หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

สุ นั ย เ ศ ร ษ ฐ์ บุ ญ ส ร้ า ง

เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ ตอน ๑๙


พระธรรมวินัย : ตัวแบบโครงสร้าง ๒ มิติ
ในการแก้ปัญหาสังคมมนุษย์


จากกราฟรูปพาราโบล่าซึ่งสะท้อนภาพการแก้ปัญหามิติ ๒ ด้านของสังคมมนุษย์ดังที่ได้กล่าวมาในตอนก่อน เราสามารถ แสดงความสัมพันธ์ ของตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐ เพื่อการแก้ไขปัญหา ระบบสังคมมนุษย์ ในรูปแบบจำลอง ทางคณิตศาสตร์ได้ คือ

ถ้าให้ P=ระดับปัญหาโดยรวมของสังคม
A=ระดับของการใช้อำนาจรัฐเพื่อควบคุมจัดระเบียบสังคม
a=ระดับที่เหมาะสมที่สุดของการใช้อำนาจเพื่อแก้ปัญหา
W=ระดับความต้องการส่วนเกินหรือกิเลสตัณหาโดยรวมของผู้คนในสังคมนั้นๆ
S=ศักยภาพในการสร้างสิ่งตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคม
r=ช่วงกว้างของกราฟซึ่งขึ้นอยู่กับความชันของเส้น MSB และ MSC
x=ค่าคงที่ในสมการ
สมการของกราฟรูปพาราโบล่านี้ได้แก่
P= (A-a) (A-a)/r + X . w/s

ซึ่ง a จะแปรผันโดยตรงกับ W หรือ a a w (เพราะถ้ากิเลสตัณหาของผู้คนขยายตัวเพิ่ม เส้น MSB จะเลื่อนระดับ สูงขึ้น ส่งผลให้ a เลื่อนระดับสูงขึ้นตาม ดังที่ได้กล่าวมาในตอนก่อน) และ b a x . w/s

สมการข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหา (ลดค่า P) ด้วยการใช้อำนาจรัฐควบคุมสังคมในระดับที่เหมาะสม (ทำให้ A มีค่าเข้าใกล้ a มากที่สุด) จะสามารถทำให้ปัญหาของสังคมเหลือน้อยที่สุดในระดับหนึ่ง เพราะเมื่อ A-a มีค่าเข้าใกล้ O สัดส่วนของปัญหา (P) ที่เกิดจากค่า (A-a) (A-a)/r ยกกำลังสอง ในสมการ ก็จะเข้าใกล้ 0 ด้วย (ส่งผลให้ P=b a X . w/s )

แต่ถ้าปล่อยให้ความต้องการส่วนเกิน หรือ กิเลสตัณหา โดยรวมของผู้คนในสังคม มีระดับเพิ่มสูงขึ้น (w มีค่าเพิ่ม มากขึ้น) ก็จะส่งผลทำให้ ระดับปัญหาของสังคม มีปริมาณเพิ่มขึ้นตาม (P มีค่าสูงขึ้นเนื่องจาก X .w/s มีค่าเพิ่ม)

ขณะเดียวกันระดับความเหมาะสมของการใช้อำนาจเพื่อแก้ปัญหาสังคม (ค่า a) ก็จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผล ทำให้ ปัญหาของสังคม (ค่า P ในสมการ) มีระดับเพิ่มสูงยิ่งขึ้นไปอีก

ในที่สุดเพื่อลดระดับปัญหาของสังคม ให้เหลือน้อยลง ก็มีความจำเป็น ต้องเพิ่มระดับ การใช้อำนาจ เพื่อควบคุม สังคมให้มากขึ้น เพื่อทำให้ค่า (A-a) (A-a) มีจำนวนน้อยที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่า การแก้ปัญหา ในมิติด้านเดียว เช่นนี้จะนำไปสู่ การใช้อำนาจรัฐ ควบคุมสังคมเพิ่มมากขึ้นๆ

ค่า (A-a) (A-a)/r ในสมการ จะเป็นชุดของ ตัวแปรที่สะท้อน การแก้ปัญหา ของสังคม จากมิติ ทางแนวระนาบ ด้วยการใช้อำนาจรัฐ เข้าควบคุม จัดระเบียบสังคม ในขณะที่ค่า X .w/s ในสมการ จะเป็นชุด ของตัวแปร ที่สะท้อนการแก้ปัญหาของสังคม จากมิติทางแนวดิ่ง ด้วยการอบรม กล่อมเกลา ให้ ผู้คนมีความต้องการ ส่วนเกิน หรือ มีกิเลสตัณหา ลดน้อยลง

แบบจำลองของสมการทางคณิตศาสตร์ ข้างต้นนี้อาจเป็นนามธรรมที่ยังเข้าใจยาก แต่เมื่อพิจารณา จากตัวอย่าง การปกครองสังคมสงฆ์ ตามหลักธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ก็อาจช่วยให้เข้าใจ หลักการแก้ปัญหาสังคม ในมิติ ๒ ด้าน ตามสมการข้างต้นได้ อย่างเป็นรูปธรรม ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ในช่วงระยะแรกของการสถาปนาสังคมสงฆ์นั้น บุคคลที่เข้ามาบวช ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่มักจะเป็น พระอริยบุคคล ระดับใดระดับหนึ่ง ปัญหาของการอยู่ร่วมกัน เป็นระบบสังคมสงฆ์ จึงมีน้อย

แต่เมื่อสังคมสงฆ์ขยายกว้างออกไป มีบุคคลหลากหลายระดับ ปะปนเข้ามาบวช เป็นพระภิกษุ ในพุทธศาสนา เพิ่มจำนวนมากขึ้น ปัญหาต่างๆ ในสังคมสงฆ์ ก็เริ่มเกิดตามมา ผลที่สุด พระพุทธองค์ ก็ทรงจำเป็น ต้องวางรากฐาน ของระบบ พระธรรมวินัยขึ้น เพื่ออาศัยอำนาจที่มีสภาพบังคับ ทางสังคม เข้ามาช่วย จัดระเบียบ การอยู่ร่วมกัน ของสงฆ์ โดยทรงตรา พุทธบัญญัติขึ้นมา เพื่อควบคุม สังคมสงฆ์ ทีละข้อๆ

พุทธบัญญัติแต่ละข้อ ในพระวินัยที่มีสภาพบังคับ และบทลงโทษทางสังคม ตามความหนักเบา ของอาบัติต่างๆ ก็คือการใช้อำนาจ ที่เป็นทางการ ของระบบสังคม เพื่อจัดระเบียบ การอยู่ร่วมกัน ของสังคมสงฆ์ เช่นเดียวกับ การใช้อำนาจรัฐ จัดระเบียบการอยู่ร่วมกัน ของสังคมมนุษย์ ผ่านทางกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งต่างๆ ของผู้ปกครองรัฐ ถ้าใครฝ่าฝืน ก็จะมีบทลงโทษ ตามระดับความรุนแรง ของความผิด

พระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงตราขึ้นมา แต่ละข้อ จึงเป็นอำนาจของ "อาณา" ที่เพิ่มขึ้นมาแต่ละหน่วย เพื่อช่วย ลดปัญหา การอยู่ร่วมกัน ในสังคมสงฆ์

การที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติพระวินัยต่างๆ ไว้ล่วงหน้า แต่ทรงรอจนเมื่อมีกรณี ความผิดเรื่องใด ปรากฏขึ้นแล้ว จึงค่อยเรียกประชุมสงฆ์ เพื่อตราพุทธบัญญัติ ขึ้นมาควบคุมนั้น สะท้อนให้เห็นถึง หลักการที่จะ รักษาระดับ ของการใช้อำนาจ "อาณา" (ซึ่งมีสภาพบังคับ และบทลงโทษ ทางสังคม) ให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสมที่สุด (ควบคุมให้ค่า A ใกล้เคียงกับ a มากที่สุด)

แต่เมื่อปริมาณกิเลสตัณหาอุปาทานโดยรวมของสังคมสงฆ์มีระดับเพิ่มสูงขึ้น ตามการเติบโต ขยายตัว ของสงฆ์ (wในสมการมีค่าเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ค่า a ในสมการเพิ่มสูงขึ้นตาม) ก็มีความจำเป็น ต้องตรา พระวินัย ข้อใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อควบคุม สังคมสงฆ์เพิ่มเติม (เพิ่มค่า A ในสมการ เพื่อให้ใกล้กับค่า a ที่เพิ่ม ดังกล่าว)

มองในแง่นี้ ยิ่งบทบัญญัติของพระวินัยเพิ่มมากเท่าไร ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็น ถึงความเสื่อมถอย ในเชิงคุณภาพ ของสังคมสงฆ์ เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในการตราพระวินัยขึ้นมานั้น พระพุทธองค์ได้ทรงย้ำถึงเป้าหมายสำคัญ เพื่อการขัดเกลา กิเลส ตัณหา อุปาทานของสงฆ์ควบคู่ ไปด้วยเสมอ (ลดค่า W ในสมการพร้อมกันไปด้วย) ดังพุทธพจน์ ที่ตรัสถึง เจตนารมณ์ ในการตรา พระวินัยว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจแห่ง ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มภิกษุ ผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่ความสำราญ แห่งภิกษุ ผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะ อันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑" *

หลักการสำคัญของพระธรรมวินัยที่ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ ในการจัดระเบียบ สังคมสงฆ์ (เพื่อความอยู่สำราญแห่งสงฆ์ และเพื่อข่มภิกษุ (เก้อยาก) ควบคู่ไปกับการลด ปริมาณกิเลสตัณหา ในโครงสร้าง ส่วนลึก ของสังคมสงฆ์ (เพื่อกำจัดอาสวะ อันจักบังเกิดในปัจจุบัน และกำจัดอาสวะ อันจักบังเกิด ในอนาคต) ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง อย่างน้อย ๒ ประการ แต่ถูกละเลย จากสังคมสงฆ์ ปัจจุบัน คือ

๑) ในเรื่องการบวชหรือการรับสมาชิกใหม่ เข้ามาในสังคมสงฆ์ หลักการตามพระธรรมวินัย ให้ความสำคัญ กับเรื่องนี้มาก เพราะถ้าขาดมาตรการ คัดเลือกคนที่มีภูมิธรรมเพียงพอ ให้เข้ามาบวช เป็นพระภิกษุ ในพุทธศาสนา โดยปล่อยให้คน ที่มีคุณสมบัติ ไม่ถึงขั้น ปะปนเข้ามา ในสังคมสงฆ์ อย่างง่ายดายแล้ว ก็ย่อมเป็นต้นทาง ของปัญหา ต่างๆ ที่จะสร้างความเสื่อมเสีย ให้กับสังคมสงฆ์ตามมา อีกมากมาย ในภายหลัง

การอุปสมบทตามพระวินัย จึงเป็นสังฆกรรม ที่มีความสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ในบรรดาสังฆกรรมต่างๆ โดยต้องมี องค์ประชุมสงฆ์ เต็มคณะ ตามจำนวนสูงสุดของสงฆ์ ที่จะทำสังฆกรรม และที่ประชุมสงฆ์ ดังกล่าว จะต้องมีมติ เป็นเอกฉันท์ จึงจักรับบุคคผู้นั้น ให้บวชเข้ามา เป็นสมาชิกใหม่ ของสงฆ์ได้ ถ้ามีภิกษุ ในที่ประชุมสงฆ์ ทักท้วง แม้เพียงเสียงเดียว บุคคลผู้ขอบวชนั้น จะถูกรับเข้ามา เป็นสมาชิกใหม่ ของสงฆ์ ไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ประเพณีของการบวชในทุกวันนี้เหลือเพียงแค่ รูปแบบของพิธีกรรม อย่างหนึ่งเท่านั้น โดยทอดทิ้ง แก่นสาร สาระสำคัญ แห่งการบวชตามพระธรรมวินัย อย่างสิ้นเชิง เช่น ไม่มีกลไก ในการกลั่นกรอง คัดเลือกคน เข้ามาบวช การตัดสินใจ รับสมาชิกใหม่ ของสงฆ์ก็รวมศูนย์อำนาจ อยู่ที่ตัวพระอุปัชฌาย์ เพียงคนเดียว ส่วนพระภิกษุอื่นๆ ที่มาร่วมทำสังฆกรรม จะมานั่งเฉยๆ เป็นพระอันดับ ตามพิธีกรรมเท่านั้น ไม่มีส่วนร่วม ในการพิจารณา กลั่นกรองใดๆ ทั้งสิ้น เป็นต้น

(คนจำนวนมากจึงเข้ามาบวชเพียงชั่วครั้งชั่วคราวด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เป็นไปเพื่อ การประพฤติ พรหมจรรย์ และมุ่งลด ละ ขัดเกลา กิเลส ตัณหา อุปาทาน บางคนก็บวชแก้บน แค่ ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง โกนหัวแล้ว ก็เอาผ้าเหลือง ที่เป็นธงชัย ของพระอรหันต์ มาห่มให้คนกราบไหว้ อีกไม่กี่วันก็ถอดผ้าเหลือง ออกกลับไปเป็นฆราวาส หัวดำใหม่ เหมือนการเล่นลิเก ที่มีการสวมชุดเป็นกษัตริย์ ให้ตัวละครอื่นกราบไหว้ เมื่อลงจากเวที ก็ถอดชุดลิเกออก กลับมามีบทบาท เป็นคนธรรมดาใหม่

เมื่อผู้คนสามารถปะปนเข้ามาอาศัยผ้าเหลือง ทำมาหากินได้อย่างง่ายดาย โดยปราศจาก กลไกกลั่นกรอง คัดเลือก เช่นนี้ คนประเภท "อกหัก หลักลอย คอยงาน สังขารโทรม" ก็เลยปะปนบวชเข้ามา เป็นภิกษุ ในคณะสงฆ์ จำนวนมาก เมื่อบวชเข้ามาแล้ว ก็มีพฤติกรรมประเภท "เช้าเอน เพลนอน บ่ายพักผ่อน กลางคืนจำวัด" ดังที่มีการกล่าว ล้อเลียนกัน

๒) เรื่องการลงโทษหรือการปรับอาบัติต่างๆ แก่พระภิกษุที่ประพฤติผิด พระธรรมวินัยอย่างจริงจัง เช่น การภาคทัณฑ์ กรณีที่ประพฤติผิด ในอาบัติเล็กน้อย การให้สละสิ่งของ หรือเงินทองคืนเจ้าของ หรือ ให้ตกเป็นส่วนกลางของสงฆ์ กรณีประพฤติผิดอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ (คล้ายโทษปรับ ในทางโลก) การกักบริเวณ เพื่อให้ทบทวนความผิด กรณีประพฤติผิด อาบัติสังฆาทิเสส (คล้ายโทษจำคุกทางโลก) ตลอดจน การถอดถอน สมาชิกภาพ การเป็นพระภิกษุ ในพุทธศาสนา กรณีประพฤติผิด อาบัติปาราชิก (คล้ายโทษประหาร ในทางโลก) เป็นต้น

เมื่อการปรับอาบัติโดยมีสภาพบังคับทางสังคมตามบทบัญญัติในพระธรรมวินัยเหล่านี้ ถูกละเลยเพิกเฉย จากคณะสงฆ์ ปัจจุบัน การลง ปาติโมกข์และการปลงอาบัติต่างๆ ก็กระทำกัน เป็นเพียงรูปแบบ ของพิธีกรรม อย่างหนึ่ง ที่มีการสวดภาษาบาลีกัน แบบนกแก้ว นกขุนทองเท่านั้น โดยปราศจาก เนี้อหา แก่นสาร ของการประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดสภาพบังคับ ตามเจตนารมณ์ แห่งพุทธบัญญัตินั้นๆ ผลที่สุดกลไก ในการคัดกรองบุคคล ที่มีคุณภาพ ต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐาน ขั้นต่ำสุด ให้พ้นไป จากสังคมสงฆ์ ดังที่ถูกออกแบบไว้ ตามระบบ ของพระธรรมวินัย ก็ถูกทำลายไป ส่งผลให้สังคมสงฆ์ เริ่มเสื่อมต่ำลงๆ

ยิ่งมีการประพฤติ ผิดเพี้ยนออกจากหลักการของ พระธรรมวินัยมากเท่าไร ความอยู่สำราญแห่งสงฆ์ ก็จะยิ่งเสื่อม ถอยลง มากเท่านั้น ภิกษุผู้เก้อยาก (มีความหน้าด้าน) จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นๆ ความอยู่สำราญ แห่งภิกษุ ผู้มีศีล เป็นที่รัก ก็ลดน้อยลง อาสวะในปัจจุบันจะขยายตัว เพิ่มมากขึ้น ขณะที่อาสวะ อันจักบังเกิด ในอนาคต ก็มีแนวโน้ม เพิ่มสูงยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ส่วนชุมชน ที่เคยศรัทธาเลื่อมใส ในสงฆ์ ของพุทธศาสนา ก็นับวันมีแต่ จะเสื่อมถอย ความศรัทธาลง ส่งผลให้พระสัทธรรม ไม่ตั้งมั่น ทั้งหมดนี้ ก็เพราะ การไม่ถือตามพระวินัย

เมื่อกิเลสตัณหาอุปาทาน ในโครงสร้างส่วนลึก ของสังคมสงฆ์โดยรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้น (w ในสมการ มีค่าสูงขึ้น ส่งผลให้ค่า a ในสมการเพิ่มสูงขึ้นตาม) ทำให้ภาวะความบีบคั้น จากปัญหาต่างๆ (หรือค่า P) เพิ่มสูงขึ้นจนทน ต่อไปได้ยาก ผลที่สุด ก็ต้องใช้วิธีแก้ปัญหา โดยการเพิ่มอำนาจ ควบคุมบังคับ (เพิ่มค่า A ในสมการ) ให้มากยิ่งขึ้น ไปอีก ปัญหาการแก้ไข พ.ร.บ. คณะสงฆ์ที่กำลังเป็นข้อถกเถียง และ สร้างความขัดแย้ง ให้กับคณะสงฆ์ไทย ปัจจุบัน ก็มีเหตุมูลฐานมาจาก ความเสื่อมถอย เพราะไม่ถือ ตามพระวินัย ดังที่กล่าวมานี้

ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับที่มหาเถรสมาคม ให้ความเห็นชอบ (ซึ่งมีพระเถระผู้ใหญ่ ของฝ่ายมหานิกาย ให้การ สนับสนุน)นั้น มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่ การถ่ายโอนอำนาจส่วนใหญ่ จากมหาเถรสมาคม ไปอยู่ที่องค์กร ปกครอง คณะสงฆ์หน่วยใหม่ อันคือ "มหาคณิสสร" ที่ประกอบด้วย พระสังฆาธิการรุ่นหนุ่มกว่า เป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครอง คณะสงฆ์อย่างเบ็ดเสร็จ

โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า ปัญหาความเสื่อมต่ำ ของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน เกิดจากโครงสร้าง การปกครอง คณะสงฆ์ ที่อ่อนแอ ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากรวมศูนย์อำนาจการบริหารปกครอง อยู่ในมือกรรมการ มหาเถรสมาคม ไม่กี่ท่าน ซึ่งล้วนแต่ เป็นพระเถระ ที่ชราภาพ จนหมดศักยภาพ ในการทำงานแล้ว เกือบทั้งหมด ทั้งสิ้น การถ่ายโอนอำนาจ ไปสู่พระเถระ ที่หนุ่มแน่นกว่า ในองค์กรมหาคณิสสร จึงน่าจะช่วย ให้เกิด ประสิทธิภาพ ในการบริหารคณะสงฆ์ เพิ่มมากขึ้น

แต่ประสิทธิภาพ ในการบริหาร ที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว ก็คือศักยภาพ ในการใช้อำนาจควบคุม คณะสงฆ์ ที่เพิ่มมาก ขึ้นด้วย อันหมายถึงต้นทุน ทางสังคมในการลิดรอนเสรีภาพของสงฆ์ ที่ถูกปกครอง ซึ่งจะเพิ่ม มากขึ้น เป็นเงาตามตัว

สงฆ์อีกส่วนหนึ่ง ที่เป็นสายพระป่า ในธรรมยุติกนิกาย หวั่นเกรงว่า การรวมศูนย์อำนาจ ปกครองคณะสงฆ์ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยปราศจากหลักประกันใดๆ ว่า อำนาจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว จะถูกใช้ไปในทิศทาง ที่คุกคาม เสรีภาพ ในการประพฤติ ปฏิบัติ พระธรรมวินัย ตามแนวทางที่ตนยึดถือหรือไม่ จึงได้รวมตัวกันเพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับนี้

ถ้าจะอาศัยกรอบความคิดที่กล่าว มาเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. คณะสงฆ์ หัวใจสำคัญ ที่ต้องพิจารณานั้น ไม่ใช่อยู่ที่ การเขียนกฎหมาย เพื่อเพิ่มอำนาจในการบริหารปกครอง คณะสงฆ์ เป็นด้านหลัก (เพิ่มค่า A ในสมการ เพื่อลดค่า P) ไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม แต่อยู่ที่ จะวางมาตรการ ทางกฎหมายอย่างไร เพื่อหาทางทำให้ กิเลสตัณหา อุปาทาน ในโครงสร้างส่วนลึก ของสังคมสงฆ์โดยรวม ลดน้อยลง (ลดค่า W ในสมการ เพื่อลดค่า P) ตามแนวทาง แห่งหลัก พระธรรมวินัย ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น อันคือการสร้างกลไก ที่มีประสิทธิภาพ ในการคัดกรอง บุคคลที่ จะบวชเข้ามา เป็นสมาชิกใหม่ ของสังคมสงฆ์ ตลอดจนสร้างกลไก ในการกดดันให้บุคคลที่มีคุณสมบัติ ไม่ถึงเกณฑ์ ที่จะเป็นภิกษุ เพื่อให้ผู้คน กราบไหว้ ได้พ้นจากการเป็นพระภิกษุ ในพุทธศาสนา

หากมีหลักประกันว่า อำนาจ (ค่า A ในสมการ) ที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว จะถูกใช้ไปในทิศทาง ที่ช่วยลด กิเลสตัณหา อุปาทาน ในโครงสร้างส่วนลึก ของสังคมสงฆ์ (ลดค่า W ในสมการ) ควบคู่ไปด้วย ตามกลไกของระบบ พระธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ ทรงออกแบบไว้ การปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ในทิศทางที่เพิ่มอำนาจ การควบคุม ปกครอง คณะสงฆ์ ให้มากขึ้นนั้น ก็จะไม่มีปัญหาใดๆ

* พุทธพจน์ดังกล่าวปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎกหลายแห่ง โดยพระพุทธองค์ จะตรัสย้ำถึงเจตนารมณ์ ในการบัญญัติ สิกขาบท แต่ละข้อ ว่าเพื่อประโยชน์ ๑๐ ประการ ก่อนที่จะตรา สิกขาบทข้อนั้นๆ

อ่านต่อฉบับหน้า


บทความชุดนี้ตั้งใจจะเขียนขึ้นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของ "อำนาจรัฐ" และชี้ให้เห็นช่องทาง ที่จะเป็น ทางออก จากตรรกะ แห่งความขัดแย้ง ของขุมอำนาจดังกล่าว จากรากฐานทางพุทธปรัชญา อันอาจกล่าวได้ว่า เป็นแนวคิด "เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ"

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๔๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕)