สิบห้านาที กับพ่อท่าน โดย ทีม สมอ. ตอน...
ปีใหม่อโศก'36
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 158 เดือนมกราคม 2536
ฉบับ "ปีใหม่อโศก'36"

อะไรเอ่ย...ไม่ต้องส่ง ก็ไป ไม่ต้องรับ ก็มา?

รู้คำตอบกันแล้วใช่ไหมคะ

แต่ใครๆ ก็มักจะพูดกันว่า "ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่" อยู่นั่นเอง

เอ้า...รับ ก็รับ แม้ว่ารับแล้ว เราจะต้องแก่ไปอีก ๑ ปี ก็ตาม

สวัสดีปีไก่ค่ะ เอ้ก-อี๊-เอ้ก-เอ้ก!

ว่าแล้วเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ เรา ก็มาคุย กับพ่อท่านถึงบรรยากาศงานปีใหม่’๓๖ ที่ปฐมอโศกกันเลยดีกว่านะคะ

: พ่อท่านว่างานปีใหม่ที่ผ่านมานี้ เป็นอย่างไรบ้างคะ?

: บรรยากาศปีใหม่ปีนี้ดี ดีมาก ดีกว่าที่เคยทำมาทุกปี ปีนี้พัฒนาขึ้นไป ความเรียบร้อย ของสถานที่ ความพร้อม ของสถานที่ ความลงตัว ของคนทำงาน ทุกอย่างดูดีขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าจะมีปัญหาบ้าง ก็คืองานมันกว้างขึ้น มากขึ้น ใหญ่ขึ้น คนมากขึ้น การรับรอง ก็หนักขึ้น แรงงานเรา ก็เท่านั้นเอง คนที่จะช่วยเสริม ก็น้อย ก็เมื่อยกันเลย ขาดแรงงาน ส่วนในเรื่อง ของวัตถุ ไม่มีปัญหา มีเพียงพอทีเดียว พูดโดยรวมแล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ

: มีข้อเสียบ้างไหมคะ?

: ข้อเสียไม่มี มี แต่ส่วนรั่ว ส่วนบกพร่องนิดหน่อยๆ มีบ้าง ข้อเสียไม่เห็นนะ แม้ แต่คนข้างนอกมาขาย ของอยู่รอบนอก ก็สะอาดขึ้นกว่า แต่ก่อน แม้จะรกกว่าข้างใน ก็จริงอยู่ เขา ก็ทิ้งขว้างกันบ้าง แต่ ก็สะอาดขึ้น ดีขึ้น มีพัฒนาการ ไม่เลอะเทอะเหมือนก่อนๆ ที่กองอิเหละเขละขละ

ของที่มาขายมาแซมมาปน แม้จะมีเนื้อสัตว์ มีน้ำอัดลม มีอะไรต่ออะไรบ้าง ก็ไม่ถึงขั้นมอมเมาอะไรนัก

: รู้สึกจะมาแซมมากขึ้นนะคะ

: มีมากขึ้นด้วยรอบนอก ซึ่งเรา ก็ต้องให้เขา แม้ แต่คนที่เขามีที่มีทางอยู่ข้างๆ ที่เรา เขา ก็ใช้ที่เขาบริการ หรือ แม้ แต่มาเอาที่เราไปใช้ด้วยซ้ำไป อย่างที่ข้างหน้า ของเรา เขา ก็ทำเป็นที่รับฝากมอเตอร์ไซค์ ก็มีคนมาถามเหมือนกันว่า มันเป็นที่ ของเรา หรือ เปล่า ทำไมให้เขาทำ ซึ่ง ก็ใช่ ที่ถนนข้างตึกที่มีรั้วออกมานั่นแหละ ตรงนั้นเขาติดป้ายรับฝากมอเตอร์ไซค์ อาตมา ก็มองในแง่ดีว่า ก็ดีซิ มอเตอร์ไซค์จะได้จอดเป็นที่เป็นทาง จะได้รวมกลุ่มกันอยู่ เขามาทำบริการ เอาค่าบริการ ก็ให้เขาบ้าง แม้จะเป็นที่ ของเรา ก็ตาม ไม่ต้องไปหวงแหนอะไร แรงงานเราเอง ก็ไม่ค่อยจะมีอยู่แล้ว

: การที่มีอาหารเนื้อสัตว์มาขาย แม้จะเป็นบริเวณรอบนอก แต่อีกหน่อยจะไม่ลามเข้ามา หรือ คะ?

: ก็ดูกันบ้าง ที่ปากทาง ถ้าเขาตั้งห่างออกไปหน่อย ก็พอได้ เรา ก็ต้องรู้จักมี มนุษยสัมพันธ์บ้าง ในจุดเชื่อม ในจุดที่พออนุโลมเขาบ้าง หรือ บอกเขาว่าที่นี่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ถ้าคุณจะขาย ก็ขอให้ไปตรงโน้นหน่อยเถอะ ก็ขอร้องกันได้

จริงๆ แล้วถนนนี่เป็น ของเรา เป็นถนนส่วนบุคคล คือเป็นที่ดิน ของเราในโฉนด ของเรา ตั้ง แต่ที่นา ๙ ไร่ เป็นที่ดิน ของเราทั้งหมด มาถึงถนนเข้าวัดนี่ส่วนหนึ่ง แม้ แต่สามแยกข้างหน้าทาวน์เฮ้าส์ ก็ถือว่าเป็น ของเรา

การที่เขามาขายอาหารเนื้อสัตว์ เขาเอง ก็ไม่มีทางเลือก เขาทำได้อย่างนี้ เขาทำ

อาหารเจไม่เป็น แล้ว ก็ไม่เต็มใจทำด้วย เขาไม่ถนัด เรา ก็ต้องเข้าใจ ไม่เช่นนั้น เราเองจะแข็งเกินไป ไม่มีเพื่อน ไม่มีจุดเชื่อม ถ้าอีกหน่อยขายไม่ดี เขา ก็เลิกไปเอง ไม่มีเหล้ามียาขาย เนื้อสัตว์ไม่ดีหรอก

คนที่มางานนี้ เขา ก็มีสำนึก มากินเจกัน คนส่วนใหญ่ ก็กินเจ จะมี ก็คนข้างนอกที่หิวโหยมา ก็มีไม่ถึงหนึ่งในสาม แล้ว ก็ไม่ได้กินทั้งหมด อย่าไปกังวลนัก เราเปิดโอกาสให้เขาบ้าง อีกหน่อยเขาอาจจะปรับมาขายขนม ขาย ของที่เป็นเจ ขายอะไรที่เข้า กับเราได้มากขึ้น ก็ได้

: วัตถุประสงค์ ในการทำตลาดอาริยะ คืออะไรคะ?

: ให้รู้จักการค้าการขาย ให้เข้าใจว่าการค้าการขายนี่น่ะ ถ้าเราขายต่ำกว่าทุนได้ นี่คือหลักการ ของความเป็นจริง จริงๆ เลย อาตมาขอย้ำยืนยันเลยว่า ประเด็นนี้แหละเป็นปมหลักสำคัญที่สุด ที่จะต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจน และ อาตมาพยายามขยายทฤษฎีกำไรขาดทุน ของอาริยชน ทุกวันนี้เขาไม่ฟัง หรือ ฟังไม่ไหว เพราะเขาเข้าใจ แต่ทฤษฎีทุนนิยมมาตั้งไม่รู้กี่หมื่นปีแล้ว ทฤษฎีที่เขาจะผลิตอะไรออกมา ก็แล้ว แต่ ที่เขาคิดราคาทุนไว้หมดแล้ว แล้วเมื่อขายไป เขา ก็ต้องเอาค่าผลิตคืนมา ค่า ของมัน ทุน ของมันนี่ เขาเอาคืนมาหมด แล้วเขา ก็ยังหลงตัวเอง ว่าเขามีประโยชน์ต่อสังคม ทั้งๆ ทุกวันนี้ การคิดราคาทุนนี่ เผื่อไว้แม้ แต่ค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็น ที่อาจขาดตก บกพร่อง เขา ก็คิดไว้หมด แล้ว ก็ยังต้องขายเกินกว่านั้นซ้ำเสียอีก

ที่จริงไม่ต้องขายเกินหรอก แค่เขาเอาแค่เท่าทุนกลับมาหมด เขา ก็ไม่มีประโยชน์ต่อสังคมแล้ว เพราะเขาสร้างสิ่งหนึ่งขึ้นมาให้คนได้ใช้ แล้วเอาค่ามันคืนมาหมดแล้ว แล้วจะมาขี้ตู่ว่าฉันมีประโยชน์ต่อสังคม ได้สร้างสิ่งนี้ให้สังคมใช้ จริงๆ แล้วคุณเอาค่ามันคืนมาหมดแล้วใช่ไหม? เพราะฉะนั้น ก็คือเขาไม่มีค่าอะไรให้สังคม นอกจากไม่มีค่าแล้ว ยังบวกเกินค่านั้นด้วย ยังรีดสังคมด้วย แล้วเขา ก็เรียกอันนั้นว่า "กำไร" แล้ว ก็ชื่นชม กับความเป็นหนี้ตามสัจจะ ของเขา นี่ไม่เรียกว่า "สุจริต" มัน "ทุจริต" แล้ว

นั่นคือความเข้าใจที่ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากำลังมาสอน สัมมาทิฏฐิ ให้รู้ว่า ถ้าทุน ๑

หมื่น ขายให้เขาไป คุณต้องเอามาน้อยกว่าหมื่น คุณ ก็ยังจะเหลือส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเขาบ้าง น้อยกว่า ๑ ก็มีประโยชน์แค่ ๑ น้อยกว่า ๑๐๐ ก็มีประโยชน์ ๑๐๐ น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ก็มีประโยชน์เป็นพัน

ค่าแรงงาน ของตัวเอง ก็เหมือนกัน สมมติว่าคุณควรจะได้ค่าแรงงานวันละ ๑๐๐ บาท เสร็จแล้วคุณ ก็เอาคืนมาหมด คุณ ก็จะเอาค่าอะไรเหลือล่ะ คุณเอามันมาหมดแล้ว คุณ ก็ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม ไม่มีประโยชน์ต่อใครเลย ฉันเดียวกัน และ ส่วนมาก ก็คิดค่าแรงเกินความจริง ได้มากเท่าไร ก็จะเอาเท่านั้น ยิ่งค่าตัวมาก ก็ยิ่งคิดว่ามันเป็น กำไร ที่จริงอย่างนั้นต้องเรียกว่า ค่าตัวลดลงนะ คุณค่าประโยชน์ ของตนลดลง เพราะตัวเองทำลายคุณค่านั้นด้วยการเอาคืนมาเกินด้วย แถมยังเป็นหนี้สังคมมากขึ้นเรื่อยๆ คิดง่ายๆ ก็คือ คุณได้ค่าแรงจากนายทุน นายทุน ก็ต้องไปขูดรีดต่อ เขา ก็ต้องบวกไปในราคาทุนใช่ไหม เขา ก็ไปขูดรีดต่อจากสังคมขึ้นมาอีก ทุกอย่างมันมีผลถึงกันหมด

นี่คือระบบทุนนิยมที่มันทำให้สังคมล้มเหลวมานานแล้ว แต่เขาไม่เข้าใจสัจจะอันนี้ เมื่อไม่เข้าใจสัจจะ ก็ไม่มีทางแก้ไขปัญหาสังคมได้

ตลาดอาริยะนี่ เราจะมาพิสูจน์ว่า การขายต่ำกว่าทุนได้ คือคุณค่า ของคนประเสริฐ เป็นคนมีคุณค่าต่อสังคม ต่อโลก ความจริงบทนี้แหละสำคัญที่สุด ตลาดอาริยะนี่แหละที่จะเป็นเนื้อหาแกนหลัก ของงานปีใหม่ ของเรา ซึ่งเราทำได้แล้ว ขอให้จริงใจ เสียสละให้จริง อย่ามีเลศเล่ห์ซับซ้อน ลดลงต่ำกว่าทุนมากเท่าไร ก็เป็นบุญมากเท่านั้น

คนนอกที่ยังไม่เข้าใจ เรา ก็พยายามคัดออกๆ ให้ได้คนในที่เข้าใจมาช่วยกันอุดหนุน ช่วยกันสร้างตลาดอาริยะขึ้นมาให้ได้จริงๆ คนนอกมานี่ยาก แฝงแน่ๆ เขาใจไม่ถึงหรอก เขามาลดอะไรมากยังไม่ได้ แถมยังมีวิธีการ เทคนิค ที่จะแฝงซ้อน ปลอมแปลงขึ้นมา เช่นมาขายผ้า บอกว่ามาขายต่ำกว่าทุน แต่เสื้อผ้ามันมีหลายอย่าง เราไม่รู้ละเอียดเลย เขาว่าทุน ๓๐ นะ ฉันขาย ๒๘ ก็ต่ำกว่าทุนแล้ว แต่หลายตัวที่ปนอยู่ไม่ใช่ราคา ๓๐ หรอก มัน ๒๐ เอง อะไรอย่างนี้ เป็นต้น แล้ว ก็มีอย่างอื่นอีก ที่เราไม่อาจไปทราบราคาจริงได้ เพราะฉะนั้น คนข้างนอกที่จะมาค้าขายในตลาด อาริยะ เรา ก็จะพยายาม ไม่รับให้มากขึ้น และ คนข้างในต้องช่วยกันสร้างขึ้นมา ใครทำได้ ก็เป็นการเสียสละ ของเขาจริงๆ สร้างเรา ก็ได้บุญ สร้างความจริง สร้างระบบ ถึงแม้ปีหนึ่งจะทำได้หนเดียวเรา ก็ทำ ทำให้มันเป็นรูปแบบ เป็นผลที่จะสะท้อนสู่สังคม

เขาเข้าใจกันมากขึ้นนะ รู้กันมากขึ้นว่างานปีใหม่ ของปฐมอโศก มันมีตลาดอาริยะ อย่างนี้

: ในฐานะเราเป็นผู้ขายนี่ เรารู้ว่าเราทำเพื่ออะไร แต่ผู้ซื้อล่ะคะ

: ผู้ซื้อช่างเขา อย่างน้อยเขา ก็มารับซับทราบว่า ในโลกนี้มีความจริงใจจริงๆ นะ มี ของถูกจริงๆ มีคนขายต่ำกว่าทุนจริงได้ แล้ว ก็ไม่ใช่มีร้านเดียวด้วย มีตั้งหลายสิบร้าน

: มีคนมาตั้งข้อสังเกตว่า อโศกทำอย่างนี้ถูก หรือ มาทำให้คนเขาโลภมากขึ้น คือเขามองลักษณะคนมาแย่งกันซื้อน่ะค่ะ

: ถึงแม้ว่าเราเองไม่ทำอย่างนี้ในครั้งคราว ในปีหนึ่งทำครั้งหนึ่งนี่ แล้วเขาโลภอยู่ หรือ เปล่าล่ะ เขา ก็โลภอยู่แล้ว แต่เขารู้บ้างมั้ยว่า มีคนสามารถมาเสียสละให้เขา เมื่อเขารู้อย่างนี้ แล้วมันทวนมันแย้ง มันเปรียบเทียบกันได้บ้างมั้ยล่ะ คนมี สำนึก เขาจะสำนึกมั้ยล่ะ

อย่างน้อยเขา ก็รู้ว่า ที่นี่แหละขายถูก ขายต่ำกว่าทุน ไอ้แรงโลภนั่นน่ะ มัน ก็โลภ แต่ไหนๆ แล้วละ ถ้ามัว แต่คิดย้อนแย้งอย่างนั้น ก็ไม่ต้องทำอะไรกันพอดี ไม่มีผู้รับ ไม่มีผู้ให้ ก็เหมือนพระไปรับบิณฑบาต ก็โลภซี มาเอาฟรีด้วยนะ แล้วเมื่อไหร่คุณจะได้ทานล่ะ พระเป็นผู้โลภน้อยลง ก็ควรทาน หรือ คนอื่นข้างนอกแม้เขายังโลภอยู่ ก็ควรทานให้เขา บริจาคให้เขา ถ้ามัว แต่กลัวเขาจะขี้โลภ แล้วคุณจะทำอะไรได้ในโลก ไม่มีทางได้ทำงาน ไม่มีทางได้เสียสละ ทุกอย่างมัน ก็มีขอบเขต มีจังหวะเวลาที่เหมาะสม

คิดได้ จะคิดอย่างนั้น ก็คิดได้ ก็ถูก ทำให้คนโลภขึ้น ถ้าจะมองอย่างนั้น แต่มัน ก็มีตัวอื่นยืนยันเหมือนกันว่า มีการเสียสละเหมือนกัน เรา ก็ทำรูป ของการเสียสละให้ชัดเจน ยิ่งในตลาดอาริยะ มีรูปแบบ ของการเสียสละแน่นเท่าไร ก็ยิ่งเป็นอำนาจ เป็นฤทธิ์แรงที่ทำให้คนอื่นเขารู้สึก แล้ว ก็สำนึกที่จะไม่แสดงความขี้โลภจัดจ้าน มีมารยาทที่จะสำรวมบ้าง

ซึ่ง ก็เห็นอยู่ว่ามีสำนึกกันมากขึ้น ให้เข้าคิว ให้ต่อแถว เขา ก็ทำกันได้เรียบร้อย ไม่ถึง กับแย่งชิงอะไรน่าเกลียด ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ได้อะไรดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกอย่างต้องอาศัยเวลา แล้ว ก็ค่อยๆ ปรับกัน

ขนาดที่พวกเราทำ บาป แล้วใครทำบุญ ก็ลองถามเขาซิ พวกคุณทำบุญอย่างพวกเรา หรือ เปล่า คุณมองเอาความซับซ้อนขึ้นมาว่า คุณจะเอาบาปละเอียดมาตีเรา บาปต่ำๆ คุณยังไม่เลิกเลย มันไม่ถูกหรอก อย่าเพิ่งมาตู่เรา เพราะเราทำนี่มีขั้นตอน มีปัญญา มีศรัทธา และ ความกล้าที่จะทำ

: พ่อท่านคะ ปีใหม่ เราควรจะเริ่มต้นชีวิตใหม่อย่างไรคะ?

: เรา ก็พยายามตั้งใจใหม่ ตั้งใจจริงๆ อธิษฐาน ตื่นเช้าขึ้นมาเรา ก็ตั้งใจให้หนักแน่น ให้มั่นคง ว่าโอกาสข้างหน้า ชั่วโมงข้างหน้า หรือ ตลอดวัน ตลอดอาทิตย์ ตลอดเดือน หรือ ตลอดปี ๒๕๓๖ นี้ เรามีปมมีประเด็น มีแง่อะไรที่เราเห็นว่า เราควรจะทำให้มันสำเร็จ หรือ ให้ดีขึ้น ในจุดไหน ประเด็นไหน ก็ตั้งใจขึ้นมาจริงๆ แล้ว ก็มีสติสัมปชัญญะทำตามความตั้งใจนั้นให้ได้ พากเพียรอุตสาหะวิริยะ ปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น หรือ มีสิ่งบกพร่องที่จะต้องเลิกละแก้ไขให้ได้ ก็ต้องเลิกละให้ได้จริงๆ

นี่เป็นโครงสร้าง หรือ เป็นทฤษฎีหลักๆ ส่วนในรายละเอียด ของใคร ของใคร ก็ตรวจตรากันเอาเอง

: พ่อท่านมีขุมทรัพย์อะไรจะแจกในปีใหม่นี้ไหมคะ

: ก็แจกกันมาตลอด แจกจนไม่รู้จะเอาทรัพย์อะไรมาแจกแล้ว ก็วนเวียนอยู่ในหลักการเก่า คือ ละชั่ว ประพฤติดี อย่าไปทำบาปเลย ทำกุศลให้ถึงพร้อมเสมอๆ ล้างกิเลสให้จิตบริสุทธิ์ผ่องใส หลักการ ของพระพุทธเจ้าไม่มีใหม่กว่านี่หรอก แต่ขยายจากอันนี้แหละ ดี คืออะไร ชั่ว คืออะไร บอกแล้วว่า "ความดีมีละเอียด ความเกลียดมีละก่อน" ก็เป็นประเด็นที่อาตมาพยายามหาหลัก วิธี หรือ เคล็ดวิชามาให้พวกเราได้พิจารณา อ่าน แล้ว ก็ทำ เพื่อให้เกิดความเป็นไป มีชั่วอะไร ก็ละ มีดีอะไร ก็ทำให้แข็งแรง ให้มั่นคง ให้ยิ่งขึ้นไป ไม่มีจบ

ดีไม่มีจบ แต่ชั่วนี่มีจบ คือ ละได้สนิท ไม่ทำเลย หยุดได้เด็ดขาด แต่ดีนี่ไม่มีจบ ตราบที่คุณยังมีชีวิต มีวัฏสงสาร มีภพมีชาติต่อไป คุณต้องยังไว้ให้หนาแน่น ให้แข็งแรง เพราะดี ก็ไม่เที่ยง ไม่คงทน ชั่ว ก็ไม่เที่ยง ไม่คงทน

เพราะฉะนั้น ต้องเติมดีไว้ในทุกขณะที่เรายังมีพลังงาน แม้เติมมัน ก็ยังเสื่อมด้วยกาลเวลา ด้วยคนทำลาย ด้วยอะไรต่างๆ นานา ก็ต้องทำ

ส่วนชั่วนั้น ของใคร ใคร ก็ต้องรับผิดชอบ ทำให้มันหมด มันดับไปเลย แล้วไม่ต้องไปเติม ไม่ต้องไปต่อ

เมื่อชั่วไม่มี หรือ ชั่วน้อย แต่ดีมาก เรา ก็อยู่ได้ดีในสังคมแล้วนี่

ค่ะ ก็คงจบบทสนทนาในวาระปีใหม่ไว้ แต่เพียงเท่านี้

ย้ำอีกครั้ง ต้อง "ชั่วไม่มี แล้วดีมาก" นะคะ ไม่ใช่ "ชั่วไม่มี ดีไม่ปรากฏ" อย่าง

ทางโลกเขาเอาไป ๑ ขั้น แต่นั่นคือความเสื่อมต่ำในทางธรรมหลายขั้นเลยเชียว

ปีไก่ อย่าเป็น "ไก่ได้พลอย" เลยนะคะ

end of column
 

๑๕ นาที กับพ่อท่าน ปีใหม่อโศก ‘๓๖ (อันดับ ๑๕๘ สารอโศก มกราคม ๒๕๓๖)