หลักสูตรสัจธรรมชีวิต
ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ดำเนินงานตามโครงการ
พักชำระหนี้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินของเกษตรกรลูกค้า คืนธนาคารในช่วงระยะเวลา
3 ปี และเป็นการ
ให้โอกาสเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการได้ฟื้นฟูการประกอบอาชีพของตนเอง ธ.ก.ส.จึงจัดทำโครงการฟื้นฟู
การประกอบอาชีพของเกษตรกรควบคู่ไปกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมุ่งเน้นการจัดการ
การปรับเปลี่ยน
วิธีคิดของเกษตรให้ดำเนินชีวิตภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพ
และ
คุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
ธ.ก.ส.จึงได้ร่วมมือกับสถาบันเพื่อพัฒนาการเกษตรและชนบท
จำเนียร สาระนาค (สจส.) และเครือข่ายกสิกรรม
ไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.) จัดการฟื้นฟูการประกอบอาชีพเกษตรกร ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและ
คุณภาพชีวิตเกษตรกร โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสนับสนุนและเสริมบทบาทการฟื้นฟูเกษตรกรของ
ส่วนงานต่างๆ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต วิธีคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง
สามารถฟื้นฟูอาชีพของตนเองได้ดีขึ้น หรือสามารถ
ภาพบน...จากหนี้สิน ไร้หนทาง
ไร้อนาคต เป็นพันธนาการชีวิต
มาสู่....อาชีพใหม่
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างโอกาส ด้วยสัจธรรมชีวิต เป็นพื้นฐาน
...ภาพล่าง
ปรับเปลี่ยนอาชีพทางการเกษตรให้เหมาะสมกับเกษตรกรและสามารถสร้างรายได้ขณะเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้
และลดภาระหนี้ ทำกสิกรรมไร้สารพิษเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม
และเพื่อสร้าง
ชุมชนให้เข้มแข็ง ลดการพึ่งพาจากภายนอก มีการทำงานและคิดร่วมกันในระบบกลุ่ม
รวมทั้งก้าวไปสู่การสร้าง
เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองของเกษตรกร
การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตเกษตรกร
โดยจัดหลักสูตรอบรมเกษตรกร ออกเป็น 3 ระดับ คือ
หลักสูตรสัจธรรมชีวิต มีเป้าหมายเพื่อชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีการสร้างกลุ่มและองค์ชุมชน
หลักสูตรสร้างชีวิต
(ฝึกอาชีพ) มีเป้าหมายเพื่อฝึกอาชีพหรือสามารถปรับเปลี่ยนอาชีพและสร้างงาน
สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และ
หลักสูตรสร้างผู้นำ มีเป้าหมายเพื่อสร้างผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน
เป็นเครือข่ายประสานงานกับส่วนงาน
ของรัฐในการดำเนินงานต่อไป และเป็นผู้บริหารกิจการองค์ชุมชน
สจส. ได้ดำเนินการอบรมเกษตรกรตามหลักสูตรสัจธรรมชีวิต
ร่วมกับเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย
(คกร.) โดยใช้สถานที่ของชุมชนชาวอโศกเป็นศูนย์ปฏิบัติการมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
2544 จนถึงปัจจุบันสามารถ
อบรมเกษตรกรได้ประมาณ 30,000 คน หลังจากที่มีการติดตามประเมินผลโดยศูนย์อบรมต่างๆ
พบว่า หลักสูตร
สัจธรรมชีวิตสามารถบรรลุประสิทธิผลระดับหนึ่ง กล่าวคือเกษตรกรที่ผ่านการอบรมไปแล้ว
บางคนสามารถ ลด ละ
เลิก อบายมุขได้ มีการทำปุ๋ยหมัก น้ำยาเอนกประสงค์ (น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า
แชมพูสระผม) ใช้เอง เพื่อลด
ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน บางรายมีการจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ และยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตการเกษตร
โดยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี
โครงการพลังกู้ดินฟ้า
ประชาเป็นสุข
[คกร. ได้นำเสนอ และชี้แจง โครงการพลังกู้ดินฟ้า
ประชาเป็นสุข ต่อ คณะกรรมการ สสส. เมื่อ มี.ค., ก.ค. และ ส.ค. ปี 2546
ก่อนได้รับอนุมัติงบประมาณ วงเงิน 36 ล้านบาทเศษ เมื่อ 1 ส.ค. 2546]
โครงการพลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข เป็นโครงการต่อเนื่อง
เพื่อติดตามประเมินผลเกษตรกรที่ผ่านการอบรมหลักสูตร
สัจธรรมชีวิตอย่างเป็นระบบ จำนวนประมาณ 30,000 คน ใน 568 หมู่บ้าน และเกษตรกรกลุ่มใหม่ในหมู่บ้านดังกล่าว
อีกประมาณ 55,300 คน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรสัจธรรมชีวิตก็ได้
แต่มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงสู่
ทิศทางเดียวกัน
โครงการพลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข มีกิจกรรม
12 กิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 เสริมสร้างพลังกู้ดินฟ้า
กิจกรรมนี้ศูนย์อบรมต่างๆ จะออกเยี่ยมเยียนกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสัจธรรมชีวิต
ซึ่งดำเนินกิจกรรม
ลักษณะงานบุญในหมู่บ้าน และมีการติดตามผลว่า เกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรม
ไปปรับเปลี่ยนชีวิต
อย่างไรบ้าง และคัดเลือกเกษตรกรที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
เช่นลด ละ เลิก อบายมุขได้
เด็ดขาด และมีการทำสัมมาอาชีพ คือทำกสิกรรมไร้สารพิษที่สามารถเป็นตัวอย่างกับเพื่อนบ้านได้
นอกจากนี้
ยังสามารถพึ่งตนเองจากการทำ น้ำยาเอนกประสงค์ ทำปุ๋ยชีวภาพได้ดี เกษตรกรที่ถูกคัดเลือกจะได้รับการอบรม
หลักสูตร สร้างผู้นำต่อไป กลุ่มเป้าหมาย
อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มเกษตรกรที่สนใจทำเกษตรยั่งยืน
เกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มองค์กร
พัฒนาเอกชน (NGOs) จากกลุ่มต่างๆ ก็สามารถจะเข้าไปประสานงานและเชิญชวนมาเข้าร่วมโครงการได้
กิจกรรมที่ 2 สร้างผู้นำกสิกร
กิจกรรมนี้เป็นการอบรมเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกมาจากกิจกรรมเสริมสร้างพลังกู้ดินฟ้า
ใช้เวลาอบรม 4 คืน 5 วัน
ที่ศูนย์อบรมของชาวอโศกแต่ละแห่ง หลักสูตรเป็นหลักสูตรที่เข้มข้นขึ้น เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรมเข้าใจภาวะความ
เป็นผู้นำ และสามารถกลับไปขยายผล จากหนึ่งคน เป็นสองคน จากสองคน เป็นสามคน
จากสามคนเป็นสี่คน
จากสี่คนเป็นกลุ่มองค์กรชาวบ้านที่มีการจัดการกระบวนการองค์ตนเอง อย่างมีส่วนร่วม
โดยทั้งนี้มีศูนย์อบรมของ
ชาวอโศกแต่ละแห่งจะเป็นองค์กรพี่เลี้ยง
กิจกรรมที่ 3 การประชุมแกนนำเชื่อมโยงเครือข่าย
กิจกรรมนี้จัดการประชุมแกนนำที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสร้างผู้นำ
และสามารถกลับไปขยายผลในหมู่บ้าน หรือ
ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมทั้งการวางแผนร่วมกันในการสร้าง
กลุ่มของตนเอง เช่นวางแผนการผลิต การประสานงานการตลาด และแผนกิจกรรมออมทรัพย์
เพื่อผลักดันให้เกิด
กองบุญหมู่บ้านต่อไป
กิจกรรมที่ 4 สัมมนากสิกรในหมู่บ้าน
กิจกรรมนี้เป็นการประสานงานให้มีการสัมมนากสิกรรมไร้สารพิษ
ในกลุ่มของแกนนำที่สามารถขยายผลได้อย่าง
เป็นรูปธรรม เพื่อให้ความรู้ด้านต่างๆและหาสมาชิกเพิ่มเติม โดยแกนนำเป็นผู้ประสานงานชาวบ้านในหมู่บ้านเข้า
ร่วมสัมมนา ซึ่งจะมีตัวแทนของศูนย์อบรมชาวอโศกเป็นหลักในการเปิดเวทีสัมมนา
ส่วนภาคบ่ายจะมีการสาธิต
การทำจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำเอนกประสงค์ โดยวิทยากรจากศูนย์อบรมชาวอโศก
กิจกรรมที่ 5 อบรมเยาวชนคนสร้างชาติ
เป็นกิจกรรมที่ให้แต่ละศูนย์ฝึกอบรม จัดอบรมเยาวชนที่เป็นลูกหลานของเกษตรกรที่เคยผ่านการอบรมหลักสูตร
สัจธรรมชีวิต หรือในกิจกรรมที่ 1,2, 3,4 ซึ่งหลักสูตรเป็นการถ่ายทอดเนื้อหาธรรมะเบื้องต้น
ฝึกการทำงานเสียสละ
เน้นโทษอบายมุข และยาเสพติด ใช้เวลาอบรม 4 คืน 5 วัน
กิจกรรมที่ 6 สร้างสุขภาพ 8 อ.
เป็นการจัดค่ายสุขภาพ 8อ. โดยเป้าหมายผู้ที่เข้าอบรมคืออาสาสมัครของศูนย์ฝึกอบรมแต่ละแห่ง
ใช้เวลา 4 คืน 5 วัน
ผู้ที่เข้าค่ายจะเป็นคนป่วย 30 % และเป็นอาสาสมัครอีก 70 % หลักสูตรจะเน้นการฟื้นฟูสุขภาพด้วย
7 อ. ปฏิบัติการ
รักษาสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือก โดยใช้สถานที่ของศูนย์ฝึกอบรมแต่ละแห่ง
กิจกรรมที่ 7 มหกรรมกู้ดินฟ้า
เป็นการประสานงานให้แกนนำแต่ละเครือข่ายนำผลผลิตไร้สารพิษมาจำหน่ายในราคาถูก
มีรายการอภิปรายให้ความรู้
การสาธิตการทำน้ำหมัก การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ซึ่งจะต้องมีการประชาสัมพันธ์
ทั้งรายการวิทยุ รถโฆษณาเคลื่อนที่
และแผ่นพับ เป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมี
และให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเลือก
อาหารไร้สารพิษ
กิจกรรมที่ 8 ศึกษาดูงาน
เป็นการนำแกนนำของแต่ละเครือข่ายที่ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง
ไปศึกษาดูงานที่เป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ควรค่าแก่การศึกษา และแหล่งเรียนรู้ชุมชนต่างๆ ที่ประสบผลสำเร็จในการเป็นชุมชน
เข้มแข็ง สุขภาวะมั่นคง
กิจกรรมที่ 9 ผลิตสื่อสาระ
ทำต้นฉบับจัดพิมพ์หนังสือ และโปสเตอร์ การถ่ายทำ
VCD เพื่อเสริมหนุนกิจกรรมที่ 1 - 8 และนำเผยแพร่
สู่สาธารณะต่อไป
กิจกรรมที่ 10 การเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ทางด้านวิทยุ
สิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต
เป็นการเลือกสรรข้อมูลและองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมและสามารถถ่ายทอดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้
ไม่หลอกลวง
เย้าย้อม มอมเมา เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค โดยกระจายผ่านเครือข่ายวิทยุชุมชน
10 สถานี และ
อินเทอร์เน็ต
กิจกรรมที่ 11 การติดตามประเมินผลและสรุปบทเรียน
เป็นการจัดอาสาสมัครเพื่อติดตามประเมินผลทั่วประเทศทุกๆ
4 เดือน รวม 200 ครั้ง และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบ
สอบถาม พร้อมให้คำแนะนำ การแก้ปัญหาของเกษตรกร มีการจัดเวทีสรุปบทเรียน
เพื่อความก้าวหน้า และ
ฅ การดำเนินงานต่อในอนาคต
กิจกรรมที่ 12 กิจกรรมบริหารโครงการ
จัดหาที่ทำการสำนักงานใหญ่ ซึ่งได้ใช้ตึกฟ้าอภัย
เลขที่ 65/45 ซ.เทียมพร ถ.นวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กทม.
10240 โทร 0-2375-8511 โทรสาร 0-2733-6677 จัดจ้างผู้จัดการโครงการและผู้ช่วย
2 คน และ
เจ้าหน้าที่สำนักงาน 2 คน ทำหน้าที่ด้านประสานงานอำนวยความสะดวก และจัดเอกสารการเงินการบัญชี
หมายเหตุ : กิจกรรมที่ 1 - 8
ศูนย์อบรมแต่ละแห่งจะดำเนินการ สำหรับกิจกรรมที่ 9 - 12 สำนักงานใหญ่
จะเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมายร่วมกันในรอบหนึ่งปีนี้ ว่าศูนย์อบรมหนึ่งแห่ง
จะต้องสร้าง
ชุมชนต้นแบบในเครือข่ายของตนเอง หนึ่งชุมชนต้นแบบเป็นอย่างน้อย
บทบาทของชุมชนชาวอโศก
ตลอดเวลาสองปีกว่าๆ ที่ชุมชนชาวอโศกได้มีการอบรมเกษตรกรไปหลายสิบรุ่น
บางชุมชนอบรมเกษตรกรไปแล้วกว่า
50 รุ่น บางแห่งอบรมไป 40 กว่ารุ่น และโดยทั่วไปอบรมไปแล้วกว่า 20 รุ่น
งานอบรมที่ผ่านไปและกำลังดำเนินงาน
นับว่าเป็นงานสร้างคน แล้วคนไปสร้างชาติ งานด้านนี้ถูกนิยามว่าเป็นงานด้านสังคม
คือเป็นงานที่ทำงานกับคน ส่ง
เสริมสนับสนุนคน คือเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคมให้รู้จัก การพึ่งพาตนเองภายใต้ยุทธศาสตร์
เศรษฐกิจพอเพียง
หลังจากที่เกษตรกรที่ผ่านการอบรมไปแล้วมีการพัฒนาในเชิงจิตภาพและกายภาพ
กล่าวคือสามารถลด ละ เลิก
อบายมุข เลิกเล่นหวย การพนัน ยาเสพติดต่างๆ และเริ่มทำสัมมาอาชีพ คือทำกสิกรรมไร้สารพิษ
ใครที่ปลูกข้าว
ก็จะเริ่มทำข้าวไร้สารพิษ ใครที่ปลูกถั่วก็จะปลูกถั่วไร้สารพิษ และอีกหลายๆผลผลิตที่กำลังจะปรับเปลี่ยนจากใช้
สารเคมี มาเป็นไร้สารพิษมากขึ้น ดังนั้นชุมชนชาวอโศกซึ่งเป็นศูนย์พี่เลี้ยงจะมีงานที่เพิ่มขึ้นคือ
งานด้านเศรษฐกิจ
หรืองานด้านพานิชย์ งานที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นงานที่สืบเนื่องจากการอบรม หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
งานของชาวอโศก
เริ่มต้นตั้งแต่รับงานอบรมเกษตรกรแล้ว โดยในเบื้องต้น ธ.ก.ส. และสจส. ได้สนับสนุนด้านงบประมาณ
และกำหนด
แผนนโยบายร่วมกับตัวแทนชาวอโศก ต่อมา คกร.และ สสส. ได้สนับสนุนงบประมาณต่อ
เพื่อการติดตามประเมินผล
เกษตรกร ผลักดันเกษตรกรและพัฒนาให้เกิดเป็นชุมชนต้นแบบต่อไป ทั้งหมดเพื่อเป้าหมายเดียวคือสร้างคน
หรือ
เป็นการตามหาญาติธรรม ที่พร้อมจะเร่งรัดพัฒนาตนเองทั้งด้านจิตภาพ และกายภาพ
และพร้อมที่จะรวมกลุ่มกัน
พัฒนาชุมชนของตนเองเป็นศูนย์ดูงาน เป็นศูนย์เรียนรู้ และศูนย์อบรม ในที่สุด
โดยมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเช่น
ชุมชนชาวอโศก เป็นต้น
อะไรคือเครื่องมือ อะไรคือตัวชี้วัด
?
ดังที่กล่าวแล้วว่าที่ผ่านมา ธ.ก.ส. และ สจส.
หรือแม้แต่งานที่กำลังจะดำเนินอยู่ คกร. และ สสส. ได้สนับสนุนงบประมาณ
รวมถึงการกำหนดนโยบาย และแผนงานร่วมกับตัวแทนชาวอโศกนั้น ถือว่าเป็นเครื่องมือในการทำงานเท่านั้น
คือ
งบประมาณต่างๆ กิจกรรมด้านพานิชย์ที่รองรับผลผลิตก็ตาม เป็นเพียงเครื่องมือในการทำงานเป็นเครื่องอำนวยความ
สะดวกในการทำงาน โดยเฉพาะงบประมาณที่ศูนย์อบรมจะนำไปใช้นั้น ถ้าไม่ทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน
อาจจะหลง
ประเด็นในการทำงาน โดยมุ่งเน้นแต่ปริมาณ อบรมให้ได้หลายๆรุ่น ติดตามผลให้ได้หลายๆครั้ง
นั่นเป็นการเข้าใจผิด
ต่อกระบวนการทำงาน
ดังนั้นตัวชี้วัดที่เด่นชัดคือ
1. ศูนย์อบรมได้สร้างคนที่เปลี่ยนแปลงตนเอง
ทั้งด้านจิตภาพและกายภาพได้จำนวนกี่คน อยู่ที่ไหน บ้านเลขที่
เท่าไหร่ อยู่ที่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดใดบ้าง
2. ผลผลิตที่ไร้สารพิษมีเกษตรกรในเครือข่ายที่ผ่านการอบรม
มีการทำกสิกรรมไร้สารพิษอะไรบ้าง มีพื้นที่
เพาะปลูกกี่ไร่ ได้ผลผลิตกี่กิโลกรัมต่อไร่ และสามารถให้เป็นแหล่งดูงานได้ด้วย
3. มีพื้นที่เป้าหมาย
เป็นกลุ่มองค์กรชุมชน หมู่บ้านใดบ้าง และกำลังพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์ดูงาน
เป็นศูนย์เรียนรู้
และศูนย์อบรมได้
4. มีระยะเวลา
ที่สามารถบอกได้ว่า แต่ละกลุ่มเป้าหมาย กำหนดเวลาได้ชัดเจนว่าจะพัฒนากลุ่มตนเอง
ให้เป็น
ศูนย์ดูงาน ภายในระยะเวลากี่เดือน ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ ภายในกี่เดือนกี่ปี
และเป็นศูนย์อบรมได้ภายในกี่ปี
กลุ่มเป้าหมาย - วิธีการ
กลุ่มเป้าหมายที่ศูนย์อบรมแต่ละแห่ง จะร่วมทำงานด้วยนั้น
คือ กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการอบรมหลักสูตร
สัจธรรมชีวิต เป็นสำคัญ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ผ่านการอบรมไปแล้วมีการพัฒนาตนเอง
ได้ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมตนเองในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และ สามารถทำกสิกรรมไร้สารพิษได้
มีผลผลิตที่ชัด
เจน สำหรับเกษตรกรที่ผ่านการอบรมแล้ว แต่อาจจะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาตนเองได้เพียง
บางส่วน ก็ให้มีการประสานงานไว้ระดับหนึ่ง
กลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มเกษตรกรที่สนใจทำเกษตรยั่งยืน
เกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับการสนับสนุน
จากกลุ่มองค์พัฒนาเอกชน (NGOs) จากกลุ่มต่างๆ ก็สามารถจะเข้าไปประสานงานและเชิญชวนมาเข้าร่วม
โครงการได้
สำหรับวิธีการนั้น หลังจากที่ได้ปฏิบัติแผนกิจกรรมมาได้ระดับหนึ่งแล้ว
จะพบว่ามีกลุ่มเป้าหมายเกิดขึ้น กลุ่มเหล่านี้
ควรพัฒนาผลักดันให้เป็นกลุ่ม มีการจัดตั้งเป็นองค์ชาวบ้าน โดยจัดการบริหารกันเอง
และตั้งชื่อกลุ่ม เช่น กลุ่มกสิกรรม
ไร้สารพิษบ้านซับน้อย กลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษบ้านแม่หล่าย เป็นต้น มีคณะกรรมการทำงาน
และมีกิจกรรม เช่น กลุ่มนั้น
ๆ ได้ทำการเพาะปลูกอะไร อาจจะเป็นข้าวหอมมะลิไร้สารพิษ หรือถั่วเหลืองไร้สารพิษ
หรือปลูกผักไร้สารพิษ กิจกรรม
ตรงนี้ สมาชิกในกลุ่มก็จะต้องรณรงค์ส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่ม ทำผลผลิตไร้สารพิษให้ได้
ทำปุ๋ยชีวภาพทำอย่างไร ทำ
น้ำหมักไล่แมลงทำอย่างไร สมาชิบางคนที่อบรมไปแล้ว อาจจะไม่ชัดเจน สมาชิกในกลุ่มต้องให้คำแนะนำช่วยเหลือกัน
อีกกิจกรรมหนึ่งที่สมาชิกในกลุ่มควรรณรงค์ส่งเสริมกัน
คือ การพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาจากภายนอก ภายใต้
ยุทธศาสตร์เพิ่มรายได้โดยการลดค่าใช้จ่าย กล่าวคือการทำน้ำยาเอนกประสงค์
การทำน้ำยาล้างจาน การปลูกผัก
สวนครัวกินเอง เป็นต้น ถ้ากลุ่มสามารถเกาะกลุ่มรวมตัว จนเกิดความเหนียวแน่นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
องค์กร
พี่เลี้ยงสามารถผลักดันการทำการตลาด ทั้งผลผลิตการเกษตร ผลผลิตที่เป็นสุขภัณฑ์ในครัวเรือน
จัดตั้งเป็น
ร้านสหกรณ์ร้านค้าของกลุ่ม มีการจัดรายได้จากผลผลิตซึ่งอาจจะคิดเป็นกิโลกรัม
เช่น หักรายได้จากสมาชิกที่
ปลูกข้าว 50 สตางค์/กิโลกรัม หรือคิดเป็นเปอร์เซ็น 10 % หรือ 15 % ขึ้นอยู่กับสมาชิกในกลุ่มจะตกลงกันตาม
ความเหมาะสม โดยการขายผลผลิตจะขายให้กับกลุ่ม แล้วกลุ่มขายสู่ตลาดต่อไป
ซึ่งรายได้ส่วนที่เข้ากลุ่มนี้เรียกว่า
กองบุญหมู่บ้าน แล้วนำกองบุญนี้ไปบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกในกลุ่ม
ตามความเห็นชอบของ
สมาชิกในกลุ่ม ซึ่งมีการจัดประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ
การจัดการด้านตลาดไร้สารพิษ
งานที่สืบเนื่องจากการอบรม คือ งานด้านตลาด
ซึ่งหลังจากที่มีการพัฒนากลุ่มเกษตรกรจนเกิดกระบวนการกลุ่ม
ที่ชัดเจน และมีผลผลิตที่แน่นอน ต้องมีการจัดการตลาดร่วมกันซึ่งจะอยู่ในกรอบของระบบบุญนิยม
แนวทางการจัดการด้านตลาดไร้สารพิษนั้น นอกจากผู้ผลิตที่ต้องบริโภคเองแล้ว
การตลาดในท้องถิ่นก็เป็นเป้าหมายที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาลประจำจังหวัด เรือนจำประจำจังหวัด
หรือโรงเรียนต่างๆ ที่ต้องการ วัตถุดิบทางการเกษตรที่ไร้สารพิษ เพื่อนำไปแปรรูปให้สมาชิกในหน่วยงานได้บริโภค
ศูนย์อบรมของชาวอโศกที่มีร้านค้าชุมชนก็สามารถเป็นตลาดรองรับผลผลิตได้เช่นกัน
การจัดตลาดนัดชุมชนประจำสัปดาห์ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง สำหรับการตลาดอีกส่วนหนึ่ง
คือ ตลาดกลางของชาวอโศก เช่น บจ.ขอบคุณ บจ.พลังบุญ บจ.แด่ชีวิต ฯลฯ ซึ่งมีความพร้อมที่จะรองรับผลผลิตที่ไร้สารพิษ
โดยมีการทำงานที่เชื่อมโยงกับศูนย์อบรมแต่ละแห่ง ดังตัวอย่างที่ผ่านมา
มีการประสานงานเรื่องข้าวหอมมะลิไร้สารพิษ กับศูนย์อบรมราชธานีอโศก และศีรษะอโศก
หรือมีการประสานงานเรื่อง ถั่วเหลืองไร้สารพิษ กับศูนย์อบรม เชียงอโศก
ฮอมบุญอโศก เลไลย์อโศก เป็นต้น
ผลผลิตทุกชนิด จะต้องมีการตรวจสอบสารพิษ
โดยมีหน่วยงาน ต.อ.กลาง ,ต.อ.ชุมชน เป็นหน่วยประสานงาน
และดำเนินงาน ซึ่งจะผลักดันให้แต่ละศูนย์ฝึกอบรมมีหน่วยงานตรวจสอบสารพิษ
มีหน่วยเก็บข้อมูลเกษตรกรที่เป็น
สมาชิก และมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาอย่างเป็นระบบ
คัดจาก...สรุปรายงานการดำเนินงานกรณีศึกษา
โครงการพลังกู้ดินฟ้าประชาเป็นสุข ดำเนินงานโดย ศูนย์อบรม
ชุมชนชาวอโศก 22 ศูนย์อบรม สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) เขียนโดย
นายราเมศ (ตายแน่) เชียวเขตรวิทย์ นิสิตสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต
ปี 4
|