หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

คิดคนละขั้ว - แรงรวม ชาวหินฟ้า -

สงครามสงคราม ระหว่างวิทยุนายทุน และ นายเถื่อน ?
(ตอนจบ)

การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในการกอบกู้ชาติอย่างสำคัญ จนได้มีผู้คิดคำขวัญขึ้นมาว่า ชุมชน เข้มแข็ง ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ในทางตรงกันข้าม หากชุมชนอ่อนแอ ประเทศชาติ ล่มสลาย ประชาชน รอวันตาย...รัฐบาลยุคปัจจุบันจึงพยายามทุ่มเทงบประมาณและโครงการต่างๆ เข้าไปเพื่อสร้างชุมชนต่างๆ ให้เข้มแข็ง ขึ้นมา เช่น กองทุนหมู่บ้าน ๑ ล้านบาท ๑ ผลิตภัณฑ์ ๑ ตำบล โครงการพักชำระหนี้ ให้แก่เกษตรกร และโครงการ พัฒนา คุณภาพชีวิต ด้วยการจัดอบรม สัจธรรมชีวิต ให้แก่เกษตรกร ตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นทิศทาง เพื่อจัดสร้างชุมชน ให้เข้มแข็งขึ้นมา

นอกจากนี้รัฐบาลก็ยังมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดมี วิทยุชุมชน เพื่อให้สอดคล้อง กับกฎหมาย รัฐธรรมนูญฉบับ ปฏิรูปการเมือง ที่มุ่งหมายให้มีการปฏิรูปสื่อ ขึ้นมาด้วย แต่การจับมือกัน ระหว่าง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องการรักษา อำนาจของตนเอาไว้ กับกลุ่มนายทุนธุรกิจ ที่ต้องการครอบครอง พื้นที่ของสื่อเอาไว้ในมือ เพื่อโปรโมต นักร้อง นักแสดง ขายเทป วีซีดี บุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ แทบจะคุมกำเนิด วิทยุชุมชน ไม่ให้เกิดขึ้นมาได้ จนมีการกล่าวหาว่า เป็นวิทยุเถื่อน มีการแจ้งจับดำเนินคดี กับสถานี วิทยุชุมชน จังหวัดอ่างทอง และมีข่าว สร้างความสับสน ให้แก่วิทยุชุมชน อีกมากมาย คงต้องมาตั้งหลัก พูดถึงที่มาที่ไป ความหมายของ วิทยุชุมชน และเถื่อน หรือไม่เถื่อนกันแค่ไหน?

ทำไมต้องปฏิรูปสื่อ?
การปฏิรูปสื่อเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการปฏิรูปการเมืองที่ถูกจุดประกายความคิดอย่างจริงจัง ภายหลัง เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อเห็นอย่างชัดเจนว่า สื่ออยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ได้บิดเบือน ข้อมูลข่าวสาร การเคลื่อนไหวของประชาชน เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงมีการกำหนด สาระสำคัญ เกี่ยวกับสิทธิ ด้านการสื่อสารไว้ ในรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๐ โดยจะให้มี การหยุดบทบาทการกำกับการใช้สื่อโดยภาครัฐ มาเป็นองค์ กรอิสระที่เรียกว่า กสช. (คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ) นอกจากนี้ เจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๐ ได้กำหนดสิทธิ ของแต่ละภาคส่วน ซึ่งจะมีผู้ประกอบการ ๓ กลุ่ม คือภาครัฐ (หมายถึง หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ให้ใช้คลื่นวิทยุ เพื่อบริการสาธารณะ ภาคเอกชน ให้ใช้คลื่นวิทยุ
เพื่อ บริการทางธุรกิจ ให้สิทธิของภาครัฐ และภาคเอกชน รวมกัน ๘๐%ส่วนภาคประชาชน ให้ใช้คลื่นวิทยุ เพื่อบริการ ชุมชน ๒๐%

วิทยุชุมชนคืออะไร?
วิทยุชุมชน เป็นสมบัติสาธารณะในชุมชน ที่ให้สิทธิแก่คนในชุมชนได้บริหาร โดยไม่แสวงหา ผลกำไร เป็นช่องทางการ สื่อสาร เพื่อชีวิตของคนในชุมชน และเปิดโอกาส ให้ทุกกลุ่มทุกองค์กร หรือผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน วิทยุชุมชน จึงเปรียบเสมือน บ่อน้ำสาธารณะในหมู่บ้าน ที่ทุกคนทุกครอบครัว มีสิทธิในการ ใช้ประโยชน์ จากบ่อน้ำร่วมกัน แต่เพื่อให้เกิด ความเข้าใจ การใช้ประโยชน์ร่วมกัน ชุมชนมักสร้างกติกา ร่วมกัน ในการใช้ประโยชน์ เช่น อนุญาตให้ใช้เฉพาะ เป็นน้ำดื่มเท่านั้น


ความแตกต่างระหว่างวิทยุชุมชนกับวิทยุกระแสหลัก ดูได้จากตารางเปรียบเทียบดังนี้..........

วิทยุกระแสหลัก
* รัฐเป็นเจ้าของ เอกชนรับช่วงสัมปทาน
* เงินลงทุนสูงประมาณ ๑๐-๒๐ ล้านบาท
- อาคารถาวร
- การผลิตโดยเจ้าหน้าที่ราชการ/เอกชน
- เครื่องส่งขนาดใหญ่ กำลังส่ง ๑ กิโลวัตต์
- ค่าไฟฟ้าประมาณเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
* แสวงหากำไรเชิงธุรกิจ
* นำเสนอเรื่องใหญ่ๆ ไกลตัว
* ชุมชนมีส่วนร่วมยาก เนื้อหากำหนดโดย
เจ้าของรายการ/เจ้าของสถานี
* ผังรายการออกอากาศทั้งวัน
* รัศมีการออกอากาศ ๗๐-๘๐ กิโลเมตร
* รัฐให้ข้อมูลทางเดียว

วิทยุชุมชน
* ชุมชนเป็นเจ้าของ
* ลงทุนน้อยประมาณ ๖๐,๐๐๐ บาทต่อสถานี
- อาคารที่สาธารณะในชุมชน
- ผลิตรายการโดยอาสาสมัครในชุมชน
- เครื่องส่งขนาดเล็กกำลังส่ง ๒๐-๓๐ วัตต์
- ค่าไฟฟ้า เดือนละไม่เกิน ๕๐๐ บาท
* ไม่แสวงหากำไรเชิงธุรกิจ สร้างทุนทางสังคม
* นำเสนอเรื่องตรงใจ ใกล้ตัว
* ชุมชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
* ออกอากาศตามความพร้อม/ตามความต้องการของชุมชน
* รัศมีการออกอากาศ ๑๐-๑๕ กิโลเมตร
* มีการให้ข้อมูลเป็นจริงไม่ปิดกั้น บิดเบือน


วิทยุชุมชนกฎหมายรองรับหรือไม่?
มาตรา ๔๐ ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดไว้ว่า....คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ โทรคมนาคมเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐ ที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ จัดสรร คลื่นความถี่ ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแล ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจกรรมโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย บัญญัติการดำเนินการ ตามวรรคสอง ต้องคำนึง ประโยชน์สูงสุด ของประชาชน ในระดับชาติ และ ระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคง ของรัฐ และ ประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันเสรี อย่างเป็นธรรม.....

ปัญหาวิทยุชุมชนอยู่ที่ไหน?
เนื่องจากกลุ่มทุนสื่อจำนวนหนึ่งจับมือกับภาครัฐ เพื่อร่วมกันกำหนดตัวบุคคลที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งใน กสช. ทำให ้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืน ตามคำพิพากษ าศาลปกครองชั้นต้น ด้วยการยืนยันว่า การสรรหาบุคคล ที่จะมา ดำรงตำแหน่ง กสช. ของคณะกรรมการสรรหาฯ ขัดต่อกฎหมาย ว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง กล่าวคือ คณะกรรมการสรรหาฯ มีสภาพความไม่เป็นกลาง อย่างร้ายแรง อันเนื่องมาจาก กรรมการสรรหาฯ อย่างน้อย ๒ คน มีความสัมพันธ์ ในทางธุรกิจ และสายการบังคับบัญชา อย่างแนบแน่น กับผู้สมัคร กสช. ที่ได้รับการคัดเลือก เข้ารอบ จำนวน ๕ คน

มติครม. พยายามเสนอทางออกของปัญหาดังนี้
...คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ลงมติว่า... คณะรัฐมนตรีเห็นว่า การสรรหา และคัด เลือกกรรมการ กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) และกรรมการ กิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กทช.) คงต้องรอผลการพิจารณา ของศาลปกครองสูงสุด และโดยที่เรื่องนี้ ต้องใช้เวลา อีกระยะหนึ่ง ทำให้มีผลกระทบ ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นอย่างมาก การจัดสรร คลื่นความถี่ และวิธีการในการกำกับ ดูแลการประกอบการ วิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม ต้องชะงัก สมควรมีมาตรการ และหลักเกณฑ์ ชั่วคราวเพื่อ ให้กิจการต่างๆ ดำเนินการไปได้ เพราะขณะนี้ ภาคประชาชน ได้มีการขอใช้ คลื่นความถี่ และมีการเปิดสถานี วิทยุชุมชน มากขึ้น หากมีการห้าม ก็อาจขัดต่อบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยได้ ดังนั้น เพื่อแก้ไข ปัญหาดังกล่าว จึงมอบหมายให้ สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี รับไปศึกษา และกำหนด มาตรการ และหลัก เกณฑ์ชั่วคราว เพื่อควบคุม ดูแลการใช้คลื่นความถี่ ของวิทยุชุมชน และให้กิจการต่างๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดย ไม่เกิดความเสียหายต่อประเทศ แล้วนำเสนอ คณะรัฐมนตรี พิจารณา ต่อไป

แล้วทำไมถึงจับกันได้?
ประธานคณะ กรรมาธิการ การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ทำจดหมายด่วนที่สุดถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เรื่อง การดำเนินคดีกับสถานีวิทยุชุมชน จังหวัดอ่างทอง

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕ มอบหมายให้สำนักงานปลัด สำนักนายก รัฐมนตรี ทำการศึกษา และกำหนดมาตรกา รหลักเกณฑ์ชั่วคราว เพื่อควบคุมดูแล การใช้คลื่นความถี่ ของวิทยุชุมชน และให้กิจการ ต่างๆ สามารถดำเนินการต่อไปได ้โดยไม่ก่อให้เกิด ความเสียหาย ต่อประเทศ ซึ่งสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการแต่งตั้ง คณะทำงาน กำหนดมาตรการ เพื่อควบคุม ดูแล การใช้คลื่นความถี่ ของวิทยุชุมชน และได้มีการ ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๕ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๕ และครั้งที่ ๓ เมื่อ วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ไปแล้วนั้น

ต่อมา ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๕ หัวหน้าสำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นผู้รับ ทราบการดำเนินโครงการ ในการสร้างเครือข่าย วิทยุชุมชน ของจังหวัดอ่างทอง มาตลอด ระยะเวลา ตั้งแต่เริ่มก่อการ จัดตั้งสถานี ตลอดจนดำเนินการ ส่งกระจายเสียงวิทยุ ได้ไปแจ้งเจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วย วิทยุคมนาคมว่า นายเสถียร จันทร ผู้เริ่มก่อตั้ง วิทยุชุมชน จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีหน้าที่ ปฏิบัติงาน ณ จุดปฏิบัติการเรียนรู้ วิทยุชุมชน กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยแจ้งข้อกล่าวหาว่า มีเครื่องส่ง โทรคมนาคม ไว้ในครอบครอง และตั้ง สถานีวิทยุ คมนาคม โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีนายฉัตรชัย นุชนนท์ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่าย สารวัตรวิทยุ โทรคมนาคม กรมไปรษณีย์โทรเลข พร้อมกำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ประมาณ ๒๐ คน เข้าทำการตรวจค้น และจับกุม ขณะนี้ คดีอยู่ระหว่าง การติดตามจับกุมตัว นายเสถียร จันทร ผู้ต้องหา หมายจับของศาล จังหวัดอ่างทอง

คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว มีความเห็นว่า

๑.คณะรัฐมนตรีเคยมีมติในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน โดยมีความประสงค์ ให้วิทยุชุมชน ดำเนินกิจการ ต่อไปได้ และ พิจารณาว่า หากมีการห้าม ก็อาจขัดต่อบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไท ยพุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงมอบหมายให้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการตั้งคณะทำงาน กำหนดมาตรการ และหลักเกณฑ์ชั่วคราว ให้กิจการต่างๆ ของวิทยุชุมชน สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพื่อปกป้อง มิให้เกิด ความเสียหาย ต่อประเทศ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ รู้สึกชื่นชม ต่อมติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าว เป็นอย่างยิ่ง

๒. การพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ของคณะทำงาน กำหนดมาตรการ เพื่อควบคุมดูแล การใช้คลื่นความถี่ ของวิทยุชุมชน ที่ประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ได้พิจารณาแนวทาง ในการส่งเสริม และสนับสนุน กระบวนการจัดตั้ง จุดปฏิบัติการเรียนรู้ วิทยุชุมชน โดยมีมติ กำหนด หลักเกณฑ์ชั่วคราว ในการเตรียมความพร้อม การบริหาร การผลิตรายการ การทดลองออกอากาศ การพัฒนาความรู้ และการมีส่วนร่วม ตลอดจน แนวทางในการจัดตั้ง คณะกรรมการ ดำเนินการ ให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ และ มติคณะรัฐมนตรี ที่กำหนดไว้

๓.จากการรับฟังคำชี้แจงของ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง คณะกรรมาธิการรับทราบว่า กรณีที่จังหวัด มีหนังสือ แจ้งข้อมูลไปยัง อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อขอให้ดำเนินคดี กับผู้เริ่มก่อการ จัดตั้งสถานี วิทยุชุมชน บริเวณ จังหวัดอ่างทอง ทางจังหวัดไม่เคยได้รับทราบ มติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และ หาก รับทราบ คงจะไม่เกิด เหตุการณ์ ดังกล่าวขึ้น ประกอบกับ คณะกรรมาธิการฯ เคยได้รับคำชี้แจง จากผู้แทน อธิบดี กรมประชาสัมพันธ์ ในการสนับสนุน ให้มีการจัดตั้ง จุดปฏิบัติการเรียนรู้ วิทยุชุมชน มาก่อนหน้านี้แล้ว

...คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมสนับสนุน การมีส่วนร่วม ของประชาชน และการพัฒนาประเทศ อันอาจทำให้การเรียนรู้ ในกระบวนการ บริหาร สถานีวิทยุชุมชน ที่กำลังจะเกิดขึ้น ในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินการ เรียนรู้ กระบวนการจัดทำรายการ การเรียนรู้ การจัดทำผังรายการ และการดำเนินรายการ วิทยุชุมชน รวมถึงการทดลอง กำหนดคลื่นความถี่ ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ให้เหมาะสม ซึ่งหน่วยงานของรัฐ ควรให้การสนับสนุน มากกว่าจะกวดขัน จับกุม โดยอ้าง การใช้อำนาจหน้าที่ ตามบทบัญญัติ ของกฎหมายเก่า ที่ล้าสมัย ซึ่งอาจเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ ขัดต่อบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ ที่เป็นกฎหมายสูงสุด และมีผลบังคับใช้แล้ว

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาแจ้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ดำเนินการ ให้เป็นไป ตามนัยของ บทบัญ ญัติขอ งรัฐธรรมนูญ และ มติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ขอได้โปรดพิจารณา ดำเนินการ บรรเทาความเดือดร้อน ให้กับผู้ถูกจับกุม อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงได้รับ ความร่วมมือด้วยดี จาก ฯพณฯ จึงขอกราบขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง


(นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง)
ประธานคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชนวุฒิสภา

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๕๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖)