บทวิจารณ์ - ฟ้าเมือง ชาวหินฟ้า


ความงดงามของจิตใจ

เล่ากันว่ามีพระเซ็น ๒ รูป ถกเถียงข้อธรรมกัน เรื่องเห็นธงที่กำลังพริ้วไสวเมื่อถูกลมพัด ว่า ปรากฏการณ์ ที่เห็นนั้น เกิดจากธง ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเกิดจากการปรุงแต่งของจิตที่กำลังเคลื่อนไหวกันแน่

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ครอบงำวิธีคิดของมนุษย์ในโลกทุกวันนี้ มีรากฐานมาจากแนวคิด ทางปรัญชา ที่เชื่อว่า กายและจิต (Body and Mind) เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างเป็นภววิสัย (objective) โดยตัวของมันเอง กล่าวคือ ไม่ว่าจะมีใคร มารับรู้หรือไม่ก็ตาม มันก็ดำรงอยู่ได้ โดยตัวของมันเองอย่างนั้น

ธงที่กำลังโบกพริ้วเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างเป็นภววิสัย เราจึงสามารถศึกษาปรากฏการณ์ ของธงที่ถูกลมพัด ดังกล่าว ได้อย่างแน่นอนตายตัว โดยใครมาศึกษา ก็จะได้ผลสรุป อย่างเป็นภววิสัย ตรงกันหมด หลักการเรื่องนี้ เป็นพื้นฐานของศาสตร์ (Science) แขนงต่างๆ ในยุคสมัยใหม่

แม้กระทั่งตัวตนของเราที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งสามารถจะตั้งข้อสงสัยต่างๆ ถึงความดำรงอยู่ อย่างเป็น ภววิสัย ของมันได้ว่า ในขณะที่เราคิดว่ามีตัวตนของเราอยู่นั้น เรากำลังอยู่ในความฝันหรือเปล่า เรากำลังถูกอำนาจ ของปีศาจหลอก ให้คิดไปว่ามีตัวตนของเราอยู่หรือเปล่า ฯลฯ

เหมือนที่จางจื้อเคยตั้งคำถามว่า เมื่อคืนเขาฝันถึงผีเสื้อ แต่ตัวจางจื้อ ที่กำลังคิดถึงความฝัน เกี่ยวกับผีเสื้อ อยู่ในขณะนี้ แท้จริง อาจจะเป็นผีเสื้อ ที่กำลังฝันถึงตัวจางจื้ออยู่ก็ได้ (เพราะขณะที่อยู่ในความฝัน เรามักจะไม่รู้ตัวว่า ตนเองกำลังฝัน)

เดคาร์ตส์ (Renež Descartes : นักปรัญชาที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ ๑๗) พยายามพิสูจน์ให้เห็นว่า ถึงเราจะตั้ง ข้อสงสัย เกี่ยวกับความดำรงอยู่แห่งตัวตนของเราอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งๆ หนึ่งที่เราไม่มีทาง สงสัยได้เลยก็คือ มีบางสิ่งบางอย่าง ที่กำลังทำหน้าที่คิดสงสัยอยู่ในขณะนี้ ซึ่งสิ่งๆ นั้นก็คือ "ตัวฉัน" ที่กำลังสงสัย เกี่ยวกับ ความดำรงอยู่ แห่งตัวตน ของตนนั่นเอง

ในที่สุดเดคาร์ตก็ได้ข้อสรุปถึงความดำรงอยู่อย่างเป็นภววิสัยของมูลบทพื้นฐาน อันคือความดำรงอยู่ แห่งตัวตนของฉัน ด้วยวาทะ ที่มีชื่อเสียงของเขาว่า "ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่" (Cogito ergo seem) และจาก มูลบทนี้ เดคาร์ตส ได้เชื่อมโยง ไปสู่การพิสูจน์ ถึงความดำรงอยู่ อย่างเป็นภววิสัย ของสิ่งอื่นๆ ต่อไป เช่นเดียวกับวิธี การสร้างทฤษฎีทางเรขาคณิต จากมูลบท (axiom) ที่นำไปสู่การพิสูจน์ทฤษฎีบทต่างๆ ทีละบทๆ

เดคาร์ตส์จึงได้ชื่อว่า เป็นนักปรัชญาที่วางรากฐาน ให้กับการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นภววิสัย จนนำไปสู่ ความก้าวหน้า ของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งได้พลิกโฉมหน้า ของโลก ทั้งหมด ให้เปลี่ยนไป จากอดีตอย่างสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของทฤษฎีทางฟิสิกส์ สมัยใหม่ที่มีความสำคัญยิ่ง ๒ ทฤษฎีหลัก ได้แก่ ทฤษฎี สัมพัทธภาพ ของไอน์สไตน์ กับทฤษฎีควอนตัม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำกลุ่มหนึ่ง ร่วมกันพัฒนาขึ้น อันถือเป็น ภูมิปัญญาสูงสุด ของมนุษย์ ในยุคสมัยนี้ ล้วนแต่ชี้ให้เห็น รากฐานทางปรัชญา ที่ไม่สามารถ แยกกาย และจิตออกจากกัน

นัยแฝงแห่งทฤษฎีสัมพัทธภาพชี้ให้เห็น ความจริงประการหนึ่งว่า ความเร็วของเทหวัตถุต่างๆ ในเอกภพ ไม่ได้ดำรงอยู่ อย่างเป็นภววิสัย แต่เป็นสัมพัทธภาพ ระหว่างความเร็วของเทหวัตถุนั้นๆ กับตำแหน่งแห่งที่ ของความเร็ว ของตัวผู้สังเกต หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นสัมพัทธภาพของสิ่งที่ถูกรู้ (รูป) กับผู้รับรู้ (นาม) นั่นเอง

ในขณะที่เวลาคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุต่างๆ ตั้งแต่อนุภาคที่เล็กที่สุด ภายใน อะตอม ไปจนถึง การเปลี่ยนแปลง ของสิ่งที่ใหญ่ที่สุด อันคือ การขยายตัว และ หดตัวของเอกภพ เช่น เราสังเกตเวลา จากการเคลื่อนที่ ของเข็มนาฬิกา บนหน้าปัด การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ที่โผล่พ้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออก ในตอนเช้า และ ตกทางทิศตะวันตก ในตอนเย็น การโคจรของดวงจันทร์ ที่ทำให้เกิด ข้างขึ้น ข้างแรม การเปลี่ยนแปลง ของฤดูกาลต่างๆ ในรอบปี ฯลฯ ถ้าทุกสรรพสิ่งหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนที่ หรือไม่เปลี่ยนแปลง กาลเวลาก็จะหยุดนิ่งไปด้วย

ขณะเดียวกันอวกาศ (space) ก็เป็นความสัมพันธ์ในทางตำแหน่งแห่งที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ ของเทหวัตถุต่างๆ ในเอกภพ ตลอดจนสัมพัทธ์กับตำแหน่งแห่งที่ ของผู้สังเกตด้วยเช่นกัน ฉะนั้น เมื่อเอกภพ ขยายตัว หรือหดตัว อวกาศ (ซึ่งประกอบด้วยมิติ ด้านกว้าง ยาว สูง ๓ มิติ) ก็จะขยายตัว หรือ หดตัวตาม

อวกาศ ๓ มิติ และมิติที่ ๔ ของเวลา อันสามารถหลอมรวมกันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ (รูป) ภายใต้โครงกรอบของ เอกภาพเดียวกัน จึงแยกออกจาก มิติที่ ๕ ของตำแหน่งแห่งที่ แห่งการรับรู้ (นาม) ไม่ได้

เอกภพที่มนุษย์ที่รับรู้อยู่นี้ (ไม่ว่าจะด้วยกลวิธีใดๆ ก็ตาม) จึงเป็นเอกภพ ๕ มิติ ของอวกาศและเวลา ๔ มิติ ที่สัมพัทธ์กับ การรับรู้ในมิติที่ ๕ อีกหนึ่งมิติ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นเอกภพของสัมพัทธภาพแห่ง "รูป" (สิ่งที่ถูกรู้) และ "นาม" (จิตที่ทำหน้าที่รับรู้) ตามกฎ ปฏิจจสมุปบาท ในพุทธปรัชญานั่นเอง

โลกหรือสรรพสิ่งทั้งหมดที่เรารับรู้ จึงไม่ได้ดำรงอยู่ในอวกาศที่สัมบูรณ์ (absolute space) และกาลเวลา ที่สัมบูรณ์ (absolute time) ดังที่สามัญสำนึกของเราเข้าใจ ซึ่งไม่ว่าใคร มาเฝ้าสังเกต ก็จะเห็นสิ่งนั้นๆ ในอวกาศ และ เวลาที่ดำรงอยู่ อย่างเป็นภววิสัย โดยตัวของมันเอง ตรงกันหมด

ด้วยเหตุนี้ปรากฏการณ์ของเทหวัตถุสิ่งเดียวกัน ในเอกภพ ที่นักบินอวกาศ ซึ่งอยู่ในยานอวกาศ ที่เคลื่อนที่ ใกล้ความเร็วแสง สังเกตเห็น กับมนุษย์ที่ยืนอยู่บนพื้นโลก สังเกตเห็น จะมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัย สำคัญ

ขณะเดียวกันทฤษฎีควอนตัมอันเป็นทฤษฎีหลักทางฟิสิกส์สมัยใหม่อีกทฤษฎีหนึ่ง ควบคู่กับ ทฤษฎี สัมพัทธภาพ ของไอน์สไตน์ ได้อธิบายปรากฏการณ์ของอนุภาคเล็กๆ ภายในอะตอม เช่น อิเล็กตรอน ที่วิ่งอยู่รอบนิวเคลียส ของอะตอม เป็นต้น โดยพบว่า ภายใต้การสังเกต จากกระบวนการทดลอง แบบหนึ่ง อิเล็กตรอน จะมีคุณลักษณะ เป็นอนุภาค แต่เมื่อสังเกต จากกระบวนการทดลอง อีกแบบหนึ่ง อิเล็กตรอน จะมีคุณลักษณะเป็นคลื่น ทั้งที่คุณลักษณะ ของการเป็น อนุภาคกับเป็นคลื่นนั้น มีความแตกต่างกัน สิ้นเชิง เพราะเมื่อ คลื่นชนกัน มันจะซ้อนทับกัน แต่ถ้าอนุภาคชนกัน มันจะเกิด การปะทะ และแตกสลาย

การที่สิ่งๆ หนึ่งมีคุณลักษณะที่ขัดแย้งทางตรรกะภายในตัวเอง โดยแสดงคุณสมบัติ เป็นทั้งคลื่น และ อนุภาค ตามนัย แห่งทฤษฎี ควอนตัมเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เราไม่สามารถแยกคุณสมบัติ ของสิ่งที่ถูกรู้ (รูป) ออกจากการรับรู้ (นาม) ให้เป็นอิสระ จากกันได้

ปรากฏการณ์ของอิเล็กตรอนที่เราสังเกตเห็นนั้น จึงเป็นสัมพัทธภาพ "รูป-นาม" ชุดหนึ่ง ซึ่งการรับรู้ (นาม) ภายใต้ กระบวนการทดลอง ที่ต่างกัน จะส่งผลกำหนดให้สิ่งที่ถูกรู้ (รูป) ดังกล่าว มีคุณสมบัติที่ แตกต่าง ไปจากเดิมด้วย โดยที่ คุณสมบัติ ของสิ่งนั้นๆ ไม่ได้ดำรงอยู่ อย่างเป็นภววิสัย ในตัวมันเอง

มองในแง่นี้ ความงดงามของสรรพสิ่งในธรรมชาติก็เป็นสัมพัทธภาพของ "รูป-นาม" ชุดหนึ่งเช่นกัน ระหว่างโลก หรือธรรมชาต ิที่ถูกเรารับรู้ กับจิตของเราที่เป็นตัวรับรู้

คนในเมืองที่หนีความซ้ำซากจำเจไปอยู่บ้านพักตากอากาศชายทะเล หรือในป่าเขาลำเนาไพร ช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ และ รู้สึกได้ สัมผัสถึง ความงดงามของธรรมชาตินั้น อันที่จริงความงดงามของธรรมชาติ ที่ได้สัมผัส ในแง่หนึ่ง ก็คือ จิตที่ถูกสภาพแวดล้อมดูดดึง ให้คลายความหมกหมุ่น กังวลในภาระต่างๆ ชั่วคราว เมื่อจิตได้ปล่อยวาง จนมีความว่างเบา ขึ้นกว่าเดิม มีสภาวะที่ละเอียดขึ้น ก็จะสัมผัสกับโลก ที่ถูกรับรู้ ในลักษณะใหม่ ซึ่งเปลี่ยนไปจากเดิม จึงได้เห็นถึง ความงดงาม ของโลกดังกล่าว

แต่ถ้าบุคคลผู้นั้นอยู่ในบ้านพักตากอากาศต่อไป อีกสัก ๒-๓ สัปดาห์ ความกังวลต่อภาระหน้าที่ต่างๆ ตลอดจน ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ถูกสะกดไว้ชั่วคราว เริ่มฟุ้งกระจายขึ้น จิตเริ่มขุ่นมัวขึ้น ถึงตอนนั้น ธรรมชาติที่เคยรู้สึกว่า มีความงดงาม ก็จะถูกรับรู้ใหม่ ทะเล ต้นไม้ ขุนเขา เสียงนกร้อง ฯลฯ จะกลายเป็น สิ่งที่ดูน่าเบื่อ น่ารำคาญ และ สูญเสีย คุณลักษณะ ของความงดงาม ที่เคยได้สัมผัสไปหมด

"สวรรค์" ก็คือดินแดนที่มีแต่ความสวยสดงดงาม และ"นรก" คือดินแดนที่มีสภาพอันไม่น่อยู่อย่างยิ่ง
ตลอดจน มีความน่าสะพรึงกลัวต่างๆ

ถ้ามอง "นรก-สวรรค์" จากโลกทัศน์ของเอกภพ ๕ มิติ ที่เป็นเอกภาพแห่งโครงร่างเดียวกันของ กาล-อวกาศ และ การรับรู้ ดังที่กล่าวมา ไม่ใช่ "นรก-สวรรค์" ในกรอบของอวกาศ ๓ มิติ ตามโลกทัศน์ทางฟิสิกส์ แบบเก่า เราจะเข้าใจ "นรก-สวรรค์" ในทัศนะของพุทธปรัชญา ตามกฎปฏิจจสมุปบาท ที่สอดคล้องกับโลกทัศน์ ทฤษฎีฟิสิกส์แบบใหม่ ได้อย่างกระจ่างชัดขึ้น

การที่เมื่อมองด้วยกระบวนการรับรู้แบบหนึ่ง จะกำหนดให้อิเล็กตรอนมีคุณสมบัติเป็นคลื่น แต่ถ้ามองด้วย กระบวนการรับรู้ อีกแบบหนึ่ง จะกำหนดให้อิเล็กตรอน มีคุณสมบัติ เป็นอนุภาคฉันใด

ภายใต้สภาวะของจิตหรือธาตุรู้ที่มีความละเอียดประณีต อันก่อให้เกิดกระบวนการรับรู้แบบหนึ่ง ก็จะกำหนด ให้โลก ที่ถูกรับรู้ มีคุณลักษณะ ของแก่นสาร แห่งความเป็น "สวรรค์" ที่มีแต่ความงดงามน่าอภิรมย์ แต่เมื่อ สภาวะของจิต ถูกครอบงำ ด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน จนมีความหยาบกระด้าง ก็จะก่อให้เกิด กระบวนการ รับรู้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้โลก ที่ถูกรับรู้ มีแก่นสาร แห่งคุณลักษณะ ของความเป็น "นรก" อันมีแต่ ความเร่าร้อน ไม่น่าอยู่ฉันนั้น

ธรรมชาติที่งดงามและสวรรค์ที่น่าอภิรมย์ จึงขึ้นอยู่กับสภาวะของจิตที่มีความงดงาม และขณะเดียวกัน จิตที่มี ความงดงามนั้น ก็จะกำหนดให้มนุษย์ มีพฤติกรรม ในการช่วยดูแลรักษา ระบบนิเวศของโลก ให้มีความสวยสด งดงาม เพื่อให้เป็น เหมือนสวรรค์บนดินที่น่า อภิรมย์ด้วย

(ดอกหญ้า อันดับที่ ๑๐๒ ก.ค. - ส.ค. ๒๕๔๕)