บทวิจารณ์
- ฟ้าเมือง ชาวหินฟ้า - ความกตัญญ รู้คุณเครื่องค้ำจุน โลก ชีวิตทุกชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวโดยตัวมันเอง แต่ทว่าต้องพึ่งพาอาศัย องค์ประกอบต่างๆ มากมาย ที่ช่วยค้ำจุน เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปรกติสุข ถ้ามนุษย์ไม่ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญขององค์ประกอบทั้งหลาย ที่มีส่วนช่วยค้ำจุน การดำรงอยู่ ของชีวิต และไม่ปฏิบัติ ต่อองค์ประกอบเหล่านั้นอย่างรู้คุณค่า หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ ไม่ปฏิบัติอย่างมี ความกตัญญูรู้คุณ สักวันหนึ่ง ชีวิตของมนุษย์ก็จะต้อง ประสบกับปัญหา ความเดือดร้อน ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม เพราะการกระทำที่ไปทำลาย องค์ประกอบซึ่งช่วยค้ำจุน ชีวิตดังกล่าว เราอาจแบ่งองค์ประกอบของสิ่งที่ช่วยค้ำจุนชีวิต ซึ่งพึงจักต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น อย่างรู้คุณค่า หรืออย่างมีความกตัญญุรู้คุณ ได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ คือ ๑. ความกตัญญูรู้คุณต่อสถาบันครอบครัวญาติมิตร ในวัฒนธรรมของชาวตะวันออก มีการสอนกันมากถึงเรื่องความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา และ ผู้มีพระคุณ ตัวอย่างเช่น ชาวจีนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลที่ถือเป็น ๒๔ ยอดกตัญญูสำหรับ เป็นแบบอย่าง ไว้สอนลูกหลาน เป็นต้น อันที่จริง แม้แต่บุคคลที่เรารู้จักคุ้นเคย ก็เป็นกลุ่มคนที่เราต้องพึ่งอาศัยเวลาที่มีปัญหา ความเดือดร้อน ต่างๆ เช่นกัน นอกเหนือจาก การพึ่ง พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิด เราอาจเรียกองค์ประกอบของคนรู้จักคุ้น-เคยที่เกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตส่วนนี้โดยรวมๆ ว่า เป็นสถาบัน ครอบครัว และญาติมิตร ซึ่งถ้าสถาบันส่วนนี้ถูกละเลย ผู้คนไม่รู้คุณค่า และ ปฏิบัติต่อ สถาบัน ดังกล่าวอย่าง "อกตัญญูไม่รู้คุณ" เช่น ไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลสมาชิกในครอบครัวและญาติมิตรที่เคยให้ความเอื้ออาทรต่อเรา อันเป็น การปฏิบัติ ต่อคนเหล่านั้น อย่างไม่กตัญญูรู้คุณ ต่อไปเมื่อเรามีปัญหาความเดือดร้อนอะไร ก็คงจะหวังพึ่งพิงสมาชิก ในครอบครัว และญาติมิตรเหล่านั้นได้ยาก เป็นต้น หากผู้คนในสังคมต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ต่างคนต่างอยู่แบบตัวใครตัวมัน ปราศจาก การช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน แม้แต่กับสมาชิก ในครอบครัว และญาติมิตรคนรู้จัก ก็ยังพึ่งพา อาศัยกันไม่ได้ สังคมที่ผู้คนมีชีวิตอย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง เห็นแก่ตัวจัดเช่นนี้ จะเป็นสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข ได้อย่างไร ๒. ความกตัญญูรู้คุณต่อสังคมประเทศชาติ มีผู้กล่าวว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม" เพราะมีธรรมชาติที่มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็น ระบบสังคม เพื่อช่วยกัน หาอาหาร และต่อสู้กับภัยต่างๆ ที่มาคุกคาม เมื่อประชากรของมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นๆ ความจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพในการผลิต ด้วยการแบ่งงาน กันทำ ตามความถนัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีอาหารและปัจจัย ๔ เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ตลอดจน ความจำเป็น ที่ต้องเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกัน ตนเอง จากมนุษย์กลุ่มอื่นๆ ที่จะมาแย่งแหล่ง ทำกินของเรา ส่งผลให้เกิดแนวโน้ม ที่สังคม มนุษย์ จะขยายตัวใหญ่ขึ้น และมีการจัดระเบียบ การอยู่ร่วมกัน จนเกิดเป็นชนชาติ หรือ ประเทศชาติ ต่างๆ ที่ยึดโยงกัน ด้วยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งระบบกฎหมาย และสถาบัน อำนาจรัฐที่ชนชาตินั้นๆ พัฒนาขึ้น โดยชาติที่ใหญ่และเข้มแข็งกว่า ก็มีแนวโน้มจะเข้าไปยึดครองและกลืนชนชาติที่อ่อนแอกว่า เข้าเป็นส่วนหนึ่ง ภายใต้อำนาจของตน เพื่อเพิ่มศักยภาพของพลังทางการผลิต และศักยภาพ ของกำลัง ในการปกป้องตนเอง ให้มากขึ้นๆ ถึงแม้สถาบันสังคมประเทศชาติ จะมีขนาดที่ ใหญ่มาก จนเราไม่มีทางรู้จัก ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ประเทศชาติหนึ่งๆ เป็นการส่วนตัว แตกต่าง จากสถาบันครอบครัวญาติมิตรที่เรารู้จักคุ้นเคย แต่มนุษย์ก็ต้องพึ่งพา สังคม ประเทศชาติ เพื่อความดำรงอยู่ของชีวิตเช่นกัน ถ้าสมาชิกในสังคมหรือประเทศชาติหนึ่งๆ ไม่รู้คุณค่า และประพฤติปฏิบัติต่อสังคม หรือ ประเทศชาติของตน อย่างอกตัญญู ไม่รู้คุณ ขายชาติขายแผ่นดิน เมื่อสังคมประเทศชาตินั้นๆ ดำรงอยู่ต่อไปไม่ได้ สมาชิกของสังคมประเทศชาติดังกล่าว ก็ต้องประสบ ความทุกข์ยาก ลำบากด้วย อาทิ หากต้องตกเป็นเมืองขึ้นของชนชาติอื่น ทรัพยากรและความมั่งคั่งที่เคยหล่อเลี้ยงชีวิต ให้อยู่อย่าง สุขสบาย ก็จะถูกปล้นชิง ไปเลี้ยงดูชนชาติอื่น ที่มายึดครองนั้น จนผู้คนต้องอยู่กัน อย่างอดอยาก ขาดแคลน เป็นต้น การกระทำใดๆ ในทิศทางที่มีส่วนบ่อนทำลายสังคมประเทศชาติของตนให้เกิดความอ่อนแอ จึงถือได้ว่า เป็นความไม่กตัญญูรู้คุณ ซึ่งจะส่งผลเสียกระทบกลับมาสร้างปัญหา ความบีบคั้น ให้กับเราได้ในภายหลัง เพราะถ้าสังคมประเทศชาตินั้นๆ ประสบภาวะวิกฤต อันเนื่องมาจากความอ่อนแอของสังคม มีอาชญากรรม ชุกชุม ล้าหลัง ด้อยพัฒนา เต็มไปด้วยอบายมุขสิ่งเสพติด ผู้คนตกงาน ด้วยสติ ปัญญาความรู้ จริยธรรม เสื่อมถอย ฯลฯ เราหรือบุตรหลานของเรา ที่เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสังคมประเทศชาตินั้นๆ จะสามารถมีชีวิต อย่างปรกติสุข ต่อไปได้อย่างไร ในท่ามกลางสังคมที่ถูกบ่อนทำลายดังกล่าว ต่อให้ถึงจะมีเงิน มากมาย สามารถจ้างผู้คน คุ้มกันเรา และบุตรหลานเวลาไปไหนมาไหน ให้ปลอดภัย จากโจร ผู้ร้าย แต่ชีวิตเช่นนั้นก็หมดอิสรภาพ ที่เคยมี และเพิ่ม ต้นทุน ความเสี่ยงมากขึ้น จนชีวิตยากที่จะดำรงอย่างมีความสุข ๓. ความกตัญญูรู้คุณต่อธรรมชาติที่หล่อ-เลี้ยงชีวิต ถ้ามีภัยพิบัติในธรรมชาติเกิดขึ้น เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง อากาศร้อน หรือหนาวผิดปรกติ พายุพัดผ่าน แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้ป่า หรือแม้แต่อุกาบาตชนโลก ฯลฯ ชีวิตทุกชีวิต ที่อาศัยดำรงอยู่บนโลกนี้ ย่อมจะได้รับ ผลกระทบ อย่างใหญ่หลวง ในอารยธรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่พัฒนาขึ้น นอกเหนือจากการสร้างระเบียบแบบแผนของวิถีการ ดำเนินชีวิต ที่ปลูกฝัง ให้ผู้คนตระหนัก ถึงคุณค่า และมีความกตัญญูรู้คุณค่าต่อสถาบัน ครอบครัว ญาติมิตร ตลอดจนสังคม ประเทศชาติแล้ว ก็ยังปลูกฝังให้มีความกตัญญูรู้ คุณต่อธรรมชาติที่หล่อเลี้ยง ชีวิตมนุษย์ด้วย ศาสนาหรือลัทธิความคิดความเชื่อที่เป็น เสาหลักค้ำจุนอารยธรรมแต่ละอารยธรรมที่มนุษย์ พัฒนาขึ้น ก็คือ โครงสร้างสำคัญ ส่วนที่กระทำหน้าที่ปลูกฝังให้มนุษย์ตระหนักถึงคุณค่า และมีความกตัญญูรู้คุณ ต่อสถาบัน ครอบครัว ญาติมิตร สถาบันสังคมประเทศชาติ รวมทั้งต่อธรรมชาติที่หล่อเลี้ยง ชีวิตมนุษย์โดยรวม ศาสนาส่วนใหญ่ที่เป็นศาสนาแบบเทวนิยม จะเชื่อว่ามีพระเจ้าหรือเทพองค์ต่างๆ เป็นผู้ควบคุม อยู่เบื้องหลัง ปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย และเพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ต่อพระเจ้า หรือเทพเหล่านั้น ที่ช่วยบันดาล ให้ธรรมชาติ ดำเนินไปอย่างปรกติ ฝนตกต้องตามฤดูกาล ไม่เกิด ภัยพิบัติที่คุกคามชีวิตมนุษย์ ก็จะต้องมี การประกอบ พิธีกรรม ทางศาสนาต่างๆ รวมทั้ง การประพฤติ ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนานั้นๆ เป็นการตอบแทน พระเจ้า หรือเทพ ที่ตนเคารพนับถือ ความเชื่อในศาสนาแบบเทวนิยมเหล่านี้ จะช่วยยึดโยงให้มนุษย์ปฏิบัติต่อธรรมชาติที่หล่อเลี้ยง ชีวิตอย่างมี ความกตัญญู รู้คุณมากขึ้น เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่าเกินกว่าความจำเป็นที่ต้องใช้สอย เพราะเชื่อว่ามีเจ้าป่าเจ้าเขาคอยดูแล ป่าไม้อยู่ ไม่ทำให้ แม่น้ำลำคลอง สกปรกปนเปื้อนด้วยมลภาวะ เพราะเชื่อว่าเป็นการแสดง ความไม่เคารพต่อ เจ้าแม่คงคา ไม่บริโภค ฟุ้งเฟ้อเกินความพอดี ด้วยความโลภโมโทสัน จนก่อให้เกิดการทำลายธรรมชาติเกินประมาณ หรือไม่แสดง ความอกตัญญ ูต่อบิดามารดา ประเทศชาติ ศาสนา ฯลฯ เพราะเชื่อว่านั่นเป็นพฤติกรรม ที่ขัดต่อพระประสงค์ ของพระเจ้า ตามหลักคำสอนในศาสนานั้นๆ เป็นต้น เมื่อความเชื่อทางศาสนาในอารยธรรมต่างๆ ของมนุษย์มีส่วนช่วยควบคุมความต้องการ ส่วนเกินจำเป็น ในชีวิต ไม่ให้มนุษย์เบียดเบียน ทำลายธรรมชาติเกินขอบเขตในทางใดทางหนึ่ง ผลที่สุดสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งดำรงอย่าง มีดุลยภาพนั้น ก็จะช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ ให้อยู่เย็นเป็นสุขต่อไป ถึงแม้ศาสนาพุทธจะไม่ใช่ศาสนาแบบเทวนิยม ที่สอนให้มนุษย์มีความกตัญญูรู้คุณ ต่อธรรมชาติ ทั้งหลาย ที่หล่อเลี้ยง ชีวิตมนุษย์ ผ่านทางความเชื่อว่ามีพระเจ้าหรือ เทพองค์ต่างๆ คอยควบคุมปรากฏการณ์ ทั้งหลาย ในธรรมชาติ โดยถ้าหากมนุษย์ไม่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าหรือเทพเหล่านั้น ในทิศทาง ที่เสริมสร้าง ให้มนุษย์ปฏิบัติต่อ องค์ประกอบต่างๆ ที่ช่วยค้ำจุนชีวิตดังกล่าว อย่างรู้คุณค่า หรือมีความกตัญญูรู้คุณแล้ว มนุษย์ก็จะประสบภัยพิบัติ นานาประการ เพราะความพิโรธ ของพระเจ้าหรือเทพองค์นั้นๆ แต่ศาสนาพุทธก็สอนให้มนุษย์เข้าใจกฎธรรมชาติหรือกฎธรรมนิยาม ที่ควบคุมปรากฏการณ์ ทั้งหลายในเอกภพ และ ปฏิบัติต่อองค์ประกอบต่างๆ ที่ช่วยค้ำจุนการดำรงอยู่ ของชีวิต อย่างเหมาะสมถูกต้องเช่นกัน โดยชี้ให้เห็นว่า ถ้ามนุษย์สร้างอกุศลกรรมประการต่างๆ อันเป็นการประพฤติปฏิบัติต่อครอบครัว ญาติมิตร สังคมประเทศชาติ ตลอดจนปฏิบัติต่อธรรมชาติ หรือ"ธรรมะ" อย่างไม่ถูกต้อง ผลที่สุดอกุศลกรรมนั้นๆ ก็จะส่งผลกระทบ กลับมาเป็นอกุศลวิบาก ที่จะทำให้มนุษย์ประสบ ความทุกข์ยากลำบาก ทางใดทางหนึ่ง ในภายหลัง รวมทั้งสอนให้มนุษย์เข้าใจกฎธรรมชาติใน มิติที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้น จนรู้จักวิธีควบคุมธรรมชาติ ผ่านทางมิติ ของจิต ที่เป็นธาตุรู้ ภายใต้โครงร่างของเอกภาพ ๕ มิติที่มนุษย์รับรู้ ซึ่งประกอบอวกาศ ๓ มิติ ที่หลอมรวมเข้ากับมิติที่ ๔ ของกาลเวลา อันประกอบกันเป็นมิติของ สิ่งที่ถูกรู้ (หรือรูป) และ หลอมรวมเข้ากับมิติที่ ๕ ของจิตที่เป็น "ธาตุรู้" (หรือนาม) อีกทีหนึ่ง ตามกฎปฏิจจสมุปบาท ในพุทธปรัชญา ศาสนาพุทธ จึงเป็นศาสนาที่สอนให้มนุษย์ เข้าใจคุณค่า ขององค์ประกอบต่างๆ ในธรรมชาติที่ช่วยค้ำจุน การดำรงอยู่ ของชีวิต ทั้งในแง่ อุตุนิยาม (กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการปรุงแต่งของโลกทางวัตถุธรรม) พีชนิยาม (กฎธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับ การปรุงแต่งของโลกทางชีววิทยา) กรรมนิยาม (กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการปรุงแต่ง ของพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ) จิตตนิยาม (กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการปรุงแต่งของจิต) และธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับ การปรุงแต่ง ของธรรมชาติทั้งหมดโดยองค์รวม) ในยุคสมัยที่วิทยาศาสตร์ครอบงำความคิดของมนุษย์ และผู้คนมีความเชื่อต่อพระเจ้าหรือ เทพต่างๆ ในศาสนาแบบเทวนิยม ลดน้อยลงเช่นนี้ ศาสนาที่สอนให้เข้าใจกฎธรรมชาติโดยตรง หรือ "กฎธรรมนิยาม" อย่างเช่น พุทธศาสนา จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้อารยธรรมของมนุษย์ อยู่รอด เพราะจะช่วยให้มนุษย์ ตระหนักถึง การประพฤติปฏิบัติต่อธรรมชาติในมิติต่างๆ อย่างรู้คุณค่า หรืออย่างมีความกตัญญูรู้คุณ ที่ประกอบด้วย ปัญญาอันลึกซึ้ง เพื่อองค์ประกอบ ของธรรมชาติเหล่านั้น จะได้ช่วยค้ำจุน ให้ชีวิตมนุษย์ดำรงอย่างอยู่เย็นเป็นสุขต่อไป - หนังสือ ดอกหญ้า อันดับที่ ๑๑๒ มีนาคม - เมษายน ๒๕๔๗ - |