ธรรมปัจเวกขณ์
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๕ การอบรม การกระทำเป็นวัตร ถ้าอบรมทุกเช้า อย่างน้อยที่สุด เราได้อบรม ในคำสอนที่ว่า ทำวัตรเช้าก็ดี หรือว่า ก่อนจะฉันอาหาร เราก็ยังมีรูปแบบ หรือมีพิธี ที่เราได้ให้กัน สั้นๆบ้าง ยาวๆ นิดๆ หน่อยๆ บ้าง ก็ไม่ถึงกับยาวเกินไป เป็นการแนะนำ เตือนสติน่ะ เป็นการสรุปบ้าง เป็นการขยายความ ในจุดเล็กจุดน้อย อะไรบ้าง ซึ่งเราได้เป็นนักศึกษาที่จริง ถ้าเราได้ตั้งใจ เป็นคนที่ใฝ่ใจ ในการศึกษาแล้ว จะรู้สึกว่า พวกเรานี่ เป็นนักศึกษากัน มีบท มีระบบน่ะ บทเรียน มีระบบ การเรียน มีรูปแบบ มีพิธี มีกิจกรรม อะไรต่ออะไร ต่างๆ สอดร้อย ทั้งภาคปฏิบัติ และภาคปริยัติ ภาคปริยัติสอนทฤษฎี ทั้งภาค ที่เราเอามาประพฤติปฏิบัติ ให้สมคล้อยลงไป เราได้มีอยู่ครบครัน ผู้ตั้งใจจะเจริญเร็ว น่าจะบรรลุกันเร็วๆทีเดียว แต่เป็นเพราะว่า พวกเรายังอ่อนอินทรีย์ ยังมีบารมีกันมา ก็เท่านั้นๆ กิเลสหรือว่า สิ่งแวดล้อมนี่ โลกหรือสังขารธรรม ที่ปรุงขึ้นมา จนกระทั่ง ทุกวันนี้ มันมาก มันแรง --- เพราะฉะนั้น ทุกคนต้องรู้ตัวว่า เกิดในยุคนี้นี่ เรามีสิ่งแวดล้อม หรือว่าแรงดึงดูดของกิเลส ของโลกียะ นี่ มันมากเหลือเกิน ถ้าผู้ใด ไม่ตั้งอกตั้งใจ ไม่โถมเรี่ยวโถมแรง อุตสาหะวิริยะ ให้แก่ตนเองแล้ว มันไปไม่รอด จะบอกว่า เราอินทรีย์อ่อน ก็ใช่ จะบอกว่า โลกของมันนี่ กิเลสร้ายแรง ก็ใช่ มันเป็นจุดหมาย อันเดียวกัน เพราะ กิเลสของโลกนี่ มันดึงดูด มันมีแรงจริงๆ และ เราก็ถูกมันสร้างค่านิยม ถูกมันมอมเมา ด้วยรสนิยม ต่างๆ ทุกวันทุกเวลา ไม่ได้พัก มันไม่ได้ผ่อน มันไม่ได้หยุดได้ยั้งเลย มีแต่หนักหน้าขึ้น ทุกวันๆๆ น่ะ ส่วนเราเอง ก็เรี่ยวแรงที่มี มันก็ถูกดึง ถูกดูด ถูกผลัก ยิ่งมีผู้รู้ น้อยลงๆ มีผู้ที่รู้เท่าทัน ไม่ค่อยเพียงพอ มันก็ยิ่ง พ่ายแพ้ต่อกิเลส นับวันพ่ายแพ้เข้าไป ทุกวันๆๆๆ ยิ่งๆ เพราะฉะนั้น จึงทำให้พวกเรา อ่อนแอลง อินทรีย์พละ ไม่แข็งกล้า แต่ตัวกิเลสนั้น มันแรงขึ้นทุกวัน มันเก่งกล้าขึ้นทุกวัน ผู้ที่บุกบั่นเข้ามา ในทิศทางธรรมะ จนเข้ามาละลด ปลดปล่อย กันได้ถึงขนาด ปานฉะนี้นี่ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เป็นเรื่องที่ดี ก็ดีมากแล้ว ในยุคกาลอย่างนี้ จะหาผู้บรรลุได้นั้น ได้น้อยยิ่งกว่านั้น --- ผู้บรรลุธรรมนั่น มีเท่าเขาโค ผู้ที่ไม่บรรลุธรรมนั้น มีเท่าขนโค คำนี้ เป็นกลางๆ ถ้าจะได้กำชับ หรือว่า อ้า! ... เอาความหมาย ที่มันกระชับแน่นเข้าไปว่า คำความหมาย ผู้บรรลุธรรมเท่าเขาโค ผู้ที่ไม่บรรลุธรรม เท่าขนโคแล้ว ในช่วงนี้ เวลานี้ มันยิ่งกว่านั้นอีก ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า มันน่าจะกล่าวได้ว่า ผู้บรรลุธรรมนั้น ไม่ใช่เท่าเขาโคหรอก เท่าหางโคน่ะ มีหนึ่งเดียวเท่านั้น อะไรเป็นหนึ่ง เท่าปากโค ปากมันก็มีหนึ่งเดียว เท่าหางโค ก็มีหนึ่งเดียว คือผู้บรรลุ มันเท่าหางโค มันน่าจะถึงขนาดนั้นน่ะ แต่กระนั้นก็ดี เราก็สามารถ พิสูจน์ได้ เรายืนยันได้ เป็น อกาลิโก ตามที่ พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ไว้ ยุคกาล มันก็เรียวลงๆ กิเลสมันก็มากขึ้น คนอ่อนแอ ต่อการที่จะบุกบั่นบุกเบิก อุตสาหะวิริยะตน ให้หลุดพ้นได้ ให้เป็นผู้พ้นทุกข์ได้ ก็น้อยลงจริงน่ะ กลียุคใกล้เข้ามาน่ะ เราเอง เราก็ถูกห้อมล้อม ด้วยกิเลส ดังกล่าวแล้ว มันมากขึ้น นี่แหละ ผู้ใดรู้ ผู้ใดแน่ใจ มั่นใจว่า ทางนี้เป็นทางยอด ทางนี้เป็นทางเลิศ จึงต้องพยายามเถิด อุตสาหะวิริยะเถิด มันไม่มีอะไรอื่น ที่ดีกว่านี้ และเราจะต้องต่อสู้ บากบั่นอย่างหนัก จริงๆน่ะ เราทำกันได้ ไปแต่ละวัน แต่ละวัน เกื้อกูลกัน ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน เราพยายามที่จะปฏิบัติ ให้ถูกแนวของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะมีคุณค่าอย่างยิ่ง เกื้อกูลกันไป เป็นครอบครัวที่ใหญ่ ก็ใหญ่ขึ้นน่ะ ต่อสู้กับเศรษฐกิจ ต่อสู้กับ สิ่งที่มันเป็น ความเห็นแก่ตัวของโลก ที่มันหลากหลาย ที่มีอยู่ในสังคม เราก็พยายามต่อสู้ พยายามที่จะ บันยะบันยัง ตัวเราเอง พยายามที่จะเข้มแข็ง อดทน ฝึกฝน บากบั่น มานะ อุตสาหะ กระทำอย่าง พอเป็นพอไป เราได้รับสุข ขนาดปานฉะนี้ ได้ลดละ สิ่งที่ได้ลดละแล้ว แล้วเราก็มี ความเจริญ งอกงาม หรือว่าพอสบายได้ ปานฉะนี้ ก็จงยินดีเถอะ แล้วมันก็ยังมี สิ่งดีอีก ที่เรารู้ตัวรู้ตนอยู่ว่า อะไรบกพร่อง เราก็พยายาม พากเพียรอีก เอาจริงๆน่ะ พอเป็นพอไป เกื้อกูลกัน มันก็ต้อง มีการขัดเกลากันในตัว ต้องรู้ความจริงว่า การขัดเกลากันในตัวนั้น มันย่อมเป็นอยู่มีอยู่ ไม่มีมันก็ไม่ได้ขัดเกลา น่ะ --- เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจะว่าคนนี้ จะตำหนิคนนั้นบ้าง จะท้วงคนนี้บ้าง มันจะต้องพอมีอยู่ ผู้ท้วงผู้ตำหนิ ก็พยายาม รู้จักประมาณ กาละ เวลา บุคคลน่ะ ผู้สูง ผู้ต่ำ ผู้พอเป็นไปอะไร ก็พยายามเรียนรู้ ทำให้มันดูดี ดูงาม แล้วเราก็จะต้องรู้ว่า เขตนี้เลยแล้วนะ เราต้องหยุดยั้ง ผู้หยุดยั้งก่อนนั่นแหละ จะทำให้ความสามัคคี ความเกื้อกูล ความพอเป็นไป อย่างไม่แตก ไม่แยก ไม่สลาย ไม่ล้มเหลว ยังจะเป็นมวล เป็นหมู่ ที่มีฤทธิ์ มีกำลัง นำพากันไปได้ อย่างมาก อย่างเก่ง ก็เพราะว่า เรารู้จัก บันยะบันยัง รู้จักขอบเขต ที่สมควรหยุด ควรวรรคน่ะ ตอนนี้ เราควรวรรคได้ ตอนนี้ เราควรหยุดเสียน่ะ มันเกินเขตนี้ ไม่ดีแล้วล่ะ ใครหยุดก่อน คนนั้น เป็นผู้รู้ ว่าไอ้นี่ มันจะแรงไป ไอ้นี่มันจะมากไป ไอ้นี่มันจะเกิด การแตกแยก จะเกิดการไม่ดี ไม่งามแล้ว เราก็จะเป็นคนประมาณ รู้จักอ้างสิ่งประกอบ หรือว่าสังขารธรรม ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือ สิ่งที่มันเกิดขึ้นมา เป็นบทบาท แล้วมีฤทธิ์ มีแรง กระทบกระเทือน เราก็จะต้องรู้ เมื่อรู้แล้ว เราก็รักษา พอเป็นพอไป กันอย่างนี้ มันก็จะเป็นรูปนี้ ลักษณะนี้ อยู่ตลอด เพราะคนที่มีกิเลส ก็ยังมีการขัดเกลา การขัดเกลากัน ก็ยังมีเป็นสัจจะนะ ผู้ที่ทำได้ เป็นผู้ที่พ้นทุกข์ได้ มันก็มี มันมี มันทุกอย่างล่ะ สัจธรรมของ พระพุทธเจ้า ทั้งหลัก ๔ ประการนี้ มีหมดแล้ว มันจะเป็นไปด้วยดี ถึงขั้นปลายของ แต่ละบุคคล ที่สามารถเป็นไปได้ ถึงเป็นสันติธรรม คือธรรมะ อันเป็นความสงบ อย่างแท้จริง ผู้ได้มีสันตินั้น จะรู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง แล้วก็จะรังสรรค์... ช่วยเหลือเฟือฟาย อนุเคราะห์กลุ่มหมู่ เป็นไปด้วยดี ตัวก็สบาย กลุ่มหมู่ ก็พยายามรักษา ประคอง บูรณะ บริหาร บำรุงไปให้ด้วยดี --- สังคมกลุ่มหมู่ของเรา ก็ศึกษากันให้ดี มันมีการศึกษาซ้อน อยู่ในตัวเอง อีกมากมายน่ะ มันก็มีการกระทบ กระเทือนกันบ้าง มีอย่างโน้น อย่างนี้บ้าง มีเลวบ้าง ดีบ้างปนเป ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า ยุคนั้นเหมือนกัน ในสังคมของ พระพุทธองค์ มีภิกษุ มีภิกษุณี มีอุบาสก อุบาสิกา บ้างก็ดีมาก บ้างก็ดีน้อย บ้างก็รวน หรือ นิวแซนด์ มีตัวเจี๊ยว มีตัวรวน มีอะไร ต่ออะไรอยู่ มันมีอยู่เหมือนกัน ทั้งนั้นน่ะ เพราะฉะนั้น ในเรานี่ ก็เหมือนกัน เราจงศึกษา ทั้งตัวเลว และตัวดีน่ะ มันมีให้เราศึกษาได้ ตัวที่บกพร่อง ตัวที่ดีเยี่ยม เราจะมีการศึกษา โดยมีแต่สิ่งดี อยู่ในวงการศึกษา ทั้งหมดเลยนั้น เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ เราต้องมีของจริง ตัวอย่างยืนหยัดยัน หรือ ข้างนอกที่ไกลๆ เราก็ได้ดู ใกล้ๆเราก็ได้ดู ใกล้ๆ เราอาจจะมี ก็พอประมาณที่ว่า มันไม่ดี มันก็ไม่ใช่ว่า ไม่ดีเสียจนแหลกเหลว แหลกเหลว จริงๆ เข้ากันไม่ได้ ใกล้กันไม่ได้หรอก ที่บกพร่องบ้าง เลวไปบ้าง มันก็ขนาดนั้น อย่างนั้นแหละ ที่เป็นตัวอย่าง และ มีจำนวนน้อย ถ้าเลวมากดีน้อย มันก็เป็นสังคม ที่ใช้ไม่ได้ ถ้าเรามีดีมาก มีเลวบ้าง เล็กๆ น้อยๆ กระปริบ กระปรอย พอเป็นตัวอย่าง พอเป็นสิ่งที่เตือนกัน เป็นสัญญาณภัยกัน มันก็จะทำให้เรา ไม่เผลอไผล ไม่ไร้สติ หรือว่าไม่ประมาท มันจะเป็นคุณค่าของเรา อยู่ในตัวด้วยซ้ำ เราเข้าใจให้รอบ ในสิ่งที่ ขยายความ ให้ฟังนี้ แล้วเราก็จะปลดปลงใจ เราก็จะดูดี คนไหนจะเป็น หนูตะเภา เป็นตัวร้ายตัวเลว ให้แก่คนอื่น เขาได้ดู ได้เห็น มันก็จะเห็นนะ มันก็จะรู้ และเราก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไปยกย่อง สรรเสริญหรอก คนอย่างนั้น เราก็ลบหลู่ อยู่ในที อยู่เท่านั้นแหละ และ ความจริง มันก็เป็นผู้ที่จะต้องถูกข่ม ถูกลบหลู่ แม้ไม่ได้ด้วยกาย ด้วยวาจา เขาจะปลดปล่อยก็ช่าง เขาพรหมทัณฑ์ ไม่พูดไม่อะไรก็ช่าง จิตใจมันย่อม ลบหลู่คนเลว คนที่ทำชั่ว จิตใจมันย่อมรู้ดีว่า สิ่งอย่างนี้ เป็นสิ่งที่น่าต้องการ น่าสรรเสริญ ยกย่องอะไร นี่ก็เป็นธรรมดา ธรรมชาติของคน ย่อมรู้ดีอย่างนี้อยู่ --- เพราะฉะนั้น ใครจะรักจะทำ เป็นตัวอย่างอันเลว ก็จงทำเถอะ ทำแล้ว ก็ได้รับความลบหลู่ ได้รับความดูถูก ดูแคลน ไม่ได้ดิบได้ดีอะไร อยู่นั่นแหละ แต่ถ้าใครรักดี มันก็ต้องทำดี นี่เป็นตัวอย่างอันดี ที่ดีนั่นแหละ เป็นสิ่งเลิศ เป็นสิ่งประเสริฐ ผู้นั้นย่อม มุ่งหมายทำสิ่งดี สิ่งเลิศ สิ่งประเสริฐนั่น ให้แก่คน และ เป็นตัวอย่าง แก่สังคม กลุ่มหมู่นั้น เป็นของดีสุดยอด หรือ สอดคล้อง อย่างสูงสุด แน่นอน ก็ขอให้ พวกเราได้ศึกษา ให้รอบถ้วน แล้วบำเพ็ญตน อ่านได้ความดี ได้ความประเสริฐ ดังที่กล่าวนี้ ไปถ้วน ทั่วทุกคน เทอญ สาธุ.---
|