OFNT hoem page 1/1 OFNT hoem page Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > คกร. > ระเบียบร้านค้าองค์กรสมาชิก คกร.

[ธรรมนูญ | องค์กรสมาชิก | ระเบียบร้านค้าองค์กรสมาชิก | กองทุนสัจจะออมบุญ]
ระเบียบร้านค้าองค์กรสมาชิกเครือข่าย
กสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย

อาศัยอำนาจตามข้อ 9 ของธรรมนูญเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่าย ครั้งที่ 1 / 2544 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อให้ร้านค้าเป็นจุดก่อเกิดแห่งการเกื้อกูลกันขึ้นในสังคม ไม่ใช่การมุ่งค้ากำไรในเชิงธุรกิจ จึงใด้กำหนดระเบียบร้านค้าองค์กรสมาชิกเครือข่ายดังนี้

    1. ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป
    2. ให้องค์กรสมาชิกที่ประสงค์จัดตั้งร้านค้ายื่นความจำนงต่อคณะกรรมการบริหาร เพื่อขอรับการอนุมัติและการสนับสนุน
    3. ให้คณะกรรมการองค์กรสมาชิก ทำหน้าที่ควบคุม ตรวจตรา การบริหารร้านค้า

ส่วนที่ 1 ที่มาของทุน

      1. ได้จากการระดมหุ้นจากสมาชิกขององค์กรสมาชิกเครือข่ายใดๆก็ได้
      2. ได้จากการรับบริจาคทั่วไป
      3. ได้จากกองทุนสนับสนุนภายนอก

ส่วนที่ 2 สินค้าภายในร้าน

      1. ต้องไม่จำหน่ายสินค้าที่เป็นการส่งเสริมให้เกิดอบายมุข เช่น เหล้า บุหรี่ อุปกรณ์ใน
        การเล่นการพนัน ฯลฯ
      2. ต้องไม่จำหน่ายสินค้าที่มีสารพิษ เช่นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ฯลฯ
      3. สนับสนุนการจำหน่ายผลผลิตไร้สารพิษของสมาชิก
      4. สนับสนุนการจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการผลิตการแปรรูป และสินค้า ที่จำเป็นต้องใช้ในครัวเรือน ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงหลัก ประโยชน์สูงประหยัดสุด
      5. ต้องไม่นำสินค้าฟุ่มเฟือยและราคาสูงมาจำหน่ายเช่นเครื่องประดับ ตู้เย็น ทีวี เครื่องแต่งกายยี่ห้อต่างประเทศ เครื่องอีเลคโทรนิคส์ เป็นต้น

ส่วนที่ 3 บุคลากรของในร้าน

      1. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ติดอบายมุข
      2. เน้นการเสียสละถึงขั้นทำงานโดยไม่รับค่าตอบแทน
      3. หากจำเป็นต้องมีค่าตอบแทนกำหนดให้สูงสุดไม่เกินเดือนละ 2500 บาท

ส่วนที่ 4 การจัดสรรผลกำไร

เป้าหมายของร้านค้าคือการสนับสนุนให้เกิดทุนทางสังคม คือการให้ การเสียสละช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในสังคมไม่ใช่ธุรกิจค้ากำไร เป็นการส่งเสริมให้คนได้ทำบุญ โดยส่วนกำไรที่เกิดขึ้นให้จัดสรรดังต่อไปนี้

  1. ให้จัดสรร 10 % ของผลกำไรสุทธิช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม เช่นผู้พิการ คน
    ชราที่ยากจน เด็กจรจัด ผู้ไร้ความสามารถ หญิงหม้ายสามีทอดทิ้งที่ต้องรับภาระมาก
    ฯลฯ
  2. ให้จัดสรร 10 % ของผลกำไรสุทธิ เป็นกองทุนสวัสดิการแก่สมาชิก
  3. ให้จัดสรร 20 % ของผลกำไรสุทธิ เป็นกองทุนส่งเสริมอาชีพและปลดหนี้สินแก่สมาชิก
  4. ให้จัดสรร 30 % ของผลกำไรสุทธิเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนในร้านค้าหรือซื้อหุ้นคืนจากสมาชิก
  5. ให้จัดสรร 30 % ของผลกำไรสุทธิเป็นกองทุนเผยแพร่และสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน
  6. การจัดสรรใน (3.) ไม่ให้มีดอกเบี้ย แต่เป็นการให้แรงงานเพื่อสาธารณะแทน ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของกรรมการ

ลงชื่อ ธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ ประธานกรรมการบริหาร
(นายธำรงค์ แสงสุริยจันทร์)
9 กุมภาพันธ์ 2544