โครงการพลังกู้ดิน ประชาเป็นสุข 4/5 โครงการพลังกู้ดิน ประชาเป็นสุข Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > คกร. > โครงการพลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข >โครงการ และที่ตั้งสำนักงานโครงการ

หลักการ เหตุผล ประวัติ ความสำคัญ และที่มา ของโครงการ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์
กลวิธีและกิจกรรม
   ผังแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการเรียนรู้
   3 แผนงานหลัก 12 กิจกรรม
   แผนภูมิยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

แผนปฏิบัติงานโครงการ ปฏิทินกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินงาน

ผลลัพท์ (Output)
ผลกระทบ (Impact)
ตัวชี้วัด
การประเมินผล
งบประมาณ
องค์กรภาคีร่วมงาน
กลไกการจัดการ
การขยายผล
ความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

5. แผนปฏิบัติงานโครงการ ปฏิทินกิจกรรม

โปรดดูที่ภาคผนวก และวันที่ของการดำเนินการ ในภาคผนวกอาจเปลี่ยนแปลง ตามเวลาที่ได้รับอนุมัติโครงการ


6. กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินงาน

ที่มาของกลุ่มเป้าหมาย

เนื่องจากนโยบายพักหนี้เกษตรกรรายย่อย 3 ปี ของรัฐบาล และมอบหมายให้ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้รับสนองนโยบายโดยรัฐบาลเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ทางธนาคารแทนเกษตรกร ทางธนาคารจึงได้จัดงบประมาณจำนวนหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรภายใต้โครงการ “พัฒนาคุณภาพ และศักยภาพชีวิตเกษตรกร” โดยร่วมกับ สถาบันเพื่อพัฒนาการเกษตร และชนบท จำเนียรสารนาค (สจส.) และเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.) ทำการอบรมเกษตรกรภายใต้หลักสูตร “สัจจธรรมชีวิต” เป็นเวลา 4 คืน 5 วัน ที่ศูนย์ฝึกอบรมของเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ จำนวน 19 แห่งทั่วประเทศ (ปัจุบันเพิ่มอีก 3 ศูนย์) โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรกรที่เข้าโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก อบายมุข ลดการใช้จ่าย ในสิ่งที่ไม่จำเป็น ดำเนินชีวิต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำกสิกรรมไร้สารพิษ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือวัชพืช สามารถทำปุ๋ยชีวภาพ และสารสกัดจากธรรมชาติทดแทน จากเดือนพฤษภาคม 2544 จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2545 ได้ทำการอบรมไปแล้ว 320 รุ่น มีผู้เข้ารับการอบรม ตามทั่วประเทศรวม 29,000 สำหรับปี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแผนการอบรมจำนวนประมาณ 350 รุ่น เกษตรกรเข้ารับการอบรมจำนวนประมาณ 30,000 คน

หลังจากอบรมแล้ว ได้มีการติด ตามประเมินผลโดยกลุ่มพี่เลี้ยงประจำศูนย์ของแต่ละภาค พบว่าเกษตรกรที่ผ่านการอบรม “สัจจธรรมชีวิต” ส่วนหนึ่ง ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ลด ละ เลิก อบายมุข พัฒนาอาชีพ ทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำน้ำยาอเนกประสงค์ และของใช้ประจำวัน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในครัวเรือน และเกิดการรวมกลุ่มกัน เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ชีวิตความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้น

โครงการกู้ดินฟ้าประชาเป็นสุขจะเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “สัจจธรรมชีวิต” จำนวน 30,000 คน ใน 568 หมู่บ้าน และเกษตรกรกลุ่มใหม่ ในหมู่บ้านดังกล่าวอีก 55,300 คน แบ่งเป็น 4 ภาค ดังนี้ (รายละเอียดโปรดดูภาคผนวก)

ลำดับ

ภาค

จำนวนหมู่บ้าน

จำนวนคน

1

เหนือ

61

5,845

2

ตะวันออกเฉียงเหนือ

325

36,720

3

กลาง

154

10,310

4

ใต้

28

2,425

รวม

568

55,300

7. ผลลัพท์ (Output)

ด้านจิตภาพ

  • มีผู้สามารถลด ละ เลิก อบายมุข ไม่น้อยกว่า 5000 คน มีพฤติกรรมมักน้อยสันโดษ มีความอดทนอดกลั้นต่อทุกขภาวะ และเสียสละ อุทิศตนทำงาน เพื่อสังคมไม่น้อยกว่า 1000 คน
  • เกิดกระแสร่วมกันของสังคมให้ตระหนักถึงโทษภัยของสิ่งเสพย์ติด และหันมาร่วมมือกันลด ละ เลิกอบายมุขเป็นตัว อย่างให้คนรุ่นหลัง และช่วยปลุกจิตสำนึกของเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดต่อไป เกิดการพัฒนาองค์ความรู้หรือหลักสูตรให้เลิกเกี่ยวข้องกับอบายมุข

ด้านสังคม

  • เกษตรกร สามารถลดภาระหนี้สินได้ ไม่น้อยกว่า 60 % ของกลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถสร้างพึ่งตนเองได้
  • เกิดองค์กรที่มีแกนนำมีคุณธรรม ในระดับกัลยาณชนขึ้นไป (ไม่ติดอบายมุข ซื่อสัตย์ เสียสละ) จำนวนไม่น้อยกว่า 200 กลุ่ม และระดับชุมชน 20 ชุมชน ซึ่งจะขยายผลสู่เครือข่ายประชาคมอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 30,000 คนให้เข้าใจ ในหลักการพึ่งตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างยั่งยืน
  • องค์กรชุมชน เกิดการเรียนรู้ และ การพัฒนาศักยภาพ การเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน โดยเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีบุคลากร สามารถถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ได้ 6800 คน แทรกอยู่ ใน 568 ชุมชน ช่วยให้รัฐลดค่าใช้จ่าย ด้านการรักษาพยาบาล
  • เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นชุดบทเรียนด้าน การเสริมสร้างสุขภาวะแบบบูรณาการ บนพื้นฐานของทรัพยากร ในชุมชน เป็นองค์ความรู้ ในการป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากภาวะความเสื่อมของร่างกายสามารถหยั่งลึกลง ในระดับรากของสังคมจนกลายเป็นวัฒนธรรม ในที่สุดถึงขั้นพัฒนาเป็นธุรกิจชุมชน ที่ชุมชนสามารถผลิตอุปกรณ์ ในการฟื้นฟูสุขภาพโดยใช้วัสดุธรรมชาติประมาณ 20 ชุมชน
  • เกิดเครือข่ายอาหารไร้สารพิษตั้งแต่ผลผลิต แปรรูป สังคมจะได้รับอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ในการสร้างสุขภาวะ เนื่องจาก การผลิตอาหารไร้สารพิษ จะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพ ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้บริโภค รวมถึงธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่ปลูกข้าวไร้สารพิษ ไม่น้อยกว่า 60,000 ไร่ และให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 30,000 ตัน
  • เกิดตัวอย่างทางสังคมที่สามารถทำเป็นสารคดีบันทึก ในรูป วีซีดี เผยแพร่เป็นกรณีศึกษา ไม่ต่ำกว่า 20 เรื่อง
  • เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชน “บุญนิยม” และเกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งอื่น ทั้งแนวลึก แนวร่วม และแนวรอบ ที่สามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากร และสรรพกำลังช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาของตัวเอง


8. ผลกระทบ (Impact)

  • เกิดภาวะการเปรียบเทียบวิถีทางดำเนินชีวิต ตามกระแสบริโภคนิยมแบบสังคมตะวันตกกิน สูบ ดื่ม เสพย์ ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ตามแรงของการโฆษณา ต่อสู้แย่งชิงเอารัดเอาเปรียบกันแบบ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” ทำให้เกิดทุกขภาวะ กับสภาพสังคม “บุญนิยม” แบบใหม่ ที่มุ่งประหยัด มัธยัสถ์ บริโภคแต่พอดีมีสาระ มีความพอเพียง มีการให้ การเสียสละช่วยเหลือกันแบบ “ปลาใหญ่ช่วยปลาเล็ก” เพื่อเป็นสังคมทางเลือกหนึ่ง ของมนุษยชาติ ที่นำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน
  • ชุมชนหันมาให้ความสำคัญ ในการเร่งสร้างทรัพยากรขึ้นทดแทนการนำเข้า เช่นการสร้างไม้เชื้อเพลิงทดแทนแก๊สหุงต้ม หรือการปลูกป่าทำไม้ก่อสร้างแทนปูน และเหล็ก เพื่ออนุชนรุ่นหลัง
  • เกิดการขยายผลสู่องค์กรภาคีอื่นเช่นธนาคาร เพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ในการนำองค์ความรู้ไปฟื้นฟูเกษตรกรลูกหนี้อีก 300,000 คน โดยใช้ฐานชุมชนทั่วประเทศ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
  • เกิดการร่วมมือกันระหว่างองค์กรชุมชน และโรงพยาบาลภาครัฐ ในการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาวะเชิงรุก ด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ กระบวนการทำงาน แบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของการใช้ และจัดสร้างทรัพยากร ในชุมชน อย่างน้อย 5 จุดต้นแบบ และขยายผลสู่ 200 จุดภาย ใน 10 ปี

9. ตัวชี้วัด

  • เชิงจิตภาพจะวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของปัจเจกชน เช่นจำนวนคนที่มีการลด ละ เลิก อบายมุข และการเสียสละอุทิศตนทำงาน เพื่อสังคม
  • เชิงกระบวนการ วัดจากจำนวนกลุ่มองค์กรชุมชนที่จัดตั้งขื้นมาร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชน
  • เชิงผลงานระดับปัจเจก วัดจากยอดการชำระหนี้สินของผู้เข้าร่วมโครงการ
  • เชิงผลงานระดับชุมชนวัดจากมูลค่าของการพึ่งพาตนเองของชุมชนเช่นการทำปุ๋ยใช้เอง การทำน้ำยาอเนกประสงค์ เป็นต้น
  • เชิงผลงานระดับเครือข่ายวัดจากกิจกรรมร่วมกันของเครือข่าย ว่ามีผู้สนใจจำนวนเท่าไร
  • ผลกระทบต่อสังคมวัดจากจำนวนงานวิจัย สื่อ เอกสารที่มีการนำไปใช้ หรือศึกษาขยายผลเพิ่มเติม
  • จำนวน และประเภทหน่วยงานที่มีการนำองค์ความรู้ ชุดประสบการณ์ กรณีศึกษา ไปเป็นเครื่องมือ ในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน
  • ผลกระทบต่อแนวนโยบายวัดจากจำนวน และประเภทของโครงการที่มีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ และองค์กรชุมชนรัฐ และท้องถิ่น ที่ปรับเปลี่ยนแนวการสร้างเสริมสุขภาพ ตามลักษณะนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพของท้องถิ่น และรัฐ

10. การประเมินผล

10.1 ออกติด ตามประเมินผลทุกระยะ 4 เดือน โดยฝ่ายติด ตามประเมินผลของเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย ด้วยตัวชี้วัดดังนี้

ลำดับ

ตัวชี้วัด

% ของ
กลุ่มเป้าหมาย

1

จำนวนผู้เลิกอบายมุขได้ อย่างเด็ดขาด

10

2

จำนวนผู้กำลังพยายามลด ละ เลิก อบายมุข

20

3

จำนวนผู้ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง

25

4

จำนวนผู้ผลิตน้ำยาอเนกประสงค์ใช้เอง

50

5

จำนวนผู้ทำกสิกรรมไร้สารพิษ

60

6

จำนวนผู้ทำกิจกรรม 5 ส.

70

7

จำนวนผู้พ้นภาระหนี้สินของ ธกส.

10

8

จำนวนผู้ที่มีปริมาณหนี้ลดลงจากเดิม

50

9

มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน

80

10

มีวิทยากรกระบวนการประจำกลุ่มรวมทั้งหมด

3,200 คน

11

มีผู้ปฏิญาณตนถือศีล 5

20

10.2 ทำแบบสอบถาม โดยนักศึกษาอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่างๆ

10.3 จัดเวทีสรุปบทเรียน เพื่อเป็นการประเมินผลโครงการ

 

11. งบประมาณ

รวมทั้งโครงการ 36,279,275 บาท แบ่งออกได้ดังนี้

ลำดับ

รายการ

จำนวนเงิน (บาท)

1

ภาคเหนือ

3,024,623

2

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

19,924,328

3

ภาคกลาง

5,759,206

4

ภาคใต้

1,272,878

5

ค่าผลิตสื่อสาระ

3,480,000

6

ค่าเผยแพร่ความรู้ และประชาสัมพันธ์

792,240

7

ค่าติด ตามประเมินผล และสรุปบทเรียน

260,000

8

ค่าบริหารโครงการ

1,766,000

รวม

36,279,275

(รายละเอียดงบประมาณโปรดดูภาคผนวก)

.