โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก

จัดการศึกษาด้วยปรัชญา

ศีลเด่น  เป็นงาน  ชาญวิชา

 

 

 

   

 

สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.)
กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

 

 

 

  

 

ที่ตั้ง
เลขที่  65/37 หมู่ 5 ซอยนวมินทร์ 48 ถนนนวมินทร์
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม  กรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์     089-522-5732  
E – mail    [email protected] 
สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
             กรุงเทพมหานคร เขต 1

 

ประวัติโรงเรียน

เนื่องจากชาวอโศก เห็นสภาพของคนในสังคม ถูกสอน ครอบงำด้วยความคิด ที่ถือเอาการ แสวงหา ความสุข จาก ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เป็นแก่นสารของชีวิต และได้ถ่ายทอด สืบต่อกัน รุ่นแล้วรุ่นเล่า ว่าเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ มีอำนาจ ที่จะนำความสุขที่แท้จริง มาให้กับชีวิตได้ แต่นั่นเป็นการสอน ที่ขัดแย้งกับหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา และชาวอโศก ได้ตระหนักถึง ภัยของการศึกษา ที่เกิดจากการอบรมสั่งสอน ในทางที่ผิดเช่นนั้น ไม่อยากเห็นเยาวชนของชาติ เป็นคนที่ สร้างความเดือดร้อน ให้แก่สังคม แต่สามารถมีชีวิต อยู่ในสังคมได้ อย่างผาสุก และมีประโยชน์คุณค่า ชาวอโศก จึงได้ร่วมกัน จัดการศึกษาขึ้น ในปีพุทธศักราช 2538 เปิดสอนนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ก่อตั้งเป็น โรงเรียนเอกชนการกุศล ตามมาตรา 15(3) แห่งพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 โดยได้รับใบอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชน จัดการเรียนการสอน ด้วยปรัชญา ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา ตามหลักสูตร การศึกษาบุญนิยม และ หลักสูตร การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

 

ความเป็นมา

       ชาวชุมชนสันติอโศก ให้ความสำคัญกับการศึกษา ของเยาวชน ตั้งแต่ปี 2528 โดยในระยะแรก มีการเปิดโรงเรียน พุทธธรรมวันอาทิตย์ ชื่อ “โรงเรียนพุทธธรรม วันอาทิตย์ สันติอโศก” เพื่อสอนศาสนาให้เยาวชน ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งเยาวชน ที่มารับการศึกษา ส่วนใหญ่ คือลูกหลานของญาติธรรม ที่ผู้ปกครองปฏิบัติธรรม และ ต้องการให้ลูกหลาน เป็นคนดี  การเรียนการสอน จะฝึกให้เด็กถือศีล 5 เรียนรู้พุทธประวัติ ฝึกมารยาทไทย เล่นเกมแบบไทย เรียนรู้การพึ่งตนเอง ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น การทำความสะอาด บริเวณวัด ห้องน้ำ การปลูกต้นไม้ การปลูกพืชสวนครัว การทำอาหาร มังสวิรัติ การทำขนม และผลิตหนังสือ รายเดือน สำหรับเด็กๆ ชื่อ "หนังสือดอกบัวน้อย”  มีคติประจำโรงเรียนคือ “พึ่งตน จนเป็นที่พึ่ง ของผู้อื่นได้”  และมีการตั้งกลุ่ม พึ่งตนเอง มาฝึกพักค้างอยู่ที่โรงเรียน ทำขนมขาย ส่งตนเองเรียน โดยไม่ต้อง พึ่งเงินพ่อแม่ ทั้งนี้ เพื่อบ่มเพาะ จิตวิญญาณของเด็ก ให้ซึมซับในธรรมะ

         ต่อมาในปี 2534 ชาวชุมชนสันติอโศก จึงเริ่มคิดถึง การจัดระบบการศึกษา ของตนเอง เพื่อให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตในชุมชน จัดตั้งการศึกษา ผ่านทางไกลขึ้น ชื่อว่า "โรงเรียน การศึกษานอกโรงเรียน สันติอโศก" สังกัดศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียน กรุงเทพมหานคร  เปิดสอนหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเพิ่มการถือศีล 5  ฝึกงานอาชีพ มีคติประจำโรงเรียน คือ “พึ่งตน จนเป็นที่พึ่ง ของผู้อื่นได้” โดยวันอาทิตย์ จะทำกิจกรรม ทำอาหารมังสวิรัติ และขนมขาย ร่วมกับนักเรียน พุทธธรรมวันอาทิตย์ กลุ่มพึ่งตนเอง รับสมัครนักเรียนทั่วไป ที่จบชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6

       ในปี พ.ศ.2538  ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียน สัมมาสิกขาสันติอโศก จัดตั้งขึ้นโดย มูลนิธิธรรมสันติ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
       1) ช่วยเหลือเยาวชน ที่ประสบปัญหา ทางด้านเศรษฐกิจ ภาษาและวัฒนธรรม 
       2) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเยาวชน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้
      3) ให้เยาวชนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างเสมอภาคกัน ทางการศึกษา

โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก จัดการศึกษาให้ฟรี โดยผู้เรียน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เปิดสอนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6  ครูผู้สอน มีทั้งนักบวช สถานประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และฆราวาส ที่อยู่ทั้งในชุมชน บุญนิยมสันติอโศก และที่อยู่นอกชุมชน

 

 

 

     ตราโรงเรียน



รูปใบโพธิ์  หมายถึง ความรู้หลักในการดำเนินชีวิต อันนำมาให้
เกิดความร่มเย็นแห่งจิตใจ
กรอบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ที่มีมุมแหลมและมน ทั้งสองลักษณะ  คือ ความแหลมตรง เป็นความเข้มแข็ง อันหมายถึง ระเบียบวินัย หรือนิติศาสตร์ และความมนโค้ง ที่ได้สัดส่วน เป็นความสุภาพ อ่อนน้อม อันหมายถึง คุณธรรม หรือรัฐศาสตร์

สีประจำโรงเรียน  น้ำเงิน-ขาว
   ความหมาย   สีน้ำเงิน หมายถึง ความกว้างใหญ่ ของมหาสมุทร และความชุ่มเย็น แห่งจิตใจ
   สีขาว  หมายถึง คุณงามความดี ปัญญาความรู้ หรือความบริสุทธิ์สะอาด
   สีน้ำเงิน-ขาว  หมายถึง ความสะอาด หรือคุณงามความดี ปัญญาความรู้ที่กว้างไกล
            แผ่ไพศาล ให้ความชุ่มเย็น แห่งจิตใจ และโอบอุ้ม สรรพชีวิตในโลก อยู่นิรันดร์
ปรัชญาโรงเรียน   “ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา”
อัตตลักษณ์โรงเรียน   “พึ่งตน จนเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นได้”

 

 

กระบวนการจัดการเรียนการสอน
แบบ สัมมาสิกขา “บวร”

 


 

 

จัดการศึกษาด้วยปรัชญา

“ศีลเด่น  เป็นงาน  ชาญวิชา”


ศีลเด่น
 

เป็นงาน

   


ชาญวิชา

  


 

       การจัดการศึกษาด้วยปรัชญา “ ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา ”
 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

       1. การจัดการศึกษาด้าน “ศีลเด่น”  มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนานักเรียน ให้ถือศีล 5  อย่างเคร่งครัด เพราะศีลแต่ละข้อนั้น มุ่งพัฒนาให้นักเรียน มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
            ศีลข้อ 1 พัฒนานักเรียนให้เป็นคนสุภาพ อ่อนโยน มีน้ำใจช่วยเหลือ คนรอบข้าง สามารถควบคุม และลดพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรง
            ศีลข้อ 2  พัฒนานักเรียนให้เป็นคน ซื่อสัตย์ ขยัน ทำงานเป็น จนสามารถ พึ่งตนเอง และ เป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้
            ศีลข้อ 3  พัฒนานักเรียนให้เป็นคนรู้จักวางตัว กับเพศตรงข้าม อย่างเหมาะสม ไม่มีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียน รู้จักยับยั้งชั่งใจ ต่อสัมผัสทางกาม ในรูปแบบต่าง ๆ   
                 ศีลข้อ 4  พัฒนานักเรียน ให้เป็นคนรู้จักใช้คำพูด ได้อย่างเหมาะสม กับกาลเทศะ ลด ละ เลิกและเว้นจาก การพูดปด คำหยาบ ส่อเสียด นินทา และเพ้อเจ้อ
            ศีลข้อ 5  พัฒนานักเรียนให้เป็นคน ปลอดจาก สารเสพติด สิ่งมึนเมา เที่ยวกลางคืน ดูมหรสพ การละเล่น เล่นการพนัน คบมิตรชั่ว และ เกียจคร้านการทำงาน
       2. การจัดการศึกษาด้าน “เป็นงาน” มีจุดมุ่งหมาย ในการพัฒนา ศักยภาพของนักเรียน ให้มีความเชี่ยวชาญ  มีทักษะ มีฝีมือในการทำงาน จนสามารถ นำไปประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเองได้ ฝึกนักเรียน เป็นคนขยัน สร้างสรรค์ ผลผลิตที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิต และนำผลผลิต ออกแบ่งปันสู่ชุมชน และสังคม
       3. การจัดการศึกษาด้าน “ชาญวิชา” มีจุดมุ่งหมาย ในการพัฒนานักเรียน ให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น และ แก้ปัญหาเป็น รู้เท่าทันต่อ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เน้นความเป็นเลิศ ทางวิชาการ ที่ก่อให้เกิดผลผลิต เพื่อนำมาบริโภค ในชุมชนและสังคม


ศีลเด่น
       การจัดการศึกษาด้าน “ศีลเด่น”  เพื่อพัฒนานักเรียนให้ถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด เพราะศีล แต่ละข้อนั้น มุ่งพัฒนาให้นักเรียน มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

     พัฒนานักเรียนให้มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มักน้อย สันโดษ
     รักษาศีล 5  กินมังสวิรัติ และเว้นจากอบายมุข ทุกประเภทได้

 

 

 

 

  • ซื่อสัตย์
  • มีน้ำใจเสียสละ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน

 

 


เป็นงาน
         การจัดการศึกษาด้าน “เป็นงาน” เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ให้มีความเชี่ยวชาญ มีทักษะ มีฝีมือในการทำงาน จนสามารถ นำไปประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเอง ฝึกนักเรียน เป็นคนขยัน สร้างสรรค์ ผลผลิตที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิต และนำผลผลิต ออกแบ่งปันสู่ชุมชน และสังคม เป็นงาน คือ ขบวนการเรียนรู้ เพื่อฝึกสัมมาชีพ ก่อให้เกิด การพัฒนานักเรียน ชุมชน และสังคม ตามหลัก สัมมาอริยะมรรค องค์ 8
  • เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง
  • พึ่งตนได้ ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอเพียง

 

 

งานต่างๆในชุมชนที่นักเรียนเลือกเรียนตามฐานงานต่างๆ ดังนี้

  • งานพาณิชย์บุญนิยม  

  งานเกี่ยวกับการค้าขาย โดยมีนโยบาย อุดมการณ์ และหลักการดังนี้

       นโยบายการค้าบุญนิยม

                      1. ขายถูก
                      2. ไม่ฉวยโอกาส
                      3. ขยันอุสาหะ
                      4. ประณีต ประหยัด
                      5. ซื่อสัตย์ เสียสละ

       อุดมการณ์ของบุญนิยม

                      1. ขายต่ำกว่าท้องตลาด
                      2. ขายเท่าทุน
                      3. ขายราคาต่ำกว่าทุน
                      4. แจกฟรี

      หลักการตลาดบุญนิยม

                      1.ของดี
                      2. ราคาถูก
                      3. มีน้ำใจ
                      4. ขายสด  งดเชื่อ ( เครดิตเหนือเครดิต )

   งานพาณิชย์บุญนิยม มีฐานงานให้นักเรียนเลือกเรียนดังนี้
            1. ฐานงานเครือแหขอบคุณ
                 - การผลิตเครื่องอุปโภค-บริโภค
            2. ฐานงานบริษัทแด่ชีวิต
                 - การค้าส่ง
            3.  ฐานงานบริษัทพลังบุญ
                - การค้าปลีก
             4. ฐานงานชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย (ชมร.)
               - อาหารมังสวิรัติ
            5.  ฐานงานบริษัทฟ้าอภัย
                - งานสำนัก งานบัญชี

  • งานกสิกรรมไร้สารพิษ

   งานเกี่ยวกับการปลูกพืชผักสวนครัว ไร้สารพิษ การเพาะเห็ด การดำนา ปลูกข้าว
การทำปุ๋ยหมัก จากเศษอาหาร และพืชสด การทำน้ำหมักชีวภาพ
          งานกสิกรรมไร้สารพิษ มีฐานงานให้นักเรียนเลือกเรียน ดังนี้

  • ฐานงานกสิกรรมไร้สารพิษ

    

  • งานขยะวิทยาด้วยหัวใจ

          งานเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ การแปรรูปขยะ  การขายขยะ โดยรับบริจาค ของที่เหลือใช้  ทั้งของใหม่และของเก่า ที่เจ้าของไม่ใช้แล้ว แต่อยู่ในสภาพ ที่ใช้งานได้ จากบุคคลทั่วไป เพื่อนำมาคัดแยก แล้วนำไปขาย รายได้นำไปบริจาคให้กับ โทรทัศน์ เพื่อมวลมนุษยชาติ ( FMTV)
           งานขยะวิทยาด้วยหัวใจ  มีฐานงานให้นักเรียนเลือกเรียน ดังนี้

  • ฐานงานขยะวิทยาด้วยหัวใจ 
  • งานอุตสาหกิจบุญนิยม

        งานเกี่ยวกับการผลิตเครื่องอุปโภค บริโภค ผลิตเต้าหู้

 

   งานอุตสาหกิจบุญนิยม  มีฐานงานให้นักเรียนเลือกเรียน ดังนี้
             1. ฐานงานเครือแหขอบคุณ
               - การผลิตเครื่องอุปโภค-บริโภค เช่น แชมพู น้ำยาซักผ้า สบู่ และงาคั่ว
             2. ฐานงานศิษย์เก่า ผลิตเต้าหู้
               - การผลิตเต้าหู้

  • ผลิตขนมปัง แชมพู น้ำยาซักผ้า สบู่

   

  

  • ผลิตเต้าหู้

 

 

  • งานสื่อสารบุญนิยม

  • งานเกี่ยวกับการผลิตรายการ ของสถานีโทรทัศน์ เพื่อมวลมนุษยชาติ FM.TV. เช่น ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายภาพเคลื่อนไหว การเขียนสคริป การสัมภาษณ์ และการเป็นพิธีกร ทั้งในห้องส่ง และนอกห้องส่ง

    

 

 

  • สถานีโทรทัศน์เพื่อมวลมนุษยชาติ  FM.TV.

 

   

          งานสื่อสารบุญนิยม  มีฐานงานให้นักเรียนเลือกเรียน ดังนี้
          1. ฐานงานโทรทัศน์เพื่อมวลมนุษยชาติ  FM.TV.

 

  • งานกลุ่มอนุบาลสันติบาล

    งานเกี่ยวกับการเป็นพี่เลี้ยง  การดูแลเด็ก และการสอน นักเรียนอนุบาลสันติบาล
          งานโรงเรียนสันติบาล  มีฐานงานให้นักเรียนเลือกเรียน ดังนี้
         1. ฐานงานสันติบาล

    

   


ชาญวิชา
       การจัดการศึกษาด้าน “ชาญวิชา” เพื่อพัฒนานักเรียน ให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น และ แก้ปัญหาเป็น ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เน้นความเป็นเลิศ ทางวิชาการ ที่ก่อให้เกิดผลผลิต เพื่อนำมาบริโภค ในชุมชนและสังคม โดยบูรณาการ 8  สาระ การเรียนรู้ คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาต่างประเทศ สุขศึกษาและพละศึกษา และการงานอาชีพ และเทคโนโลยี

  •  นักเรียนสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนา
    คุณธรรม พัฒนางาน พัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม

 

นักเรียนปรับตัวอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลง

ของโลกาภิวัตน์ ได้อย่างเหมาะสม


   

 

  • เรียนเพื่อให้รู้จักคิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น
       ต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม  เศรษฐกิจ  และการเมือง

    

 

  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

          โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก มีกิจกรรมพัฒนานักเรียน ดังนี้
             กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดให้นักเรียน ได้พัฒนาความสามารถ ของตนเอง ตามศักยภาพ  มุ่งเน้นเพิ่มเติม จากกิจกรรม ที่ได้จัดให้เรียนรู้ ในด้านกลุ่มสาระทั้ง 8 กลุ่ม การเข้าร่วม และปฏิบัติกิจกรรม ที่เหมาะสม ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข กับกิจกรรม ที่เลือกด้วยตนเอง สอดคล้องกับ ความต้องการของคน ชุมชน สังคมและประเทศ การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างเยาวชน ให้เป็นผู้มีศีลธรรม คือ ปฏิบัติศีล 5 ได้เป็นเบื้องต้น เว้นขาดจากอบายมุข ทุกประเภท ทำงานเป็น ซึ่งจะนำไปสู่ การพึ่งตนเองได้ การมีระเบียบวินัย และมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาองค์รวม ของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝัง และสร้างจิตสำนึก ของการทำประโยชน์เพื่อสังคม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ
            1. กิจกรรมแนะแนว
            2. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
            3. กิจกรรมชุมนุม
            4. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
           
            มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
      
          ก) กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม และพัฒนาความสามารถ ของผู้เรียน ให้เหมาะสม ตามความแตกต่าง ระหว่างบุคคล สามารถค้นพบ และพัฒนา ศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิง พหุปัญญา และการสร้าง สัมพันธภาพที่ดี ซึ่งผู้สอนทุกคน ต้องทำหน้าที่ แนะแนว ให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อ และการพัฒนาตนเอง สู่โลกอาชีพ และมีงานทำ

       ข) กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียน เป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง อย่างครบวงจร ตั้งแต่ศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามตามแผน ประเมิน และปรับปรุง การทำงาน โดยเน้นการทำงาน ร่วมกันเป็นกลุ่ม โรงเรียนได้จัดกิจกรรม ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ซึ่งนักเรียน จะต้องเข้าร่วมกิจกรรม ภาคบังคับ ดังต่อไปนี้
             (1) “ตลาดอริยะ วันขึ้นปีใหม่” ที่พุทธสถานราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ร่วมกับนักเรียน ผลิตสินค้าที่ มีคุณภาพ เพื่อนำออกจำหน่าย ให้กับประชาชนทั่วไป นอกจากนั้น โรงเรียนยังได้รับความร่วมมือ จากพ่อค้า แม่ค้า นักธุรกิจ ร่วมกับนักเรียน ขายสินค้า ที่มีความจำเป็น ต่อการดำรงชีวิต ขั้นพื้นฐาน ให้กับประชาชนทั่วไป อีกด้วย ทั้งนี้สินค้า ที่นำมาจำหน่าย ต้องเป็นของดี ราคาถูก และผู้ขาย ต้องไม่ฉวยโอกาส แต่ต้องมีน้ำใจ และซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค
          (2)  งาน “พุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์” ที่พุทธสถานศาลีอโศก จังหวัดนครสวรรค์ นักเรียนรับผิดชอบงานด้าน ให้ความช่วยเหลือ และบริการประชาชน ที่มีความสนใจที่ จะศึกษา และปฏิบัติธรรม นักเรียนฝึก ปฏิบัติธรรมเข้มข้น ในระดับ ศีล 8 ในงานนี้ด้วย
          (3) นักเรียนดูตัว เพื่อที่จะทดสอบเข้าศึกษาต่อ ในระดับ ม.4 ร่วมเป็นเจ้าภาพกับ พุทธสถานศีรษะอโศก และชาวชุมชน จัดงาน “ปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ” ที่บ้านกระแชง อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นักเรียนรับผิดชอบ งานด้านบริการประชาชนทั่วไป ที่สนใจศึกษา ปฏิบัติธรรม พร้อมกับฝึก ปฏิบัติศีล 8 เข้ม และร่วมเป็นเจ้าภาพ กับพุทธสถาน สันติอโศก และชาวชุมชน จัดงาน“ค่ายยุวพุทธ” รับเด็กอายุ 9 – 15 ปี มาเข้าค่ายอบรม พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ภาคฤดูร้อน ที่กรุงเทพมหานคร
          (4) ร่วมเป็นเจ้าภาพกับพุทธสถานสันติอโศก และชาวชุมชน จัดงาน “อโศกรำลึก” ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อต้อนรับ ญาติธรรมชาวอโศก ทั่วประเทศ ที่เดินทางมาร่วม พิธีบูชา พระบรมสารีริกธาตุ และมีการประชุม สัมมนา องค์กรต่างๆ ของสถาบันบุญนิยม เป็นต้นว่า การเมืองบุญนิยม การศึกษาบุญนิยม การสื่อสารบุญนิยม อุตสาหกิจบุญนิยม ชุมชน และ เครือข่าย กสิกรรมไร้สารพิษ  เป็นต้น
          (5) เปิดร้านขาย “อาหารมังสวิรัติเพื่อสุขภาพ และเมตตาธรรม”  ในช่วงเทศกาล กินเจ ให้กับประชาชนทั่วไป ขายอาหาร ด้วยหลักการค้า บุญนิยม คือ ของดี ราคาถูก ไม่ฉวยโอกาส มีน้ำใจ และซื่อสัตย์ ต่อผู้บริโภค
          (6) ร่วมเป็นเจ้าภาพกับพุทธสถานปฐมอโศก และชาวชุมชน จัดงานวัน “มหาปวารณา” ที่ตำบล พระประโทน อ.เมือง จังหวัดนครปฐม เพื่อต้อนรับ การมาร่วมงาน ของนักบวช ทุกพุทธสถาน และญาติธรรมชาวอโศก ทั่วประเทศ  มาร่วมฟังธรรม ทำบุญตักบาตร ประชุมสรุปงาน ด้านต่างๆ ขององค์กรบุญนิยม และในภาคเย็น มีการนำเสนอ ศิลปะการแสดง วัฒนธรรม ประเพณีบุญนิยม จากชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ

       ค) กิจกรรมส่งเสริมวิชาการ เช่นกิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมชุมนุม ได้แก่ ชุมชุมศิลปะ ชุมนุมดนตรีไทย ชุมนุมดนตรีสากล ชุมนุมวิทยาศาสตร์ ชุมนุมภาษาจีน ฯลฯ
       ง)  กิจกรรมอิสระ เช่นตัดเย็บเสื้อผ้า คอมพิวเตอร์ งานช่าง อ่านหนังสือ ดูวิดีโอสาระ ฯลฯ
       จ)  กิจกรรมสาธารณประโยชน์ เช่น ร่วมกับชุมชน ไปซับขวัญชาวใต้ ซับขวัญชาวกรุงเทพ เนื่องจาก ได้รับอุทกภัย ฯลฯ
      
           ชีวิตการเรียนของนักเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก จะซ้อนอยู่กับ กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน จะแยกกัน เฉพาะช่วงเวลาที่ เรียนวิชาการ ในชั้นเรียนเท่านั้น ส่วนการฝึกฝน สัมมาอาชีพ เป็นการบูรณาการ การเรียนการสอน จากการงานที่ทำ ตามองค์การต่างๆ ที่ชาวชุมชน มีกิจการอยู่  นักเรียน จะสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ ตลอดเวลา นักเรียนต้องเรียนรู้ ที่จะอยู่และทำงาน ร่วมกับผู้ใหญ่  พร้อมกับเรียนรู้ การทำงาน เป็นการศึกษา จากชีวิตจริง