อิตถีภาวะ-ปุริสภาวะ ตอนที่ ๒
โดยพ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์ ที่พุทธสถานสันติอโศก
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔


อิตถีภาวะกับปุริสภาวะ มันเป็นความหมายของอาการ หรือเอาความหมายของสภาพ ที่เป็น นามธรรม อย่าไปเอาความหมายว่าเป็นตัวรูปธรรม เช่นอิตถีภาวะ ก็คือคนผู้หญิง อย่างนี้ไม่ใช่ ผู้หญิงไม่ใช่อิตถีภาวะ แต่จริงๆก็เป็นผู้หญิง เป็นลักษณะรอง ถ้าเราเข้าใจความหมายของ อิตถีภาวะแล้ว จงรู้ตัวว่า ใครเกิดเป็นผู้หญิงนั้น ไม่ใช่มีลักษณะเอก เป็นลักษณะรอง ปุริสะหรือบุรุษ เป็นลักษณะเอก

อย่างที่อาตมาเคยยืนยันว่าโดยความจริง โดยสัจจะ โดยธรรมชาติ โดยอะไร ก็แล้วแต่ แม้แต่ศาสนาคริสต์เขาก็สร้าง พระเจ้าก็สร้างอาดัม ผู้ชายขึ้นมาก่อน พอเห็นว่าอาดัม มันโดดเดี่ยว ก็เลยสร้างเพื่อนให้ โดยเอากระดูกซี่โครง ของอาดัมมาสร้างเป็นอีฟ หรืออีวาขึ้นมา ให้เป็นเพื่อนของอาดัม ก็เลยมีผู้หญิงขึ้นมา เพราะฉะนั้น ผู้หญิง ตัวแค่กระดูกซี่โครง ของผู้ชาย เท่านั้น อย่าแอ๊ค แหม อยากจะมีสิทธิสตรีให้มันเท่าเทียมกับชายอะไร อะไรที่มันเท่าเทียมได้ ก็เท่าเทียมไป ๒ ขา มีเท่ากัน ก็ว่าไป มือ ๒ ข้างเท่ากันก็ว่าไป ที่จริงมันไม่เท่ากันโดยนัย กระดูกแขน กระดูกขา มันไม่เท่าของผู้ชาย โดยโครงสร้าง จริงๆแล้ว กระดูกก็ไม่ได้เท่ากัน เล็กกว่ากัน นี่เขาเรียนมาเลย ด้านวิทยาศาสตร์ ใครเรียนกายวิภาควิทยา เรียน anatomy มารู้ อาตมาเรียนมา เรียน anatony มาเรียนกายวิภาค เรียนหมด กระดูกไม่เท่า กระดูกบางเล็กกว่า ตั้งแต่หัวกระโหลก บอกแล้ว อาตมาเคยพูดซ้ำซากหลายทีว่า ผู้หญิงมีกระดูก ใหญ่กว่าผู้ชายอยู่อย่างเดียว พวกเราคงจะจำ แม่นแล้ว ได้เคยฟังมาไม่รู้กี่เที่ยว มีกระดูกเชิงกราน กระดูกสำหรับไว้มดลูก ไว้เป็นอู่ ที่จะให้มี อาศัย เป็นที่ไว้มดลูก กระดูกเชิงกรานเท่านั้นที่ใหญ่กว่าผู้ชาย เพราะฉะนั้น ผู้ชายก้นไม่โต ช่วงนี้ไม่ผาย เพราะว่า กระดูกเล็กกว่า นอกนั้นใหญ่กว่าหมดทุกชิ้น ใหญ่กว่าผู้หญิงหมดทุกชิ้น อะไรอย่างนี้ เป็นต้น กล้ามเนื้อ เส้น อะไรต่ออะไรต่างๆ นานา มีอีกอย่างหนึ่ง ผู้หญิงมีมากก็คือ เส้นประสาท เยอะกว่าผู้ชาย มันถึงฟุ้งซ่านเยอะ แล้วมันประสาทง่าย อ่อนไหวนี่ มันก็เยอะ ไม่ใช่ใหญ่นะ เยอะนี่ไม่ใช่ใหญ่ เยอะนี่มันคือยิ่งเลอะ เทอะ เยอะ เยอะไม่ได้สัดส่วนนี่ ยิ่งเลอะเทอะน่ะ เยอะนี่ไม่ใช่ใหญ่น่ะ

เพราะฉะนั้น ก็สรุปคำว่า อิตถีภาวะกับคำว่าปุริสภาวะให้ชัดเจนว่า ไม่ได้หมายถึงตัวตนบุคคล เป็นหลัก หมายถึงลักษณะสภาวะ หรืออาการสภาพ หรือ อาการเป็นหลัก เพราะฉะนั้น ในตัวผู้หญิง มีปุริสภาวะได้ ในตัวผู้ชายมีอิตถีภาวะได้ ถ้าเราเข้าใจอาการ เข้าใจสภาพอย่างนี้แล้ว ก็ศึกษาให้ดี แล้วมันซ้อนเชิงด้วย ผู้หญิงบอกว่ามีลักษณะอย่างไร อย่างเป็นต้น ต้องอ่านทวนอีกนิดหนึ่ง

อิตถีภาวะ หมายถึงอาการหรือสภาพของความขาด ความเกิน ความเป็นรอง ความไม่สมบูรณ์ ความไม่พอเหมาะ ความไม่สมดุล ความไม่ลงตัว ความไม่แข็งแรงเต็มสภาพ ความไม่ยืนนาน สมสภาพ ความไม่เป็นที่หยุดที่จบ ความไม่เป็นเลิศเป็นยอด ความไม่เสริฐสุดเป็นหนึ่ง ความไม่นิ่งแน่เที่ยงแท้อย่างรู้แจ้งจบ เป็นหนึ่งสุดยอด ความยังแปรได้เป็นอื่น ความยังต้องการ ความเป็นสอง ความยังเรียกร้องต้องการความเป็นสอง ไม่จบลงในตัวเอง อย่างแจ้งชัดจบสิ้น สภาพที่ต้องช่วย สภาพที่ถ้าไม่ยึดจะไม่มั่น จึงต้องยึดมั่นถือมั่น นี่คืออิตถีภาวะ

ส่วนปุริสภาวะก็ตรงกันข้ามกัน ปุริสภาวะก็คือสภาพอาการ หรือสภาพที่เป็นที่หนึ่ง ความสมบูรณ์ ความพอเหมาะ ความสมดุล ความลงตัว ความแข็งแรง เต็มสภาพ ความยืนนานสมสภาพ ความเป็นที่หยุดที่จบ ความเป็นเลิศ เป็นยอด ความประเสริฐสุดเป็นหนึ่ง ความนิ่งแน่แท้เที่ยง อย่างรู้แจ้งจบ เป็นหนึ่งสุดยอด ความไม่แปรเป็นอื่นอีก ความไม่ต้องการความเป็นสอง ความไม่เรียกร้องต้องการความเป็นสองอย่างจบลงในตัวเอง ชนิดแจ่มแจ้งชัดเจนจบสิ้น เดี๋ยวจะได้ ขยายความไอ้ยาวๆนี่ เพราะอาตมาอธิบายมาถึงตรงนี้

สภาพที่ต้องช่วยผู้อื่น นี่คือปุริสภาวะ สภาพที่ต้องช่วยผู้อื่น สภาพของที่พึ่งของผู้อื่น สภาพของที่พึ่ง ของผู้อื่นนี่ สภาพปุริสภาวะ สภาพที่แม้จะไม่ยึดก็ยังมั่น จึงไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น สภาพที่แม้จะไม่ยึด ก็ยังมั่น จึงไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ฟังให้ดี ประโยคสุดท้ายนี่สำคัญมากเลย

โลกทุกวันนี้ก็มีแต่พูด อย่ายึดมั่นถือมั่น เสร็จแล้วเป็นผู้หญิงหมดเลย เป็นอิตถีภาวะ อยู่เต็มสังคมหมด เพราะตัวเองยังยึดมั่น ยังไม่ลงตัว ยังไม่สำเร็จ ยังไม่เสร็จสิ้นเลยว่า  ตัวเองนี่ แม้ไม่ยึด ก็ยังมั่น แม้ไม่ยึด มันก็เป็นของมันแล้ว สมบูรณ์แล้ว

เพราะฉะนั้น คนนี้เขาไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นหรอก แต่ยังเป็นอิตถีภาวะอยู่ ยังไม่จบสมบูรณ์ ยังไม่บริบูรณ์ ยังต้องยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้น มาเรียนรู้ปั๊บ ขึ้นอนุบาลก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น เลยไม่ต้องได้ แม้กระทั่ง ก. ไก่ ก.ก ขี้ไก่ ก็ไม่ได้ขึ้น อนุบาลอยู่นั่นแหละ เพราะมันไม่มีลำดับ มันไม่มีขีดขั้น มันไม่มีขั้นตอนอะไรก่อน หน้าหลัง ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านยืนยัน ยืนยัน ท่านตรัสว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะที่ลาดลุ่มได้ระดับเหมือนกับ พื้นฝั่งทะเลลงไปหาความลึกของ ทะเล น้ำมันจะซัดสาดเรียบราบดีได้ระดับ เป็นขั้นตอนไปอย่างเป็นเรื่องอัศจรรย์ ความลาดลุ่ม ได้ระดับ ไม่ใช่เรื่องตื้นๆเขินๆเลย เป็นเรื่องลึกซึ้งมาก

อาตมาได้ขยายความไปพอสมควรแล้ว ตอนนี้ก็มาถึงตอนว่า อาตมาขยายไปถึง ความไม่นิ่งแน่ เที่ยงแท้ อย่างรู้แจ้งจบเป็นสุดยอด อาตมาขยายถึงความไม่ประเสริฐสุดเป็นหนึ่ง ขยายไปแล้ว ตอนนี้จะขยายความต่อ อิตถีภาวะคือความที่ไม่ประเสริฐสุดเป็นหนึ่ง นั่นได้อธิบายแล้ว จนกระทั่งถึงไป เอาตัวปลาย คือไปเอาตัวที่ว่า ถ้ามันประเสริฐสุดเป็นหนึ่ง สุดยอดแล้วจริงๆแล้ว จะเป็นสภาพที่อย่างที่ว่านี่ เป็นสภาพของที่พึ่งของผู้อื่น เป็นสภาพของที่พึ่งของผู้อื่น หมายความว่า เราไม่ไป... ภาษามันไม่ไประบุว่าตัวคน เป็นสภาพของที่พึ่งของผู้อื่น หรือเป็นสภาพที่ต้องช่วยผู้อื่น สภาพที่ แม้จะไม่ยึดก็ยังมั่น จึงไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น แล้วมันก็เป็นของมันเองด้วย มันเป็นของจริง... นี่... เป็นความเป็นความประเสริฐสูงสุด แล้วเป็นปุริสภาวะ

ส่วนอิตถีภาวะนั้น ไม่ประเสริฐสุดเป็นหนึ่งหรอก มันยังแปรเปลี่ยนได้ มันยังแปรได้เป็นอื่น มันยังไม่ได้ ไม่นิ่งแน่เที่ยงแท้ อย่าง...ต้องสัมพันธ์ด้วยนะว่า การนิ่งแน่เที่ยงแท้นี่ ต้องอย่างรู้แจ้ง จบเป็นหนึ่งสุดยอด ต้องมีปัญญารู้แจ้งจริงๆเลย ว่าจบ ว่าเป็นหนึ่ง ว่าสุดยอด ไม่ใช่หลงนะ ต้องรู้จริงๆ เลยว่า ไม่เป็นสองอีกแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรเป็นสองอีกเลย ปุริสภาวะ ไม่ต้องการอะไรเป็นสองอีก เป็นหนึ่ง  

เพราะอิตถีภาวะ ยังมีลักษณะต้องการเป็นสอง ต้องเรียกร้องความเป็นสองมาให้แก่ตน นี่ความ ยังเรียกร้อง ต้องการความเป็นสอง ไม่จบลงในตัวเองอย่างแจ้งชัดจบสิ้น หมายความว่า ยังเรียกร้อง ต้องการความเป็นสอง ไม่จบลงในตัวเราเอง ตัวเราเองไม่สำเร็จ ตัวเราเองไม่จบ ตัวเราเอง ไม่มีของจริง ตัวเราเองไม่แจ้งไม่ชัด ตัวเราเองไม่มีปัญญารู้ลักษณะนั้นของตน ตัวเราเองไม่จบสิ้น อย่างเด็ดขาดจริงจัง เป็นจริงขึ้นไปได้

เพราะฉะนั้น ตัวเราเองจะยังมีความเรียกร้องอยู่ แม้ยิ่งไม่รู้ตัวว่า ตัวเองเรียกร้อง...ยิ่งโง่อยู่ ยิ่งไม่รู้ตัวเอง ยิ่งแย่ใหญ่เลย ทั้งๆที่ตัวเองเรียกร้อง จะอย่างละเอียดก็ตาม ยิ่งอย่างหยาบๆ อยู่แล้ว ยังเรียกร้องอยู่เลย ยังเรียกร้องความเป็นสอง ยังเรียกร้องต้องพึ่ง ยังเรียกร้องสิ่งอีกอันหนึ่ง ไม่เป็นหนึ่ง เป็นเอก ไม่ลอยตัว ไม่สมบูรณ์ในตัวเองอย่างแข็งแรง อย่างบริบูรณ์ อย่างดีที่สุด อะไรก็ตามใจเถอะ ก็ยังถือว่า มีลักษณะของอิตถีภาวะอยู่ทั้งนั้น ยิ่งยังแปรเป็นอื่นได้อีก นั่นน่ะ ยิ่งยังไม่จริง ยังเป็นปุริสภาวะไม่ได้ ยังเป็นอิตถีภาวะ เข้าใจอาการ เข้าใจสภาพนะ อันนี้เป็นแนวลึก เป็นสภาพที่ลึกซึ้ง ที่เราต้องศึกษา ในผู้หญิงก็สมส่วนของผู้หญิง เดี๋ยวฟังม้วนที่อาตมาได้อธิบาย ไปแล้ว เมื่อวานนี้ ที่ปฐมอโศก ไปฟังดูจะได้ชัดแจ้ง อาตมาอธิบายไปแล้ว อาจจะพูดซ้ำไปอีกหน่อย แต่ว่า ไม่ได้เน้นละเอียด แล้วก็ออกไปไกลตั้งเยอะแน่ะ มันเลยไม่จบ มันยาวน่ะ

ผู้หญิงนี่ แข็งแรงเกินผู้หญิง ก็คืออิตถีภาวะ ไม่ใช่ว่าเรื่อง มันไม่สมดุล มันไม่ใช่เรื่องพอดี มันไม่ใช่ เรื่องเป็นยอดเป็นเอกแล้ว มันเป็นเรื่องเกิน มันเป็นเรื่องไม่เข้าท่า ตัวเป็นผู้หญิงเป็นคนนี่ เป็นผู้หญิง ก็ต้องแข็งแรงสมสัดสมส่วนของผู้หญิง เกินไปแล้ว ไอ้นี่มันไม่ใช่ลักษณะน่ะ ลักษณะผู้หญิง ก็ต้องมีลักษณะอย่างผู้หญิง ให้สมสัดสมส่วนสมมารยาท สมความเป็นผู้หญิง มันมีของมัน คุณสมบัติของมัน เพราะฉะนั้น แข็งเกินไป กระด้างเกินไป ดูมันเอาลักษณะของผู้ชาย ไปทำเลย ประเดี๋ยวมันจะเป็นผู้ฉิงเข้า แล้วผู้หญิงก็ไม่ใช่ผู้ชายก็ไม่เชิง เป็นผู้ฉิง มันไม่ถูกน่ะ อย่างนี้เป็นต้น นี่แหละคืออิตถีภาวะ ยังไม่เป็นเลิศเป็นยอด ยังไม่เป็นหนึ่ง ยังไม่ลงตัว ยังไม่สมดุล ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ต้องพูดถึงความขาด ความขาดน่ะมันแน่ๆอยู่แล้ว ความเป็นรอง มันแน่ๆอยู่แล้ว คือลักษณะ อิตถีภาวะ แม้แต่ความเกิน ก็เป็นอิตถีภาวะ เป็นลักษณะที่ยังไม่สมบูรณ์เหมือนกัน

ผู้ชายก็เหมือนกัน มีร่างกายเป็นผู้ชาย แต่มีลักษณะผู้หญิงเยอะ มันก็ยังเป็นอิตถีภาวะ เพราะฉะนั้น ผู้ชายจะแข็งแรงขนาดไหน เขาไม่ว่า แข็งแรงอย่างแซมซั่น แข็งแรงอย่างเฮอร์คิวลิส แข็งแรงไปเลย แข็งแรงเลิศลอยขนาดไหน ขอให้แข็งแรงเต็มที่ ผู้หญิงแข็งแรงเกินจริงๆ มันก็ไม่ดี ไม่ได้น่ะ อะไรเป็นต้น มันดูแล้วมัน... แต่มันเป็นไปไม่ได้หรอก ที่จริงผู้หญิงจะไปแข็งแรงอย่างเฮอร์คิวลิสไม่ได้ จะไปแข็งแรง อย่างแซมซั่นก็ไม่มีในโลกน่ะ มันไม่ได้หรอก มันก็ได้ มันมีพิเศษอยู่บ้าง ยกเว้นอะไร เล็กๆ น้อยๆ แต่โดยค่าเฉลี่ยแล้ว มันเป็นไม่ได้ เหมือนพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ ผู้หญิงจะเป็น พระพุทธเจ้าไม่ได้ ไม่มี ผู้หญิงจะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ไม่ใช่ฐานะ ถ้าจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องมาเป็นผู้ชาย แล้วบุญบารมีถึง จะขึ้นมาถึงรอบของผู้ชาย แล้วมันก็จะไม่เป็นผู้หญิงอีก

แต่ในมหายานน่ะ เอาไปเอามา อาตมาเอง อาตมาไม่รับรอง แล้วก็ไม่ปฏิเสธนะ จนกระทั่ง มันมี มหายาน มีโพธิสัตว์ มีพระโพธิสัตว์ผู้หญิง อาตมาก็ยังไม่ได้ศึกษาตำรามหายาน อะไรมากมายนัก จนมีคนเขาหาว่า อาตมาเป็นมหายานไปโน่น ที่จริงอาตมาไม่ค่อยอิโหน่อิเหน่อะไรมหายาน เถรวาท ที่มาแบ่งกัน อะไรนี่ ไม่เข้าเรื่องเข้าราว แต่อาตมาก็พอรู้ๆพอสมควรล่ะ ในความหมาย ในเนื้อหา อะไรบ้าง เท่านั้นเอง แล้วก็มีเจ้าแม่กวนอิมอย่างนี้ เป็นต้น เป็นผู้หญิง เป็นพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ยิ่งใหญ่อะไรก็ตามใจ เอาเถอะ จะยอมรับกันก็ได้ แต่จะไปเป็นพระพุทธเจ้า แล้วจะไปเป็น เจ้าแม่กวนอิม เป็นพระพุทธเจ้านั่น มันเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสเป็นคำตายอยู่แล้ว ว่าสัจจะ อย่างนั้น จะเป็นพระโพธิสัตว์ อาตมายังไม่นึกว่า ขนาดพระโพธิสัตว์ก็ยังเป็นผู้หญิงได้นี่ อาตมาก็ยัง ไม่ได้ไปตรัสรู้ จริงๆ อย่างแท้จริงนะอันนี้ อาตมาบอกแล้วว่า อาตมายังไม่ปฏิเสธ แล้วก็ยังไม่รับ ในสิ่งนี้ทีเดียว

สรุปง่ายๆ ก็คือว่า สุดยอดเป็นหนึ่ง สมบูรณ์สุดจริงๆแล้ว มันก็จะต้องเป็นนั่นล่ะ ลักษณะของ ความเยี่ยมยอด ทั้งความลงตัว ไอ้เยี่ยมยอดน่ะเข้าใจง่าย ภูเขายอดไหนสูงที่สุด อย่างนี้มันมิติเดียว ชัดน่ะ ใหญ่สุด สูงสุดเห็นง่าย แต่สภาพลงตัวนี่ สภาพพอเหมาะพอสม เป็นยอดเยี่ยมนี่ อันนี้แหละ ซับซ้อน ยิ่งหลายชั้นหลายเชิง หลายลักษณะที่เอามาประกอบกันให้มันลงตัว โดยที่มันไม่ได้ชี้ทิศ ง่ายๆ ทิศบน ทิศล่าง ทิศซ้าย ทิศขวา ทิศใหญ่ ทิศเล็กอะไรตื้นๆน่ะ มันซับซ้อนหลายชั้นเชิงนี่ แล้วมันลงตัว พอเหมาะพอดี สภาพของมัชฌิมานั่นเอง หรือสภาพของสัมมานั่นเอง ซึ่งเป็นจุดยอด ของทฤษฏีหลัก ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ทฤษฏีมัชฌิมา สัมมาคนเข้าใจง่าย ง่ายกลางๆ ง่าย แล้วเอามาเรียนรู้โถ กลางๆ แค่หนึ่ง มิติที่หนึ่งก็แค่นั้นแหละ กลางๆน่ะ ระหว่างหัวกับท้าย วัดกันได้เท่าไหร่ หารครึ่ง กลาง ไอ้อย่างนี้ มันไม่ใช่ความหมาย พระพุทธเจ้าไม่ต้องไปตรัสรู้หรอก ไอ้อย่างนี้นี่ ประถมหนึ่งเขาก็ตรัสรู้ได้ใช่ไหม ถ้าแบบนี้จะต้องไปอาศัยพระปัญญาธิคุณ คนระดับ พระพุทธเจ้าไปตรัสรู้ทำไม ทฤษฏีแค่นี้น่ะ อาตมาก็พยายามเปรียบเทียบให้ฟัง อย่างทฤษฏี ของไอสไตน์ ทฤษฏีแห่งสัมพันธภาพอันลึกซึ้ง E=MC2 เป็นทฤษฏีขนาดเดี๋ยวนี้ มันกำลังโอ้โห มีฤทธิ์มีแรงระดับโลก สร้างอะไรที่เกินเชื่อเกินอะไรไป ต้องเป็นปาฏิหาริย์ไปตั้งเยอะตั้งแยะ ว่ายิ่งใหญ่แล้ว ยังไม่ได้เข้าใจได้ง่ายๆ  เรียนรู้กันได้ง่ายๆที่ไหน ไอสไตน์เองยังพูดเลย ว่าไปบรรยาย ให้คนเขาฟังนี่ เอาทฤษฏีนี้ไปบรรยายให้เขาฟัง บอกว่าคนไม่ค่อยเข้าใจ คนมาถามว่า แล้วเป็นยังไง ประสพผลสำเร็จแค่ไหน บอก แหม จะรู้สึกว่า คนยังเข้าใจไม่ค่อยได้นะ แกก็ยังบ่นเลย ไอสไตน์ คนเขายังเข้าใจไม่ค่อยได้ ก็แค่ทฤษฏีทางวัตถุ ทฤษฏีแค่ E =MC2 ไอสไตน์ยังต้องเคารพ พระพุทธเจ้าเลย

แล้วพระพุทธเจ้าตรัสรู้ทฤษฏีมัชฌิมา มันไม่ยิ่งใหญ่กว่า E=MC2 อีกหรือ ยิ่งใหญ่กว่า เพราะฉะนั้น มันยิ่งเข้าใจยากกว่า E = MC2 อีก เข้าใจยากยิ่งกว่าแน่ๆเลย  ต้องคนในระดับที่มีภูมิธรรม ที่จะรับได้ มันมันต่างกับ วิทยาศาสตร์อยู่เท่านั้นแหละ วิทยาศาสตร์มันแง่เดียว แต่ธรรมะนี้โอ้โห มันไม่รู้กี่แง่ เพราะฉะนั้น มันยิ่งใหญ่กว่าวิทยาศาสตร์แง่เดียว E=MC2 นั่นน่ะ ตั้งเป็นไหนๆ แล้วคนจะศึกษาได้นี่ ไม่ใช่คนในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างเดียว ชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้าน ชาวป่า ชาวเขาอะไรก็ศึกษาได้ ถ้าเขามีภูมิอันนี้ แล้วจะมาดูถูกดูแคลนเขาก็ไม่ได้ อันนี้แหละ มันเป็นเรื่องกว้างขึ้นไปอีก แล้วก็ลึก ขึ้นไปอีก

สรุปแล้ว เรื่องอิตถีภาวะกับปุริสภาวะนี่ ถ้าเราเข้าใจในความหมายหลักของมันว่า มันยังไม่ถึงที่จบ มันยังไม่ถึงที่สุดแล้ว เราต้องเข้าใจในรายละเอียดของมันไว้ว่า ที่จบที่สุด อะไรที่จบที่สุดของคน ที่จะมีคุณธรรม ที่จะมีรอบ รอบสุดของพระพุทธเจ้าท่านถือว่า สุญญตา อนันตภาค หรือ รอบ อรหัตผล คำว่า อรหัตผล นี่เป็นสุด จะอรหัตผลของระดับไหนก็แล้วแต่ ในรอบของโสดาบัน เราก็จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ แล้วก็มีความสามารถที่จะแบ่งมาเรียนรู้ว่า กิเลสในระดับขนาดนี้ เป็นกิเลสในระดับส่วนหนึ่ง พื้นฐานของแต่ละบุคคล ที่เราจะจัดการกับมันให้เรียบร้อย ถ้าได้คุณภาพ จัดการเรียบร้อยได้ ละกิเลส ตัดกิเลสลดลงไปได้ขนาดนั้น มีโลภ โกรธ หลงน้อยลง ขนาดนั้น มีความชั่ว ความ เลว มีอกุศล ลดลงไม่เกิดอีกในเรา อรหัตผลเรียกว่า ไม่เกิดอีก ตายสนิท อรหัตผลเป็นหนึ่งยอด ในลักษณะของนิพพานนี่ เรียกว่าไม่เกิด ดับสนิทนิพพาน

เพราะฉะนั้น จุดความหมาย คำว่านิพพาน ก็ต้องเข้าใจว่า อะไร นิพพาน คนเป็นๆ เป็นพระโสดาบัน มีนิพพาน ถ้ากิเลสตัวนั้นไม่เกิดอีกได้ปริมาณหนึ่ง ปริมาณเท่าที่เราก็ต้องค่อยเรียนรู้ไป ขนาดไหน ก็มีอรหัตผล มีตัวสุดยอด มีตัวปุริสภาวะของอันนั้น มันยังมีอันอื่นอีก ซ้อนแทรกลงไป ซับซ้อนลงไป อีกหลายชั้น หลายเชิง หลายรอบ หมุนรอบเชิงซ้อนไปอีกมากมาย สกิทาคามี อนาคามี หรือแม้แต่ ในส่วนย่อย ของภูมิธรรมของคุณภาพโสดาในโสดาต่างๆ  ตามแต่ละเรื่อง แต่ละเรื่อง แต่ละเรื่อง เรามีกิเลสโลภอย่างนี้ เป็นต้น โลภจัด จนกระทั่งถึงขั้น หยาบคาย โหดร้าย โลภจัด ต้องการของๆ เขานี่ ก็จะเอาให้ได้ แล้ว แหม ฆ่าแกงเอา แย่งชิงเอาในระดับฆ่าแกง ทำร้าย ทำลายเขาก็ได้ ถ้าอย่างนี้ จิตใจอย่างนี้ สามารถทำลงได้ คนนี้ไม่เป็นพระโสดาบันหรอก ฆ่ามนุษย์ก็ได้ ฆ่า ขี้โลภ เอาจนกระทั่ง เห็นแก่ตัวโดยชนิดจะโลภด้วยอะไรก็แล้วแต่ ทั้งวัตถุ ทั้งนามธรรม ศักดิ์ศรีใหญ่โต แล้วก็ฆ่าคนอื่นเขาได้นี่ คนฆ่าคนอื่นเขาได้ ยังไม่เป็นพระโสดาบันหรอกน่ะ ฆ่าคนอื่นตาย ยังไม่โสดาบัน

อาตมาถึงเคยพูดถึงเรื่องจอมจักรพรรดินี่นะ ที่พระพุทธเจ้าท่านหมายว่า กระดูกของจอมจักรพรรดิ เป็นกระดูกของบุคคลผู้หนึ่ง ในสี่ที่ควรจะใส่เจดีย์ไว้ บูชาเคารพได้ ท่านตรัสเอาไว้ ๔ พวก มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ แล้วก็จอมจักรพรรดิ จอมจักรพรรดิ ไม่ถือดาบ ไม่ฆ่าคนหรอก ไอ้ที่ฆ่าคน เพื่อที่จะหวงแหนบ้านเมือง ตัวเองอะไร แล้วไปฆ่าเขาตายอย่างนี้ ไม่เอา อย่างนี้ ไม่เรียกจอมจักรพรรดิน่ะ ให้ใหญ่เท่าไหร่ก็ใหญ่เท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นจอมจักรพรรดิ์ แม้แต่คุณธรรมของโสดาบัน เรายังจะไม่ฆ่าสัตว์ นี่ความหมายพื้นฐานศีล ๕ เบื้องต้น สัตว์ยังไม่ฆ่า แล้วไปฆ่าคนไหวหรือคน คนมันก็มีค่ามากกว่าสัตว์ ตั้งเท่าไหร่ อย่างนี้ เป็นต้น

มันมีรอบของมัน ความโกรธแค้นก็ดี ความโลภก็ดี ราคะก็ดี มีราคะจัดจ้านหยาบคาย ถึงขนาดหนึ่ง เป็นโสดาบันไม่ได้ ราคะจัดจ้าน หยาบคาย  ถึงขนาดก็คิดเอาแล้วกันน่ะ ถ้าเราเอง เราไปคำนวณว่า มันหยาบ ขนาดไหนเป็นหยาบ ให้มันเป็นระดับสูงเข้าไป แล้วเราก็ เอ้อ ขนาดนี้ ถือว่าหยาบ แล้วเราก็ มันจะได้เป็นระดับสูงก็ยิ่งดี อย่าไปเอาแต่ว่า หยาบจริงๆ แล้วค่อยๆ ว่ามันหยาบ สูงขึ้นมาหน่อยหนึ่ง ว่ามันละเอียด ว่ามันสูงแล้วอย่างนี้ บุคคลนั้นก็เตี้ยอยู่... แย่พอดี...

เราต้องกำหนดความสูงให้แก่ความหยาบเอาไว้ให้มันสูงๆ กว่าที่ควรเอาไว้หน่อย อย่าเอาไปเขยิบ เอาไปตีราคา ค่ามันไว้แคบนักเล็กนัก เราก็เลยสูงไม่ได้สักที นี่ล่ะ ความหมายกว้างๆ ความหมายที่ อาตมาพยายามคลี่คลายให้ฟัง ผู้ใดที่ยังต้องการ... ยังไม่นิ่งแน่เที่ยงแท้ อย่างรู้แจ้งจบเป็นหนึ่ง สุดยอด ยังแปรได้เป็นอื่น ยังต้องการความเป็นสอง ยังมีความเรียกร้อง ต้องการความเป็นสอง ไม่จบลงในตัวเองอย่างชัดแจ้งจบสิ้นจริง ไม่ว่าจะลึกซึ้ง หรือยิ่ง หยาบๆอยู่ว่า เอ๊ย ฉันยังต้องการ ความเป็นสองอยู่ ขนาดที่ว่า เราไม่ต้องการ ความเป็นสองแล้ว ก็จะต้องละเอียดลออ ลงไปอีก ตั้งเยอะนะ ละเอียด ลออลงไปอีกตั้งเยอะ ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างพระโพธิสัตว์ ยังต้องการความ เป็นพระพุทธเจ้า ไม่มีเลยที่ยังต้องการความเป็นสอง พระโพธิสัตว์ก็ยังมีส่วนหนึ่ง เป็นอิตถีภาวะ ให้พระโพธิสัตว์ ระดับใหญ่ที่สุด ถ้าไม่ถึงขั้นเป็นพระพุทธเจ้าเอง สมบูรณ์สุดยอด ก็ยังไม่เป็นหนึ่ง ในความเป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สุดยอด ปุริสภาวะที่สุดเลย จึงยกให้ พระพุทธเจ้าเท่านั้น สมบูรณ์ถึงที่จบสุด ปฏิภาณเปล่งออกมาว่า เราตรัสรู้แล้ว เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อนั้นล่ะ เป็นปุริสภาวะสุดยอด โพธิสัตว์เองก็ยังมีความเป็นสอง ยังมีความเรียกร้อง ความต้องการ ที่จะได้อีกสิ่งหนึ่งอยู่ นี่ก็เรียกว่า พูดตัวยอดให้ฟัง

แต่พวกคุณไม่ถึงขนาดนั้น... ไม่ได้คิดอย่างนั้น ไม่ต้องเอาถึงขนาดนั้น อย่าไปคิดอย่างนี้ เอาแค่นี้ มาแก้ตัวเอง แล้วตัวเองก็เลย... ขนาดนั้น เขาก็ยังไม่สุดยอด เราก็อย่าไปสุดยอดเลย เลยไม่รู้จักจบ สักทีหนึ่งเลย มันต้องมีสุดยอดของเราในแต่ละระดับ ไม่เช่นนั้น เราไม่มีปุริสภาวะ ในแต่ละ ระดับเลย ขั้นตื้น ขั้นต้น ก็ต้องมีสุดยอดของขั้นต้น ขั้นตื้น ขั้นต้นขนาดไหน ตื้นเตี้ยขนาดไหน ก็ต้องให้มันรู้จักตัวจบให้ได้ จึงจะมีปุริสภาวะขึ้นไปเป็นลำดับๆๆๆ ไม่เช่นนั้น... จะตีกิน ไปพึ่ง ไปคิดอยู่แต่ว่า โอ๊...คนอื่นเขา... ขนาดพระพุทธเจ้า ขนาดพระโพธิสัตว์ ก็ยังไม่มี ความเป็นหนึ่ง สุดยอด เราก็ยังหรอก ไม่ได้ อย่าคิดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ต้องเรียนรู้อิตถีภาวะ ในทุกๆสิ่ง เรื่องเพศนั่นเอง อย่างความหมายของโลกๆ มีเพศหญิงเพศชาย ต้องเรียนรู้ความเป็นเพศ ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล

เพราะฉะนั้น เขาถึงมีความเป็นเพศ เป็นสิ่งที่เป็นสอง มีคู่ มีสิ่งเดียวก็เป็นนะ เขาเรียกกัน อาตมาก็ไม่ได้เรียน ทางไวยากรณ์ ทางของฝรั่งเศสอะไรนี่ เขาแจกหมดดเลยเพศ พวกนี้ ไม่รู้อะไร เป็นเพศเมีย เพศผู้อะไร ของเขาไม่รู้มีหมดน่ะ อาหล่ง อาหลั่ย นี่เขาตั้งหมด ต้นเสา บ้านเรือน เก้าอี้ โต๊ะนั่ง ดินสอ ปากกา ไปมีเพศหมด เพศหญิง เพศชาย เป็นปุริสภาวะ เป็นอิตถีภาวะมีหมด โดยเฉพาะ เราเรียนรู้นามธรรม อาการ อารมณ์ในจิตใจนี่ให้ชัด อารมณ์อาการในจิตนี่แหละ เป็นเพศอยู่ ระวังน่ะ อารมณ์อย่างนี้ อาการอย่างนี้ ไม่เหมาะสมน่ะ ผู้หญิงสมควรที่จะมีอาการ ของจิต อย่าไปหยิ่งยิ่งใหญ่เกินไป อย่างแม้แต่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า แม้จะมาบวชเป็นภิกษุณี ก็จะต้องแสดงสภาพ และจะต้องมีใจยอมนะ ใจต้อง.. อาการอารมณ์ต้องยอม ต้องหมดมานะ กราบได้ แม้กระทั่งภิกษุที่บวชใหม่วันเดียว จะบวชมาร้อยปีก็ตาม อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้ เราต้องมีอาการ ต้องมีใจที่นิ่ง เออ กราบ พระพุทธเจ้าบังคับให้กราบ มันก็ต้องกราบล่ะ กราบภิกษุบวชใหม่ แต่ใจมันยังไม่ยอม สุดยอด มันยังมีมานะ อย่างนี้ก็เป็นอิตถีภาวะ

เพราะฉะนั้น พวกเราก็มีลักษณะอย่างนี้อยู่ได้ ผู้ชายบางที กราบสิกขมาตุ ก็มีอิตถีภาวะอยู่ในตัว เราบอก เออ เรายอมรับ แต่ใจมันไม่รับ เอ้า ยอมจำนน กราบก็กราบ ทำ แหม สวยเสียด้วยนะ เหมือนกับจริงใจนะ ใจ เราต้องดูอาการของใจเรา แล้วใจเรานี่ยอมรับจริงหรือเปล่า ใจเรานิ่งสนิท จบ สุดยอด เป็นปัญญา แล้วก็เป็นความจบสิ้น จบสนิทนิ่งแน่ เที่ยงแท้จริงหรือเปล่า ถ้ายังมีอาการนิดหนึ่ง ก็ยังไม่จริงอยู่นิดหนึ่ง ถ้ามีอาการนิ่งจริง แล้วรู้แจ้งเข้าใจ สมมุติ ปรมัตถ์ ปรมัตถ์คือ จิตเราเอง สมมุติ...เรายอมรับสมมุตินี้แล้วอย่างจริง คณะนี้เขามีสมมุติอย่างนี้ ไม่มีปัญหา แม้บอกว่า จะเป็นสิกขมาตุเป็นผู้หญิง แล้วก็ให้ปะ ให้นาคกราบก็กราบ... แล้วใจเรา มีอิตถีภาวะไหม อย่างนี้ เป็นต้น

แม้ที่สุดแล้ว ใครก็แล้วแต่ ในโลกจะยอมรับนับถือกัน จะเคารพกัน ใจไม่ข่ม ผู้ยิ่งใหญ่แล้ว สูงแล้ว ไปข่มเขา ก็เป็นอิตถีภาวะ ไม่ใช่ชาติชาย เคยได้ยินไหม แต่ไม่ใช่ชุณหวัณนะ ชาติชายคนนี้ ไม่ได้หมายถึง ปร๊อบเปอร์นาวน์... ชาติชายคำนี้ เป็นแต่เพียงภาษาน่ะ ... ไอ้นี่มันไม่แมนเลยนี่หว่า ไม่ชาติชายเลย ไปข่มเขานี่ มันไม่แมนเลย ... เพราะฉะนั้น ชาติชายจริงๆ หรือเป็นผู้ชายจริงๆแล้ว ไม่ข่มหรอก ไม่ข่มคน ไม่ต้องข่มเขาหรอก เพราะยังไงๆ ผู้ชายก็เหนือผู้หญิง หรือ ว่าเหนือคน ที่เขาสู้เรา เราจะว่าชาติชายนี่ ก็เหมือนกับปุริสภาวะนั่นแหละ คำว่า ชาติชาย ภาษาง่ายๆ ของไทย หน่อย ปุริสภาวะบาลี ถ้าเป็นแมน หรือเป็นชาติชาย หรือเป็นปุริสภาวะ เป็นผู้ที่เป็นสุภาพบุรุษ เป็น Gentleman อะไรก็แล้วแต่ มันจะต้องมีลักษณะที่กระด้าง แข็ง ใหญ่จริงนะ เป็นความกระด้าง เป็นความแข็ง แล้วคนอื่นเขาก็ยอมจริงๆ ข่มเขานั่นมันไม่ใช่ชาย ชายไม่ข่มเขาหรอก ใหญ่กว่าเขา เก่งกว่าเขา เหนือเขา มีอำนาจ มีฤทธิ์มีแรง มีความสามารถ มีความแข็งแรงอะไรก็ตามใจเถอะ ใหญ่กว่าเขาจริง เราไม่ข่ม โดยสัจจะลึกๆแล้ว คนเรานี่ ถ้าเราเหนือใคร เราควรจะให้เขาพึ่ง เขารับใช้เรา เราต่างหาก ควรรับใช้เขา ผู้นำคือผู้รับใช้ ผู้ยิ่งใหญ่คือผู้รับใช้ แต่สัจจะมันกลับกัน ไปหมดเลย ผู้รับใช้คือผู้ที่ด้อย ผู้รับใช้คือผู้ตาม ผู้รับใช้คือผู้ที่เป็นทาส เห็นไหม หลายๆอย่าง สัจจะ มันกลับตาลปัตร สัจจะมันไม่จริง อย่างนี้เป็นต้นน่ะ

เราเรียนรู้สัจจะพวกนี้ให้มากขึ้น แล้วก็พยายามปรับ แม้แต่กิริยากาย วาจา มันก็มีอาการ มีสภาพ ของมัน ใจนั่นก็บอกแล้วเมื่อกี้ ก็ย้ำแล้วว่า ต้องอ่านจิตใจ อ่านจิตวิญญาณ ที่อาการ ที่มันยังต้อง ศึกษา พวกนี้ลึกซึ้งลึกซึ้ง อาตมาพูดนี่ ยัง.. พยายามพูด แล้ววนไปวนมานี่ รู้สึกว่าตัวเอง ยังพูด ไม่เก่งเลย เมื่อไรเราจะ พูดเก่งสักทีก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น สภาพที่ยิ่งกว่านั้นลงไปน่ะ เราจะต้อง เป็นสภาพที่ ต้องช่วย ทำไมอาตมาว่าอย่างนั้น สภาพที่ต้องช่วย นั่นคืออิตถีภาวะ คือเป็นสภาพ ที่ยังต้องช่วยเขา สภาพที่ต้องข่วยเขาอยู่ ส่วนสภาพของปุริสภาวะ จะเป็นสภาพที่ที่ต้องช่วยผู้อื่น ต้องเหมือนกัน แต่ต้องช่วยผู้อื่น สภาพที่ต้องช่วย ผู้ใดที่จะมีสภาพที่ต้องช่วยอยู่ให้คนอื่นเขาช่วย สภาพที่ต้องช่วยผู้อื่น จึงจะจบ จึงจะเป็นหนึ่ง และตัวเองต้องรู้หน้าที่ ต้องรู้ความยอดด้วย

เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นหนึ่ง ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่มีความสามารถความเหนือกว่าจริงๆ ต้องช่วยผู้อื่น เป็นหน้าที่ เป็นความจริงเลย โดยลักษณะนั้นต้องจริง เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว มีปริวิตกว่า โอ๊ โลกมันเต็มไปด้วยกาม ว่าโลกนี้ สมัยพระพุทธเจ้าเกิด ก็เป็นสมัย ที่หยาบแย่อยู่แล้วละ คนมัน ก็แย่แล้ว ๒,๕๐๐ กว่าปีนี่ เห็นไปหมดเลยว่า โอ๊ คนมันตกอยู่ในกาม และมานะ เห็นแก่ตัวถือดีขนาดนี้ สอนไปคงไม่ได้ความมั้ง เหนื่อยเปล่าซะละมั้ง ปริวิตกแค่นี้แหละ เป็นอิตถีภาวะแล้ว

ทีนี้พระพุทธเจ้าย่อมรู้ยิ่งกว่าอาตมา ไว...แว้บ...โอยไม่ได้หรอก ถ้าขืนไปแว้บอย่างนี้ไม่ได้หรอก แว้บ... อย่างนี้ก็... ปุริสภาวะเกินตัว ท่านต้องรีบกลับ ไม่ได้ ท่านต้องเป็นผู้ที่ต้องช่วยผู้อื่น ไม่ช่วยเขาไม่ได้ โลกนี้พระพุทธเจ้าไม่ทำหน้าที่ ไม่ช่วยผู้อื่นก็ตายสิ สังคมมนุษยชาติในโลกตาย อย่างนี้เป็นต้น เป็นปุริสภาวะที่เยี่ยมยอด ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จะแว้บนิดหนึ่งอย่างนี้ไม่ได้ แม้แต่ความคิดนิดหนึ่ง แว้บว่าจะไม่สอนคนอื่นซ้ำ โอ้โห ไม่ได้ สหัมบดีพรหม หมายความว่า พรหมที่มีทั้งบรรดาทั้งหมด คือจิต เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในบรรดาสหัมบดี ยิ่งใหญ่ โดยนามธรรม หมายความว่า สภาพของความมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อัปปมัญญา ทั้งหมดในโลก สหัมบดีมารวมกันหมด ต้องรีบอาราธนาพระพุทธเจ้า เป็นนามธรรมนะ แต่เรามาเข้าใจ มีหน้า ๔ หน้า ปั้นซะ สหัมบดีพรหม มีหนวดโง้งเข้ามานั่งยองย่อยองหยก กราบอาราธนาพระพุทธเจ้า บอกฉิบหายใหญ่แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ไม่สอนคนนี่ ฉิบหายใหญ่เลย ไม่ได้น่ะ ก็เป็นรูปธรรม เป็นปุคลาธิษฐาน ถ้าเราเข้าใจก็ไม่มีปัญหา แต่โดย ธรรมาธิษฐาน โดยนามธรรมแล้ว คือสภาพของความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ในโลกนี้ ต้องมีใน พระพุทธองค์แล้วตัวนั้นแหละ มาเตือนสติพระพุทธองค์ ไวเท่ากับเหยียดแขนออกคู้แขนเข้า รวดเร็วประหนึ่ง อย่างที่เทียบอย่างนั้น เร็วต้องเร็วแป๊บ ช้าไม่ได้ แว้บหนึ่งก็ไม่ได้ นิดหนึ่งก็ไม่ได้น่ะ

เพราะฉะนั้น จะต้องเป็นหนึ่ง ต้องเป็นหนึ่งอย่างสุดยอดจริงๆ อาตมาเคยเล่าตัวเอง โอ๊ยกว่า.. ไม่ใช่สหัมบดีพรหมหรอก พรหมน้อยๆอนุ ไม่ใช่บดีด้วย... อนุเจี๊ยบพรหม...มา กว่าจะอาราธนา ให้รู้ตัวได้ว่า ต้องไปทำงาน นี่นะ  ต้องมาช่วยคนนะ ถึงแม้ยังไงๆ ก็ช่วยเท่าที่ช่วยได้ กว่าอาตมา จะรู้ตัว กว่าจะ โอ้...มาทำงาน มาอะไรต่ออะไร ตั้งนานเป็นปีๆน่ะ กว่าอาตมาจะรู้ตัวตอนแรกๆ ตอนนั้นก็ โอ้ฉันไม่เอา ไปหาป่าอยู่ของฉัน ไปอยู่เงียบๆ ไม่ต้องเอาอะไร คนก็อยู่ของมันไปซิ เราก็สบายเราแล้ว มันอย่างนี้แหละตัวตน มันเห็นแก่ตัวอย่างนี้ แต่เสร็จแล้วมันก็... เมตตาคุณ เราก็สั่งสมมา ไม่ใช่น้อย ถึงแม้มันจะไม่ยิ่งใหญ่ เท่าสหัมบดี เมตตาคุณอันนั้น เป็นคุณธรรมแท้ ที่สั่งสมมา เป็นพวกคุณก็สั่งสมเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็ต้องสั่งสมทั้งนั้นแหละ สั่งสมไป เรื่อยๆ อาตมาก็สั่งสมจน เป็นพระโพธิสัตว์นี่ ก็มีไม่ใช่น้อย ขนาดไม่น้อยขนาดนี้ มันยังขนาดนี้ คิดดูซิ ความเห็นแก่ตัวของคน ความยังมีที่พึ่งภพ ภพที่สมใจตน ฉันอยู่คนเดียวน่ะ อยู่คนเดียว มีสองนะ ฉันอยู่คนเดียวนี่มีสองนะ อยู่กับความเงียบ อยู่กับความสงบ อยู่กับความไม่มีใคร คนมันไม่มีหรอก ในโลกนี้จะอยู่คนเดียว ไม่มีใครไม่ได้ โดยสภาพของสัจจะ คนคือสัตว์โขลง เห็นแก่ตัวอยู่คนเดียวไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงได้แก้ ปมของศาสนาฤาษี ที่จะออกปลีกเดี่ยว คนเดียวไป นั่นล่ะว่าหลุดพ้น ไม่ใช่หลุดพ้น ไอ้แบบนั้นน่ะ ไอ้นั่นมันตกเหวไปแล้ว ไม่ใช่หลุดพ้น มันตกเหว ตกนรก มันหลุดบ่วงธรรม หลุดบ่วงคุณธรรม หลุดบ่วงสัจจะ มันหลุดออกไปจาก นอกความเป็นจริง ความเป็นจริงคนจะต้องอยู่รวมกัน เป็นสัตว์โขลง แล้วต้องพึ่งพาอาศัยกัน อันเป็น คุณลักษณะ อันประเสริฐของมนุษย์ ผู้ช่วยเขาได้คือผู้ยอด ผู้ช่วยผู้อื่นได้คือผู้ยอด ผู้เป็นหนึ่ง เป็นหลัก เป็นหนึ่ง เป็นเอก เป็นเลิศ เป็นยอด ปุริสภาวะนี่เป็นต้น

อาตมาพยายามขยายความ ไม่รู้จะขยายยังไง อาตมาก็อธิบายเล่าโน่น เล่านี่ประกอบ ก็ฟังเอา ก็แล้วกัน ใครฉลาดก็ได้ดี ใครจะมีปัญญาทางนักวิชาการ ไปเรียบเรียงเป็นตำรา เขียนเป็นทฤษฎี ออกมาให้คนอื่น เขาฟังง่ายๆ ก็เอา อาตมายอมรับว่า อาตมาไม่เก่ง ชาตินี้ไม่ได้เป็นนักวิชาการ แต่เป็นนักพูด นักพร่ำ พร่ำ พูดไปนี่ ยืดยาดยาวเยื้อยย้าย วนไปวกมาซ้ำแล้วซ้ำซาก ปากเปียก ปากแฉะ ปากฉีก พูดยังงี้มันยังไม่เก่งสุดยอด นี่ก็ต้องยอมรับ อาตมาก็ต้องยอมรับ นั้นเป็นความจริง แต่ก็มีผลนะ มีผลนี่มันคงจะมีผล เพราะว่าพวกคุณเก่งนะ รับเอาได้ คงไม่ใช่อาตมา เก่งทีเดียวหรอก ถ่อมตนเอาโก้นิดหนึ่ง มันก็มีแต่ยกตัวยกตนบ่อยนัก ก็ถ่อมตนทำ เอาโก้ หน่อยหนึ่ง...

สภาพที่ต้องช่วยผู้อื่น สภาพของที่พึ่งของผู้อื่น...สภาพของที่พึ่ง นี่ อาตมาใช้ภาษาอย่างนี้ ก็หมายความว่า เพื่อไม่ให้เป็นตัวบุคคล เดี๋ยวจะบอกว่า สภาพของผู้ที่เป็นที่พึ่งของผู้อื่น มันจะหมายถึง ตัวบุคคล สภาพของอาการ สภาพของลักษณะอะไรก็ได้ ถ้าจะบอกว่าปุริสภาวะ นี่มันปุริสภาวะนี่ ให้อาตมาพึ่งนี่ เสื่อนี่ เป็นปุริสภาวะ มันเป็นหรือเปล่า ไม่รู้ ไม่รู้เขาจัดเสื่อนี่ไม่รู้ว่า ใครเรียนภาษาฝรั่งเศส เขาจัดเพศหมด เสื่อเป็นเพศหญิง หรือเพศชาย ใครเรียนภาษาฝรั่งเศสมั่ง... หา... เรียนมานิดหน่อย เพศชายหรือ...จำ ได้หรือ...เออ เสื่อเป็นผู้ชายจริงๆ เห็นไหม ปุริสภาวะ เห็นไหม อาตมาว่าเห็นไหม เอ้าจริงๆ นะ มันชักจะลึกซึ้ง มันชักจะถูกเลยนะ เป็นปุริสภาวะ มันเป็นที่พึ่งให้เรานะ เราพึ่งมันนะเสื่อนี่... ที่พึ่งให้เรา นี่คุณจะเข้าใจอะไรลึกขึ้นไป มาฟัง อย่างนี้ เขาเสียสละนะ พระสุเมธดาบส ท่านบอกว่า แหม ท่านจะเป็นพระอรหันต์ ตอนนี้ก็เป็นได้แล้ว แต่ท่านยังไม่เอา ท่านจะเป็นโพธิสัตว์ต่อ ท่านก็ไม่มีอะไรจะเสียสละ โอ๊ ท่านทั้งหลาย นี่สาวกพระพุทธเจ้าแล้ว พระสาวก พระพุทธเจ้าพระทีปังกรมา เสด็จมาเป็นหมู่มากเลอะเทอะ พื้นดินนี้ ไม่เหมาะสม ที่จะให้ฝ่าเท้า ของท่านผู้สูงส่ง ไปเหยียบแตะเลย เราไม่มีอะไรเลย สุเมธดาบส อย่ากระนั้น เลย เรานอนราบลงไปกับพื้นนี่แทน รองให้ท่านทั้งหลาย เดินไปบนร่าง ของเรา ท่านทำตัวให้เป็นปุริสภาวะระดับหนึ่ง ยังไม่จบ แต่ว่าปุริสภาวะของความจบ ในรอบ ของท่าน ต้องทำไปแต่ละรอบ แต่ละรอบ แต่ละรอบ อย่างนี้เป็นต้น นั่นเป็นปุริสภาวะ อย่างที่บอกว่า เสื่อนี่ ท่านสุเมธดาบสนอนลงไป เพื่อให้ท่านผู้อื่นได้อาศัย ที่จริงมันซับซ้อนนะ ผู้อื่นน่ะ ปุริสภาวะ พระพุทธเจ้ามหาทีปังกร  ก็ต้องเป็นปุริสภาวะมากกว่าสุเมธดาบสแน่นอน แต่ว่า มันไม่ใช่ มันคนละเรื่องกัน อย่างนี้ มันเข้าใจยากอย่างนี้ มันซับซ้อนอย่างนี้ ฟังให้ดี

เพราะฉะนั้น แต่ละคนต้องตรวจตนเอง โดยเฉพาะอารมณ์ โดยเฉพาะจิต และกิริยาพฤติกรรม กาย วาจา ใจของเรา อาการอย่างไรเป็นปุริสภาวะ ในผู้หญิงก็ต้องมีปุริสภาวะให้ได้ ในผู้ชายก็มี ปุริสภาวะให้ได้ อาตมาดู แสดงอาการเหมือนกับอาตมาเป็นคนดุนะ แต่อาตมาว่า มันเป็นปุริสภาวะ มากกว่า พระบางท่านที่เป็นอาจารย์บางท่าน อาตมาว่าอย่างนั้น มันเป็นอิตถีภาวะจัง ไม่ค่อยได้เรื่อง ไม่ได้ผลน่ะ มันไม่มีน้ำหนักเพียงพอ มันไม่มีความเด็ดขาด ไม่มีความลงตัว มันไม่มีความแข็งแรง มันไม่มีสภาพปุริสภาวะ มันจึงไม่ได้ผลเพียงพอ เพราะท่านไม่รู้ ท่านไม่ได้เรียน ท่านนึกว่า เป็นความสุภาพ ที่จริงมันไม่ได้สุภาพ มันทุภาพ มันไม่เป็นภาวะที่สมดุล ไม่เป็นภาวะที่เหมาะสม ไม่เป็นภาวะที่ลงตัว ไม่เป็นภาวะที่สมสภาพ มันไม่แข็งแรงเต็มสภาพ มันไม่อะไรล่ะ มันไม่สมดุล มันไม่พอเหมาะพอสม มันไม่สมบูรณ์ มันไม่เป็นเลิศ เป็นยอด มันไม่ประเสริฐสุดเป็นหนึ่ง ในอาการ ในสภาพ

เพราะฉะนั้น ท่านพูดเก่งยังไงก็แล้วแต่เถอะ สำเนียงลีลาภาษา โวหารอะไรก็ตามใจ น้ำหนักอะไร ด้วย มันไม่เป็น มันจึงไม่ไม่เป็น ทั้งๆที่ว่าไป จริงๆแล้วนะ อาตมาพูดโดยโวหาร โดยภาษา โดยความคำนี่นะ อาตมาอาจจะมีคำ ความภาษาอะไรต่ออะไรต่างๆนานา รุ่มร่าม ไม่ดูกะทัดรัด ไม่ดูได้ลักษณะ ตามที่เขานิยมกัน ด้วยซ้ำไปก็ได้ แต่อาตมาว่ามีหลายอย่าง ที่เป็นองค์ประกอบ ของการสื่อ ภาษาออกมา แล้วภาษาเหล่านี้ มีฤทธิ์ มีวิญญาณ มีน้ำหนักพอ ที่จะคุณรับแล้ว ให้คุณเป็นที่พึ่ง ของคุณได้ ภาษานี่เป็นที่พึ่งของคุณได้ จนคุณเจริญได้ เปลี่ยนแปลงได้ เปลี่ยนแปลงได้ซ้อนเชิง จนกระทั่งกลายไปเป็น ฆ่าอิตถีภาวะของคุณ จนคุณเป็นปุริสภาวะ แต่ละลักษณะ ขึ้นมาได้เรื่อยๆ อย่างนี้เป็นต้น นี่มันมี สภาวะซับซ้อน ถึงขนาดนี้ เพราะฉะนั้น ลักษณะของสภาพที่เป็นที่พึ่ง สภาพของที่พึ่งของผู้อื่น มันจึงไม่ใช่เรื่องเล่น ยิ่งไปในตัวความหมาย อันที่สุดที่ว่า สภาพอิตถีภาวะเป็นสภาพที่ ถ้าไม่ยึดจะไม่มั่น จึงต้องยึดมั่นถือมั่น แล้วพวกคุณ ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์นะ อย่าพึ่งไปเอา ไม่ยึดมั่นถือมั่นมาก่อนล่ะ ถ้าเล่นไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยที่ตัวเราเอง ถ้าไม่ยึด แล้วจะไม่มั่น แล้วจะสร้างฐิติ จะสร้างสมาธิ จะสร้างปณิธิ อะไรลงไป ในตัวเอง จะหยั่งลง จะตั้งสภาพนั้นลง จนแข็งแรงเป็นอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา คุณจะยังไม่มีสภาพอันนั้นลงไปแข็งแรงตั้งมั่น มีสภาวะนั้นลงไปในตัวได้ อย่าไปเข้าใจ เผินๆ โดยไม่เป็นลำดับ ไปเอาไม่ยึดมั่นถือมั่นมาใช้ ตีกินทีเดียวไม่ได้ แต่เราใช้พออาศัยได้บ้างว่า บางอย่าง เราก็อย่าไปติด ไปยึดมากนัก ในสิ่งที่มันไม่ได้ ฐานะ เอ้า เอาวางไว้ก่อน ทิ้งไปก่อน หรือว่าโยน ไม่ต้องเกี่ยวต้องข้อง ไม่ต้องไปเอาไปยึดมาเป็นเรา เป็นของเราอะไร เพราะว่า ไม่ใช่ฐานะของเรา

เพราะฉะนั้น อะไรที่อยู่ในตัวเรา เป็นฐานะของเรา ที่จะต้องจัดการ กับสิ่งนี้ สิ่งที่มันติดมันยึด เราจะล้าง เมื่อละล้างสิ่งที่ติดที่ยึด เพื่อจะไม่ยึดไม่ติด เราก็ต้องไปติดไปยึด สิ่งที่เหนือชั้นกว่า สิ่งที่เราจะล้าง เป็นลำดับๆๆๆๆ ลำดับขึ้นไป คำว่า เอาตัณหาล้างตัณหา หมายความว่า เราจะต้อง มีความปรารถนา ติดยึดนั่นแหละตัณหา ติดยึดสิ่งที่เหนือชั้นกว่าตัณหา ไอ้ที่ต่ำกว่า เอาตัณหา ล้างตัณหา ก็คือ เอาสิ่งที่ยึดสิ่งที่สูง เพื่อปล่อยสิ่งที่ต่ำ เพื่อล้างสิ่งที่ต่ำ นี่ความหมายของตัณหาล้าง ตัณหา ต้องเข้าใจ ไม่ใช่ภาษาดื้อๆ แต่ตัณหาล้างตัณหาอย่างทึ่มๆ ไม่เข้าเรื่อง ต้องเข้าใจสภาพ พวกนี้ ให้ดีน่ะ โดยเฉพาะนามธรรม หรือว่าลักษณะของคุณธรรมอะไร ต่างๆนานาพวกนี้ กาย วาจา ใจใดๆ เราก็ต้องอบรมสั่งสมทุกอย่าง สมมุติสัจจะ เป็นเรื่องของมนุษย์ที่จะต้องอาศัยมาก เพราะอาศัย ทั้งเราและผู้อื่น ส่วนปรมัตถสัจจะนั้น เราอาศัยของเรา ปรมัตถสัจจะมันอาศัยของเรา

ถ้าเราได้ปรมัตถสัจจะ หมายความว่า เรียนรู้จิต เจตสิกที่เราได้ละ ได้ล้าง ได้ลดกิเลสลงไปแล้ว เราสบาย เราเป็นสุข เราพ้นทุกข์ของเราได้อย่างสำคัญ และถ้าว่ากันจริงๆ มันก็พอเราดี เราได้ปรมัตถสัจจะนั้น ดี มันก็เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นเหมือนกัน แต่แม้ว่าเราจะไม่ได้ปรมัตถ์ ถ้าเราเรียน รู้สมมุติของโลก แล้วเราก็พยายามที่จะเห็นแก่ผู้อื่น ฝืนใจตนเอง แม้ไม่ได้ล้างกิเลส ฝืนใจผู้อื่น เพื่อผู้อื่น มันก็ยังเป็นคุณค่าในโลก เพราะฉะนั้น ยิ่งเราเอง เราฆ่ากิเลสของเราจริงๆ มันก็ยิ่ง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและ ตนเองอย่างแท้จริง เราฝืนตัวเราเอง แล้วเราไปเป็นประโยชน์ เราเองเราก็ไม่ได้ประโยชน์ เราเองก็ทุกข์ใช่ไหม เราฝืนตัวเองโดยที่เรียกว่า เราไม่ปฏิบัติ ให้มันถูก อย่างโลกๆ เขาไม่ได้เรียนรู้ธรรมะนี่ เขาปฏิบัติไม่ถูก ฝืน ไป แล้วก็หนักเข้าๆ ทนไม่ไหว เครียดระเบิด นั่นน่ะ แล้วมันก็ร้ายแรงขึ้นทุกทีๆๆๆ นี่ประเด็นนี้ ประเด็นที่อาตมากำลังพูดถึงตรงนี้ ไม่รู้จะพูด ภาษาไทย พูดเอายังไงๆ จะให้พวกคุณได้รู้ ได้เข้าใจได้ว่า ไอ้ประเด็นที่เราจะฝืน กับจะล้างกิเลส หรือตั้งตน อยู่บนความลำบาก หรือสังวรระวัง มันเหมือนฝืน มันเหมือนหลอกคนอื่น แต่แท้จริง ไม่ใช่อีก เราต้องรู้มันอย่างจริงจังว่า นี่เรายังล้าง เรายังฝืน แล้วเรายังทำ ทำการลดมัน ถ้าเราเข้าใจ มันแล้ว เราก็มีจิตใจยินดี ไม่ใช่ฝืนเพราะว่าเราเอง เราจำนนต่อผู้อื่นเขาบีบบังคับ เราทำให้ให้คนอื่น เขาเหนือชั้นกว่าเรา ไม่ใช่ เราเต็มใจของเราเอง คนอื่นเหนือชั้นกว่าเรานะ มาบังคับเราอย่างนี้ เราจึงจำเป็นต้องทำ เพราะฉะนั้น แม้แต่อาตมานี่นะ ให้คุณทำอย่างนี้ คุณก็ยังบอกว่า แหม... ทนทำ เพราะว่าพ่อท่านบังคับ อย่างนี้คุณไม่ได้ประโยชน์หรอก คุณต้องสำนึก เองเลยว่า พ่อท่านพูด ถูกแล้วนะ พ่อท่านบอกเราดีนะ เราต้องเต็มใจทำ มันไม่เต็มต้องให้เต็ม ต้องเป็นตัวเองทำ ต้องเป็นตัวเองยินดี ตัวเองพอใจที่จะทำ อย่างนี้คุณได้ประโยชน์ แล้วจะไม่มี ตัวเศษที่จะกดดัน หรือที่จะกักเก็บกักกด ในโลกเขาไม่ได้เรียนละเอียดอันนี้ เขาจำนนอยู่ในโลก ด้วยฤทธิ์เดชอะไร ก็แล้วแต่ ด้วยอำนาจเงิน อำนาจทอง อำนาจลาภยศ อำนาจสรรเสริญ อำนาจของความยอมจำนน หลายๆอย่าง มันถึงได้กดดัน แล้วถึงเป็นโรคประสาทกัน ถึงได้ระเบิด ถึงได้เครียด ถึงได้อะไรต่ออะไร

ในพวกเรานี่นะ ในชาวอโศกเราปฏิบัติธรรม มีกฎมีระเบียบ มีหลักเกณฑ์ที่จะต้องฝืนกันมากมาย มหาศาล ใช่ไหม เยอะแยะ ถ้าพวกคุณไม่เข้าใจ ประเด็นนี้ แล้วไม่ทำอันนี้จริงๆนะ ป่านนี้พวกเรา ต้องส่งโรงพยาบาลศรีธัญญา วันละ ๕ คน ๘ คน จริง เพราะไม่ได้บำเรอ ไม่ได้ไปเที่ยวให้คุณ ได้สมใจอยาก อะไรต่ออะไรเลย ดีไม่ดีก็ได้แต่ติกันด้วย...ได้แต่ติ ได้แต่กล่าวอะไรต่ออะไรกัน ขัดเกลากัน เป็นหลักเลยเยอะ

ถ้าเผื่อว่ามันปฏิบัติจุดปมประเด็นนี้ไม่ถูก พวกคุณ ไม่ต้องเอาไปถึงเป็นบ้าหรอก ป่านนี้แค่เครียดนี่ อาตมาก็ดูหน้าแต่ละคนแต่ละคนนี่ก็ตายแล้ว  คนนี้ก็เครียด คนนั้นก็เครียด คนนั้นก็เครียด คนนี้ก็เครียด...ตาย เพราะฉะนั้น พวกเราจะรู้สึกตัวได้ว่า เออ เราเครียดเมื่อไหร่ เราค่อย...ค่อย ผ่อนคลาย แล้วเราจะรู้สึกว่า พวกเรานี่คลายเครียดกันง่าย เรารู้จักวิธีคลายเครียด ก็เพราะว่า เราเรียนรู้ประเด็นที่อาตมากล่าวถึงเมื่อกี้นี้ถูกต้อง ไม่รู้ จะพูด... ใช้ภาษาไทยว่ายังไง ...หา... อะไรนะ บังคับใจ มันก็มีส่วนนะ คำว่าบังคับใจ ก็บังคับตนเอง คำว่าบังคับนี่ ไม่ได้หมายความว่า เราตก อยู่ใต้อำนาจ ของผู้อื่นมาบังคับ มันเป็นอิสรเสรีภาพ อาตมาพยายามใช้ ว่าทุกอย่างนี่ ต้อง ๒ เป็นอิสรเสรีภาพนำ

การปฏิบัติศาสนาพุทธถึงพยายามใช้อิสรเสรีภาพนำให้ได้ แต่มันมีกฎ มีหลัก มีระเบียบ จำเป็นที่จะต้องบังคับไปในตัว สำหรับการเป็นอยู่ ร่วมกัน ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว มันไม่มีรั้วกั้น ใครก็เข้ามา โดยไม่มีรั้ว ไม่มีเขต ไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีกฎระเบียบ ไม่มีอะไร มันพัง มันทำไม่ได้ ในโลกมันต้องมี อย่างนั้น แต่ว่าผู้เข้ามา ต้องยินดีว่า เออ ต้องเข้าใจ ว่านี่มาเดินตามกฎตามหลัก อันนี้ เราไปโทษใคร ไม่ได้นะ โทษใครไม่ได้ โทษอาตมา โทษคนนั้นคนนี้ไม่ได้ คุณต้องเอง

เพราะฉะนั้น คนที่ถูกบังคับมา พ่อแม่บังคับลูกหลานมาอย่างนี้ไปไม่รอดหรอก ถ้าใจของเด็ก มันไม่เห็นจริง ใจตัวเองไม่ปล่อยจริง ใจตัวเองยอมรับเอง ในที่สุดไปไม่รอด ขอยืนยันนั่งยัน นอนยัน ตีลังกายัน ขอยืนยันเลย ฉะนั้น หลักอิสระเสรีภาพนี่ เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมาก เป็นเรื่องที่จะต้องเรียนรู้ อ้อ เราต้องใจตัวเราเองนะ เราต้องเห็นดี เห็นจริงให้ได้ มันไม่มีปัญญา มันไม่มีความเข้าใจ ต้องทำความเข้าใจให้เต็มที่ นั่นคือ สร้างศรัทธา ตนเองน่ะแหละ จะเชื่อ เชื่อถือ ไม่ใช่เราถูกบังคับ ในหลักกาลามสูตร ของพระพุทธเจ้าก็ว่าไปแล้ว แม้แต่ผู้นี้เป็นครูของเรา แม้แต่ในเชิงความเห็น ในเหตุผล ที่เราเองได้เชื่อ เพราะว่ามันมีเหตุผล เชื่อเพราะว่า ...คะเน คำนวณ ประเมินเอาง่ายๆ ก็ไม่ได้ ในกาลามสูตร มีหมด ใช่ไหม เห็นว่านัยมันสอดคล้องกับความเห็นของตน ก็ยังไม่เอานะ ให้มันหยั่งราก ไปถึงความจริงเลย เหง้าความจริงเลย อ้อ...มันถูกแล้ว ไม่มีใคร มาบังคับเราหรอก เราต้องยินดี เพราะมันต้องยินดี เพราะมันน่ายินดีจริงๆ เราต้องเกิดญาณปัญญาอย่างนั้น จึงจะถือว่า ศรัทธาที่ร่วมด้วยปัญญา เข้าถึงจุดศรัทธา นั้นเป็นความเชื่อของเราเอง ที่ศรัทธา เข้าถึงจุด ถ้าถึงจุดนี้แล้ว นั่นแหละตัวไขปัญหา ว่าวิจิกิจฉาสังโยชน์ มันหมดวิจิกิจฉาสังโยชน์ตัวนี้ จะมีกำลังเลย

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติที่จะละลดตัวนั้นเรียกว่า สักกายะ มันจะดำเนิน ด้วยศีลพรต ที่ได้ปฏิบัติ ไปแล้ว จะเกิดผล ถ้าตัววิจิกิจฉานี่ ก็ยังไม่ถึงรอบ อย่างที่ว่า นี่ ปัญญาตัว... มันไม่ถึงความเห็น เข้าใจจนถึงขั้น อย่างที่อาตมาว่านี่ การปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ในสังโยชน์ ๓ ที่ว่าเบื้องต้นนี่ มันจึงไม่เกิดปฏิกิริยา ไม่เกิดการขัดล้าง ไม่เกิดการขัดเกลา ไม่เกิดผล ที่จะเกิดมรรค เกิดผลอย่างดี ถ้าวิจิกิจฉาตัวนี้ มันทำลายได้แล้ว มันจริงชัด มันมีผล ศีลพรตที่เอามาปฏิบัติ มันก็เต็ม ใจที่จะ เอามาปฏิบัติ มันจะฝืน มันจะต้องตั้งตนอยู่บนความลำบาก จะต้องขัดเกลา จะต้องทรมานตน ยังไงมันก็เอา มันยินดี ทรมานตนอย่างยิ้มแย้มเลยนะ โอย จะเป็น จะตายก็ยังยิ้มแย้ม ใจมันจะ ต่างกันเลย กับประเภทที่เรียกว่า แหม มันยิ้มไม่ออกเลย เพราะว่า เขาบังคับ มันตกเป็นอะไร อยู่ในอำนาจอะไรนี่ มันยิ้มยังไงก็ยิ้มไม่ออก คนอย่างนั้น แต่คนที่เต็มใจของตัวเองแล้ว ยิ้มออก ให้หนัก ให้เหนื่อย ให้ทรมาน ให้ลำบากยังไงก็ยิ้มได้ เพราะเราเต็มใจที่จะรับอันนี้ ที่จะยากอันนี้ ที่จะลำบากอันนี้ ที่จะต่อสู้อันนี้ เราเรารู้ว่าเราต่อสู้ แล้วเราจะได้ผลอะไร ต่อสู้แล้ว ถ้าเราชนะขึ้นมา แล้วเราก็ประสพผลสำเร็จของเรา มันเป็นอย่างนั้น

พวกคุณนี่อยู่ได้กับพวกเรานี่ ที่อาตมาบอกว่า พวกเราเครียดน้อย ที่จริงพวกเรา น่าจะเครียด มากกว่านี้ คุณไปดูซิ สายศรัทธา สายที่ไม่มีปัญญา สายที่ไม่ลึกซึ้งนี่นะ มากดข่ม ยิ่งมีตบะมากๆ โอ้โห บ้ากันเยอะเลย เครียดกันเยอะ ทรมานทรกรรมกันเยอะ เขาจะต้องทำงาน อย่างออกแรง เยอะๆด้วย คนพวกนั้น

เพราะฉะนั้น พวกนั้นเขาจะต้องหางานให้ทำให้มาก แล้วก็ให้ออกแรงเยอะๆ มันจะได้ไม่คิดมาก มันจะได้พอนอนหลับมันก็...มันไม่มีแรงจะคิดแล้วมันเมื่อย เพราะฉะนั้น พวกนี้จะทำงานเก่ง ทำงานเยอะ แล้วเขาก็จะพยายามเอา สภาพพวกนั้น มันจะเป็นอามิสอยู่อย่าง มันมีลาภ มียศ มีความยินดี ในสิ่งที่เขาสร้างเขาก่อ พวกเราไม่ค่อยยินดีกับสิ่งที่สร้างที่ก่อเท่าไหร่หรอก เพราะมันมี ปัญญา รู้แล้ว พอปล่อยวาง มันซ้อนเชิง มันลึกซึ้ง ทำไปแล้วเห่อหน่อยเดียว หายเห่อแล้ว แต่พวกศรัทธา เห่อนานนะ โอ้ย ผูกติดของกูอยู่นั่นแล้ว มากมาย แต่พวกเรานี่ไม่หรอก ... เห่ออย่างเดียว เห่อหน่อยเดียว พอให้ไปทำต่อ ไม่เอาอีกแล้ว บอก ทำอีก เบื่อแล้ว... นี่มันเสียหาย ตรงนี้อีกเหมือนกัน พวกเราช้าอยู่ตรงนี้ อาตมาเมื่อยอยู่ตรงนี้ พวกเรานี่ แล้วถาม ถามอีกทีว่า มันดี ไหมล่ะ ดี แต่ทำไมขี้เกียจ เบื่อแล้ว เลวไหม ยอมรับดีนะ... หา... ยอมรับอย่างเร็วด้วยนะ ก็ดีก็เร็ว นี่คือปัญญา ปฏิภาณมันไว มันเข้าใจ นี่เราเรียนรู้อย่างพวกเรานี่ เราใช้ปัญญานำ แล้วก็แก้ไขไป อาตมาถึงต้องพูดมาก พูดไปนี่ พูดไปแล้วคุณก็ลึกซึ้ง คุณก็ฟังออก แล้วคุณก็ได้ทีละนิด ทีละนิดนี่แหละ แหม มันได้ทีละมากได้ ก็ดีน่ะซี อาตมาอยากได้ แต่มันไม่ได้ง่ายๆ...โอ้โฮ บางทีนี่ พูดไม่รู้.. จะเอาเชิงไหนน้อ มาพูด จะเอาอะไรมาพูด จะเอาอะไรมา...มันก็ซ้ำซาก ตัวเก่าๆนี่แหละ  เรื่องเก่าๆ หลักเก่าๆ แต่ว่ามันลึกซึ้งขึ้นไปอีก ลึกซึ้งขึ้นไปอีกๆ แกนหลักของมัน ก็มีแต่มานะกับกาม เท่านั้นแหละ แกนหลัก อัตตา มานะ กับกามนี่ เราก็ล้างไป แล้วก็พยายามชอนไชเข้าไปซ้ำซาก เรื่อยๆ  แต่อาตมาว่า อาตมาพยายามเปิด เปิดแนวลึก แนวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างนี้เป็นต้นนะ

พวกเรานี่ เข้าใจอะไรมากขึ้นเท่าไร เข้าใจลักษณะกรรมที่มันเด่นชัด มากขึ้น เพราะฉะนั้น จนกระทั่ง เราเป็นได้ จนเป็นที่พึ่งเขาได้อย่างแท้จริง ได้ จนกระทั่งเราไม่ต้องไปสำคัญมั่นหมายกับมัน ไม่ต้องไป ยึดมั่นถือมั่นกับมัน แต่มันก็เป็นเรา แล้วเราก็ยังมาวางเราเป็นอีก อันนั้นเราจะเป็นอะไร มันก็เป็นแล้ว เราเป็นแล้ว เสร็จแล้วเราก็มาวางความเป็นเราอีก ซ้อน วางได้แล้วจริง คนนั้นจึง นั่นแหละคือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ความเป็นที่เราเป็น ไม่มีภาษาไทยพูดอีกแล้ว

ถ้ายังไม่สมบูรณ์ ก็ยังเป็นอิตถีภาวะ สมบูรณ์ถึงที่สุด อย่างที่กล่าว จึงจะเป็นปุริสภาวะ ในทุกๆเรื่อง นี่อาตมา ก็ยกตัวอย่างอะไรต่ออะไรที่มันเป็นรูปธรรมง่ายๆมาประกอบ แม้จะเป็นนามธรรม จนกระทั่ง ถึงนามธรรมระดับ อนุสัยอาสวะอะไรก็ตาม หรือถึงที่สุดแข็งแรงมั่นคง เป็นที่จบ แล้วก็วาง ตัวจบด้วย เราได้แล้ว เป็นอรหัตผล เราก็ไม่ติดใจว่า เราเป็นอรหัตผล หรือเป็นอรหันต์ วางตัวเป็น เราเป็นแล้ว แล้วเราก็วางตัวเป็น แต่เราก็ต้องเป็นตัวที่เราเป็น ต้องให้เขาพึ่งสิ่งที่เราเป็น โอ๊ะ ไม่รู้จะวนยังไงแล้วนี่ เมาไหม รินบุญ อาตมา เอาละ จบนะ การบรรยายธรรมะจบ


ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝายทอง
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี
พิมพ์โดย สม. นัยนา
ตรวจทาน ๒ โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล
FILE:1434B.