กสิกรรมพลิกฟื้นชาติ
-
นายกองฟอน
ทำไมผลผลิตไร้สารพิษจึงมีราคาแพง
การทำกสิกรรมแบบไร้สารพิษนั้นคือการที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า วัชพืชต่างๆ
รวมถึงสารกระตุ้น ผลผลิต ให้ได้ผลผลิตที่สวย รสชาติดี และปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ
ดังนั้น เกษตรกรที่หันมาทำ กสิกรรมไร้สารพิษ จึงต้องมีอุดมการณ์ คือ
ไม่ต้องการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องการให้ผู้บริโภค ได้บริโภค
ของดีจริงๆ และตนเองไม่ต้องสุ่มเสี่ยง จากผลข้างเคียง จากสารเคมี ไม่ต้องนำเข้าปุ๋ยเคมี
และสารเคมี จากต่างชาติ ทำให้เสียดุลทางการค้า ฯลฯ เกษตรกรต้องมีความเข้าใจ
ในการใช้เทคนิค วิธีการทาง ธรรมชาติทดแทน เช่น น้ำหมักชีวภาพ หรือการทำปุ๋ยหมัก
โดยการพึ่งพาตนเอง ไม่ได้ซื้อมาจาก ตามท้องตลาด จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
สำหรับการทำกสิกรรมแบบนี้ เพราะพื้นแผ่นดิน ได้ถูกทำลาย จากสารเคมี
จุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติน้อยลง ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก
ในการเพาะปลูก ได้สูญเสียไปเป็นอย่างมาก
|
|
ดังนั้นการที่จะกลับมาพลิกฟื้นดิน
ธรรมชาติต่างๆจึงต้องใช้ความพยายามอย่างสูง ในช่วงต้นของ การหันกลับมาทำ
กสิกรรมไร้สารพิษ เกษตรกรจึงจะต้องทำใจ ยอมรับกับผลผลิต ที่ได้น้อยกว่า
ที่เคยใช้สารเคมี ประมาณการว่าลดลงมา ครึ่งหนึ่งทีเดียว และผลผลิตก็ค่อนข้าง
จะไม่สวย ตามที่ตลาด ผู้บริโภคต้องการ จึงต้องมีการคัดคุณภาพ สำหรับผลผลิต
ในระดับที่น่าพอใจ ต่อผู้บริโภคเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ยังต้องเจอกับปัญหา
แมลงศัตรูพืชในบางช่วง ซึ่งสารสกัดทางธรรมชาติ ไม่สามารถระงับ ยับยั้งได้เลย
นี้เป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ผลผลิตไร้สารพิษ มีราคาแพง ต้องใช้เวลาประมาณ
๔-๕ ปีขึ้นไป ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นนั้น จึงค่อยๆ ปรับตัว
เกิดระบบนิเวศที่ครบวงจร ซึ่งระยะเวลา ที่จะทำให้เกิดระบบนิเวศที่ลงตัว
ของแต่ละท้องที่ ย่อมต่างกันออกไป ตามปัจจัยของแต่ละท้องที่ ที่สำคัญคือ
เกษตรกรเอง ต้องมั่นคงและยืนหยัด มีเกษตรกรหลายราย ที่หันมาทำกสิกรรมไร้สารพิษ
เมื่อเจอปัญหามากๆ ก็ถอนตัว และกลับไปใช้สารเคมีอย่างเดิม
อีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตไร้สารพิษมีราคาแพงคือ
กลไกราคาตลาดทั่วไป เช่น ตามตลาดทั่วไป ขาดผลผลิต บางอย่าง ผลผลิตชนิดนั้น
ก็จะแพงขึ้นมาทันที ตามความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น ผักชี เป็นต้น
จึงมีการกว้านซื้อจากท้องถิ่นอื่นๆ ในราคาที่สูง จึงมีการแข่งขัน ในด้านราคากัน
อีกเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ผลผลิตไร้สารพิษ มีราคาแพง คือผู้จำหน่าย อาศัยความเชื่อถือ
ในคำว่าไร้สารพิษ ขึ้นราคาสินค้า ซึ่งความเป็นจริง ต้นทุนสินค้าอาจจะไม่สูงมากก็ได้
จะเชื่อได้อย่างไรว่าไร้สารพิษ
ผู้บริโภคบางรายไม่เข้าใจว่าผลผลิตทางการเกษตรแทบจะทุกอย่างใช้สารเคมี
ในการเพาะปลูก จึงมักมีคำถามว่า "ใช้สารเคมีกันด้วยหรือ?"
ในขณะที่เกษตรกรที่ใช้สารเคมีหลายราย ไม่บริโภค ผลผลิตตนเอง
แล้วยังห้ามลูกหลาน ญาติพี่น้องว่า อย่าเก็บผลผลิตที่สวน มาบริโภค
แล้วเกษตรกร เอาผลผลิตที่ไหน มาบริโภค เกษตรกรที่ใช้สารเคมี ในการเพาะปลูก
แล้วนำส่งขายตลาด แต่ในส่วน ที่ตนบริโภคนั้น จะไม่ใช้สารเคมี คือจะเพาะปลูกแบบธรรมชาติ
มาตรการที่เป็นตัวช่วยผู้บริโภคจึงต้องมีการแนะนำการเลือกซื้อ
การชำระล้างสารเคมีที่ตกค้าง ฯลฯ ซึ่งถ้าจะบริโภค ให้ปลอดภัยที่สุด
ก็ควรหาผลผลิต ที่ไร้สารพิษเท่านั้น แล้วอะไรที่จะทำให้เชื่อได้ว่า
ไร้สารพิษจริงๆ ผู้บริโภคเอง ต้องมีความรู้ ในการเลือกซื้อ ว่าอะไรไร้สารพิษ
เช่น การดมกลิ่น เพราะผลผลิต ที่ใช้สารเคมีนั้น จะมีกลิ่นของสารเคมี
จะแยกแยะออกได้ไม่ยาก สังเกตรูปลักษณ์ว่า มีรอยหนอน เจาะบ้างหรือไม่
เช่น ผักคะน้า แต่บางฤดูกาล ผักไร้สารพิษ ก็ได้ผลผลิตที่สวย ได้เหมือนกัน
เช่น ในฤดูหนาว เป็นต้น
ต้องรู้ว่ากลุ่มไหนหรือเครือข่ายใดที่น่าจะเชื่อใจได้ว่า
จำหน่ายผลผลิตไร้สารพิษ และวิธีการสุดท้าย คือ มีการตรวจสอบ ด้วยตัวเอง
โดยใช้ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ หรือ มีห้องทดลองเองในบ้าน
จุลินทรีย์ชีวภาพ
สูตรดินระเบิด
ส่วนประกอบ
๑. ดินที่อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่น ๑ กก.
๒. รำละเอียด ๑ กก.
๓. น้ำตาลทรายแดง ๑ กก.
๔. น้ำเปล่า ๑-๒ แก้ว
๕. ผ้าฝ้าย ๑ ผืน
วิธีทำ
๑. นำดินที่อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นมาคลุกเคล้ากับรำละเอียดและน้ำตาลทรายแดง
๒ ช้อนโต๊ะ เติมน้ำ ประมาณ ๑-๒ แก้ว (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ)
แล้วใช้ผ้าฝ้ายห่อไว้
๒. ใช้เวลาในการเพาะเลี้ยง ๒-๓ คืน จะเป็นก้อนแข็ง เพราะเชื้อราสีขาวเดินเต็มก้อน
๓. ผสมน้ำ ๒๐ กก.กับน้ำตาลทรายแดง (หรือกากน้ำตาล) ๑ กก. นำจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงครบ
๒-๓ คืน ไปเลี้ยงในน้ำ ที่ผสมไว้แล้ว เลี้ยงต่อไป ๒-๓ คืน สามารถนำไปใช้ได้เลย
วิธีใช้
๑. ต้นกล้าอ่อน ใช้น้ำดินระเบิด ๑ ส่วนต่อน้ำ ๑,๐๐๐ ส่วน
๒. ผักผลไม้ ใช้น้ำดินระเบิด ๑ ส่วนต่อน้ำ ๕๐๐ ส่วน
๓. นาข้าว ใช้น้ำดินระเบิด ๑ ส่วนต่อน้ำ ๘๐๐ ส่วน
(แหล่งข้อมูล ชุมชนศีรษะอโศก ต.กระแซง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ)
ท่านใดมีประสบการณ์ในการทำกสิกรรมธรรมชาติ
ต้องการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น หรือเผยแพร่ เทคนิคใหม่ๆ ที่น่าสนใจ
รวมถึงสูตรน้ำหมักบำรุงพืชผัก และสารขับไล่แมลง ส่งมาได้ที่ e-mail
: peak๑๙๗๖@hotmail.com จะนำเผยแพร่เป็นวิทยาทานต่อไป
(ดอกหญ้า
อันดับที่ ๑๐๒ ก.ค. - ส.ค. ๒๕๔๕)
|