จักร...แห่งบุญนิยม
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ณ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์


วันนี้... เนื่องจากเราจะต้องมาศาลยุติธรรม เราก็เลยจะต้องมากัน ได้พบปะกัน ด้วยการมาศาล เป็นเหตุ มันก็เป็นเรื่องดีนะ การมาศาล มีพยานโจทก์ก็จะต้องมาสืบที่นี่ ที่จริงก็เพียงปากเดียว แต่พวกเรา ก็มากันซะเยอะแยะ ก็เป็นเรื่องที่แสดงถึงความพร้อมเพรียง และแสดงถึงความอบอุ่น ที่พวกเรามากัน พร้อมพรักกันอย่างนี้ อะไรๆ เกิดขึ้นมาเรื่อย ตั้งแต่เรื่องมันมีอย่างโน้นอย่างนี้มา ไม่ใช่ว่าเพิ่งมี มีมาตั้งแต่เริ่มแรกที่อาตมาเอง อาตมาทำงานศาสนามา ตั้งแต่เริ่ม ไป ... ก็ว่ากันไป มีคนค้าน มีคนแย้ง คนโต้ คนต้านมาเรื่อยๆ เป็นเรื่องเป็นราวไป แต่มันยังไม่ใหญ่ไม่โต มันยังไม่มาก ไม่มาย มันยังไม่มีน้ำหนัก มันก็มา ตามรูปตามเรื่องของมัน ค่อยๆเขยิบขยับขึ้นมา จนถึงทุกวันนี้ ก็มีเรื่องกัน จนถึงทุกวันนี้แหละ แต่เราก็ยอมนะ อาตมาขอยืนยันว่า พวกเรานี่ พยายามที่จะประนี ประนอม พยายามที่จะยอม อ่อนน้อมถ่อมตน อันหนึ่งที่เขาว่าเรานะ เขาตราเราว่า พวกเรานี่ดื้อด้าน ดื้อด้าน แข็งขืน ไม่ยอม ไอ้สิ่งนั้นน่ะ เราก็บอกเขา บอกว่าอะไรที่มันดีแล้ว อันใดที่มันเป็นสัจจะแล้ว เราก็ไม่เปลี่ยนแปลง ความไม่เปลี่ยนแปลงนั้น ถือว่าเป็นผู้มั่นคงแข็งแรง เป็นผู้ยืนหยัดยืนยัน ในส่วนที่เราเอง เชื่อว่าดี เชื่อว่าถูกต้อง เชื่อว่ามั่นคงแล้ว แต่เขาก็พูดกลบๆเกลื่อนๆ กันไป งั้นน่ะว่า พวกเราดื้อด้าน ไม่เปลี่ยนไปตามที่เขาต้องการ เปลี่ยนอะไรล่ะ มันเปลี่ยนไม่ได้ เปลี่ยนไปในสิ่งที่ ไม่ถูกต้อง มันก็เปลี่ยนไม่ได้ ในสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้ว เราก็ยืนหยัด แล้วเขาจะให้เราเปลี่ยนจาก สิ่งที่ถูกต้อง ไปเป็นสิ่งที่เขาต้องเป็น อยู่อย่างที่เขาเป็น เราก็บอก เราก็ไม่เอา เราไม่เป็น อย่างนั้นน่ะ แล้ว ก็พยายามที่จะพูดกลบๆเกลื่อนๆ กลบๆเกลื่อนๆ ให้ประชาชนเขาเข้าใจว่าเราเอง เราไม่เปลี่ยนแปลง ไปเป็นอย่างที่เขาเป็น

และคนส่วนมาก เข้าใจหลวมๆ อยู่ว่า อย่างที่เป็นกันอยู่นั่นแหละดีแล้ว จะเป็นพระไปจนกระทั่ง ถึงฆราวาสทั้งหมด เป็นกันอยู่ อย่างที่เขาเป็นน่ะว่าดีแล้ว เขาก็เลยมีมวลกันอยู่อย่างนั้น เขาก็เชื่อกันอยู่หลวมๆ ว่าเขาดีกันแล้วหละ ทั้งพระทั้งฆราวาสส่วนใหญ่นั่นน่ะ เขาเป็นกันอยู่นั่นน่ะ ดีแล้ว แต่ทีนี้ พอเจาะลึกเข้ามาก็บอก แล้วพวกอโศกนี่เขาปฏิบัติดีมั้ย ดี แล้วพวกอโศก เขาปฏิบัติดีแล้วล่ะ ดี

เอ้า... แล้วใครดีกันแน่ล่ะ ไอ้ว่าดีแล้ว ที่ว่าเขาเป็นกันอยู่อย่างที่เขาเป็นดีแล้วน่ะ รวมๆมวลๆ ของคน ทั้งเมืองไทย นี่แหละ ที่เป็นพุทธศาสนิกชน ก็ปฏิบัติกันอย่างนั้นแหละ บอกว่ามีศีล ก็มีกันอย่าง นั้นแหละ เหยาะๆแหยะๆ มีสมาธิก็มีสมาธิกันอย่างนั้น มีปัญญาก็มีปัญญากันอย่างโลกีย์ อย่างนั้นแหละ ปัญญาก็ไม่ได้ถึงขั้นระดับปัญญาที่เป็นอธิปัญญา เป็นปัญญา ที่เห็นแจ้ง ในเรื่องของธรรมะ ในเรื่องของไตรลักษณ์ ในเรื่องของโลภ โกรธ หลง จนกระทั่ง เกิดความหน่าย คลาย เกิดญาณทัสสนะ แล้วก็เกิดนิพพิทาวิราคะ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น จนกระทั่งเกิดวิมุติ จนเกิด วิมุติญาณทัสสนะ อย่างนี้ เป็นต้น เขาเกิดปัญญาอย่างนั้นมั้ยล่ะ เกิดญาณทัสสนะ แล้วก็เกิด นิพพิทาวิราคะ อย่างนั้นมั้ยล่ะ ไอ้ที่ว่าเขามีอยู่แล้ว เป็นอยู่แล้วนั่นน่ะ มีเท่าไหร่ แล้วในพวกเรา มีเท่าไหร่ ทั้งฆราวาสทั้งพระ เอ้า...ไม่ให้เรียกพระ ประเดี๋ยวก็จะจับอีกคดีหนึ่ง ก็เรียกว่าสมณะ ทั้งสมณะน่ะ มีอย่างไหนกันแน่ ดูความเป็นจริงซิ นี่ทำให้การ ทำให้กลบๆเกลื่อนๆ เอามวลมากๆ ตามที่เขาเป็น แล้วเขาก็เอากำลังของมวล เอากำลังของปริมาณคนมากมาตีขลุม ตีกลบว่า อย่างโน้นน่ะดี แล้วจะให้เราไปเป็นอย่างโน้น ก็เราเป็นอย่างนี้ดีแล้ว แล้วจะให้ไปเปลี่ยนทำไม ถ้าให้เราเปลี่ยนไป เราก็ไปเป็นอย่างเก่าอีกแหละ ซึ่งพอถามว่า อย่างนี้ เราก็เป็นอย่างนี้ ดีมั้ย ก็ดี เขาปฏิบัติดี ทำได้ดี เอ้า...ทำได้ดีแล้ว จะให้เราจะกลับไปทำอะไรล่ะ ไป อย่างที่เราทำได้ไปทำไมล่ะ ปรับเปลี่ยนไปอย่างที่เราทำได้ไป มันก็ไม่เข้าเรื่อง อย่างนี้ เป็นต้นนะ

้เรื่องนี้ ก็กำชับกันอีกทีหนึ่งเท่านั้นเองว่า เอาหละ มันจนทางที่จะพูดแล้วนะ นี่เราก็พูดย้ำกัน พอฟัง พอเข้าใจ มันมีเหลื่อมๆ มันมีเหลี่ยมที่มันเหลื่อมๆ ปนๆกันอยู่นี้แล้ว ก็ตีขลุมกันไป เรื่องมันก็อย่างนั้น สำหรับพวกเรานั้น อาตมาก็ว่า เรามาพูดกันถึงเรื่องที่เราควรจะได้พูดกัน นี่พูดกันกลางๆ สำหรับ พูดถึงผู้อื่น พูดถึงอะไรต่ออะไรบ้าง พอฟังพออะไร แต่ขอย้ำกันจริงๆเลยนะ ว่าพวกเรา ต้องพยายาม พยายามที่จะปฏิบัติธรรม ให้แก่ตนเอง โดยลด โดยพยายามที่จะทำให้ตัวเอง มีประสิทธิภาพ ในการที่จะลดกิเลส โลภ โกรธ หลง ในตนเองลง แต่ไม่เสียธรรม ภาษาพูดอย่างนี้ ทีนี้ลีลาลักษณะ พฤติกรรมต่างๆ นานานี่ ยากแสนยาก ยาก ถ้าจะทำกันไม่มีศิลปะ มันก็แข็งกระด้าง มันก็ดูโด๊ๆ เด๊ๆ เป็นอย่างที่เรา หลายๆคนทำดูแล้ว ก็แข็งโก๊กๆ ยังไงก็ไม่รู้นะ แต่ว่าเรายอม...เราก็ยอมนะ ยอม... อย่างที่เขาจะว่า จะด่า จะติเตียนอะไรเราก็ฟัง เราก็ไม่ทำเป็นโต้ตอบ เราไม่ไปโต้ไปเถียง ถ้าพวกเรานี่ ไม่เป็นอย่างที่ เราได้พยายามเจตนาที่จะให้เป็น คือ อ่อนน้อมถ่อมตน ลดละแล้วหละก็ ป่านนี้ ทะเลาะกันมาก ป่านนี้ทะเลาะ กันแข็งแรงแล้ว เดือดร้อนกันมากมายแล้ว แต่นี่ก็เพราะว่า เราเอง ไม่ไปแข็งขืน พยายามโน้มน้อมตาม อะไรๆ ที่เค้าคิดว่า เค้าแสดงออกมาเราก็ยอม ในพฤติกรรม ต่างๆนานา เราก็ทำของเราไป ลดละไป เช่นว่า เป็นคนเลี้ยงง่าย นี่ ถ้าเผื่อว่า ไปในที่ใดก็แล้วแต่ ถ้าพวกเรา ไม่ใช่เป็นคนเลี้ยงง่ายนะ คนตั้งเป็นเท่าไหร่... ร้อยนี้ วันนี้ หือ (พ่อท่านถามคนฟัง) อาตมาว่า มันจะห้าร้อยกว่าขึ้นไป กระมั้งนี่ หือ...หือ (พ่อท่านถามคนฟัง)

คนฟัง : เมื่อคืนห้าร้อยไปแล้ว

พ่อท่าน : เมื่อคืนนี้ รู้ได้ยังไง ดูที่...

คนฟัง :

พ่อท่าน : ดูที่บัญชี ใช่มั้ย

คนฟัง :

พ่อท่าน : ดูจากไหน

คนฟัง :

พ่อท่าน : หือ

คนฟัง :

พ่อท่าน : อ๋อ ... ดูจากทะเบียน บัตรทะเบียน...ตั้งห้าร้อยกว่า นะ เมื่อคืนนี้ ยังมีรถตามมาอีก ดูไปคืนนี้ห้าร้อยกว่า คนสี่ห้าร้อยคนมาอยู่รวมกัน โดยที่ไม่ต้องจัดแจงอะไรมาก มีอะไรก็ดูๆอยู่กันไป จะนอนก็นอนง่าย จะกินก็กินง่าย เลี้ยงง่าย นี่เรียกว่า เลี้ยงง่าย ไม่เดือดร้อน ไม่โหยหา ไม่เรียกร้อง อะไรเกินไป จะอยู่จะไปจะมาอะไรก็ง่าย ไม่มีอะไรก็เดินเอา อะไรพวกนี้ เป็นต้น

คำว่าเลี้ยงง่าย จริงๆนี่นะ เป็นภาษาที่ดูฟังแล้วง่ายๆ เป็นภาษาที่ ดูฟังแล้วตื้นๆ แต่ที่จริงลึกซึ้งนะ ... เลี้ยงง่าย เลี้ยงง่าย เราเป็นอยู่ง่าย เพราะกิเลสโลภ กิเลสเห็นแก่ตัว ต้องการมาบำเรอตนมันน้อย ฟังความตรงนี้ให้ ชัดๆนะ เพราะเรานี่ เป็นคนที่ลดละ ไม่เอาอะไรมาบำเรอตนให้มันมาก มันก็เลี้ยงง่าย จะนอน ...เออ...ง่ายๆ ตามพื้นตามดินก็นอนได้ ตามที่แข็งๆ ก็นอนได้ ที่อ่อนก็นอนได้ เมื่อคืนนี้ อาตมานอนฟูกหนาเท่านี้ เขาให้ไปนอนบนฟูกหนา เขาก็เอาเสื่อปูลงบนฟูกนั่นอีกทีหนึ่ง อาตมาก็นอนตรงนั้นน่ะ มันก็ไม่ได้กลิ้งอะไรไป ไหนตรงไหน คงเป็นร่องอยู่ตรงนั้นน่ะ เป็นร่องที่นอนอยู่ ก็ไม่ได้ดิ้นอะไร อาตมานอนไม่ได้ดิ้นอะไร จะขยับร่างกายหน่อย ก็มาตีระฆัง ไม่รู้ได้ยินเสียงระฆังตีกันมั่ง รึเปล่า ทีนี้...เอ้อ... เมื่อกี้ เขาตีระฆังกันนะ มียามใช่มั้ย อาตมาก็เลยมา เพิ่มยามให้เขาคน อาตมาตีเกือบจะชั่วโมงละ สองครั้งหละนะ เพราะว่า มันก่อนจะถึง ก็ตีที พอถึง... เลยไปนิดหน่อย ก็ตีอีกที เช่นว่าสองยาม มันยังไม่ถึงสองยาม อีกหกนาทีสองยามก็ตีซะ ยี่สิบสี่เป๊ง พอเลยสองยามไปสักสามนาที ก็ตีอีกยี่สิบสี่เป๊ง ตีสองอย่างนี้เป็นต้น ยังไม่ถึงตีสอง เหลืออีกสี่นาทีตีสอง ก็ตีเสียสองที พอเลยตีสองไปหกนาที ก็ตีอีกสองที อะไรอย่างนี้ เป็นต้น อีกสองเป๊ง ตีชั่วโมงละสองเป๊งหนึ่งหลายๆชั่วโมงเมื่อคืนนี้ ก็แถมให้ยามเขาหน่อยหนึ่ง ไม่รู้เสียงมัน ไม่ค่อยดังเท่าไหร่มั้ง เพราะว่า ระฆังที่อาตมาตีมันเล็ก หือ (พ่อท่านถามคนฟัง) ดังเหรอ ได้ยินเสียง ที่อาตมาที่ไม่ใช่อันนี้มั้ง หือ (พ่อท่านถามคนฟัง) ก็เขยิบ ร่างกายหน่อย ก็อีตรงไปเขยิบตีระฆัง แล้วก็นอนต่อ อะไรงั้นเท่านั้นมั้ง พลิกก็พลิกบ้างนิดๆหน่อย อาตมาก็นอนตะแคงข้างขวา นอนหงายบ้างนิดหน่อย มันไม่หนาวอะไรเมื่อคืนนี้ ไม่หนาวไม่เย็นอะไร ก็นอน ถึงแม้จะนอนฟูก อาตมาก็นอนไปงั้นน่ะ นอน ที่จริงก็นึก แหม... จะไปเอาฟูกออก เตียงเบ่อเร่อนะ อาตมานอน คนเดียว ท่านทั้งหลายก็นอนข้างล่าง ไม่นอนข้างบนกับอาตมา ก็นอนกันข้างล่าง อีกสองรูป ข้างหน้าเตียง นอนง่าย พวกเราก็คงนอน ใครออกมานอนสนามปักกลดบ้างล่ะ มีมั้ย ไม่มีปักกลดเลยเหรอ หือ (พ่อท่านถามคนฟัง)

คนฟัง :

พ่อท่าน : หือ

คนฟัง :

พ่อท่าน : ขอร้องไม่ให้กางกลดใช่มั้ย กางกลดแล้วเป็นไง ซัดดัม จะเห็น แล้วก็จะมาทิ้งระเบิดรึไง มากางกลดข้างนอก แล้วซัดดัมจะเจอเข้า แล้วซัดดัมจะเอาระเบิดมาทิ้งใส่ ก็เลยขอร้อง อย่าให้กางกลด ก็ไม่เป็นไรนะ เราก็ได้ ไม่กางกลดก็ได้ ไม่กางกลดจะให้นอน นอนเบียดกัน มากมั้ยล่ะ หือ ไม่เป็นไร ก็อาตมาไปบอกแล้วเมื่อวานนี้ ถ้านอนมันเบียดกันมาก ก็สลับหัวสลับเท้า นะ มันจะได้เยอะขึ้น สลับหัวสลับเท้า สลับหัวสลับเท้าทำได้นะ อาตมาเชื่อ พวกเราทำได้ เพราะทำกันมาแล้วนะ พยายามฝึกหัด แม้แต่นอน เราก็ไม่ดิ้น ไม่อะไรมากมายนัก ไม่ใช่ว่า เออ! ยิ่งนอน สลับหัวสลับเท้าก็เดี๋ยว พั๊วะ! แน้! ปากเจ่อ จะดิ้นมาขายกไปไม่รู้ตัว ก็ไม่ดิ้นถึงขนาดนั้น มันก็พอไป คุมสติ เราก็ฝึกไปแล้ว

นี่ ก็เรียกว่านอนง่าย นอนในที่ๆ ไม่ต้องหรูหรา ไม่ได้ที่นอนต้องอ่อน ต้องแข็ง ต้องนุ่มต้องเนียน ต้องอุ่น ต้องร้อน ต้องเย็นอะไรตามที่ต้องการทุกอย่าง จึงจะนอนได้ เปลี่ยนที่ก็นอนไม่ได้ นี่เปลี่ยนที่ ก็นอนได้ ผ้าผ่อนมีใช้บ้าง ไม่มีใช้บ้าง หนาวบ้าง เย็นบ้างอะไรก็นอนได้ นอนง่าย กินก็ง่าย อาหารก็มีธาตุพอ พอจะเลี้ยงกาย เลี้ยงขันธ์ เราก็ได้พอสมควร และเขาหาว่าเรานี่เลี้ยงยาก เพราะว่า ไม่กินเนื้อสัตว์ มีเนื้อสัตว์มาให้กินก็ไม่กิน เลือกกินแต่ผัก พวกเลี้ยงยาก เขาพูด ฟังดูมันเข้าท่านะ แต่มันไม่เข้าที เอาละเอียดลออแล้ว ไอ้พวกเลี้ยงสัตว์ แล้วเอาเนื้อสัตว์มากิน มันไปหาสัตว์มากิน ก็แสนที่จะหายาก จะจับสัตว์มากินที ก็ต้องวิ่งไล่ ตามจับสัตว์มากินกัน กว่าจะเชือด จะเฉือนได้ กว่าจะมาทำต้มทำแกง ก็ต้องหาเครื่อง มาดับคาวดับเคิวกัน กว่าจะต้ม จะอะไรเสร็จ อู้ย เยอะแยะยุ่งยากมากมาย เขาไม่คิดถึงความจริง ที่ละเอียดลอออย่างนั้น เอาอย่างมักง่าย เขามีอะไรมา อะไรก็กินไปเถอะ เลี้ยงง่าย เขาว่างั้น เราก็รู้ว่า อะไรควรกิน อะไรไม่ควรกิน เอาอะไรมาให้ ไม่เข้าเรื่องไม่เข้าราว เราก็ไม่กิน อะไรที่ เออ...สมควร กิน เราก็ค่อยกิน เป็นคนมีวิจารณญาณ ไม่ใช่เหมือนเดรัจฉานที่ไม่มี วิจารณญาณเมื่อไหร่ มันมักง่ายเกินไป หา... เอามักง่าย มาอธิบายเลี้ยงง่ายมัน ไม่ถูก

เพราะฉะนั้น เลี้ยงง่ายนี่ ก็มีความหมายลึกซึ้ง เลี้ยงง่าย คือเป็นคนที่ ไม่ได้เลือกกิน ไม่ได้เลือก อย่างประเภทที่ว่า เลือกของถูกปาก เลือกของถูกกิเลส จริงๆแล้วใครนะ เลือกถูกกิเลส ต้องเลือกถูกกิเลส จึงกินได้ ใครกันแน่ คนที่เลือกให้มันถูกปากถูกคอ ให้มันถูกกับกิเลสของตน ชอบถึงจะกินได้ดี ไอ้ไม่ชอบ ถึงจะไม่ค่อยกิน อย่างนั้นต่างหากเล่าเลี้ยงยาก ไอ้ที่เราว่า เออ...อะไรก็รู้ อย่างนี้ ไอ้ไม่ชอบเสียด้วยซ้ำไปเรากิน ไอ้ที่ชอบเราก็ละเสียด้วยซ้ำไป อย่างนี้ต่างหาก เป็นคนเลี้ยงง่าย เมื่อฝึกได้ดีแล้ว เป็นคนเลี้ยงง่าย ไปก็ง่าย มาก็ง่าย อยู่ก็ง่าย ลึกซึ้งนะ ในคำว่า เลี้ยงง่าย เป็นคนเลี้ยงง่าย เป็นคนบำรุงง่าย บำรุงง่าย ที่ว่านี่ คือ พูดกันรู้เรื่อง เป็นนักศึกษา นักศึกษาที่มีศีลสิกขา มีจิตสิกขา มีปัญญาสิกขา เป็นนักศึกษา ศึกษาที่เป็นสัมมาสิกขา อะไรที่ดี อะไรที่ไม่ดี ศึกษาจริงๆเลยในชีวิต ว่าชีวิตของเรา ควรจะสั่งสมเอาอะไร ควรจะฝึกหัด อบรมเอาอะไร ควรจะเลิกอะไร แล้วก็ได้เลิกได้ละ ไม่ใช่ชีวิตไม่เลิกอะไรเลย ไม่ละลดอะไรเลย ไม่ใช่ สำคัญมากเลย ชีวิตที่จะมาละ ลดอะไรๆออกไปนี่ สังคมทุกวันนี้ ที่มันแก้ปัญหาไม่ตก เพราะไม่ได้มีภาคลดละ มีแต่ภาคเพิ่มพอก มีแต่ภาคของ การเพิ่มพอก เพิ่ม...เพิ่ม...เพิ่ม...เพิ่ม แก้ปัญหาด้วยวิธีเพิ่มกัน ทั้งโลก อะไรขาด เขาก็หามาเพิ่ม อะไรขาด เขาก็หามาเพิ่ม ส่วนพวกเรานั้นลดละ ตรวจตรา ความเกิน ซึ่งมีเกินกันมากมาย คนนี่น่ะ มาหอบไว้เกินเป็นกิเลส ตัด ไว้เกิน หลงไว้เกิน เกินจริงๆ แล้วเราก็พยายามมาลด พอลดลง...ลดลง... ลดลง เราก็เบา เราก็มักน้อย นี่ บำรุงง่าย เพราะว่า เราลดได้ จึงเข้าไปหาความมักน้อย นี่เป็นลำดับนะ เลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ นี่เป็นลำดับ ลำดับไป

ข้อที่ ๑. เลี้ยงง่าย ภาษาบาลีข้อที่หนึ่งก็ว่า สุภโร เลี้ยงง่าย สุภร

ข้อที่สอง บำรุงง่าย สุโปสะ

ข้อที่สาม มักน้อย ก็อัปปิจฉะ

ข้อที่สี่ สันโดษ ก็สันตุฏฐิ อย่างนี้ เป็นต้นนะ

ก็มักน้อยลงได้ เป็นผู้มักน้อย ภาษาไทยฟังแล้ว มันไม่ค่อยชัดเท่าไหร่หรอก มักน้อย ฟังแล้วต้อง ขยายความ ที่จริงมักน้อย ก็คือเป็นคนที่มีความต้องการน้อย อะไรๆก็ไม่มักมาก ไม่ต้องการมากๆ หรอก น้อยๆ แต่มันซ้อนเชิง พอบอกว่าเป็นความมักน้อย ก็เป็นคนไม่ค่อยทำอะไรล่ะซี ขี้เกียจนะซิ มักน้อย มันทำงานแค่นี้ มันก็หยุดแล้ว มันมักน้อย ไม่ใช่ ซ้อนเชิง เราทำมากๆ ขยันมากๆ ทำเข้าไปเลย สิ่งที่ควรกระทำเป็นสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นการงานที่ดี เราทำมากๆ ขยันมากๆ ทำเข้าไปเลย สิ่งที่ควรกระทำ เป็นสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นการงานที่ดี ทำเข้าไป ทำไปมากๆ แต่เราเอาไว้ใช้ไว้กินของเรานั่นน้อย เอาไว้เป็นของเรา เอาไว้ใช้อาศัยน้อย แบ่ง แจก เกื้อกูล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นไปมากๆ อย่างนี้ เป็นคนเจริญ เป็นอริยะ เป็นอารยชน เป็นชนผู้มีคุณค่า ชนผู้มีความประเสริฐ สร้างสรรได้มาก ขยัน หมั่นเพียร อุตสาหะ มีประสิทธิภาพ เพราะเราไม่ได้งอมืองอเท้า เราอบรมตน ฝึกฝนตน ขยันตน พากเพียรที่จะกระทำ แต่ว่าเราก็เป็นคน ที่ได้ฝึกฝนแล้ว รู้ว่าขีดของความพอ มันขนาดไหน แต่ละฐานะมีความพอต่างกัน อย่างเราลดละลงมา กินก็ไม่มีมื้อ อย่างนี้เป็นต้น เราก็ได้หัดฝึก ว่า เอ๊...กินไม่มีมื้อ นี่มนุษย์ มันไม่มีวันพอ มันไม่รู้จักพอนะ มันกินไม่มีวินัย มันผลาญพร่าเปลืองเปล่า เสียสุขภาพ เสียวัสดุ เสียอะไรต่ออะไรต่างๆนานา เราก็มาปรับ ลด กำหนดลงไปว่า เอ้า..เรากินสัก ๓ มื้อจริงๆก็พอ เมื่อเราลดมากิน ๓ มื้อจริงๆ ก็พอ ก็หัดปรับ กิเลสของเรา ความเคยชินของเรา ความมั่นใจ จิตนี่มันจะเกิด ศรัทธินทรีย์ ศรัทธาความเชื่อ เชื่อว่าเออ...ว่ากินน้อยมื้อ แล้วมากิน ๓ มื้อนี่คงจะดี และคิดว่า คงไม่ตาย ก็มาลดกิน ๓ มื้อจริงๆ ก็เห็นความพอว่า ๓ มื้อมันพอนะ ชีวิต ร่างกาย นี่แข็งแรง เป็นไปได้ พอ ยิ่งเราอยู่ไป ๆ ลองไปแล้ว ๓ มื้อ มันก็มากอยู่นะ ๒ มื้อเถอะลองดู หัด ๒ มื้อ ลดแค่ ๒ มื้อ ถ้ายิ่งเราปฏิบัติถูก ปฏิบัติลด ละรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปฏิบัติไม่ติดในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง ในสัมผัส ที่มาติดเป็นอัสสาทะ เป็นรสอร่อย รสชอบ รสยินดี เป็นกิเลสน่ะ เป็นอัสสาทะ เมื่อยิ่งละลดๆ กิเลสอร่อยในอาหาร อร่อยในอะไรพวกนี้เข้าไปอีก มันก็ยิ่งจะเห็น ว่า โอ๊! เราไม่กินอร่อยนะ เรากินพออาศัยร่างกาย มันยิ่งจะเห็นชัดว่า มันไม่มากหรอก ไม่เชื่อ คุณไปลองดู ที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลเขาให้อาหารแก่คนป่วยนี่ วันต่อวันนี่นะ ไปดูเถอะ ไม่มากหรอก ยิ่งให้อาหารโดยที่ว่าเจ้าตัวมันกินไม่เป็น ใส่ทางสายยาง ปริมาณอาหารให้เลี้ยงขันธ์ วันหนึ่งต่อวันหนึ่ง ไม่เยอะเลย เทียบเคียงกับไอ้ที่สวาปามเองนั่น มันไกลกันลิบเลย ไม่เชื่อถาม พยาบาลดู ที่ให้อาหารมาแล้ว แล้วมันก็พอร่างกาย ดีไม่ดี ยังอ้วนปี๋ด้วยซ้ำไป ไอ้ ให้กรอกๆ ใส่สายลงไปนี่ ไม่เท่าไหร่หรอก ความต้องการจริงๆ ในร่างกายไม่มากเลย แต่ไอ้กินเข้าปาก กินเองนี่ อยาก... แล้วมันก็กินรส ไอ้ที่ตอนเป็นใส่สายเข้าไป มันไม่เป็นรสเป็นชาติอะไรแล้ว มันผ่านเข้าไป ในรูจมูก รูเข้าไปที่ลงกระเพาะ ไม่ได้รู้เลย รสขม รสเปรี้ยว รสหวาน รสอะไรมันไม่รู้เรื่องอะไรหรอก แต่มันก็เข้าไปอยู่ในร่างกายแล้ว มันก็สังเคราะห์ร่างกาย อยากกินเค้าก็ไม่ให้กิน ก็ทนเอา เขาไม่ให้กิน แต่ไม่ตาย บางคนใส่สายเข้าไปให้อยู่เป็นปี ไม่ตาย แล้วมันก็พอเลี้ยงร่างกาย คนเรากินจริงๆไม่มาก

แม้พวกเรามาหัดลด หัดละอยู่นี้ก็ตาม บางคนกินมื้อเดียวนี่ ก็ยังกิน กาละมังเท่านั้น เพราะปาก มันกินด้วยรส ละกิเลส รูป รส กลิ่น สัมผัส รูป รส กลิ่น เสียงไม่เกี่ยวกับอาหารเท่าไหร่หรอก รูป รส กลิ่น สัมผัส นี่ มันยังติดอยู่ มันยังเลือก มันยังกินตามกามคุณ ๔ มันก็เลย ยังกินมากอยู่ ยังมากอยู่ เรายังลดได้กว่านี้นะ นี่มันยังต้องกินขนาดนี้ ถึงจะพอ มันยังติดรส ถ้าคุณลดกามคุณ ๔ ลงไปได้อีก แล้วคุณก็รู้จัก กินเลยนะ ธาตุที่กินนี่ ข้าวกล้อง ถั่ว งา ผัก พืช ผลไม้ ที่พอเหมาะพอเหมาะ จะแกง จะผัดมา อะไรก็เอาเถอะ ขนาดนั้นขนาดนี้ ไม่ได้ติดอะไรนักหนานะ คุณจะกินไม่มาก สักเท่าไหร่หรอก จริงๆ ที่พูดนี่ เพราะว่าอาตมาทำมาแล้ว เคยตะกละมาแล้ว เคยพิสูจน์มา ด้วยตนแล้ว แล้วทุกวันนี้ อาตมาก็สบาย กินมันไม่มากเท่าไหร่หรอก คนเอามาให้กินทุกวันนี้ เค้ารู้ดี ข้าวมากะลาหนึ่ง มันก็ไม่หมดกะลาหรอก วันหนึ่ง นอกนั้นก็ไอ้โน่นไอ้นี่บ้าง มีถั่ว มีงา มีกับ ถ้ามันหลายชามหน่อย ก็มาท้วง มาว่า แล้วไม่เห็นแหว่งเลย ก็ไม่รู้จะแหว่งยังไง ก็มันหลายชาม ชามละช้อนมันก็พอแล้ว ก็หลายชาม จะให้ไปกินชามละแหว่งๆ อาตมาก็ตายกันพอดีนะซิ ท้องคัด ท้องเป่งตายกันพอดี มันไม่ต้องไปถึงอย่างนั้นหรอก

นี่ ต้องพูดเติม เพราะว่าพวกเราต้องเพิ่มฐาน พูดของเก่าหละ ที่พูดนี่ พูดของเก่า ต้องเพิ่มฐาน ฐานของเรา ฐานะของเรา ให้รู้ว่า ชีวิตนี่ มันไม่เปลืองอะไรมากมาย อาหารนี่เป็นเอก อาหารนี่ เอาก่อนเลย อาหารนี่เป็นตัว ฝึกธรรมะอย่างเก่งมากเลย อปัณณกธรรม ๓ ธรรมะที่ปฏิบัติไม่ผิด นี่คือ โภชเนมัตตัญญุตา ข้อหนึ่ง ข้อสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสมณะ บวชแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฆราวาส ไม่ว่าจะเป็นใคร ทั้งนั้นแหละ อปัณณกธรรม ๓ เหมือนกันแหละ เรื่องอาหารนี่ พิจารณาจริงๆเลย ถ้าปล่อยปละละเลย มันก็ไปตลอดตาย ติดมันอยู่อย่างนั้นแหละ กินมันทีละเยอะ อยู่อย่างนั้นแหละ แม้จะไปกินมื้อเดียวได้ ก็ด้วยการกดข่ม ข่มไว้ คุมไว้ ไม่ให้ดูมันเกินไป เขากำหนดว่ามื้อเดียว เออ... มื้อเดียวกับเขานั่นแหละ แต่มื้อละเยอะๆ หิวอยู่ อยากอยู่ เห็นแล้วก็น้ำลายสอ เห็นแล้วก็อยาก แต่มันมื้อเดียวนี่หว่า มันไม่ตาย ก็ทนเอา อดๆทนๆ กลั้นๆเอาอย่างนั้นแหละ มันยังไม่สมบูรณ์ มันยังไม่วิมุติ มันยังไม่ตลอด มันยังไม่สะอาดทั้งหมด เพราะฉะนั้น ปล่อยปละละเลยอยู่ๆ ไม่จริง นี่นะ มันไม่ได้หรอก อาตมายังเห็นๆเลย แม้แต่สมณะ บางทีขนมก็ยังติดอยู่นั่นน่ะ มันจะไปรอดอะไร ไม่ต้องไปพูดถึงฆราวาส ขนมก็ยังติด ไม่กินก็ไม่ได้ อดไม่ได้ หัดอดบ้างเหอะ เออ หัดอดได้เหมือนกัน หัดอดได้สองสามครั้ง เราคงได้แล้วนะ กินเถอะ ตอนหลังก็กินอีกร้อยครั้ง แล้วค่อยอดอีกสัก ๓ ครั้ง คือพิจารณามันไม่ถูกจริง แล้วมันไม่ละล้างลด พิจารณามันออกว่า เป็นปฏิกูลสัญญา มันเป็นเรื่อง ของธาตุ อะไรต่างๆ พวกนี้ ไม่ได้พิจารณาลงไป ถึงขั้นเห็นจริง เห็นจังเลยว่ากินธาตุ ที่จริงกินธาตุ ให้มันได้ อย่างสายท่านพุทธทาส กินด้วยจิตว่าง ให้มันได้หน่อยเถอะน่า อาตมาล่ะ เคารพเลย กินได้ด้วยจิตว่าง อย่างสายท่านพุทธทาสว่า แต่อาตมาไม่เชื่อว่า พระสายท่านพุทธทาส กินด้วยจิตว่าง แต่เชื่อที่ท่านพูดน่ะ ว่าให้กินด้วยจิตว่าง กินอย่างไม่ติด ไม่ติดใจ กินอย่าง ด้วยจิตว่างจริงๆ โอ๋ย... ถูกแป๊ะ เลย แต่ไม่รู้ว่าถูกใคร คนกินด้วยจิตว่างจริงๆ เป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง ถ้าพูดโดย ไม่จริง ก็นึกว่าตัวเองกินด้วยจิตว่าง แล้วก็ไปพูดคุย ว่าตัวเองกินด้วยจิตว่าง ก็ปาราชิก อวดอุตริมนุสธรรม ที่ไม่มีในตน ก็เท่านั้นเอง

เรื่องอาหารนี่ เป็นเอกในโลก เป็นหนึ่งในโลก ปฏิบัติไปเถอะพวกเรา พยายามพากเพียรไป กี่ปีกี่ชาติ พิจารณากันจริงๆ คุณไม่ได้ปฏิบัติธรรมในอะไร เครื่องอุปโภค บริโภค ไอ้เรื่องอาหารการกิน กับเครื่องใช้ นี่ เครื่องใช้ทุกวันนี้ ก็อนุโลมปฏิโลมบ้าง ก็ดูแล้ว บางคนก็ (พ่อท่านหัวเราะ) สีนิด สีหน่อย ไอ้นี้สีนี้ มันสวยกว่าสีนี้ เอามันมาหน่อยเหอะ ผีมันเรียกร้อง อันนี้มัน ไม่ได้ใช้มันมา ตั้งนานแล้วนิ ลดมันมาหลายปี แล้วคนเผลอๆแล้วไม่เป็นไร เอาหน่อยเถอะ พอใครเขาทักหน่อย ก็เหนียม เก็บมั่ง ทำกระมิดกระเมี้ยน พอใครไม่ทัก ก็เอามั่ง ไอ้นี่อะไรก็แล้วแต่เถอะ มันก็คือกาม ความสวย ความงาม ความไพเราะ ความสัมผัสนุ่มเนียนอะไรต่างๆพวกเนี้ย สัมผัสแตะต้อง ทางทวารทั้งหกนี่แหละ อินทรีย์สังวร ต้องปฏิบัติอินทรีย์สังวร กระทบสัมผัสแล้วก็ รู้เท่าทันจริงๆ ปฏิบัติจริงๆ แล้วจิตของเรา จะเห็นละเอียดลออเลยว่า การปฏิบัติธรรม มันเกิดจากจิตที่มี ปฏิจจสมุปบาท อย่างที่ว่าเนี่ย พระพุทธเจ้าท่านตรัสนี่ มันสังขาร ปรุงไปเป็นอัสสาทะ จะเป็นรสอร่อย รสเพลิดเพลิน รสยินดี รสนิยม รสที่ชอบหรือชัง ชังก็ผลักไม่เอา ไม่ชังก็ดูด เอา กลางๆ จริงๆ โดยที่รู้อย่างชัดเจนเลยว่า เออ... เรามีพอสมเหมาะสมควร ใจเรานี่ มันเป็นกลางแล้ว จริงๆนะ เห็นที่ใจเราว่า มันอุเบกขา มีความบริสุทธิ์ ไม่ดูด ไม่ผลัก แม้จะมี อย่างอาตมานี่ ต้องนอน บนฟูกหนาอย่างนี้ ก็เออ...ก็เข้าใจ มันก็เอ้อ ก็อย่างนี้นะ มันก็ไม่ได้เป็นอะไรนักหนา ไม่ได้เอร็ดอร่อย อะไรหรอก แหม คืนนี้ ถ้านอนต่อก็ดี นุ่มเนียนดีก็เปล่า จะไปนอนบนก้อนหินที่ไหนก็ไม่มีปัญหาอะไร นี่ อาตมาก็อวด อุตริมนุสธรรมให้ฟังจริงๆนะ คือ จริงๆ ต้องฝึกจริงๆเลย เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า เราไม่ติด ไม่ผลัก ไม่ดูด ในสัมผัส ในหู ในตา ในจมูก ในลิ้น ในกายอะไรต่างๆ นานาให้จริง อินทรีย์สังวร เป็นตัวหลักปฏิบัติไปจริงๆ เราอ่านสังขารให้ออก เพราะอวิชชาจึงเกิดสังขาร และคำว่า สังขาร ไม่ใช่ว่ามันไม่ปรุง มันไม่เปริงอะไร เอาละ ในตอนแรก นี่เราต้องพิจารณาให้เห็นว่า มันไม่ปรุงจริงๆ มันกลางๆ ถ้าเราจะปรุงนั้น เป็นวิสังขาร ที่จะปรุงนั้นนะ ปรุงด้วยวิชชานั้น อีกอันหนึ่ง เราจะปรุงให้แก่ผู้นั้นผู้นี้เพื่อผู้อื่น มันเป็นปฏินิสสัคคะ มันเป็นการตีกลับแล้ว เราจะปรุงโดยเจตนา มีปุญญาภิสังขาร เราจะปรุงเพื่อที่จะให้เกิดชำระ ปุญญาภิสังขาร โดยเฉพาะ ปรุงให้ชำระผู้อื่น ไม่ปรุงชำระเรา ไม่ชำระตนเอง ตนเองนั้น ชำระอย่างสิ้นสังขาร ไม่มีสังขาร ทุกอย่าง มีแต่ความเป็นจริง ตามความเป็นจริง ก็วิเศษนะ

เพราะฉะนั้น เราพยายามที่จะพิจารณา จะเป็นวิชชา หรืออวิชชาก็อยู่ที่ตัวจริง ที่เราได้ฝึก เมื่อจิตของเราเป็นวิชชา หรือมันมีสติสัมปชัญญะ มีรู้เท่าทัน แล้วก็ได้ต่อสู้ ได้ลดละล้างสังขาร นั่นแหละคือ พระโยคาวจร คือผู้ที่ปฏิบัติเนกขัมมะสิตะอยู่ พยายามออกจากกาม ออกจากกิเลส ถ้าเนกขัมมะสิตะได้ออกจากกาม ออกจากกิเลสอยู่ ชนะได้ ก็เรียกว่า เนกขัมมะสิตะโสมนัส ถ้ามันยังไม่ชนะ มันยังต่อสู้ฝืดๆฝืนๆอยู่ ทำไปก็ยังไม่ได้โปร่งได้ว่างอะไร ตัดไปลดไปละไป มันก็ได้ แค่สังขิตตัง จิตตัง วิกขิตตัง จิตตัง วิขิตตัง จิตตัง ือจิตมันยังหดหู่อยู่ ยังกระเด็นกระดอน ยังกระเส็นกระสายอยู่ จิตมันยังไม่สยบ ยังไม่ยอม ยังไม่ระงับ จิตยังไม่ดี เท่าที่ควร ยังไม่ถึงขั้น แม้แต่ถึง สอุตตรจิต มันยังไม่ถึง ต้องทำให้มหัคตจิต ให้มันยิ่งขึ้นกว่านั้น จนกระทั่งจิตมันดี ถึงขั้นสอุตตรจิต สอุตตรจิตก็ยังไม่ใช่จิตที่ดีที่สุด แต่ดีกว่านี้ยังมีอีก แต่มันก็ดีขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างนี้ เป็นต้น มีวิชชา มีเจโตปริยญาณ ที่จะอ่านจิตของเราออกจริงๆ อ่านอาการ อ่านลิงคะ นิมิต ของมันออกจริงๆเลย อ่านชัดแจ้ง อาการมันเป็นยังไง มันน้อย มันมากยังไง นี่มันกิเลส มันเป็นอย่างนี้ ไอ้ตัวนี้มันยังชอบ มันยังยินดี มันยังเป็นอัสสาทะ ไอ้นี่เรากำลังสู้กับมัน ลดละมัน มันยังเป็นโทมนัส เนกขัมมะสิตัง โทมนัสสัง ยังสู้หรือยัง ทุกขายะ อัตตานัง ยังปฏิบัติ อยู่อย่าง ลำบากอยู่นะ ยังสู้มันอยู่ลำบาก เออ ลดได้ละได้ มันจางคลายได้ เราก็ชักเก่งขึ้น เราจะรู้ตัวเราว่า เราเก่งขึ้น ปฏิบัติอย่างนี้ถูกมั้ย เอ้า...ให้เชิง สมถะภาวนาช่วย เอ้า... เอาล่ะ ไม่ต้องสมถะภาวนาเลย เล่นวิปัสสนาภาวนา วิปัสสนาภาวนาล้วนๆ ให้เหตุใช้ผล ใช้พิจารณา ปลง ปรุงอย่างประเภท ที่เรียกว่า เอาให้มันเห็นชัดแจ้งกันไปเลยในทีเลยว่า มันไม่ได้เก่งจริงๆ มันไม่ได้อะไรเลย มันเป็นเรื่องหลอก เรื่องอะไรต่ออะไรต่างๆนานา ถ้าเราเอง เราไม่ไปยินดีกับมัน อาการไม่ยินดี พยายามดูซิ อาการไม่ยินดีนี่ ถ้ามันไม่มีในใจเรานี่ เราจะตายหรือไง เราจะไม่มีชีวิตชีวา เราจะเหี่ยวเฉาหรือยังไง ไอ้สิ่งอย่างนี้นี่ ถ้าเผื่อว่ากิเลสนี่ ถ้ามันอ่อนแรงลงไป คุณจะใช้วิธีอะไร อาตมาก็ใช้ภาษาได้แค่นี้

คุณฝึกปรือไปแล้ว คุณจะรู้เองเลยว่า อ๋อ ... อาการที่จะเอาชนะกิเลสเหล่านี้ มันเพราะกำลัง ที่ได้ฝึกปรือ ของปัญญา ฝึกปรือพากเพียร จะระงับก็ตาม จะระงับด้วยการสะกดข่ม หรือว่าทำทิ้งๆ ลืมๆ ทำปล่อยๆ มันไม่เอาเลย นั่นเป็นเรื่องของสมถภาวนา จะยังไงก็ตาม คุณทำอยู่สองนัยนี่ เท่านั้นแหละ กดข่ม หรือทำลืมๆ ทำทิ้งๆ ปล่อยๆ วางๆ ได้เก่งได้เร็วก็มีนะ พอรู้หน้าตามันก็ลืม เลิก ปล่อยวางไปเฉยๆ นั่นลักษณะสมถภาวนา ไม่ปล่อยวาง เห็นหน้ามันนี่แหละ ดูมันให้ชัดแจ้งเลย เพ่งอาการ จ้องอาการ แล้วก็เหตุผลให้มันชัดๆเลยว่า มันจะเก่งยังไง มันจะหลอกยังไง เราจะเห็นว่า มันจางคลาย ตัวฤทธิ์แรงของ วิปัสสนาภาวนาของคุณนี่แรงมาก ไอ้พวกนี้มันจะอ่อนอาการ ลงไป จริงๆเลย ถ้าเร็วถึงขนาดว่ามีนิสสรณปหาน คือการประหารอย่างประเภทที่เรียกว่าปลดสลัดออก เลย พอเห็นหน้าปั๊บ มันหลบหน้าเลย เหมือนกับโจรเจอตำรวจ ที่โจรไม่มีปืน โจรไม่มีทางสู้นะ เจอตำรวจ มันจะหลบหน้า วิ่งหายปั๊บไปทันทีเลย ถ้าเราได้ ฝึกซ้อมประหาร ตั้งแต่ตทังคปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน มันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆเลย อาการของมัน จะเป็นอย่างนั้นล่ะ ตัวปหานปธาน นี้จะเป็นอย่างนั้น สัมมัปปธาน สังวรปธาน ปหานปธาน แล้วมันก็จะเกิด ภาวนาปธาน คือการเกิดผล มันจะเกิดผลอย่างนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้น เราฝึกจริงๆ ไม่ใช่ได้แต่ฟัง อาตมาพูด แล้วเวลาฝึกจริงๆ ก็น้อย ฝึกจริงๆ ก็อีตอนที่อาตมาบอก พออาตมาไม่บอกแล้ว ก็ลืมไปหมด เป็นคนๆธรรมดาไปอยู่ตลอดกาลนาน ไม่ใช่ เราฝึกอย่างนี้จริงๆ เครื่องกิน เครื่องใช้ สำรวมอินทรีย์ ๖ สังวรอินทรีย์ ๖ แล้ว ก็พยายามประมาณ พยายามปรับ แล้วเราจะกินอาหาร ก็กินง่าย กินได้ไม่มาก ไม่มายอะไรหรอก กินพอเลี้ยงขันธ์ เพราะเราแม้จะอดอาหาร ก็ดูอารมณ์ จะกินอาหาร ก็กินก็ดูอารมณ์ ดูอาการของกิเลส ผสมสังขารอยู่ทั้งนั้นแหละ วิชชาก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ เจโตปริยญาณนี่สำคัญนะ อาตมาพูดถึงบ่อยๆ เจโตปริยญาณ วิชชาทั้งแปดทั้งเก้า มันเกิดหมดแหละ ฌานก็เกิด คือการเพ่ง อ่านแล้วก็เผากิเลส เพ่งอ่านที่จิตเรา เรียกว่าฌาน เราได้เกิดพยายามปฏิบัติไป จะมีการถูกต้อง เห็นรูป ได้ยินเสียง มือเค้าก็ยังทำงาน มีโน่นมีนี่ อะไรก็ตามแต่เถอะ ผัสสะทั้งทวารทั้งหก หัดสังวรณ์อินทรีย์ทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอยู่ ด้วยแล้วทำไป แล้วความเร็วของมุทุ มุทุภูตธาตุ มันก็จะรู้เท่าทันเร็วขึ้น ปรับได้ ดัดได้ เป็นจิตหัวอ่อน มุทุภูตธาตุ มุทุภูเต มันจะจิตหัวอ่อน เป็นฌานจริงๆ รู้... เพ่งรู้แล้วก็เผา มันได้เผา มันได้ทำลาย กิเลสลงไป อ่อน จางลงเรื่อยๆๆๆๆๆ จนกระทั่งแข็งแรง ตั้งมั่น สะสมลงเป็นสภาพที่เราได้สะสม จิตสะอาด หรือ จิตฌาน จิตวิมุติ สะสมจิตฌาน จิตวิมุติไปจริงๆเลยนะ

เพราะฉะนั้น ในปฏิจสมุปบาทที่บอกว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารจึงเป็นวิญญาณ วิญญาณจึงเป็นนามรูป วิญญาณก็กล่าวถึง ถ้าอวิชชาแล้ว วิญญาณก็เป็นวิญญาณผี สังขารก็เป็นสังขารผี แต่ถ้าเผื่อว่า ตั้งต้นตั้งแต่วิชชา พยายามมีปัญญา มีวิชชาที่ปฏิบัติ วิชชาตั้งแต่หนึ่งฌาน แล้วต่อมาก็มี วิปัสสนาหรือ ญาณทัสสนะ สังขารตอนแรกนี่เราจะเกิด ที่จริงวิชชานี่เป็นยอดของสิ่งที่สมบูรณ์ เราจับสิ่งที่สังขาร....จับที่สังขาร ความปรุง แยกวิเคราะห์สังขารให้เห็นว่า กิเลสมันมาร่วมปรุง เมื่อเห็นกิเลสมาร่วมปรุง ก็วิปัสสนานั่นแหละ คือวิชชาข้อที่สอง ถ้านับฌานเป็นข้อที่หนึ่ง นะ วิปัสสนาเป็นข้อที่สอง วิปัสสนาหรือญาณทัสสนวิเศษนั่นแหละ คือรู้เห็นรู้แจ้งด้วยของจริง ตามความเป็นจริง

ญาณทัสสนะ หรือวิปัสสนาญาณ มันไม่ได้หมายความว่า มันคิดนึก มันกำลังเห็นสังขาร มันกำลังแยกวิเคราะห์ในสังขารว่ากิเลสเป็นอย่างไร แล้วเราก็สู้กับกิเลส ด้วยวิธีการที่เราจะสู้ ทั้งวิปัสสนาภาวนา ทั้งสมถภาวนา อย่างที่อธิบายไปมาก ไม่รู้อธิบายไปตั้งเท่าไหร่แล้ว จนกระทั่ง จิตมีฤทธิ์ จึงเรียกว่าเป็นมโนมยิทธิ มโนมยิทธิ มโนอิทธินี่แหละ จิตมีฤทธิ์ก็เพราะว่า จิตทำให้กิเลส บางจาง ลดละ จางคลาย เป็นนิพพิทาวิราคะได้ กิเลสมันจางออกไปจากจิต เห็นๆเลย จะมีปัญญา พร้อมในฌานที่มันลด จะเพ่งเผากิเลสได้ลงไปเรื่อยๆๆๆ นั่นน่ะเป็นฌานแท้ แล้วเราก็จะต้อง มีปัญญา เพราะในฌานไม่มีปัญญา ไม่มี ในฌานมีปัญญา ในปัญญามีฌาน ในฌานมีปัญญา ในปัญญามีฌาน เพราะฉะนั้น สามองค์แรกของวิชชานี่ ฌาน วิปัสสนาญาณ กับมโนมยิทธิ ทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำงานอยู่ตลอดเวลา ฌาน วิปัสสนากับมโนมยิทธิ

มโนมยิทธิคือเจโต วิปัสสนาก็คือปัญญา ฌานก็คือเรื่องของการละล้างกิเลส ฌานเพ่งแล้วเผา เพ่งแล้วเผา ฌานทำงานอยู่ตลอดเวลา จนกว่าเราจะเก่ง เกิดขบวนท่ามากมาย มีฤทธิ์มีเดช เป็นอิทธิวิธี มีโสตทิพย์ มีเจโตปริยญาณ อีกสามตัวนี่เข้าไปร่วมจริงๆเลย เข้าไปร่วมจริงๆ

นี่ อาตมาพูดถึงวิชชาเก้าเชียวนะ มีโสตทิพย์ก็เหมือนรู้พร้อมที่จะไปสัมผัสโน่นนี่ ได้ยินเสียงสอง ได้รู้รสสอง ได้เห็นรูปสอง ได้สัมผัสสิ่งสอง เป็นสิ่งทิพย์อีกอันหนึ่ง เห็นเขียว เขียวนี่เป็นของธรรมดา เป็นสีมนุษย์เห็น ใครไปตาบอดสีก็เห็นเขียว แต่เห็นสิ่งสองอีก คือในใจของเรา จากสังขาร ที่เราเห็นสิ่งเขียว นี่ ไอ้เขียวสวยชอบ ไอ้สวยก็ชอบน่ะ เป็นสังขารแล้ว เป็นกิเลสสีผีเข้ามาปรุง ร่วมแล้ว ปรุงร่วมกับของจริง การเห็นการอ่านออกว่าสีเขียวนี้ แล้วมีชอบมีชัง ไอ้ชอบชังนั่นแหละ คือสีสอง ชอบสีเขียว ได้ยินเสียงสอง เสียงนี้เค้าพูดมา ชอบใจ เสียงเค้าก็พูดตามธรรมดา เสียงใครแหบ ก็แหบอย่างนั้นน่ะ เสียงใครแหลมก็แหลมอย่างนั้น เสียงใครพูดดัง ก็ดังอย่างนั้น ใครพูดเบาก็เบาอย่างที่ เขาพูดนั่นแหละ ใครหูที่ไม่หนวก ก็ได้ยินเสียง เหมือนกันหมด แต่เราก็ไปชอบเสียงนายเบิร์ดร้องเพลง ใครได้ฟังก็เหมือนกันล่ะ คนไม่ชอบนายเบิร์ดร้อง ก็บอก ปิดๆๆ หนวกหู รำคาญหู ถ้าไม่ชอบ ไอ้คนชอบ โอ๊ย... มันๆๆ ต้องฟัง ก็เท่านั้นเอง นายเบิร์ดร้องเพลง ของเค้า เขาจะทำลีลาแบบไหน ก็แบบของเค้า เขาจะใส่ศิลปะเต็มที่ ก็ของนายเบิร์ดร้อง ก็เท่านั้นเอง มันสมมุติแล้วมันยึด มันยึดกันเท่านั้นเอง ยึดตามเขาที่ไปยึด หรือว่าเราเองไปตั้งข้อสังเกต จะยึดนะ ไม่ตามเขาล่ะ ฉันคนเดียวล่ะ เขาชอบกันทั้งบ้านทั้งเมือง เราไม่ชอบกันอยู่คนเดียวก็ได้ ไอ้ชอบหรือไม่ชอบนั่นแหละ คือเสียงสอง เสียงของเขาก็คือเสียงธรรมดา จะแตะรสพริกเข้าไป ก็เผ็ดอย่างนั้นแหละ คนที่กินพริกเก่งๆ ก็บอก โอ๊ย แซ่บ แต่ไอ้คนที่กินไม่เก่งบอกว่า พริกมันจะไปแซ่บยังไง มันแสบ เขาบอกแสบ กินไม่ไหว ก็เท่านั้นเอง ไอ้ตัวที่ปรุงว่าอร่อย กับตัวที่ปรุงว่า โอ๊ย... ไม่ไหว ไม่อร่อยหรอก มันก็...นั่นแหละ คือรสสอง นี่คือ โสตทิพย์

โสตทิพย์ ได้รู้เพิ่มเติมขึ้นละเอียดยิ่งกว่าเดิม จากใกล้จากไกล จากห่างแล้ววิเคราะห์ได้ละเอียดขึ้น สิ่งนี้ก็รู้ว่าสิ่งนี้ ได้ยินไกลๆ เสียงที่ได้ยินไกล ก็ได้ยิน คนอื่นไม่ได้ยิน แต่เราได้ยินนี่เรียกว่า ทั้งใกล้และไกล ได้ยินไกลขึ้น และก็วิเคราะห์ได้ชัดขึ้น เสียงแม้ได้ยินไกลก็แยกออกว่า นี่เป็นเสียงเปิงมาง นี่เป็นเสียงกลอง นี่เป็นเสียงตะโพน แม้จะได้ยินไกล คนอื่นน่ะไม่ออกหรอก เบลอๆปนๆ แต่ของเราออก จะไกลหรือว่าจะเป็นคนละอย่าง จะเป็นคนละชนิด วิเคราะห์ ออกว่านี่เป็นโทสะมูล นี่โลภะมูล นี่โมหะมูล มาจากตระกูลอะไร หยาบ กลาง ละเอียด แม้จะได้ยินไกลๆ ก็รู้ว่านี่หยาบ นี่ละเอียด อะไรอย่างนี้ เป็นต้น เป็นความรู้ ที่รู้กิเลสได้ชัดขึ้น มากขึ้น เรียกว่าโสตทิพย์ มีความเป็นทิพย์สูงขึ้น มีความเป็นเทวดาชั้นสูง เป็นอุบัติเทพระดับสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป เป็นอุบัติเทพ คือเทพจริง ไม่ใช่สมมุติเทพ เป็นเทพที่เจริญแท้ เป็นเทพที่จะไปสู่ วิสุทธิเทพ มีโสตทิพย์อย่างนี้จริงๆ มีอิทธิวิธีนานาวิธี

คำพูดแต่ว่า มีสมถภาวนา กับวิปัสสนาภาวนา สองวิธีการใหญ่เท่านั้นแหละ แต่วิธีเหล่านั้น สามารถทำกับกิเลสได้ เล่นกับกิเลสได้ จนเป็นอิทธิวิธีต่างๆ ทำให้กิเลสมันระเนระนาด อยู่เหนือกิเลส ขึ้นมาได้ อิทธิวิธีซึ่งเป็นผลของการลดละ ก็ได้อธิบายอิทธิวิธีนานาสารพัดไปแล้ว ทำให้มันเหลืออยู่ก็ได้ ทำให้มันหมดไปก็ได้ ทำให้มันแปลงตัว ตีลังกา หกคะเมน ดำลงไปในดิน เหมือนน้ำ เดินในน้ำอย่างกับเดินบนบก ภูเขากำแพงเดินทะลุมันได้เหมือนที่ว่าง สบายเหาะเหินเดิน บิน เหมือนนกได้หมด เรียกว่าเหมือนมีฤทธิ์ อย่างที่เรียกว่า เอาภาษาโลกมาเทียบได้เลย ว่ามันเหนือชั้นจริงๆ เป็นโลกุตรบุคคล ยิ่งมีอิทธิวิธีได้มากทางธรรมนะ นี่ไม่ใช่อิทธิวิธีแบบโลกียะ อิทธิวิธีแบบโลกุตระ นี่ยิ่งผกผัน ยิ่งตีลังกากลับ ปฏินิสสัคคะ เป็นคนประหลาด ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจ ของกิเลสเลย มีอิทธิวิธีช่ำชอง ชำนาญเพิ่มขึ้น เพราะจิตของเรามีเจโตปริยญาณ อย่างแข็งขัน เจโตปริยญาณ ๑๖ อย่างชัดแจ้ง อ่านจิต วิเคราะห์จิตออกจริงๆเลย ตั้งแต่ราคะ โทสะ โมหะมูล ที่ไล่ไปแล้ว จนกระทั่งถึงวิมุติ อวิมุติ มีอนุตรจิต ที่มีสมาหิตะจิต และวิมุติจิตอย่าง พรั่งพร้อมจริงๆ

อาตมาไม่ขยายเจโตปริยญาณ ๑๖ ล่ะ มีจริงๆ เกิดปฏิกิริยาของวิชชาเก้าประการ ไม่ได้หมายความ ว่า คนมีวิชชาเก้าประการ คือคนมี อภิญญาพิเศษ แล้วก็ไปอธิบายเป็นแบบ โลกียะ หลงๆใหลๆ ไม่ใช่ ทุกคนต้องมีเจโตปริยญาณ ทุกคนต้องมีอภิญญา ทุกคนต้องมีวิชชา จึงอยู่เหนือสังขาร หรือ ไม่มีสังขารที่มีกิเลสเข้าปรุงร่วม มีวิชชาสมบูรณ์เก้าประการนี้แหละ จนถึง อาสวักขยญาณ เป็นวิชชา อันสุดท้าย เพราะวิชชาอันสาม ที่เป็นเตวิชโชท้ายนั่นน่ะ มาทบทวน บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ รู้จักความเกิดความดับที่แท้ กิเลสมันดับสนิทจริงๆ ถ้ามันยังเกิดอยู่นิดอยู่น้อย มันยังมีอวิมุติจร มันยังไม่เป็นอนุตรจิตที่แท้ มันยังไม่เป็นจิตของ อริยะพิเศษ ที่มีสมาหิตะจิต มีสมาธิประเภทที่มีคุณค่า ประโยชน์แข็งแรง ขวนขวาย เป็นคนที่จะเป็น พหุชนหิตายะ พหุชนะสุขายะ โลกานุกัมปายะ เป็นที่พึ่งของโลก เป็นที่พึ่งของมหาชนอย่างแท้จริงแล้วละก็ จิตนี้ยังไม่ใช่จิตที่ดีถึงที่ ก็รู้ชัดเห็นจริงเลยว่า เป็นจิตที่อนุตตรจิต ที่มีองค์คุณของเจโตปริยญาณครบ ไม่ใช่เป็นได้แค่ สอุตตรจิตเท่านั้น

ใครจำสูตรต่างๆ หัวข้อที่อาตมาเอามาอธิบายให้ฟังเนี่ย ที่พูดวันนี้ไม่ได้นี่ ก็ค่อนข้างจะตีลังกา หน่อยนะ เพราะว่าอาตมาพูดธรรมะมา ๒๐ ปีแล้ว ใครสงสัยไม่รู้อะไรหละ อุตๆ เอิตๆ อะไรต่ออะไร จำๆไว้ มาถามแต่ละองค์ท่าน เรียกว่าซ้อมท่านมั่ง ถามแล้ว ท่านองค์ไหนตอบไม่ได้ จดมาบอก อาตมามั่งก็ได้ ว่าองค์นี้ถามไม่รู้เรื่องเลยนี่ สอุตตรจิตอะไรก็ไม่รู้เรื่อง นี่ยังอ่อนหัด มาบอกอาตมา จะได้ติว แต่ละท่าน แต่ละท่าน ก็เรียนกันมาจนจะตายอยู่แล้วนี่ ดีแต่ว่ายังไม่ตายจากกัน ยังไม่มีพระ ที่ตายจากกันได้เผา พวกเรานี่ ยี่สิบปีแล้วไม่รู้องค์ไหนจะก่อน หนุ่มหรือแก่ก็ยังไม่รู้เลย จะได้เผากันก่อนนี่ ยังไม่ได้ตายจากกัน แต่ก็ช่วยกัน พยายามที่จะมาพากันไปสู่นิพพาน หรือไปสู่ ทิศทางที่เรา ต้องหมายกันจริงๆ ไม่ใช่เรื่องเล่น พิสูจน์ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้ สูญกันจริงๆ นะ สูญกันจริงๆนะ พิสูจน์ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นอริยคุณ จนกระทั่งถึงที่สุด ที่สมบูรณ์ไม่ได้นี่

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ถ้าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่ตราบใด

อ่านต่อ หน้าถัดไป

FILE:1490A