สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์
นายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม
- โดย ขวัญชนก ชูเกียรติ -
ในหนังสือ กำเนิดกองทุน
สสส. ของปาริชาต ศิวะรักษ์ บอกไว้ว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีหน้าที่ผลักดัน กระตุ้นสนับสนุน และให้ทุนแก่หน่วยงานต่าง
ๆ ในสังคมให้ เกิดการขับเคลื่อน กระบวนการ สร้างเสริมสุขภาพเพื่อ ลดอัตรา
การเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร กระตุ้น ให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
และความเชื่อ และการ ปรับสภาพ แวดล้อม ให้เอื้อต่อคุณภาพชีวิต โดยมีเงินทุน
หลักมาจากร้อยละ ๒ ของภาษีสุราและบุหรี่
สำหรับ "ดอกหญ้า"
สิ่งที่น่าสนใจคือ การกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความเชื่อ
และการปรับ สภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้นคือ
สสส. มีโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ทางจิตวิญญาณ ซึ่งมี ศาสตราจารย์
นายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นประธานคณะกรรมการ และกรรมการ
๑๑ ท่าน คือ ศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต นายสุรินทร์
กิจนิตย์ชีว์ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน นายอนุรุธ
ว่องวานิช รศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล คุณหญิงจำนงศรี
หาญเจนลักษณ์ ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ นายศุภชัย พงศ์ภคเธียร
ขอขอบพระคุณ ศ.นพ.อุดมศิลป์
ศรีแสงนาม เป็นอย่างยิ่งที่กรุณาสละเวลา อันเต็มล้นไปด้วย ภารกิจ ต่อสังคมประเทศชาติ
บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการ สร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ และขอบคุณ
น้องขวัญชนก ชูเกียรติ ที่ช่วยประสานงาน และสัมภาษณ์ เรื่องราวดี ๆ
มาให้เราได้ร่วมกันรับทราบ ท่านใดอ่านแล้ว เกิดไฟอยากจะสร้างสรร (เลือกสร้างเฉพาะสิ่งที่ดี)
งานร่วมกับ สสส. ก็สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
www.thaihealth.or.th
มีแนวคิดอย่างไรในการก่อเกิดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ
กองทุนสนับสนุน การสร้างเสริม สุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ มีภารกิจ หลักในการสนับสนุน
ส่งเสริมและขับเคลื่อนกิจกรรม ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ อย่างเป็นองค์รวม
เพื่อการสร้าง เสริมสุขภาพของคนไทย โดยรวมทั้งสุขภาวะทางกาย ทางจิต
ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ
กระบวนการผลักดันด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
มีความละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง สื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ยาก ตั้งแต่ความหมาย
และแม้กระทั่งคำที่ใช้คือคำว่า "จิตวิญญาณ" (Spirituality)
และกระทบวิถีการดำรงชีวิต ของทุกบุคคล การขับเคลื่อน จึงต้องอยู่ บนพื้นฐาน
การรวบรวมทบทวนและสร้างองค์ความรู้ที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นที่ประจักษ์
ของกลุ่มคนที่มี ความหลากหลาย ในวิถีของชีวิต ด้วยการพัฒนาชุดโครงการพัฒนาความรู้อย่างเป็นระบบในประเด็นสำคัญ
และการสนับสนุน โครงการนำร่อง ที่มีตัวอย่าง อยู่ในสังคม รวมทั้งพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้เป็นฐานความรู้จริงที่ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตรวจสอบจนเกิดการ ยอมรับ รวมไปสู่ทัศนคติ/ค่านิยมใหม่ของมิติชีวิต
ที่มีคุณค่าความเป็นมนุษย์ ด้วยฐานขององค์ความรู้ เชื่อมโยงกับ การหนุนเสริม
ภาคีเครือข่ายร่วมทำความดี เกิดเป็นโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
* โครงการนี้มีวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดงานพัฒนาองค์ความรู้/งานวิจัย/ชุดโครงการนำร่องด้านสุขภาวะ
ทางจิตวิญญาณ อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง เพื่อรวบรวม ทบทวน สร้างและพัฒนาองค์ความรู้
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม
งาน และโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณที่หลากหลาย ของกลุ่มภาคี/เครือข่าย
ทั้งในระดับชุมชน จังหวัด และประเทศ
๓. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม/งาน/และโครงการสร้างกระแสสังคมและกระบวนทัศน์ใหม่
ด้านสุขภาวะ ทางจิตวิญญาณ ผ่านช่องทาง เช่น วิทยุ สื่อ สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์
ฯลฯ และวิธีการ ที่หลากหลาย เช่น การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศิลปะ
ดนตรี กีฬา วรรณกรรม ละคร กับกลุ่มเป้าหมาย ที่หลากหลาย เช่น เด็ก
พ่อแม่ ชาวบ้าน ครู นักการเมือง ผู้นำชุมชน แพทย์ ฯลฯ
๔. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งหน่วย
(Nodes) จัดการความรู้และเครือข่าย (Networks)
ด้านจิตวิญญาณ ทั้งในระดับชุมชน จังหวัด ประเทศ และระหว่างประเทศ
๕. สร้างและพัฒนาระบบข้อมูลและการสื่อสาร
เช่น ระบบฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จุลสาร หนังสือ ฯลฯ
๖. พัฒนาระบบกำกับ
ติดตาม และประเมินเพื่อ การพัฒนาโครงการ กิจกรรม และงานด้าน จิตวิญญาณ
ที่ได้รับการสนับสนุน
โครงการที่ขอสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณส่วนใหญ่มีลักษณะ
อย่างไรบ้าง
ขณะนี้มีอยู่ ๑๗
โครงการ แบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ การสร้างองค์ความรู้ สร้างภาคีเครือข่าย
สร้างระบบข้อมูล /ข่าวสาร และ สร้างทัศนคติ /ค่านิยม/ กระแสสังคม ที่ดำเนินการทั่วประเทศขณะนี้คือโครงการพุทธศาสนิกนำชีวิตปลอดสุรา
(งดเหล้าเข้าพรรษา) ของกรมการศาสนา โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกระแสการงดเหล้าในสังคมไทย
* ในการบริหารโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณที่ผ่านมามีปัญหาอะไรบ้าง
เนื่องจากองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะจิตวิญญาณกับความเกี่ยวโยงกับสุขภาพที่มีอยู่ในทุกส่วน
ของสังคมไทย หรือแม้กระทั่งในโลก มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย และเฉพาะกลุ่ม
ทำให้ความเข้าใจในมิติ ทางจิตวิญญาณของคน กลุ่มคน หรือองค์กรต่าง ๆ
แตกต่างกันไป ตามภูมิหลังและประสบการณ์ ประกอบกับงานด้านการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณค่อนข้าง
มีลักษณะเป็นนามธรรม ต่างจากมิติ สุขภาพด้านอื่นที่มองเห็นเป็นรูปธรรม
และมีการสร้างความเข้าใจตรงกัน เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
การขับเคลื่อนงานด้านนี้จึงดำเนินไปค่อนข้างช้า
และมีทิศทางที่เป็นรูปธรรมน้อยกว่าการสร้างเสริมสุขภาพ ในมิติอื่น
ๆ การขับเคลื่อนขบวนการสังคมจึง ต้องสร้างความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ควบคู่ไปกับการกระตุ้น ให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ หรือกระแส ค่านิยมในเรื่องของการพัฒนาสุขภาวะจิตวิญญาณ
นอกจากนี้ก็มีปัญหาด้านเอกสาร
ธุรการ ระบบการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งก็ได้แก้ไขโดยการจัดตั้งสำนักงาน
ผู้ประสานงาน ขึ้นแล้ว
ขณะนี้โครงการกำลังดำเนินการต่อเนื่อง
๔ เรื่อง คือ ใช้กระบวนการหรือกิจกรรมในการพัฒนาจากความรู้ สู่ปัญญา
ของมวลสมาชิก สร้างโอกาส/ค้นหาผู้ที่มีแรงบันดาลใจในการทำงานด้านการพัฒนาสุขภาวะทาง
จิตวิญญาณ ทำความเข้าใจกับผู้สนใจเคลื่อนงานการสร้างเสริมสุขภาวะจิตวิญญาณในการทำงานร่วมกับ
สสส. และค้นหาวิธีการพัฒนาโครงการและการทำงานให้กระชับขึ้น
* + * + * คุณหมอมีความคาดหวังหรือเป้าหมายอย่างไรในการบริหารโครงการ
วันหนึ่งผมได้คุยกับอาจารย์สุมน
และอาจารย์สุรินทร์ อายุขนาดนี้แล้วก็สนใจศึกษาและรู้เรื่องจิตวิญญาณ
กันมาพอสมควร แต่พอมาคุยกันถึงคำจำกัดความ ปรากฏว่ายังไม่ชัดเจน สรุปไม่ได้ว่าจิตวิญญาณคืออะไร
ก็เลยตกลงว่า จะถอยหลังมาก้าวหนึ่ง เริ่มต้นกันใหม่ เหมือนกับว่ายังไม่รู้อะไรเลย
มาพูดคุยทำความเข้าใจให้ตรงกัน
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
ครั้งแรกไม่ได้คิดว่าต้องเป็นกลุ่มใด เพราะทุกสาขาอาชีพ ทุกช่วงวัย
ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวันตาย มีเรื่องจิตวิญญาณแทรกอยู่ตลอดเวลา ต่อมาถึงได้เริ่มที่เยาวชนก่อน
เพราะมีภาพความรุนแรงเกิดขึ้น ในสังคม อารมณ์วัยรุ่นไม่แน่นอน บางทีไม่นึกถึงเหตุถึงผล
ควรให้วัยรุ่นได้เรียนรู้เรื่องอารมณ์และความรัก สามารถจัดการกับอารมณ์
และความรักได้เหมาะสม รู้วิธีที่จะดูแลตัวเอง
คนที่ทำงานกับ สสส.
มี ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกขอทุนเพราะอยากทำ ทำตามความต้องการของตนเอง แต่ไม่ได้มองภาพที่จะเกิดประโยชน์ต่อสังคม
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นคนทำงาน แต่ไร้ทิศทางว่าจะทำเพื่ออะไร และไม่ได้คำนึงถึงผลต่อเนื่อง
กลุ่มสุดท้าย เป็นภาคีร่วมงานกับ สสส. เสนอโครงการที่ สสส. ก็อยากทำ
ทำให้เกิดความร่วมมือ เป็นหุ้นส่วนกัน เป็นพลังที่เห็น ได้เป็นรูปธรรม
อย่างเช่นโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา
คนที่จะทำงานด้านจิตวิญญาณต้องกล้าสร้างจินตนาการ
ทำงานที่เกิดผลกระทบต่อสังคม ผมพอใจมาก กับการประชุม พูดคุยของโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
ที่สวนสามพรานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ ข้อสรุปที่ดีหลาย ๆ อย่าง เช่น เบญจลักษณ์แห่งความ
ร่มเย็น คือ
๑. ไม่มีความยากจน
๒. อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร
๓. อ่อนน้อมต่อสิ่งแวดล้อม
๔. ทะนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม
๕. เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ถึงแม้ว่าจะยากที่จะทำให้คนตระหนักเรื่องคุณค่าของชีวิตจิตวิญญาณ
แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำคัญ ที่จะต้องทำต่อไป
-ดอกหญ้าอันดับที่ ๑๐๙ กันยา-ตุลา ๒๕๔๖-
|