หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

ชีวิตไร้สารพิษ * ล้อเกวียน
น้ำหมักชีวภาพคืออะไร (๒)

เกษตรกรควรจะลงมือทำเอง โดยใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น เพราะเหมือนกับต้นไม้ ถ้าเป็นต้นไม้ ในท้องถิ่น เราไม่ต้องประคบประหงม ถ้าเอามาจากที่อื่น ก็จะอยู่ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง นี้ก็เป็นหลัก อันหนึ่ง

จุลินทรีย์ในท้องถิ่นตามธรรมชาติ จะมีความสมดุลในตัวเอง โดยที่มันจะอยู่ได้เอง ถ้าเรา เอาอะไร ที่แปลกปลอมเข้าไป ก็จะไปทำลายสมดุล ในการเลือกพืชมาหมัก เราก็ควร จะเน้นหลัก ของความหลากหลาย ทางชีวภาพ ถ้าเราหมักพืชหลายๆ ชนิด จะได้จุลินทรีย์ ที่มีความ หลากหลายมาก จะเอาไปใช้ประโยชน์ ได้หลายอย่าง

ในการใช้เราต้องสังเกตดูว่า จะทำอย่างไร ให้ต้นไม้เจริญเติบโต ต้นไม้ก็ต้องการ น้ำสะอาด เหมือนกัน และต้องให้น้ำอย่างพอเพียงจุลินทรีย์พวกนี้ต้องการความชื้นสูง คือ ที่ความชื้น ไม่ต่ำกว่า ๖๕ % จุลินทรีย์จะทำงานได้ดี ถ้าต่ำกว่านั้น จะทำงานได้น้อย ต้องคงความชื้น ในระดับนี้ไว้ โดยการหาอะไร มาคลุมดิน

หลักก็คือต้องมีอินทรียวัตถุให้กิน มีน้ำให้พอ แค่นี้ต้นไม้ก็แข็งแรง ไม่มีโรคมากวน

ถ้าเราปล่อยไว้ระบบนิเวศก็จะเข้าสู่ความสมดุลเอง เราต้องใช้นิเวศ เป็นตัวหลัก ให้มองเห็น ภาพรวม ในการทำเกษตร คนส่วนมาก นึกถึงแต่จุดเดียวเท่านั้น คือเอาปุ๋ยใส่ แต่ไม่สนใจว่า ระบบนิเวศ จะเป็นยังไง เมื่อทิ้งเรื่องนี้ไป จึงทำการเกษตร ไม่ได้ผลเท่าที่ควร

*การทำน้ำสกัดชีวภาพ
๑. สับพืชผัก ผลไม้สดทุกส่วนให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ในภาชนะ (พลาสติก, ดินเผา) ที่มีฝาปิด
๒. ใส่กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง หรือขาว ลงไป ๑ ใน ๓ ของน้ำหนักพืชสด (ในอัตราส่วนนี้ ถ้ามีน้ำ สกัดชีวภาพอยู่แล้ว ให้ใส่กากน้ำตาลน้อยลง)
๓. วางของหนักทับพืชสด แล้วปิดฝาไว้ ๕-๗ วัน
๔. จะมีน้ำสีน้ำตาลไหลออกมาคือน้ำสกัดชีวภาพ กรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทพร้อมที่จะใช้

การใช้น้ำสกัดชีวภาพ
น้ำสกัดชีวภาพผสมน้ำธรรมดาทำให้เจือจาง
๑. ฉีดพ่นพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นได้บ่อยครั้งด้วย อัตราส่วน ๑ ชต. ต่อน้ำ ๕-๑๐ ลิตร (๑:๕๐๐)
๒. รดกองใบไม้ใบหญ้าสด แห้ง ในอัตราส่วน ๑ ชต. ต่อน้ำ ๒-๓ ลิตร (๑ : ๒๐๐-๒๕๐) ใช้พลาสติก คลุมกองพืช ปล่อยให้เกิดการย่อยสลาย ๑-๒ สัปดาห์ (เอาไปใช้ ผสมดิน หรือ คลุมดิน บริเวณต้นไม้)
๓. ทำปุ๋ยหมักแห้ง ๒ กก. ใช้น้ำสกัดชีวภาพ อัตรา ๒ ช้อนโต๊ะ ใส่ในปุ๋ยหมักแห้ง ซึ่งบรรจุ อยู่ในถุงพลาสติก ที่ปิดสนิท จำกัดอากาศดูจนปุ๋ยหมักมีราขาวๆ ขึ้น ก็นำมาใช้ได้
๔. รดดินแปลงเพาะปลูกด้วยการพรวนดิน ผสมคลุกเคล้ากับวัชพืช หรือเศษพืช ใช้อัตรา เจือจาง ๑ ชต. น้ำ ๒-๕ ลิตร (๑ : ๒๕๐-๕๐๐)ราดรด ๑ ตรม. : ๐.๕-๑ ลิตร ปล่อยให้เกิด การย่อยสลาย ๓-๗ วัน ก็สามารถปลูกพืช หรือกล้าไม้ได้ ถ้าต้องการ กำจัดวัชพืช พวกมีเมล็ด ควรปล่อย ให้วัชพืช ออกอีกครั้งหนึ่ง จึงพรวนซ้ำ แล้วรดน้ำสกัดชีวภาพ เจือจาง อัตรา ๑ ชต : น้ำ ๑-๕ ลิตร (๑ : ๑๐๐-๕๐๐) ปลูกพืชได้ภายใน๒-๓ วัน
๕. ผสมน้ำสกัดชีวภาพอัตรา ๑ ชต : น้ำ ๑-๕ ลิตร (๑ : ๑๐๐-๕๐๐) ราดพื้นทำความสะอาด จะช่วยย่อย อินทรียวัตถุใ นแอ่งน้ำให้ย่อยสลายลง ทำให้แอ่งน้ำ มีสภาพดีขึ้น
๖. การขยายหัวเชื้อ ทำได้โดยมีอัตราส่วนคือ น้ำสกัดชีวภาพ:กากน้ำตาล:น้ำ ในอัตราส่วน ๑ : ๑ : ๑๐ ใส่ขวดปิดฝา ๓ วันนำไปใช้ได้

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ ใ
นการปรับปรุง บำรุงดิน สามารถผลิตได้ง่าย ใช้เวลาน้อย โดยการนำ เศษวัสดุเหลือใช้ ผสมคลุกเคล้าหมัก รวมกับ แกลบดำ รำละเอียด คลุมด้วยกระสอบป่านใช้เวลา ๓ วัน สามารถนำไปใช้ได้

วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
๑. วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น กากอ้อย, แกลบสด, ขี้เลื่อย, เปลือกถั่วลิสง, ซังข้าวโพด, เปลือกถั่วเขียว, ขุยมะพร้าว, กากถั่วเหลือง ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง
๒. แกลบดำ ๑ ปี๊บ
๓. รำละเอียด ๑ กก.
๔. น้ำสกัดชีวภาพ
๕. กากน้ำตาล

วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
๑. ผสมวัสดุเข้าด้วยกัน
๒. รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพ+กากน้ำตาล (ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้) อัตราส่วน น้ำ ๑๐ ลิตร น้ำสกัดชีวภาพ ๒ ช้อนแกง กากน้ำตาล ๒ ช้อนแกง (จนปุ๋ยชื้นปั้นเป็นก้อนได้ เมื่อแบมือ)
๓. กองปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์มีความหนาประมาณ
๑. คืบ คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ ๓ วัน
๔. ลักษณะปุ๋ยที่ดีจะมีราขาว มีกลิ่นของราหรือเห็ด ไม่ร้อน มีน้ำหนักเบา

วิธีใช้
๑. ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพผสมดิน ในแปลงผักทุกชนิด อัตราปุ๋ย ๑ กก. พื้นที่ ๑ ตรม.
๒. พืชผักอายุเกิน ๒ เดือน เช่นกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง ฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักแห้ง รองก้นหลุม ประมาณ ๑ กำมือ
๓. ไม้ผล ควรรองก้นหลุมด้วยหญ้า ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยหมักแห้ง ประมาณ ๑-๒ บุ้งกี๋ ส่วนไม้ผล ที่ปลูกแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยรอบทรงพุ่ม แล้วคลุมด้วยหญ้า ใบไม้ ฟางแห้ง
การเก็บรักษา
ใส่กระสอบเก็บในที่แห้ง ในร่ม เก็บได้นาน ๑ ปี

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๔๗ ตุลาคม ๒๕๔๕)