หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

ชีวิตไร้สารพิษ - ล้ อ เ ก วี ย น -
ประโยชน์เยอะตอนเป็น พิษเยอะตอนตาย


เราคงคิดไม่ถึงว่า แบตเตอรี่ขนาดเล็กหรือที่เราเรียกกันว่า "ถ่านไฟฉาย"
ที่เราใช้กับถ่านไฟ นาฬิกา วิทยุเทป แฟลชกล้องถ่ายรูป
ของเล่น รีโมทคอนโทรล เครื่องโกนหนวด ฯลฯ
จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้มากมายถึงเพียงนี้

ถ่านไฟฉายผลิตขึ้นจากวัสดุที่เป็นโลหะหนัก เมื่อใช้จนหมดแล้วก็จะถูกโยนทิ้งลงในกองขยะ ซึ่งจะถูกทิ้ง ทับถมลงในดิน กลายเป็นถ่านไฟฉาย ที่ตายแล้ว ถ่านไฟฉายที่ตายแล้วเหล่านี้ จะปล่อย "สารปรอท และ แคดเมี่ยม" ลงในดิน สารโลหะหนักทั้งสองนี้ จะลอยขึ้นสู่อากาศ เป็นสารพิษ ที่ทำอันตราย ทั้งคนและสัตว์

‘คุณรู้หรือไม่
สารปรอทและแคดเมี่ยมที่ถูกปล่อยออกจากถ่านไฟฉายที่ถูกทิ้งเป็นขยะฝังทับถมในดิน สามารถซึมลง สู่แหล่งน้ำใต้ดิน และลอยขึ้นสู่อากาศได้ ผู้ที่ได้รับสารเหล่านี้ จะสะสมในร่างกาย ทำให้มีอาการ ปวดหัว ง่วงนอน เป็นตะคริว และ สมองอักเสบ

ถ่านไฟฉายส่วนใหญ่ที่เราใช้อยู่เป็น ชนิดเฮฟวี่ ดิวตี้ (Heavy duty) และชนิด อัลคาลายน์ (Alkaline) ที่มีส่วนผสม ของสารปรอท แคดเมี่ยม และเงิน

ในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยใช้ถ่านไฟฉายกว่า สามร้อยล้านก้อน และมีแนวโน้ม จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ก็ลองนึก ดูสิว่า ถ่านไฟฉายที่ตายแล้ว เป็นขยะที่ไม่ย่อยสลาย ซึ่งถูกทิ้งให้รอวัน ปล่อยสารพิษ สู่แหล่งน้ำ อากาศ จะมีปริมาณ มากมายเพียงใด

พลังงานที่ใช้ในการผลิตถ่านไฟฉายนั้น สิ้นเปลือง มากกว่าพลังงาน ที่ตัวมันจ่ายกว่า ๕๐๐ เท่า

‘เราจะทำอย่างไรได้บ้าง
-ลดการใช้ถ่านไฟฉายลง โดยการเลือกใช้ของที่ไม่ต้องใช้ถ่าน เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ เครื่องใช้อื่นๆ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ของเด็กเล่นเป็นเครื่องใช้ ที่กินถ่านมาก ในเวลาอันรวดเร็ว ฉะนั้น ควรหันมา เลือกของเล่น ที่ใช้ไขลานแทนการใช้ถ่านไฟฉาย หันมาใช้ไฟฟ้า กับเครื่องใช้ ภายในบ้าน โดยการใช้ เครื่องแปลงไฟ (Adaptor) แทนการใช้ถ่านไฟฉาย จะประหยัดรายจ่าย มากกว่าด้วย

-เลือกใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ ที่ระบุไม่มีส่วนประกอบของสารปรอท หรือ แคดเมี่ยม (Mrcury + Cadmium) ซึ่งปัจจุบัน มีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้ ออกมาจำหน่ายแล้ว หาซื้อได้ตาม ห้างสรรพสินค้า

-เปลี่ยนมาใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ที่เติมไฟหรือชาร์จไฟได้ (Rechargeable batteries) ซึ่งหาซื้อได้ ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ถึงแม้จะมีราคาแพง (ตัวถ่านขนาด AA หรือขนาดก้อนเล็ก ๘๐-๑๒๐ บาท ตัวเครื่องชาร์จไฟ เครื่องละประมาณ ๕๐๐บาท ในขณะที่ถ่านไฟฉาย ก้อนละ ๕ บาท) แต่สามารถนำไปใช้ ได้ใหม่กว่า ๒๐๐ ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาแล้ว การใช้ต่อครั้ง ของการใช้ถ่านไฟฉาย ที่ชาร์จไฟได้ใหม่ จะถูกกว่ามาก

-อันที่จริงแล้วส่วนประกอบของถ่านไฟฉาย ซึ่งรวมถึงสารปรอท แคดเมี่ยม และเงินจากถ่านไฟฉาย ที่ตายแล้ว สามารถนำ ไปรีไซเคิล ผลิตมาใช้ได้ใหม่ได้ แต่ในปัจจุบัน เรายังไม่มีใคร ที่รวบรวมถ่านไฟฉายเก่า มาผลิตซ้ำ เพราะไม่คุ้มทุน จึงหวังว่าในอนาคต เราสามารถทำได้ ซึ่งหมายถึง การลดขยะถ่านไฟฉาย ลงไปได้มาก ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

โปรดช่วยกันรักษาโลกใบนี้ให้มีอายุยืนยาว อย่างสุขเย็น กันต่อไป เพื่อตัวของท่านเอง และลูกหลานของท่าน และอย่าหลงเชื่อ การโฆษณา ชวนเชื่อ จนลืมดูแลตัวท่านเอง และสภาพแวดล้อม

(ข้อมูลจากวารสาร เกษตรกรรมธรรมชาติ)

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๔๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕)


มองสิ่งแวดล้อมไทย
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม http://www.deqp.go.th
การคัดแยกขยะ
เมื่อใดก็ตามที่เรากำลังทิ้งขยะลงถัง เราเคยคิดแยกขยะก่อนทิ้งเลยหรือไม่ ขยะที่เกิดขึ้นทุกวันกว่า ๓๘,๐๐๐ ตันนี้ สามารถแบ่งเป็นประเภทได้ทั้งสิ้น ๔ ประเภทด้วยกัน คือ ขยะสด ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ในที่สุดแล้ว ขยะทุกชิ้น ที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ที่ต้องช่วยกันแก้ปัญหา ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ได้พยายาม หาหนทาง ในการแก้ไขปัญหา จัดการกับขยะ เพื่อให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม น้อยที่สุด จึงได้มีการคิดค้น วิธีการดังนี้

การ Refuse เป็นการปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ ที่จะเป็นมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม
การ Refill เป็นการเลือกใช้สินค้าชนิดเติม ซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์ที่น้อยชิ้นกว่า
การ Return เป็นการเลือกใช้สินค้า ที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์ กลับไปยังผู้ผลิตได้
การ Repair เป็นการซ่อมแซมเครื่องใช้ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไปอีก ไม่ให้กลายเป็นขยะ
การ Reuse เป็นการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ และ
การ Recycle เป็นการแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บและแปรรูป

นอกจากนี้แล้วก็มีวิธีการอื่นๆ อีกให้เราเลือกใช้เพื่อการกำจัดขยะได้อย่างถูกวิธี ขยะจะล้นเมืองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ เราทุกคน ที่ต้องช่วยกัน เพื่อคนไทย เพื่อสิ่งแวดล้อมไทย

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๔๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕)