บทวิจารณ์ - ฟ้าเมือง ชาวหินฟ้า -
ทำไมคนชั่วสามัคคี คนดีทะเลาะกัน


มีผู้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับข่าวคราวของสังคมไทยที่เกิดขึ้น ในช่วงที่ผ่านมาว่า ทำไม คนชั่วถึง สามัคคี แต่คนดีกลับทะเลาะกัน

อันที่จริงคนชั่วไม่ได้มีคุณธรรมในเรื่องความรู้รักสามัคคีมากกว่าคนดีทั่วไปหรอก

คนชั่วจะสามัคคีกันได้ในบางเรื่อง ต่อเมื่อผลประโยชน์ตรงกัน แต่ถ้าเกิดผลประโยชน์ ขัดกันเมื่อไร คนชั่วก็จะทะเลาะกันรุนแรงยิ่งกว่าคนดี ทั้งหลาย จนอาจถึงขั้น ฆ่าล้างแค้น กัน อย่างทารุณโหดร้ายเหมือนที่ปรากฏเป็นข่าวเนืองๆ

สาเหตุที่ทำให้ดูเหมือนคนชั่วมีความสามัคคี ก็เพราะเป้าหมายของผลประโยชน์ที่คนชั่ว ต้องการนั้น มักจะเป็นเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง หรือตำแหน่งอำนาจ ซึ่งเป็นเรื่อง ผลประโยชน์หยาบๆ เป็นรูปธรรม ที่จับต้องได้ชัดเจน โดยไม่ต้องถกเถียงกันมากว่า เป้าหมายที่มีความต้องการตรงกัน เหล่านั้นคืออะไร ถ้าตกลง แบ่งผลประโยชน์ได้ลงตัว ก็สามารถร่วมกันทำงานอย่างสามัคคี

ขณะที่เป้าหมายของกลุ่มคนดี มักจะเป็นเรื่องของประโยชน์หรือสิ่งที่มีคุณค่าในเชิง นามธรรม มากกว่าแค่เรื่อง ทรัพย์สมบัติหรืออำนาจ เช่น มีเป้าหมายที่ความรักชาติ ความรักศักดิ์ศรีเกียรติยศ ของตนเอง ความศรัทธา ในศาสนา การใฝ่หาความเป็นธรรม ในสังคม ตลอดจนความห่วงกังวล ต่อสภาพสิ่งแวดล้อมของโลก เป็นต้น

ระดับความเป็นนามธรรมของเป้าหมายในเชิงคุณธรรมจริยธรรมดังกล่าว คืออุปสรรค สำคัญ ที่ทำให้คนดีข าดพลังความสามัคคี เพราะกำหนดจุดประสาน ที่มีความชัดเจน ร่วมกัน จนเพียงพอที่จะผลักดัน ให้คนดี มารวมพลังกันไม่ได้ง่ายๆ

เช่น คนดีบางคนได้รับการปลูกฝังให้เห็นคุณค่าความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรมในด้าน การเคารพ ต่อระเบียบวินัย และยึดหลักแห่งนิติธรรมในการตัดสินเรื่องต่างๆ อย่างเที่ยงตรง โดยไม่เข้าใครออกใคร เหมือนเปาบุ้นจิ้น เป็นบรรทัดฐานของความดี หรือคุณธรรมจริยธรรมที่ยึดถือเป็นหลักในชีวิต

ขณะที่คนดีบางคนอาจได้รับการปลูกฝังให้เห็นคุณค่าความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม ตามแนว สัปปุริสธรรม ๗ ประการ ที่สอนให้รู้จัก "ยืดหยุ่นอย่างยืนหยัด" เป็นบรรทัดฐาน ในการจัดการเรื่องต่างๆ

เพียงแค่มีจุดเน้นของเป้าหมายเชิงคุณธรรม จริยธรรมที่มีลักษณะแตก-ต่างกันเช่นนี้ ก็ทำให้ คนดี ๒ คน ทำงานร่วมกัน อย่างมีพลังความสามัคคีได้ยากแล้ว เนื่องจาก ยึดบรรทัดฐาน ในการพิจารณาตัดสิน เรื่องต่างๆ ไม่ตรงกัน

วิธีการที่จะช่วยให้คนดีเกิดความสามัคคีก็คือ จะต้องพยายามค้นหาจุดร่วมของ เป้าหมาย เชิงคุณธรรม จริยธรรม ที่กลุ่มคนดีดังกล่าว มีความเห็นตรงกันให้พบ และกำหนด ขอบเขต เป้าหมาย ของความดี ที่ต้องการจะไปให้ถึง ร่วมกันนั้นให้ชัดเจน เพื่อจะได้เป็น พลังชักจูงให้คนดี มาร่วมมือกันทำงาน ภายใต้หลักการ" ประสานจุดร่วม สงวนจุดต่าง"

หากคนสามารถตกลงกำหนดขอบเขตเป้าหมายในการทำงานร่วมกันได้อย่างชัดเจนแล้ว คนดี จะมีพลัง แห่งความรู้รักสามัคคี ในการร่วมมือกันทำงานได้ดียิ่งกว่า พลังความสามัคคี ของคนชั่ว มากมายนัก

เพราะคนดีจะมีคุณธรรมอื่นๆ ช่วยเสริมการทำงาน เช่น ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจ เอื้ออาท รต่อเพื่อนร่วมงาน ฯลฯ ซึ่งในหมู่คนชั่ว มักจะไม่ค่อยมีคุณธรรม ที่เกื้อกูลต่อการทำงานร่วมกัน อย่างรู้รักสามัคคี เหล่านี้

สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ การจัดการ (manage) เพื่อให้กลุ่มคนดีได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรียนรู้ จนตกผลึก ทางความคิด และสามารถกำหนดขอบเขตเป้าหมายของความดี ที่จะมา ร่วมมือกันทำงาน ด้วยความ "รู้รักสามัคคี" เพื่อนำพาสังคมให้บรรลุถึง เป้าหมาย แห่งความดี ดังกล่าวได้อย่างไร

ความยากของเรื่องนี้อยู่ที่อุปสรรคในด้าน "แบบชีวิต" และ "ภาษาศาสนา" ของกลุ่มคนดี ที่ทำให้คนดี แปลกแยกจากกัน

เพราะพฤติกรรมของความดีหรือการมี คุณธรรมจริยธรรมนั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นมาได้เองลอยๆ แต่ทว่า เป็นสิ่งที่ต้องอาศัย การหล่อเลี้ยงจากระบบ "พันธะทางจริยธรรม" แบบใด แบบหนึ่ง ซึ่งผูกพันอยู่กับ ระบบสัญลักษณ์ ตลอดจนกิจกรรมและพิธีกรรม (ซึ่งเรียก โดยรวมว่า "แบบชีวิตและภาษาศาสนา" ที่ใช้สื่อสารกัน ภายใต้ระบบ พันธะทางจริยธรรม นั้นๆ

ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริต จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะคนบางคนเชื่อว่า ความซื่อสัตย์สุจริต จะช่วยให้ตน ได้ไป "สวรรค์" บางคนเชื่อว่า จำเป็นต้องมี ความซื่อสัตย์ สุจริตเพราะเป็นพระประสงค์ของ "พระเจ้า" บางคนเชื่อว่า ควรมีความซื่อสัตย์ เพราะเป็น" กรรมดี" ซึ่งจะส่งผลเป็น "บุญ" ติดตัวไป อันจะช่วยให้ตนได้รับ "กุศลวิบาก" จากความดีนั้น หรือ บางคนก็อาจเชื่อว่าจำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจาก เป็นวิถีทางช่วยลด "กิเลส" ซึ่งจะเกื้ลกูลต่อ การบรรลุ "นิพพาน" ฯลฯ

คำว่า" สวรรค์"" พระเจ้า"" กรรมดี"" บุญ"" กุศลวิบาก"" กิเลส"" นิพพาน" จะเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ กับแบบชีวิต ทางศาสนา ที่ประกอบด้วยกิจกรรมและพิธีกรรมซึ่งจะให้ความ-หมายต่อ "ภาษาศาสนา" เหล่านี้ ในทิศทางที่ก่อ ให้เกิด พันธะทางจริยธรรม (ถ้าไม่ทำความดีนั้นๆ จะเกิดผลเสียอย่างไร หรือ ถ้าทำความดีนั้นๆ จะเกิด ผลดีอย่างไร) อันจะส่งผลให้ บุคคลนั้นๆ เกิดพลังความมุ่งมั่น ในการทำความดีดังกล่าว ทั้งที่อาจ เป็นเรื่อง กระทำ ได้ยาก และไม่ได้ทรัพย์สินเงินทอง หรือผลประโยชน์ทางวัตถุธรรมใดๆ ตอบแทน

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ความหมายของ "ภาษาศาสนา" เหล่านี้ ฝังตัวอยู่ภายใต้ "แบบชีวิต ทางศาสนา" แบบใด แบบหนึ่ง ถ้าแยกภาษาหรือสัญลักษณ์ทางศาสนา ออกจาก แบบชีวิต ทางศาสนาดังกล่าว เพื่อพิจารณา ภายใต้บริบทของแบบชีวิต ทางศาสนา อีกแบบหนึ่ง "ภาษา" หรือ "สัญลักษณ์" เหล่านั้น จะสื่อความหมาย แปรเปลี่ยนไปจากเดิม ทันที โดยนอกจาก ไม่ก่อให้เกิด พันธะทางจริยธรรมแล้ว ยังอาจกลายเป็นอุปสรรค ขัดขวาง การสร้าง พันธะทางจริยธรรมด้วย

อาทิเช่น รูปเคารพของพระศาสดาอาจจะเป็นสัญลักษณ์หรือ "ภาษาศาสนา" ที่มีพลัง ในการเชื่อมโยง ให้ผู้คน ที่มีแบบชีวิต ทางศาสนาแบบหนึ่งเกิดความมุ่งมั่น ในการทำ ความดี ขณะที่รูปเคารพของพระศาสดา ในลักษณะ อย่างเดียวกันนี้ อาจจะกลายเป็น ข้อห้ามทางศาสนา ที่ไม่มีพลังใดๆ ต่อการก่อให้เกิดพันธะ ทางจริยธรรม ภายใต้แบบชีวิต ทางศาสนา อีกแบบหนึ่งก็ได้ เป็นต้น

ในกรณีเช่นนี้ หากคน ๒ คนที่มีแบบชีวิตทางศาสนาไม่เหมือนกัน สื่อสารกันด้วย "ภาษาศาสนา" คนทั้งสอง จะมีโอกาส เข้าใจกันผิดได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็น คนที่นับถือ ศาสนาเดียวกัน แต่ยึดถือ คนละลัทธินิกาย ยิ่งจะมีโอกาสขัดแย้ง ไม่สามัคคี และเข้าใจกันผิด ได้ยิ่งกว่าผู้ที่นับถือ คนละศาสนาด้วยซ้ำ เพราะต่างใช้ ภาษาศาสนา ชุดเดียวกัน สัญลักษณ์เดียวกัน แต่ใช้สื่อสารในความหมายที่แตกต่างกัน

"แบบชีวิตและภาษาศาสนา" จึงเป็นทั้งปัจจัยเสริมหนุนให้เกิดพลังทางจริยธรรม และสร้าง ความรู้รักสามัคคี ภายในหมู่ศาสนิก ที่มีแบบชีวิต ทางศาสนาร่วมกันนั้นๆ แต่ขณะเดียวกัน ก็กลายเป็นอุปสรรค ขัดขวาง ที่ทำให้ผู้คน ซึ่งมีแบบชีวิตทางศาสนา แตกต่างกัน เกิดความแปลกแยก ( alienation) จนเป็นเรื่องไม่ง่าย ที่จะมารวมตัวกัน ทำงาน อย่างมีพลังความรู้รักสามัคคี เพื่อช่วยกันขับเคลื่อน พฤติกรรมทางด้าน คุณธรรม จริยธรรม ของสังคม

หากเข้าใจถึงธรรมชาติของเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ แล้วหาหนทาง "จัดการ" (manage) เพื่อให้คนดี ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความดีของกันและกัน จนสามารถกำหนด ขอบเขต เป้าหมายของ "ความดี" ที่เห็นตรงกันได้ ในเรื่องที่จะรวมพลังขับเคลื่อนร่วมกัน ก็จะเป็นหนทาง ที่ช่วยปลดปล่อย พลังของคนดี ให้ออกมา ช่วยแก้ไขปัญหา ความเสื่อม ของคุณธรรม จริยธรรมของสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีพลัง" ความรู้รักสามัคคี" ร่วมกันต่อไป

- ดอกหญ้า าอันดับที่ ๑๑๕ กันายน - ตุลาคม ๒๕๔๗ -