คนคืออะไร...ภาคพิสดาร
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
ก่อนฉันวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๗
งานสมาธิสมโภช ณ ชุมชนราชธานีอโศก จ.อุบลราชธานี

อาตมาบรรยายอันนี้เอาไว้นี้ ก็ต้องมีพื้นฐานนะ คนที่จะฟังต้องมีพื้นฐาน บรรยายมาถึงหน้า ๕๕๖ มันก็พูดถึงลักษณะของเวทนา ๑๐๘ แล้ว รู้แจ้งเห็นแจ้ง เวทนาในเวทนาอย่างลึกซึ้งครบครัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ให้รู้ละเอียดลออถึง ๑๐๘ เวทนา และจัดการดับเวทนาในเวทนา ที่ควรจะดับ จบสำเร็จสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าดับถูก ดับเวทนาที่ควรจะดับได้ถูกต้อง ก็จบสำเร็จ สมบูรณ์

เวทนาต่างๆนั้น ท่านแบ่งไว้เป็นไฉน เวทนา ๒ จำปริยัติไว้ เวทนา ๒ มี ๑.เวทนากาย ๒.เวทนาใจ เวทนาทางกาย เวทนาทางใจ นี่แบบเวทนา ง่ายๆ ๒ อย่าง เวทนาทางกายก็จะเป็นทุกข์เป็นสุขได้ เพราะฉะนั้น เวลาเป็นทุกข์ เราก็เรียกกายิกทุกข์ พอเวลาทางจิตเขาก็เรียกเจตสิกทุกข์ เป็นสุขเป็นทุกข์ได้เหมือนกัน เวทนา ๓ ที่นี้ เวทนา ๓ ก็มีสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เวทนา ๓ ในเวทนา ๓ นี่ เราเรียกอทุกขมสุข เราไม่ได้เรียกอุเบกขา แต่นัยมันคล้ายกันกับอุเบกขา ถ้าจะเรียกอุเบกขา เขาเอาอุเบกขาไปไว้ที่เวทนา ๕ เวทนา ๕ ก็มีสุขินทรีย์ ไม่เรียกสุขเวทนา เรียกสุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ แล้วก็แบ่งละเอียด ไปเป็นโสมนัสขินทรีย์ โทมนัสขินทรีย์ นี่ ๔ แล้ว ๕ ทั้งอุเบกขินทรีย์ อุเบกขา อินทรีย์ก็คือกำลัง ลำดับของความมีน้ำหนัก น้ำหนักแรง กลาง อ่อนอะไรอย่างนี้ อินทรีย์เป็นกำลังของความทุกข์ กำลังของความสุข กำลังของโสมนัส หรือกำลังของอุเบกขา ก็ต้องรู้เนื้อหาว่ากำลังต่างๆ หรือว่าความเป็นใหญ่ หรือว่าความเป็น เนื้อหาของมันนี่ หยาบ กลาง ละเอียด เหล่านี้มีลิงคะ มีการแตกต่างกัน ทุกข์กับโสมนัส แตกต่างกันอย่างไร สุขกับโสมนัสแตกต่างกันอย่างไร อ่านอาการทางจิตให้ออก แล้วยังมีน้ำหนักของรายละเอียดอีกว่า อินทรีย์มันหรือว่ากำลังของมัน กำลังโสมนัสขินทรีย์ ก็ยังมีรายละเอียด ที่ต่างกันออกไป แยกกันออกไปได้อีกเป็นร้อยเป็นพันระดับ นี่อธิบายคร่าวๆ อันนี้เวทนา ๕ เวทนา ๒ กาย กับใจ เวทนา ๓ สุข ทุกข์ อทุกขมสุข เวทนา ๕ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสขินทรีย์ โทมนัสขินทรีย์ อุเบกขินทรีย์

เวทนา ๖ ก็มาเกี่ยวข้องกับอายตนะ ก็คืออายตนะที่เป็นตา เป็นหู เป็นจมูก เป็นลิ้น เป็นกาย แปลเป็นไทยก็ เวทนาทางสัมผัสทางตา เขาเรียกเวทนาสัมผัสสัชฌาเวทนา สัมผัสสัชฌา
ทางตาก็ เรียกตา จักขุ จักขุเวทนาสัมผัสสัชฌา ทางหูก็เรียกโสตเวทนาสัมผัสสัชฌา หรือโสต สัมผัสสัชฌาเวทนา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็เรียกไป เวทนาสัมผัสทางลิ้น เวทนาสัมผัสทางกาย เวทนาสัมผัสทางใจ ๖ ทวารนั่นเอง เรียกว่าเวทนา ๖ ทีนี้เวทนา ๖ ต่อไป ก็เวทนา ๑๘

๑๘ ก็แตกจากอายตนะ ๖ ออกไป เป็นสุข ทุกข์ แล้วก็อุเบกขา ตอนนี้ไปเรียกเป็นอุเบกขา ที่จริงก็ไม่ได้เรียกสุขทุกข์ เรียกโสมนัส เพราะฉะนั้น โสมนัสเวทนาที่มีโสมนัสจากทวาร ๖ ทั้งทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าเป็นเวทนาที่มีโสมนัส ก็โสมนัสทางตา โสมนัสทางหู กาย ใจ หมด ข้อ ๖ โสมนัสก็เหมือนกัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็อีก ๖ อุเบกขาก็ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อีก ก็เป็น ๑๘ เวทนา

ทีนี้ ๑๘ เวทนา มาแบ่งเป็นอีก เป็นเวทนา ๓๖ ก็แยกทีนี้ สุข ทุกข์ อย่างนี้เรียกสุขทุกข์อย่างโลกีย์ หรือเคหสิตะ ทั้งสุขทั้งทุกข์ ทั้งอุเบกขานี่แหละ ๑๘ นี่แหละ อย่างนี้เรียกว่าเคหสิตะ เป็นแบบโลกีย์ อย่างนี้เป็นเนกขัมมะ เรียกว่า เป็นแบบโลกุตระ ออกจากโลก ออกจากโลกีย์

เพราะฉะนั้น สุขอย่างโลกีย์นี่เรียนรู้ให้ได้ แล้วก็ล้าง ลดอัสสาทะ เรียกว่าสุขทางโลก อัสสาทะ รสอร่อย รสสุขของทางโลก พระบาลีเรียกว่า อัสสาทะ ลดมันลงจริงๆ จนกลายเป็น คนที่ไม่มีความสุข ฟังแล้วน่ากลัว ไม่มีความสุขโลกียะ แต่เป็นความสุขอันสงบ สุขโลกียะ ท่านเรียกอีกคำหนึ่งว่า สุขัลลิกะ สุขัลลิกะ สุขตอแหลนี่ สำนวนโพธิรักษ์ สุขหลอกลวงน่ะ เป็นสุข หลอกๆ สุขเหมือนพยับแดด ฟองคลื่นอะไรอย่างนี้ สุขมันไม่จริงไม่จังหรอก ไม่เที่ยงไม่แท้ ไปยึดมั่นถือมั่นอยู่ มันก็ติดอยู่อย่างนั้นแหละ ถ้าลองล้างออกจริงๆ จนกระทั่งหมด ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา ไม่มีเหตุที่จะต้องไปสั่งสมกิเลส อย่างที่พูดแล้วเมื่อเช้านี้ สมที่ต้องการ ได้มาก็สุข ไม่ได้มาสมต้องการก็ทุกข์ หรือสมที่ไม่ต้องการก็สุขใจ สมที่ไม่ต้องการก็ทุกข์ใจ นี่เราก็ไม่ให้มันมี ไม่ต้องเสพ ไม่ต้องไปสมอะไรทั้งนั้น เป็นอุเบกขา หรือเป็นอทุกขมสุข เมื่อเป็นอุเบกขา หรือ เป็นอทุกขมสุขแล้ว จึงเรียกว่าวูปสมะ หรืออุปสมะ สงบ วูปสมะ หรืออุปสมะ สงบ สุขอย่างสงบ สุขอย่างระงับ อะไรระงับ กิเลส แต่จิตใจเป็นยังไง จิตใจรู้แจ้งรู้จริงเลย แต่ก่อนนี้เราเป็นทาสมันนะ สีแดงก็เป็นทาส สีเขียวก็เป็นทาส โอ้โห เจอนี่ ใครติดผักหมาว่อ ก็โอ้โฮ เห็นผักหมาว่อ มันดีนะ ก็ติด เห็นใบบัว ดีนะ ฝาดหน่อยๆ มันดี อร่อยดี ติดอะไรอย่างนี้ หรือจะไปติดอะไรก็แล้วแต่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสอะไรติดโน่นติดนี่ ยึดตะพึด ติดเก้าอี้นายกบ้าง ติดตำแหน่งอะไรบ้างก็แล้วแต่ อะไรอย่างนี้เป็นต้น มันก็ติด ไม่ถึงนายก ยังติดจะตายเลย แค่เป็นกรรมการพรรคแค่นั้น ยังติดจะตาย ติดสารพัดจะติด คนไหนติดได้แค่ไหน ก็เอามันไว้เรื่อย ไม่ยอมปล่อยยอมวาง

เพราะฉะนั้น เรามาปล่อยมาวางดูซิว่า เราจะได้ดีไหม เราจะทำดีไหม อาตมาไม่เห็นจะมีปัญหาเลย ได้ทำดี เป็น ๓๖ ก็คือ ๑๘ มาแบ่ง ออกเป็นเคหสิตะ กับเนกขัมมะให้ชัดเท่านั้นเอง ทีนี้เป็น ๑๐๘ ละ เป็น ๑๐๘ ก็ ๓๖ นี่แหละ แบ่งเป็นอดีต อนาคต เพราะฉะนั้น สัญญาความจำนี่ เราจำได้ว่า เวทนา อย่างนี้เป็นอย่างนี้ ของอดีตที่เคยผ่านมา มันก็ ๓๖ หนึ่งของอดีต จะเป็นเนกขัมมะ หรือจะเป็น เคหสิตะ ใครที่ยิ่งเป็นเนกขัมมะที่สมบูรณ์แบบ ก็ยิ่งจะเห็นเลยว่า โอ๋ อุเบกขา เนกขัมมอุเบกขาเวทนา อุเบกขาเป็นฐานแล้วนะ อุเบกขาของโลกีย์ ไม่เหมือนอุเบกขา อาตมาเรียก อุเบกขาเด๋อ อุเบกขาเกอะไรสมัยก่อน เรียกโดยภาษาธรรมดา อาตมาได้ภาษานี้ ในพระไตรปิฎกทีหลัง พระบาลีพวกนี้ แต่ก่อนนี้อาตมาไม่ค่อยรู้เลยว่ามีอย่างนี้ ไม่รู้ว่าพระไตรปิฎกท่านมี แต่มันมีในตัวเราแล้ว เรารู้เรามีแล้ว ใครจำได้ แต่ก่อน ไม่ใช่อุเบกขาเด๋อ อุเบกขาโลกๆนะ อาตมาก็เคยพูดไปอย่างนี้ มันไม่มีคำศัพท์ที่เป็น Technical term นี่ Technical term ของธรรมะ เป็นวิชาการ เป็นภาษาวิชาการ พอพูดแล้วมันก็ขยายความได้ อธิบายได้ ระบุได้ อย่างชัดเจน

เพราะฉะนั้น เคหสิตะ ก็แบบโลกๆ อุเบกขาก็โลกๆ แต่อุเบกขาธรรมะแล้ว ต้องเนกขัมมสิตอุเบกขา นี่เป็นเวทนาอย่างนี้ ผู้ใดมี ผู้ใดรู้ ผู้ใดถึง ผู้นั้นก็จะรู้ของจริงพวกนี้ มีแล้วก็เป็นอดีต แม้ปัจจุบันก็มี แน่ใจไหมว่า คุณแน่ชัดว่า อดีตก็ทำได้มามาก ปัจจุบันนี้ก็ยังคงครองความมั่นคง แข็งแรง ไม่เพลี่ยงพล้ำ อาจจะมีแวบๆ นิดๆหน่อยๆ ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบ เป็นเจโตปริยญาณ ๑๖ ก็เป็นอวิมุติจรบ้าง เล็กๆน้อยๆ ก็ฝึกเพียรเข้าไปอีก จนกระทั่งเที่ยงแท้ถาวร แม้แต่อวิมุติจรก็ไม่มี เป็นอุเบกขาสบายว่างแล้ว อุเบกขามีองค์ธรรมถึง ๕ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา นี่ทบทวน อุเทศ หัวข้อยกขึ้นแสดง เอาละ ไม่ได้แสดง ไม่ขยายความมาก ไม่นิเทศ อุเบกขา ๕ ขอเก็บไว้ก่อน ผู้ใดรู้ก็รู้ ผู้ใดไม่รู้ก็ทิ้งไว้ก่อน ละไว้น่ะ understood ไว้ก่อน

อุเบกขา แม้จะเป็นเจตสิกที่วิเศษ คุณสร้างได้ อุเบกขาเป็นฐานอาศัย วิปัสสนูปกิเลส แม้แต่อุเบกขา ก็ยังติดยึดว่าเป็นเรา เป็นของเราไม่ได้ ถ้าขืนติดยึดเป็นเราเป็นของเรา คุณก็จะหลงใหล อยู่กับอุเบกขา ฟังให้ดีนะ อุเบกขาไม่ใช่ลักษณะจิตเจตสิก ที่จะอยู่เฉยๆนะ แต่เป็นกิเลสที่ว่าง ว่างเปล่า วางแล้ว เฉยต่อสิ่งที่กระทบสัมผัสโลกีย์ได้ อยู่เหนือกิเลส อยู่เหนือโลกียะได้แล้ว มันเฉยต่อภาวะ ผุฏฐัสสะ โลกธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กัมปติ มันเฉย แม้แต่โลกจะสัมผัสอย่างไร โลกธรรม ผุฏฐัสสะก็คือสัมผัส โลกธัมเมหิ ก็คือโลกธรรมนั่นแหละ จิตตัง ยัสสะ น กัมปติ จิตไม่มีหวั่นไหว ไม่มีฟู ไม่มีแฟบ ไม่มีอะไรเลย วาง ว่าง แข็งแรง วาง เฉย ไม่ใช่เฉยดื้อๆ เด๋อๆ เฉยสะโหร่สะเหร่ไม่ใช่ ไม่ใช่เฉยสะเหร่อ เฉยมีคุณภาพ รู้ด้วย มีรู้ด้วยนะ ไม่ใช่เฉยไม่รู้ มีญาณปัญญารู้เท่าทัน โลกวิทู พหูสูต แล้วจะพร้อมที่จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลช่วยเหลือเขาได้ด้วย แต่จิตแข็งแรง มันวาง เฉยได้ทนทาน รู้ทั้งรู้ ทั้งมีเจโต ทั้งมีอำนาจ เจโตแข็งแรงด้วยอุเบกขาพิเศษ นี่แหละ ปริสุทธา ปริโยทาตา ที่อาตมาเคยอธิบาย วันนี้ละเว้นไม่อธิบาย ซึ่งอธิบายมาหลายที ปริสุทธา ปริโยทาตา ต่างกันอย่างไร มุทุเป็นยังไง กัมมัญญาเป็นยังไง ปภัสสราเป็นยังไง อธิบายในนี้ ก็มีอธิบายไว้ อาจจะไม่ละเอียด เหมือนภาษาที่ได้อธิบาย เพราะเป็นภาษาเรียบเรียง แต่คนมีปัญญา อ่านแล้ว ก็เข้าใจได้พอสมควร

ทีนี้เมื่อเรามั่นใจอดีต ๓๖ ปัจจุบันก็ ๓๖ อดีตก็เคยทำมาจนมั่นใจ ปัจจุบันนี้ก็ยิ่งมั่นใจว่า ไม่มีเพลี่ยงพล้ำ ไม่มีกระทบสัมผัสแรงยังไงๆ ก็พิสูจน์ไปเรื่อยๆ ปัจจุบันก็แน่นอนว่า ปัจจุบันของเรา ก็ไม่มีการเกิดอีก เพราะกิเลสอุเบกขาหมดแล้ว ไม่เกิดอีกจริงๆ ก็เป็นอมตธาตุไปเรื่อยๆ แม้แต่อนาคต เพราะฉะนั้น ปัจจุบัน อนาคต อดีต มันเคยเพลี่ยงพล้ำ เปลี่ยนแปลงมา จนกระทั่งเป็นปัจจุบัน ที่เป็นอย่างนี้ อย่างยืนยงคงทน แม้อนาคตอีกเท่าไหร่ ก็จะเป็นอย่างนี้ ย่อมรู้อนาคตแน่นอน พวกนี้คือ หมอดูชั้น ๑ หมอดูที่มีของจริงยืนยัน ไม่ได้โมเม เป็นของจริง เอาไหม เอาเรื่อย แต่ไม่ค่อยเพียร แล้วมันจะได้มาจากไหน เอามันก็ต้องเพียรเอาสั่งสมให้ได้ พอรู้เวทนา ๑๐๘ อย่างนี้สบาย เพราะฉะนั้น ธรรมะของพระพุทธเจ้า กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นตัวที่ต้องเรียนรู้ สภาวะของกาย เวทนา จิต ธรรม ให้ได้จริงๆ เราวิเคราะห์วิจัยให้ออก อาตมาว่ายังไม่เคยมีใคร มาอธิบายหรอกนะ เวทนา ๑๐๘ ตำราของเกจิอาจารย์ยังไม่เห็นเลย อาตมาอ่านน้อยนะ อาจจะมี คนอ่านเจอ เอามาให้ดูบ้าง แล้วเขาอธิบายกันไว้ว่าอย่างไร ถ้าของคนอื่นละนะ อธิบายไว้ ถ้าใครเจอละนะ อ่านของคนอื่นบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ของอโศกอย่างเดียว ของอโศกก็ยังอ่านไม่ไหวแล้ว เรื่องของเรื่อง ถ้าอ่านเจอมาบอกอาตมาด้วย อาตมาอยากรู้คนอื่นเขาคิดอย่างไรด้วย มันจะถูก ตรงกันหรือไม่ หรือว่ามันจะมีแนวคิดอื่น ถ้าเผื่อของอาตมาก็ยังบกพร่อง ของเขาถูกดีกว่า ก็จะได้รู้ โอ๊ ของเรายัง เข้าใจได้ดียิ่งกว่าเรา สูงส่งกว่าเรา อาตมาก็จะได้รู้น่ะ

เราได้พูดกันมาแล้วว่า สัญญาเวทยิตนิโรธของพุทธนั้น ไม่ใช่หมายความ ว่าดับทั้งเวทนา ทั้งสัญญา อย่างเถนตรง พาซื่อ นี่เขาหมายความเอาทั้ง.. นี่ใครที่อยู่ในวงการของศาสนาทั่วประเทศไทย ต่างประเทศก็เหมือนกัน เพราะว่าประเทศไทย นี่แหละเป็นหลัก ประเทศไทยเข้าใจอย่างไร ในศาสนาพุทธ ประเทศอื่นๆ เข้าใจเหมือนกัน เพราะเดี๋ยวนี้ไม่มีประเทศไหนที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีใคร ที่จะรู้ความรู้ ในพุทธศาสนาเท่าไทยหรอก แล้วเสร็จแล้วไปหลงใหลได้ปลื้มกับประเทศนอก แหม ฉบับภาษาอังกฤษ เอาตามเขาหมด เขาก็ได้แปลเป็นความจากพระบาลี แล้วก็เอาเนื้อ เทียบเคียง จากไทยนี่แหละไปเยอะ ทางเอเชียนี่แหละไปเยอะ สัญญาเวทยิตนิโรธ นี่เขาแปลว่า ดับทั้งเวทนา ดับทั้งสัญญา มันก็เป็นพรหมลูกฟัก เป็นอสัญญีสัตว์ ซึ่งศาสนาพระพุทธเจ้า ไม่เคยส่งเสริม อสัญญีสัตว์ ดับไม่รู้เรื่อง ไม่กำหนดสัญญา ไม่รู้เรื่องอะไรเลย นี่ถือว่านิโรธสุดยอด

อาตมาก็พยายามมาแก้ แก้ความเข้าใจผิดอันนี้ สัญญาเวทยิตนิโรธของพุทธ ยืนยันว่า ของพุทธนั้น ไม่ใช่หมายความว่าดับทั้งเวทนาทั้งสัญญา อย่างเถนตรงพาซื่อ กลายเป็นคนเบื้อใบ้ ไร้สติสัมปชัญญะ ไร้ความรับรู้ ไร้ความรู้สึก ไม่ใช่อย่างนี้ แต่สัญญาเวทยิตนิโรธของพุทธนั้น กลับยิ่งมี สติสัมปชัญญะ ปัญญาที่รู้แจ้ง ผ่องใส ตื่นเต็ม ขณะมีชีวิตเป็นๆ รู้ชัดหมดเลย สัญญาเวทยิตนิโรธของพุทธ รู้แจ้งตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ใจก็รู้พร้อมจิตขึ้นรับวิถีรู้หมด ทว่ามี ความดับแน่ๆ สัญญาเวทยิตนิโรธนี่รู้ทุกอย่าง แต่มีความดับแน่ๆ ความดับนั้นก็ได้ ยืนยันซ้ำซาก แล้วว่า อกุศลและกิเลสาสวะในจิตนั่นเอง ดับสนิท ดับนิโรธแน่ แต่ไม่ได้ไปดับเวทนา สัญญากัน อย่างพาซื่อ รู้ว่าเวทนาที่ควรดับคืออะไร สัญญาที่ควรดับคืออะไร ก็ดับสนิทได้หมดแล้ว เหลือแต่จิตสะอาด เจตสิก จิตสะอาด เวทนาสะอาด สัญญาสะอาด สัญญาที่บริบูรณ์

ส่วนเวทนาที่ควรดับก็ได้ดับไปด้วย ด้วยความพยายามเสร็จแล้ว เป็นต้นว่า อาการสุข หรือ โสมนัสต่างๆ ที่เป็นโลกียะ (เคหสิตํ โสมนสฺสํ) และอาการทุกข์ หรือโทมนัสต่างๆ ที่เป็นโลกียะ (เคหสิตํ โทมนสฺสํ) เป็นต้น ซึ่งยังมีลึกซึ้งขึ้นไปอีก แม้แต่อกาารโสมนัสต่างๆ ที่เป็นโลกุตระ แม้แต่ว่า เราเป็นสุข หรือโสมนัสของโลกุตระ ที่เป็นเนกขัมมโสมนัส เป็นเนกฺขมฺมสิตํ โสมนสฺสํ
เนกขัมมสิตโสมนัสเวทนาก็ตาม เราก็จะต้องดับ เหมือนกัน อย่าไปฟูใจ แล้วมันโสมนัสอยู่ฟูๆอยู่ มันก็เป็นอุปกิเลส ไม่เรียกกิเลสแล้ว แต่เรียกอุปกิเลส เป็นกิเลสที่ยังเหลืออยู่ แต่ก็เข้าใกล้ หานิพพานไปเรื่อยๆ อุปกิเลสเป็นกิเลสที่ใกล้ชิดนิพพานไปเรื่อยๆ สูงขึ้นมาตามลำดับแล้ว ไม่ใช่กิเลส ๑๐๐% แบบหยาบๆ กิเลสโลกีย์ตรงๆ เป็นการดับโลกีย์ได้ แต่คุณยังฟูใจอยู่นะ ยังโสมนัส ถ้าไม่ได้โสมนัสอย่างนี้ก็ไม่อร่อย มันต้องได้ แหม อร่อยๆ

อย่างท่านสมาหิโตมาพูดเมื่อวานนี้ มาสารภาพอยู่ที่ใต้ต้นก้ามปูโน่น เมื่อวานนี้ แหม ใครชมบ้าง อย่างนี้ ไม่อย่างนั้น มันก็ไม่อยากทำละนะ อย่างนี้เป็นต้น โสมนัสเวทนา ทำดีเป็นอุดมการณ์ แต่ยังมีกิเลสอยู่ อย่างนี้ก็ต้องเรียนรู้ ๒ ชั้นซ้อนลงไป ลด ถ้า ยิ่ง แหม ไม่ใช่โสมนัสหรอก กลายเป็นโทมนัส โทมนัสคืออย่างไร โทมนัสแบบเนกขัมมะ ก็คือการต่อสู้อยู่ มันทุกข์ ตั้งตนอยู่บนความลำบากนั่นเอง มันสู้อยู่ มันรู้ว่าเรากำลังสู้กิเลสน่ะ เราสู้มันก็ต้องหนักเหนื่อย โทมนัส มันลำบาก มันยังไม่ชื่นใจหรอก มันยังไม่ได้ ถ้าได้แล้ว จะโสมนัสดีใจ ถ้ายังไม่ได้ มันจะโทมนัส แต่เรารู้ว่า เราเนกขัมมะ เรารู้ว่าเรากำลังออก เรากำลังฆ่ากิเลส เรากำลังสู้มัน

ญาณรู้เราต้องรู้ว่า เรากำลังสู้อยู่กับกิเลส แม้มันจะยากลำบาก น้ำตานองหน้าอยู่ เราก็เคยบอกนะนี่ ถามว่า ถ้าเผื่อว่าเราลดกิเลสได้ขนาดหนึ่งแล้ว เราก็เอาความสุขที่ได้ลดกิเลสได้ นี่ไว้เป็นเครื่อง เป็นกำลังใจ ให้แก่เราได้ทำต่อไปอีก อาตมาก็เคยบอกว่า เอาละ ถ้าเผื่อว่าเราเอง เรายังต้องอาศัย เพราะว่าเราเอง เราไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงพวกนี้ปีตินี้ เขาเรียกปีติ เพราะปีติเหล่านี้ ไม่มีหล่อเลี้ยง เราก็ไปไม่รอด มันไม่มีกำลัง ก็อาศัยบ้างก็ได้ แต่นั่นแหละ อาศัยไปอาศัยมา ระวังติด พอไม่มี ทีนี้ก็ติดนิสัย หนักเข้าก็ไปไม่รอด จมอยู่ แค่อุปกิเลสแค่นี้ มันก็ไปไม่ไว มันเนิ่นช้า แล้วมันก็หลงได้ หลงติดมันก็ได้นะ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ เรียนรู้จริงๆ ว่าก็เราไม่มี ทำไมเราไม่รู้ ใช้ปัญญา ก็มันดี ทำไมไม่ทำ จะต้อง ไปอาศัยอุปกิเลสพวกนี้ล่อทำไมเล่า กำลังจะมีก็เพราะว่า เรารู้เราชัดเจนว่านี่สิ่งดี ก็ทำเข้าไปซิ ไม่ต้องไปใช้กำลังพวกนี้ มาช่วยขับเคลื่อน ไม่ต้องใช้จารบีพวกนี้ก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น ไปให้ถูกทางน่ะ เพราะฉะนั้น ที่ดับที่ว่านี่ดับแล้ว ดับในอกุศล ดับกิเลสาสวะต่างๆดับสนิท

แต่เวทนายิ่งสะอาดบริสุทธิ์ เป็นปริสุทธา ปริโยทาตา ยิ่งมุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ยิ่งจิตใจจิตพวกนี้ จะเป็นอย่างนั้น ส่วนเวทนาที่จะควรดับ ก็ได้ดับไปพร้อมกับความพยายาม เสร็จแล้ว อาการโทมนัส โสมนัสอะไรก็ไล่มา ที่สุดก็ต้องดับลงได้ด้วย จนถึงขั้นได้อุเบกขา ที่เป็นโลกุตระ เป็นฐานอาศัย ทำการงาน ที่สมควรให้แก่โลก ภาษาบาลีเรียกว่า กัมมนิยา หรือ กัมมนิเย นั่นแหละ หรือ กัมมัญญา เรียกว่า มีจิตได้ถึงขั้นนี้แล้ว ก็เป็นฐานอาศัยที่จะทำงานที่สมควรในโลกให้แก่โลกเขา เขาแปลเอาความง่ายๆ เลยว่า เหมาะควรแก่การงาน เขาแปล ในพวกบรรดาเกจิอาจารย์เขาแปล กัมมนิเย เขาแปลเลยว่า เหมาะควรแก่การงาน ก็คือฐานอาศัยอุเบกขา เป็นฐานที่มันใช้ทำงาน อันสมควร ซึ่งมันจะมีปัญญา มีสัปปุริสธรรม มีสัปปุริสธรรม มีสัตบุรุษ ๗ นี่ ประมาณ มีธัมมัญญุตา อัตถัญญุตา อัตตัญญุตา มัตตัญญุตา ประมาณให้พอเหมาะพอดีไป ทำงานไป อย่างมีคุณค่า ประโยชน์เหมาะควร มีปัญญาญาณ ไม่ใช่ว่าทำสุ่มสี่สุ่มห้า

แม้กระนั้นก็ต้อง ไม่หลงติดอุเบกขา จนเป็นวิปัสสนูปกิเลส นี่คือภาษาโวหารที่เรียบเรียงแล้ว มันสั้นๆๆๆ เพราะฉะนั้น ก็อ่านมาเรื่อยๆ มาถึงตรงนี้ อาตมาว่า พวกเราจะเข้าใจได้มากเชียว พวกเรามีพื้นฐาน โดยเฉพาะมีสภาวะ สำหรับผู้ที่มีนะ ผู้ที่ไม่มีก็ต้องค่อยๆทำไป เรียนรู้ไปเรื่อยๆ บัญญัติหรือปริยัติก็รู้ไว้ก่อน ไม่เช่นนั้น ก็จะหลง เหลือเป็นอัตตา คืออุเบกขา จนเป็นวิปัสสนูปกิเลส หลงเป็นวิปัสสนูปกิเลส ไม่เช่นนั้น ก็จะหลงเหลือเป็นอัตตา ติดเป็นภพ ติดเป็นภพ มันก็จะมีทั้งภพ เพราะว่า มีอัตตา ก็ต้องมีภพ อยู่นั่นเอง เมื่อเรียนรู้กิเลส อุปกิเลส ที่สุดวิปัสสนูปกิเลสทั้ง หยาบ กลาง ละเอียด หยาบก็วิติกกมกิเลส กลางก็ปริยุฏฐานกิเลส ละเอียดก็อนุสัยกิเลส และได้ลดละ ได้ดับ ได้ฆ่า จนดับสนิทจริง สิ้นเกลี้ยงแล้ว ก็จะเหลือจิตแท้ พอดับนี่พวกนี้ ที่ดับไป จนกระทั่ง แม้อุปกิเลส แม้วิปัสสนูปกิเลสก็ดับจริงๆ ดับได้ถูกต้องตัวมัน หมดไม่มี ได้เกลี้ยงแล้ว สะอาดเข้า ก็จะเหลือแต่จิตแท้ๆ นี่วงเล็บบอกไว้ด้วยว่า ไม่พึงเรียกจิตเดิมแท้ เพราะจิตเดิมมีกิเลสมาก่อนทั้งนั้น จิตแท้ นี่คือจิตเพียวๆ Pure จิต ไม่ใช่ old จิต ไม่ใช่จิตเก่าแก่ ไม่ใช่จิตเดิม ไม่ใช่จิตก่อน เป็นจิตแท้ๆ

เพราะฉะนั้น ที่เรียกจิตเดิมแท้นั้น พวกมีทิฎฐิ มีทิฏฐิว่าคนนี่ จิตมนุษย์ เกิดมา ยังไม่มีกิเลสหรอก สะอาดก่อนพวกนี้วัฏฏะสั้นแต่เพียงชีวิตเดียว เข้าใจอย่างนี้ เหมือนสายท่านพุทธทาส บอกเลยก็ได้ เกิดมานี่จริงๆ ตาม มหายานเขามา มหายานที่ออกนอกรีต มันเพี้ยนไปแล้วมหายาน ออกมาว่านี่จิต เดิมแท้ เด็กเกิดมา ไม่มีกิเลสหรอก มามีกิเลสเมื่อจิตของเด็กถูกมอมเมา ถูกกิเลสอะไรเข้าไป เพราะฉะนั้น จิตเด็กเป็นจิตบริสุทธิ์ อ้อ ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นพระอรหันต์มาตั้งแต่เป็นเด็กเลย อย่าให้มันโต ให้มันเป็นพระอรหันต์ไว้เรื่อยๆ ไม่ให้มันรู้เรื่องอะไร ให้มันเป็นพระอรหันต์มาตั้งแต่เกิด แล้วก็ให้มันเป็น พระอรหันต์ต่อไป อันนี้มันเป็นความเข้าใจผิด ของทางวัฏฏะมันไม่ยาว พวกนี้เข้าใจ ในวงแคบๆ

เพราะฉะนั้น จิตเดิมไม่ใช่จิตปภัสสร เหมือนกันกับท่านเข้าใจว่า กิเลสนี่จิตเดิมแท้ เป็นจิตปภัสสร กิเลสมันเป็นแขกจร แขกจรที่ไหน แขกประจำ แล้วไม่รู้กี่ชาติ มันแกะกันอยู่ทุกวันนี้ แกะกันแทบตาย ไม่ค่อยออกกันเลย หลงว่า มันเป็นตัวจริงของเรา นึกว่าหลงว่ามันเป็นเนื้อแท้ของเรา ที่จริงมันแขก มันอาคันตุกะ ไม่ใช่เนื้อแท้ของเรา นี่วิเคราะห์ออกยากอย่างนี้นะ นี่คือคนที่ยังมิจฉาทิฐิ ยังหลงอยู่ว่า เป็นสภาพ เพราะฉะนั้น ก็เลยทำได้ขนาดหนึ่ง ไม่เจาะรวมไปถึง อนุสัยอาสวะ ไม่มีวิธีการที่จะล้าง อย่างสะอาด ฟอกแล้วฟอกอีก หาทางที่จะเอาขยะออกมาฟอก เอาออกมาล้าง ไม่มีทาง ไม่มีวิธีการ เพราะมันเผิน ได้แต่คาถา อะไรก็อย่ายึดมั่นถือมั่น ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น มันเผินอยู่แค่นั้นแหละ มันไม่เจาะลึกเข้าไปได้เลย แล้วไม่พากเพียร แล้วไม่อุตสาหะ ไม่แข็งแรง อย่างพวกเรา ขนาดนี้ มันยังน้อยไป ยังน้อยไป มันต้องฝึกฝนแข็งแรง กระแทกกระเทือนออกมา นี่ทะเลาะเบาะแว้งกันแค่นี้ กระแทกออกมา ยังไม่หมดหรอก ยังกระเทาะกระแทกออกมาอีกเยอะ นั่นแหละ ต้องไปอ่านดีๆ ไอ้จิตที่มันปภัสสรเป็นจิตที่บริสุทธิ์ มันต้องมีเนื้อความให้ชัดเจน อาภัสสราพรหม มันไม่ใช่ว่า เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็เป็นอาภัสสราพรหมจิต อาภัสสราพรหม ก็คือจิต ที่มันได้ฟอกได้สะอาด ปภัสสรนี่แหละ อาภัสราก็คือปภัสสรนั่นแหละ แต่ยังไม่ปภัสสร แล้วจะไป โมเมเอา ว่าจิตฉันปภัสสร ก็ตีขลุมเอาน่ะซิ มันจริงหรือเปล่าละ มันต้องให้ได้สัจจะ ที่จิตคุณปราศจากกิเลส แล้วก็ปภัสสร จิตมันไม่ปราศจากนี่ จะไปเรียกปภัสสราพรหมอะไร มันก็เหมือนกัน อาภัสสราไม่ใช่ปภัสสรา อาภัสสราพรหม

ไม่พึงเรียกจิตเดิมแท้ เพราะจิตเดิมมีกิเลสมาก่อนทั้งนั้น นี่วงเล็บ ก็จะเหลือแต่จิตแท้ ที่เป็นจิตบริสุทธิ์ ปภัสสร (ซึ่งเป็นคุณลักษณะของอุเบกขา ดังที่เคยอธิบายผ่านมาแล้ว) เพราะว่า จิตปภัสสร มีคุณธรรม อุเบกขา มันมีคุณลักษณะ ๕ บริสุทธิ์ นี่อาตมาก็บอกแล้ว จิตบริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา นี่คือคุณลักษณะ ๕ เอาต้นคือบริสุทธิ์ กับปภัสสร มานี่มันก็คุณลักษณะ ที่เป็นจิตบริสุทธิ์ปภัสสร เป็นคุณลักษณะของอุเบกขา และมีคุณลักษณะ พิเศษสุด คือสะอาด สว่าง สงบ สุภาพ สมรรถนะ สามัคคี อันนี้ก็เป็นของอาตมาเห็น อาตมาเห็น ด้วยกับท่านพุทธทาสพูดเอาไว้ ๓ ตัวก็เห็นด้วย สะอาดก็คือสะอาดที่จริงปริสุทธา นี่สว่าง ก็คือปัญญา หรือปภัสสร ถูกต้อง สงบก็คือกิเลสดับสนิท ถูกต้อง อาตมาไม่แย้งไม่เถียง ไม่เป็นไร ท่านเรียกเป็นภาษาไทยๆไว้ดีก็ดี ก็เอา แต่ว่าไม่พอ ต้องมีคุณลักษณะที่เด่นชัดว่า สุภาพมีภาวะ ที่เห็นได้ ทั้งนอกและใน สุภาวะหรือสุภาพ สุภาพต้องมีลักษณะที่ดี ที่เห็นได้ว่า สอดคล้องกัน เป็นปาสาทิโก เป็นอาการที่น่าเลื่อมใส ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมว่าสะอาด สว่าง สงบด้วย แล้วก็สมรรถนะ มีพลังสร้างสรร ไม่ใช่สงบ สะอาด สว่าง หนีไปอยู่ที่ธรรมชาติที่ฉันชอบ แล้วก็จมปุ๊ก อยู่ตรงนั้นก็ไม่ใช่ มีสมรรถนะ รังสรรค์ สร้างสรร มีคุณค่าประโยชน์ที่เห็นได้ว่า เป็นอายูหะ หรือว่า เป็นสภาพที่มีอิทธิบาท อิทธิบาทมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาในการงาน เห็นชัดเจน ก็ขยัน หมั่นเพียร อยู่ในสังคม มีสมรรถนะ สามัคคี

และในการมีสมรรถนะนั้น ก็มีหมู่มีกลุ่ม มีคนอยู่รวมกัน เป็นสามัคคีธรรม มีพลังรวมอย่าง ธรรมใดวินัยใด หรือว่าศาสนาที่ไม่ได้เป็นไป เพื่อความร่มเย็น ร่วมกันรวมกัน อันนั้น ไม่ชื่อว่าศาสนา ที่อาตมาเคยว่าไว้ตั้งนานมาแล้ว ศาสนามีพลังรวม ที่เห็นรูปได้เลยว่า มีสามัคคี มีสมรรถนะ มีสุภาพ ส่วนในสะอาด สว่าง สงบ นั่นมันเรื่องข้างใน ของใคร แต่อันนี้สุภาพ สมรรถนะ สามัคคี เป็นเรื่องข้างนอก ที่จะเห็นได้อย่างชัดเจน เต็มไปด้วยรูปธรรม ถ้ารูปธรรมมันดี แม้ในยังไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่เป็นไร ก็เอารูปธรรมไปก่อน และถ้าเผื่อว่า รูปธรรมเราก็เรียนรู้ ในข้างในเราก็เรียนรู้ ขัดเกลากิเลส ที่เหลือไปออกจนหมด นอกก็ผ่อง ในก็แผ้ว ก็สมบูรณ์เลยตอนนี้ ผ่องแผ้ว ทั้งนอกและใน ๖ อันนี่นะ เป็นจิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม มีคุณค่าประโยชน์หลายคุณนะ ๑.คุณภาพ ๒.คุณธรรม ๓.คุณประโยชน์ยิ่ง เป็นจิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม มีคุณค่าประโยชน์ยิ่ง แก่มวลมนุษยชาติ ผู้เข้าถึงความจริงเป็นอรหันต์ เพราะมีสัญญาเวทยิตนิโรธจริงขึ้นไปเท่านั้น

ตรงนี้เน้นตัวดำเลย ใหญ่เบ้อเร่อ จึงจะเห็นแจ้งรู้จริง นี่ก็ใส่เครื่องหมายคำพูดแล้ว แถมเน้นตัวดำด้วย ว่าจึงจะรู้แจ้งเห็นจริง ของจริงครบสมบูรณ์ ณ บัดนั้น ฟังดีๆ ตรงนี้ ตั้งใจฟังดีๆ ณ บัดนั้น ว่าเวทนาเป็นธาตุที่รู้สึกหรือรีบรู้ ผู้มีสภาวะอันนี้จริงแล้ว แล้วก็วางปล่อยได้จริงแล้ว จะเห็นได้ว่า ไอ้ความเป็นตัวตน มันไม่มี มันเป็นเวทนา เรียกด้วยภาษาว่าเวทนา แต่อะไรละ ก็คือ อาการของจิต ที่มันทำหน้าที่อย่างนั้น เราจะรู้เลยว่า อาการทางจิต หรือ เวทนาเป็นเจตสิตของเรา มันทำงานอย่างนั้น ทำงานอะไร ทำงานรู้สึกหรือทำงานรับรู้ แต่ไม่ใช่ตัวตน ที่ยึดที่ติด มันไม่ใช่ตัวตน มันไม่ใช่ตัวยึดตัวติดนะ เวทนาเหมือนกิเลส ไม่ใช่ตัวตน ที่ยึดที่ติด เหมือนกิเลส เพราะฉะนั้น ถ้ามันมีกิเลสเข้าไปร่วมกับไอ้เจ้าตัวเวทนา ต่างหาก แล้วก็ไปยึดติด ว่าของกู ดีไม่ดีไปเบ่งเป็น มานะอัตตา เย่อหยิ่งผยองว่า ข้านี่แหละ มีเวทนาที่บริสุทธิ์ เวทนาที่สะอาด เวทนาที่มีประสิทธิภาพ อะไรก็แล้วแต่

เพราะฉะนั้น กิเลสก็คือตัวโง่ ที่ตัวเราไปยึดไปติดว่าเป็นเรา เป็นของเรา จะใครแตะใครต้องก็ไม่ได้ จะพรากจากเราก็ไม่ได้ ถ้าจะตาย เวทนาจะต้องอยู่กับเรา มันก็อยู่น่ะซิ ก็จิตของคุณเป็นตัวกำหนด ถ้าจิตบอกว่า เวทนาก็ไม่ต้องอยู่กับเราหรอก เวทนาจะดีเยี่ยมแค่ไหน เราปล่อยวาง ปรินิพพาน พระอรหันต์เจ้าท่านรู้สึก ทำความรู้สึกนี้ได้ ทำความจริงนี้ได้ ท่านก็จะมีญาณปัญญา เห็นด้วยว่า เวทนานั้น มันเป็นธาตุที่รู้สึก และรับรู้เท่านั้น ไม่ใช่ตัวตนที่ยึดที่ติด เหมือนกิเลส ไม่มีโทษลักษณะ ที่ไม่ดีไม่งามเหมือนกิเลส มันไม่มีโทษ ไม่มีภัยอะไร เวทนา ไอ้ที่มันเป็นตัวเป็นตน (อัตตาแท้ๆ) วนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสารนั้น คือกิเลส ไม่ใช่เวทนา เพราะเวทนานั้นเป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนจริงๆ) เวทนาไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน เพราะฉะนั้น ภูมิมีเห็น จะเห็นของสะอาด จิตสะอาด เวทนาสะอาดบริสุทธิ์เป็นปริสุทธา ปริโยทาตา แท้ๆแล้ว มันไมใช่ของเราของเขา ถ้าเราไม่ใช้มัน มันก็จบ เพราะเราไปยึดมันมาว่าเป็นเรา เป็นของเรา มันก็อยู่กับเรา ถ้าเราไม่ยึด แต่มันอาศัยเหตุปัจจัย กาย ยาววาหนาคืบกว้างศอกพร้อม ขันธ์ ๕ มันยังไม่หมด ไม่เป็นไร มันก็ยังมีอยู่ให้ใช้ แต่เราไม่ยึดมั่นถือมั่น มันก็ไม่เป็นไร ใครจะมาดูถูก เวทนาเรา ก็ดูถูกไป จะบอกว่าความรู้สึกของเรา มีกิเลสผสม จริงๆคุณมีกิเลสผสมไหม ถ้าจริงๆ กิเลสไม่ได้ผสม ในเวทนาของคุณเลย เวทนาของคุณก็สะอาดบริสุทธิ์อยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของใคร

ถ้าคุณจิตไม่หวง ไม่แหน ไม่นึกเป็นเราเป็นของเขาแล้ว ตายมันก็พรากกันไปหมด สลายกันไปหมด มันยิ่งกว่าลม ยิ่งกว่าอากาศ ยิ่งกว่าที่ว่าง เวทนา แต่มีเหตุปัจจัย เท่านั้น นี่รูปนามขันธ์ ๕ มันสังเคราะห์กันขึ้นมา จนกระทั่งมาเป็นสิ่งนี้ เป็นประสิทธิภาพอันหนึ่งของจิต หรือเจตสิก ซึ่งวิจิตร ซึ่งวิเศษ ยากที่มันจะประกอบขึ้นได้ มันประกอบได้จริงๆเลยนะ เกิดเป็นมนุษย์ ประกอบจิต เจตสิกได้ เหมือนกับต้นไม้ มันทำไมไม่มีพลังเป็น ทำเป็นใบอย่างนั้น ทำเป็นลูกอย่างนี้ ก็มันมีพลังงานของมัน ที่เป็นสัญชาตญาณของมันอย่างนั้นน่ะ ได้ขนาดนั้นละนะ ให้มันได้ ขนาดคน ยังไม่ได้เลย ก็ได้ขนาดนั้น แต่ของคนที่เป็นพระอริยะ มันก็ยิ่งได้กว่า คนธรรมดา นี่มันเป็น ของมันเอง มันเป็นอนัตตา มันไม่ใช่ของใคร มันไม่ใช่ตัวตน ของอันนั้นอันนี้ มันเป็นเพราะ มีองค์ประกอบเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยหมด หมด ที่โง่ที่ติด ที่ยึดที่เสพต่างๆ นานาอยู่ ก่อเวรภ่อภัย ไม่รู้จบนั้น คือกิเลสไม่ใช่เวทนา เพราะเวทนานั้นเป็นธาตุที่รู้สึก หรือรับรู้เท่านั้น โดยสภาพของ เวทนาเอง ก็ไม่ได้เป็นของใคร มันไม่ใช่ตัวใช่ตนอยู่แล้ว

ฟังดีๆ เวทนาไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน มันอยู่ในตัวเราก็เถอะ ถ้าไปยึดว่าเป็นเรามันก็เป็นเรา ถ้าเราไม่ยึดว่าเป็นเรา มันก็ไม่ใช่ของเรา แล้วมันไม่ใช่เรา ยิ่งคุณจะมาตู่ว่าในตัวอาตมา ว่าเป็นของคุณ ได้หรือ ยิ่งไม่ได้ใหญ่ ใช่ไหม ยิ่งไม่ได้ใหญ่เลย ในตัวของเรา เราก็ต้องเห็น ให้ถูกต้องนะว่า มันอย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา มันจะเป็นเวทนาที่วิเศษขนาดไหน ก็ตาม พูดภาษาคนอย่างนี้ ยังไม่ชัด ก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรอีกแล้ว อาตมาว่าโดยสภาพของเวทนาเอง มันก็ไม่ได้เป็นของใคร แล้วมันก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนอยู่แล้ว โดยธรรมชาติของมัน พระพุทธเจ้าทรงสอน ได้ทรงยืนยันนักหนาว่า ทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต้องของบริสุทธิ์ด้วยนะ ต้องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นที่แท้ ที่ไม่ถูกปรุงด้วยกิเลสด้วย ฟังให้ชัด ต้องวงเล็บ ต้องกำชับกำชากัน ไม่ได้ไปหมายเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ยังเขรอะๆ ด้วยกิเลสอยู่ หรือของบางคนนี่ยัง โอ้โห! แยกกันไม่ออกเลย ทำให้บริสุทธิ์ก็ยังไม่ได้ใช่ไหม สะอาดหรือยังละ ไม่ใช่ไปเอาตัวนั้นมา มาพูดตอนนี้ เอาตัวที่ของพระอริยเจ้า พระอรหันต์เลยละ มาพูดตอนนี้ เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นขันธ์ ๕ ที่ไม่มีอุปาทาน ไม่มีเคหสิตะ ไม่มีอกุศล ไม่มีอะไร แล้วจริงๆ ที่แท้

เพราะฉะนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่แหละ วงเล็บว่า ที่แท้นั้น ไม่ใช่ตัวตน พระพุทธเจ้าก็สอนมามากมาย ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ในพระไตรปิฎก มีไม่รู้กี่แห่งกี่หน พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ท่านก็สอนอย่างนี้ ดังนั้น จึงไม่ต้องไปดับ ไปดับมันทำไมล ะเวทนา มันไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็ไม่ต้องดับ มันก็ไม่เป็นอะไร มันไม่เป็นของใคร เราก็ไม่ได้มันอยู่แล้ว เพราะมันก็ไม่ใช่เรา เราก็ไม่ใช่มัน แล้วจะไปดับไปฆ่ามันอีก ยิ่งไม่ต้องไปดับไปฆ่า ก็ยิ่งไม่เป็น อัตตาใดๆ อยู่ในตัวอยู่แล้ว ฟังรู้เรื่องบ้างไหม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วงเล็บไว้ด้วยนะ ว่าที่สะอาด ถ้าไม่สะอาด มันมีอัตตาอยู่แล้ว คุณจะไปไหนเสีย คุณก็อยู่กับอัตตาของคุณ คุณก็อยู่กับมันนั่นแหละ มันอยู่ไหนก็อยู่นั่นแหละ อยู่กับตัวคุณก็คือตัวคุณ แต่ถ้าคุณทำในตัวคุณ นี่แหละ เป็นเวทนาสะอาด สัญญาสะอาด สังขารสะอาด วิญญาณสะอาด รูปสะอาดหมดแล้ว มันไม่ใช่ของใครอยู่แล้ว ไปฆ่ามันทำไม ไม่ต้องฆ่ามันก็ไม่ใช่ของใคร มันก็ไม่มีอะไร เพราะมันอนัตตา มันสุญญตา ความจริงมันสูญตา มันมีอยู่ เพราะมันมีเหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ ของเราอยู่ ยังไม่ตายสลาย

เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ท่านตั้งใจนิดเดียวว่าเอาไว้ก่อน เป็นโพธิสัตว์ก่อน อยู่เลย ไม่ต้องไปพูด ขนาดนี้ นิดเดียวก็อยู่แล้ว ง่ายจะเกิดง่าย จะไม่หมดอัตตาน่ะง่าย แต่จะให้มันหมด ไม่เอาเป็นเรา เป็นเขา อัตตา ปล่อย ล้าง ปรินิพพานนี่สิยาก นี่ซิยาก จะเอานั่นหรือ ขอให้ปล่อย ให้เป็นก่อน เถอะน่ะ เอา ไม่ยาก

พระพุทธเจ้าก็สอนนักหนา ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ดังนั้น จึงไม่ต้องไปดับไปฆ่า ก็ย่อมไม่เป็นอัตตาใดๆ อยู่ในตัวแล้ว ทุกจิตทุกเจตสิก ต่างเป็นธาตุบริสุทธิ์เอง อยู่เองได้ และเมื่อบริสุทธิ์นี่แหละ ก็จะทำหน้าที่โดยอิสระ ซื่อสัตย์ที่สุด ผู้บรรลุถึงขั้นมีจิตบริสุทธิ์นี้ได้เอง จึงจะเห็นเอง รู้แจ้งจริงเองว่า จะมีลักษณะที่วิเศษสุด ดังกล่าวมาต่างๆนั้นอย่างไร เพราะฉะนั้น คนที่มีจริงแล้ว ถึงจะเห็นของจริง ของตัวเองว่า อ๋อ มันอย่างนี้ๆ คนไม่มีมันก็เห็น อย่างที่ไม่มี หรือมีอย่างไม่บริบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ ก็จะเห็นของตัวเอง อย่างไม่บริบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์หลงได้นะ หลงว่าบริสุทธิ์ได้ แต่มันยังไม่บริสุทธิ์ ก็หลงๆว่าบริสุทธิ์ได้ แต่ถ้าบริสุทธิ์จริง คุณก็เห็นของจริงว่ามันบริสุทธิ์จริง แล้วมันจะเป็นยังไง คุณจะเกิดญาณรู้ของจริง ตามความเป็นจริงอันนั้น แล้วคุณไม่มีคุณจะไปเห็นอะไร จะเอาของใครมาดู แหม อยากจะดูหัวใจ ที่บริสุทธิ์สะอาดนี่ขอแงะดูซิ แง้มใจให้ดูหน่อยซิ คาราบาว ขอแง้มใจดูหน่อย มันดูได้ที่ไหนเล่า ก็ของใครของมัน ปัจจัตตัง เวทิทัพโพ วิญญูหิ

ผู้บรรลุถึงขั้นมีจิตบริสุทธิ์นี้ได้เอง จึงจะเห็นเอง รู้จริงเองว่า จะมีลักษณะที่วิเศษสุด ดังกล่าวต่างๆ นั้นอย่างไร ปัญญาญาณ หรือความรู้แจ้ง จะเห็นชัดถึงลักษณะสัจจะน่ะ ลักษณะสัจจะที่ว่ารูป ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่คน ตัวตนเราเขา เวทนาไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่คน ตัวตนเราเขา สัญญาไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่คน ไม่ใช่ตัวตนเราเขา ที่แท้มันคือธาตุชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่อย่างนั้นๆ เวทนา ก็ทำหน้าที่อย่างนั้น สัญญาทำหน้าที่อย่างนั้น สังขารทำหน้าที่อย่างนั้น วิญญาณทำหน้าที่อย่างนั้น รูปก็ทำหน้าที่ อย่างรูป วิญญาณไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่คน ตัวตนเราเขา จะเห็นพวกนี้เองๆเลย เห็นขันธ์ เห็นธาตุพวกนี้ มันไม่ใช่คน ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะเราวางเขา วางเราแล้ว เราไม่ได้ยึดว่าเป็นเรา เป็นเขา แล้วจริงๆๆๆคุณทำได้จริง คุณจะเห็นจริงๆเลย จิตคุณสะอาดจริงๆ สะอาดจากกิเลส แล้วค่อยมาล้างมาวาง จิตสะอาดของคุณน่ะ คุณก็มาวางว่า เออ จิตสะอาดนี่ กูอย่าไปยึด ว่าเป็นของกู แต่ถ้าตราบใด คุณยังทำจิตสะอาดไม่ได้นะ คุณจะบอกว่า ไม่เอาเป็นของกู ไอ้แค่ไม่สะอาด มันก็ของกูแล้ว เพราะฉะนั้น คนจะมาขี้ตู่กลางนาขี้ตาตุ๊กแก โอ๊ย ง่ายนี่หว่า ทำจิตไม่ให้เป็นเรา ของเราเท่านั้น ก็พ้นแล้ว นี่ละคนเข้าใจตื้นๆ เรียกว่าตีกิน พวกตรรกศาสตร์ จิตนี่ไม่ต้อง ก็เราอย่าไปยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา ก็จบแล้วนี่ ไอ้กิเลสที่มีอยู่นั่นละ มันคือเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่เรียนรู้กิเลสหยาบ กลาง ละเอียด จนถึงอาสวะ แล้วก็ล้างกิเลส ให้สะอาดจริงๆ คุณจะคิดว่าไม่เอาเป็นเรา ให้ตายยังไง มันก็เป็นของเราอยู่ นั่นเอง

เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะละวางความไม่เป็นเราเป็นของเรา จนกว่า คุณจะทำอุเบกขาฐานนี้ได้ก่อน ฐานอุเบกขาที่มีปริสุทธา บอกแล้ว่าบริสุทธิ์ ต้องทำฐานบริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรานี้ได้ก่อน จึงจะเป็น จิตปภัสสรที่บริสุทธิ์ ถ้าไม่ทำจิตปภัสสรที่บริสุทธิ์ แล้วค่อยมาวาง จิตปภัสสร บริสุทธิ์นี้ว่า มันไม่เป็นเราเป็นของเรา จึงจะเป็นที่สุด วางก่อน โมเมทั้งสิ้น นี่แหละ โมเมตรงนี้กัน เพราะฉะนั้น คนที่เรียน เรียนรู้ลัด แล้วรู้ความหมายแค่นี้ แล้วก็เอาไปตีกินง่ายๆ คาถาอะไรก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้วก็ไม่รู้จักกิเลสที่แท้จริง อ่านสภาวะเหล่านี้ไม่รู้หยาบ กลาง ละเอียดอย่างไร กิเลสหยาบ กลาง ละเอียด อนุสัยอาสวะอย่างไร ไม่รู้ชัดไม่รู้เจน ไม่มีเจโตปริยญาณจริง เวทนาก็แยกไม่ออก จริง No way ไม่มีทางน่ะ มันต้องมีทางแท้ มันต้องมี ทางจริงลงไปอย่างนี้ เมื่อเราเรียกว่า เราทำรูปนามขันธ์ ๕ ของเรา ปราศจากอุปาทาน ในขันธ์ ๕ ได้แล้วก็เป็นขันธ์ ๕ บริสุทธิ์ จะไม่เห็นรูปด้วยความเป็นตน

เมื่อเราเห็นว่าอันนี้ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่บุคคลเราเขา จะไม่เห็นรูปด้วยความเป็นตน แม้แต่สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเลย เวทนาก็เหมือนกัน สัญญาเหมือนกัน สังขารวิญญาณเหมือนกัน จะไม่เห็นรูปด้วยความเป็นตน จากของจริงนั่น เป็นของจริงนะ ด้วยปัญญาอันสะอาดยิ่ง ของผู้เข้าถึง และแม้ในอีก ๔ ขันธ์นั้นก็จะเห็นสัจจะได้ เป็นอย่างนี้เช่นเดียวกัน เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี อีก ๔ ขันธ์ รูปขันธ์ก็จะไม่เห็นรูปขันธ์ด้วยความเป็นตน ต่อไปก็จะไม่เห็นเวทนา ด้วยความเป็นตน จะไม่เห็นสัญญาด้วยความเป็นตน จะไม่เห็นสังขาร ด้วยความเป็นตน จากของจริงนี่ จากเวทนาจริง จากสัญญาจริง จากสังขารจริง ที่เป็นของสะอาด แล้วจะไม่เห็นว่าเป็นเรา นี้เป็นของตนจริงๆ เพราะฉะนั้น จะไม่เห็นเป็นตนไม่ใช่ตรรกะ ไม่ใช่ความคิดคำนึง ไม่ใช่ความเข้าใจแล้วก็เชื่อ เออ มันไม่ใช่ตัวตนหรอก มันไม่เป็นแค่ตัวตน

เพราะเมื่อคุณจิตสะอาดจริง มันไม่เป็นตน มันเป็นธาตุ ที่มีหน้าที่นั้นเท่านั้นเอง หน้าที่อย่าง เวทนาก็คือ หน้าที่ของเวทนามันทำหน้าที่รู้ รู้สึก หน้าที่สัญญาก็คือกำหนดจำ หน้าที่ สังขารก็คือ ปรุงผสมผเส หน้าที่ของวิญญาณก็คือรวมเจตสิก ๓ นี้ไป ต้องอ่านมาแต่ต้นเลย อาตมาวิเคราะห์ ตีแตกเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหมือนกับไปหลงใหล น้ำโอชะบาน ชะเบินอะไรนั่น อ่านให้ดีๆ อ่านสัก ๑๐๐ เที่ยว แม้ในอีก ๔ ขันธ์นั้น ก็จะเห็นสัจจะได้ เป็นอย่างนี้เช่นเดียวกัน ผู้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงไม่ใช่ขณะที่ เวทนาดับ สัญญาดับ (ชนิดที่ดับมืดไปหมดไม่รับรู้) จึงไม่ใช่อย่างนั้น แต่เป็นขณะที่ ดับเวทนาที่ควรดับ ดับสัญญาที่ควรดับ สำเร็จ สงบ สำเร็จลงจบ จิตที่มีสัญญาเวทยิตนิโรธ ตั้งแต่บัดนั้น จึงปภัสสร นี้เป็นรายละเอียดที่ขออธิบายถึง ไว้พอสังเขป ในจุดสำคัญสุด จะให้เอาอันนี้มาขยายเป็นเล่มๆ มาอธิบายธรรมะขยายเป็นเล่มๆ ก็ได้ละเอียดลออ ยกตัวอย่างประกอบนี่ละเป็นเล่ม หนาเท่านี้ก็ได้ แต่แค่ที่พูดมาเมื่อกี้นี้ อ่านมาไม่กี่หน้านี้ถึงอธิบายไว้ แต่พอสังเขป

ข้อที่ควรย้ำอีกที เผื่อผู้ที่อาจจะยังไม่ชัดนักก็คือ ปุถุชนจะยังเป็นผู้ไม่บังอาจเห็นสัจจะ ที่เป็นอนัตตา ที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา ฯลฯ อะไรพวกนี้ อะไรต่างๆที่กล่าวผ่านมาเมื่อกี้นี้ จะเพียงรู้ เพราะเหตุผล เพราะเทียบเคียง เพราะตรรกะเท่านั้น จะไม่ใช่คนเกิดญาณ เห็นของจริง ตามความเป็นจริง ต้องผู้ที่เป็นอาริยบุคคลแท้ ที่มีอธิปัญญาหรือญาณถึงภูมิ มีของจริงนั้นๆ เองในตัวเอง จึงจะเห็นของจริง คือสภาวะจิตสะอาด จิตที่ไม่เป็นตนนั้น เป็นต้น เพราะมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้น เป็นรูปแล้ว เรียกว่ารูปแล้ว เป็นสิ่งที่ถูกรู้ นี่เรียนรูปนามในนี้ให้ดีๆ นามกลายเป็นรูป อะไรก็อยู่ในนี้ อธิบายไว้หมด เพราะสิ่งที่ถูกรู้นั้นน่ะ มันไม่รู้ตัวมันเอง แต่มันเป็นสภาวะที่เป็น เรียกว่าเจโต หรือเจตสิก เจโตสะอาด บริสุทธิ์เป็นรูปแล้ว แต่เป็นรูปในเจตสิก ภาษามันซ้อนกัน เขาก็ว่าเป็นนามใช่ไหม แต่ขณะนี้เจโตที่สะอาด จิตที่สะอาด บริสุทธิ์ มีญาณเป็นปัญญาในตัวรู้ ตัวปัญญา เป็นนามของเราเองอยู่ในของเราเอง จิตของเราเอง เจตสิกของเราเอง จิตที่สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหมดเป็นเจโตแล้ว ตอนนี้เป็นตัวสิ่งที่ถูกรู้ แต่มันเป็นรูป มันเป็นนามธรรมแล้ว แต่นามนี่เราจะไปแปลยืนยันติดบัญญัติอยู่ว่า นามจะต้องเป็นตัวรู้ ตอนนี้มันไม่ได้เป็นตัวรู้นะ มันเป็นตัวที่ถูกรู้ มันสะอาดจากกิเลสหรือยัง กิเลสสะอาดแล้วจริงๆ เป็นจิตสะอาด ปภัสสรอยู่แล้ว ปัญญาไปเห็นของจริงนี้ ตามความเป็นจริงน่ะ เพราะมีสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่ารูป และมีธาตุรู้ที่เรียกว่านาม ตามฐานะจริง

เพราะฉะนั้น พูดถึงฐานะนี้ ก็จะรู้ของจริงอย่างนี้ ไม่ใช่ไปฟังใครบอกมา รูปและนามขั้นสูงสุด ก็ถึงคราวจะต้องจบลงแล้ว อย่างที่อธิบายมานี่ เรื่องรูปนามทั้งนั้น ถึงตอนจะจบลงแล้ว ผู้บริสุทธิ์สะอาดแล้วจริง ก็จะบอกทุกคนได้ว่า ฟังดีๆนะ ผู้บริสุทธิ์สะอาดแล้วจริง ก็จะบอก ทุกคนได้ว่า นามของเรา สำหรับตัวเรานั้นไม่มีอะไรเลย เราจึงเท่ากับไม่มีนามแล้ว ด้วยสภาพสุญตา แท้ๆแน่ๆ เราก็จะเรียกได้ว่า เราถึงแล้วซึ่งนิพพานในขณะนั้น ไม่มีตัวตนแล้ว นิพพาน เพราะเรา แม้แต่นามก็ไม่มี รูปก็ไม่มี แม้แต่ยึดว่าเป็นเรา รูปนามก็ไม่ยึดเป็นเรา เป็นของเราแล้วจริงๆ เพราะฉะนั้น ตอนนี้ก็สุญตา ตอนนี้ก็ว่างเปล่านิพพาน ดับสนิทแล้ว เราก็จะเรียกได้ว่า เราถึงแล้วซึ่งนิพพาน ในขณะนั้น นี่แหละคืออาการของ สอุปาทิเสสนิพพาน เพราะได้บรรลุธรรม สัญญาเวทยิตนิโรธ ตราบใดคนยังไม่ถึงปรินิพพานแล้วไซร้ ตราบนั้นดับสนิท สิ้นจบหมดหมุน จะได้มาอย่างไร แม้แต่ พระอรหันต์เจ้า หรือพระโพธิสัตว์เจ้าแท้ๆ ยังต้องหมุน ต้องเวียน ไปกับสามัญลักษณะในโลก สามัญลักษณ์คือไตรลักษณ์ ใครจะหนีพ้นลักษณะ ๓ คือ ไตรลักษณ์นี้ ได้แต่ไหน แม้แต่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็ต้องมาเป็นเพียรเวียนมาเกิด แล้วก็มาสู้กับทุกข์ใหญ่ กระทั่งธุลีทุกข์ ธุลีลำบาก จึงจะค่อยๆแปรไป

กระทั่งสุดท้าย ก็ดับไม่เหลือ อะไรเหลือ ก็ดับไม่มีอะไรเหลือเลย นั่นคือความสิ้นสุดอย่างแท้ ถึงที่สุดของคน หลัก คนนี่จะเรียนรู้จนกระทั่งเป็นพระพุทธเจ้าก็คือคน ในคนนั้นมีนามคือใจ (มโน) เป็นใหญ่ เป็นประธานมาก่อนสิ่งอื่น (มโนปุพพังคมา) แท้จริง หากไม่ทำให้ดับสนิทจริงที่นาม หรือที่ใจได้ถูกต้องแท้ ความหมดสนิทของคน จนหยุดกวน หยุดหมุน หยุดวน เด็ดขาด ย่อมไม่เป็นจริงขึ้นมาได้ นั่นคือความแท้ นั่นคือความจริง ไม่มีอะไรเหลือเลย ก็คือดับมอด พ้นโลกถ้วนทั่ว อันคือปรินิพพานนั่นเอง ที่สุดแล้ว จนไม่มีอะไรจะสุดอีก และแม้โลก ก็ยังต้องค่อยๆ เสื่อมสลายไปอยู่เรื่อยๆ จนสักวันหนึ่ง โลกเองหรือแม้ดวงอาทิตย์แม่ใหญ่ที่สุดเอง ก็จะถึงความหมุนเวียน เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน แต่มันจะเป็นไปตามวาระ และจะกินเวลานาน เท่าที่มันจะนาน คนก็เช่นกัน หากผู้ใดรอเวลาโลกแตก ก็จะหมุนเกิด หมุนตาย จมอยู่ในทุกข์ ไปกับโลกจนแตก แต่แล้วตัวเอง (อัตตา) ก็จะไม่แตกไปพร้อมกับโลก คุณจะอยู่จนกระทั่ง โลกลูกนี้แตก ก็อยู่ไปเถอะ คุณไม่มีการแตกไปกับโลกเขาหรอก มันเหนียวกว่าโลกนะอัตตานี่ โลกแตก ๕ ลูกแล้ว คุณก็ยังเป็นอัตตาอยู่นั่นแหละ ถ้าคุณไม่ล้างให้มันสนิท ให้มันแยกได้ โดยธรรมชาติของมัน แยกได้โดยคุณต้องทำให้จริง ให้ถูกสภาวะจริง

ผู้ใดฉลาดก็ต้องเพียรพยายามทำตนเองให้แตก ให้สลาย ให้พินาศ ให้จบลงไป ก่อนโลกแตก เสียเถอะ นั่นคือทำปรินิพพานให้ตนเอง จึงเรียกผู้ชนะโลกอย่างถูกต้อง และเที่ยงแท้ อย่างพระพุทธเจ้า เราเรียกผู้ชนะโลก ผู้พิชิต คือผู้พ้นทุกข์ของโลก พ้นความเป็นทาส พ้นโง่เง่า งมงาย และพ้นโลกกลมๆ ที่เราเคยเวียนว่ายอยู่นี้จริงๆด้วย พร้อมๆกันนี้ ก็คือถึงที่สุด ของเรื่องกันลงแล้ว ณ บัดนี้ จบเรื่องตรงคำว่าปรินิพพาน เรื่องคนคืออะไร ทำไมสำคัญนัก ก็จบกันแค่นี้

นี่อ่านตอนจบของเรื่องให้ฟัง แต่จริงๆแล้ว ยังมีจบ คนคือะไร จบคนแล้วมีอะไร ยังมีท้ายบทติดต่อ ท้ายบทอาตมาไม่ต่อ พวกคุณไปอ่านเอาเองน่ะ ท้ายบทมีอยู่หลายหน้าเหมือนกันล่ะ นี่อ่านตอนจบ ของหนังสือเล่มนี้ให้ฟัง แต่คนที่ยังไม่มีพื้นฐาน ฟังแล้วไม่รู้เรื่องหรอก คนที่มีพื้นฐานบ้าง ฟังพอรู้บ้าง คนที่มีพื้นฐานอย่างแน่น อย่างดี อย่างสะอาด อาตมาถึงบอกว่า หนังสือเล่มนี้ ออกมาแล้ว ไม่แน่หรอกนี่ เดี๋ยวเถอะ บังอาจกัน ผม.....แล้ว หา ได้ ๙ องค์วันนี้แหละหรือ โอ้โห หมอดูคนนี้บอกจะได้ ๙ องค์ งวดนี้น่ะ ยังมีรายละเอียดที่จะมาถึงตอนนี้ กว่าจะถึงตอนนี้ ก็มีรายละเอียดที่หลายขั้นหลายตอน หลายเรื่องที่อาตมาคิดว่า เป็นเรื่องที่ต้องเปิดเผย มันขัดข้อง เพราะว่าปมพวกนี้ มันเป็นมิจฉาทิฐิ มันเข้าใจเพี้ยนกันอยู่ อย่างปมที่อาตมาเห็นว่า แหม ท่านพุทธทาส มาตีปมเอาไว้ แต่แค่ว่า มีปัญญาเท่านั้นแหละ ท่านไม่เน้นเจโตเลยนะ ท่านพุทธทาส ท่านเน้นแต่ปัญญา มันก็เลยเพริดไปทางปัญญาหมด เจโตไม่เป็นจริง มันก็เลยได้แต่ปัญญา มาตีกิน กลายเป็นปัญญาอะไรๆไปหมด

ที่จริงภาษาพูด ตรรกศาสตร์ มันเป็นไปได้ เสพกามด้วยจิตว่าง ภาษาตรรกศาสตร์ ที่จริงมันเป็นไปได้ เหมือนกัน ผู้ที่ว่างแล้ว จากกิเลสจริงๆ ท่านเสพกามท่านก็ว่าง แต่ท่านจะไปเสพทำไม เอาละ เอา กามหยาบ ท่านไม่เสพแล้ว แต่มันมีนี่ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม อะไรอยู่ในพวกนี้ มันก็เป็นรส รูป กลิ่น เสียง สัมผัส ท่านก็กินเปรี้ยว หวาน มัน เค็มพวกนี้ โดยท่านไม่ได้เสพ คนจะเอารูปสวย รูปงาม เอาของสวย ของงาม ทางตามาก็ดูได้ ผู้ที่บรรลุแล้ว เสพด้วยจิตว่างได้ รับได้ อันนี้นี่ โอ้โห นี่สวยไหมละนี่ อย่างนี้ สวยไหม รูป สวยใช่ไหม แล้วจิตว่าง หรือเปล่าละ ไม่ว่างก็คือไม่ว่าง เราก็ต้องรู้ตัวของเราเองว่า เรายังมีความดูดดึงอยู่นะ ดูดดื่ม

แต่ถ้าเรารู้ตามสมมุติโลกว่า นี่เขาว่าสวย เราก็รู้ อย่างนี้ โลกเขาถือว่าสวย ค่านิยม ส่วนรวม เขาก็เห็นว่าสวย เราก็รู้ร่วมเขาอีกหน่อย อย่างนี้เขาก็เบื่อแล้ว เขาไปเอาอย่างอื่น เราก็เข้าใจกับเขาได้ เราก็โอเค เรียกว่า เราอนุโลมปฏิโลมกับเขา แต่ใจเราน่ะ มีไหมละอัสสาทะ หรือสุขัลลิกะ พวกนี้มีไหมละ ถ้ามีแล้วเราอ่านให้ออก แล้วล้างมันให้สนิท เมื่อมันอ่านออก ล้างสนิทดีแล้ว มันไม่มี คุณก็อนุโลมปฏิโลมตามเขาให้เขา พอเป็นขั้นเป็นตอน เหมือนที่อาตมาเคยสมมุติว่าก็ เหมือนเราเป็นแม่ครัว เรากินอาหารไม่ติดยึดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสแล้ว เรากินอะไรก็ได้ กินปรุงก็กินได้ กินไม่ปรุงก็กินได้ แต่พวกคุณกินไม่ปรุงกินไม่ลง เขาก็ต้องปรุงอาหาร ให้คุณกินขนาดนั้นขนาดนี้ก่อน เลี้ยงไว้ก่อน ประเดี๋ยวตายก่อน ไม่กินได้ยังไง เอ้า เลี้ยงไว้ก่อน แล้วให้ค่อยให้หัดเรียนรู้ แล้วก็ล้างๆ มา เรื่อยๆๆขึ้นมา อาศัยฐานนั้นขึ้นมาเรื่อยๆ ส่วนเขาปรุงนี้น่ะ เหมือนกับอร่อยด้วย ไม่อร่อยด้วยหรอก ไม่อร่อยด้วยคุณหรอก แต่อร่อยรู้ว่าคุณอร่อย ทำให้เพื่อคุณอร่อย เหมือนแม่ครัวชมร.อย่างนี้ ปรุงอาหารให้พวกเขากิน ระวังคุณจะแอบไปกับเขา บอก แหม เราก็ชื่นไป อย่าเพลินเพริดไปกับไอ้นี่ เมื่อกินไม่อร่อย ก็กินไม่ลง ระวังนะ เราต้องใช้พวกนี้ มันเป็นบทฝึกหัด เป็นข้อจะเรียนรู้ให้ดีๆ

คือคนรู้มากนี่ ส่วนมากก็ยากนานละนะ มันไม่ค่อยจะแม่น คือไม่ทำสภาวะ ถ้าทำสภาวะแล้ว มันรู้ตัวกำหนดสภาวะ นี่วิปัสสนาญาณมันจะลงตัว ถ้าตรรกะแล้ว มันจะมีเหตุผลวนเวียน วิจิกิจฉา เคลื่อนไปอยู่นั่นละ เลื่อนไหล เป็นปลาไหลใส่สะเก็ตอยู่บนลานน้ำแข็งอาบน้ำมันเสร็จ ปลาใหล ใส่สะเก็ต อาบน้ำมัน อัดจารบี แล้วก็คอยกลิ้งอยู่บนลานน้ำแข็งด้วย มันจะลื่นขนาดไหนนะ รู้มาก แล้วมันยากนาน มันจะวนอยู่อย่างนั้นละ มันไม่ค่อยเกาะติด มันไม่เป็นสภาวะที่ชัดเจน ไปเป็นขั้น เป็นตอน เหมือนมีบันไดไปเรื่อยๆ

พอศึกษาปริยัติมากๆแล้ว ก็มีความเฉลียวฉลาดในสมองรับพวกนี้ได้ แล้วมันก็ได้แต่มันวน เพราะฉะนั้น จะต้องพยายามหาเจโต แล้วฝึกไปเป็นขั้นๆ ถ้าเรารู้มากอย่างนี้ก็ดี แล้วก็ให้มันแม่นนะ ให้ถูกฝาถูกตัว ถูกฝาถูกตัวไป จะเป็นขั้นดี ปริยัติก็สำคัญ แย้งความหมายของคำว่า ต้องวิเคราะห์ วิจัย จะต้องสากัจฉากัน ขนาดไหน มันมีคุณภาพของมัน ขณะนี้พอเหมาะ

เพราะฉะนั้น คนที่เราระมัดระวังได้ อย่างพวกเราชาวอโศกเรานี่ เรามีทะเลาะ เรามีวิวาท แต่คุณเชื่อไหมว่า การทะเลาะการวิวาทของพวกเรา อยู่ในคุณภาพขนาดหนึ่ง ไม่เหมือนชาวโลกเขา เขาทะเลาะแรงกว่านี้ หยาบกว่านี้ อาฆาตจัดกว่านี้ แต่ของเราก็มีบางคนเหมือนกัน อาฆาตแรง อาฆาตจัด วูบวาบ แต่เมื่อสำนึกมันมีอะไรมันก็ ถ้าเอาดีก็เอาดี เขาก็เปลี่ยนก็แก้ ถ้าไม่เอาดีนะ อาฆาต ก็ถ้ายังมีเหลืออยู่ มันอาฆาตมันแรงมันร้ายแล้ว ทีนี้ละก็ ไม่เอาแล้ว หรือเอาก็แฝงไว้ในนี้ เพื่อที่จะแก้แค้น อาจจะมีบ้างในบางคน แต่ถึงอย่างนั้น ค่าเฉลี่ยค่ารวมแล้ว พวกเราก็รู้แล้ว ว่าชั่วดีอย่างไร พวกเราก็ลด จะไม่ฝังไอ้ความเลวร้ายนั้นไว้ในจิตวิญญาณ พยาบาท อาฆาต

เพราะฉะนั้น ในของพวกเรานี้ แม้จะมีหนักมีเบามีไอ้โน่นไอ้นี่อะไร จะดูเยอะ ก็รู้แล้วว่า พวกนี้ละ เป็นพวกยอดทะเลาะกันแหละ ทำเหตุทำปัจจัย ทำโจทย์ให้แก่กันและกันเก่งที่สุด ข้างนอก ไม่ถือสาหรอก ข้างในเรานี่ถือ มันเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เหมือนกับพี่น้องนี่นะ ถ้าอายุไล่เลี่ยกันแล้ว ทะเลาะกันไม่มีดี แต่ถ้าพี่ก็อายุ ๓๐ น้องอายุ ๑๐ ขวบ ไม่ทะเลาะกันหรอก เพราะพี่ก็ไม่รู้ จะไปรังแกน้อง ๑๐ ขวบได้ยังไง ไอ้น้อง ๑๐ ขวบก็ทำเป็นอย่างนั้นแหละ ตบตีพี่อย่างโน้น อย่างนี้ไป มันก็อย่างนั้นแหละแค่นั้นแหละ ไม่ทะเลาะกันหรอก แต่ถ้าเผื่อว่านี่ไอ้คนนี้ ๑๕ ไอ้คนนี้ ๑๖ พี่น้องที่มันใกล้ๆกันนี่ ฉันใดก็ฉันนั้นละเหมือนกัน นั่นแหละ คล้ายๆกันนั่นแหละลักษณะ

เพราะฉะนั้น พวกเรา ภูมิยิ่งใกล้ๆกันนี่ โอ๋ ทะเลาะกันน่าดู แล้วมันก็เป็นโจทย์ที่พอเหมาะ แก่กันและกัน ข้างนอกเขาทำโจทย์ได้ไม่เหมือนหรอก ทำก็หยาบ พอหยาบเขาก็ดูถูกแล้ว แต่ระวัง อย่าไปดูถูกเขาก็แล้วกัน ทำเป็นข่มเขา เออ เข้าใจเขาให้ได้ว่า เออ น่าสงสาร ให้มีน้ำใจ มีน้ำใจก็ เออ เห็นเขา ก็เขาก็เป็นอย่างนี้ขนาดนี้ ก็น่าสงสารเท่านั้นให้ดี นี่เราก็จะเป็นคนทำใจในใจ ได้สัดส่วน ได้พอเหมาะ แม้ว่าจะคบกับคนข้างนอก คบกับคนข้างใน คนข้างในก็ระวังให้ดี อย่าให้มันเกิดมานะ อัตตา อย่าให้เกิดมันแข่งขัน ชิงดี ชิงเด่น เพ่งโทษ อะไรต่ออะไรกันมาก


ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง ๒๙ มิ.ย.๓๗
ตรวจทาน ๑ โดย สม. ปราณี ๓ ก.ค.๓๗
พิมพ์โดย สม.นัยนา มาบรรจบ
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ปฯ ๔ ก.ค.๓๗
file:4096.tap