ตอน... นกอินทรีเลี้ยงลูก วารสารรายสองเดือน "ดอกหญ้า" อันดับ 96

นกอินทรีเลี้ยงลูก “นกอินทรีเลี้ยงลูก” เป็นการ บรรยายธรรม ณ ธรรมาศรมธรรมมาตา
โดย อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓

วันนี้จะพูดกันถึงเรื่อง นกอินทรีเลี้ยงลูก จะว่าเป็นนิทาน หรือเป็นเรื่องธรรมะ ก็ลองฟังดู ก็แล้วกัน ในเรื่องของนกอินทรี เลี้ยงลูกนี้ จะได้เปรียบเทียบกับ เรื่องของวิธี การฝึกอบรมตน เพื่อ ความมีชีวิตพรหมจรรย์ที่หมดจด งดงามซึ่งก็ได้มีการฝึกอบรม มาเป็นระยะเวลา นานพอสมควร เชื่อว่าคงจะได้มีความเข้าใจซึมซาบ แล้วก็ซาบซึ้ง ในความหมายของ การมีชีวิตพรหมจรรย์อยู่แล้ว แต่ ก็อยากจะขอทบทวนอีกสักหน่อย ก่อนที่จะได้จากไป เพื่อไปใช้ชีวิต พรหมจรรย์อยู่ที่บ้านว่าเราจะไป ฝึกอบรมตน และ ประพฤติปฏิบัติ อย่างไรและก็ เพื่อเป็นกำลังใจให้ เกิดการกระตุ้นเตือนมิให้หยุดยั้ง ในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้มี ธรรมสวัสดีชีวิตพรหมจรรย์ที่หมดจดงดงาม ยิ่งขึ้น

ขอทบทวนสักนิดหนึ่งว่า ลักษณะของชีวิตพรหมจรรย์นั้น เป็นชีวิตเดี่ยว โปรดอย่าลืมข้อนี้ เป็นชีวิตเดี่ยวเป็นชีวิตอิสระอยู่ เหนือความข้องเกี่ยว ผูกพันทั้งปวง ไม่ใช่ชีวิตของการคลุกคลี หรือ บอกว่าเป็นชีวิตเดี่ยวอิสระอยู่ เหนือความข้องเกี่ยวหมายความ ว่าอย่างไรก็คงพอทราบ หรือกว่า ข้างนอกนั้น ก็คงยังจะต้องเกี่ยวอยู่ ถ้าหากว่ายังเป็นผู้ที่ต้องอยู่บ้าน ต้องทำงาน หรือ ต้องการเกี่ยวข้อง กับทางสังคมบ้างก็คงจะต้องมีการ ข้องเกี่ยวอยู่ แต่สิ่งที่จะต้องเดี่ยว คลุกเคล้าอยู่กับหมู่ พวก แต่ เป็นชีวิตเดี่ยวอิสระอยู่เหนือ ความข้องเกี่ยว ผูกพันทั้งปวงเมื่อ ตอนต้นสักครู่นี้เอง ก็บอกว่าจะ ไปใช้ชีวิตพรหมจรรย์ เมื่อกลับไป บ้านแล้วจะใช้อย่างไรตอนนี้มา แล้วก็อิสระอยู่เป็นนิจก็ คือ จะ ต้องระมัดระวัง อย่างยิ่ง ที่ตรงใจ นั่นเอง ใจ คือ ใจ ที่อยู่ภายในนั้นให้ เป็นใจที่เดี่ยวไม่เกี่ยวเกาะ เป็นใจที่เป็นอิสระ จะทำการสิ่งใด ภายนอกจะพูดจะเกี่ยวข้องใน ทางภายนอก แต่ในทางภายในนั้น ให้มีความรู้สึกมั่นคงหนักแน่น พร้อมอยู่ด้วยสติสมาธิและปัญญา ปัญญานั้น ก็เป็นปัญญาที่ประจักษ์ แจ้งในธรรมสามารถเห็นทุกสิ่ง ตามที่เป็่นจริงได้ ไปตามลำดับแม้ จะยังไม่ถึงที่สุด แต่ให้เป็แนหลัก อยู่ในใจอยู่เสมอ ถ้ามีสิ่งนี้เป็น หลักอยู่ในใจตลอดเวลา แล้วก็จะ สามารถมีชีวิตเดี่ยว มีชีวิตอิสระได้ แม้จะอยู่ใน ท่ามกลาง คือ บครัว หรือว่าญาติมิตร หรือในการงาน หรือในสังคม แต่ก็แน่ละที่มันจะ ต้องยากกว่าจะต้องขับเคี่ยว ควบคุมใจอย่างเข้มข้นมันถึงจะทำได้ ถ้าปล่อยปละ ละเลย หรือว่าชะล่าใจ ยอมตามใจเสียหน่อยเดียวเท่านั้น จะเดี่ยวไม่ได้จะอิสระไม่ได้

นอกจากนี้ลักษณะของ ชีวิตพรหมจรรย์นั้น จะต้องเป็นชีวิต ที่จืดจืดจากรสทั้งปวง ไม่ได้ หมายความว่าการประพฤติ พรหมจรรย์เป็หนชีวิตที่จืดชืด ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นชีวิตที่มีรสอย่างยิ่ง การประพฤติพรหมจรรย์เป็นนชีวิต อย่างเอมโอชไม่สามารถจะ พรรณนาได้ แต่ในทางข้างนอก นั้นจะมีชีวิตพรหมจรรย์ได้ก็ต้อง ฝึกให้มีชีวิต ที่จืดจาก รสทั้งปวง รสอะไรบ้างก็รสของกามคุณ๕ รสของการติดในรูปเสียงกลิ่น รสสัมผัสจืด จากรสของกาม กามารมณ์ ที่เคยหลงเคยเห็นว่า นำความชื่นบานนำความสุขมาสู่ชีวิต จืดจากสิ่งยั่วยุทั้งปวง จืดจากตัณหา จืดจากอุปาทาน เพราะจิตนั้น อวิชชาเข้า ครอบงำ ไม่ได้เสียแล้ว เพราะฉะนั้นชีวิตพรหมจรรย์ จึง ต้องเป็นชีวิตที่จืด ถ้าหากว่า ผู้ใดมี ความรู้สึกว่า ในขณะใด ชีวิตชักจะออกรสแล้วนะ ที่ว่าออกรสน่ะมัน เป็นรสข้างนอก คือ ติดรสข้างนอก รสของรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส รสของกาม กามารมณ์ต้องรีบ เร่งรัด ชำระจิตใจ ใหม่ทันที ด้วยปัญญาอย่างพร้อมมูล นั่นก็ คือ ต้องปฏิบัติตามรูป แบบของ อานาปานสติภาวนา ให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น ลักษณะของ ชีวิตพรหมจรรย์จะต้องเป็น ชีวิต ของความไม่มี คือ ไม่มีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ไม่มีอย่างหลอกๆ ไม่มีจริงๆ คือ ไม่มีทรัพย์สมบัติไม่มีสิ่งของ ไม่มีอะไรๆ ที่เป็ะนของเราไม่มีจริงๆ ถึงแม้ว่าจะมีอยู่โดยสมมุติ แต่ ภายในนั้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็ถน สิ่งของของตนเพราะไม่มีตน ที่จะยึด คือ ฝึกการไม่มีตน ที่จะยึด อย่างนี้ จึงเรียกว่าเป็ยนชีวิตของ ความไม่มีที่แท้จริงไม่ใช่ไม่มี แต่ เพียงหลอกๆ นอกจากนั้นลักษณะของ ชีวิตพรหมจรรย์จะต้องเป็น ชีวิตที่ อยู่เหนือโลกสมมุติ อย่างสิ้นเชิง สิ่งใดที่สมมุติกันว่าดีว่าชั่วว่าได้ว่า เสียว่ากำไรว่าขาดทุน ว่าสะอาด ว่าสกปรก คือ เป็สนสิ่งคู่ก็อยู่เหนือโลก สมมุติอย่างสิ้นเชิงโดย เฉพาะอย่างยิ่งก็ คือ อยู่ เหนือการติดในสิ่งคู่ เพราะว่าสิ่งคู่นั้น คือ สิ่ง สมมุติรู้จักสมมุติสัจจะ รู้จักปรมัตถสัจจะ อย่างชัดเจน ไม่หลงติดในสิ่ง ที่เป็นสมมุติสัจจะโดย ประการทั้งปวงเรารู้ แล้วว่า มันไม่มีมันเป็น เพียงมายาที่เกิดขึ้นตาม สมมุติ จึงไม่เอาจริงเอาจัง ไม่ไปยึดมั่น ถือมั่นใน มันทั้งนี้ก็เพราะว่าเป็น ชีวิตที่ได้เข้าถึงและ ประจักษ์แจ้งในสัจธรรม ที่พระพุทธองค์ ได้ทรงสอนและอบรม

สัจธรรม คือ อะไรก็โปรดทบทวน เราได้พูดกันแล้วหลายครั้งสัจธรรมก็ คือ สภาวะอันเป็ะนธรรมดาของธรรมชาติซึ่ง หมายถึงความเกิดความแก่ความเจ็บ ความตายนั่นเองไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นจะ เป็นความแก่ หรือเป็นความเจ็บ หรือ เป็นความตายมันก็เป็นไปตามเหตุตาม ปัจจัยของ แต่ละชีวิตอันเป็ปนธรรมดา ธรรมชาติอย่างนั้นเองเพราะฉะนั้นก็จำจะ ต้องศึกษา จนประจักษ์แจ้ง จึงจะไม่ยึดมั่น ถือมั่น ในความเกิดความแก่ ความเจ็บความตาย แต่ประการใด ว่าเป็นตน หรือ ของตนนี่ จึงจะเป็น ชีวิตที่อยู่เหนือโลกสมมุติโดย สิ้นเชิง

นอกจากนี้ สัจธรรมนั้นก็ หมายถึงกฎของธรรมชาติที่จะ ต้องเป็นอยู่อย่างนั้น ตั้งอยู่อย่าง นั้นตามธรรมดาของธรรมชาติก็ คือ กฎไตรลักษณ์ กฎอิทัปปัจจยตา กฎแห่ง อริยสัจ ๔ และ ปฏิจจสมุปบาท

โปรดทบทวนให้คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จนกระทั่งซึมซาบได้ อย่างลึกซึ้งแล้ว ก็จะถึงซึ่งความ ประจักษ์แจ้งถ้าทำได้อย่างนี้ก็ เรียกว่าเป็นการประพฤติพรหม จรรย์อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดแล้วชีวิตพรหมจรรย์นี้ก็จะมี ความหมดจด งดงามยิ่งขึ้น ความด่างพร้อย จะไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้ บังเกิดขึ้นเมื่อใด เพราะความขาดสติ ก็ชำระล้างทันทีให้เป็นความ สะอาดบังเกิดขึ้นใหม่

เพราะฉะนั้น จึงอยากจะ เปรียบชีวิตพรหมจรรย์เหมือน อย่างชีวิตของนก เพราะนกมี สมบัติเพียง ปีกสองข้าง จะไปไหน ก็ใช้ปีกสองข้างนั้นโบยบินไปเป็น ชีวิตที่อิสระ ไม่ต้องมีห่วง ไม่ต้อง มีกังวล ถ้าจะเปรียบชีวิต พรหมจรรย์ เหมือนชีวิตของนก ก็จำเป็น ที่จะต้องรู้อยู่ในใจว่ามัน ต้องไม่ใช่ชีวิตอย่างนกกระจอก ชีวิตพรหมจรรย์นี้ ไม่ใช่ชีวิตอย่าง นกกระจอก ที่ชอบคลุกคลีกันอยู่ เป็นฝูง และก็พูดคุยกัน จ้อกแจ้กๆ แล้วก็ปรุง แต่งไปโน่นไปนี่เพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่านต่างๆ นานาประเดี๋ยวมี อะไรมากระทบ ก็แตกรังกันออกไป กระจัดกระจายอย่างขาดสติ อย่างตื่นตระหนกอย่างที่เขาว่า เหมือนกับ นกกระจอกแตกรัง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ชีวิตอย่างนก กระจอก ชีวิตการประพฤติ พรหมจรรย์จะต้องเป็นชีวิตอย่าง นกอินทรีซึ่งเป็นพญานกนก อินทรีนี่เขายกย่องว่าเป็นพญานก เป็นชีวิตที่ เดี่ยวอิสระแข็งแกร่ง กล้าหาญ เด็ดเดี่ยวแล้วก็ เด็ดขาด นี่เป็นชีวิตอย่างนกอินทรี

ทีนี้ คุณลักษณะแห่งความ เป็นนกอินทรีนั้นมีได้อย่างไร หรือ เป็นได้อย่างไร ก็แน่นอนทีเดียวที่ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เกิดขึ้นได้เองเป็นเอง มีเอง แต่จะต้องเนื่องเพราะการ ฝึกสอนการอบรมของพ่อนก แม่นกอินทรีที่ประพฤติสืบเนื่อง และสืบทอดกันมา โดยตลอดไม่ ขาดสายนั่นเอง ขอให้เรามาลอง ศึกษาชีวิตของนกอินทรีว่านก อินทรีนั้น เลี้ยงลูกอย่างไรด้วยวิธี ใดและวิธีการเลี้ยงการฝึกอบรม ของพ่อนกแม่นก อินทรีนั้น ได้ยัง ชีวิตที่มีคุณค่ามีประโยชน์ ต่อชีวิตของลูกนก อย่างไร

เท่าที่ได้ยิน ได้ฟังมาก็ได้ยินเล่า ว่าพอแม่นกอินทรี จะวางไข่ก็จะ จัดแจงไปหาแก้อนหิน ที่เหมาะจะเป็นรังที่ แม่นกพ่อนกมอง เห็นว่าเป็นแก้อนหินที่ มีขนาดและรูปร่าง เหมาะเจาะพอสมควรแล้วก็จะ ต้องอยู่ในที่ปลอดภัยพอสมควร สำหรับลูกนกด้วย พอได้แผ่นหิน ที่เหมาะใจแล้วก็จะหากิ่งไม้ใหญ่ บ้างเล็กบ้างขนาดพอกับแผ่นหิน นั้นมาวางลงบนหิน เพื่อให้เป็นฐาน ของรังนกพอเอากิ่งไม้วางลงบน แผ่นหินแล้ว ก็จะไปหาหนาม หนามแหลมๆ หนามคมๆ หนามใหญ่ๆ มาวางสะเอาไว้บน กิ่งไม้อีกทีหนึ่ง ลองนึกภาพตาม ไปทีละชั้นๆ พอได้หนามเอามา วางบนกิ่งไม้แล้ว ก็จะไปหาใบไม้ มาวางปีYดหนามอีกทีหนึ่งใบไม้นี้ ก็คงจะต้องเป็่นใบไม้ที่ค่อนข้างจะ นุ่มสักหน่อย นุ่มกว่าหนามนุ่ม กว่ากิ่งไม้อ่อนนุ่มกว่าเอามาวาง ปิดบนหนามเสร็จแล้ว สุดท้าย แม่นกก็จะสลัดขน ของตัวเองปูลงไป บนใบไม้อีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้น เมื่อลูกนกออกมา ก็จะได้นอนอยู่บนขนของแม่นก ซึ่ง มีความอ่อนนุ่ม เพราะว่า ลูกนกเมื่อ ออกมาทีแรกนั้นยัง ปวกเปียกอยู่ เนื้อตัวก็ยังอ่อนนิ่ม เมื่อได้นอนบนขน ของแม่นกที่ อ่อนนุ่มก็จะพอสบายแล้วแม่นก ก็จะปล่อยให้ลูกนกนอนอยู่บนขน อย่างนั้นจนกระทั่งลูกนกอ่อน เริ่มแข็งแรง

พอเริ่มแข็งแรงแม่นกก็ จะจัดแจงเอาขนที่สลัดปูไว้ข้างบน ทิ้งออกจากรังแล้ว ก็ปล่อยให้ลูก นกนอนอยู่บนใบไม้ใบไม้ย่อมจะ ต้องแข็งกว่าขนแม่นกเป็นแน่ เพราะว่า มันคงจะต้อง เป็นใบไม้ แห้งแล้วในตอนนี้ก็กรอบแกรบๆ ไม่อ่อนนุ่ม เหมือนขน ของแม่นก แม่นกก็จะปล่อยให้ลูกนกนอนอยู่ บนใบไม้นั้นอีกสักระยะหนึ่งจน กระทั่งเคยชิน เกลือกกลิ้งไปได้ พอจะแข็งแรงตามสมควรแก่กาล เวลาแม่นก ก็จะเอาใบไม้ออก

พอดึงใบไม้ออกตอนนี้ลูก นกอินทรีก็ต้องอยู่บนหนามแล้วใช่ ไหมหนามแข็งๆ แหลมๆ ที่แม่ ให้มีความอดทน ให้มีความแข็งแกร่ง ให้มีความเข้มแข็ง ไม่ใช่เป็นลูกนก ที่เติบโต ขึ้นมาแล้ว ก็เหมือนกับคน ที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่ออะไรๆ ก็ไม่ได้ หดไปหมดทุกอย่าง เพราะได้รับ การทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงมาก เกินไป

แม่นกก็จะปล่อยให้ลูก นกไปหามาสะเอาไว้ จึงไม่ต้องสงสัยว่า ลูกนกจะต้องดิ้นรน ด้วยความเจ็บปวด จะดิ้นไปทางไหน ก็ถูกหนาม ไปซ้ายไปขวา ก็มีหนาม เต็มหมด ทั้งรัง ลูกนกก็จะต้องถูกหนามนั้น ทิ่มแทงให้เจ็บปวด เลือดไหลซิบๆ หรือ ไหลมากๆ ทั้งแม่นกพ่อนก ก็คงจะรู้ แต่ต่างก็มองดูอยู่เฉยๆ มองดูลูกนก ที่กระเสือกกระสนไป บนหนาม ตอนนี้ฝึกอะไร ก็คงจะตอบได้ว่า ฝึกความอดทนนั่นเอง นกดิ้น กระเสือกกระสน อยู่บนหนาม เพื่อให้ รู้จักความเจ็บปวด รู้จักการถูกทิ่มแทง เพื่อให้รู้จัก ชีวิตนี้ เป็นการเรียนรู้ เรื่องชีวิต แล้วว่าชีวิตนั้น มันไม่ได้อ่อนนุ่ม สุขสบาย เหมือนขนนก เสมอไปบาง ครั้งชีวิตก็มีลักษณะของหนามที่ จะทิ่มแทงให้เจ็บปวด แต่ในขณะ เดียวกัน โดยสัญชาตญาณลูกนก ก็จะได้เรียนรู้ วิธีการหลบหลีก หลบหลีกหนาม ที่หลีกพ้น นั่นแหละ แต่อย่างน้อยก็คงจะรู้จักวิธี หลบหลีก เพื่อให้เจ็บปวดน้อย ที่สุดจะเอนตัวลงนอนทางไหนถึง จะเจ็บปวดน้อยที่สุดถ้าทำอย่าง นี้จะถูกหนามแทงมาก ลูกนกก็จะ ได้เรียนรู้วิธีช่วยตัวเอที่จะหลบหลีก เอาตัวรอด ให้ได้รับภัยน้อยที่สุด

ทีนี้พอลูกนกคุ้นเคย คือ รู้จักลักษณะของหนามและอาการ ที่ถูกหนามแทง ว่าเป็นอย่างไร แม่นกก็จะเอาหนามออก พอเอาหนามออกแล้ว ตอนนี้ลูกนกก็จะ ได้นอน อยู่บนกิ่งไม้ ซึ่งมีความ แข็งกระด้าง เพราะเป็นกิ่งไม้ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ที่หักมาซ้อนๆ กัน แต่ มันก็ยังไม่เจ็บปวด เหมือนกับอยู่ บนหนาม ปล่อยให้ลูกนก อยู่บนกิ่งไม้อย่างนี้ อีกสักระยะหนึ่ง จนเคยชินกับการที่จะเดินไป ระหกระเหิน เซซังบ้าง ยืนได้บ้าง อยู่บนกิ่งไม้นั้น

พอเห็นว่าแข็งแรงดีพอ สมควรแล้วแม่นกก็จะดึงเอากิ่งไม้ ออกตอนนี้ ก็จะปล่อยลูกนก ให้อยู่บนแผ่นหิน ที่แข็งกระด้างร้อน เหมือนไหม้ เมื่อถูกแสงแดดจ้า แล้วก็จะเย็น ยะเยือกทีเดียว เมื่อถึงเวลาฝนตก หรือว่า ลมพัดโชยมา อย่างแรง ในตอนกลางคืน หรือ เผอิญเป็นยามหนาว ฉะนั้นลูกนก ก็จะได้เรียนรู้ชีวิตที่แข็งกระด้าง ชีวิตที่ร้อน เหมือนไหม้ ชีวิตที่เย็นยะเยือก จนสะท้านเข้าไป อย่างน่ากลัว จะได้เรียนรู้ชีวิต หลายรูป หลายแบบ อยู่บนหินที่กระด้างนั้น แม่นกก็จะ ดูแลลูกนก ตามกำลัง ที่สมควร แก่การที่จะฝึกความอดทน ให้เกิดขึ้น แก่ลูกนก

พอแม่นกเห็นลูกมีกำลัง ควรแก่การฝึกหัดแล้วตอนนี้ แม่นกก็จะคาบลูกนกนั้น บินขึ้นไป บนอากาศให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ พอขึ้นไปสู่ที่สูงแล้วแม่นกก็จะ ปล่อยลูกนกให้หล่นลงมาหล่น ลงมาในกลางอากาศนั้น แม่นกก็ จับตาดูอยู่นะ ไม่ได้ปล่อย ให้ลูกหล่นลงมา ตามบุญตามกรรม ในขณะที่ลูกลอยเคว้งคว้าง ลงมาใกล้ แม่นก ก็จะโฉบลงมาโดยเร็ว แล้วก็คาบลูก ขึ้นไปใหม่ ขึ้นไปบนอากาศ ให้สูงที่สุดอีก แล้วก็ปล่อยลงมาอีก เหมือนกับเด็ก หัดว่ายน้ำใหม่ๆ ผู้ใหญ่พาออกไปกลางแม่น้ำ ทำท่า เหมือนจะจมไม่อยากจม ไม่อยากสำลักน้ำ ก็ต้องตะกุยตะกาย ด้วยมือ ด้วยเท้า ตะกุยตะกายไปมา ไม่ช้าไม่นานก็ว่ายน้ำได้ลูกนกก็ เช่นเดียวกันเมื่อแม่นกปล่อย ลงมาอย่างนี้เคว้งคว้างอยู่กลาง อากาศก็ค่อยๆ กระพือปีกน้อยๆ ของตัวทีละน้อยๆ ๆ จนกระทั่ง ผลที่สุดก็เลยบินได้แล้วก็ค่อยๆ บินได้แข็งขึ้นๆ เมื่อแม่นก เห็นลูกนก บินเลี้ยงตัวเองได้แล้ว แม่นกก็สอน ให้รู้จักวิธีที่จะหา อาหารกิน หาเหยื่อ ที่จะเป็ในอาหาร ของตน

เมื่อแม่นกเฝ้าฟูมฟักลูกนก อยู่สักระยะหนึ่งจนมีความแน่ใจ ว่าลูกนก สามารถ จะเลี้ยงตัวเองได้ แล้วตอนนี้ก็ถึงเวลาที่ แม่นกกับลูกนกจะ ทำอย่างนั้นหลายๆ ครั้ง พอลูกจะตก ก็โฉบลงมาคาบขึ้นไปใหม่แล้ว ก็ปล่อยลงมาอีก พอลูกจะตกถึงดิน ก็โฉบลงมาคาบ กลับขึ้นไปใหม่ ทำไมถึงไม่ปล่อยให้ลูกตกถึงดิน ก็คงทราบ ถ้าหล่นลงมาอย่าง ชนิดถูกทิ้งอย่างแรง ตกถึงดิน ก็คงตาย เพราะลูกยังอ่อนอยู่ ยังบินไม่ได้ แม่นกก็จะสอนลูก ด้วยวิธีคาบลูกขึ้นสูง ปล่อยลงมา แล้วก็โฉบคาบ ขึ้นไปอีก จนกระทั่ง ลูกค่อยๆ บินได้ คือ ลูกก็จะค่อยๆ เรียนรู้การฝึก โดยสัญชาตญาณ เพราะในขณะที่ ลอยเคว้งคว้าง อยู่กลางอากาศนั้น มันย่อมจะเป็นภาวะ ที่น่ากลัว น่าตกใจ สำหรับลูกนกเคยอยู่กับ แผ่นหิน เหมือนกับเป็นพื้นแผ่นดิน ที่สามารถ จะยืนได้ หรือว่ามีสิ่งใด สิ่งหนึ่ง รองรับตัวอยู่ รองรับน้ำหนักอยู่ ไม่ให้ล้มไป แต่บัดนี้จะ ต้องลอยเคว้งคว้าง อยู่กลางอากาศ ไม่รู้ว่าจะไปหล่นตกลงที่ไหน หรือ ว่าจะตายไป ฉะนั้น ลูกนกก็ย่อม จะต้องตะเกียกตะกายเป็นธรรมดา จากกันแม่นกก็จะบินไป ลิบเลย ไม่เหลียวมาห่วงหา อาวรณ์ลูกนกอีกต่อไป เพราะหมดหน้าที่แล้ว หมดหน้าที่ ของแม่นก ที่จะมาดูแลเอาใจใส่ลูก ต่อไปนี้ก็เป็นหน้าที่ของลูกนกที่ จะต้องเลี้ยง ตัวเอง แล้วก็เติบโต เป็}นนกใหญ่ต่อไปแล้วก็คงจะไป สร้างรังมี ครอบครัว ของตัวต่อไป แล้วก็เลี้ยงดูฝึกอบรมฟูมฟักลูก ให้เติบโตแข็งแรง จนเลี้ยง ตัวเอง ได้ต่อๆ ไปอีก นี่ก็เป็นวิธีการเลี้ยง ลูกของนกอินทรี ที่ได้กระทำ สืบทอดกัน ต่อๆ มาตามลำดับ

การที่นกอินทรีได้ใช้สิ่ง ต่างๆ ในการสร้างรังเรียงตาม ลำดับดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เพื่อ อะไรก็คงจะพอมองเห็นได้ว่า จากชั้นบนสุดที่แม่นกสลัดขนลงไป ก็คงจะเปรียบได้ว่า ขนนกก็ คือ การให้ความชุ่มชื่นเบิกบานและ อ่อนนุ่มแก่ลูกแล้วต่อมาก็เข้มขึ้น อีกนิด เป็นใบไม้ เป็นหนาม เป็นกิ่งไม้ แล้วก็เป็นแผ่นหิน

ทีนี้ถ้าจะเปรียบวิธีการฝึก ของแม่นกอินทรีที่ฝึกอบรมลูก อย่างนั้น กับการฝึกอบรมตน เพื่อความมีชีวิตพรหมจรรย์ ที่หมดจด งดงามมีอะไรที่พอจะเปรียบกัน ได้บ้าง ก็อยากจะลองเปรียบดูว่า

ประการแรกทีเดียวการ มีชีวิตอยู่อย่างโลกๆ อย่างที่ได้ ผ่านมาเป็นเวลานับ ๒๐, ๓๐, ๔๐ ปีมาแล้ว นั้นพูดได้ว่าเป็น ชีวิตที่ ตกอยู่ในท่ามกลางโลก หรือ ท่ามกลางทะเล ของกิเลสตัณหา อุปาทาน เป็นชีวิตที่ตกจมอยู่ใต้ อำนาจของวัตถุนิยมที่มีสิ่งยั่วยุที่ ร้อนแรง หรือเป็นสิ่งยั่วยุที่ร้อนแรง ไม่ต้องพรรณนาเพราะเชื่อว่า ทราบกันแล้วทุกท่าน วัตถุนิยมนี้ มีอิทธิพลดึงดูดและกระตุ้นให้ชีวิต นั้น มีการบริโภค คือ บริโภค วัตถุนิยม ที่ได้พบที่ได้ประสบ ที่อยู่แวดล้อมที่มีผู้ผลิตผู้สร้างขึ้น เพื่อล่อ เพื่อยั่วยุให้หลงบริโภค กันอย่างตะกละตะกลามตะกละ ตะกลามก็ คือ บริโภคอย่างมิได้คิด ว่าสมควร หรือ ไม่มีประโยชน์อะไร แสวงหามาอย่างชนิดที่ไม่ได้ใช้สติ ปัญญา จึงเรียกว่า เป็นการบริโภค อย่างตะกละตะกลามอย่างมูมมาม อย่างไม่มีขอบเขตด้วยความไม่รู้ ที่เกิดจากความเขลาพอมองเห็น เป็นวัตถุนิยมมีมาใหม่ๆ ต้องรีบ ตะครุบดิ้นรน แสวงหา แม้ไม่มี เงินก็หยิบยืมก่อน เพื่อที่จะให้ได้ มาชดเชยความต้องการที่ เป็นความรู้สึก ที่ดิ้นรนอยู่ภายใน (โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)    

BACK index