หน้าแรก >[06] ชุมชนและสังคม >ชุมชนบุญนิยม > ที่ตั้งสำนักงาน-ประวัติ บุคลากร ระเบียบ กิจกรรม องค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์

ชุมชนสันตินาคร ที่เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นแบบชาวเมือง ที่พักอาศัยเป็นลักษณะทาวเฮาส์ คือ แฟลต "ตะวันงาย ๑" และ "ตะวันงาย ๒" ซึ่งผู้เข้าพักอาศัยจะต้องมีคุณสมบัติคือ ถือศีล ๕ ละอบายมุขและรับประทานอาหารมังสวิรัติ ที่พุทธสถานอื่นๆ ก็มีชุมชน เช่นกัน จากการเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อต่างๆ ทั้ง สื่อบุคคล ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติลดละกิเลสอย่างจริงจัง โดยมี นักบวช เป็นแกนหลักและสื่ออื่นๆ เช่น การเทศน์ หนังสือ เทป วิดีโอ การจัดอบรมปฏิบัติธรรมประจำปี ฯ ทำให้มีผู้สนใจศึกษาปฏิบัติตาม จนเลื่อนขั้น "อาชีพ" ที่เคยแสวงหาลาภ-ยศ-สรรเสริญ- สุข กอบโกยเอาเปรียบในสังคม เข้ามารวมเป็นมวลหมู่ กล้าทำงานโดยไม่มีเงินเดือน เพิ่มขึ้นมาตามลำดับ เป็นการพัฒนา “สัมมาอาชีพ” ของมนุษย์ในสังคมตามหลักธรรมของพุทธ คือ พ้น "มิจฉาชีพ" ขึ้นมาตามลำดับ

ทุกๆ หน่วยงาน คือ แบบเรียน โจทย์ ข้อทดสอบ บทฝึกฝน การปฏิบัติธรรมตามสัมมาอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่จะมี ประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน ไปในตัว ผู้ทำงานในแต่ละหน่วย จะได้ศึกษาเรียนรู้การทำงานร่วมกันการกระทบผัสสะซึ่งกันและกัน ได้ฝึกกาย วาจา ใจ อ่านบทบาทอาการของจิตราคะ โลภะ โทสะ ถือสาที่เกิดจากคนในวงงานและนอกวง ผู้ที่มีโยนิโสมนสิการในการปฏิบัติ จะได้ลดล้างสักกายะ อัตตา อาสวะของตน ในขณะทำการงานไปด้วย

ดังนั้น ชาวอโศก จึงมีการทำงานด้วยมรรคองค์ ๘ ด้วยโพชฌงค์ ๗ เป็นการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าเครือข่ายงานจะขยายกว้างออกไปเพียงใด งานก็ยังคือบทฝึกการปฏิบัติธรรมอยู่นั่นเอง ถ้าปฏิบัติโพชฌงค์ ๗ และมรรคองค์ ๘ เป็น ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นอริยสัจ และทรงนำมาให้พุทธบุตรปฏิบัติได้มรรค-ผล จริง.


 
1/1 Close