ความเป็นมา
ของ พุทธสถานศีรษะอโศก
ปี ๒๕๑๗ สมณะจากสำนักสันติอโศก
ได้จาริกไปปักกลดที่ ป่าช้าสาธารณประโยชน์บ้านกระแชง
ที่ชาวบ้านใช้เป็นที่ฝัง หรือ เผาศพ ห่างจาก ตัวอำเภอกันทรลักษ์
ไปทาง จังหวัดศรีสะเกษ ๕ กิโลเมตร ญาติโยมที่มาหาพระรุ่นแรกนั้น
เพื่อ จะขอหวยเป็นส่วนใหญ่ สมณะชาวอโศกจึงถือโอกาส เผยแพร่ธรรมะที่เป็นโลกุตระ
ซึ่งตรงข้ามกับความต้องการ ของผู้มา โดยได้ใช้ป่าช้าแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม
ระยะแรกการเทศน์การสอนจะ เน้นให้ถือศีล
๕ ศีล ๘ ให้ลด ละ เลิกอบายมุข โดยเฉพาะเหล้า บุหรี่
ยาเสพติด การพนัน หันมาสร้างเมตตาธรรม ด้วยการ เลิกทานเนื้อสัตว์
มีผู้สนใจ และ นำไปปฏิบัติจนเกิดความมั่นคงในตัวเองหลายคน
ปี ๒๕๑๙ จำนวนผู้ปฏิบัติธรรมมีมากขึ้น
ทั้งใน จังหวัดศรีสะเกษ และ จังหวัดใกล้เคียง ผู้ปฏิบัติธรรมเหล่านี้ได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น
ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงรู้จักกันในนาม ป่าช้า โดยมีสมณะจากสำนักสันติอโศกมาอยู่ประจำ
และ ผลัดเปลี่ยนกันมาจำพรรษา
เมื่อถึงวันพระ ญาติธรรมจะมาช่วยกันลงแขกปลูกต้นไม้
สร้างศาลาฟังธรรม และ โบสถ์อย่างเรียบง่าย สร้าง กุฏิกว้าง
๗ คืบ ยาว ๑๒ คืบ ระหว่างต้นไม้ และ ปรับปรุงพื้นที่ป่าให้สะดวกต่อการเดินจงกรม
พร้อมทั้งสร้างห้องน้ำห้องส้วมให้เพียงพอ
จัดงานอบรมธรรมประจำปี
ในวันมาฆบูชา ปี ๒๕๑๙ ได้จัดงานอบรมธรรมะขึ้นเป็นครั้งแรก
เรียกว่างาน ปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ คือทำคนให้เป็นพระ
หรือ ผู้ประเสริฐ ใช้เวลา ๗ วัน และ ถือเป็นงานประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบัน เลื่อนไปเป็นช่วงเดือนเมษายนก่อนวันสงกรานต์ เพื่อ
ความลงตัว
ในงานนี้ ผู้เข้าอบรมจะต้องมาฝึกถือศีล
๘ รับประทานอาหารมังสวิรัติวันละ ๑ มื้อ ไม่สวมรองเท้า เพื่อ
ฝึกบำเพ็ญสร้างวินัยให้กับตัวเองอย่างเคร่งครัด เป็นการอบรมธรรมะ
เพื่อ พัฒนาจิตวิญญาณ โดย เน้นการถือศีล ๕ ลด ละ เลิก
อบายมุข ทานอาหารมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งญาติธรรมส่วนใหญ่
จะมาวัด ฟังธรรม แล้วนำกลับไปปฏิบัติต่อ ที่บ้าน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ตัวเอง
เช่น การไม่กินเนื้อสัตว์ เลิกเหล้า บุหรี่ การพนัน หรือ อบายมุขอื่นๆ
ประหยัดมัธยัสถ์ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ลดมื้ออาหารจนเหลือวันละ
๑ มื้อ และ วิธีการปฏิบัติอีกหลากหลายที่จะฝึกจิตตัวเองให้หลุดพ้นจากการหลงติด
หลงยึดในราคะ โทสะ โมหะ โลกธรรม และ อัตตามานะต่างๆ ซึ่งเป็นการทวน
หรือ สวนกระแสสังคม จึงมองดูคล้ายเป็นชนอีกเผ่าหนึ่งในสายตา
ของผู้คนแถบนั้น ถึงขนาดมองว่า เพี้ยน หรือ บ้า
เกิดหมู่บ้านพุทธธรรม
ปี ๒๕๓๐ ญาติธรรมใน จังหวัดศรีสะเกษ
และ จังหวัดใกล้เคียง ที่สนใจมาปฏิบัติธรรมที่ พุทธสถานศีรษะอโศก
นั้น ได้จัดให้มีงานอุโบสถเดือนละ ๑ ครั้ง ทุกวันเสาร์-อาทิตย์แรก
ของเดือน และ นอนค้างคืน ส่วนกลุ่ม แซงแซวน้อยเรียนธรรม
ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนนั้น มีการอบรมทุกวันอาทิตย์ และ นอนค้างที่วัดกันอยู่แล้ว
ญาติธรรมอีกส่วนหนึ่งอยากอยู่ใกล้ๆ
พุทธสถาน จึงได้ร่วมกันสร้างชุมชนขึ้น ใช้ชื่อว่า หมู่บ้านพุทธธรรม
ในเนื้อที่ ๘ ไร่ โดยมีชุมชนปฐมอโศกเป็นต้นแบบ ถือเป็น
ชุมชนบ้านนอก เพราะ ผู้มาอยู่เป็นคนบ้านนอก และ ยากจน
กฏระเบียบ
ของหมู่บ้านพุทธธรรม
1. สมาชิกชุมชนต้องถือศีล ๕ ละอบายมุข
เป็นอย่างต่ำ และ ทานอาหารมังสวิรัติ ไม่เกินวันละ ๒ มื้อ
2. ห้ามมีเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนตัวในชุมชน
เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า เตารีด
เครื่องปั่นผลไม้ต่างๆ ฯลฯ
3. ห้ามเลี้ยงสัตว์ หรือ นำสัตว์เลี้ยงใดๆ
เข้ามาในหมู่บ้าน
4. ห้ามทำธุรกิจ เพื่อ การส่วนตัวในหมู่บ้าน
5. ห้ามนำเดรัจฉานวิชาเข้ามาในหมู่บ้าน
เช่น เครื่องราง ของขลัง การทรงเจ้าเข้าผี หมอดู ไสยศาสตร์ต่างๆ
ฯลฯ
ขนาด ของบ้านนั้น ให้สร้างในพื้นที่ไม่เกิน
๒๕ ตารางเมตร เป็นทรงไทย ใต้ถุนสูง มีบ่อน้ำใช้ร่วมกันทุกๆ ๔
หลัง
เริ่มแรกมีบ้านอยู่ ๖ หลัง มีประชากรอยู่ประจำ
๑๐ คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ส่วนญาติธรรมอื่นก็ไปๆ มาๆ โดยอาศัยหมู่บ้านเป็นที่พักค้าง
กิจวัตรประจำวันคือ ทำวัตรเช้า ทำความสะอาดบริเวณพุทธสถาน ศึกษาธรรมะ
ทำวัตรเย็น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ไม่มีกิจกรรมใดๆ รายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการบริจาค
ของญาติธรรม เสบียงจากสันติอโศก ซึ่งก่อนหน้านี้มีเฉพาะคนวัดจำนวนไม่มาก
อาศัยข้าวก้นบาตรพระ และ อาหารที่ญาติโยมนำมาถวาย ก็พออยู่กันได้ตามอัตภาพ
แต่ เมื่อมีคนมากขึ้น ทุกคนก็มาแบบตัวเปล่า จึงต้องมาสัมผัสความจนร่วมกัน
กล้วย ๑ ใบ หั่นเป็น ๔ ชิ้น เห็ด ๑ กิโล แบ่งกิน
๒ วัน ไฟฟ้าไม่มีใช้ น้ำดื่มน้ำใช้ต้องขุดบ่อ และ ใช้วิธีตักเอา
ทำกสิกรรมไร้สารพิษ
ปี ๒๕๓๐ มีญาติธรรมจากกรุงเทพฯ
มาซื้อที่นาจำนวน ๒๘ ไร่ ให้ส่วนกลางที่ศีรษะอโศกใช้ประโยชน์
และ ด้วยนโยบายพึ่งตนเอง ชาวชุมจึงปลูกผักกินเอง และ เนื่องจากเป็น
ชุ ม ช น ช า ว พุ ท ธ ที่ทุกคนวางศาสตรา ไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์
จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของกสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ ปลูกพืชทุกอย่าง
โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ เพื่อ การมีอยู่มีกิน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องขาย
เพื่อ นำเงินเข้า แต่ อย่างใด
ต้นปี ๒๕๓๒ ญาติธรรมได้ลงขันกันซื้อที่ดินที่บ้านซำตาโตง
๒๐ ไร่ เพื่อ ใช้เป็นที่ทำสวน โดยปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน เพื่อ
ให้มีผลไม้ทานตลอดปี
ชาวชุมชนได้ขวนขวายในกิจการน้อยใหญ่ต่างๆ
อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ทำทุกอย่างที่ชุมชนต้องกินต้องใช้
เช่น ทำนา ทำสวน ปลูกผัก ปลูกป่า เพาะเห็ด ทำไร่ ทำปุ๋ยชีวภาพ
ฯลฯ ผลผลิตนำมารวมกันเป็นกองกลาง กินใช้ร่วมกัน ทุกคนเหมือนครอบครัวเดียวกัน
จะกินจะใช้อะไรจะเน้นที่ ประโยชน์สูง ประหยัดสุด ประโยชน์ตน
ประโยชน์ท่าน จึงมีผลผลิตเหลือกินเหลือใช้ นำไปแจกจ่ายเจือจานคนอื่นได้
มรรคผลที่เกิดจากการเป็นนักปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐาน
คือ อยู่เหนืออบายมุข อันเป็นรูรั่ว ของชีวิตได้ โดยเด็ดขาด
ขยัน สร้างสรร และ เสียสละ
ธุรกิจ
และ องค์กรชุมชน
ปี ๒๕๓๕ เกิดธุรกิจต่างๆ ดังนี้
1. โรงสีข้าวกล้องขนาดเล็ก สีเฉพาะข้าวกล้องอย่างเดียว
เพื่อ ใช้บริโภคในชุมชน ส่วนเกินส่งขายในราคาถูก
2. แชมพูสมุนไพร น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า
3. เพาะเห็ดในโรงเรียน
4. ร้านค้าชุมชน
ปี ๒๕๔๐
ชุมชนศีรษะอโศกเริ่มเข้าสู่ภาวะที่ครบวงจร และ พึ่งตนเองได้ค่อนข้างสมบูรณ์
มีผู้มาศึกษาดูงาน และ ขอเข้ารับการอบรมทุกระดับอาชีพเฉลี่ยเดือนละ
๑,๐๐๐ คน หลักสูตรการอบรมเน้นการถือศีล ๕ ละอบายมุข โดยเคร่งครัด
และ คุณธรรม ๖ ประการ คือ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์
เสียสละ กตัญญู
มีการปรับองค์กรใหม่ คือ
ตั้งเป็นหมู่บ้าน ของกระทรวงมหาดไทย
มีผู้ใหญ่บ้าน และ อบต.
ตั้งโรงเรียน ๒ โรงเรียน คือ โรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก
เปิดสอนชั้น ป. ๑ม. ๖ และ โรงเรียนสัมมาอาชีวสิกขาศีรษะอโศก
เปิดสอนระดับ ปวช. เป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล ตามพระราชบัญญัติการศึกษา
เอกชน มาตรา ๑๕(๓) นักเรียนอยู่ประจำที่โรงเรียน ไม่เก็บค่าเล่าเรียน
ค่ากินอยู่ ค่าอุปกรณ์การศึกษา ค่ารักษาพยาบาล ชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
ศีรษะอโศก เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมตามแนวทาง
มรรคมีองค์แปด จึงยินดี และ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจจะพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงขึ้น
เข้ามาศึกษาปฏิบัติ โดยมีหลักการดังนี้
1. ผู้สนใจขอเข้ามาศึกษา จะต้องแจ้งความจำนงต่อสมณะ
หรือ ผู้ใหญ่บ้าน และ อยู่ในฐานะ อาคันตุกะจร โดยชุมชนจะเอื้อเฟื้อที่พัก
และ อาหารฟรี
2. ต้องสามารถถือศีล ๕ ละอบายมุข และ
ทานอาหาร(มังสวิรัติ)ได้ไม่เกินวันละ ๒ มื้อ
3. ต้องมีความขวนขวายช่วยเหลือในกิจน้อยใหญ่
ของชุมชน
4. ต้องสามารถปฏิบัติตามกิจวัตรต่างๆ
ของชุมชนได้
5. อนุญาตให้อยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน หากต้องการอยู่ศึกษาต่อ
สามารถขอวิกัปป์ต่อได้คราวละ ๗ วัน
เมื่อครบ ๓ เดือน หากต้องการที่จะอยู่ต่อ
สามารถขอเปลี่ยนเป็น อาคันตุกะประจำได้ และ ไม่ต้องขอวิกัปป์อีก
การเข้าเป็นสมาชิกชุมชน
ผู้ที่สนใจจะมาใช้ชีวิตในชุมชนในฐานะสมาชิกถาวร
มีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้ที่มีสิทธิ์ขอเป็นสมาชิกถาวร ของชุมชน
ต้องมีฐานะเป็นอาคันตุกะประจำขึ้นไปเป็นเวลาอย่างน้อย ๓ เดือน
2. ต้องผ่านงานอบรมธรรมใหญ่ประจำปี คือ
งานปลุกเสกพระแท้ๆ ของพุทธ และ งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์
๒ ครั้งขึ้นไป
3. ต้องมีผู้นำเสนอเข้าหมู่ จะเสนอ ด้วยตนเองไม่ได้
4. ต้องผ่านการยอมรับจากที่ประชุมชุมชน
ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์เท่านั้น
ผู้ที่เป็นสมาชิกถาวร จะได้รับสวัสดิการทุกอย่างจากชุมชน
เช่น ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม การรักษาพยาบาล การเดินทาง
ฯลฯ
องค์ประกอบที่เป็นพลัง ของการพัฒนาชุมชน
คือ บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ที่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
มีศาสนาเป็นแกนศรัทธาหล่อหลอมความเห็นให้เป็นหนึ่งเดียว
บทบาท ของผู้นำ คือ ผู้ รั บ ใ ช้ ไม่ใช่นาย
ไม่มีการ แต่ งตั้ง หรือ เลือกตั้ง แต่ จะมีการยอมรับ โดยธรรม
เพราะ คุณธรรม และ การเสียสละที่อุทิศให้ แก่สังคม
ประชากรในชุมชน ปัจจุบัน มีประมาณ ๓๑๕
คน มีบ้านอยู่ ๘๒ หลังคาเรือน ทุกคนมีงานทำอย่างล้นมือ ทั้งงานที่เป็นงานบริการ
ไม่มีรายได้ ส่วนงานที่สร้างรายได้ให้ แก่ชุมชน ตกเฉลี่ยเดือนละล้านกว่าบาท
มีที่ดินประมาณ ๕๐๐ ไร่
|