ชื่อโครงการ
ผักไร้สารพิษ
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายอำนาจ หมายยอดกลาง
ประธานกลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ
วังน้ำเขียว
ผู้ประสานงานโครงการ
นายโชคชัย สมันตรัฐ
เลขานุการกลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ
วังน้ำเขียว
หน่วยงานรับผิดชอบ
กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ
วังน้ำเขียว ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
14 หมู่ที่ 11
ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา 30370
โทร. 01-9664247 , 01- 8761758
หลักการและเหตุผล
รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของปะชาชนในระดับรากหญ้าซึ่งเป็น
ส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วยการพักชำระหนี้ของเกษตร
จัดตั้งกองทุน 1 ล้านบาท และ
คนส่งเสริมให้เกิดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
โดยเน้นดำเนินกิจกรรมตามแนวทาง
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ซึ่งแนวทางดังกล่าว
ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวและขานรับกับนโยบายของรัฐบาล
กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษวังน้ำเขียว
ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันด้วยเห็นโทษภัยของการใช้สารเคมีในการเกษตร
ที่มีต่อตนเอง ต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม หันมาประกอบอาชีพเพาะปลูกโดยไม่ใช้
สารเคมี ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 90 ราย ปลูกผักไร้สารพิษ
และ รวมกลุ่มกัน ส่งจำหน่าย
ยังตลาดในจังหวัดและกรุงเทพ ฯ โดยมีการรวบรวมและจัดขนาดตลอดจนหีบห่อ
อย่างมีคุณภาพ
ผลผลิตไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค
ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมาก ที่สนใจ
จะปลูกผักไร้สารพิษและทางกลุ่มฯ เองก็ยังไม่สามารถที่จะรับผลผลิตและจัด
กระบวนการคัดขนาด บรรจุหีบห่อ การขนส่ง หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน
ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
จะสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูก
และ เพิ่มประสิทธิภาพ ในการรวมรวบบรรจุหีบห่อ
และส่งจำหน่ายได้มากขึ้น ปัจจุบันผักไร้สารพิษของอำเภอวังน้ำเขียว
ได้พัฒนา
ตามแนวนโยบายของรัฐบาล หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้จากการปลูกผักไร้สารพิษ
- เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
- เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน
และเป็นแบบอย่างแก่องค์กรชุมชนอื่น ๆ ตลอดจนมีผลผลิตภัณฑ์ผักไร้สารพิษขึ้นในหนึ่งตำบล
เป้าหมาย
เกษตรกรเป้าหมาย
สมาชิกกลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษวังน้ำเขียว
และเครือข่าย
พื้นที่เป้าหมาย
หมู่บ้านในตำบลวังน้ำเขียว และตำบลในอำเภอวังน้ำเขียว
ตลอดจนอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดนครราชสีมา
ระยะเวลาดำเนินการ
ปีที่ 1 ระยะเร่งรัดเพื่อฟื้นฟูวิกฤตของเกษตรกร
ปีที่ 2 เป็นต้นไป
เป็นระยะพึ่งพาตนเอง
แผนงาน
กิจกรรม
พัฒนาศักยภาพสมาชิก
1) ประชุมคณะกรรมการการกลุ่ม
50 คน เดือนละ 1 ครั้ง
2) ประชุมสมาชิกกลุ่ม
300 คน 3 เดือนต่อครั้ง
3) อบรมฝึกทักษะและศึกษาดูงานให้สมาชิก
100 คน 3 วัน ปีละ 2 ครั้ง
4) พัฒนาแปลงสาธิตปลูกผักไร้สารพิษ
เนื้อที่ 10 ไร่
ส่งเสริมอาชีพและรายได้
1) ส่งเสริมสมาชิกรายใหม่
ปีละ 20 ราย
2) ขยายกำลังการผลิตสมาชิกรายเก่า
ปีละ 20 ราย
3) สร้างโรงเพาะกล้าผัก
1 หลัง
4) สร้างโรงรวบรวมผลผลิต
1 หลัง
5) ทำห้องปรับอุณหภูมิเก็บรักษาผลผลิต
1 หลัง
6) มีรถยนต์บรรทุกขนส่งผลผลิต
1 คัน
7) เช่าและปรับปรุงอาคารพาณิชย์เป็นแหล่งกระจายผลผลิต
1 แห่ง
8) เช่าและปรับปรุงแผงจำหน่ายในตลาดสด
5 แห่ง
9) จัดทำบรรจุภัณฑ์สำหรับหีบห่อผลผลิต
3 แห่ง
10) มีกองทุนหมุนเวียนรับซื้อผลผลิตของสมาชิก
และดำเนินการ
1 กองทุน
งบประมาณ
พัฒนาศักยภาพสมาชิก
1) ประชุมกรรมการ
50 คน x 50 บาท x 12 ครั้ง 30,000 บาท
2) ประชุมสมาชิกกลุ่ม
300 คน x 50 บาท x 4 ครั้ง 60,000 บาท
3) อบรมฝึกทักษะ
ดูงาน 100 คน x 500 บาท x 2 ครั้ง 100,000 บาท
4) พัฒนาแปลงสาธิต
10 ไร่ x 5,000 บาท 50,000 บาท
รวม 240,000
บาท
ส่งเสริมอาชีพและรายได้
1) ส่งเสริมสมาชิกรายใหม่
20 คน x 30,000 บาท 600,000 บาท
2) ขยายกำลังการผลิตรายเก่า
20 คน x 15,000 บาท 300,000 บาท
3) สร้างโรงเพาะชำกล้าผัก
ขนาด 7 x 30 เมตร 1 หลัง พร้อมอุปกรณ์
200,000 บาท
4) สร้างโรงรวบรวมผลผลิต
ขนาด 12 x 36 เมตร 1 หลัง พร้อมอุปกรณ์
1,400,000 บาท
5) ห้องปรับอุณหภูมิ
ขนาด 4 x 6 เมตร 1 ห้อง 300,000 บาท
6) รถยนต์บรรทุก
ขนาด 6 ล้อ 1 คัน 900,000 บาท
7) เช่าและปรับอาคารพาณิชย์
1 คูหา 300,000 บาท
8) เช่าและปรับปรุงแผงจำหน่าย
5 แห่ง 50,000 บาท
9) ทำบรรจุภัณฑ์
3 ขนาด 50,000 บาท
10) กองทุนหมุนเวียน
1 กองทุน 500,000 บาท
รวม 4,600,000
บาท
รวมทั้งสิ้น 4,840,000
บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เกษตรกร จำนวนอย่างน้อย
200 ราย และ สมาชิกในครอบครัว จะมีอาชีพปลูกผัก
ไร้สารพิษ และมีรายได้ครอบครัวละอย่างน้อย 3,000
บาทต่อเดือน
- เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกัน
ดำเนินกิจกรรม มีกิจกรรมกลุ่มอย่างน้อย 7 กิจกรรม
เกิดขึ้นได้แก่ กลุ่มปลูกผักไร้สารพิษ กลุ่มรวบรวมและจำน่ายผลผลิต
กลุ่มขนส่ง
กลุ่มแปรรูปผลผลิต กลุ่มช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก
กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มเพาะชำกล้าไม้
- มีองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งและเป็นแหล่งศึกษาดูงานขององค์กรอื่น
ๆ มีผลิตภัณฑ์
เกิดขึ้นอย่างน้อย หนึ่งผลิตภัณฑ์ในตำบล
|