ธรรมปัจเวกขณ์ ได้แนะนำให้เราได้เป็นผู้ที่ มีความเบิกบาน มีความสุขุม มีความอ่อนโยน มีความคล่องแคล่วให้ได้ ความเบิกบาน เป็นญาณแรก ของผู้ฉลาด ที่จะต้องรู้ตัว ทั่วพร้อมเสมอ อย่าให้อะไร มาหม่นหมองในจิต จิตใจของเรา มีอะไรมาทำ ให้เราเศร้าหมอง นั่นเราถือว่า เป็นกิเลสทุกอย่าง เราสลัดจิตใจ ให้ผ่องแผ้ว เมื่อจิตสะอาด ผ่องแผ้วแล้ว แล้วเราก็พยายามพิจารณา จิตของเราจะแยบคาย จะมองเห็นความสุขุม เราจะเกิดความสุขุม ประณีตขึ้น เราจะมีปัญญา แทรกซ้อน รู้ความหยาบ เห็นความหยาบ เห็นความละเอียด ที่ละเอียดยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น แม้บางคน ยังมีความหยาบต่ำ ความรุนแรงวู่วาม ซึ่งเป็นของไม่สุขุม ของผู้ที่ประเสริฐ มันก็จะทำให้เราเกิด การเลื่อนฐานะ พยายามศึกษา อบรม พิจารณา มีธรรมวิจัยเสมอๆ การวิจัยเข้าไปเรื่อยๆ ด้วยความแจ่มใส ทำจิตให้เบิกบาน ถ้าสรุปความแล้ว ก็คือ เราต้องทำจิต ให้เป็นฌาน ทำจิตให้ไม่มีนิวรณ์ แม้แต่ละเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิวรณ์กาม พยาบาท หรือ ถีนมิทธะ หรือ อุทธัจจกุกกุจจะ ที่วุ่นวายลำบาก ไม่ต้องมีอะไรสับสน จิตสะอาดโปร่ง เป็นฌานอย่างนั้น เห็นในสิ่ง รู้ให้จริงว่า ลักษณะ จิตเป็นฌาน หรือ จิตไม่มีนิวรณ์ แม้แต่ปัจจุบันธรรม ในขณะทุกขณะ เมื่อใดก็ตาม รู้ให้ได้ เห็นให้ได้ ยืน เดิน นั่ง นอนอยู่ เราก็มีจิตเป็นฌาน ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในฌานทั้ง ๔ แล้วเราก็ใจธรรม ต่อสัมผัสต่างๆ จะทำให้เรารู้ กายกรรมแยบคายขึ้น วจีกรรมแยบคายขึ้น มโนกรรมแยบคายขึ้น จะรู้ทั้งวัตถุ จะรู้ทั้งกรรมกิริยา จะรู้ทั้งจิตใจของเรา มันจะไปทั้งจิตใจ ละเอียด แยบคาย แล้วเราก็ปรับ ไปสู่กุศล ปรับไปสู่ความดี เสมอ ความหยาบต่ำ ก็จะดีขึ้น เราก็จะได้ปรับขึ้น ถูกปรับโดยเรา ความรุนแรง ความวู่วาม ซึ่งมันจะถูกปรับ ขึ้นมาทั้งหมด ขึ้นมาหาความประณีตๆ ขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ละเอียด เพิ่มเติมขึ้น เป็นความอ่อนโยน ก็จะปรับขึ้นไปอีกด้วย เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ มนุษย์มีพฤติกรรม ที่อ่อนโยน ไม่ใช่พฤติกรรม ที่แข็งกระด้าง --- เพราะฉะนั้น ในการแข็งขืน ต่อต้านต่อกิเลส ต่อต้านต่อสภาพอะไร ก็แล้วแต่ มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ของมนุษย์ ตอนแรกๆ ก็จะต้องแข็งขืนก่อน ต่อไปแล้วโน้มน้อม จากแข็งขืนแล้ว เป็นโน้มน้อม เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อเราเองปรับ คำว่า สุภาพ หรือว่า อ่อนโยนนี่ไม่ได้ เราก็จะทำให้ตัวเราเอง เป็นผู้ที่ เข้ารูป เข้ารอย ที่มันดูว่า พอเหมาะพอดีไม่ได้ มันจะดูแข็งกระด้าง มันจะดู เป็นการยึดมั่น ถือมั่น ดื้อดึง ต่อต้าน อย่างซึ่งมนุษย์เรา ไม่ค่อยชอบ ในการที่จะดื้อดึง เพราะฉะนั้น ท่านที่เราจะสอดประสาน สอดประสาน เพื่อที่จะรวมร่วมบ้าง อนุโลมในที แต่เราก็ยังทรงไว้ ซึ่งความสัจจะ ให้เป็นส่วนใหญ่ ให้เป็นน้ำหนัก ที่ยึดยืนอยู่ เราจะมี --- เพราะฉะนั้น ท่าทีอ่อนโยน จึงเป็นท่าทีที่ ละเอียดลออ ที่เราจะศึกษาอย่างสำคัญ เพื่อปรับตนเอง เข้าเป็น ผู้ที่สุภาพ อ่อนโยน ได้อย่างสำคัญ กิริยาสุภาพอ่อนโยนนั้น ไม่ใช่กิริยา ที่จะพึงเป็นได้ง่าย ว่าเราจะต้อง เรียนรู้ และศึกษาเสมอ เราจึงจะปรับปรุง เข้าไปสู่สภาวะนั้นได้ เมื่อเราได้ปรับปรุง อย่างนี้แล้ว ทุกอย่าง เราก็จะชำนาญ เกิดการคล่องแคล่ว เกิดการรู้ยิ่ง แล้วก็ปรับ ในสิ่งที่ยาก มาเป็นง่าย ให้ได้ คล่องแคล่ว ว่องไว ซึ่งจะเป็นความไม่ยาก ไปในที่สุด ในการกระทำอะไร ที่ไม่ยาก มันก็เป็นการ สบายแล้ว สำหรับมนุษย์ เป็นการปลดปลง เป็นผู้ที่ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องยาก แต่เราก็ เป็นผู้ที่มีปัญญารู้ ในการสร้างสรร ในการกระทำ สัมพันธ์กับมนุษย์ ทั่วๆไปนะ นี้เป็นความสามารถอันยิ่ง ของการปฏิบัติธรรม ในหลักของ มรรคองค์ ๘ หรือ ในการปฏิบัติธรรม ในหลักของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่างกันกับของ ฤาษีเดียรถีย์ เขาจะไม่มีคำสอน เหล่านี้ เขาจะไม่ต้อง ฝึกเหล่านี้ เพราะเขาจะ ปลีกตนออกไป ออกไปอยู่เดี่ยว อยู่อย่าง ไม่ต้องยุ่ง วุ่นวายกับใคร ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับใคร ตัดปล่อย คนอื่นไปเฉย ไม่เอาเรื่องอะไรเลย อะไรๆ มา ก็ตัดทิ้งๆๆ --- เขาจึงไม่เป็นภาวะของศาสนา ที่เป็น พหุชนะหิตายะ หรือ พหุชนะสุขายะ ไม่เป็นศาสนา ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลมวล หรือมนุษยชาติต่างๆ ไม่เป็นอย่างนั้นเลย เป็นการทำประโยชน์ เพื่อตน เขาหนีเอาตัวรอด เพราะฉะนั้น กิริยาท่าที จึงจะต้องเกิด การคล่องแคล่ว เกิดการอ่อนโยน เกิดการสุขุม จะไม่มีน่ะ เขาจะมีลักษณะ โผงผาง ผ่าๆ แข็งๆ กระด้างๆ ตามลักษณะของ สายเจโต ตามลักษณะของ ผู้ที่เข้าใจศาสนา ไปในทิศทาง สายฤาษี หรือ ศรัทธา เป็นศรัทธานุสารี เป็นลักษณะของ ความไม่เกี่ยวข้อง กับสังคมมนุษย์ เป็นการปลีกเดี่ยว ซึ่งเป็นศาสนา อีกทิศทางหนึ่ง เราศึกษาไป เราจะเข้าใจเพิ่มขึ้น ทุกวันๆ ว่าศาสนา ของพระพุทธเจ้า นี้แตกต่าง จากระบบจริงๆ ของ ฤาษีมาเท่าใดๆ --- เพราะฉะนั้น ทำความเข้าใจดีๆ แล้วเราก็พึง ใช้กรรมฐาน ดังที่ได้เติมให้ฟังนี้ เอามาประพฤติ เอามาอบรมตน พยายาม แล้วเราจะเป็นคน ที่เป็นผู้ดี ที่ท่านเรียก ในสำนวนโลกก็ตาม สำนวนธรรมก็ตาม ไม่ใช่ผู้ดีละเลียด แต่เป็นผู้ดี ที่ทำความเหมาะสม ลงตัว แล้วไปในทิศทาง ที่ถูกต้อง ไปในทิศทาง ที่มักน้อย สันโดษ ไม่หลงสวรรค์ เป็นความสงบระงับ อย่างแท้จริง และ เป็นผู้ขยัน วิริยารัมภะ ที่แท้น่ะ เป็นผู้ที่หมั่นเพียร ปรารภความเพียรอยู่เสมอ ศาสนานี้ จึงจะตู่ท้วง เหมือนอย่าง ศาสนา เดียรถีย์ฤาษีไม่ได้ นอกจากขยันแล้ว เรายังแคล่วคล่อง สร้าง ไม่ได้เกิดความลำบาก เราเมื่อยเราก็พัก เมื่อยจริงๆน่ะ สมควรที่จะพักแล้ว เราพัก ถ้าไม่เมื่อย เราทำอยู่ได้ แม้ถึงเวลาจะหลับ จะนอนแล้ว แม้ไม่เมื่อย เราทำต่อไปได้อีก แต่เราเห็นแล้วว่า สมเหมาะ สมควร ตามกาละเวลา เราก็พักผ่อน เราย่อมรู้โดยปฏิภาณ โดยสามัญสำนึก ของเราว่า เราควรพัก ประมาณ อย่างนั้น เราควรเพียร ประมาณ อย่างนั้น เราได้คำนวณตนแล้วว่า เราไม่ได้ทรมานตน เราสร้างสรร แม้บางครั้ง เราเอง เรายังต้องเสียสละ มันควรพักแล้ว แต่เห็นในประโยชน์คุณค่า ที่สมควร ยังต้องเสียสละ ยกเอาอุทาหรณ์ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประชวรหนัก จวนจะสิ้นชีพ ดับขันธ์แล้ว ตอนก่อนจะตาย ท่านยังอุตส่าห์ อนุเคราะห์คน ไม่พักยังเพียรส่ง สุดท้ายสอนคน จนเป็น พระอรหันต์ องค์สุดท้าย ในขณะที่ ประชวรหนัก จะสิ้นพระชนม์อยู่แล้ว ดังนี้ เป็นต้น --- ระลึกถึงท่านให้มากน่ะ นี่เป็น พระมหากรุณาธิคุณ ล้นเหลือ ของพระพุทธเจ้า ไม่ได้เห็นแก่ตัวแก่ตน เป็นการแสดง อย่างละเอียดลออ ถึงปานนี้น่ะ เราจะต้องเป็นคนที่ ก่อประโยชน์ สร้างสรร รู้ความจริง เหล่านี้น่ะ กตัญญูกตเวที อย่าขบถ ต่อระบบของ พระพุทธเจ้า อย่าขบถต่ออกุศล ของพระพุทธเจ้า ท่านทรงกุศลอย่างไร เราก็พยายามที่จะทรง พยายาม ที่จะให้ตั้งไว้ พยายามที่จะให้มี กุศลอย่างนั้น อย่างที่พระพุทธเจ้า มีมาแล้ว เราเดินตามรอย พระยุคลบาทให้จริง มันยังไม่ได้มาก ทีเดียวหรอก แต่เรา ก็จะต้องเพียร จะต้องเป็น แล้วเราจะได้ เป็นผู้ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แม้แต่กรรมฐาน ที่ว่านี้ เราจะเป็นผู้เบิกบาน จะเป็นผู้สุขุม จะเป็นผู้อ่อนโยน และจะเป็น ผู้คล่องแคล่ว ไม่เป็นทุกข์ได้ ในที่สุด และ เราก็เป็น ผู้ที่มีคุณค่าในสังคม พร้อมกันนั้น เราก็พ้นทุกข์ หรือเป็นผู้ที่มี ปรมัง สุขัง ได้อย่างแน่นอน สาธุ.---
|