พอเพียง...ระดับโลกุตระ
ฝ่าวิบัติภัย... ประชานิยม... อำนาจนิยม... ซ้ายใหม่นิยม...
ประชาธิปไตยวิปริต
ในเงาร่างทุนนิยมเสรี ซาตานยุคโลกาภิวัตน์


กุมภาพันธ์ - มีนาคม ๒๕๕๑

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต
รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม
ที่ถูกตอก รองรับ บ้านเรือน ตัวอาคารไว้นั่นเอง
สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม
แต่คนส่วนมาก มองไม่เห็นเสาเข็ม
และลืมเสาเข็ม เสียด้วยซ้ำไป
(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากวารสารชัยพัฒนา)

 

“เศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economy
คำว่า Sufficiency Economy นี้ ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.
จะมีได้อย่างไร เพราะว่า เป็นทฤษฎีใหม่
Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา
เพราะหมายความว่า เรามีความคิดใหม่...
และโดยที่ ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า
เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ
เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจ ของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)


 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตน ของประชาชน ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งใน การพัฒนา และบริหารประเทศ ให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง โดยเฉพาะ การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็น ที่จะต้องมีระบบ ภูมิคุ้มกันในตัว ที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการ เปลี่ยน แปลงทั้ง ภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่ง ในการนำ วิชาการต่างๆ มาใช้ใน การวาง แผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และ ขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้าง พื้นฐาน จิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและ นักธุ รกิจ ในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และ ความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและ พร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ความข้างต้นทั้งหมดนี้ คัดลอกมาจากเว็บไซต์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=๑
“เศรษฐกิจพอเพียง” ได้รับการขานรับจากสังคมเป็นอย่างดีมากว่า ๑๐ ปีแล้ว แม้แต่สหประชาชาติ ก็ให้ความสนใจ หลายภาคส่วน ยังงงๆกับการปฏิบัติ ไม่รู้จะเริ่มกันอย่างไร นักธุรกิจ นักวิชาการ และชนชั้นนำที่คุ้นชินกับระบบทุนนิยม จำนวนไม่น้อย ที่ไม่เห็นด้วย แต่ไม่ได้ส่งเสียง ต้านกระแส อะไรออกมา ในวงกว้าง ประเด็น สำคัญที่ค้านก็คือ แม้จะเป็น ปรัชญาการดำเนินชีวิตที่ดี แต่เป็นไปไม่ได้ โลกทุกวันนี้ เป็นยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจโลก โยงถึงกันหมด หากไม่กระ ตุ้น การแข่งขัน และ การลงทุน ประเทศจะล้าหลังไปไม่รอดชนชั้นนำ นักวิชาการ และนักธุรกิจ ส่วนใหญ่ที่ออกมาขานรับ พยายามจะอธิบายกับสังคม ให้เข้าใจ เพื่อจะได้ นำไปปฏิบัติ แต่ปัญหาก็คือ ต่างอธ ิบาย กันไปตามภูมิของแต่ละท่าน “เศรษฐกิจพอเพียง” ก็เป็นไป ในหลายทิศทาง หลายระดับชั้น ผู้ใดมีความเป็นอยู่ อย่างไร ก็อธิบาย เศรษฐกิจ พอ เพียง ให้สอดคล้องกับ ความเป็น ความมีของตัวเอง จึงปรากฏมีเจ้าสัว หมื่นล้านแสนล้าน ออกมากล่าวถึงตนเองว่า ก็ใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง มีรัฐมนตรี ในรัฐบาล ไทยรักไทย ออกมาแนะนำ ชาวบ้าน ถึงการเลี้ยงไก่ชน ให้ได้ราคาตัวหนึ่ง เป็นแสนเป็นล้าน ว่านี่ก็คือ การดำเนินชีวิต ตามแนวปรัชญา ”เศรษฐกิจพอเพียง” ...มันอะไรกันแน่ ?! จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒๑ ก.พ. ๒๕๕๑ หัวข้อข่าว นักธุรกิจไทย กับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โดยคัดลอก บางส่วนมาจากหนังสือ “เศรษฐกิจ พอเพียง ปรัชญาใหม่ ในยุคโลกาภิวัตน์” ที่หอการค้าไทย จัดทำขึ้น ได้รวบรวม บทสัมภาษณ์ ๑๐๐ นักธุรกิจไทยที่ดำ เนินธุรกิจสอดคล้อง กับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

สุภีร์ โรจนวงศ์ อดีตคณะกรรมการนักธุรกิจสตรีหอการค้าไทย ที่บอกว่า “จุดพอเพียง สำหรับธุรกิจคือ จุดที่ประสบ ความสำเร็จและ ทำงานได้อย่าง มีความสุข เมื่อไรมีความทุกข์ ก็ให้หยุดคิด เพราะเป็นสัญญาณ เตือนภัยแล้ว หากขยาย งานเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งเป็นทาสของเงิน ทาสของตลาด ดังนั้นเมื่อไร ที่เริ่ม มีความสุข ก็ควรจะพอได้แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ให้ลงทุน หากมีการขยาย ธุรกิจบ้างก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ต้องรู้ เมื่อถึงจุดอิ่มตัว”

ขณะที่นักบริหารรุ่นใหม่เจ้าของธุรกิจการเกษตร กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ มีหลักการ บริหารธุรกิจ ที่น่าสนใจ “การทำธุรกิจ ก็เหมือนกับ การสร้างบ้าน สร้างแต่พอ ตัว ไม่ต้องฮึกเหิมว่า จะต้องสร้าง ให้ใหญ่ที่สุด เพราะสิ่งเหล่านั้น กว่าจะได้มา ก็ต้องมีต้นทุน ทั้งการเงิน เวลา สุขภาพกายและใจ เราตั้งอยู่ในความพอดี เชื่อว่า ถ้าประคองตัวแบบนี้ และไม่ประมาท โอกาสที่จะขาดทุน อย่างย่อยยับก็ไม่เกิด”

ด้าน สุริยน ศรีอรทัยกุล นักธุรกิจหนุ่มไฟแรงแห่งบิวตี้ เจมส์ บอกถึงการทำธุรกิจ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียงว่า “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแสงสว่าง ที่ช่วยนำทาง ให้คนไทย เดินถูกทาง บนทางสายกลาง ที่พอดี รู้จักรับผลิตงาน ในปริมาณ ที่พอดี ไม่เหนื่อย หรือหนัก จนเกินไป ขณะเดียว กัน ก็ต้อง รักษามาตรฐาน ให้สู้กับ ต่างประเทศให้ได้ ซึ่งตรงนี้ ขึ้นอยู่กับศาสตร์ ของผู้บริหารว่า จะบริหารจัดการอย่างไร ให้พอเหมาะพอควร”

นี่ถ้านายบิล เกตส์ กับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ คาร์ลอส สลิม อัครมหาเศรษฐีโลก เกิดเป็นคนไทย ก็คงจะกล่าว ทำนองเดียวกับ นักธุรกิจไทย ข้างต้นนี้ว่า ได้ดำเนินธุรกิจ ตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เช่นกัน เพราะได้กระทำ อย่างพอเพียง แห่งการประมวลประมาณ อยู่ทุกด้าน ความมีเหตุมีผล โดย อาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง อย่างมีสติ ปัญญา เขาจึงเจริญ พัฒนายิ่งๆๆๆ และรวยเป็นเศรษฐีของโลก ...ก็เศรษฐกิจพอเพียง เหมียนกัน ..นี่ไง ?! ยังจำได้ไหม ถึงใครคนหนึ่ง ที่คุณเคยบอกว่า..รัก..รัก..รัก เท่าฟ้า เพ้อว่า...”สาเหตุที่ผม มาเล่นการเมือง เพราะผมรวยแล้ว ผม”พอ”แล้ว อยากใช้ชีวิต ที่เหลือ อยู่ทำประโยชน์ให้ กับบ้านเมือง”

ผู้รู้กล่าวว่า บรรดากิเลส โลภะ โทสะ โมหะ กิเลสโมหะเป็นอันตรายที่สุด เพราะเมื่อหลงผิด ไม่รู้ตัวแล้ว การแก้ไข จึงไม่เกิด ตนเองยังไม่ดี แต่หลงว่า ตนเองดี ตนเองยังไม่ได้ลดละ ยังไม่ได้เสียสละ แต่หลงว่าตนเอง ได้ลดละ ได้เสียสละแล้ว ตนเองยังไม่พอ แต่หลงว่าตนเองพอ เมื่อเป้าหมายเบี่ยงเบน การเดินไปสู่เป้าหมาย ก็ย่อมเบี่ยงเบน

การเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ความพอเพียงที่แท้จริงจึงไม่เกิด เพราะชนชั้นนำ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร แล้วอธิบายให้สัง คมเข้าใจเศรษฐกิจ พอเพียง อย่างที่ตนเองเป็น ตนเองมี ชาวบ้าน ที่ถือเอาชนชั้นนำ เป็นแบบอย่าง จึงยังคงมุ่งหน้า แสวงหาลาภยศ เฉกเช่นที่ ชนชั้นนำ นั้นๆเป็น

๑๐ ปีของกระแสเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านมา จึงมากไปด้วย การเชิดชูสรรเสริญ พระปรีชาญาณ ของพระเจ้าอยู่หัว แต่ผลที่จะไปสู่ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต แม้กระทั่ง ความคิดที่จะไปสู่ ความพอเพียง ที่แท้จริง จึงแทบไม่เห็น เป็นรูปธรรม เท่าใดนัก


 

ประชานิยม...เป็นหนทางล่ม
พอเพียง เข้มแข็ง พึ่งตนเอง...คือหนทางรอด

รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ที่ได้ชื่อว่า มีธรรมมากกว่าคณะไหนๆ และได้ประกาศ เป็นนโยบาย ที่จะผลักดันปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เป็นวาระ ของรัฐบาล ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง จนพ้นไป จากตำแหน่ง ยังไม่มีวี่แววว่า จะมีข่าวใดๆ ปรากฏออกมา บอกถึงผลงาน เศรษฐกิจพอเพียงเลย แต่ผลงาน ที่ตรงข้ามกับ ความเป็นผู้มีธรรมก็คือ เร่งออกกฎหมาย รองรับ หวยบนดิน และ ขยายเวลา ให้บริษัทน้ำเมา ได้โฆษณาทางสื่อ มากขึ้น

ป่วยการกล่าวถึงรัฐบาลสีเทานี้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ก็คงจะอยู่บนหิ้งบูชา เช่นเคย หรือไม่แตะต้อง ไม่กล่าวถึง ไม่ให้ความสำคัญอะไร เช่นเดียวกับรัฐบาล สีคล้ำ ที่ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างยิ่ง กับนโยบาย ประชานิยม ๓๐ บาทรักษาทุกโรค พักหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารคนจน หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล ฯลฯ

สัมผัสแรก ต้องยอมรับว่า เป็นนโยบายที่โดนใจ คนยากคนจน เป็นอย่างยิ่ง มองอย่าง ชาวบ้านๆ แค่ชื่อโครงการต่างๆ ดูเป็นประโยชน์ ต่อคนจน แต่ผลกระทบ หลังสัมผัสแรก ในระยะยาว เป็นอย่างไร มีอะไรแอบแฝง -ลับ-ลวง- พราง หรือไม่ จะมีผลดี -ผลเสีย อย่างไรหรือไม่ กับสังคมโดยรวม นิสัยและจิตใจ ของชาวบ้าน ที่ได้ประโยชน์ เต็มๆนั้น ระยะยาว จะเป็นอย่างไร ช่วยให้เขาได้ฟื้นตัว ขึ้นมาเข้มแข็ง ได้จริงหรือไม่ ต่างๆนานาเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ควร เปิดใจ รับฟังผู้รู้อื่น ที่มีข้อมูล มีประสบการณ์มากกว่า เหตุผลหรือหลักฐานต่างๆ ที่นำมาอ้างอิง ใคร่ครวญแล้ว น่าเชื่อถือหรือไม่ ความเป็นจริง เป็นอย่างไร

จากเว็บไซต์ประชาไท ที่ผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น จำนวนมาก ชื่นชอบรัฐบาล สีคล้ำ และรัฐบาลสีเทา ตำหนิ จนถึงขั้น ด่าว่า การทำรัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๔๙ และกลุ่มพันธมิตร ประชาชน เพื่อประชาธิปไตย มีความเห็นหนึ่ง ที่กล่าวถึง ประโยชน์ของ นโยบายประชานิยม อย่างน่า รู้เขา-เข้าใจเขา

๓๐ บาทรักษาทุกโรค ทำให้หมอที่เคยเป็นเทพเจ้า ค้ากำไรเกินงาม ต้องกลายมา รับใช้ประชาชน

กองทุนหมู่บ้าน จากที่ชาวบ้าน ต้องไปกู้เงิน ร้อยละ ๒๐ กู้ธนาคาร พอมี กองทุนหมู่บ้าน ชาวบ้านเลย มากู้กองทุน หมู่บ้านกันหมด นายทุนผูกขาด ไม่สามารถหากิน กับดอกเบี้ย ได้อีกต่อไป

พักหนี้เกษตรกร รัฐบาลไม่ต้องเอาเงินภาษี ไปอุ้มธนาคาร ที่ล้มละลาย

พวกศักดินาเคยชินแต่การกดขี่ประชาชน ดูถูกประชาชน คุณจะคิดอย่างไร ประชาชน เขาไม่สนใจ หรอกครับ เก็บเกี่ยว ผลประโยชน์ เข้าสู่ตนเอง และพวกพ้อง พอโยนเศษกระดูกมาให้ ยังมีหน้ามาอ้าง เป็นบุญคุณ ครอบครอง ประเทศชาติ มานานเป็นนาน ประเทศไม่เจริญ ประชาชน อดอยาก ยากแค้น เพียงเพราะศักดินา จะได้ประโยชน์ จากการที่ประเทศชาติ ไม่พัฒนา ประชาชน ยากจน ถ้าประเทศชาติเจริญ ประชาชนอยู่ดีกินดี ศักดินา ก็หมดความหมาย จึงต้องทำลาย นโยบายประชานิยม ให้หมดสิ้น แล้วผลเป็นอย่างไร ความจริง มันพิสูจน์ ให้เห็นแล้ว แถไป ก็ไม่มีประโยชน์ ว่านโยบายประชานิยม หรือ ระบบศักดินาจอมปลอม

อะไรกันแน่ ที่สร้างความเจริญ ให้กับประเทศ และประชาชน

ความคิดเห็นข้างต้นนี้ สะท้อนให้เห็นความเป็น “ซ้ายใหม่นิยม” จึงเป็นไปได้ว่า คนกลุ่มนี้เชื่อว่า อดีตผู้นำ และ รัฐบาลสีคล้ำ มิได้กระทำผิด ดังที่ถูกกล่าวหา เป็นการริษยา กลั่นแกล้งของ เหล่าเสนาอำมาตย์ ในระบบศักดินา ถ้อยคำ “ทุนนิยมก้าวหน้า ดีกว่าศักดินาล้าหลัง” และ “อำมาตยาธิปไตย” จึงผุดขึ้นมา ในยุคนี้

จากมุมมองข้างต้นนี้ ทำให้น่าศึกษาว่า แท้จริงแล้ว นโยบายประชานิยม เป็นคุณหรือโทษกันแน่

การสัมมนาเรื่อง “กองทุนหมู่บ้าน : สร้างรายได้หรือก่อหนี้” ที่จัดขึ้นเมื่อ ๓๑ ก.ค. ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุม ชั้น ๕ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

ดร.สมชัย จิตสุชน มูลนิธิสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย

นโยบายประชานิยม ๑. ทำให้ประชาชนนิยม ๒. นิยมอย่างรวดเร็ว ๓. เป็นเรื่องของ การเมืองนิยม

ลักษณะของประชานิยม : ใช้งบจำนานมาก, ทำให้ประชาชนเสพติด เป็นระยะๆ โดยเฉพาะช่วง การเลือกตั้ง, จะมีปัญหา เมื่องบประมาณหมด, มีผลเสียระยะยาว เช่น เรื่องวินัย ของประชาชน

ประเทศที่ใช้ประชานิยมได้ผล : ประเทศที่การกระจายรายได้ เหลื่อมล้ำสูง (คนรวยเยอะ คนจนเยอะ ชนชั้นกลางน้อย ลักษณะเป็นคอคอด เหมือนนาฬิกาทราย)

ผลเสียของประชานิยม ตกกับชนชั้นกลาง เพราะภาษีถูกใช้ไปกับ นโยบาย ประชานิยม ดังนั้น ประเทศที่ การกระจายรายได้ ไม่เหลื่อมล้ำ นโยบายประชานิยม จะใช้ไม่ได้ผล เพราะชนชั้นกลาง ที่มีมากจะ PROTECT (ปกป้อง, ป้องกัน) ในจุดนี้

 

การดูว่า กองทุนหมู่บ้าน จะยั่งยืนหรือไม่ : พิจารณาว่า ชาวบ้านเอาเงินมาใช้คืน ได้หรือไม่

ข้อมูลที่สำรวจได้ สอดคล้องกับที่รัฐบาลบอก คือ ๙๕ % ใช้คืน แต่เป็นการใช้คืน โดยการกู้เงิน จากแหล่งอื่นมาใช้ (เช่น เงินกู้นอกระบบ) เรียกว่า การผลัดผ้าขาวม้า (การกู้เงินซ้ำซ้อน) ซึ่งพบว่า ๗๐ % กู้มากกว่า ๑ ครั้ง และที่จริง อาจจะมากกว่านี้ เพราะชาวบ้าน บางคน อาจไม่ยอม ตอบตาม ความเป็นจริง

ถ้านำข้อมูลไป RUN REGRESSION จะพบว่า เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ไม่ได้เป็น ปัจจัย ที่จะทำให้รายได้ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง (ปัจจัยอื่น น่าจะมีผลมากกว่า)

ดร.วิชัย ดุรงค์พันธ์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์

คำถามที่ว่า กองทุนหมู่บ้าน สร้างรายได้ หรือก่อหนี้นั้น เป็นประเด็นที่ถามกัน มานานแล้ว จากการสำรวจ ๓ ปี ก็ยังคง ได้คำตอบ เหมือนเดิม เช่น เรื่องรายได้ ที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่มีนัยะชัดเจน

รัฐบาลชอบอ้างว่า กองทุนหมู่บ้าน แก้ปัญหา ความยากจนได้ แต่เราพบว่า รายได้นั้น ไม่ได้เพิ่ม แล้วยังมี ข้อสงสัย ต่ออีกว่า กองทุนหมู่บ้าน จะทำให้ชาวบ้าน เสียวินัยหรือไม่

กองทุนหมู่บ้าน = MICRO CREDIT SYSTEM ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ใช้เงินจำนวนมาก, มีคนเกี่ยวข้องมาก ประมาณ ๑๕ ล้านคน) คำถามก็คือ มันมีประสิทธิภาพหรือไม่

คำถามคลาสสิก : กองทุนหมู่บ้าน ช่วยให้รายได้ เพิ่มขึ้นหรือไม่

ตอบ : มันก็ต้องเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ถ้าเดิมเขาไม่มีเงิน แต่เราต้องดูค่าเป็น NET นั่นคือ ดูรายจ่าย ของเขาด้วย (ดูว่า รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น เกิดจากเงินออม ที่เพิ่มขึ้น หรือ จากการกู้เงินมา)

คุณวีระ มานะคงตรีชีพ ได้เขียนลงในหนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ ๑๘ ต.ค. ๒๕๔๘ กล่าวถึง โครงการ กองทุนหมู่บ้าน และโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ “นับแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ไม่เคยมีรัฐบาลใด เปิดโอกาส ให้ประชาชน ในระดับรากหญ้าได้เรียนรู้ และทดลอง ปฏิบัติการทำธุรกิจ และรู้จักกับแบบ วิถีการดำเนินชีวิต ในระบบทุนนิยม อย่างจริงจัง และเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนรัฐบาลนี้ ความคล้ายคลึง ระหว่าง โครงการ กองทุนหมู่บ้าน กับโครงการเงินผัน (สมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์) มีอยู่จริง โดยเฉพาะ ในเรื่องของการรั่วไหล และ การใช้เงิน ผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์ (ซึ่งก็คือ “สูญเปล่า” นั่นเอง) แต่แนวทาง และการดำเนิน โครงการ (โดยเฉพาะ เมื่อผนวก เข้าด้วยกัน กับโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”) ในเชิงกลยุทธ์ นั้นแตกต่างกัน อย่างสิ้นเชิง ผมเชื่อว่า ๔ ปี ของรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ ได้มีส่วนเปลี่ยน “รูปการจิตสำนึก” ของชาวนาชาวไร่ ในชนบท ให้เขยิบใกล้ รูปการ จิตสำนึก ของระบบทุนนิยม มากกว่าระยะเวลา ก่อนหน้า ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง การปกครอง เมื่อ ๗๐ ปีที่แล้ว ด้วยซ้ำ”

คุณนงนุช สิงหเดชะ คอลัมน์เดินหน้าชน หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๙ ได้เขียนถึง นโยบาย ประชานิยมว่า

...นโยบายที่ล้าหลังที่สุดคือ นโยบายประชานิยม เพราะนโยบายนี้ เป็นการสนับสนุน ให้ประชาชน ในเขตชนบท ผูกติดกับ ระบบอุปถัมภ์ และ ระบบบุญคุณ ซึ่งสวนทาง และขัดกับ เจตนาของ ระบอบประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยเมื่อพัฒนาไปถึงระดับหนึ่งนั้น จะต้องเป็นสังคม ที่สามารถชี้นำ และ กำหนดรัฐด้วย ไม่ใช่ให้รัฐ เป็นผู้ชี้นำ กำหนด ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติ ขณะนี้ รัฐบาล ไทยรักไทย โน้มเอียงไปทางชี้นำ กำหนดสังคม ไม่เปิดโอกาส ให้ภาคสังคม และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมมากนัก ลักษณะนี้ของ พรรคไทยรักไทย จึงคือ การรวมศูนย์อำนาจ แทนการกระจายอำนาจ สู่ท้องถิ่น อันสวนทางกับ รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน

ประชานิยมทำให้ผู้รับรู้สึกว่า ผู้ให้เป็นผู้มีบุญคุณ ที่ต้องตอบแทน อย่างไม่สิ้นสุด ทำให้ชาวบ้าน เกิดความรู้สึก พึ่งพิงนักการเมือง ตลอดเวลา เข้าขั้นที่เรียกว่า เสพติดการพึ่งพิง แทนการ พึ่งพิงตนเอง โดยการรวมกลุ่มกันเอง ในชุมชน โดยมีเพียงรัฐ เป็นผู้สนับสนุน ความต้องการ ของชุมชนอยู่ห่างๆ โดยไม่เข้าไป แทรกแซง ควบคุมกำกับ เพื่อให้ชาวบ้าน เป็นเครื่องมือ ของรัฐ

......พรรคไทยรักไทยและรัฐบาลเอง ย่อมรู้ดีว่า การใช้นโยบายประชานิยม มากเกินไปนั้น ในระยะยาว จะทำให้ประเทศ เสี่ยงต่อการ ล่มสลาย แต่เนื่องจากเห็นว่า เป็นวิธีการเดียว ที่จะชนะเลือกตั้ง จึงหยุดไม่ได้

ถูกต้องที่ประชาชนระดับล่างส่วนใหญ่ จะชื่นชอบ โครงการประชานิยม เพราะพวกเขา ไม่มีโอกาส เข้าถึงข้อมูล และ ศึกษาผลเสียของ ประชานิยม อย่างที่เคยเกิดขึ้น ในประวัติศาสตร์ ของหลายประเทศ

ถามว่า ในเมื่อรัฐบาล เป็นฝ่ายรู้ข้อมูลดี มีการศึกษาดีกว่าประชาชน ระดับล่าง ทำไมจึงยอม ตามใจชาวบ้าน ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะแม้แต่ระดับ ปราชญ์ชาวบ้าน หรือ ผู้นำทางความคิด ในชนบท ก็ล้วนไม่เห็นด้วยกับ โครงการ ประชานิยม ของรัฐบาล..

การสัมมนาสมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ได้สรุป ความคิดเห็น ของนักวิชาการ และนักการเงินไว้ บางส่วนดังนี้

นายนิพนธ์ พัวพงศกร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ ควรให้บทบาทกับ ภาคประชาสังคม เพื่อบรรเทา ความเสียหาย จากนโยบาย ประชานิยม โดยรัฐบาล จะต้องยกเลิก การใช้นโยบาย ประชานิยม ที่ส่งผลเสีย ทำให้เศรษฐกิจ อ่อนแอลง อย่าให้ ซ้ำรอยกับ รัฐบาลชุดก่อน

น.ส.ภูรี สิรสุนทร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงผลเสีย ของนโยบาย ประชานิยม จะทำให้ภาคประชาชน และสังคมอ่อนแอ มีหนี้สินมาก คอยแต่พึ่งพา เงินสงเคราะห์ และภาครัฐเอง ก็จะเกิดปัญหา ขาดดุลงบประมาณ มีรายจ่าย มากกว่ารายรับ และ หนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้น

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ประชานิยม เป็นเรื่องที่ ทำให้ ประชาชนพอใจ แต่รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ จากการใช้นโยบาย เหล่านี้ เพราะทุกอย่าง มีค่าใช้จ่าย ทั้งทางตรง และทางอ้อม ทางตรงหากรัฐบาลหว่านเงิน เมื่อเกิดหนี้เสีย เป็นปัญหา ต่อระบบ สถาบันการเงิน รัฐบาลก็ต้องเพิ่มทุน เรื่องอย่างนี้ จึงเป็นการโด๊ปยา ที่ได้ผล ระยะสั้น แต่ไม่ยั่งยืน ระยะยาว อาจทำให้ ประชาชน นิสัยเสีย เป็นการบ่อนทำลายประเทศ”

ต้องขออภัย อย่าหาว่าให้ข้อมูล ด้านเดียวเลย ข้าพเจ้าพยายามค้นหา ทางอินเทอร์เน็ต ถึงข้อดี ของประชานิยม หรือ ข้อโต้แย้ง เสียงวิจารณ์ แต่ไม่พบเลย แม้ในเว็บไซต์ ของพรรค พลังประชาชนเอง ก็ไม่พบ แต่กลับเพิ่ม นโยบาย ประชานิยม มากยิ่งขึ้นกว่าสมัย ไทยรักไทย

ทั้งๆที่นักวิชาการ นักการธนาคาร นักสังคมศาสตร์ สื่อมวลชน ล้วนวิจารณ์ ติติงนโยบาย ประชานิยม จนแทบจะหา ผู้ที่หนุนได้ยาก แต่ทุกพรรค ยังใช้เป็นนโยบาย แข่งขันกัน หาเสียงเลือกตั้ง

จากเว็บไซต์ หอการค้าจังหวัดตาก WWW.TAKCHAMBER.COM ที่ได้เขียน วิพากษ์วิจารณ์ เสนอแนะ ในช่วงต้นสมัย ของรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์

...เท่าที่พิเคราะห์ความสำเร็จ ของประชานิยม นอกจากเป็นนโยบาย ที่คล้ายกับ โปรโมชั่น ลด-แลก-แจก- แถม ทางการตลาด ที่ผู้ให้ มักผูกใจผู้รับแล้ว คุณสมบัติ โดดเด่น อีกประการ ก็คือ นโยบาย ประชานิยม สามารถส่งตรง ถึงครัวเรือน ซึ่งไม่เคย มีรัฐบาลไหน ทำได้มาก่อน ที่ผ่านมา การนำนโยบาย ไปสู่มือชาวบ้าน วนเวียนอยู่ ระหว่าง สร้างถนน ขุดคูคลอง ทำสะพาน ซึ่งเป็นการสั่ง จากข้างบน แต่ประชานิยม ที่ผ่านกองทุนหมู่บ้าน ชาวบ้าน สามารถ ตัดสินใจได้เอง ว่าจะเอาเงินกู้ ไปทำอะไร !!!! จุดเด่นตรงนี้ ทำให้ชาวบ้าน รู้สึกว่า ตัวเอง มีส่วนได้ ส่วนเสีย โดยตรงกับการเมือง นอกเหนือจาก สินน้ำใจ เล็กๆน้อยๆ จากนักการเมือง ในช่วง ก่อนหย่อนบัตร

แต่ข้อเสียของนโยบายประชานิยม ก็มีมากๆ ขนาดสามารถ เขียนหนังสือออกมา ได้เป็นเล่มๆ กลุ่มที่แอนตี้ นโยบาย ประเภทนี้มากๆ คือ นักวิชาการ สายธนาคารโลก และ ไอเอ็มเอฟ (กองทุนการเงิน ระหว่าง ประเทศ) ซึ่งค้านนโยบาย ลักษณะดังกล่าว แบบหัวชนฝา เพราะมองว่า เป็นนโยบาย ที่ใช้เงิน สร้างความนิยม ของนักการเมือง โดยไม่คำนึงถึง ผลเสียของประเทศ ใน ระยะยาว เช่นเดียวกับที่ เคยเกิดกับ หลายประเทศ ในละตินอเมริกา ที่วงจรเริ่มจาก ประชานิยม การคลัง มีปัญหา ใช้สำรอง ระหว่างประเทศ กู้ไอเอ็มเอฟ ถ้าไม่ได้พิมพ์แบงก์ ออกมาใช้ และปิดฉาก ด้วยเศรษฐกิจของชาติ ล่มสลาย

และข้อเสียอีกประการ ที่กำลังสร้างความปวดหัว ให้กับรัฐบาล สุรยุทธ์ คือ เมื่อเริ่มแล้ว เลิกยาก ซึ่งเปรียบไป ก็เหมือนคำสาป ที่ว่า "ผู้ใดแก้ไขจักต้องพินาศ” เพราะหากรัฐบาล ตัดสินใจเลิก ก็จะเกิดปัจจัย ให้ไปสร้างเงื่อนไข ไปโน้มน้าว ชาวบ้าน ออกมาต่อต้าน ขั้วอำนาจใหม่ได้ !!!

เมื่อเลิกก็ไม่ได้ และถ้าปล่อยให้ดำเนินไป โดยไม่แตะต้อง โอกาสที่จะเกิดปัญหา ต่อ ระบบเศรษฐกิจก็มี และที่สำคัญ คือ ค้านกับทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงที่ พล.อ.สุรยุทธ ประกาศใช้ เป็นธงนำ การบริหารของรัฐบาล เพราะนโยบาย ประชานิยม สูตรปัจจุบัน เน้นให้คน บริโภคเป็นหลัก ทางออกที่ดีที่สุด ของรัฐบาลคือ ปรับสูตร ประชานิยมใหม่ เหมือนอย่างที่ ดร.โฆษิต รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่า จะเติมความเพียร เข้าไป

ซึ่งคนระดับ ดร.โฆษิต ที่เจนจัดเรื่องเศรษฐศาสตร์สายหลัก เคยลงคลุก ในชนบท และรู้จัก นายทุน คงจัดการเรื่องนี้ ได้ไม่ยาก ยิ่งได้อาจารย์ไพบูลย์ อดีตเอ็นจีโอ ใหญ่ ที่เพียรหาสูตร ชุมชนพึ่งตนเอง มาตลอด การปรับสูตร ประชานิยม ให้เป็นประชาเข้มแข็ง ก็ไม่ใช่เรื่องยาก.

ความข้างต้นนี้ นับเป็นความเห็น ที่น่าสนใจ เพราะนอกจาก สะท้อนภาพลบ ของประชานิยมแล้ว ยังบอกถึง ทางออก ที่ควรจะเป็นไปไว้ด้วย แต่เป็นความคิดเห็น ที่ยังฝากความหวังไว้กับ นักบริหาร มืออาชีพ ในรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ ซึ่งเป็นรัฐบาล ที่มีอายุ การทำงานสั้น ผลสำเร็จ ที่เป็นรูปธรรม ยังไม่ปรากฏ เมื่อหมดวาระ ก็หมดอำนาจ จึงหมดหวัง ไปโดยปริยาย

สิ่งที่น่านำมาขบคิดต่อก็คือ ถ้าประชานิยม เป็นหนทางล่ม ดังที่นักวิชาการ สายเศรษฐกิจ และสังคม วิเคราะห์ข้างต้น นั้นแล้ว เศรษฐกิจพอเพียง ที่ปรับสูตร ประชานิยมไปสู่ ประชาเข้มแข็ง ดังที่ ดร.โฆสิต และคุณไพบูลย์ รองนายกฯ ในรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ ได้พยายาม จะทำนั้น เป็นหนทางรอด ของสังคม จริงหรือไม่

สมมุติว่าเป็นหนทางรอด ของสังคมจริง

คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วจะใช้ เศรษฐกิจพอเพียง อย่างไร ประชาเข้มแข็ง แบบไหน

เศรษฐกิจพอเพียง เช่นที่นักธุรกิจไทย ยกอ้าง...นั้น หรือ

ประชาเข้มแข็ง เช่น หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล กองทุนหมู่บ้าน เรียนฟรี... กระนั้นหรือ

ความจริงที่น่าตระหนัก คือ ทั้งรัฐบาลและประชาชน ถูกบริโภคนิยม และ ทุนนิยมเสรี ครอบงำ ฝังหัว มายาวนาน จนคุ้นชินว่า นี่คือวิถีชีวิตปกติ เศรษฐกิจพอเพียง ที่เอ่ยอ้าง แท้จริงเป็นเพียง ตรรกะ และวาทะ ความจริงยังคงทำ และคิดตาม วิถีทุนนิยม ประชาชน จึงไม่มีวัน จะเข้มแข็งได้ ตราบใด ที่ยังยึดถือ บริโภคนิยม และทุนนิยม เป็นสรณะ

ดังนั้น หนทางรอดที่แท้ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเกิดเป็นผลจริง มีรูปธรรม ที่เห็นได้ชัดเจน ไม่ใช่แค่ตรรกะ และวาทะเท่านั้น ประชาจะเข้มแข็งได้ ย่อมต้องปลอดพ้น ไปจาก บริโภคนิยม และทุนนิยม



พอเพียง...ระดับโลกุตระ
หนทางรอดของสังคมโลกาภิวัตน์

พ่อท่านฯเป็นอีกผู้หนึ่งที่อธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในหลายๆวาระ โดยอิงหลัก พระธรรม คำสอน ของพระพุทธองค์ เป็นสำคัญ ซึ่งมีความแตกต่าง ไปจากผู้รู้ทั้งหลา

“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร และ เศรษฐกิจพอเพียง ทำอย่างไร” เป็นชื่อประเด็น การสนทนา ในรายการ วิถีอาริยธรรม วันที่ ๒ ก.พ. ๒๕๕๑ ขอนำบางส่วน ที่พ่อท่านฯได้กล่าว มาถ่ายทอด สู่กันดังนี้

เศรษฐกิจพอเพียงนั้น ในหลวงทรงตรัสออกมา คมคายมาก แล้วมีความหมาย ที่ชัดเจน คำว่า พอ จับความหมาย ใจความว่า เศรษฐกิจ คำว่า พอเพียง ก็บอกชัดอยู่แล้วว่า พอ พอเพียงก็คือ พอ พอเพียงเท่านี้

แต่มีผู้ที่ไปอธิบาย เศรษฐกิจพอเพียงน่ะ รวยได้ ขอให้รวย อย่างสุจริต ก็แล้วกัน คนที่พูดอย่างนี้ พูดเอาตามใจชอบ เข้าข้างกิเลสตัวเอง ก็รวยไปเรื่อยๆ มันไม่รู้จักพอ คุณมีพันล้าน หมื่นล้าน แสนล้าน ก็ยังบอกว่า มีเศรษฐกิจพอเพียง คุณตั้งค่า ความพอของคุณ ไว้สูงจังเลย

เศรษฐกิจพอเพียงนั้น คำว่า พอเพียง คนนั้นจะต้อง มีจิตวิญญาณ มีสันโดษ เรียกว่า พอ ใจพอ

สมมุติว่า เรามีสัก ร้อยล้านนี่ เราน่าจะพอแล้ว เกินนั้น เราก็จะสะพัดออก ไม่เก็บ ไม่สะสม ไม่กักตุนไว้ สะพัดออกไป ให้แก่สังคม ประเทศชาติ มวลชน โดยไม่ยึดถือเอาไว้ เป็นของตัว ของตน ความคิดอย่างนี้ ชาวอโศกทำแล้ว ชาวอโศก ไม่คิดจะไป สะสมเงินทอง ให้มันมาก มันมายขึ้นไป จนกระทั่ง มีร้อยล้าน พันล้าน อะไรนั่นน่ะ เป็นความพอ ชนิดที่ อธิบายได้ว่า พอถึง ขั้นหมดตัว หมดตน ใช้จ่ายเดือนหนึ่ง สองพัน อย่างบริษัท พลังบุญ ของเรา ชาวอโศก เงินเดือน สองพัน ใช้ให้พอนา.. สองพัน ก็ตั้งมา ๒๖-๒๗ ปีแล้ว บริษัทนี้ จนมาถึงวันนี้ ก็ยังเงินเดือน สองพัน ทั้งๆที่ ค่าเงินนี่ มันตกไป มหาศาลแล้ว

มันเป็นความลึกซึ้งในความพอ ที่ใจพอ แล้วก็ยังมีพฤติกรรมของชีวิต มีชีวิตที่มี พฤติกรรม ของชีวิตอยู่ โดยการอาศัย เงินที่ใช้สอยเนี่ย.. แต่ละเดือน เดือนละ สองพันนี่ เขาก็ยังพอ แม้เศรษฐกิจ มันจะเปลี่ยนแปลงไป ของราคาแพงขึ้น

เศรษฐกิจพอเพียง คือ เศรษฐกิจที่ คนมีจิตใจ รู้จักพอ และตั้งเกณฑ์ แห่งความพอ ของแต่ละคนได้ ใครที่ตั้งเกณฑ์ แห่งความพอ น้อยเท่าไรก็พอได้ ยิ่งมีน้อยๆ ก็พอแล้ว คนนั้นยิ่งคือ คนเจริญ เป็นคนประเสริฐ เป็นคนชั้นสูง

คนชั้นสูง ของพระพุทธเจ้า มีคุณลักษณะ ๙ ประการ

๑. เลี้ยงง่าย (สุภระ)

๒. บำรุงง่าย (สุโปสะ)

๓. มักน้อย (อัปปิจฉะ) หรือกล้าจน เป็นคนจน

๔. ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ) มีความพอในใจ ไม่เอาเกินนั้นแล้ว พอคือมันไม่เพิ่ม มันเอาเท่านี้พอ พอจริงๆ

๕. ขัดเกลา (สัลเลขะ) มีลักษณะขัดเกลา ขัดเกลากิเลส ขัดเกลาความประพฤติ ขัดเกลาตนเอง มันกินมาก ใช้มาก เป็นต้น มันไม่ถูก ต้องกินน้อย ใช้น้อยลงมา อย่าหัดฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย หลงความหรูหรา หัดประณีต ประหยัดลงมา

๖. มีศีลเคร่ง (ธูตะ) มีศีลที่เคร่ง ศีลที่สูง แล้วท่านก็ปฏิบัติศีลเคร่ง ศีลสูงนั้นๆได้ บรรลุได้ จนเป็นปกติในชีวิต ขออภัย ที่ต้องยกตัวอย่าง ชาวอโศก อย่างชาวอโศกนี่ เป็นฆราวาสก็ตาม มาอยู่ในหมู่กลุ่ม สาธารณโภคีเนี่ย สามารถที่มีศีล ๑๐ คือ มีศีลเกินศีล ๘ ศีลข้อที่สิบ ไม่สะสมเงินทอง ไม่มีเงินทอง เป็นของส่วนตัว ไม่เก็บกัก เงินทองแล้ว เป็นฆราวาส ไม่ใช่เณรนะ แต่ก็บวชแท้ คือ ปฏิบัติธรรมจริงๆ สัมมาทิฏฐิ จนทำให้จิตใจ ลดละกิเลสได้ ประพฤติ จนถึงขั้น จิตใจ มันละลด กิเลสได้จริง เอ้อ..อยู่กับหมู่กลุ่ม ระบบบุญนิยม ถึงขั้นสาธารณโภคี คือ ทุกคน ทำงานฟรี สร้างสรร ผลิตอะไร ทำงานอยู่ในชุมชน ก็ไม่เอารายได้ ทำงานฟรี เอารายได้ เข้าส่วนกลางหมด ไม่ยึดมาเป็นของตัว ของตน เอาเข้าส่วนกลาง จริงๆ เป็นคนไม่ต้อง มีเงินประจำตัว ใช้ก็ใช้เงินส่วนกลาง ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม ส่วนตัว จำเป็นจริงๆ ในส่วนตัวจริงๆ ที่เหมาะ ที่ควร ก็ขอเบิกใช้ ไปตามควร จากส่วนกลาง ซึ่งจะมีวัฒนธรรม มีวิธี การดำเนินชีวิต มีระบบของมัน อย่างนี้เป็นต้น ศีลนี่แปลว่า ปกติ มีศีล กินมื้อเดียว ก็ปกติ ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ไม่ต้องมีเงินทอง ไม่ต้องใช้เงินทอง เหมือนชาวสังคมทั่วไป อย่างแต่ก่อน ไม่ต้องสะสม เงินทองอีก ก็มีความเป็น ปกติสามัญ สบายๆ ไม่ได้ฝืน ไม่ได้เดือดร้อน ไม่ได้วุ่นวาย อะไรเลย

๗. มีอาการที่น่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ) อาการที่น่าเลื่อมใส ก็คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี่แหละ เป็นอาการของคน

๘. ไม่สะสม (อปจยะ) ไม่สะสมทั้งทรัพย์ศฤงคาร วัตถุเงินทอง ข้าวของที่ดิน ไม่สะสมบ้านช่อง เรือนชาน ไม่สะสม ทั้งกองกิเลส ไม่สะสม เป็นของตัว ของตน อปจยะแปลว่า ไม่สะสม นี่เป็นคนชั้นสูง คนที่ไม่สะสม ทรัพย์สิน เป็นของตัวเอง ก็คือ คนจนๆ เราดีๆนี่เอง นี่คือ คำสอนของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมันทวนกระแสใจ หรือว่าเป็นเรื่องที่ ตรงกันข้าม กับความต้องการ ของคนปุถุชน ระบบเศรษฐกิจ พอเพียง หรือเศรษฐกิจถึงขั้น ที่อาตมา กำลังกล่าวนี่ ถึงขั้น ไม่สะสม มีคุณลักษณะ คนชั้นสูง คนมีระดับ คนมีชั้น มีวรรณะ อันมีวรรณะ ๙ นี่แหละ เป็นเครื่องชี้ ชั้นวรรณะ ของคน

๙. ยอดขยัน (วิริยารัมภะ) เป็นคนมีความเพียรยอด หรือ พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านแปลไว้ ในหนังสือ ของท่านว่า เป็นผู้มี การระดมความเพียร ฟังแล้วเออ.. มันดูเร่งเร้าดีเน้าะ

(รายละเอียด ของรายการ วิถีอาริยธรรมในวันนี้ ผู้สนใจสามารถ ติดตามได้ที่ ร้านธรรมทัศน์สมาคม หน้าพุทธสถาน สันติอโศก)

เป็นอีกวาระหนึ่ง ที่พ่อท่านฯ ได้นำเสนอผ่านสื่อ ของชาวอโศก ที่มีสู่สังคม ผู้ที่มีโอกาส รับรู้รับฟัง เป็นเพียง ส่วนน้อย เท่านั้น ในสังคม และน้อยลงไปอีก ที่จะมีผู้เข้าใจ และเห็นจริงตาม เพราะชนส่วนใหญ่ ถูกครอบงำ โดยบริโภคนิยม และ ทุนนิยม อย่างฝังรากลึก ในจิตใจ

ที่สำคัญยิ่ง แม้ไม่ใช่ทุนนิยมฝังหัว แต่ชนส่วนใหญ่ ยังมีอคติ มีทัศนคติ ที่เป็นลบ ต่อพ่อท่านฯ และชาวอโศก จึงยาก ที่จะเปิดใจ รับรู้ รับฟัง

นักคิด นักเขียน นักวิชาการ ชนชั้นนำ ส่วนเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ที่แสดงออก ด้วยท่าทียอมรับ และน้อยลงไปอีก ที่จะกล้า แสดงออก โดยเปิดเผย สู่สาธารณะ ในวงกว้าง

เดือนที่แล้ว ๑๗ ม.ค. คุณเปลว สีเงิน น.ส.พ.ไทยโพสต์ ได้เขียนบทความ “กระแสโลก ที่ฉุดลาก กระแสไทย” ส่วนท้ายๆ ของบทความ ได้กล่าวถึง ชาวอโศก อย่างเปิดเผย

“วิถี “สันติอโศก” ในด้านการอยู่-กินกับธรรมชาติ ผมว่าเป็นวิถี “เศรษฐกิจ พอเพียง” ที่เป็น รูปธรรมตัวอย่าง ให้เห็น ให้จับต้อง ให้สัมผัสได้ “ดีที่สุด” ในยุคนี้ วันนี้

ใช้เป็น “ต้นแบบ” ชีวิตพอเพียง รองรับอนาคตได้ และต้นแบบ อย่างที่ “สันติอโศก” นี้ จะกลายเป็น “จุดแข็ง - จุดขาย” เหมือนอย่าง ประเทศแถบยุโรป เขารักษา สถาปัตยกรรมเก่าๆ ใช้หากิน ด้านท่องเที่ยว อยู่ได้ตลอด”

และ ๑๓ มี.ค.จาก X-cite ไทยโพสต์ พาดหัวขึ้นหน้าปกว่า ชุมชนคนพอเพียง "สันติอโศก" เรียบง่าย ใช้หลัก สาธารณโภคี เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ

“ปัญหาสินค้าราคาแพง สะเทือนทุกหย่อมหญ้า แต่ไม่กระเทือนซาง “ชาวสันติอโศก” ชุมชนเมืองกรุง ที่ต้าน กระแสทุนนิยม ภายใต้การนำของ “สมณะโพธิรักษ์” ประธานชุมชน สันติอโศก เผยใช้ชีวิต อย่างพอเพียง

เรียบง่ายและพึ่งตนเอง ยึดหลักศาสนา นำระบบเศรษฐกิจ รักษาศีล ๕ กินมังสวิรัติ ค้าขาย ต้องเอากำไร ต่ำกว่าท้องตลาด หรือ ยอมขาดทุน เพื่อเสียสละ

แม้ว่าปัญหาสินค้าราคาแพง จะส่งผลกระทบ ต่อปากท้อง ของประชาชน ผู้บริโภค ทั้งในเมือง และชนบท จนรัฐบาล ต้องออกมาตรการ บีบภาคเอกชน ลดราคาสินค้า หลายรายการ เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อน ในการดำรงชีพ โดยเฉพาะ เนื้อหมู ที่มีราคาพุ่งสูงขึ้น เป็นประวัติการณ์ และยังไม่สามารถ แก้ปัญหาได้นั้น แต่สำหรับ ชุมชน สันติอโศก ซึ่งเป็นชุมชนเมือง แห่งหนึ่ง ของกรุงเทพฯ กลับไม่ประสบ ปัญหา ข้าวของแพงหูฉี่ หรือค่าครองชีพ ที่สูงขึ้น แต่อย่างใด

เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ ประธานชุมชน สันติอโศก เปิดเผยถึงปัญหา ดังกล่าวว่า ชาวสันติอโศก ไม่ได้รับผลกระทบ ต่อสถานการณ์ สินค้าราคาแพง ไม่ว่าจะเป็น ของกิน หรือของใช้ เพราะชุมชน มีผลิตภัณฑ์ ที่ทำใช้กันเอง เช่น สบู่ แชมพู ผงซักฟอก ส่วนอาหาร เป็นมังสวิรัติ กินแต่ พืชผัก ผลไม้ ที่ปลูกเอง แบบปลอด สารเคมี ผลิตเท่าที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิต สินค้าจากภายนอก จึงไม่ค่อยมี กล่าวได้ว่า เป็นหลักการ พึ่งพาตนเอง ใช้ชีวิต อย่างพอเพียง เรียบง่าย และไม่เบียดเบียน ชีวิตผู้อื่น ตามหลักปรัชญา ของสมณะโพธิรักษ์ ผู้ก่อตั้ง พุทธศาสนสถาน สันติอโศก เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน

เรือตรีแซมดินกล่าวว่า ปัจจุบันชุมชนสันติอโศก มีประมาณ ๓๐๐ คน แต่เนื่องจาก พื้นที่ตั้ง ของสันติอโศก คับแคบ จึงต้องอาศัย การสนับสนุน จากเครือข่าย ญาติธรรม หลายจังหวัด ทั่วประเทศ เป็นหน่วยผลิตข้าว และ พืชผล ทางการเกษตร มากมาย ส่งเข้ามา ป้อนส่วนกลาง แต่หาก มีส่วนเหลือ จะนำไปขาย ตามร้านค้า ในชุมชน ตั้งเป็น ระบบพาณิชย์ ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม โดยแบ่งเป็น ๔ ระดับ คือ
๑.ค้าขายราคาถูก มีกำไร ต่ำกว่าท้องตลาด
๒.ขายราคาเท่าทุน ไม่มีกำไร
๓.ขายขาดทุน และ
๔.แจกฟรี ตั้งโรงทาน ในช่วงเทศกาลสำคัญ เป็นกติกา ที่ร้านค้า ในชุมชน ต้องปฏิบัติตาม เพื่อฝึกฝน ความเสียสละ“

แม้ว่าเราจะอยู่ในสังคมเมืองกรุง ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ในแต่ละวัน แต่เราสามารถ กำหนดชีวิต ไม่ให้ถูก ทุนนิยม ครอบงำ ก็จะอยู่ได้ อย่างมีความสุข โดยท่านโพธิรักษ์ นำระบบ สาธารณโภคี เข้ามาใช้คือ ผลิต กิน ใช้ และคิดร่วมกัน การทำงาน ไม่มีค่าแรง ไม่กู้เงิน เพราะทุกคน ต้องช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน และสร้าง รากฐานชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็ง และ ปลอดอบายมุข” ประธาน ชุมชนสันติอโศกกล่าว

เรือตรีแซมดินกล่าวว่า ระบบสาธารณโภคี เป็นการทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า คิดระบบนี้ มาใช้ในหมู่สงฆ์ ท่านโพธิรักษ์ นำมาขยายผล ใช้กับฆราวาส แล้วประสบ ความสำเร็จ ทุกคนที่เข้ามา จะต้องรู้ว่า มีหลักปฏิบัติอย่างไร เช่น ถือศีล ๕ กินอาหาร มังสวิรัติ ช่วยกัน คัดแยกขยะ และทำปุ๋ยธรรมชาติ เพื่อรักษา สิ่งแวดล้อม และยังสร้างรายได้ ให้สันติอโศก มีงบประมาณ นำไปใช้พัฒนากิจกรรม สร้างประโยชน์ ต่อสังคม ส่วนรวม เช่น จัดพิมพ์ หนังสือธรรมะแจกฟรี จัดรายการธรรมะ ทางวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ศึกษาธรรมะ

เขากล่าวด้วยว่า ชุมชนสันติอโศก ยึดหลักพุทธศาสนา ในการทำกิจกรรม เช่น การขายอาหาร มังสวิรัติ มีราคาถูก ราคาจานละ ๑๐ บาท เท่านั้น ถ้าเนื้อหมู ราคาแพง ก็เปลี่ยนมากินอาหาร ที่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพ เพราะเป็นอาหาร ที่มีโปรตีน จากถั่วเหลือง และวิตามิน จากพืชผัก ผลไม้ ทั้งยังสอน ให้เรารู้จัก การมีเมตตาธรรม ไม่จำเป็นต้อง ขายของแพง เพื่อหวังผลกำไร เพราะเป็นบาป ด้วยชีวิตความเป็นอยู่ อย่างสมถะ ขยัน ไม่เอาเปรียบใคร และเสียสละ จึงได้รับ การขนานนามว่า ชุมชนคนพอเพียง.”

สิ่งประกอบที่น่าสังเกตก็คือ ก่อนกระแสเศรษฐกิจพอเพียง จะขยายตัว ในวงกว้าง ชุมชน ชาวอโศก ได้รับการกล่าวขาน และ ยอมรับว่าเป็น ชุมชนเข้มแข็ง จากหลาย ภาคส่วน ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสื่อ หน่วยงานของรัฐ รวมถึง กลุ่มองค์กร เอกชนต่างๆ ที่ไม่อยู่ในภาครัฐ

ปี ๒๕๓๙ ชุมชนศีรษะอโศก ได้รับคัดเลือกให้เป็น ชุมชนวัฒนธรรม ดีเด่น ๑ใน ๑๒ ของประเทศ โดย ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และคณะ เคยไปจัดรายการ สนทนาสัมภาษณ์ ทั้งที่ปฐมอโศก และศีรษะอโศก เผยแพร่ทาง สื่อโทรทัศน์ ว่าเป็นชุมชนเข้มแข็ง

รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา หมู่บ้าน ชุมชนอื่นๆ ขอไปศึกษา ดูงาน การสร้าง ชุมชนเข้มแข็ง ตั้งแต่ต้น จนถึงปัจจุบัน ก็ยังมีกลุ่ม คณะต่างๆ ขอไปศึกษาดูงาน สร้างชุมชนเข้มแข็ง เช่นกัน

ชุมชนเข้มแข็งอื่นๆ จะมีหลักการอย่างไรหรือไม่ ยังไม่ปรากฏให้เห็น จากสื่อใดๆ แต่สำหรับ ชุมชน ของชาวอโศก พ่อท่านฯ ได้ให้หลักการ ถึงลักษณะ ของชุมชน เข้มแข็ง ๑๔ ประการ ดังนี้
๑. เป็นสังคมที่เห็นได้ชัด ถึงลักษณะของคนมีศีล มีคุณธรรม มีอาริยธรรม
๒. เป็นสังคมที่สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระผู้อื่น
๓. มีงานที่เป็นสัมมาอาชีพ มีกิจการเป็นสาระที่มั่นคง
๔. ขยัน สร้างสรร ขวนขวาย กระตือรือร้น
๕. อยู่กันอย่างผาสุก สุขภาพแข็งแรง จิตใจเบิกบานร่าเริง
๖. ไม่ฟุ้งเฟ้อ แต่รุ่งเรืองฟุ้งเฟื่อง ไม่ผลาญพร่า สุรุ่ยสุร่าย
๗. มีความประณีตประหยัด แต่เอื้อเฟื้อสะพัดแจกจ่าย
๘. ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีอบายมุข ไม่มีทุจริตกรรม
๙. มีความพร้อมเพรียง สามัคคี อบอุ่น เป็นเอกภาพ
๑๐. สัมผัสได้ในความเป็นปึกแผ่น แน่นหนาของความเป็น กลุ่มก้อน ภราดรภาพ
๑๑. มีความแข็งแรง มั่นคง ยืนหยัด ยั่งยืน
๑๒. เป็นสังคมที่สร้าง “ทุนทางสังคม” มีประโยชน์คุณค่าต่อผู้อื่น และสังคมทั่วไป ในรอบกว้าง
๑๓. อุดมสมบูรณ์ แต่ไม่สะสม ไม่กักตุน และไม่กอบโกย
๑๔. มีน้ำใจ ไม่เอาเปรียบ เสียสละอย่างเป็นสุข และเห็นเป็นคุณค่า ของคน ตามสัจธรรม

สรุป สังคมที่พอเพียง เข้มแข็ง พึ่งตน แบ่งปัน เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ไม่เป็นทาส บริโภคนิยม และทุนนิยม สังคมนั้น ย่อมเป็นสังคม ที่มีศาสนา ปฏิบัติ ตามหลักธรรม วรรณะ ๙ เช่นที่ พระพุทธเจ้าพาทำ

นโยบายประชานิยม จะไร้ความหมาย ไม่มีผลใดๆ กับสังคมที่มี ระบบสาธารณโภคี มีกองบุญสวัสดิการ มีสัจจะออมทรัพย์ เป็นชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเอง จึงไม่หลง เป็นเหยื่อ ของ นักการเมือง ที่หลอกใช้ประชานิยม มอมเมาชาวบ้าน ให้เสพติด จนอ่อนแอ กลายเป็นทาส ระบบอุปถัมภ์ ดังที่ก่อปัญหา กับการเมือง และสังคมไทย ทุกวันนี้

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ สอดคล้องกับ สูตรชุมชนเข้มแข็ง การปรับสูตร ประชานิยม ให้ประชาเข้มแข็ง ดังที่รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ วาดฝัน และแสวงหานั่นเอง



การศึกษาที่สะท้อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

๒๕ มี.ค. ๒๕๕๑ ที่สันติอโศก คุณทิพวัลย์ คำคม นักศึกษา ปริญญาเอก สาขาหลักสูตร และการสอน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้มาสนทนา สัมภาษณ์ พ่อท่านฯ เพื่อประกอบ การทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การจัดการศึกษา ที่สะท้อน แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง” กรณีศึกษา โรงเรียน สัมมาสิกขา สันติอโศก โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ

๑. ศึกษาการจัดการศึกษา ของโรงเรียนสัมมาสิกขา สันติอโศก ที่สะท้อนแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง
๒. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ของสัมมาสิกขา สันติอโศก ที่สะท้อนแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง
๓. ศึกษาการจัดการศึกษา ที่สะท้อนแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ออกสู่สังคม และ โรงเรียนอื่นๆ

การทำวิทยานิพนธ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลตลอด ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โดยจะนำเสนอ ภายใต้ การตีความ การให้ความหมาย เศรษฐกิจพอเพียง ของสมณะ โพธิรักษ์

จากบางส่วนของการสนทนา สัมภาษณ์ ดังนี้

ถาม : ตอนแรก ดิฉันสงสัยว่า เศรษฐกิจพอเพียง กับ เศรษฐกิจบุญนิยม นี่ต่างกัน อย่างไรนะคะ แต่ได้คำตอบแล้ว จากรายการ พุทธที่ไปนิพพาน (๓ ก.พ. ๒๕๕๑) แล้วเศรษฐกิจพอเพียง กับเศรษฐกิจ บุญนิยมนี่ มันเชื่อมโยง ต่อเนื่องกัน อย่างไรนะคะ ก็ได้คำตอบแล้ว จากรายการ ส.ศ.ศ. เสือในศาลา น่ะค่ะ

- ครั้งที่ท่านไปสัมมนา เรื่องความมั่นคง การจัดการ ความขัดแย้ง แล้วก็การสร้างสังคม สมานฉันท์ ที่โรงแรม รอยอลริเวอร์ นะคะเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนา ๒๕๕๐ นี่ตอนหนึ่ง ท่านได้กล่าวว่า

อาตมาซาบซึ้ง เศรษฐกิจพอเพียง แต่ไม่ใช่ เศรษฐกิจพอเพียง อย่างที่คนหรูหรา ร่ำรวย เขากล่าวอ้างกันนี่

ท่านซาบซึ้งอะไรคะ แล้วก็คำกล่าวนี้ หมายความว่าอย่างไร

พ่อท่านฯ : อาตมาเข้าใจว่า คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี่ หมายถึงคำว่า “สันโดษ” ของพระพุทธเจ้า ใจมันพอ อาตมา เข้าใจสภาวะธรรม ของคำว่า”พอ” ใจคนนี่ มันไม่พอ เพราะว่ามีกิเลส มันได้มากเท่าไหร่ มันก็ไม่เคยหยุด มีเท่าไหร่ๆ มันก็ไม่พอ บานจากก้นกรวย ไปหาปากกรวย ไปเรื่อย

ถ้ามีเขตพอ “พอ”จริงๆ ใจมันพอ แค่นี้ มีเท่านี้พอแล้ว มากไป น้อยลงอีกก็ได้ ควรน้อยลงดีกว่า ใจจะมักน้อยลง ยังงี้เป็น อัปปิจฉะ พอคือสันโดษ อาตมา ก็ถึงซาบซึ้งว่า โอ...ในหลวงตรัส สิ่งที่พระพุทธเจ้า ท่านเอามาใช้กับมนุษย์ ถ้ามนุษย์ ไม่มีความพอ ไม่มีสันโดษ มันก็ไปไม่รอด สังคมไปไม่รอด ตัวเอง ก็ไม่รู้จักจบ ตัวเองก็ทุกข์ สังคมก็ถูกปล้น ถูกแย่งถูกชิง ถูกรุกราน ถูกกอบโกย เอาเปรียบกัน อยู่ตลอดเวลาแหละ ถ้าจิตไม่รู้จักพอ

จึงเป็นความสำคัญ ที่จะต้องรู้กิเลสตัวนี้ แล้วก็เรียนรู้เพื่อละ เพื่อลด เพื่อทำให้ กิเลสตัวนี้ มันฝ่อ หรือมันดับไป ให้ได้ จึงจำเป็น ที่จะต้อง ศึกษาปรมัตถ์ ศึกษาความจริงอันนี้ หรือศึกษาธรรมะ เพื่อที่จะทำตน ให้เป็นคนพอเพียง

ถ้าเอาแต่พูดว่า เศรษฐกิจพอเพียงๆ แต่ไม่เข้าใจ ในแนวแท้ ที่เป็นสัจจะ ว่าพอคือ ใจมันต้อง มีกิเลสลด ต้องพอจริงๆนะ ถ้าได้แต่พูด มันก็เป็นไปไม่ได้

อาตมาถึงเห็นว่า เอ้อ สังคมนี้มี อย่างในหลวง ท่านตรัสออกมานี่ ก็เป็นประกาศิต อันหนึ่ง ที่จะทำให้ คนชะงัก แล้วให้คน ต้องหยุด อย่างที่เคยเป็นมา หันมาศึกษา เปลี่ยนแปลงจากเก่า หรือว่า อบรมฝึกฝนตนเอง ให้เป็นคนชนิดนี้ ขึ้นมาให้ได้ ความสำเร็จของ เศรษฐกิจพอเพียง ถึงจะเกิด เมื่อมันเป็นจริง สังคมมันก็ไปรอด อยู่ดีมีสุข เจริญได้จริงๆ แน่นอน มันก็จะช้าล่ะ ในช่วงแรก ที่ยังเข้าใจกัน ไม่เพียงพอ เพราะกิเลสมันต้าน กิเลส มันคือความโง่ จริงๆด้วย มันคือ ความตามืด ตาบอด กว่ามันจะสร่าง กว่ามันจะสว่าง กว่ามันจะรู้แจ้งได้ ก็ต้องใช้เวลา คนที่รู้ได้ก่อน ก็รีบปฏิบัติ เพื่อจะได้บรรลุ จะได้มีพลัง วิมุติคือพลัง มีพลังจริงๆ พลังสร้างสรร ที่บริสุทธิ์แท้

อาตมาถึงได้ซาบซึ้งความจริงอันนี้มาก โอ...เป็นบุญของประเทศ ที่ในหลวงตรัส ความนี้ขึ้นมา ให้แก่ประชาชน มันเป็นเรื่อง สุดยอด เป็นเรื่องดีวิเศษ

ถาม : แล้วมันต่างจากที่ท่านบอกว่า คนหรูหราร่ำรวย เขากล่าวอ้างกันนี่ มันต่างกัน ตรงไหน

พ่อท่านฯ : อ๋อ ต่างกันมาก ก็คนหรูหราร่ำรวย เขาไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักลด คำว่า”พอ”นี่ มันจะเกี่ยวเนื่อง กับคำว่า ”มักน้อย” อย่างสำคัญ ไม่ใช่มักมาก แต่ถ้า”ไม่พอ”นี่ มันก็จะมาก ไปเรื่อย บานไปสู่ปากกรวย แต่ถ้าคนที่”พอ” คือ คนที่ ”สันโดษ”แล้ว “มักน้อย” มันก็จะหัน มาหาทาง ก้นกรวย แล้วก็จะลด ลงมาๆๆ ฝึกฝนตนเอง ให้เป็นคน กินน้อย -ใช้น้อย -เปลืองน้อย -ผลาญน้อย ประหยัดลงมา ได้จริง มันก็จะเกิด ความเจริญขึ้น ทั้งตัวเอง และสังคม ที่แท้จริง แล้วการปฏิบัติตนเอง มักน้อยสันโดษ ลงมาจริงๆนี่ มันไม่ใช่ ความเสียหายนี่ มันเป็นความสุจริต เป็นความดีงาม ของมนุษยชาติ ไม่ได้ทรมานตนเอง หรือว่า ทำให้ตนเอง เสื่อมต่ำอะไร มันไม่ใช่ มันเป็นความประเสริฐ เป็นความเจริญ เป็นความสูงส่ง ด้วยซ้ำ

ถาม : ถ้าอย่างนั้นคนรวยที่อยากจะมี เศรษฐกิจพอเพียงนี่ แต่เขาก็ยังมี ศักยภาพ ที่จะหาเงิน ได้เยอะๆ อยู่นะคะ เขาควร จะทำยังไงคะ เขาถึงจะอยู่ อย่างที่เรียกว่า เขาพอเพียง

พ่อท่านฯ : ศักยภาพก็สร้างสรรไปสิ ไม่เสียหาย ไม่เลวร้าย อะไรเลย สร้างแล้วเกิด ผลผลิต มากเกิน จากที่เรา”พอ” เราก็นำส่วนเกินนั้น มาแจกจ่ายเจือจาน เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลมวลชน มันก็เป็น คุณค่าของเรา เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ยิ่งแจก ยิ่งมีคุณค่า ยิ่งสละ ยิ่งประเสริฐ แต่ยิ่งกักตุน ยิ่งเอาเปรียบสิ ยิ่งไร้ค่า ซึ่งยิ่งได้หนี้บาป คนจะเห็น จะเข้าใจ อย่างที่ อาตมาพูดนี้ ก็ต้องมาเรียน ธรรมะ ต้องมา ลดละจิตใจจริง คนที่จะทำ เศรษฐกิจพอเพียงได้ จะต้องเรียนรู้ธรรมะ แล้วลดกิเลสในจิต จริงๆ มันถึงจะเป็นคนที่ จะอยู่ในเกณฑ์ของคน เป็นเศรษฐกิจ พอเพียง ถ้าเขาไม่เรียนรู้ ไม่รู้จักพอ แล้วไม่รู้จักลดละ ลงมาจริง เขาก็ได้แต่ปากพูด มันไม่จริงหรอก มันเป็นไปไม่ได้

ถาม : ที่ท่านบอกว่า คนที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียงได้นี่ จะต้องมีคุณธรรม นะคะ ทีนี้ คุณธรรม ที่ควรจะมีนี่ ควรจะเป็น คุณธรรมอะไรบ้างคะ แล้วคุณธรรม ที่สำคัญๆ นี่ที่ต้องมี

พ่อท่านฯ : ก็คุณธรรมที่สำคัญก็คือ จะต้องเรียนรู้กิเลส แล้วลดกิเลสได้ อย่างถูกตัว ถูกตน ของกิเลส จริงๆ แม้ว่า แค่กดข่ม เอาไว้ได้ ก็ยังเป็นผล แต่ว่ามันไม่ถาวรหรอก ความอดทน กดข่ม มันก็มีจำกัด อดได้ทนได้ มีขอบเขต พอถึงช่องถึงโอกาส ที่สิ้นแรงกด ก็หมดฤทธิ์ ก็กลับมา มีกิเลสอย่างเดิม หรือ กิเลสมันมีฤทธิ์ เหนือยิ่งกว่า ไอ้แรงกดข่มนั้น มันก็ระเบิดได้ การกดข่ม มันไม่จริง มันไม่ถาวร มันก็ออกมาโลภ อยู่อย่างเก่าได้ แต่ของพระพุทธเจ้านี่ ต้องเรียนรู้ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ เรียนรู้ วิธีลดกิเลส และรู้ตัวตนของกิเลส แล้วปฏิบัติลดกิเลส อย่างสัมมาจริงเลย ทำลายกิเลส กำจัดกิเลสได้ อย่างรู้แจ้ง เห็นจริง เป็นวิทยาศาสตร์ กิเลสมันลดจริงๆ นั่นแหละ ถึงจะเป็น ผลสำเร็จจริง เพราะฉะนั้นแล้ว จะต้องส่งเสริม เรื่องศาสนา เรื่องพระพุทธศาสนา ที่ลดกิเลสจริงนี้ ให้ได้จริงๆ ถ้าไม่ทำอันนี้ ไม่มีพุทธศาสนา ที่แท้จริง ที่จะรู้จักตัวตน ของกิเลส ชนิดมีญาณแห่ง วิปัสสนา อันเป็น ”วิชชา” ของพระพุทธเจ้า แล้วมีวิธีลดกิเลส ปฏิบัติภาคปฏิบัติ ของพระพุทธเจ้า คือ มรรคองค์ ๘ หรือเต็มๆ โพธิปักขิยธรรม หรือ จรณะ ๑๕ หรือ ไตรสิกขา อะไรก็แล้วแต่ อันเป็นคำสอน ที่ต้องเรียนรู้ ทฤษฎีเหล่านั้นว่า มันปฏิบัติอย่างไร ถ้าเรียนรู้ จนสัมมาทิฏฐิจริง ก็จะลดกิเลส ได้จริงลงไปๆๆๆ มันถึงจะเป็น ความจริงได้ ถ้าอย่างงั้น ไม่เป็นความจริงหรอก ได้แต่รู้ ได้แต่พูดๆๆ พูดโก้ๆ หรูๆ ไปอย่างงั้นเอง

ถาม : กิเลสมีหลายตัวนะคะ กิเลสตัวไหนคะ ที่ควรจะเริ่มก่อน ถ้าจะทำเศรษฐกิจ พอเพียง

พ่อท่านฯ : ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ติดไม่เหมือนกัน ยึดไม่เหมือนกัน กิเลสของ แต่ละคน ต้องมาอ่านรู้ว่า ยังงี้ คือกิเลส นี่ล่ะกิเลสตัวนี้ล่ะ มันทำลายเรา มันทำให้เรานี่ เรียกว่า หนักหนา สาหัสอยู่ หรือว่าทำให้เรา ไม่เจริญอยู่นี่ ตัวไหนๆ ของใครของใคร ก็ต้องอ่าน ของตัวเอง รู้ของตัวเอง มีญาณ มีปัญญา ที่จะรู้จักกิเลส ตัวนั้นของเราจริง ว่าอ้อ เรามีจริงตัวนี้ แล้วเราก็ปฏิบัติ ปฏิบัติแล้ว กิเลสมันลดจริง จะต้องรู้แจ้ง เห็นจริง ศาสนาพระพุทธเจ้า ต้องปฏิบัติอย่าง รู้แจ้งเห็นจริง เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เดาเอา ประมาณเอา

ถาม : ถ้าอย่างนั้นผู้คนที่ทั่วๆไป ซึ่งอยู่ในระดับกัลยาณชน ที่ไม่ใช่คนร้าย คนเลวมากนี่ นะคะ ก็ทำเศรษฐกิจ พอเพียงไม่ได้ ใช่ไหมคะ เพราะว่า เขาไม่ได้ ลดละกิเลส

พ่อท่านฯ : ใช่ๆ กัลยาณชนเป็นบุญเก่า กัลยาณชนนี่ เป็นบุญเก่า ที่เขาได้มา เขาก็กิเลสเขา โลภโกรธหลง อะไรของเขา ไม่จัดจ้านเกินไป มันเป็นบุญเก่า ของเขา เขาก็ได้ อยู่แค่นั้นแหละ แต่เขาควรเจริญ กว่านั้นไหมล่ะ เจริญเข้ามาสู่ ความเป็น อาริยบุคคล แทนที่จะได้แค่ กัลยาณชน มาเจริญ มาเรียนรู้ธรรมะ มาเรียนรู้ กิเลสจริง มาเรียนรู้ วิธีลดกิเลส แล้วกิเลสลดจริง เขาก็ประเสริฐขึ้นจริง เจริญขึ้นจริง ดีกว่าเก่า

ถาม : ถ้าอย่างนั้นในทัศนะของท่านนี่ การจะทำเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดความสำเร็จนี่ ทุกคน ต้องลดกิเลส หมดเลย ใช่ไหมคะ

พ่อท่านฯ : แน่นอน ทุกคนที่ลดกิเลสได้ จึงจะมี”ใจพอ” จริงๆ คนนั้น ก็เข้าสู่ข่าย เศรษฐกิจพอเพียงได้ ถ้าลดกิเลสไม่ได้จริง ก็ไม่ได้ แม้เขาจะกดข่ม จะทำด้วยสำนึก สังวรเอา ก็อาจจะได้ แต่ได้ชั่วครั้ง ชั่วคราว และ ไม่แน่นอน ไม่เที่ยง เมื่อหมดแรงข่ม หรือกิเลส มันโตถึงขีด ได้ช่อง ได้โอกาสเหมาะๆ เขาก็ตบะแตก กิเลส มันไม่หยุดยั้งหรอกนะ ในแต่ละวินาที คนเรานี่ จะให้มีความรู้ มากเท่าไหร่ๆ ถ้ากิเลส มันมีจริง มันสู้อำนาจกิเลส ไม่ได้หรอก ต่อให้รู้-เก่งรู้ -มากรู้เท่าไหร่ ฉลาดเท่าไหร่ หรือว่าพยายาม จะเป็นคนดี เท่าไหร่ก็ตาม ดีในความหมายที่ว่า เขาเอง เขาสำนึกดี เขาสังวรดี พยายามดีก็เถอะ แต่กิเลสเขา ไม่ได้ลด ถ้ามันมาก ถึงเกณฑ์หนึ่ง เกณฑ์ที่เขาทนสุดทน กิเลสมันไม่ไว้หน้า ความรู้หรอก มันเก่งกว่า ความรู้ เป็นไหนๆ เช่น ไอ้นี่มันล่อใจ แค่ ๑๐ ล้าน เขาก็ทนได้ พอ ๑๐๐ ล้าน เขาก็โอ้โฮ... ฝืนเหมือนกันนะ แต่พอ ๕๐๐ ล้านนี่ เขาทนไม่ได้แล้ว กิเลสมันโลภ มันเอาแล้ว โอ้โฮ ๕๐๐ ล้าน ทนไม่ได้ ยังงี้เป็นต้น ความรู้มันไม่ใช่ เครื่องประกันว่า เขาจะกิเลสไม่ขึ้น แล้วเขาจะไม่ทำทุจริต ทุกคน ตั้งใจไปทำงาน ให้ประเทศชาตินี่ ตั้งใจดี ทั้งนั้นแหละ แต่เวลาไปถึงช่อง ถึงโอกาส โอ้โฮ... นี่เงินทั้งนั้น นี่ช่องทาง สะดวกทั้งนั้น นี่โอกาสแท้ๆเลย กิเลสมันก็ทำงาน มันไม่ไว้หน้า ความรู้จริงๆ คนจะทำชั่ว ก่อนทำชั่ว รู้ดีทั้งนั้นแหละว่า โกงนั้นชั่ว จะปล้ำ ข่มขืน นั้นชั่ว แต่เมื่อกิเลส มันขึ้นหน้า ความรู้ช่วยอะไรไม่ได้เลย เขาจะโกง เขาจะกิน เขารู้ทั้งนั้นแหละ ว่ามันชั่ว คนโกง ที่เรียนมาสูงๆ เฉลียวฉลาด มีอยู่เต็มโลก ความรู้มากเท่าไหร่ แต่เขาก็ทำ ทุจริตนั้นๆได้ รู้ว่ามันไม่ดี ก็ปกปิด ก็ซ่อนเร้น ให้รอด สุดท้าย ไม่รอดบ้าง รอดบ้าง ฉลาดมากๆ ก็ปิดบัง รอดไป จนตายไป อย่างนี้ ก็มีไม่น้อย ไอ้ที่ไม่รอด ก็ซวยไป เขาจับได้ก็เยอะ

ถาม : ถ้ายังงั้นที่เขากำลังทำเศรษฐกิจพอเพียง กันอยู่ในขณะนี้ ในสังคม ประเทศไทย ของเรา เกษตรบ้าง อะไรบ้างนี่ โดยหาวิธี หาสูตรกระทำ มันไม่ใช่ ใช่ไหมคะ

พ่อท่านฯ : ไม่ใช่ ไปทำปลายเหตุ ไปทำแต่เรื่องทางวัตถุ เอ้าลดอย่างนี้ ประหยัด อันนี้ มันก็ได้ผล ชั่วคราว ได้ผลบ้าง อย่างที่เป็น แต่ละชุมชน แต่ละหมู่ ก็ทำได้ ชั่วครั้งชั่วคราว มันไม่ถาวรหรอก มันไม่จริง พอเพียงจริงๆ ต้องปฏิบัติธรรม ให้สัมมาทิฏฐิ ต้องลดกิเลสจริง แม้จะปฏิบัติธรรมแล้ว ถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ ในการลดกิเลสจริง ก็ไม่ได้ ไม่สัมมาทิฏฐิ ไม่ถูกต้อง ตามหลักธรรม ของพระพุทธเจ้า ลดกิเลส ไม่ได้จริง ไม่รู้จักกิเลสจริง ไม่มีประสิทธิผล เศรษฐกิจพอเพียง ก็ไม่จริง มีได้อย่างหลวมๆ หรืออย่างกดข่ม อย่างฝืนทน ไปยังงั้นเอง

ถาม : มีคนกล่าวว่า โรงเรียนสัมมาสิกขา นี่นะคะ จัดเศรษฐกิจพอเพียง โดยผ่านเศรษฐกิจ บุญนิยม ตรงนี้ ท่านมีความเห็น ว่าอย่างไรคะ

พ่อท่านฯ : คือ อาตมาทำเรื่องของเศรษฐกิจบุญนิยมมาก่อน เศรษฐกิจบุญนิยม นี่ก็คือ ของพระพุทธเจ้า คือธรรมะ พระพุทธเจ้านั่นเอง เศรษฐกิจบุญนิยมนี้ ที่จริง ไม่ต่างกันเลย กับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแต่เพียง ”ความพอเพียง”นั้น มีจริงอยู่ใน ”บุญนิยม” “ใจที่พอ” คือ ”สันตุฏฐีธรรม” หรือ”สันโดษ” นั่นเอง ถ้าจะว่า มีความต่าง ก็ต้องเข้าใจ ประเด็นที่ต่าง ให้ชัดเจน ประเด็นที่ต่างกัน อย่างชัดเจน ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั้น คือมี ”ความพอ”ในแต่ละคน แต่คำว่า ”พอ” ยังไม่ถึงขั้น หมดเนื้อหมดตัว ไม่หมดตัวหมดตน ไม่ถึงนิพพาน บุญนิยมนั้น สมบูรณ์ถึงนิพพาน ส่วนเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีเขตขั้นความพอ ที่ไม่เท่ากันบ้าง ต้องมีขนาดนี้ จึงจะพอ บ้างก็น้อยกว่านั้น เขาก็พอ ต่างกันหลายระดับ แต่ก็ต้อง อยู่ในเกณฑ์ "คนมักน้อย”นะ “คนมักมาก” หรือยังจะต้อง มีมากๆๆ อยู่นั่น ยังไม่ใช่ เศรษฐกิจพอเพียง แน่นอน

ที่สำคัญเศรษฐกิจพอเพียง คือ คนที่ยังไม่ได้มุ่งหมายถึงขั้น”สูญ” ขั้นแค่”พอ” แต่ยังไม่”สูญ”นี่เอง ที่เป็นประเด็น ความต่าง ผู้”สูญ”ได้ จึงจะสุดยอดถึง นิพพาน เศรษฐกิจบุญนิยมนั้น มุ่งหมายถึงนิพพาน ดับกิเลสสิ้น หมดตัวหมดตน

เพราะงั้นเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ”จน”ก็เป็นสุข ส่วนบุญนิยมนั้น มีถึงขั้น ”หมดเนื้อ หมดตัว”ก็เป็นสุข กล่าวคือ ไม่ใช่แค่ ”จน” แต่ไม่มีสูงสุดถึงภาวะ ”สุญตา” ฺคือขั้น ไม่มีอะไร เป็นของตน ไม่สะสมทรัพย์สิน เป็นของตัว ของตนแล้ว หมดเนื้อหมดตัว แต่ถ้าแค่ขั้น”พอ”เพียงนั้นเพียงนี้ ยังสะสมอยู่บ้าง แต่ไม่มาก จนถือว่า”รวย” อยู่ในฐานะ ที่เรียกได้ว่า ”จน” แต่ไม่หมดเนื้อ หมดตัว ซึ่งมีนัยสำคัญ ต่างกัน อยู่ตรงที่ว่า บุญนิยมนั้นปฏิบัติตน ให้มีน้อยลงๆ จากจุดมีมาก เหลือน้อยลง ๆๆๆ ถึงขั้นสูงสุด -สุดท้าย หมดเนื้อหมดตัว "หมดตน” (อนัตตา) หมดไปหมดเลย แล้วก็อยู่ได้ อย่างเป็นสุข นี่คือ เศรษฐกิจบุญนิยม ส่วน เศรษฐกิจพอเพียงนั้น อาจจะมีหลายเกณฑ์ เกณฑ์ของคนนี้ มีซัก ๑๐ ล้าน”พอ” คนที่ดีกว่านั้น สูงกว่านั้นขึ้นมา มี ๕ ล้าน”พอ” ยิ่งกว่านั้น คนนี้มีล้านเดียวก็”พอ” ก็อยู่ดีเป็นสุข เกณฑ์ของใครของมัน ไม่เท่ากัน แต่ก็ยัง มีเท่าที่ตน จะกำหนด ให้แก่ตน เป็นเกณฑ์ ยังดีตรงที่ว่า รู้จักเกณฑ์ ที่ตนเองตั้งเอาไว้ ว่าไม่เอามาก เอาแค่นี้ล่ะ คนนี้ก็”พอ”แล้ว เกินกว่านั้นสละออก ไม่สะสม ให้มีเกินกว่านั้น ส่วนเกินนั้น ก็จะออก จากตน เข้าไปสู่สังคม สู่ส่วนรวม ของประชาชน

แต่ถ้าคุณเอาไว้มาก อย่างไม่มีเกณฑ์ ไม่มีขีดเขต ความ”พอ” อย่างปุถุชน สามัญทั่วไป เป็นอยู่กัน เช่นว่า โอ..ได้สิบล้าน ก็ยังอยากได้อีก ร้อยล้าน ได้ร้อยล้านแล้ว ก็เดี๋ยวๆ ยังไม่พอ ขอเพิ่ม สักพันล้านเถอะ จะพอ พอได้พันล้าน ก็ไม่พอ ขอเป็นหมื่นล้านไปอีก ถึงหมื่นล้าน ก็ยังไม่”พอ” ยังไม่พอๆ อยู่เรื่อยไป ไอ้นี่มันไม่ใช่ ”คนพอ”หรอก แม้คุณจะทำมา หาได้ อย่างสุจริต ปานใดก็ตาม ใจมันยังไม่มี ”สันโดษ” มันยังไม่เป็น ”ใจพอ” ไอ้หมื่นล้านนี่ มันมากไป จริงๆนะ ประเมินดู ตามเศรษฐกิจ หรือว่า ตามวัตถุเถอะ ทรัพย์ที่ว่านี้ ไม่หมายถึง ”วัตถุทรัพย์” ที่อยู่ในงานอาชีพ ที่เป็นทุน สร้างสรร ทำงานอาชีพ ดำเนินชีวิตอยู่นะ หมายถึง ทรัพย์สิน ที่ไม่เป็นประโยชน ์สร้างสรร ทรัพย์สิน ที่สะสมกักตุนไว้ ไม่มีบทบาท สร้างสรรอะไร มันเป็นส่วนเฟ้อ ส่วนเกิน สำหรับตนแล้ว มันไม่มีบทบาท ในทางประกอบการงาน สร้างสรรแล้ว มันเป็นส่วนเหลือ ส่วนเกิน จริงๆ เราไม่ควรกักตุนเอาไว้ หรือไม่ควรเอาไป ออกดอก ออกผล รีดนาทาเร้น จากคนอื่น มาเพิ่มทรัพย์ที่ตน มีเกินอยู่แล้วอีก ทรัพย์ส่วนเกิน แบบนี้ ทางภาษา เศรษฐศาสตร์ เขาจะเรียกอะไรไม่รู้ อาตมาไม่มีความรู้ ซึ่งส่วนเฟ้อ ส่วนเกินนี้ มันควรแบ่ง ให้คนอื่น นำไปกินไปใช้ หรือ นำไปเป็น ต้นทุน อาศัยดำเนินชีวิต เพราะถ้ามันอยู่ที่เรา มันเป็นส่วนเกิน ส่วนเฟ้อจริงๆ ดีไม่ดี คุณก็เอาไปให้กู้ รีดเอาดอกเบี้ย หรือไปลงทุน ให้ผู้อื่น เอาไปทำงานกอบโกย รีดมาแบ่งให้ตน อีกต่อหนึ่ง แล้วคุณก็ยิ่งร่ำรวย ไม่มีหยุด ไม่มี”พอ” ซ้ำเสียอีก คือทรัพย์ที่คุณ เกินกิน เกินใช้แล้ว แล้วอย่าแก้ตัว ว่าไม่พอใช้ เป็นอันขาด เพราะคุณ ไม่ควรฟุ่มเฟือย คุณมีใช้พอใช้ อย่างเฟ้ออย่างเกิน ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ความฟุ้งเฟ้อนั้น มันไม่มี ที่สิ้นสุดหรอก จะสะสมอีกเท่าไหร่ ฟุ้งเฟ้อแค่ไหน มันไม่มีที่สิ้นที่สุด คนประหยัด คือคนดี คนฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ไม่ใช่คนดี ก็รู้กันเป็นสามัญ ทั้งนั้น ดังนั้น ส่วนเกิน ที่ควรแบ่งแจก สละให้คนอื่น เอาไปกินใช้ หรือ เอาไปใช้ทำงาน สร้างสรร ให้เกิดขึ้น ในสังคม ไม่ใช่สร้างสรร เพิ่มเงินทองให้ตัวเอง ยิ่งมากขึ้นๆ เป็นคน ไม่รู้จัก”พอ” ผู้ที่มี ”ใจพอ” หรือคุณธรรม ที่เรียกว่า ”สันโดษ” จะสละออกจริง เผื่อแผ่ เกื้อกูลผู้อื่น ออกไปจริงๆ แม้จะเป็นสิทธิ์ ที่ถูกต้อง ของตนก็ตาม เราก็มีสิทธิ์ ที่จะสละออก อย่างพอใจ แต่ถ้าไม่สละ มันก็เป็นเจ้าของ อยู่นั่นแหละ มันก็เป็น ”ของกูตัวกู” ดังนั้น คุณธรรมของคน ที่มีขอบเขตของ ”ความพอ” จริง มีชีวิต ”สันโดษ” มีชีวิตสุขสบาย อย่างพอใจ ตามที่ตน มีกินมีอยู่ แม้จะไม่ร่ำรวย ก็จะไม่ต้องการร่ำรวย ไปกว่านั้นอีก จึงชื่อว่า “พอเพียง” เป็นผู้เข้าใจ และมีน้ำใจ ในการเอื้อเฟือ เจือจาน เข้าใจใน ทรัพย์ศฤงคาร ของคนอื่น -ของประเทศ - ของส่วนรวม ว่าควรจะเฉลี่ยกัน ควรแจกจ่าย ให้แก่ ผู้มีความขัดสน -ผู้มีน้อย จะไม่กอบไว้โกยไว้ ที่ตนมากไป จะไม่เอาเปรียบมาก เป็นของกูมากไป จะสละออก ตามที่ควรสละ จะเฉลี่ย ตามที่ควรเฉลี่ย ไม่ใช่ตน จะรวยไปเรื่อย อย่างไม่มี ที่สิ้นสุด จะไม่สร้างความรวย ให้ตนมั่งคั่ง ต่างกับ คนส่วนใหญ่ ของสังคม อย่างไม่มีขีดขั้น เพราะชัดเจน ในใจแน่นอนแล้วว่า ความโลภ ที่ต้องการรวย อย่างไม่มี เขตสุดสิ้นนั้น ไม่ใช่ ”ความพอเพียง” ไม่ใช่ ”ความสันโดษ” ซึ่งเป็น ”อาริยปัญญา” หรือ ปัญญาของ ผู้ประเสริฐ ที่มีหิริ มีโอตัปปะจริง จิตใจของคน ที่อยู่ในร่างคนเป็นๆ นี่แหละ ที่เป็น ”เทวดา”แท้ๆ คือผู้มีจิตใจ ”ละอาย” ที่จะรวย กลัวที่จะทำตน เป็นคนรวย ไปกว่าที่ตน ”สันโดษ” จริงๆ ซึ่งไม่ใช่ปัญญาแค่รู้ แค่เข้าใจได้ เท่านั้น แต่เป็นปัญญา ของคนผู้มี จิตใจที่เกิด ”อาริยธรรม”จริง ในตน คนเช่นนี้แหละ คือคนที่มี ”เศรษฐกิจพอเพียง” ความหมายของ ”เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นเช่นนี้

ถาม : ถึงแม้ว่าเขาจะได้มาโดยสุจริต

พ่อท่านฯ : ใช่ คนมีสันโดษหรือใจพอเพียงจริง จะสละส่วนที่เกินไปจากเกณฑ์ หรืออุดมคติ ที่ตน”พอ” แม้เขาจะได้มา โดยสุจริตนั่นแหละ ถ้าได้มาด้วยการ โกงอยู่นั้น มันไม่มีทางเป็น ”เศรษฐกิจพอเพียง” ได้เลยในสังคม เพราะมัน เกินกว่า ”โลภ” อย่างสามัญไปแล้ว มันทุจริต อกุศลแล้ว กฎหมายมันก็ผิด นี่เป็นคุณสมบัติ อันดีงามของมนุษย์ มนุษย์จะต้อง เรียนรู้ ความพอเหมาะ พอดี ความไม่เปลือง ไม่ผลาญ ความประหยัด มัธยัสถ์ และเฉลี่ย แบ่งแจกออก ให้ทั่วๆกัน ซึ่งเป็นคุณค่า คุณงามความดี ของมนุษย์น่ะ ไม่ใช่เรื่องฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ถ้าพูดถึง ธรรมะแล้ว คุณฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย คุณบำเรอตน มากมาย กิเลสของคุณ มันก็อ้วนๆๆๆ กิเลสของคุณ ก็ได้รับ การบำเรอ กิเลสหนาขึ้นๆๆๆๆ ย่ามใจมากขึ้น มันไม่ได้เป็น สิ่งที่ดีงามอะไร อยู่ในวัฏฏสงสารนี้ เราไม่ควรจะต้องมา บำเรอกิเลส ให้มันโตขึ้นๆ อีกไม่รู้กี่ชาติๆๆๆ ต่อไปภายหน้า อีกเท่าไหร่ นับไม่หวาดไหว ถ้าคนไม่ลดกิเลส เป็นเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ ขอยืนยัน สังคมคนที่ กิเลสลดลง มันก็ดีกว่า ใช่ไหม ?

ถาม : นั่นก็คือเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจบุญนิยมล่ะคะ สอดคล้องกัน ใช่ไหมคะ ไปด้วยกันได้ ใช่ไหมคะ

พ่อท่านฯ : ได้สิๆ ใช่ บุญนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียง ไปด้วยกันได้ เพราะเศรษฐกิจ บุญนิยมนั้น ถึงขั้นนิพพาน ถึงขั้นหมดตัว หมดตนด้วยซ้ำ มีความมักน้อย จนหมดเนื้อ หมดตัว สูงส่งไป จนกระทั่ง ในชีวิตนี้ ให้แก่สังคม จนหมดเนื้อ หมดตัว ได้จริง ไม่ได้เบียดเบียน สังคมเลย แม้แต่ตนเอง ก็ไม่ได้เบียดเบียนตนเอง อยู่อย่างคนจน ที่มีสุข คนที่หมดตัว หมดตน อย่างเป็นสุข

แต่..เศรษฐกิจ พอเพียงนั้น ถ้าคนผู้ใด ที่ตั้งเกณฑ์ความพอ ของตัวเอง มากอยู่ มันก็ยังเอาเปรียบ สังคมอยู่ หรือว่าได้เปรียบสังคม อยู่ในส่วนหนึ่ง เพราะงั้น ใครตั้งเกณฑ์ ของตัวเอง เอาน้อยลงๆ ได้เท่าไหร่ ก็ได้ช่วยสังคม ได้มากขึ้น ก็เท่านั้นเอง

ถาม : ถ้าโรงเรียนทั่วๆไป หรือว่าสังคมนี่นะคะ จะนำแนวคิด หรือว่า การจัดการศึกษา ของสันติอโศกนี่ ไปใช้บ้าง นะคะ เพื่อให้เป็นแบบ แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ท่านคิดว่า เขาจะทำได้ไหมคะ แล้วถ้าเขา จะทำนี่ เขาต้องมี เหตุปัจจัยอะไรบ้างคะ

พ่อท่านฯ : ทำได้สิ ของพระพุทธเจ้า ท่านยังทำได้ แล้วเราก็เอามาทำ ได้แล้ว ทำไมคุณก็คน เราก็คน มันจะไป เหนือชั้นกว่ากัน อะไรกัน มากมายล่ะ มาคิดเอาเอง มาถล่มตนเองทำไม ท้อแท้ทำไม ทำความเข้าใจให้ดีๆ แล้วก็ตั้งใจ มุ่งมั่น ปฏิบัติตน ศึกษาให้มันถูกต้องเป็น สัมมาทิฏฐิ แล้วก็ลงมือ ปฏิบัติจริงๆ

ถาม : เขาก็มองว่าที่นี่มีสิ่งแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยนะคะ

พ่อท่านฯ : ก็สร้างขึ้น อโศกนี่ ที่จะเกิดยังงี้ขึ้นมา เป็นยังงี้ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า อยู่ดีๆ ก็มีได้ โดยบังเอิญ หรือใคร เนรมิตมาให้ พระเจ้ามาบันดาลให้ ไม่ใช่ เราทำด้วยน้ำพัก น้ำแรงเราเอง ทั้งนั้น ก่อร่างสร้างตัวเอง ช่วยกันสร้าง สังคมขึ้นมา ให้ได้เอง ตั้งแต่ศูนย์ ขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วมันก็ เป็นยังงี้มา ชุมชนชาวอโศกที่ไหน ก็เหมือนกัน ก็ทำอย่าง ที่นี่ทำทั้งนั้น เริ่มต้น มาจากหนึ่ง จึงเป็นเรา รวมเราเขา เข้าเป็นหนึ่ง มาถึงวันนี้ จึงมีอย่างที่เห็นจากนี้ไป ใครจะทำ ก็ง่ายกว่าที่เราทำกันมา เพราะมีตัวอย่างมาแล้วด้วย อย่างที่อาตมา ทำนั่น โอ้โฮ... อย่าว่าแต่ทำ โดยไม่มี ตัวอย่างเลย ถูกขัด ถูกแย้ง ถูกถล่มทลาย ถูกหาว่า มันผิด มันเพี้ยน มันสุดโต่ง มันเลอะเทอะอะไร โอ... จนจะจับเข้าคุก เข้าตะราง อะไรมามากมาย เราก็ยังอุตส่าห์ บุกบั่น บากบั่นมาได้ เดี๋ยวนี้ยิ่งมีตัวอย่าง มีหลักเกณฑ์ มีหลักฐาน วิชาการอะไร ที่จะเอาไปค้นคว้า เรียนรู้ อะไรสงสัย ศึกษาก็มาถามไถ่ มาอบรมฝึกฝน มาอยู่ร่วม เข้าคอร์ส อะไรได้

ถาม : อันนั้นกรณีที่เป็นชุมชนนะคะ ถ้าเป็นชุมชนเป็นสังคม ก็พอจะทำ อย่างท่านได้ แต่ถ้าเป็น โรงเรียนล่ะคะ ซึ่งมันมีเหตุปัจจัย

พ่อท่านฯ : เหมือนกัน โรงเรียนก็คือชุมชน โรงเรียนก็คือ หน่วยสังคม

ถาม : มันต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณของหลวงบ้าง ของรัฐ อะไรอย่างนี้

พ่อท่านฯ : เศรษฐกิจพอเพียงนั้น มันอยู่ที่คนเป็นหลัก ไม่ได้อยู่ที่งบประมาณ มันมีแต่จะลด เงินทองเป็น ลดการใช้จ่าย เงินทองได้ แล้วมันจะไปเปลือง งบประมาณ ทำไมล่ะ เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ทุนนิยม เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นบุญนิยม

ถาม : ท่านคะ แสดงว่าศาสนานี่ ต้องไปกับเศรษฐกิจพอเพียง

พ่อท่านฯ : ใช่... ขอยืนยันเลย ถ้าไม่มีศาสนา ไม่มีธรรมะที่แท้จริง เศรษฐกิจพอเพียง ไปไม่ออก ไปไม่ได้ ไม่เกิดแน่นอน เช่น ต่อให้ตราเป็นกฎหมาย บังคับ ตั้งหลักเกณฑ์ ตั้งทฤษฎี ให้เยี่ยม ปานใด แต่ไม่ขัดเกลากิเลสได้ อย่างแท้จริง แม้จะบังคับ จะฝืนให้เกิด ก็ได้ชั่วคราว เดี๋ยวเดียวก็ล่ม ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นของแท้ เด็ดขาด

ถาม : ท่านมีนโยบายในการจัดการศึกษา ของโรงเรียน สัมมาสิกขา ยังไงคะ เกี่ยวกับเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

พ่อท่านฯ : ต้องมาเน้นคุณธรรม เพราะการศึกษา ที่อาตมาเห็น ๑.ขาดคุณธรรม ๒.ขาดการทำงานเป็น ส่วนวิชาการนี่ ท่วมหู ท่วมหัวกันเลย เรียนกัน จนหัวผุหัวพัง เต็มไปหมด แล้วก็หอบแต่วิชา นั่นน่ะ ไปทำงานอยู่ในโลก วิชาที่อยู่ ในหัว เต็มหัว คือวิชาที่เป็น ความรู้ ความคิด แต่ไม่ใช่ความจริง ได้แต่รู้ ได้แต่พูดถึง ความรู้ ความเลิศลอย ของความรู้ แต่เป็นไม่จริง ใช้ความรู้เท่านั้น แลกเงิน ได้เงินแลกเปลี่ยน ตีราคาความรู้ ความรู้ก็เลย ราคาแพงขึ้นๆ เพราะความรู้ มันเบากว่า ”การกระทำ” จนเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นเนื้อเป็นตัว คนก็เลย ไปนิยมความรู้ กันทั้งโลก ทำงานไม่ค่อยเป็น เอาเปรียบ ได้เปรียบ เพราะความรู้ คือสมอง ฝึกสมอง พัฒนาสมอง ก็ฉลาดขึ้นๆ ๆๆๆ แต่ ศีลธรรมไม่มี และ ทำงานไม่เป็น ไปเรื่อยๆ แถมหยามเหยียด ดูแคลน ”ผู้กระทำ” เป็นกรรมกร เป็นคนชั้นล่าง ชั้นต่ำ นี่คือ ความล้มเหลว ของการศึกษา

อาตมาถึงได้ตั้งนโยบายหลัก ในการศึกษาเลยว่า ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา คือจะต้อง มาศึกษา ให้มีคุณธรรม ในคน จริงๆ อาตมาให้สัดส่วน ”ศีลเด่น” หรือ เน้นคุณธรรมไว้ ๔๐ % ตั้งแต่เด็ก ปลูกฝัง สั่งสอนอบรมไปเลย เสร็จแล้วก็ ”เป็นงาน” คือต้อง ทำงานเป็น ๓๕ % ไม่ใช่เอาแต่รู้ ต้อง ทำเป็น คนที่ทำงานเป็น... มันต้องมีความรู้ ในงานนั้น แน่นอน แต่คนที่รู้ ทว่าทำไม่เป็นนี่สิ มันได้แต่รู้ มันด้อยกว่า คนทำเป็น อยู่เห็นๆ คนมีแต่รู้นี่แหละ ที่กินแรงคนทำ อาศัยกิน ของคนอื่นไป แฝงไปถ่วงคนอื่นเขา เป็นภาระคนอื่น อยู่ในโลก ความรู้ต้องมีนั้น ก็ใช่ แต่ที่สำคัญคือ ต้องทำเป็น ต้องมีความสามารถ ต้องทำงานเป็น โดยเฉพาะ งานที่เป็นกิจ ใกล้ตัว หรืองานเฉพาะ ที่ตนเอง ควรทำเอง ไม่ใช่เอาแต่ชี้ใช้ หรือ ให้คนอื่นทำให้

ส่วน”ชาญวิชา” คือด้านวิชาการต่างๆ ในโลกนั้น ก็ต้องเรียนนั้น แน่นอน แต่ให้มีไปด้วย ต้อง”ทำเป็น”ไปด้วย ไม่ใช่ตีราคาความรู้ ให้แพง ให้สูงกว่า การทำเป็น อย่าให้เหลื่อมล้ำกัน ที่จริง”การทำเป็น” ควรราคาสูงกว่า”ความรู้” สำหรับ ”ความรู้ใหม่ที่พิเศษ” ราคาแพง ก็ถูกต้อง แต่ความรู้ สามัญนั้น ควรจะราคาถูกกว่า ”การทำเป็น” เพราะคนทำเป็นนั้น มันต้องมี”ความรู้” ในสิ่งที่ตน ”ทำได้” จึงเรียกว่า”ทำเป็น” แต่สังคมทุกวันนี้ มันฉ้อฉลใน ”ราคาของความรู้ กับการทำเป็น” “ความรู้”มันได้เปรียบ ”การทำเป็น” ตามที่พูดไปแล้ว อย่างสุดฉ้อฉลแล้ว ทุกวันนี้ คนเลย ไปหลงความรู้ กันเต็มโลก เพราะการตั้งราคาความรู้ มันเกิดจาก สมองของคนฉลาด ที่มีกิเลส ซับซ้อนยิ่งๆขึ้น เอาความรู้มาเป็นตัวนำ จริงๆ ทำไม่เป็น หรือเป็นก็ไม่ทำ เพราะการทำ มันเหนื่อยกว่า แน่นอน เมื่อมันได้เปรียบแล้ว ก็เอาเงินจ้างดีกว่า ถูกกว่า เราได้เปรียบกว่าอยู่แล้ว และลึกๆ ก็เกิดศักดินา ในหัวใจอีกด้วย ว่า “คนทำ”ต่ำกว่า”คนรู้” ที่สำคัญคือ ในจิตใจ ไม่มีคุณธรรม -ไม่มีศีลธรรม นั่นแหละ เป็นเรื่องหลัก สังคมมันถึง ล่มสลาย พังทลาย เหตุเกิดจาก การศึกษา ล้มเหลว เพราะหลงวิชาการ เลยตั้งทิศไว้ผิด สร้างคนผิดๆ ให้เป็นคนรู้ๆๆๆ แต่ทำงานไม่เป็น หรือเป็นก็ หนีงานหนัก สมัครงานเบา ที่สำคัญคือ ไม่มีศีลธรรม ไม่มีคุณธรรม มันก็พัง

เพราะฉะนั้น เราถึงกลับมาให้มันมี”ศีลเด่น”ให้มีศีลธรรมมาก เป็นเรื่องนำ “เป็นงาน” รองลงมา แล้วก็การศึกษา ที่จะมีความรู้อะไร ในโลกนี่ ไม่ต้องไปกลัวว่า จะด้อย ว่าเราเอง เราความรู้ น้อยกว่าเขา ไม่ต้องไปกลัว ขอให้เป็นงาน คนที่ทำอะไรเป็นนี่ ไม่มีความรู้นี่ มันไม่จริง คนที่มี ความรู้มากๆๆ น่ะทำไม่เป็นน่ะ มีเยอะ มีความรู้ท่วมหู ท่วมหัว แต่ทำไม่เป็น สร้างอะไรไม่ได้ แต่ได้เงินเดือน ได้รายได้มาก แล้วก็ไปดูถูก ดูแคลน คนทำได้ ว่าเป็นกรรมกร ข่มกันด้วย อย่างนี้น่ะ มันเกิดความเสียหาย มันก็เกิดความล่มสลาย ของสังคม


 

เมื่อประชาธิปไตยวิปริต
ร่วม-เร่ง-สร้าง ธัมมัญญารังสี คือ หนทางรอด

ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ มนุษย์ไม่มีคุณธรรม กิเลสในตัวคน มีมากขึ้นๆ ทำให้เกิดภาวะ โลกร้อน... สงครามชนชาติ ... สงครามศาสนา ... ประเทศใหญ่ รุกราน และเอาเปรียบ ประเทศน้อย... การก่อการร้าย... ทุนข้ามชาติ เอาเปรียบ ชนพื้นถิ่น... การทุจริต ทั้งทางตรง และอ้อม ของผู้บริหาร... ผู้มีอำนาจ หลงระเริงกับ การใช้อำนาจ ที่ไร้ธรรม การศึกษา จึงเป็นอาวุธ ที่เอาเปรียบกัน ยิ่งๆขึ้น...ฯลฯ

เอเอฟพี รายงานเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ว่า บริษัทที่ปรึกษา ความเสี่ยงทางการเมือง และเศรษฐกิจ (เพิร์ค) เผยผลสำรวจ ประเทศ ในเอเซีย ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มี "คอร์รัปชั่นสูงสุด" ไทยเป็นอันดับสอง

เป็นความจริงที่น่าละอาย และอดสูใจอย่างยิ่ง ประชาชนไทย ก็รับรู้กันโดยทั่ว ตั้งแต่ รากหญ้า ชาวบ้าน ร้านค้า ทั้งในเมือง และชนบท เพราะพบได้ ในชีวิต ประจำวันของตน ป่วยการกล่าวถึง การเลือกตั้ง ทุกระดับ ไม่มีครั้งไหน ที่ไม่ทุจริต

การทุจริตมีตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน -ตำบล-อำเภอ-จังหวัด -ประเทศ ข้าราชการ กรม-กอง -กระทรวง รัฐบาลที่ผ่านๆมา ได้รับการกล่าวขานว่า มีการทุจริต กันมาทั้งนั้น รัฐบาล "ไทยรักไทย" ได้ชื่อว่า มีการทุจริต มากที่สุด ของชาติไทย "ผลประโยชน์ทับซ้อน" "ทุจริตเชิงนโยบาย" "แก้กฎ เพื่อซดคำโต" ดังที่มีผู้กล้า ออกมาเปิดโปง การทุจริตต่างๆ มากมาย และเป็นที่มาของ การปฏิวัติ รัฐประหาร ของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แม้กระนั้น บางท่านใน คมช.เอง ก็ถูกกล่าวขวัญ ระบุว่า มีการทุจริต ถึงขนาดว่า บางท่านในรัฐบาลที่ คมช.แต่งตั้ง ก็ถูกระบุ เช่นกันว่าทุจริต

สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งของสังคมไทย ก็คือ " ทัศนคติที่เลวร้าย" มองการทุจริต เป็นเรื่องสามัญ ที่ไม่ได้น่ารังเกียจอะไร ที่ซ้ำร้าย ยิ่งขึ้นก็คือ ประชาชน ส่วนใหญ่นิยม

ดังข้อความบางส่วนของ คุณเปลว สีเงิน ในไทยโพสต์ ฉบับวันที่ ๑๓ มีนาคม...

...สำรวจโพลล์ออกมาทีไร เปอร์เซ็นต์ นับวันจะขยายโตขึ้น ที่บอกว่า "นักการเมือง โกงไม่เป็นไร" 

"โกงด้วย-ทำด้วย ชาวบ้านได้บ้าง" อย่างนี้....ชาวบ้านนิยม ! 

นี่คือประเทศไทยยุค "ประชานิยม" ที่ประชาชนพอใจแค่ได้ "กินรำ" ส่วนพวก กลุ่มทุน -กลุ่มการเมืองชุ่มฉ่ำ "เชือดหมู" ที่อ้วนด้วยรำนั้นกิน... 

ความนิยมพอใจกับการ "กินรำ" นี้ส่งผลให้ได้รัฐบาล "ขี้เหร่" การโยกย้าย ข้าราชการ ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินคดีทุจริต รัฐบาล "ไทยรักไทย" ขัดสายตา ประชาชน ที่รักความเป็นธรรม อย่างยิ่ง แทนที่จะรีบเร่ง ทำงาน แก้ปัญหาสังคม -เศรษฐกิจ ที่นับวัน ราคาน้ำมัน พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เงินบาท ที่แข็งค่ามากขึ้นๆๆ หรือ เร่งแก้ปัญหาทุริต ที่ใกล้จะขึ้นถึง จุดสูงสุด ของเอเซียอยู่แล้ว นี่กลับพยายาม ปกปิดทุจริต กลบเกลื่อนคดี ที่เป็นปมปัญหา ของความแตกแยก ของชนในชาติ หมกหมัก ต่อไป อย่างนี้ ไม่ใช่การแก้ปัญหาเลย

ความสมานฉันท์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ ความแตกแยก จางลงๆๆ จนหายไป
ความแตกแยก จะหายไปได้ สิ่งสำคัญ จะต้องเกิด ความยุติธรรม
ความยุติธรรม จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ ความจริงของ ทุกฝ่ายปรากฏ

การใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรม ทุกวิถีทาง เพื่อปิดบัง กลบเกลื่อน ความจริง ในวันนี้ มันกลายเป็น ชนวนของ ความแตกแยกใหม่ ที่รอวันปะทุ หรือ ระเบิด ในวันหน้า

เมื่อปัญหาความแตกแยกเดิม ยังมิได้สะสาง แต่กลับเพิ่ม ความแตกแยกใหม่ ให้สังคมอีก ความสมานฉันท์ ความสงบสุข ในสังคม ที่ร่ำร้อง เรียกหา จะเกิดได้อย่างไร

ไม่แน่หรอก หากมีการสำรวจ การทุจริตอีก ในปีหน้า ไทยอาจแซงหน้า ฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับที่ ฟิลิปปินส์ แซงหน้าอินโดนีเซีย เจ้าของ ตำแหน่งแชมป์ เมื่อปีที่แล้ว เหตุมาจาก การยืด กระบวนการ พิจารณา คดีคอร์รัปชัน อดีตประธานาธิบดี โจเซฟ เอสตราดา ทำให้เกิด ภาพลบ ในสายตา นักธุรกิจต่างชาติ ฉันใด การพยายาม ยืดกระบวนการ พิจารณาคดี ของอดีต นายกรัฐมนตรีไทย ก็ฉันนั้น

ถ้าความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ อยู่ในระดับขัดแย้ง อันพอเหมาะ ความจริง ของทุกฝ่าย ปรากฏ ได้รับความยุติธรรม กันโดยทั่วถ้วน นั่นเป็น ความเจริญ และนี่คือ ความสมานฉันท์ ที่แท้จริง

แต่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ผู้มีอำนาจที่ไร้ธรรม ก็ย่อมไร้ความยุติธรรมด้วย และมีแต่ จะหลงอำนาจ ใช้อำนาจ ที่ไร้ธรรม สร้างความแตกแยก ให้มากยิ่งขึ้น

ยุทธการ "จองเวร-ชำระแค้น" เริ่มแล้ว การข่มขู่ทำร้าย บรรดาผู้กล้าออกมา เปิดโปง การประพฤติมิชอบ ของรัฐบาล ที่ได้ชื่อว่า มีทุจริตมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ ชาติไทย ผู้ใกล้ชิดผู้นำ ในระดับฆราวาส ของชาวอโศก เผยว่า ข่าวจาก สายทหาร และนักข่าว ส่งข่าวมาเตือน ตรงกันว่า จะมีผู้ปองร้าย ขอให้ระมัด ระวังตัว

๑๒-๑๔ มี.ค. ที่ราชธานีอโศก มีนายตำรวจยศผู้กำกับ และรองฯ ได้มาขอ สอบสวน เหตุมาจากปี ๒๕๔๗ มีคณะกรมประชาสัมพันธ์ ได้มาตรวจวิทยุชุมชน หลังจากได้สนทนา ทราบถึงนโยบาย การทำวิทยุ ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า เป็นบริการ ประชาชน ในชุมชนจริงๆ ผู้นำคณะ กล่าวชื่นชมว่า เป็นแบบอย่างอันดี และขอกราบสมณะ ทางชุมชนราชธานีอโศก ได้จัดสถานที่ อย่างเร่งรีบ และนิมนต์ สมณะฟ้าไท ให้คณะ กรมประชาสัมพันธ์ ได้สนทนาเล็กน้อย ก่อนเดินทางกลับ

เรื่องของเรื่อง ที่ก่อให้เกิดปัญหา ก็คือ หลายปีผ่านไปแล้ว ที่บ้านราชฯ จะมีการอบรม และคราวนั้น มันรีบด่วน การจัดสถานที่ต้อนรับ ในวันนั้น จึงฉุกละหุก เด็กที่ช่วย จัดเตรียมงานอบรม ที่จะมีขึ้น ได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ (เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้แสดงความเคารพ) ไปไว้ตรงที่ แขวนนาฬิกา แต่ไม่ทัน ได้ดูว่า บนนาฬิกา มีภาพของพ่อท่านฯ พวกเราหลายคน ไม่ได้มีใคร สะดุด เห็นความไม่เหมาะควรนี้ มัวสนใจกับงาน และ การดูแล ต้อนรับ คณะกรมประชาสัมพันธ์ ที่มาเยือน

ผ่านมาหลายปี หลังการปฏิวัติรัฐประหาร ของคณะ คมช. ในปี'๔๙ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ของ สน.วารินชำราบ ในท้องที่ ได้มาสอบสวน ผู้ใหญ่บ้าน นายรินไท มุ่งมาจน แจ้งให้ทราบว่า มีผู้ไปร้องเรียนว่า บ้านราชฯ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หลังจากทราบความจริง จากผู้ใหญ่บ้าน นาย รินไท แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าใจเรื่องราวดี และปิดคดีนี้ไปแล้ว

นายตำรวจที่มาในครั้งนี้ ไม่ใช่ตำรวจในท้องที่ วารินชำราบ ที่เคยมาในปี'๔๙ นายตำรวจ ท่านนี้ บอกเจ้านาย ยศนายพล สั่งมาให้ช่วย ปิดคดีโดยเร็ว แล้วเล่าว่า ตนเคยไปกินอาหาร ที่จตุจักร ข้าวราดแกง จานละ ๕ บาท แถมกล้วยน้ำว้า เขายังนึกถึงบุญคุณ ที่ได้อาศัยฝากท้อง เมื่อยังมียศ ชั้นผู้น้อย ชาวบ้านราชฯ ที่ดูแล ต้อนรับ เอาใจใส่เลี้ยงอาหาร แถมผักพืช ฝากติดมือ กลับไปอย่างดี

ญาติธรรมที่ให้การต้อนรับ นายตำรวจคณะนี้ ต่างชื่นชมว่าเขาดี เขาเข้าใจพวกเรา เขาศรัทธา เขาอยาก จะขอมา กราบพ่อท่านฯ เขาบอกให้พวกเรา สบายใจได้ เขาบอกจะช่วย ให้เรื่องจบโดยดี

ข้าพเจ้ายังจำเหตุการณ์ที่ถูกสอบสวน ในข้อหา แต่งกายเลียนแบบพระ เมื่อปี ๒๕๓๒ ที่ โรงเรียน พลตำรวจบางเขน ได้เป็นอย่างดี นั่นท่าทีตำรวจ ก็ดูญาติดี แสดงออก สุภาพอ่อนน้อม พวกเราเอง ก็ล้วนซื่อๆใสๆ มองว่าเป็นเรื่องดี ที่จะได้ เปิดเผยความจริง ให้เขาได้รู้ แต่เวลาสอบสวน คำถามต่างๆ ล้วนเป็นคำถาม ที่มัดพวกเรา ไปสู่ความผิด แค่คำตอบว่ารู้-ไม่รู้ เห็น-ไม่เห็น ใช่-ไม่ใช่ นี่แหละ ภาพถ่าย หนังสือต่างๆ ที่เราแจก ให้กับตำรวจ เขาเอาไป เป็นหลักฐาน ในการส่งฟ้อง ทั้งหมด ท่านใด ยิ่งให้การมาก ก็ยิ่งเพิ่มหลักฐาน สำนวน ในการส่งฟ้องมาก

ปี ๒๕๓๒ รมช.มหาดไทยในวันนั้น กลายมาเป็น รมว.ในวันนี้ ใหญ่ขึ้นมาอีก ยังไม่รู้ เหมือนกันว่า จะต้องไป บำเพ็ญเพียร ที่โรงเรียนพลตำรวจ บางเขน อีกหรือไม่

การเมืองโลกีย์ เป็นเรื่องของอำนาจ และผลประโยชน์ เพื่อตน เพื่อพวกของตน

การเมืองโลกุตระ เป็นเรื่องของการลดละ เสียสละ และสร้างประโยชน์ เพื่อมวลประชาชน

ขณะที่ผู้มีอำนาจ ส่อแสดงการใช้อำนาจ ที่ไม่ชอบธรรม มากขึ้นเรื่อยๆ การเมือง ภาคประชาชน กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มเคลื่อนไหว รวมตัว ยังไม่เห็นแววว่า สังคม จะสงบสุข ได้อย่างไร เมื่อฝ่ายหนึ่ง ใช้อำนาจ ทุกรูปแบบ เพื่อรักษา อำนาจ และ ผลประโยชน์ของตน และพรรคพวก เปลี่ยนแปลง ปิดกั้น การตรวจสอบ พฤติกรรมทุจริต ของกลุ่มอำนาจเก่า อีกฝ่ายหนึ่ง ก็พยายามปกป้อง ผลประโยชน์ ของชาติ และประชาชน โดยเรียกร้อง ให้กระบวนการยุติธรรม ดำเนินไป ให้ถึงที่สุด และให้ข่าว พร้อมที่จะเคลื่อนไหว ทุกรูปแบบ

สถานการณ์ยามนี้เหมือนรอวันปะทะ รอเวลาระเบิด

แล้วชาวอโศก จะอยู่กัน อย่างไร ? ...พ่อท่านฯ ให้แนวทางไว้ว่า เราไม่มีเวลา ไม่มี ความสามารถ ที่จะหยุดยั้ง บาปอกุศล ของเขาได้ เราเอาเวลา มาร่วมกัน เร่งสร้าง ธัมมัญญารังสี ที่ บ้านราชฯ กันเถิด ให้เกิดเป็นรูปธรรม ที่ใหญ่ขึ้น ของชุมชน เข้มแข็ง พึ่งตนเอง ตามแนว "เศรษฐกิจ บุญนิยม" ที่สอดคล้องกับ พระราชดำรัส "เศรษฐกิจพอเพียง" เพื่อเป็น หนทางเลือก หนทางรอด ของสังคม


 

"จนมหัศจรรย์" ทางรอดที่ยั่งยืน

๒๒ มี.ค. ๒๕๕๑ ที่ท่าเรือสะพานพระราม ๙ พิธีแจกกลด ให้กับนักเรียน สัมมาสิกขา ที่จบ ม.๖ พ่อท่านฯ ได้แสดงธรรม ให้กับนักเรียน ที่จบ ม.๖ ในปีนี้ ๔๓ คน โดยมีญาติธรรม และผู้ปกครองของนักเรียน ได้มาร่วม อนุโมทนาด้วย จากเนื้อหาบางส่วน ที่น่าสนใจดังนี้

จุดสำคัญของชุมชนหมู่บ้านราชธานีอโศก คือ ชุมชนสาธารณโภคี หมู่บ้านนี้ จะเป็น หมู่บ้านสาธารณโภคี ที่จะเป็นต้นแบบ ที่สมบูรณ์ ให้ได้ที่สุด ชุมชน แต่ละชุมชน ของชาวอโศกเรานี่ เป็นสาธารณโภคีทุกแห่ง เป็นชุมชน ต้นแบบ ของเศรษฐกิจ ถึงระดับ สาธารณโภคี

คำว่าสาธารณโภคีนี้ เป็นเศรษฐศาสตร์บุญนิยม ส่วนเศรษฐกิจ พอเพียงนั้น คนมีใจพอ ไม่รวย แต่จะต้องไม่จน นั่นถือว่า อยู่ในขอบเขต ความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว เป็นคนที่ไม่จน ไม่เดือดร้อน ไม่ลำบาก แต่ไม่ยอมรวย ฟังให้ดีนะ คำว่าไม่ยอมรวยนี่ เขาจะรวยก็ได้ มีสมรรถนะ มีความสามารถ แต่เขามีใจพอ จึงเรียกว่า พอเพียง ใจของเขาพอ เขามีขอบเขต ของความพอ ถ้าไม่มีขอบเขต ของความพอ ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ เพราะคำว่า"พอ" เป็นคำชัดๆ อยู่แล้วว่า ต้องพอ ต้องรู้จักพอ ต้องมีเขตแห่งความพอ เพราะฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียงนี้ จะกอบกู้ ประเทศชาติบ้านเมือง หรือโลกได้

ส่วนคำว่าเศรษฐกิจบุญนิยม มีระดับสูงถึงขั้น สาธารณโภคีนั้น เป็นเศรษฐกิจ ถึงขั้น จะรวยก็รวยได้ และแน่นอน มีใจพอด้วย พอ และมุ่งมาจน อีกด้วย คือไม่รวยนั้น แน่ยิ่งกว่าแน่ ถึงขนาด สมัครใจจน มุ่งมาจน ตั้งใจจน เต็มใจจน เป็นคนจน อย่างมหัศจรรย์ นี่คือ สุดยอดของ เศรษฐกิจบุญนิยม เศรษฐกิจบุญนิยมนั้น พิสูจน์ความจริงมาแล้ว ทุกวันนี้ ก็มีคนมาจน ตั้งใจจน มุ่งมาจน จนอย่างชนิด ที่เรียกว่า ไม่ต้องมี ทรัพย์ศฤงคาร บ้านช่อง เรือนชาน เป็นของเราเลย มีชีวิต อยู่กับสาธารณโภคี กินใช้ร่วมกัน กับหมู่ฝูง ร่วมกันกับ ส่วนกลาง ทรัพย์ศฤงคาร เป็นของ ส่วนกลาง ไม่สะสมเป็นของตัว ของตนเลย มีชีวิตอยู่สุขสบาย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ ที่เป็นไปได้แล้ว ในสังคมคนไทย

อาตมานำพาพวกเรามาปฏิบัติธรรม ศึกษาทฤษฎี พระพุทธเจ้า จนกระทั่ง ก่อเกิดมนุษย์ แบบที่พระพุทธเจ้า ทรงสอน กระทั่งเกิด มรรคผลจริง แล้วมนุษย์ เหล่านั้น ก็เกิดเป็นสังคม คนจนมหัศจรรย์ รวมตัวกัน เป็นชุมชน กลุ่มหมู่ เป็นคนจน ที่เป็นอยู่กัน อย่างสงบ อบอุ่น สุขสบาย เป็นมนุษย์มหัศจรรย์ ที่มีระบบ สาธารณโภคี

เพราะฉะนั้น ถ้าเอาเศรษฐกิจพอเพียงนี่ มาแก้ไขประชาชน ให้ประชาชนเรียนรู้ จิตวิญญาณ แล้วก็สร้าง จิตวิญญาณตนเอง ให้รู้จักพอ รู้จักเกื้อกูล เพราะความเกื้อกูล ผู้อื่น ช่วยเหลือ เฟือฟายผู้อื่น เป็นคุณค่าของมนุษย์ มนุษย์มีคุณค่า ส่วนมนุษย์ที่ ไปเอาเปรียบเขา กอบโกยเขา ได้เปรียบเขา มากอบโกยไว้ เป็นของตัวเองนั้น เป็นมนุษย์ไร้ค่า

ขณะนี้ บ้านราชฯกำลังจะเป็น ชุมชนตัวอย่าง ของสาธารณโภคี หรือ เป็นต้นแบบของ เศรษฐกิจบุญนิยม อย่างมีรูปแบบ มีวงจร ของสังคม มีวงจร ของชีวิต มีการพึ่งตนเอง มีกิจการงานอาชีพ มีวัฒนธรรม ดำเนินชีวิต อยู่อย่าง มีเอกลักษณ์ มีอัตลักษณ์ ที่ชัดเจน สมบูรณ์แบบ อาตมาถึง เร่งรัด พัฒนา กำลังระดมคน ให้ไปอยู่รวมกัน ณ บ้านราชฯนั้น ให้ได้ซักพันคน จะพยายาม ดำเนินสร้าง ให้เป็นชุมชน ที่จะมีวัฒนธรรม มีวิถีการ ดำเนินชีวิต มีการงาน มีระบบความเป็นอยู่ บ้าน วัด โรงเรียน ที่เป็นสังคม มีรูปลักษณ์ ที่สมบูรณ์แบบ ขึ้นมาให้ได้ มาร่วมกัน สร้างสิ่งหนึ่ง ขึ้นมาในโลก

โลกไม่มีทางไป ทุกวันนี้ โลกที่เต็มไปด้วย ระบบทุนนิยม คอมมิวนิสต์ ก็ล้มเหลวแล้ว เพราะคอมมิวนิสต์ มันพร่อง ทางจิตวิญญาณ มันเป็น materialism มันเป็น ลัทธินิยมวัตถุ ดูถูกจิตวิญญาณ ก็เลยล้มเหลว เพราะว่า ถูกบังคับ ให้มามักน้อย ให้มาเผื่อแผ่ ให้มาเสียสละ ถูกบังคับกดขี่ ให้ทำ ฝืนใจทำ มันทำไม่สำเร็จหรอก แต่ระบบบุญนิยมนั้น เป็นระบบใช้ปัญญา เรียนรู้ความจริง ในความประเสริฐ เมื่อเกิดปัญญา ในความจริง ก็สมัครใจ เป็นระบบอิสระ เสรีภาพ ไม่ถูกกดขี่ข่มเหง เรียนรู้ด้วยภูมิปัญญา ด้วยความจริงว่า คนเรามาเสียสละ นี่เป็นสุข เสียสละนี่ เป็นคุณค่า เสียสละนี่ มันดีงาม เสียสละแก่กันและกันนี่ มันเป็นสุข ตนก็สุข สังคมก็สุข ถ้าสะสมกอบโกย ก็เป็นความเลว คนที่มีปัญญาจริง ก็มาสะสม จิตวิญญาณที่ดี จิตวิญญาณที่ ลดกิเลส เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ เมื่อสะสม คนที่มีการ ลดกิเลสได้จริง คนก็จะเกิดเป็นคน ชนิดใหม่ อาตมาใช้คำว่า ชนิดใหม่ ที่จริง มันไม่ใหม่หรอก พระพุทธเจ้า ทำมาแล้ว อาตมาเอาของ พระพุทธเจ้ามาทำ

เมื่อกิเลสลดได้จริง อาตมาถึงมั่นใจ ในความยั่งยืน เพราะคนที่ดีได้แล้ว กิเลสก็ไม่มี ที่จะมาผลักดัน เข้ามามีพลังอะไร ในจิตของเรา เพราะเรา เอากิเลสออกแล้ว ฆ่าถูกตัวกิเลส ตายจริงๆ มันก็ไม่มีพลังงานอะไร อยู่ในจิตเรา เราก็อยู่อย่าง คนไม่มีกิเลส หรือคนมีกิเลส น้อยลงๆจริง แล้วเราก็เป็นสุข แล้วเราก็สบาย แล้วก็มีคุณค่าดีด้วย แล้วจะเปลี่ยนแปลง ไปทำไม นี่คือ เหตุปัจจัย ที่ทำให้สิ่งนี้ ยั่งยืน และจะก้าวหน้า ไปเรื่อยๆ คนในโลก ก็จะหันมาทางนี้ เพราะ...

๑. คนทุกข์มากขึ้น สาหัสหนักหน้า เอาเปรียบกันมากขึ้น ไม่อบอุ่น ไร้ความไว้วางใจ หวาดระแวงกัน มากขึ้น ทำร้ายกัน รุนแรงยิ่งขึ้น ทุจริต หยาบยิ่งขึ้น สังคมโลก เดือดร้อนจัดจริงๆ

๒. ทรัพยากรของโลกร่อยหรอ ขาดแคลน ไม่พออาศัยกินใช้ กันจริงๆ ธรรมชาติก็ดี องค์ประกอบ ของโลกก็ดี มันร่อยหรอ มันพร่อง มันรีดนา ทาเร้นกัน แล้วคนก็จะต้อง แย่งกัน เดือดร้อน บีบคั้นทุกข์ร้อนไปอีก มากๆๆๆ มันเป็นภาวะ บีบคั้น ที่เขาจำนน เขาจะอยู่ ก็จะอยู่ไม่รอด เพราะมันน้อย มันร่อยหรอ มันกระเบียด กระเสียร มันต้องแย่งชิง มันต้องลำบาก มันเป็น ข้อบังคับ เป็นตัวบังคับ ให้เขาต้องหนี จากสภาพ ที่ทารุณนั้น

๓. สังคมมันไม่มีทางอื่นให้ไปแล้ว ไม่มีทางอื่นให้เลือกดีเท่าแล้ว ทุนนิยม มันพาตันแล้ว สังคมโลกีย์ มันเลวลง เสื่อมจริงแล้ว มันฆ่าแกงกัน ร้ายแรงขึ้น ทุกวันๆๆ มันไปไม่ออกแล้ว เพราะฉะนั้น สังคมนั้น จึงเป็นสังคมที่จนแต้ม

๔. มีตัวอย่างของสังคมที่ไปรอดได้แล้วจริงๆ มีให้เห็นให้ดู เป็นของจริง ที่เป็นไปได้ ทางออกนี้มีแล้ว คือบุญนิยม ทุนนิยมจนแต้ม เป็นทางตัน ส่วนบุญนิยม เป็นทางออก เห็นอยู่จริง เป็นทางออกบอกได้ อธิบายได้ ว่ามันดียังไง คนที่มา ทางออกนี้ ก็มาแล้ว เป็นไปได้แล้ว มีกลุ่มมีหมู่ เป็นปึกแผ่น มีวัฒนธรรม มีวิถีการดำเนินชีวิต มีความเป็นอยู่สุข ให้เห็นอยู่โทนโท่

๕. ระบบบุญนิยม เป็นระบบที่ยั่งยืนจริง พิสูจน์ได้ด้วยกาละ จนคนต้องเชื่อ ในที่สุด


 

จะอยู่กับกลียุคได้อย่างไร

ท่ามกลางวิบัติภัยนานา ทั้งวิบัติภัยธรรมชาติ พายุ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภาวะโลกร้อน วิบัติภัยพลังงาน น้ำมันแพง วิบัติภัยอาหาร ข้าวแพง น้ำตาลแพง รวมถึง วิบัติภัยการเมือง และมีแนวโน้มว่า นับวันวิบัติภัยเหล่านี้ จะรุนแรง หนักหน่วง เลวร้ายมาก ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สอดรับกับ คำพยากรณ์ต่างๆ ที่เคยมี มาก่อนแล้ว ตามหลัก พระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

ในรายการเจาะลึกฝึกธรรม วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ มีประเด็นคำถามหนึ่ง จากเด็กหญิง จังหวัดชัยภูมิ

ถาม :เราจะอยู่ในสังคมกลียุคได้อย่างไร

พ่อท่านฯ : กลีนี่แปลว่าเลวร้าย กลียุคคือ ยุคที่เลวร้าย มีสิ่งที่เลวร้ายเกิดขึ้น เกิดเหตุการณ์เลวร้าย สังคมเลวร้าย ทุกอย่าง มันทำให้ทุกข์ร้อน เราจะอยู่ กับมันได้อย่างไร

เมื่อคุณยังไม่ตาย คุณก็ต้องอยู่กับมัน อยู่ได้อย่างทนเอา นั่นหมายความว่า มันเป็นวิสัยสามัญ คุณก็ต้อง ทนกับมัน

แต่ถ้าผู้ที่ปฏิบัติธรรมที่สามารถเข้าใจโลก เข้าใจธรรมแล้ว ก็ไม่ไปติดยึด อะไรมากมาย คุณจะอยู่กับโลก สบายขึ้น แม้มันจะเลวร้าย ความเลวร้ายนั้นๆ เราไม่ได้เป็น ผู้ก่อเวร ก่อภัย คนก่อไม่ใช่เรา เราไม่ได้ไปร่วม กับคนก่อ ไม่ได้ไปร่วม แย่งชิง ไม่ต้องไปแสวงหา อย่างเขา คุณหลุดพ้น ออกมาให้ได้ ได้มากเท่าใด ก็ยิ่งดี มันจะกลียุคเท่าไหร่ ก็ไม่เป็นไร คนที่พ้นทุกข์ ของพระพุทธเจ้า จะเป็นคนขยัน เป็นคนทำมาหากิน เป็นคนที่สร้างสรร เพราะงั้น จะมีอยู่ มีกิน แล้วกินน้อย ใช้น้อยด้วย จึงจะปลอดภัย

ส่วนคนที่ยังติดมาก ยึดมาก ยังจะต้องอยากมาก เสพมาก คนนั้น จะเป็นภาระตนเอง คนนั้น จะเป็นภัย อยู่กับกลียุค ยิ่งต้องแย่งชิง วิ่งหามาก คุณก็ยิ่ง จะเดือดร้อนมาก มันวิกฤติไป ทั้งธรรมชาติ ขาดแคลน มันแล้ง มันฝนมาก น้ำท่วม มันจะเกิดกลียุค ทรัพยากรธรรมชาติ ขาดแคลน คนก็วิกฤติ กิเลสหนา แย่งชิง ฆ่าแกง ทารุณ โหดร้าย ถ้าเราไม่ไป สร้างภัย สร้างเวร มีกำลัง ๔ จะพ้นภัย ๕ แม้กระทั่ง ความตาย หรือ "มรณภัย" เราก็จะไม่กลัว "ทุคติภัย" จะตกต่ำไปนรก เราก็จะไม่กลัว

ผู้ที่มีกำลัง ๔ จริงๆ มีปัญญาพละ วิริยะพละ อนวัชชพละ สังคหพละ ก็จะพ้นภัย ๕ พ้นภัย อันเนื่องด้วยชีวิต "อาชีวิตภัย" จะพ้น"อสิโลกภัย" คุณก็จะไม่ต้อง ไปถูกใคร มาว่ากล่าวติเตียน เพราะเราไม่ได้ ไปแย่งชิงอะไรใคร เราไม่ได้ไปทำร้าย ทำลายใคร เรามีแต่ เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ช่วยเหลือ เกื้อกูลโลก เป็นพหุชนหิตายะ หพุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ เป็นผู้ที่ให้แก่โลก เป็นผู้ที่ ไม่เบียดเบียนโลกอยู่ คุณก็จะไม่มีโรค มีภัยอะไร ไม่ถูกเขาว่า เขากล่าว เขาตำหนิ ติเตียน เขาจะไล่ต้อน เข่นฆ่าทำไม เพราะเรา มีแต่ให้เขา พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นคน ให้ประโยชน์แก่เขา มีบุญคุณแก่เขา เราก็จะปลอดภัย

เราจะพ้น "ปริสสารัชภัย" ภัยคือ อยู่กับโลกกับสังคมเขา ก็ไม่กลัว ไม่สะทกสะท้าน แม้ จะมีภัยทางแย่งลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ก็จะไม่หวาดหวั่น ไม่สะทกสะท้าน จะไม่กลัว

แม้แต่ที่สุด"มรณภัย"ก็จะพ้น คือไม่กลัวความตาย เพราะจะเข้าใจแล้วว่า ความตาย ความเกิด มันก็เป็นเรื่องสามัญ ของมนุษย์ สัตวโลก คุณจะมีญาณ ปัญญารู้เลยนะว่า ตายก็ตาย ไม่เป็นไร

อีกอย่างหนึ่ง คนที่ทำดีแล้วนี่ จะไม่กลัวตายมากกว่า คนทำชั่ว คนทำชั่ว จะกลัวตาย เพราะลึกๆ ยิ่งรู้ว่า มันมีนรก มีสวรรค์ ถ้าตาย คุณก็ต้องตกนรก เพราะคุณ ทำชั่วเยอะ ถึงคุณปกปิดไว้ เท่าไหร่ๆ แน่นอน คุณต้องตกนรก ตายมันก็ตกนรก คุณก็จะกลัวตาย แต่คนทำดี สร้างแต่คุณค่าที่ดี ตายก็ตาย ตายก็ขึ้นสวรรค์ ก็จะไม่กลัวมาก หรือ แม้แต่ที่สุด นั่นแหละ "ทุคติภัย"ก็ จะไม่มี ก็จะสบาย ทุกอย่างเลย เรียกว่า พ้นภัย ๕ นะ ดังนั้น จะอยู่กับกลียุคได้ ต้องปฏิบัติธรรมดีๆ จริงๆ แล้วก็จะพ้นภัยต่างๆ ดังกล่าวนั้นได้

รักข์ราม.
๒ มิถุนายน ๒๕๕๑

(สารอโศก อันดับ ๓๐๙ มิ.ย. - ส.ค. ๒๕๕๑)