ข้าพเจ้าคดอะไร - สมณะโพธิรักษ์ -


กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรมของผู้ปฏิบัติก็เป็นกุศล หรือสะสมผลก้าวหน้ายิ่งขึ้น (อธิ) ไปตาม ความสามารถแห่งตน

เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติศีลจริง ด้านกายและด้านวาจาก็จะเห็นได้ว่า ผู้นั้นมีการงดเว้นบาปสมาจาร พยายาม ไม่ทำบาปตามศีลที่สมาทานนั้นๆ นั่นเป็นส่วนของภายนอก พร้อมกันนั้นภายในคือ"มโน" หรือ "จิตใจ" ที่เป็นส่วนสำคัญ ก็จะได้รับการปฏิบัติไปด้วย ไม่แยกกันเลย เพราะใจเป็นใหญ่หรือเป็นประธาน ของทุกๆสิ่ง (มโนปุพพังคมา ธัมมาฯ) เมื่อปฏิบัติได้เป็น"สัมมามรรค ทั้ง ๗"นี่แหละ "จิต"ก็จะเจริญขึ้นเป็น "อธิจิต" ไปตามลำดับ สั่งสมลงเป็น"สัมมาสมาธิ-สัมมาญาณ-สัมมาวิมุติ" โดยไม่ต้องปลีกเวลาไป อบรมจิต เอาอีก ต่างหาก "ปัญญา" ก็จะเจริญขึ้นเป็น "ปัญญินทรีย์-ปัญญาพละ"เป็นที่สุด เพราะ จักรกลแห่ง "องค์ธรรม ๖" ของสัมมาทิฏฐิ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๘ ก็จะทำหน้าที่ของ "ไตรสิกขา" ปฏิสัมพัทธ์กันและกันพัฒนาสู่ความเจริญ

ผู้ที่"สมาทานศีล"แล้วก็ต้องปฏิบัติให้เกิดเป็น"ศีลสัมปทา"ให้ได้ตาม"จรณะ" ข้อที่ ๑ การปฏิบัติ ก็คือ ประพฤติ"จรณะ" ข้อ ๒-๓-๔ ต่อๆไป ได้แก่ "สำรวมอินทรีย์ ๖-โภชเนมัตตัญญุตา-ชาคริยานุโยคะ" อันเป็น "อปัณณกปฏิปทา ๓" (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดไปจากแนวทางพุทธ)

การปฏิบัติของพุทธ ก็คือ ไตรสิกขา จรณะ ๑๕ มรรค องค์ ๘ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ฯลฯ ก็ใช่ทั้งนั้น

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติใดถ้าไม่มี"สัมมาทิฏฐิ" นำมาไปก่อน การปฏิบัตินั้นก็เป็นอันผิดทาง และมีแต่ จะเฉห่าง ออกจากความเป็นพุทธไปมากขึ้นๆๆๆ

[มีต่อฉบับหน้า]

- เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๗๖ เดือน มีนาคม ๒๕๔๘ -