ปัจฉิมลิขิต - กอง บก. -

มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับระบบทุนนิยม
- ภาณุวัฒน์ รังสรรค์/เชียงใหม่ -

# เป็นระบบที่ส่งเสริมความเห็นแก่ตัว การเอารัดเอาเปรียบ แสวงหาประโยชน์จาก กิเลสของคน



ดิฉันมีพี่ชายบวชมานาน ๒๒-๒๔ พรรษา จนเป็นพระครูแล้ว แต่มีข้อเสียคือท่าน เชื่อมั่น ตัวเองสูง ควรจะแนะนำท่านอย่างไรดีคะ ด้วยหวังดี จริงใจ ไม่อยากให้ท่าน ตกต่ำ ท่านบอกว่า งดเว้นเนื้อสัตว์ แต่ฉันใบชะพลูกับยำตะไคร้ ตอนห้าทุ่มถึง เที่ยงคืน ผิดศีลตรง ของขบเคี้ยวใช่ไหมคะ
- พิงพวย เสาทอง/กรุงเทพฯ -

# ถ้าเป็นสมัยก่อน ดิฉันคงแนะนำว่าต้องพูดกับท่าน เรียนถามท่านว่า ทำไมท่าน ทำอย่างนั้น แล้วปรึกษาหารือกันว่า การกระทำอย่างนั้นจะทำให้เกิดผลเสียอะไรบ้าง

แต่เดี๋ยวนี้ อายุมากขึ้น เข้าใจโลกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นพระและครู ท่านเป็นผู้รู้อยู่แล้ว พูดอะไรไปก็เหมือนสอนหนังสือพระสังฆราช สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ แล้วอีกอย่างหนึ่ง การเที่ยวไปคิดแก้ไขคนอื่น หรือพยายามให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงนั้น ยากมาก ปรับปรุง ตัวเองดีกว่าค่ะ ทำความดีให้มากจนคนตาบอดเห็นได้ไงคะ



๑. การกระทำผิดโดยไม่ได้เจตนาหรือตั้งใจกระทำ แต่เป็นเพราะความบังเอิญ จะถือว่า เป็นบาปหรือไม่
๒. การคิดสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ผิด เช่น คิดแค้น โกรธเคืองผู้อื่น แต่ว่าในที่สุดก็มิได้กระทำ และ ระงับความคิดนั้นลงได้ การคิดชั่วคิดร้ายแบบนี้ ถือว่าเป็นบาปหรือไม่
- สุดารัตน์ ต่างใจ/น่าน -

# ๑. บาปค่ะ ถ้าบาปหมายถึงมลทิน สิ่งที่จะก่อให้เกิดผลร้ายตามมา หรืออกุศล เช่น ขับรถทับสุนัขตาย ทั้งที่อาจไม่ใช่ ความผิดของเราเลย สุนัขวิ่งเข้ามาหารถเอง แต่เรา ก็อาจมีส่วนเพราะ ขับรถเร็ว จนเบรกไม่ทัน ผลก็คือมันต้องพลัดพรากจากพ่อแม่ หรือลูก หรือเจ้าของ ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนไว้ ในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ ข้อ ๕๙ ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็ง เห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป และข้อ ๖๐ ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือน ความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

๒. บาปค่ะ เป็นอกุศลจิตไงคะ และน่าจะอันตรายมากด้วย ถ้าพิจารณาตามที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลาย มีใจมาก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ มีเรื่องเล่าในพระไตรปิฎกเล่ม ๓๒ ข้อ ๓๙๒ ว่าในชาติหนึ่งซึ่งพระพุทธเจ้าเกิดเป็น ลูกชาวประมง เห็นคนฆ่าปลา แล้วเกิดจิตยินดี ด้วยวิบากกรรมนั้นทำให้ทรงปวดศีรษะ แค่ยินดีที่เห็น คนทำผิดศีล นะคะ ยังมีวิบาก แล้วถ้าคิดเรื่องที่ผิดศีลเองล่ะคะ

ยังดีนะคะที่ระงับความคิดนั้นได้ แต่ก็อย่าประมาท ถ้าคิดบ่อยๆ มันก็จะหลุดออกมา เป็นกายกรรม วจีกรรมได้



พระพุทธเจ้าระบุไว้ในพระสูตร พระวินัยไหนหรือไม่ว่าพระสงฆ์หรือคนนับถือ พุทธศาสนา ห้ามกินเนื้อสัตว์ จริงๆ แล้วดิฉันเองก็เน้นมาทางกินมังสวิรัติพอสมควร แต่ยังไม่เคร่งนัก ก็กำลัง พยายามอยู่ค่ะ
- สุมาลี อาจองค์/กรุงเทพฯ -

# ข้อมูลเรื่องเหล่านี้มีมากค่ะ ถ้าคุณพอมีเวลาเดินทางไปที่ห้องสมุดสมาคม ผู้ปฏิบัติธรรม จะได้ศึกษาเอกสารได้ละเอียดลึกซึ้ง ตอนนี้ขอตอบสั้นๆ เพียงว่า พระพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงบังคับให้พระภิกษุในศาสนาของพระองค์ไม่ฉันเนื้อสัตว์ แต่ทรงอนุญาต ให้ฉันเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ยิน ไม่ได้เห็น ไม่สงสัยว่าเนื้อสัตว์นั้น ถูกฆ่ามา เพื่อเจาะจงเป็นอาหาร และทรงห้ามพระภิกษุ ฉันเนื้อสัตว์บางชนิด แม้เป็นสัตว์ที่ ตายเอง และที่ดิฉันเห็นว่า สำคัญมาก และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนา แห่งปัญญา คือ ทรงให้ศาสนิกของพระองค์ พิจารณาเองว่า สิ่งใด ควรปฏิบัติ หรือไม่ควรปฏิบัติ โดยเทียบเคียงกับ พระธรรมและวินัย ที่ทรงบัญญัติ ไว้แล้ว (เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไป ตลอดเวลา มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น ในสมัยพุทธกาลไม่มี จึงไม่ได้ทรงบัญญัติห้ามไว้ เช่น สิ่งเสพติด ต่างๆ เป็นต้น)

สำหรับเรื่องการกินเนื้อสัตว์ ปัจจุบันใครก็รู้ว่าเนื้อสัตว์ที่มีขายอยู่ตามตลาดนั้น เป็นเนื้อสัตว์ ที่ฆ่ามาเป็นอาหาร ที่เป็นโรคตายเอง ก็ไม่กล้ากินด้วยซ้ำไป การฆ่าสัตว์ เป็นเรื่องผิดศีลข้อที่ ๑ และ การค้าขายเนื้อสัตว์ก็เป็น การค้าขาย ที่เป็นบาปด้วย (มิจฉา วณิชชา) แม้คนกิน ไม่ได้ฆ่าเอง ก็มีส่วนเกี่ยวเนื่องกันอยู่นั่นเอง

มีรายละเอียดเกี่ยวกับมิจฉาวณิชชาและมิจฉาอาชีวะที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ ดิฉันอยาก แนะนำ ให้ทุกท่านอ่าน พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนที่อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เรียบเรียงไว้ และพจนานุกรม พุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน เจ้าคุณพระธรรมปิฎก คนกรุงเทพฯ หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือธรรมะ แถวท่าพระจันทร์ และหน้าวัดบวรนิเวศ บางลำพู หรือไปอ่านที่ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุด สถาบัน ราชภัฏ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยทุกแห่งทั่วประเทศ



๑. ทำอย่างไรถึงจะไม่โกรธ เวลาเพื่อนร่วมงานว่าเรา แสดงพฤติกรรมล้อเลียนเรา
๒. ทำอย่างไรเมื่อเวลาทำงาน แล้วเพื่อนร่วมงานตำหนิติเตียนเราด้วยถ้อยคำรุนแรง ว่ากล่าวเรา ด้วยความโมโห
๓. ทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการ โมโหลูกที่ทำงานไม่ได้ดั่งใจ
๔. ทำอย่างไรดีที่ได้ทำงานร่วมกับคนเห็นแก่ตัว
- โกศล กาหลง/ลพบุรี -

# ข้อ ๑ และ ๒ ขอตอบไปด้วยกันเลยนะคะว่าต้องให้อภัยค่ะ และรับฟังคำตำหนิ ของเขา เพื่อจะได้นำ มาแก้ไขปรับปรุงตัวเรา แรกๆ อาจจะทำใจยากหน่อย ถ้ารู้ตัวว่า จะควบคุม อารมณ์ไม่ได้ ก็ต้องเดินหนี ก่อนล่ะค่ะ อย่าตอบโต้เด็ดขาด สงบปาก สงบคำไว้ก่อน แล้วค่อยมาคิดทบทวน ดูทีหลังว่า เขาพูดถูกพูดผิด อย่างไรบ้าง แล้วก็เข้าใจและยอมรับเขาให้ได้ ไม่ต้องคิดเปลี่ยนแปลงเขา หรือพยายาม ที่จะอธิบาย ให้เขาเข้าใจเรา ให้ถูกต้อง บางทียิ่งพูดยิ่งเรื่องมากค่ะ

๓. ที่จริงถ้าเราเองก็ไม่มีความสุขเพราะทำงานไม่ได้ดังใจคนอื่น แล้วเขามาว่าเอา ก็น่าจะเข้าใจ หัวอกลูก เหมือนกันนะคะ จะให้ใครมาทำอะไรให้ได้อย่างใจเรา คงไม่มีหรอกค่ะ เราเองยังทำให้ถูกใจ คนอื่นไม่ได้เลย

๔. เสียสละเพิ่มขึ้นค่ะ


 

๑. คนที่ชอบจับผิดคนอื่น แต่ลืมจับผิดตัวเอง มีวิธีอะไรบ้างไหมคะ ที่จะทำให้เขา เปลี่ยนความคิด
๒. ตอนนี้ไม่ค่อยมีเวลาสวดมนต์นั่งสมาธิเลย มีวิธีที่จะฝึกสมาธิหรือทำบุญ วิธีอื่น ไหมคะ
- เนาวรัตน์ รัตนพลแสน/มหาสารคาม -

# ๑. อย่าไปร่วมวงสนทนาถึงคนอื่นในแง่ไม่ดี ถ้ามีใครมาพูดถึงความผิดพลาด ของคนอื่น ก็รับฟังเฉยๆ หรือแสดง ความเห็นใจ คนที่ทำงานผิดพลาดว่าเขาคงไม่ตั้งใจ หรือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ป้องกันไม่ได้ และ ถ้าเราก็เคย ทำผิดอย่างนั้น ก็เล่าให้เขาฟังว่า เราเอง ก็เคยทำผิดพลาดอย่างนั้น เพราะอะไร ก็ว่าไป พูดให้เห็นว่า ความผิดพลาด เป็นเรื่องธรรมดา

๒. ลดละกิเลสหรือสิ่งที่เราติดยึดไงคะ เป็นการฝึกสมาธิอย่าง ดีเลยค่ะ เพราะจะทำ อะไร ก็ต้องคอยคิดว่า เป็นกิเลสหรือเปล่า ลดละเสียได้ไหม ได้ขัดเกลาตนเองด้วย เป็นการทำบุญที่วิเศษที่สุดค่ะ


๑. ทำอย่างไรจึงจะไม่เผลอสติ เพื่อให้ทุกกิจกรรมที่ทำไม่เกิดความผิดพลาดบ่อยๆ บางครั้ง ก็รู้สึก ท้อเหมือนกัน
๒. จริงหรือไม่ที่ว่าทุกศาสนาล้วนสอนให้คนเป็นคนดี ถ้าจริง... แต่ละศาสนาก็ไม่ต่างกัน สิครับ
- มานพ ไตรเจริญวัฒนะ/กรุงเทพฯ -

# ๑. พยายามเอาใจใส่ทุกกิจกรรมที่ทำ แต่ก็เผลอได้ทุกคน แหละค่ะ ขนาดพระอรหันต์ ท่านยังผิดพลาด แต่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติสติวินัย สำหรับ พระอรหันต์ ไม่เอาโทษ ถือเป็นความผิด เพราะท่านมี ความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีกิเลส ในการกระทำทุกอย่าง เพราะฉะนั้นที่สำคัญ ต้องจัดการกับกิเลสก่อน

๒. จริง แต่ว่าระดับและลักษณะความดีของแต่ละศาสนามีรายละเอียดต่างกันอยู่


๑. เราจะชนะใจของตนให้เป็นคนไม่โกรธง่ายอย่างไรคะ
๒. ไม่อยากอยู่ร่วมกับคนผิดศีลข้อ ๓ ทำใจลำบาก
- จรรยา อุกตะกะ/กรุงเทพฯ -

# ๑. หัดฝืนใจตัวเองในเรื่องกินเรื่องอยู่นี่แหละค่ะ อย่าตามใจตัวเอง ช่วยให้ใจเย็น ขึ้นได้ เพราะคนเรา จะโกรธก็เพราะ ไม่ได้อย่างใจใช่ไหมคะ ถ้าเราขัดใจ ตัวเอง อยู่เสมอๆ วันหลัง ใครมาขัดใจเรา ก็ไม่เป็นไร
๒. ดิฉันก็ไม่อยากเหมือนกัน แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร อย่าไปคลุกคลีด้วยก็แล้วกันค่ะ



ข้าพเจ้าชอบทำทานเพราะหวังว่าสักวันผลของทานจะช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น เพราะความจน เจ็บปวด และ ลำบากมาก อยากเรียนถามว่าข้าพเจ้าคิดถูกหรือผิด โลภมากหรือเปล่าคะ
- ๒๕๕๑๔๕/เชียงใหม่ -

# ผลของทานน่ะได้รับแน่นอนอยู่แล้วค่ะ แต่ถ้าเราทำทานด้วยหวังผลให้แก่ตนเอง ก็เลย กลายเป็น ความไม่บริสุทธิ์ใจ อานิสงส์ย่อมลดลง การทำทานควรจะเกิดจาก จิต เมตตากรุณา ปรารถนา จะช่วยเหลือ ผู้อื่นนะคะ



การฆ่าสัตว์ เช่น ยุง แมลงวัน เพื่อปกป้องคนที่มีพระคุณต่อเราคือพ่อ ซึ่งป่วยเป็น อัมพาต ช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้เลย บาปมากน้อยแค่ไหน
- สุมาลี เฉลยจรรยา/อ่างทอง -

# กางมุ้งให้ไม่ดีกว่าหรือคะ จะได้ไม่ต้องไปเบียดเบียนชีวิตสัตว์ บาปมากบาปน้อย ก็อย่าทำเลย ดีกว่า คุณตามฆ่ายุง ฆ่าแมลงวันไม่ไหวหรอกค่ะ พยายามจัดการ สิ่งแวดล้อมให้สะอาด เท่าที่จะทำได้ จะได้ไม่มี แมลงวันมาก



เมื่อเราทำผิด เราควรที่จะโทษใครดีคะ จะโทษพ่อแม่ที่สอนเรามาได้ไหมคะ หรือว่า ต้องโทษ ตัวเอง
- พรพรรณ สมภารเพียง/บุรีรัมย์ -

# บางทีอาจจะเป็นความผิดของพ่อแม่จริง แต่ก็มีบ่อยครั้งใช่ไหมคะที่เราเห็นลูก นอกคอก แล้วอีกอย่าง ถ้าเรามัว แต่โทษพ่อแม่ เราก็ไม่ได้แก้ไขตัวเอง เพราะฉะนั้น เมื่อไร ที่เรารู้ตัวว่า ทำผิด ไม่ว่าจะคิด พูด หรือลงมือ กระทำไปแล้ว ก็แก้ไขตนเองทันที เปลี่ยนความคิดใหม่ สังวรคำพูด สังวรพฤติกรรม ดีกว่าไปมัวคิด โทษคนอื่นนะคะ



ข้าพเจ้าไม่ได้สำรวมในเวลารับประทานอาหาร เพราะมีลูกค้ามาซื้อของ ต้องลุกเดินไป ขายของ จะผิด บาปกรรมไหมคะ
- สมนึก ป้องหลักคำ/นครพนม -

# คิดง่าย ๆ แล้วกันค่ะว่า บาปเกิดจากการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ทั้งทาง ความคิด คำพูด และ การกระทำ ถ้าไม่ได้เบียดเบียนใครก็ไม่บาปหรอกค่ะ



กระผมปั้นดินเป็นลูกกระสุนขายให้คนที่มาจ้างกระผมปั้น แล้วเขาเอาไปเที่ยวยิงนก ยิงหนู ตอนกลางคืน กระผมจะมีเวร และบาปกับเขาหรือไม่ครับ
- เสน่ห์ คล้ายอ้น/นครสวรรค์ -

# คุณมีส่วนร่วมในการสร้างกรรม ก็จะต้องมีส่วนร่วมรับวิบากแน่นอนค่ะ ถ้าเป็นไปได้ เลิกงานนี้ ได้ไหมคะ หางานอื่น ที่ไม่เบียดเบียนใครทำ



จะทำอย่างไรให้คนมีจิตสำนึกเลี้ยงพ่อแม่ดีกว่าเลี้ยงสัตว์
- ประเทืองทิพย์ นุวรณ์/ขอนแก่น -

# ได้แต่บอกแล้วก็รอจนกว่าเขาจะเกิดปัญญาคิดได้เอง



ปัจจุบันทำไมคนเห็นแก่ตัวมาก ไม่รู้จักปล่อยวางโลภะ โทสะ โมหะ
- นิคม บุญโญรส/เชียงใหม่ -

# สภาพสังคมบีบบังคับและ ส่งเสริม ที่ว่าบีบบังคับก็เพราะเราเห็นแต่คนใจแคบ ไม่ช่วยเหลือ คนอื่น ชีวิตมีแต่ความเครียด แล้วก็เห็นแต่คนทำตามๆ กันโดยไม่ใช้ ปัญญาคิดอะไร เราก็เลยต้อง เอาตัวรอด เหมือนกัน ส่วนที่ว่าส่งเสริมนั้น ก็เพราะ ผู้มีอำนาจบริหารประเทศ และสื่อต่างๆ ส่งเสริมให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ตลอดเวลา เช่น การพนัน การแข่งขัน การละเล่นบันเทิง ต่างๆ นานา



เราจะผิดไหมถ้าไม่ได้ทำตามที่คนอื่นคาดหวัง
- เจริญพงศ์ ราษฎรินทร์/นครนายก -

# คำถามนี้ต้องการรายละเอียดเกี่ยวข้องเยอะ เช่นว่า คนอื่นนั้นเป็นใคร เป็นผู้มี พระคุณ ต่อเราหรือเปล่า สิ่งที่เขาคาดหวัง คืออะไร เป็นกุศลหรืออกุศล และกำลัง ของเราพอจะทำได้หรือไม่



ศาสนาใดมีคนนับถือมากที่สุดในโลกหรือในประเทศไทย คนอินเดียนับถือศาสนาใด มากที่สุด
- ธนาศักดิ์ บุรีศรี/จันทบุรี -

# ยังค้นข้อมูลไม่พบ อาศัยแต่ความจำซึ่งไม่เที่ยงว่า ศาสนา ที่มีคนนับถือมากที่สุด ในโลกคือ อิสลาม สำหรับประเทศไทย ก็ศาสนาพุทธ ส่วนคนอินเดียคงจะเป็นฮินดู หรืออิสลาม



ผู้อ่านจดหมายไม่เบื่อบ้างหรือ
- สามเณรทองสอน สุขแก้ว/เชียงใหม่ -

# ไม่เบื่อหรอกค่ะ ยินดีที่จะรับคำแนะนำจากท่านผู้อ่าน คำถามก็ทำให้เราได้ แลกเปลี่ยน ประสบการณ์กัน


บรรณาธิการทำอะไรบ้าง หน้ากลางของดอกหญ้าฉบับสู้เพื่อแผ่นดินพิมพ์ผิด หรือเปล่า ที่ให้แสดงความคิดเห็น ฉบับ ปลุกจิตวิญญาณครู
- จรวยพร ดวงภูมิเมศ/กรุงเทพฯ -

# พิมพ์ผิดค่ะ ขออภัยด้วย ส่วนหน้าที่บรรณาธิการดอกหญ้า นั้นก็คือ กำหนดแกน เนื้อหา แต่ละฉบับ แล้วก็ตั้งชื่อฉบับ ประสานกับผู้ออกแบบปก ผู้เขียนบทความ ประสานกับฝ่ายพิมพ์ต้นฉบับ และ จัดหน้าหนังสือ อ่านต้นฉบับเพื่อพิสูจน์อักษร หลังจากนั้น จึงลำดับหน้าว่า จะเรียงลำดับคอลัมน์ไหน ก่อนหลัง เราเรียกทับศัพท์ว่า ทำดัมมี่ (dummy) เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย พร้อมที่จะจัดพิมพ์ จึงประสาน กับโรงพิมพ์ จบด้วยการประสานกับฝ่ายจัดส่งหนังสือ และลงทะเบียนจดหมาย ตอบรับจากผู้อ่าน

ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำคนเดียวนะคะ ช่วยกันในกองบรรณาธิการค่ะ และส่วนใหญ่ไปตกที่ พี่น้อมคำ โดยเฉพาะ ช่วงหลังนี้ บรรณาธิการติดภารกิจด้านการศึกษา พอเรียนจบ ก็มีหนังสืออื่น ต้องทำอีกหลายเล่ม พี่น้อมคำ ซึ่งมีภาระมากอยู่แล้ว ก็ยังช่วยแบ่งเบา งานให้ วันสองวันก่อน ได้ยินเธอเปรยว่า สงสัยเป็นหนี้ มาแต่ชาติปางก่อน ที่จริง ก็ไม่ได้เป็นหนี้ใครหรอกค่ะ เราร่วมกันสร้างบุญใหม่มากกว่า



อยากให้เด็กทั่วประเทศลงว่าเขาประทับใจคุณครูของเขาอย่างไรบ้าง ที่ผ่านมา จะเห็น เฉพาะเด็กที่เป็นจุฬาชนบท เสียเป็นส่วนใหญ่
- ศักดิ์ พ้นชน/น่าน -

# เด็กจุฬาชนบทก็มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศนั่นเองค่ะ แต่จำกัดเฉพาะ เด็กยากจน ที่เรียนดี และได้เข้าเรียนที่จุฬาฯ ถ้าอยากทราบความคิด ความรู้สึก ของเด็กอื่น ที่ไม่ได้เข้าเรียน ที่จุฬาฯ และที่อาจ จะไม่ยากจน และอาจเรียนไม่ดี ต้องขอความกรุณาท่านผู้อ่าน ที่เป็นคุณครู ช่วยให้ลูกศิษย์ของท่าน เขียนจดหมาย ถึงบรรณาธิการ ดอกหญ้าได้โดยตรง ส่งไปที่ตู้ปณ.๑๒ ปณ.คลองกุ่ม กทม.๑๐๒๔๔ ไม่ต้อง ส่งคุณครูนะคะ เด็กจะได้เขียนจากใจจริง



๑. เมื่อไรจะจัดประชุมสัมมนาสมาชิกหนังสือดอกหญ้าของแต่ละภาคขึ้นมาครับ
๒. เมื่อไรจะลงภาพคณะ ผู้จัดทำหนังสือดอกหญ้าให้รู้จักบ้างครับ
๓. อยากให้แนะนำวัดป่าที่พระท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบผ่านทางหนังสือดอกหญ้า บ้างครับ
- สุรศักดิ์ สุตะปัญญา/เชียงใหม่ -

# ๑. อีกประมาณ ๑ ปีค่ะ ช่วงนี้ดิฉันติดงานวิจัยชุมชนชาวอโศกอยู่และยังมีงานหนังสือค้างอยู่อีกหลายเล่มค่ะ
๒. ถ้าไม่มีเรื่องจะลงหนังสือ ค่อยพิจารณานะคะ
๓. ยังหาคนไปเก็บข้อมูลให้ไม่ได้เลยค่ะ ต้องขออภัยด้วย ถ้างานอื่นๆ คลี่คลายลง คอลัมน์ ต่างๆ หลายคอลัมน์ ที่ท่านผู้อ่านแนะนำไป ดิฉันจะพยายามจัดทำต่อไปค่ะ



สมาชิกดอกหญ้ามีทั้งหมดกี่คน ถ้ายังรับประทานอาหารเนื้อสัตว์อยู่ ถือว่าผิดวัตถุ ประสงค์ ของชาวดอกหญ้า หรือไม่
- ศิริประภา วาเสนัง/มหาสารคาม -

# ประมาณ ๑๕,๐๐๐ คนที่รับดอกหญ้าประจำ จำนวนพิมพ์ ที่เกินจากนี้ แจกบุคคล ทั่วไปค่ะ นโยบาย ของดอกหญ้า คือการเผยแพร่ธรรมะสำหรับคนที่ถือศีล ๕ และ เราก็เพียงแต่หวังว่า ท่านผู้อ่าน จะพัฒนาตนเอง ตามกำลังของแต่ละท่าน ดังเช่น ที่หลายๆ ท่านเพียรพยายามอยู่ แต่ถ้ายังไม่พร้อม เราก็คอยเป็นกำลังใจให้



ดิฉันเป็นสมาชิกมาเป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี ไม่เคยส่งเงินช่วยเหลือสมาคม ผู้ปฏิบัติธรรม แต่ทำไม ยังส่งหนังสือ ให้อ่านมาตลอด
- พวงผกา พลสมัคร/อุดรธานี -

# มีผู้บริจาคช่วยพิมพ์หนังสือแจกค่ะ



หนังสือดอกบัวน้อยเป็นหนังสือที่จัดทำโดยสมาคมผู้ปฏิบัติธรรมด้วยหรือเปล่าคะ
- ลิขิต พลยศ/เชียงใหม่ -

# ใช่ค่ะ ดอกบัวน้อยเป็นนิตยสารสำหรับเด็ก กำหนดออกราย ๒ เดือน



๑. หนังสือรู้วิธีดีท็อกซ์ มีขายที่ปฐมอโศกหรือไม่
๒. อยากจะไปอยู่วัด จะติดต่อที่ปฐมอโศกได้ไหมคะ
- บุญสม ชัยมังคโล -

# ๑. มีค่ะ
๒. ได้ค่ะ ลองไปฝึกปฏิบัติเป็นครั้งคราวดูก่อนจะตัดสินใจนะคะ จะได้ทราบว่า มีอินทรีย์พละพอจะอยู่ได้หรือไม่



อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง ผมชอบข้อเขียนของท่านทุกเรื่อง ขอให้ท่านเขียน ลงดอกหญ้า เป็นประจำได้หรือไม่
- เคล้า เลิศทองคำ/นครศรีธรรมราช -

# ปกติท่านก็อนุญาตให้พิมพ์ซ้ำหนังสือของท่านลงในดอกหญ้าได้ค่ะ



บทความของอุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง นำไปพิมพ์เป็นเล่มบ้างหรือยังครับ ถ้าพิมพ์ ผมจะได้ไปหา มาอ่านอีก
- สมพงษ์ กมลวารินทร์/ปทุมธานี -

# บทความที่ลงในดอกหญ้า คัดลอกมาจากหนังสือเล่มค่ะ ถ้าต้องการหนังสือของท่าน ก็เขียน ขอไปที่ คุณอุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ตู้ปณ.๑๒ ปณ.คลองกุ่ม กทม. ๑๐๒๔๔ ส่งแสตมป์ค่าส่งหนังสือไปด้วยนะคะ เล่มละ ๔ บาทค่ะ แล้วอย่าลืมแจ้งชื่อที่อยู่ ไปให้ชัดเจนด้วยนะคะ



สมาคมฯจัดทำสติกเกอร์ข้อธรรมและสุภาษิตบริการสมาชิกหรือไม่ ถ้ามี ต้องทำ ประการใด ต้องการ นำไปเป็นสื่อการเรียนรู้ของนักเรียน
- สุรเชษฐ์ ครองงาม/บุรีรัมย์ -

# ไม่ได้ทำค่ะ


 

ทำอย่างไรคะหนูถึงจะเขียน ิลงในหนังสือดอกหญ้าบ้าง
- ธัญญาเบญจก์ ศิริวัฒน์/พัทลุง -

# เขียนมาได้เลยค่ะ ขอให้เป็นเรื่องมีสาระ ไม่ผิดศีลธรรม และยินดีให้บรรณาธิการ แก้ไข สำนวนภาษา



๑. ผมไม่ได้เป็นสมาชิก ของสำนักพิมพ์นี้ เหตุใดจึงส่งหนังสือไปให้ถูกต้อง เลยไม่รู้ เลขทะเบียนสมาชิก สำนักพิมพ์ จะส่งหนังสือไปให้อีกไหม ต้องรับผิดชอบอย่างไร
๒. ตัวแทนของสำนักพิมพ์ดอกหญ้าเคยพบผมที่ไหน
๓. เนื้อหาในหนังสือต่อไปเป็นเหมือนปัจจุบันไหม
- สุรสิทธิ์ เสาวโมกข์/เพชรบูรณ์ -

# ๑. คงมีสมาชิกดอกหญ้าเขียนใบสมัครรับหนังสือให้คุณกระมังคะ หมายเลขสมาชิก คุณดูได้จากป้ายชื่อ ที่อยู่หน้าซอง จะมีตัวเลขอยู่ ๒ กลุ่ม กลุ่มเลขห้าหลัก มีแต่ ๐ กับ ๑ เป็นรหัสสำหรับผู้ส่งหนังสือ อีกกลุ่มหนึ่ง มีตัวเลขต่างๆ กัน ๖ หลัก จึงจะเป็น หมายเลข สมาชิกค่ะ



น่าจะจัดตั้งกองทุนสำหรับ ผู้ที่สนใจอยากจะมีส่วนช่วย เผยแพร่ดอกหญ้า ให้กว้างขวาง ออกไป ดิฉันเชื่อว่า มีคนพร้อมสนับสนุนอีกมาก แต่ไม่รู้ว่า จะสนับสนุน ได้อย่างไร ช่วยเปิดโอกาส ให้หน่อยสิคะ
- สุดารัตน์ พสุนาถพงศ์/กรุงเทพฯ -

# สำหรับท่านที่ต้องการจะช่วยเผยแพร่ดอกหญ้า นอกจากจะช่วยจ่ายเงินแล้ว ต้องรับ หนังสือ ไปแจกเอง ด้วยนะคะ หมายความว่า ท่านสั่งซื้อหนังสือดอกหญ้า ไปแจก อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเป็นเวลา ๑ ปี เพื่อให้ ยอดพิมพ์ ที่แน่นอน สะดวกแก่ ฝ่ายจัดพิมพ์ ดิฉันถามฝ่ายการเงินแล้ว เขาบอกว่าราคาต้นทุน เล่มละ ๙ บาท แต่เขา จะคิดเพียง เล่มละ ๗ บาท แต่เมื่อบวกค่าส่ง อีกประมาณเล่มละ ๒ บาท ก็เป็นเล่มละ ๙ บาท อยู่นั่นเอง

ถ้าคุณสุดารัตน์ต้องการหนังสือไปแจกฉบับละ ๑๐ เล่ม ปีละ ๖ ฉบับ (๒ เดือน ๑ ฉบับ) รวม ๖๐ เล่ม เล่มละ ๙ บาท คุณสุดารัตน์ก็ส่งเงินไปให้สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม จำนวน ๕๔๐ บาทต่อปี

ท่านที่สนใจจะช่วยเผยแพร่หนังสือดอกหญ้าด้วยวิธีนี้ กรุณา ซื้อธนาณัติสั่งจ่ายไปที่ สมาคม ผู้ปฏิบัติธรรม ปณ. คลองกุ่มส่งไปที่ ตู้ ปณ.๑๒ ปณ.คลองกุ่ม กทม.๑๐๒๔๔ เท่านั้นนะคะ เพื่อแยกจดหมาย ออกจากเรื่องอื่นๆ ของสมาคมผู้ปฏิบัติธรรม

- หนังสือดอกหญ้า อันดับที่ ๑๑๔ เดือน กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๔๗ -