>เราคิดอะไร

กติกาเมือง - ประคอง เตกฉัตร - ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช

ศาสนสมบัติกลาง

นับตั้งแต่เรามีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขึ้นแยกต่างหาก จากกรมศาสนาจนถึง บัดนี้ เราลองมาพิจารณากัน ด้วยความเป็นกลางว่า เรามีสิ่งใด ที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง หรือเห็นอะไร เป็นความแปลกใหม่ ที่ชี้บอก หรือแสดงให้เห็นว่า องค์กรในทางคณะสงฆ์ และการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา การกำจัดพระภิกษุสามเณร ที่มีความประพฤติ ไม่เรียบร้อย ทั้งการพัฒนาคุณภาพ ของบุคลากร ในคณะสงฆ์ และในองค์กรต่างๆ ของพระ พุทธศาสนา ของเรา รวมทั้งการบริหาร จัดการ ศาสน สมบัติกลาง ว่าได้กระเตื้อง หรือมีสิ่งบ่งชี้ว่า จะมีความ เจริญก้าวหน้า หรือพัฒนาขึ้นบ้าง

ปัจจุบันนี้รัฐบาลพยายามปฏิรูปส่วนราชการต่างๆ มีเป้าหมายที่ชัดเจน การแถลงนโยบาย ก็ดี การปฏิบัติตาม นโยบายก็ดี ล้วนชี้ชัด บ่งบอกเป็นรูปธรรม ชัดเจนว่า สังคมของเรา กำลังจะได้รับ การแก้ปัญหา และมีเป้า หมายที่แน่นอน การตรวจทาน การปฏิรูป หรือผลงานที่ออกมามีตัวเลข สถิติในทางวิชาการ รองรับ แม้สิ่งที่พยายาม จะทำบางอย่าง ไม่สำเร็จบ้าง สำเร็จไม่เต็ม ตาม ความประสงค์บ้าง ก็มีข้อมูล ให้วิจัย ออกมาได้ว่า สาเหตุดังกล่าวนั้น เกิดจากอะไร และ จะต่อสู้กับ อุปสรรคขวากหนามนั้น อย่างไร ในโอกาสต่อไป

แต่เมื่อเรามามองภาพรวมขององค์กรศาสนาทั้งหมดในประเทศในขณะนี้เรามองไม่เห็น ทางที่จะ ดำเนินการ อย่างเช่น ที่รัฐบาล กำลังทำ การบริหารจัดการคณะสงฆ์และศาสนสมบัติ กลางที่เราเห็น อยู่ปัจจุบันนี้ ดังประหนึ่งคน ที่กำลัง เหนื่อยล้า เป็นอย่างยิ่ง และการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่สามารถจะแก้ได้ ครบวงจร การหยิบประเด็นแต่ละประเด็น ขึ้นมาวิเคราะห์วิจัย และหาทาง แก้ไขก็ติดขัด ในประเด็นอื่น เป็นลูกโซ่ ต่อเนื่องกันไป เราขาด ผู้มีความกล้าหาญ ที่มีอำนาจ ที่สามารถ เข้าบริหารจัดการ คณะสงฆ์ และศาสน สมบัติกลาง ได้เช่นเดียวกับทางโลก องค์กรของพระพุทธศาสนา ที่เราจัดตั้ง ขึ้นมาไม่สามารถ สนองตอบ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ในขณะนี้ได้

ศาสนสมบัติกลางปัจจุบันนี้มีทรัพย์สินมากหลายหมื่นล้าน เฉพาะที่ดินทั้งหมดมีอยู่ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ไร่ ส่วนเงินสด ในธนาคารนั้น มีอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท ตามข้อมูลจากการจัดทำ งบประมาณ ประจำปี ของศาสนสมบัติกลาง พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๗/ ๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๕

รายงานจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแจ้งเมื่อ วันที่ ๒๑ เมษายน ปีนี้ว่า กรณีการ บริหารจัดการ ผลประโยชน์ จากการเช่า ที่ดินกว่า ๓๐,๐๐๐ ไร่และอาคารซึ่งเป็นศาสนสบัติกลาง มีรายได้น้อยกว่า ที่ควรจะเป็น เช่นเมื่อปี ๒๕๔๓ มีรายรับ ติดลบ ๕๑ บาท จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีขบวนการเหลือบ แอบแฝงอาศัยประโยชน์ จากศาสนสมบัติกลาง จากการตรวจสอบเอกสาร งบประมาณของ ศาสนสมบัติกลาง ประจำปี ๒๕๔๕ พบว่า การจัดหาประโยชน์ ของทรัพย์สิน ศาสนสมบัติกลาง ในเขต กรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีอัตรา การเช่าค่อนข้างจะถูก ซึ่งในเขต กรุงเทพมหานคร มีทรัพย์สิน ในการจัดประโยชน์ จากการให้เช่าที่ดิน เช่าอาคาร ๕๒ รายการในปี ๒๕๔๓ มีรายรับ เพียง ๑๔.๗๙ ล้านบาท ปี ๒๕๔๔ มีรายรับ ๒๘.๔๙ ล้านบาท และปี ๒๕๔๕ ตั้งยอดไว้ ๒๕.๖๔ ล้านบาท ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า การให้เอกชนเช่าใน ย่านทำเลดีๆ ในเขต กรุงเทพมหานครนั้นราคาถูกมาก อาทิที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๔๗๔ จำนวน ๒๒ ไร่ ใน เขตราชเทวี ให้เอกชนเช่าประมาณ ๑๐ ไร่ ราคาตารางวาละ ๗๘ บาทต่อปี ได้ค่าเช่าประมาณ ๑๓ - ๑๕ ล้านบาทที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๔๓๑ เนื้อที่ ๙ ไร่ในเขตปทุมวัน ได้รับค่าเช่าประมาณ ๓ - ๔ ล้านบาทต่อปี และให้เช่าอา คารตึกแถวคูหา ๖๐๐-๑,๕๐๐ บาท โฉนดที่ดิน ย่านพาหุรัด เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ให้เอกชนเช่าที่ดิน ปลูกสร้าง อาคารพาณิชย์ ๓ คูหา ค่าเช่าปีละ ๗๐,๐๐๐ บาท

นอกจากนี้ยังมีที่ดินแขวงทุ่งมหาเมฆเขตสาทร ให้เอกชนเช่าสร้างอาคารพาณิชย์กว่า ๑๐๐ คูหา ค่าเช่าปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท และยังเป็นที่น่าสังเกตว่าการเช่าที่ดินของบริษัทเอกชน บางราย มีราคาถูกมาก อย่างการ เช่าที่ดินศาสนสมบัติ ศาสนสมบัติกลางวัดแม้นเขียน เขตบางกะปิ ของบริษัท กรุงเทพอาคาร จำกัด จำนวน ๕ ไร่ ๒๗ ตารางวา เสียค่าเช่า ตารางวาละ ๑๕๐ บาท ต่อเดือน และ ค่าเช่าอาคาร ๑๕๕ คูหา เสียค่าเช่า คูหาละ ๙๐บาทต่อเดือน

สำหรับการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติกลางในเขตภูมิภาคมีจำนวน ๑๓,๗๒๔ ไร่ ใน ๕๗ จังหวัด โดย ในปี ๒๕๔๓ มีรายรับประมาณ ๒๗.๖ ล้านบาท ปี ๒๕๔๔ มีประมาณ ๓๐.๙๐ ล้านบาท ซึ่งราย ได้ ต่อปีของ แต่ละจังหวัด ค่อนข้างมี จำนวนน้อย เมื่อเทียบจำนวนเนื้อที่ดินให้เช่า เช่นที่จังหวัด จันทบุรี ให้เอกชนเช่า ๖๐ ไร่ ค่าเช่าต่อปี ๒๒,๒๑๓.๕๔ บาท จังหวัดชุมพร เอกชนเช่า๑๖๘ ไร่ ได้ค่าเช่า ๑๐๐,๘๙๖ บาท จังหวัดเชียงใหม่ ให้เอกชนและราชการ เช่า ๗๓๐ ไร่ ค่าเช่าต่อปี ๑.๙๗ ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา ให้เอกชน และราชการเช่า ๖๔ ไร่ ค่าเช่าต่อปี ๒๘๑,๑๗๕ บาท จังหวัด นนทบุรี ให้เอกชนเช่าและราชการเช่า ๓๐๔ ไร่ ค่าเช่าต่อปี ๘๕๑,๐๑๖ บาท จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้ราชการ ๒๘ ไร่ ค่าเช่าต่อปี ๗๑,๕๐๗ บาทจังหวัดปทุมธานี ให้เอกชนเช่า ๑๕๗ ไร่ ค่าเช่าต่อปี ๕๘๒,๐๕๓ บาท จังหวัดพระนครศร-อยุธยา เอกชนและราชการเช่า ๓,๔๑๘ ไร่ค่าเช่า ต่อปี ๓.๒ ล้านบาท จังหวัดพิจิตร เอกชนเช่า ๑๐๗ ไร่ ค่าเช่า ๑๙,๐๘๔ บาท จังหวัดเพชรบูรณ์เอกชนและราชการ เช่า ๓๕๙ ไร่ ค่าเช่าต่อปี ๖๐๑,๗๑๖ บาท และ จังหวัดสุรินทร์ เอกชนเช่า ๕๗ ไร่ ค่าเช่าต่อปี ๒๒,๐๐๐ บาท

จากกรณีคณะกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย มีมติปลดนายบัณฑูร ล่ำซำ กรรม การผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)ออกจากตำแหน่งประธานกรรมการผู้จัดการ และกรรมการ บริหารฝ่าย คฤหัสถ์ของมูลนิธิมหามกุฏ ราชวิทยาลัย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ ๒๕๔๖ ที่ผ่านมานั้น เป็นสิ่งที่บอก ได้ชัดเจนว่า การบริหาร ศาสนสมบัติกลางมีปัญหาหรือไม่ แม้มูลนิธิจะ เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก แต่การบริหาร ศาสนสมบัติกลาง ก็อยู่ในสภาพเดียวกัน ตำแหน่งนี้ เดิมเป็นของ นายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ และต่อมา ดำรงตำแหน่ง ประธานบริษัทปูนซีเมนต์ไทย นายบัณฑูร เคยให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชนว่า เมื่อรับตำแหน่งแล้ว จึงทราบถึง ความซับซ้อน และไม่มีระบบ อย่างจงใจหรือไม่ก็ตาม ของบัญชีทรัพย์สิน ยังผลให้งบ การเงินของมูลนิธิ ไม่มีกำไรติดต่อกันมา หลายปี อย่างไม่น่าเป็นไปได้ นับแต่ เข้ารับตำแหน่ง ดูเหมือนว่า นายบัณฑูร จะพยายาม เข้าไปรับรู้ ความไม่ชอบมาพากล ในมูลนิธิ จึงได้พูดคุยกับ สื่อมวลชน มูลนิธิดังกล่าวนี้ ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๕ นับถึงวันนี้มีอายุ ๑๐๘ ปี ทรัพย์สินที่ บริจาค เป็นที่ดิน และเงินสด สำหรับที่ดินนั้น มูลค่าประมาณ ๘,๐๐๐ ล้านบาท วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งมูลนิธิ ก็เพื่อหา ผลประโยชน์ ที่เหมาะสม บำรุงการศึกษา ทางด้าน พระพุทธศาสนา หน้าที่ของนายบัณฑูร ก็ต้องพิทักษ์ รักษาทรัพย์สิน ทั้งหมด เพื่อการนี้ของมูลนิธิ มูลนิธิมีรายได้ จากดอกเบี้ย ของเงิน ฝากประจำ จากสถาบันการเงิน และรายได้จาก การเช่า ที่ ดินและห้องแถว ซึ่งเป็นทรัพย์สิน ของมูลนิธิ แต่ปัญหา วุ่นวายเกิดขึ้น โดยเฉพาะ ที่ดินย่าน บางลำพู ปมหลัก ของความขัดแย้ง ในการจัดการระบบค่าเช่าใหม่ ทำให้ผู้ที่ได้ ประโยชน์ เดิมไม่พอใจ โดยเฉพาะห้องเช่า แถวบางลำภูนั้นใน ราคาท้องตลาด เช่ากันเดือนละ ๔๐,๐๐๐ บาท แต่มูลนิธิ ให้เช่า ในราคาเพียง ๓,๐๐๐ บาท กระแสต่อต้านนายบัณฑูร จึงทวี ความรุนแรงขึ้น เป็นระยะ ตลอดเวลา ๒ ปี ที่ดำรงตำแหน่ง และสุดท้าย ที่ประชุมคณะกรรมการ ได้มีมติปลด นายบัณฑูร ล่ำซำ ออกจากคณะกรรมการที่ดิน ของมูลนิธิ เช่น ที่ดินย่านติดถนนตะนาว บางลำภูฝั่งซ้าย เสียค่าเช่า อยู่เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ด้านติดถนน สิบ สามห้าง เดือนละ ๑,๒๐๐ บาท ถึง ๔,๘๐๐ บาท ด้านติด ถนนประชาธิปไตย เสียค่าเช่า เดือนละ ๑,๕๐๐ บาทต่อเดือน ส่วนด้าน ติดถนนดินสอ และพระสุเมร ถึงดินสอเดือนละ ๙๐๐ บาท ต่อเดือนเป็น ต้น ซึ่งผู้ที่ออกมาต่อต้าน อ้างแต่ว่า นายบัณฑูร รังแกคนจน นำที่ดินดังกล่าวไปให้ นายทุนเช่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เช่าบางราย ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ในที่ดิน ดังกล่าว ด้วยตนเอง กลับนำไปให้เช่าต่อ ได้ผลประโยชน์ อีกมหาศาล

การเสนอตั้งคณะกรรมการปรับเกณฑ์ผลประโยชน์ของศาสนสมบัติกลางนั้น ผู้อำนวย การสำนักงาน ศาสนสมบัติกลาง ได้ชงเรื่องให้ มหาเถรสมาคม ตั้งคณะกรรมการ ปรับปรุงหลักเกณฑ์ การจัดเก็บ ผลประโยชน์ศาสนสมบัติกลาง หลังงานวิจัย ที่ได้ดำเนินการแล้วว่า มีเจ้าหน้าที่ ตุกติก ไม่โปร่งใส เมื่อวัน ที่ ๒๒ เมษายนที่ผ่านมา สำนักงาน พระพุทธศาสนา แห่งชาติ ได้เปิดเผยถึงการวิจัย เรื่องการศึกษา การจัดทำประโยชน์ ของศาสนสมบัติ ซึ่งการวิจัย ดังกล่าวนั้น ได้กระทำโดยนายสมาน จิตต์ภิรมย์รื่น อดีตอธิบดีกรมการศาสนา พ.อ.ดร. วีระ วงศ์สันต์ จากกองบัญชาการ ทหารสูงสุด และนางสาวศรีสมร พุ่มสะอาด ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ โดยมีการศึกษา จากการแจก แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ศึกษาธิการ จังหวัด ซึ่งดูแลผลประโยชน์ ของศาสน สมบัติกลาง ในแต่ละจังหวัด ศาสนการ เจ้าอาวาส และผู้เช่า ในหลายจังหวัด

สรุปผลวิจัยว่าการจัดประโยชน์ของศาสนสมบัติของวัดและศาสนสมบัติกลาง ยังไม่มี ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล อย่างชัดเจน การจัดเก็บรายได้จากการจัดสรรประโยชน์ได้เพียงร้อยละ ๖๐ เนื่องจาก สาเหตุ ต่างๆ รวมไปถึงสาเหตุ ความไม่น่าไว้วางใจ ในพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ได้มี การเสนอ ให้กรมศาสนา ในขณะนั้น เข้ามาแก้ไข ปัญหา โดยเร็ว โดยเฉพาะการเข้มงวดลงโทษ ต่อผู้ที่ทุจริต รวมทั้ง ยังให้เสนอ ให้มีการปรับปรุงเกณฑ์ ในการจัดสรร ผลประโยชน์ ของศาสนสมบัติกลาง เสีย ใหม่ทั้งหมด

ผู้เขียนเห็นว่าการแก้ไขปัญหาศาสนสมบัติกลางนี้ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่ สามารถจะ เข้าไป จัดการได้ แม้แต่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันนี้ จะมีความตั้งใจสูงยิ่ง ก็ไม่อาจแก้ไขได้ เพราะมีผลประโยชน์ มหาศาล ผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่างติดยึด อยู่กับผลประโยชน์เป็นเวลานานรัฐบาลต้องเข้ามาจัดการและ ดำเนิน การปฏิรูปองค์กร ของพระพุทธศาสนา และกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆให้เรียบร้อย บางทีอาจจะต้อง เปลี่ยนแปลง ทั้งระบบหรือถึง ขั้นวางรูปแบบ การปกครอง คณะสงฆ์ใหม่หมด ก็ต้องยอมเจ็บปวดกันบ้าง

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๕๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖)