เราคิดอะไร.

ข้าพเจ้าคดอะไร ‘ สมณะโพธิรักษ์
กำไรขาดทุนแท้ของอาริยชน
(ต่อจากฉบับที่ ๑๓๗)


"ผู้ให้" อาจจะรู้สึกว่า ตนเต็มใจที่ "ได้ให้" ก็เป็นการเสียสละขั้นหยาบๆ แต่การรู้จัก "ในภายใน" คือรู้จักรู้แจ้งรู้จริง (วิปัสสนาญาณ, วิชชา) สภาพของ "จิต..เจตสิก..รูป..นิพพาน" นั้น มันเป็นความจริงของ "นามธรรม" อันลึกล้ำ ที่ผู้เรียนรู้จะต้อง "รู้แจ้งเห็นจริงในภาวะจริง" นั้นๆ ชนิดสัมผัสรู้ สัมผัสเห็นด้วย "ญาณทัสสนะ" ซึ่งเป็น "ญาณ" ในภายใน ของผู้เป็นเจ้าตัว ซึ่งเป็นการพิสูจน์ความจริง เช่นเดียวกันกับ การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

ฉะนี้เอง คือผู้ที่ ยังไม่ใช่ "อาริยะ" ยังไม่ถึงภูมิ "โลกุตระ" เพราะยังไม่สามารถรู้แจ้ง แจ่มชัดคมลึก แม่นมั่น

ในภาวะของ "จิต..เจตสิก..รูป..นิพพาน" หรือยังไม่สามารถ รู้แจ้งแจ่มชัด คมลึกแม่นมั่น ในภาวะจริงๆของ "ตัวตน" (สักกาย, อัตตา, อาสวะ) ที่เป็น "กิเลส..ตัณหา.. อุปาทาน" และยังไม่สามารถรู้แจ้ง แจ่มชัด คมลึก แม่นมั่นใน "ความเป็น ประโยชน์ หรือ กำไร ขั้นโลกุตรกุศล" ซึ่งต้องเข้าใจเห็นแจ้งใน "ประโยชน์" (อัตถะ) ใน "ผลที่มุ่งหมาย" (อัตถะ) ใน "กำไร" (อัตถะ) ที่ตนสามารถลดละ กิเลสของตนได้ อย่างเป็นจริง ที่เรียกว่า "ปรมัตถะ" (บรมประโยชน์ หรือบรมกำไร หรือบรมรายได้ หรือ ประโยชน์ชั้นสูง กำไรแบบพิเศษ รายได้ที่เป็นขั้นทวนกระแสโลกียสามัญ)

ดังนั้น "ประโยชน์แบบโลกุตระ" จึงไม่ใช่ แค่ขั้นรูปธรรม แต่ต้องรู้แจ้งเห็นจริงถึงขั้นนามธรรมเป็นสำคัญ และ ต้องเข้าใจ แจ่มชัดใน "ประโยชน์ หรือรายได้ หรือกำไร" (อัตถะ) ถึงขั้น "บรมประโยชน์ หรือ บรมรายได้ หรือ บรมกำไร" (ปรมัตถะ) ที่หมายถึง "บรมประโยชน์ หรือ บรมรายได้ หรือ บรมกำไร อย่างเป็นสัจจะ" (ปรมัตถสัจจะ) กันทีเดียว

"กำไรหรือประโยชน์ หรือ รายได้" ของอาริยบุคคล ก็แบ่งออกเป็น ๓ ประการ เช่นกัน

๑. "ประโยชน์ตน" (อัตตัตถะ) ซึ่ง "ผู้ให้" ก็ตามหรือ "ผู้รับ" ก็ตาม ในขณะที่มีกรรมกิริยาการให้ และการรับอยู่นั้น ไม่ว่าจะให้วัตถุ แรงงาน ทรัพย์สินเงินทอง ความเสพทางอารมณ์ อันมาจาก รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส ความรู้ หรือ ให้อะไรอื่นๆ "แก่กันและกัน" อยู่หาก "ผู้ให้" ก็ตาม หรือ "ผู้รับ" ก็ตาม ผู้ใดปฏิบัติธรรมไปกับกิริยา กรรมนั้นๆ และ สามารถลดกิเลส ในจิตใจได้ นั่นก็คือ "ประโยชน์ตน" ที่เป็น "ปรมัตถะ" (ประโยชน์ขั้นเลิศสูง ถึงระดับมรรคผล) อันเกิดพร้อมกันกับกรรม ที่กระทำอยู่นั้นๆ ในขณะเวลา เดียวกันนั้น ประโยชน์ถึงขั้น "มรรคผล" นี้จึงหมายเอา "นามธรรม" ทุกข้อ

๒. "ประโยชน์ผู้อื่น" (ปรัตถะ) หมายถึง ตนเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น นั่นคือใครก็ตาม ที่ได้ให้วัตถุแรงงานทรัพย์สิน เงินทอง ความเสพ ทางอารมณ์ อันมาจาก รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส ความรู้หรือให้อะไรอื่นๆ "แก่ผู้อื่น" อยู่ แล้วสามารถ ให้ "ผู้รับ" ทำจิตใจของเขา ลดกิเลส ไปกับสิ่งที่ได้รับนั้นๆสำเร็จ นั่นก็คือ "ประโยชน์ผู้อื่น" ที่เป็น "ปรมัตถะ" อันเกิดพร้อมกัน กับกรรม ที่กระทำอยู่นั้นๆ ในขณะเวลา เดียวกันนั้น ซึ่ง "ประโยชน์" ประการนี้ ทำสำเร็จได้ยาก

(มีต่อฉบับหน้า)

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๓๘ มกราคม ๒๕๔๕)