สารอโศก อันดับ ๒๔๑ ตุลาคม ๒๕๔๔
 


มหาปวารณา'๔๔ ครั้งที่ ๒๐





ตามประเพณีของชาวอโศก หลังจากออกพรรษาแล้ว สมณะจากพุทธสถาน และสังฆสถานต่างๆ จะมาประชุมร่วมกัน ปวารณาออกพรรษา ซึ่งตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นต้นมา ได้เลื่อนวันมหาปวารณา มาอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ ๗ พ.ย. ของทุกปี โดยเอาวันบวชของพ่อท่านผนวกมาอยู่ด้วยกัน เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อพ่อท่าน ผู้ให้กำเนิดหมู่กลุ่มชาวอโศก ซึ่งในปีนี้ กำหนดเอาวันที่ ๔-๘ พ.ย. ๒๕๔๔

สำหรับสองวันแรก เป็นวันประชุมของ สมณะทั้งหมด ๑๐๓ รูป ขาดไป ๑ รูปคือ สมณะกระบี่บุญ มนาโป ซึ่งอาพาธ พักรักษาตัวอยู่ที่เกาะสมุย

เป้าหมายของการประชุม เพื่อให้หมู่สมณะมีโอกาส ได้ชี้ข้อบกพร่องซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ในหมู่สงฆ์ชาวอโศก นอกจากนี้ เป็นการทบทวนการทำงาน ในรอบปีที่ผ่านมา กำหนดวางหลักเกณฑ์ และเป้าหมาย การทำงาน ในปีต่อไป เพื่อให้สอดคล้อง กับสภาวะความเป็นจริงของสังคม

ในปีนี้มีแนวโน้มว่า ชาวอโศกทุกพุทธสถาน ทุกชุมชน และเครือข่าย ต้องเร่งรัดพัฒนาตัวเอง เพื่อเตรียมตัว ต้อนรับญาติมิตร จากทั่วประเทศ ที่จะมารับการอบรม และดูแบบอย่าง การดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ดีงามของพวกเรา ซึ่งพ่อท่านก็ได้ให้โศลกธรรม สอดคล้องกับความจริง ของหมู่เราไว้ว่า
"เคี่ยวเราเพื่อเอามิตร ผลิตผลเผื่อคนอีกหลาย ขวนขวายงานแบบสานหมู่"

นอกจากการประชุมสัมมนารวมสมณะทั้งหมดแล้ว ยังมีการประชุมย่อยต่างหาก แยกพรรษาต่างๆด้วย เช่น สมณะมัชฌิมะ ๕-๙ พรรษา สมณะเถระล่าง ๑๐-๑๔ พรรษา สมณะเถระบน ๑๕-๑๙ พรรษา และ สมณะมหาเถระ ตั้งแต่ ๒๐ พรรษาขึ้นไป โดยเฉพาะสมณะมหาเถระ ประชุมกันถึง ๓ ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการกลุ่ม เกิดความแน่นแฟ้น สามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อช่วยกันเข็นกงล้อ พระธรรมจักร ให้เป็นที่พึ่ง ของพุทธศาสนิกชน อย่างแท้จริง

สาระที่น่าสนใจจากการประชุม
สมณะกระบี่บุญจะย้ายจากเกาะสมุย มาพักรักษาตัวอยู่ที่ราชธานีอโศก

พระอาคันตุกะ ที่มาอยู่ร่วมศึกษากับพวกเรา จะอยู่ได้ไม่เกิน ๑ ปี หากครบ ๑ ปีแล้ว ต้องออกไป ๑ เดือน จึงจะกลับมาพัก อยู่กับเราได้อีก

ได้ยกชุมชนหินผาฟ้าน้ำ ขึ้นเป็นสังฆสถานหินผาฟ้าน้ำ ในวันที่ ๔ พ.ย. ๒๕๔๔ เวลา ๑๙.๑๓ น.

พุทธสถานศาลีอโศก และพุทธสถานสีมาอโศก จะมีสิกขมาตุไปอยู่ประจำ

สมณะป่วยแห่งปี มี ๕ รูป ๑.สมณะกรรมกร กุสโล ๒.สมณะกระบี่บุญ มนาโป ๓.สมณะมั่นแจ้ง พุทธชาโต ๔.สมณะน่านฟ้า สุขฌาโน ๕.สมณะเบิกบาน ธัมมนิยโม

ปัจฉาสมณะของพ่อท่าน ๑.สมณะแน่วแน่ สีลวัณโณ ๒.สมณะชัดแจ้ง วิจักขโณ
ปัจฉาฯ ของสมณะเดินดิน ติกขวีโร คือ สมณะฟ้าไท สมชาติโก
ปัจฉาฯ ของสมณะบินบน ถิรจิตโต คือ สมณะโพธิสิทธิ์ โพธิสิทโธ
ปัจฉาฯ ของสมณะกระบี่บุญ มนาโป คือ สมณะใจเด็ด จิตตคุโณ
ปัจฉาฯ ของสมณะผืนฟ้า อนุตตโร คือ สมณะหินกลั่น ปาสาณเลโข
ปัจฉาฯ ของสมณะเสียงศีล ชาตวโร คือ สมณะจากภูผาฟ้าน้ำ ซึ่งอาจารย์จะจัดลูกศิษย์หมุนเวียนมาให้
ปัจฉาฯ ของสมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ คือ สมณะดาวดิน ปฐวัตโต

สมณะ สามเณร สิกขมาตุที่ลงอารามต่างๆ
พุทธสถานสันติอโศก
๑.สมณะพิสุทธิ์ พิสุทโธ ๒.สมณะเมืองแก้ว ติสสวโร ๓.สมณะกอบชัย ธัมมาวุโธ ๔.สมณะฝุ่นฟ้า อัคคชโย ๕.สมณะชนะผี ชิตมาโร ๖.สมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ ๗.สมณะซาบซึ้ง สิริเตโช ๘.สมณะเบิกบาน ธัมมนิยโม ๙.สมณะหม่อน มุทุกันโต ๑๐.สมณะนึกนบ ฉันทโส ๑๑.สมณะกล้าจริง ตถภาโว ๑๒.สมณะร้อยดาว ปัญญาวุฑโฒ ๑๓.สมณะกล้าตาย ปพโล ๑๔.สมณะดาวดิน ปฐวัตโต ๑๕.สมณะตรงมั่น อุชุจาโร สามเณรฟ้าแสง นาวาบุญนิยม

สิกขมาตุจิตรา แซ่ลี้ สิกขมาตุสุพร วรรณาบุตร สิกขมาตุสดใส อโศกตระกูล สิกขมาตุบุญจริง พุทธพงษ์อโศก สิกขมาตุฝนเย็น อโศกตระกูล สิกขมาตุพูนเพียร ชาวหินฟ้า สิกขมาตุมาลินี โภคาพันธ์ สิกขมาตุผาแก้ว ชาวหินฟ้า

พุทธสถานปฐมอโศก
๑.สมณะกรรมกร กุสโล ๒.สมณะเสียงศีล ชาตวโร ๓.สมณะมั่นแจ้ง พุทธชาโต ๔.สมณะแดนเดิม พรหมจริโย ๕.สมณะคิดถูก ทิฏฐุชุกัมโม ๖.สมณะอ้วน อภิมันโต ๗.สมณะพันธ์ พหุลีกโต ๘.สมณะลือคม ธัมมกิตติโก ๙.สมณะมองตน เมตตจิตโต ๑๐.สมณะเด่นตะวัน นรวีโร ๑๑.สมณะนาไท อิสสรชโน ๑๒.สมณะบินก้าว อิทธิภาโว ๑๓.สมณะข้าฟ้า ฐานรโต ๑๔.สมณะพันเมือง ภทันโต

สิกขมาตุผุสดี สะอาดวงศ์ สิกขมาตุอ่านตน อโศกตระกูล สิกขมาตุบุญแท้ ปลาทอง สิกขมาตุรินฟ้า นาวาบุญนิยม สิกขมาตุมนทิพย์ เรืองศรี

พุทธสถานราชธานีอโศก
๑.สมณะเดินดิน ติกขวีโร ๒.สมณะกระบี่บุญ มนาโป ๓.สมณะถ่องแท้ วินยธโร ๔.สมณะเลื่อนลั่น ปาตุภูโต ๕.สมณะหินแก่น นมวังโส ๖.สมณะฟ้าไท สมชาติโก ๗.สมณะผิว พาลสุริโย ๘.สมณะชาติดิน ชัญโญ
๙.สมณะเทินธรรม จิรัสโส ๑๐.สมณะคมคิด ทันตภาโว ๑๑.สมณะแก่นเกล้า สารกโร ๑๒.สมณะถนอมคูณ คุณกิตตโณ ๑๓.สมณะดินไท ธานิโย ๑๔.สมณะใจเด็ด จิตตคุโณ ๑๕.สมณะชุ่มบุญ กิตติปาโล สามเณรกระบี่ฟ้า นาวาบุญนิยม

สิกขมาตุกล้าข้ามฝัน อโศกตระกูล สิกขมาตุต้นข้าว อโศกตระกูล สิกขมาตุสร้างฝัน อโศกตระกูล

พุทธสถาน ศรีษะอโศก
๑.สมณะดินดี สันตจิตโต ๒.สมณะผืนฟ้า อนุตตโร ๓.สมณะก้อนดิน เสฏฐพโล ๔.สมณะร่มเมือง ยุทธวโร ๕.สมณะดวงดี ฐิตปุญโญ ๖.สมณะหินกลั่น ปาสาณเลโข ๗.สมณะดินธรรม สิทธิธัมโม ๘.สมณะร่มบุญ ฉัตตปุญโญ ๙.สมณะลั่นผา สุชาติโก

สิกขมาตุ จินดา ตั้งเผ่า สิกขมาตุทองพราย ชาวหินฟ้า สิกขมาตุใจขวัญ เบญจโศภิษฐ์

พุทธสถานศาลีอโศก
๑.สมณะณรงค์ ชินธโร ๒.สมณะกำแพงพุทธ สุพโล ๓.สมณะเน้นแก่น พลานีโก ๔.สมณะผองไท รตนปุญโญ ๕.สมณะสมชาย ตันติปาโล ๖.สมณะดงดิน สุนทโร ๗.สมณะฝนธรรม พุทธกุโร ๘.สมณะดินทอง นครวโร ๙.สมณะหนักแน่น ขันติพโล

สิกขมาตุมาบรรจบ เถระวงศ์ สิกขมาตุหยาดพลี อโศกตระกูล สิกขมาตุเป็นหญิง อโศกตระกูล สิกขมาตุเทียนคำเพชร อโศกตระกูล

พุทธสถานสีมาอโศก
๑.สมณะเด็ดขาด จิตตสันโต ๒.สมณะพอแล้ว สมาหิโต ๓.สมณะน่านฟ้า สุขฌาโน ๔.สมณะสร้างไท ปณีโต ๕.สมณะแก่นเมือง เกตุมาลโก ๖.สมณะแจ้งจริง อมโล ๗.สมณะก้อนหิน โชติปาสาโณ ๘.สมณะนานุ่ม กัสสโก ๙.สมณะมือมั่น ปูรณกโร

สิกขมาตุปราณี ธาตุหินฟ้า สิกขมาตุพึงพร้อม นาวาบุญนิยม สิกขมาตุนวลนิ่ม ชาวหินฟ้า

พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ
๑.อาจารย์หนึ่ง สมณะบินบน ถิรจิตโต ๒.อาจารยสอง สมณะเก้าก้าว สรณีโย ๓.สมณะสู้ซื่อ หสิโต ๔.สมณะเลื่อนฟ้า สัจจเปโม ๕.สมณะลานบุญ วชิโร ๖.สมณะโพธิสิทธิ์ โพธิสิทโธ ๗.สมณะถึกไท ชยวัฑฒโน ๘.สมณะหินมั่น สีลาปากาโร ๙.สมณะหินเพชร ธัมมธีโร ๑๐.สมณะตะกายธรรม ลักขิตธัมโม ๑๑.สมณะธรรมทาบฟ้า รวิวัณโณ ๑๒.สมณะเห็นทุกข์ ยตินทริโย ๑๓.สมณะแก่นหล้า วัฑฒโน ๑๔.สมณะแรงพุทธ สตโก ๑๕.สมณะวิเชียร วิชโย ๑๖.สมณะฟ้ารู้ นโภคโต ๑๗.สมณะหนึ่งดี สุยิฏโฐ ๑๘.สมณะเด็ดแท้ วิเสสโก ๑๙.สมณะพอจริง สัจจาสโภ ๒๐.สมณะธาตุดิน ปฐวีรโส ๒๑.สมณะถักบุญ อาจิตปุญโญ

สังฆสถาน ทักษิณอโศก
๑.สมณะทำดี อโสโก ๒.สมณะเลื่อนลิ่ว อรณชีโว ๓.สมณะกล้าดี เตชพหุชโน ๔.สมณะดงเย็น สีติภูโต

สังฆสถาน หินผาฟ้าน้ำ
๑.สมณะกลางดิน โสรัจโจ ๒.สมณะคำจริง วจีคุตโต ๓.สมณะแก่นผา สารุปโป ๔.สมณะนาทอง สิงคีวัณโณ

๕ พ.ย. ตอนบ่าย มีรายการเวทีชาวบ้าน โดยอาจารย์ สุขุม อัตตวาวุฒิชัย มาถ่ายทำชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนปฐมอโศก มีคุณแก่นฟ้า แสนเมือง เป็นตัวแทนของชาวอโศกออกรายการนี้

๖ พ.ย. พ่อท่านนำทำวัตรเช้า และเทศน์ก่อนฉัน ได้เตือนพวกเราให้ระวังเรื่องกลิ่นตัว พ่อท่านชมพวกเราเทศน์ได้ดี เทศน์ได้เก่งขึ้น แต่ไม่ค่อยเทศน์ธรรมะเบื้องต้น เทศน์แต่เรื่องสูงๆ ควรจะเทศน์เรื่อง กิน อยู่ หลับนอน สำหรับคนใหม่ๆ

การอบรม ธ.ก.ส. ที่ผ่านมา ๓๓ รุ่นได้ผลดี ผู้เข้ารับการอบรม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิต ลดละ อบายมุข ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

พ่อท่านให้ระวังเรื่อง ๓ ส. คือ สตรี สตางค์ และสังฆเภท หากพวกเราสามารถปฏิบัติได้ ก็จะนำพาพุทธศาสนา ยั่งยืนไปถึง ห้าพันปี

บ่าย มีรายการอภิปรายเรื่องพลังงานทดแทน

๗ พ.ย. ทำวัตรเช้าโดย สมณะดินธรรม และสม.กล้าข้ามฝัน มาช่วยตอกย้ำ ให้พวกเราเอาภาระงาน ของหมู่กลุ่ม ให้มากขึ้น เพราะพ่อท่านอายุมากแล้ว คงจะอยู่กับพวกเราอีกไม่นาน หากเราไม่รีบขวนขวายตอนนี้ ถึงเวลาพ่อท่านจาก พวกเราไปแล้ว จะต้องเสียใจภายหลัง

ก่อนฉันพ่อท่านแสดงธรรม พ่อท่านรู้ธรรมะของพระพุทธเจ้า มาหลายชาติแล้ว และพยายาม ทำตามพระพุทธเจ้า แม้ยากก็ลองดู และรู้ว่าการสอนคนให้ลดละกิเลสนั้น เป็นเรื่องยาก แล้วอธิบาย ลักษณะชุมชนเข้มแข็ง ๑๔ ข้อ คือ
๑.เป็นสังคมที่เห็นได้ชัดถึงลักษณะของคนมีศีล มีคุณธรรม มีอาริยธรรม
๒.เป็นสังคมที่สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระผู้อื่น
๓.มีงานที่เป็นสัมมาอาชีพ มีกิจกรรมเป็นสาระที่มั่นคง
๔.ขยัน สร้างสรร ขวนขวาย กระตือรือร้น
๕.อยู่กันอย่างผาสุก สุขภาพแข็งแรง จิตใจเบิกบานร่าเริง
๖.ไม่ฟุ้งเฟ้อ แต่รุ่งเรืองฟุ้งเฟื่อง ไม่ผลาญพร่าสุรุ่ยสุร่าย
๗.มีความประณีต ประหยัด แต่เอื้อเฟื้อ สะพัดแจกจ่าย
๘.ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีอบายมุข ไม่มีทุจริตกรรม
๙.มีความพร้อมเพรียง สามัคคี อบอุ่น เป็นเอกภาพ
๑๐.สัมผัสได้ในความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ของความเป็นกลุ่มก้อนภราดร
๑๑.มีความแข็งแรง มั่นคง ยืนหยัด ยั่งยืน
๑๒.เป็นสังคมที่สร้าง "ทุนทางสังคม" มีประโยชน์คุณค่าต่อผู้อื่น และสังคมทั่วไปในรอบกว้าง
๑๓.อุดมสมบูรณ์ แต่ไม่สะสม หรือกอบโกย
๑๔.มีน้ำใจ ไม่เอาเปรียบ เสียสละอย่างเป็นสุข และเห็นคุณค่าของคนตามสัจธรรม

หลังจากพ่อท่านแสดงธรรมจบแล้ว ดร.วิชัย รูปขำดี และคณะได้มาสรุปผลการวิจัย การปฏิบัติธรรม ของชาวอโศก ให้ทราบทั่วถึงกัน

บ่าย พ่อท่านเปิดศาลาเจาะวิจัย และพัฒนาการแปรรูปสมุนไพร ประชุมสรุปการทำงาน การอบรมลูกหนี้ ธ.ก.ส. ของเครือข่าย ชาวอโศกทั่วประเทศ ประชุมเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ

บ่าย ๔ โมงเย็น มีการบรรพชาสามเณรใต้ดาว รักษ์ชาติบุญนิยม

๘ พ.ย. ทำวัตรเช้า พ่อท่านได้ขยายอธิบาย สัมมาทิฏฐิ ๑๐ โดยละเอียด และสรุปว่า คนที่สมบูรณ์แบบต้องขยัน สร้างสรร เสียสละ และต้องเรียนรู้ให้จริง ว่าเรายึดติดกับอะไร

หลังทำวัตรเช้า ประชุมร่วม ธ.ก.ส. สจส. คกร. โครงการพัฒนาคุณภาพ และศักยภาพเกษตรกร ตามนโยบาย พักหนี้ เกษตรกร รายย่อย ๓ ปี นำทีมโดย ผู้จัดการใหญ่ และรองผู้จัดการ ธนาคารเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริหาร ของธนาคารอีก ๑๐ กว่าคน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ๓ ท่าน ก็มาประสานงาน เกี่ยวกับโครงการ ผักปลอดสารพิษ ที่จะใช้กับคนไข้ของ ร.พ. สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ๙๒ แห่งทั่วประเทศ

ช่วงก่อนฉัน จัดงานรำลึกถึงยายคำปูน หรือ เหมือนคำ แม่พระของชาวปฐมอโศก ผู้ซึ่งได้สร้างความดีไว้มากมาย ยากที่ชาวอโศก จะลืมเลือน โดยมีสมณะ สิกขมาตุ และชาวชุมชน มาร่วมกันรำลึก กันคับคั่ง รวมทั้งเด็กๆ นิสิต สัมมาสิกขาลัยวังชีวิต มาร่วมรำลึกถึง ก้อนข้าวเหนียว และส้มตำ ที่โยมคำปูนได้ชุบเลี้ยงมา รำลึกไป น้ำตาแห่งความอาลัย ก็พรั่งพรูออกมา และสัญญาว่า จะเป็นคนดี สืบทอดเจตนารมณ์ ของยายคำปูน

ช่วงบ่าย ประชุมสิกขมาตุ แม้สิกขมาตุทั้งหมด ๒๖ รูป จะมีน้อย แต่ก็รับแบกภาระมากขึ้น โดยได้จัดสรรกัน ไปประจำเพิ่ม ที่พุทธสถานศาลีอโศก และสีมาอโศก

ในช่วงเย็นของวันที่ ๕-๖-๗ มีรายการแสดงบนเวทีธรรมชาติ ซึ่งก็เป็นเรื่องปาฏิหาริย์ เพราะก่อนวันมหาปวารณา ฝนจะตก ช่วงค่ำทุกวัน แต่ถึงวันงาน เทวดาคงจะมีเมตตา หยุดให้พวกเรา แต่ละพุทธสถาน ได้แสดงรื่นเริงกัน อย่างเต็มที่บนเวที

ในงานนี้ได้แจกหนังสือการก่อตั้ง "ชุมชนปฐมอโศก ครบรอบ ๒๐ ปี " และยังมีการฉายวิดีทัศน์ การกำเนิด ชุมชนปฐมอโศก ตั้งแต่ต้น จนถึงปัจจุบัน

สรุปสุดท้ายงานมหาปวารณา ครั้งที่ ๒๐ นี้ พ่อท่านให้พวกเรา พยายามรักษาประเพณี มหาปวารณานี้ ให้ต่อเนื่อง แม้ในอนาคต พ่อท่านไม่อยู่แล้ว จะมีสมณะเป็นพัน เป็นหมื่น ก็ขอให้ทำต่อไป เพราะเป็นงาน ที่มีคุณค่ามหาศาล ต่อพุทธศาสนา

พ่อท่านให้พวกเราเอาภาระเด็กๆ กันให้มากขึ้น บ่มเพาะเมล็ดเอาไว้ จะเห็นผลในอนาคต พวกเราอาจจะเหนื่อย จะหนักบ้าง และการถักทอจิตวิญญาณนี้ สำคัญมาก แม้ยากก็ต้องทำ

สุดท้ายพ่อท่านขอให้พวกเราระวังเรื่องอัตตามานะ พยายามลดละ อัตตามานะ ลงมาให้ได้ จะได้เป็นประโยชน์ตน และ ประโยชน์ท่าน และพวกเรา จะได้พ้นทุกข์เร็วหน่อย

สมณะดินทอง


 
สารอโศก อันดับ ๒๔๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ หน้า ๔ - ๑๗