เดินตามรอยพ่อ ตอน...
ชีวิตคนเราก็เท่านี้

หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 232
ฉบับเดือนมกราคม 2544
หน้า 1/1


คนเอ๋ยคนเราก็เท่านี้
ไม่เห็นมีสิ่งควรให้ชวนติด
กินกามเกียรติหากว่าใครแม้ได้คิด
ตนเพียรวางล้างอามิส จิตพ้นเวร

เมื่อรำลึกย้อนอดีต ที่ผ่านมา ก็ยังอด ที่จะขำตัวเองไม่ได้ แปลกใจ และ ก็ทึ่งตัวเอง จากคน ที่ไม่รู้เดียงสา ไม่มีความรู้เกี่ยวกับธรรมะ ชีวิต ที่เป็นอยู่ดำรงอยู่ ซึ่งต้องดิ้นรนใช้ชีวิตตามความเคยชิน ที่อยากได้ อยากร่ำรวย และ อยากเป็นใหญ่เป็นโต จึงห่างไกลกับคำว่า “นักปฏิบัติธรรม”

สมัยนั้น คิดเป็นจริงเป็นจังว่า เป้าหมายในชีวิตแบบโลกีย์นี้แหละเราจะต้องมุ่งมั่นไปให้ถึง เป็นให้ได้ และ ต้องเอามาครอบครองให้ได้ จึงไม่สนใจเรื่องบาปเรื่องเวรเรื่องกรรมใดๆ เท่าไหร่นัก มุ่งคิด แต่สิ่ง ที่จะต้องได้มาอย่างเดียว โดยไม่ได้คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม

แม้ว่าด้วยจิตสำนึกลึกๆ อาจมีอยู่บ้าง ในเรื่องเวรเรื่องกรรม แต่ความทะยานอยากมีมากกว่า และ มีเหตุผลต่างๆ นานา ที่จะกล้าทำบาปสร้างเวรภัยให้ตัวเอง โดยไม่รู้ว่าผลกรรม ที่จะตามมา ส่งผลให้ชะตากรรมชีวิตต้องสุขๆ ทุกข์ๆ มีความเดือดร้อนลำเค็ญ ว้าวุ่น และ สับสนด้วยวิบากต่างๆ อย่างไม่มีพุทธปัญญาเลย จึงทำให้ไร้ทางออก ที่ดีๆ ที่เป็นบุญกุศลให้กับตัวเอง

นับว่ายังเป็นความโชคดี และ พอมีบุญอยู่บ้าง ที่ได้มีโอกาสพบ และ ฟังคำบรรยายธรรมะ ของพ่อท่านโพธิรักษ์ โดยไม่ได้ตั้งใจมาก่อน หรือ เรียกว่าบังเอิญ เพราะถูกบังคับให้ต้องไปฟังธรรมในชั่วโมงเรียนวิชาธรรมวิทยา ซึ่งเป็นวิชาบังคับ ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคเรียน ที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๒๒ ซึ่งตอนนั้น เป็นนิสิตปี ๑

พอได้ฟังธรรม รู้สึกสะดุดใจ และ ได้ฉุกคิดมากขึ้น เริ่มเห็นคุณค่า และ รู้จักพระแท้ๆ มากยิ่งขึ้น จากความรู้สึก ที่ไม่เคยได้สัมผัส และ เห็นพระเป็นเพียงแค่บุคคล ที่ทำหน้าที่แค่บิณฑบาต และ ทำพิธีกรรมต่างๆ ของพุทธวัฒนธรรมในประเทศไทยเท่านั้น จึงทำให้ชีวิตคนปุถุชนไม่สนใจ ไม่ใส่ใจเรื่อง ของพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นใดๆ จึงทำให้คนทั่วไป ไม่เห็นความสำคัญ ที่จะต้องติดตาม แสวงหาสิ่งดีๆ ในการแก้ปัญหา ในชีวิต ของแวดวงศาสนา

จากวัน ที่ได้ฟังธรรมในวันนั้น ได้จุดประกายให้ชีวิตได้สำนึก และ รู้สึก ที่จะต้องขยัน และ เร่งแสวงหาความหมาย ของชีวิต ที่ดีๆ เป้าหมายชีวิต ที่เป็นสัจธรรม เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และ ผู้อื่น ชีวิตคนเราเกิดมาทำไม? ชีวิตเกิดมา เพื่อ อะไรกัน? ชีวิต ที่เราดำเนินอยู่ทุกๆ วันมันใช่สาระแล้ว หรือ ? แล้ว เวลา ที่เหลืออยู่จะทำอะไร?

หลังจากนั้น ได้เริ่มแสวงหาค้นหาคำตอบ ของชีวิต คำตอบ ที่ไม่ใช่ เพื่อ สนองตัวตนภายนอก แต่เป็นการแสวงหาทางออก ของจิตวิญญาณ ทางออกแห่งการพ้นทุกข์ ทุกข์ ที่ต้องดิ้นรนแสวงหา อยากมีลาภ อยากมียศ อยากรวย อยากได้คำยกย่องสรรเสริญ อยากไม่มี ที่สิ้นสุด จึงได้ค้นคว้าอ่านตำรา ฟังการบรรยายธรรมจากหลายๆ ที่หลายๆ ท่าน ทำให้รู้ว่าชีวิตมีทางออก ทางออก ที่ประเสริฐสูงสุด

จนกระทั่งปลายปี พ.ศ.๒๕๒๒ ได้ไปร่วมงาน “แด่น้องผู้หิวโหย” ที่กระทรวงยุติธรรม ได้ยินญาติธรรมพูดคุยกันในงานว่า การทานอาหารมังสวิรัติเป็นการปฏิบัติธรรมได้ฟังแล้ว อยากจะเป็นอย่างเขาเหล่านั้น (นักปฏิบัติธรรม) เพราะมีความรู้สึกว่า คนเหล่านี้มีความสุขสงบ และ ไม่เดือดร้อนวุ่นวายใจ มีความเป็นตัว ของตัวเอง ไม่วุ่นวายไหลตามกระแส ของสังคมโลก จึงทำให้อยากลองตั้งใจฝึกทำดู เริ่มด้วยการเลิกทานอาหารเนื้อสัตว์ในชีวิตปกติ แต่ยังไม่รู้จักศีล ยังไม่รักษาศีล เพียง แต่เริ่มด้วยการงดกินเนื้อสัตว์เท่านั้น

ชีวิตก็ยังดิ้นรนอย่างปุถุชนคนธรรมดา แม้ว่าจะมีหลักยึดดีๆ มากขึ้นก็ตาม ยังมีความเดือดร้อนลำเค็ญอย่างไร้ทางออกหลายๆ เรื่อง เพราะไร้มิตรดี สหายดี และ สังคมสิ่งแวดล้อมดี

เมื่อมีปัญหา จึงไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใคร และ เป็นคนขี้อายไม่กล้า ที่จะบอกใครว่า เราทานอาหารมังสวิรัติ อาจเพราะเราไม่อยากโต้เถียงกับใครด้วย จึงทำให้ไม่กล้า

ปี ๒๕๒๔ ได้ติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์บ้าง ตามดูบ้างเกี่ยวกับสันติอโศก และ สมณะโพธิรักษ์ ซึ่งเป็นสำนักสงฆ์ ที่แตกต่างจากวัดวาอารามทั่วๆ ไป จึงสนใจอยากรู้ อยากติดตาม อยากไปสัมผัสได้ จึงได้ไปคุยกับรุ่นพี่ ที่เขาเคยไปสันติอโศก ในยุคนั้น สันติอโศกเป็นแดน ที่นิ่งสงบเย็นจริงๆ สะอาดเรียบร้อยทั้งสถาน ที่ และ การใช้ชีวิต ของคน ที่นี่สมณะ แต่ละรูปดูแตกต่างจากทั่วๆ ไป ตั้ง แต่สีผ้า และ การครองจีวร กิริยาท่าทางดูสงบเรียบร้อย ผิวพรรณหน้าตาสดชื่นผ่องใส ได้สนทนาด้วยยิ่งรู้สึกว่า เป้าหมาย ของชีวิตชัดเจนมากขึ้น ยิ่งทำให้มั่นใจมากขึ้น ที่จะทานอาหารมังสวิรัติต่อไปอย่างไม่สงสัยลังเล จำความได้ความหนึ่งว่า “ตราบใด ที่เรายังทานอาหาร ที่มีเนื้อสัตว์อยู่ เราก็ยังเป็นต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์อยู่”

จากวันนั้น เป็นต้นมา เราก็ได้มีโอกาสไปสันติอโศกบ่อยขึ้น ไปทานอาหาร ไปสนทนาธรรมกับสมณะ รู้สึกสบายใจ ที่ได้ฟังธรรม จึงลงมือปฏิบัติศีล ๕ รู้สึกชีวิตได้เป็นนักปฏิบัติธรรมมากขึ้น ได้รับความเมตตาเอาใจใส่เป็นอย่างดี จากญาติธรรม ที่คอยชี้แนะ และ คอยบอกสอนเราอยู่เรื่อยๆ ทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่อ้างว้าง และ มีพวกพ้องเป็นมิตรทางใจมากขึ้น มีโอกาสก็ยืมเท็ปธรรมะกลับไปฟัง ที่บ้านอยู่เรื่อยๆ

จนกระทั่งปี ๒๕๒๕ ได้แวะไปร้านมังสวิรัติ ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่ได้ตั้งเป็นชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย มีญาติธรรมคนหนึ่งมาทักเราว่า “ญาติธรรม” รู้สึกดีใจมาก ดีใจจริงๆ รู้สึกว่าตัวเองเป็น ที่ยอมรับจากคนปฏิบัติธรรมด้วยกัน ประทับใจ และ ซาบซึ้งมากขึ้น เมื่อมีโอกาส จึงไปช่วยงาน ที่ร้านอาหารแห่งนั้น อยู่เสมอ ไม่เลือกงาน ไม่คิดค่าตอบแทน รู้ แต่เพียงว่าอยากตอบแทนหนี้บุญคุณ ที่ญาติธรรมมอบน้ำใจ และ สิ่ง ที่ดีๆ ให้กับเรา

การถือศีล ๕ ทานอาหารมังสวิรัติ นั่นหมายถึงชะตากรรมชีวิตเราได้เข้าสู่กระแสเส้นทางบุญได้มากขึ้น ชีวิตได้เข้าสู่กระแส ที่เป็นสัมมาอริยมรรคมากขึ้นๆ การกำหนดรู้บาป-บุญ ยิ่งชัดเจนมากขึ้นๆ จะคิด จะนึก จะดำริ จะพูด หรือ แม้จะทำอะไร ก็ต้องตรวจสอบตัวเองว่า เป็นบาป หรือ บุญ ถูกทาง หรือ หลงทาง แม้มีอาชีพก็เป็นอาชีพ ที่ไม่บาปด้วย ระวัง และ กลัวบาปมากขึ้นจริงๆ กล้าลด กล้าละ กล้าเลิก ยิ่งกิเลสตัว ที่เราชอบ มันชอบอ้างว่ายังจำเป็นอยู่ ถ้าเราขืนไม่เลิก ไม่ลด ไม่ละ มันก็จะสับสน และ ขัดแย้งกับสิ่ง ที่เราได้รู้เวรกรรมเพิ่มขึ้น ความเพียร และ ความขยันสู้ ดูจะมีผล และ ทิศทาง ที่ดี ที่สุด

เส้นทางการปฏิบัติธรรมใช่ว่าจะราบรื่นราบเรียบ มีความเจ็บปวดบ้าง มีความทุกข์ใจบ้าง แต่ความมุ่งมั่น ที่จะเดินทางนี้ และ ใช้ชีวิตในเส้นทางบุญนี้ยังอยู่ จึงต้องขยันงาน ขยันสู้ชีวิต ขวนขวายอยู่เสมอ แม้ตัวเราเองยังโง่อยู่อีกหลายเรื่อง แต่เราเชื่อมั่น และ มั่นใจว่า กลุ่มนักปฏิบัติกลุ่มนี้จะช่วยให้เราหายจากโง่ได้มากขึ้น หายบ้าได้มากขึ้น ด้วยระบบวิถี ที่เราขยันชี้แนะบอกกล่าวติงเตือนกัน แม้กระทั่งขัดเกลากัน เพื่อ ให้ แต่ละคนสะอาดขึ้นสูงขึ้นทางจิตวิญญาณ และ ปรับข้อบกพร่อง หรือ กิเลสให้ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

ถ้าเราเองไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเราเอง เราไม่มีใครทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนพฤติกรรม ของตัวเราเอง ไม่เรียนรู้ข้อบกพร่องตัวเอง ความผิดพลาด ของตัวเราเอง ความเสียหาย หรือ วิบากกรรม ที่เราสะสมก็จะเกิดขึ้นตามมา ทำให้ชีวิต ของเราต้องมีอันเป็นไปในอนาคต

ต้นปี พ.ศ.๒๕๒๗ จึงขอสมัครเป็นคนวัด ช่วยงานภายในวัดตลอดจนบำเพ็ญตบะธรรมต่างๆ ให้ความสำคัญกับข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นรายละเอียดมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ฝึกฝน ฝึกหัด ขัดเกลาการลงทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น และ ลงศาลาก่อนฉันเป็นกิจลักษณะมากขึ้น กระทั่งได้ขอสมัครเป็นนักบวชกับพ่อท่าน ด้วยความมั่นใจในตัวเอง ที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบนักบวช โดยผ่านขั้นตอน ของการเป็นปะชาย เป็นนาค เป็นสามเณร และ ได้เป็นนักบวชในวัน ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๒๘

การใช้ชีวิตนักบวชก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนกัน เพราะจะต้องสำนึก และ กำหนดรู้ ตลอดจนรับผิดชอบในความเป็นนักบวชด้วยกติกา ด้วยธรรมวินัย ด้วยความเป็นภาพพจน์ ที่ดี ของนักบวชชาวอโศก ยิ่งจะต้องพัฒนา บำเพ็ญ ขัดเกลา ศึกษาเรียนรู้ในสภาพชีวิตนักบวช ยิ่งต้องสำนึก และ ระวังเป็นหลายเท่า

ฐานะ ของนักบวชเป็นฐานะ ที่ผู้คนเขายกไว้ ให้ค่า บูชา กราบไหว้ และ การใช้ชีวิตนักบวชอยู่ได้ด้วยความศรัทธา ของญาติโยม เขาใส่บาตรเขาเลี้ยงดูเอาภาระจริงๆ จึงต้องหมั่นขยันถามตัวเองเสมอๆ ว่า

“ตัวเราสะอาดมากเพียงพอแล้ว หรือ ยัง”

“เรามีคุณค่ามากมายเพียงไร?”

เวลาตัวเราผิดพลาด พลาดพลั้ง คิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำอะไร ที่แย่ๆ รู้ตัวเองทีไรมันช่างเจ็บปวด ทุกข์ใจเดือดร้อนใจอยู่นานพอสมควร แม้ว่าตัวเราเองยังเป็นสมณะ ที่ดีๆ ยังไม่ได้ แต่ขอตั้งใจ ที่จะพยายามละชั่ว ประพฤติดี ตลอดจนทำจิตใจให้สะอาดสดชื่นอยู่เสมอๆ เรื่อยๆ ไป

ชีวิตนักบวชเป็นชีวิต ที่อบอุ่น แม้ว่าจะมีภารกิจ ของชีวิต แม้ว่าจะต้องต่อสู้กับกิเลสตัวเอง ที่ยังหลงเหลืออยู่ และ ยังไม่หลุดพ้น ก็ยังมีความสุข และ อบอุ่นในหมู่ ของนักบวช ซึ่งพอทนได้ พอสู้ไหว ยังทนได้ โดยไม่ยากไม่ลำบากยังเพียรฝึกฝนขวนขวายในการปฏิบัติธรรมมากพอสมควร พอจะมีต้นทุน ของชีวิต ที่พอจะได้อาศัยเดินทางในเส้นทางนี้อย่างไม่ขาดทุน และ ยังหมายมุ่งพัฒนาตนเองให้เป็นอาริยะ เพื่อ จะได้มีทรัพย์ติดตัว ติดจิตวิญญาณต่อไปในภพหน้า

ปัจจุบันยิ่งชัดเจนว่า ตัวเองยิ่งได้ประโยชน์จาก เพื่อ นนักบวชด้วยกันอย่างสม่ำเสมอตลอดมา ภูมิธรรม และ ภูมิจิต ของสมณะ แต่ละรูป ที่ได้สัมผัสไปคบคุ้น ได้เรียนรู้ ยิ่งทำให้ได้ย้ำเตือนสำนึก และ ได้ความรู้สึกดีขึ้นจริงๆ จึงทำให้มั่นใจในการชีวิตนักบวชได้นานๆ และ รู้ว่าตัวเองลดละกิเลสได้มากขึ้นลึกขึ้น ได้รู้ตัวโง่ ของตัวเองมากยิ่งขึ้น และ ล้างความโง่ ของตัวเองได้

ภารกิจ ของงานสัมมาอริยะต้องมีความสำนึก และ ความรับผิดชอบมาก จึงทำให้เรียนรู้เรื่องเจ็บป่วย ได้เรียนรู้กิเลสเกิดง่าย และ ได้หาวิธีสำรอกกิเลส จึงต้องขยันตรวจตรา ขยันทบทวน ขยันศึกษาเรียนรู้ในอธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา ตั้งใจมั่นด้วยความไม่ประมาทในชีวิตบนเส้นทางสายนี้

การเดินตามพระโพธิสัตว์นั้น แม้มาถึงระดับนี้ ก็ยังไม่เพียงพอในการ ที่จะเข้าใจชีวิต และ ทำความเข้าใจในการเดินทาง ของชีวิต ยังต้องอาศัย เพื่อ นดี มิตรดี สหายดี และ สังคมสิ่งแวดล้อมดี ต้องร่วมด้วยช่วยกันหนุนจริงๆ

กราบขอบพระคุณในความเมตตา กรุณา ของพ่อท่านโพธิรักษ์ หมู่สมณะ และ ญาติธรรมทุกๆ ท่าน จะขอตั้งใจใส่ใจปฏิบัติธรรมให้กับพุทธศาสนาด้วยโศลกธรรม ของพ่อท่าน ที่ว่า

“การบวช” นั้น เป็น “อาชีพ” และ เป็นสัมมาอาชีวะ ที่แสนประเสริฐสุดยอด ของมนุษย์

ดังนั้น ผู้ ที่จะมาถึงขั้น “ได้บวช” จึงควรเรียนมาก่อน หัด ฝึกอบรมดูก่อน จนแน่ใจ มั่นใจให้ดี ที่สุดจริงๆ ว่า …เราจะมาทำอาชีพนี้ได้อย่างไม่ล่มจม (ไม่ทำบาปเวรภัยในร่างนักบวช) แต่จะเจริญรุ่งเรืองไปได้ และ ไม่ทรมานโศกะ-ปริเทวะ-ทุกข์-โทมนัส-อุปายาส เป็น ที่สุดแน่ๆ …!

(พ้นทุกข์ พ้นบาปเวรภัย พึ่งตัวเองได้ ช่วยตัวเองได้ จนเป็น ที่พึ่ง ของคนอื่นได้)

ด้วยจิตคารวะ

สมณะร่มเมือง ยุทธวโร

end of column