกตานี่ ยังต่างกันอีกน่ะ ตัวทิฐิ ตัวรู้ ตัวเห็น ตัวเฉกตา ตัวปัญญา ตัวปฏิภาณนี่ มันเป็นความรู้ความฉลาดที่ มันใกล้เคียงกันอยู่ ต้องวิเคราะห์ให้ออก ความรู้ ความเห็น ตัวสุตะ ความรู้ ด้วยศึกษาบัญญัติ ศึกษาความรู้ด้านนอกๆ หรือจะเป็นความรู้ แบบโลกียะ เฉลียว ฉลาด สร้างสรรแบบโลกๆก็ได้ ตรวจในตัวเรา ที่จริงมันไม่ได้บกพร่องนะ เป็นคนทางธรรมของพระพุทธเจ้านี่ แต่เฉลียวฉลาดในการสร้างสรร เฉลียวฉลาดใน วิชาการ ในการมีสมรรถภาพ ที่จะสร้างก่อ หรือทำโน่นทำนี่อะไร ที่มันมีหลักการ มีทฤษฎี มีอะไรที่จะรังสรร ขึ้นมา ถ้าอาตมาจะขยายความอีกนะ ในเรื่องของ ศรัทธา หรือศีล คือสุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ ก็จะขยายไปอีก ได้มากมายน่ะ ก็คิด ว่า วันนี้จะไม่ขยายอะไรเพิ่มเติมนักน่ะ เท่าที่พูดก็ซ้ำซากมา อาจจะได้ฟังสิ่งใหม่ ประกอบขึ้นมาบ้างนิดหน่อยน่ะ แต่ใครเข้าใจได้ลึกๆแล้ว ก็เป็นประโยชน์ ในทันที เดี๋ยวนี้ ก็จงรับไปน่ะ

ทีนี้ ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่น ก็ควรฉลาดในเรื่องจิตของตนน่ะ หลักเกณฑ์นี้ดีทีเดียวน่ะ สูตรนี้ ท่านว่าอย่างนี้ ท่านตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยายแห่งจิตของผู้อื่น ปริยายหมายความว่า เรื่องราวต่างๆ ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยายแห่งจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอ พึงสำเหนียก อย่างนี้ว่า เราจะเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตน เราจะต้องเป็น ผู้ที่รู้เรื่องราว รู้อะไร ต่ออะไร มีเจโตปริยญาณให้ได้นะ เจโตปริยญาณ ๑๖ นี่ ที่เป็น หลักเกณฑ์ อาตมาหยิบมาอธิบายเสมอ ที่มีรากเหง้าตั้งแต่...ราคมูล หรือ โลภ มูลน่ะ ราคมูล โทสมูล โมหมูล จนกระทั่ง อราคะ อโทสะ อโมหะ อะไรเรื่อย ไล่ ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมันเป็นสังขิตตะ วิขิตตะน่ะ เป็น...มหัคคตะ อมหัคคตะ น่ะ เป็นสจิตตะ หรืออนุตตรจิตตะ จนถึงสมาหิตะ อสมาหิตะ วิมุติ อวิมุติ ๑๖ หลักนี้ เราจะต้องอ่าน ถ้าเราจะไม่ฉลาด ในเรื่องใด ก็ต้องฉลาดเรื่องนี้นี่ เป็นเป้าหมายหลัก ของการปฏิบัติ แล้วมันจะเป็นลักษณะที่สอดคล้อง ไปหาผู้อื่น แล้ว เราจะค่อยๆ รู้ผู้อื่นได้ เพราะเรามีมิเตอร์ของตัวเอง รู้จิตของตัวเอง รู้อาการ ลีลาที่มัน อ๋อ จิตอย่างนี้ ลีลาอย่างนี้ จิตมันมีบทบาทอย่างนี้ มันจึงผลักดันให้เกิด กายอย่างนี้ ให้เกิดวาจาอย่างนี้ อะไรต่างๆนานา เราจะมีของเรา แล้ว เราจะไปอ่านผู้อื่นได้ง่ายขึ้น แล้วมันจะตรงกว่า ที่เราจะเที่ยวได้อยาก จะรู้จิตผู้อื่น ไม่เก่ง ไม่ฉลาดในเรื่องของจิตของผู้อื่น ก็ไม่เป็นไรน่ะ ท่านก็สรรเสริญ อย่างนี้

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตน อย่างไร เปรียบเหมือนหญิง หรือชายรุ่นน่ะ หญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มสาว เป็นหนุ่ม เป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในกระจก อันบริสุทธิ์ ผ่องใส หรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลี หรือมลทิน ในเงาหน้านั้น ก็ ย่อมพยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลี หรือมลทินนั้นเทียว ถ้าไม่เห็นธุลี หรือ มลทินในเงา หน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยเหตุนี้ และว่าเป็นลาภของเราหนอ เงาหน้าของเราบริสุทธิ์ หนอ ดั่งนี้ ฉันใดน่ะ

ก็จริงล่ะนะ หนุ่มๆ สาวๆ นี่ ดูหน้าตาส่องกระจกของตัวเอง หนุ่มๆสาวๆ หรือคนที่มีกิเลส รักนวลสงวนเนื้อ... ไม่ใช่รักนวลสงวนเนื้อ รักสวย รักงาม ไอ้รักนวลสงวนเนื้อ เป็นภาษาลึกซึ้ง รักหน้า รักตา รักความงาม โอ๊ย ส่องกระจกแล้ว ส่องกระจกอีก แหม แคะดูตรงนั้น แยงตรงนี้ อะไรต่ออะไรนี่ ผู้หญิงนี่ มากหน่อย ผู้ชายก็ ... พอกัน สำหรับเดี๋ยวนี้นะ โอ้โห เดี๋ยวนี้ มันก็ ส่องกระจกดูนั่น ดูนี่ แต่งโน่น แต่งนี่ ผัดหน้า ผู้ชายก็ผัดหน้า ทามันทาครีม ทาเคริมอะไรต่ออะไร ต่างๆน่ะ มันรักความสวยงาม มันเป็นเรื่องของราคะน่ะ เพราะฉะนั้น หนุ่มสาวนี่ กำลังมีวัยฮอร์โมน กำลังเกิดมาทำงาน มันจะเป็นราคะ มันก็ต้องรักละ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มันรักไปหมด เสียงไม่เพราะ มันก็ ดัดจริตให้เพราะขึ้น อะไรอย่างนี้ เป็นธรรมดา โดยธรรมชาติ เสียงมันก็ดีด้วย เสียงเพราะๆ ในระหว่างหนุ่มๆสาวๆ ไม่เหมือนเสียงคนที่แก่ขึ้นหรอก ไม่เหมือนกัน หรือเสียงเด็กๆ มันก็อีกแบบหนึ่ง ก็เป็นลักษณะของมัน เรารักเงาหน้า พยายามตบแต่ง ดูแล รักอย่างนั้นอย่างใด ข้ออุปไมย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือการ พิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุย่อมมีอุปการะมาก ในกุศลธรรม ทั้งหลาย

๑. เรามีอภิชฌา หรือ ...ไม่มีอภิชฌา อยู่โดยมาก แทนที่จะตรวจว่ามีไฝ มีฝ้าหรือเปล่า มีอะไร... ให้ตรวจว่า เรามีอภิชฌาหรือเปล่า เหมือนหนุ่มสาว อุปไมยเหมือนหนุ่มสาว ที่มันรักหน้า มองตัวเอง มองหน้าตัวเองใน กระจกเงาหรือในเงาน้ำ แล้วก็รักหน้า ตรวจตัวเองอย่างใด ก็จงตรวจอภิชฌาหนึ่ง

๒. เรามีจิตพยาบาท หรือไม่มีจิตพยาบาท อยู่โดยมากหนอ
๓. เรามีความหดหู่ ง่วงงุน รึงรัด หรือปราศจากความหดหู่ ง่วงงุนอยู่โดยมากหนอ
๔. เราฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหนอ
๕. เรามีความลังเลสงสัย หรือข้ามพ้นความลังเลสงสัยอยู่โดยมาก หนอ รวมแล้ว ๕ ข้อก่อน มัน... ไม่ใช่มีแค่ ๕ นะ มี ๑๐ นี่พึ่งอ่าน ๕ ข้อ นั้นก็คือนิวรณ์ ๕ น่ะ ห้ามความสงสัย หรือมีความสงสัย

๖. เรามีความโกรธ หรือไม่มีความโกรธอยู่โดยมากหนอ
๗. เรามีจิตเศร้าหมอง หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง อยู่โดยมากหนอ
๘. เรามีกายกระสับกระส่าย หรือมีกายไม่กระสับกระส่ายอยู่โดยมาก หนอ
๙. เราเกียจคร้าน หรือปรารภความเพียรอยู่โดยมากหนอ
๑๐. เรามีจิตไม่ตั้งมั่น หรือมีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมากหนอ

ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า
๑. เรามีอภิชฌาอยู่โดยมาก
๒. เรามีพยาบาท มีจิตพยาบาทอยู่โดยมาก
๓. เราถูกความหดหู่ ง่วงงุน รัดรึงอยู่โดยมาก
๔. เราฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก
๕. เรามีความลังเลสงสัยอยู่โดยมาก
๖. เรามีความโกรธอยู่โดยมาก
๗. เรามีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมาก
๘. เรามีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมาก
๙. เราเกียจคร้านอยู่โดยมาก
๑๐. เรามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก

ดังนี้ ภิกษุนั้น ก็ควรทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความตั้งใจ ความไม่ท้อถอย สติ และ สัมปชัญญะ อันมีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็น บาป อกุศลเหล่านั้นเสียน่ะ ๑๐ ข้อ นี่เป็นบาป อกุศลทั้งนั้น เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้า หรือศีรษะนั้น ให้ไฟดับไปฉันนั้น น่ะ เอ๊...แปลอย่างนี้หรือ สูตรนี้ คำแปลอันนี้ มันน่าจะเป็นว่า มีผ้าที่มุ่น พันอยู่ที่ศีรษะ แล้วก็เอาไฟไฟมาจุด มันไหม้ผ้าที่พันอยู่ที่ศีรษะ เราจะต้องรีบเอาผ้านั้นออก หรือ ทำไฟไม่ให้มันไหม้ศีรษะ ให้รีบเอาออก ให้มีความรู้สึกอย่างนั้น มันเหมือนกับมีผ้าพันหัวอยู่ แล้วก็ไฟไหม้ ผ้าพันอยู่ที่หัวเรา มันก็จะไหม้หัวเรา รีบ เอาผ้าออกเร็วๆไวๆ เพราะฉะนั้น ถ้ารู้ว่า อกุศล ทั้งหลาย ทั้ง ๑๐ นี้ มันมีอยู่ที่เรา ก็รีบเอาออก ต้องทำใจในใจ หรือทำปฏิกิริยา มีความพยายาม อุตสาหะ ตั้งใจ ไม่ท้อถอย ให้ทำอย่างนั้น

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
๑. เราไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก
๒. เราไม่มีจิตพยาบาทอยู่โดยมาก
๓. เราปราศจากความหดหู่ง่วงงุนอยู่โดยมาก
๔. เราไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก
๕. เราข้ามพ้นความลังเลสงสัยอยู่โดยมาก
๖. เราไม่มีความโกรธอยู่โดยมาก
๗. เราไม่มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมาก
๘. เราไม่มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมาก
๙. เราปรารภความเพียรอยู่โดยมาก
๑๐. เรามีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้

ภิกษุนั้น ก็ควรทำความเพียร เพื่อดำรงอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะอันยิ่ง

(อ่านต่อหน้า ๒)

(FILE:0356A.TAP / มองตนให้พ้นอวิชชา)