ปัจฉิมลิขิต
- กอง บก. -
ก่อนสิ้นแสงตะวัน แดดเรืองแสงร้อนแรงคลุมหล้าวับวาม คราวนี้มีข้อคิดดีๆ มาฝากท่าน ผู้อ่าน เป็นข้อคิดของศาสตราจารย์ คุณหญิงเต็มสิริ บุณยสิงห์ ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารขวัญเรือน ปักษ์แรก มกราคม ๒๕๓๗ หน้า ๑๐๘ (ถึงจะผ่านมาแล้วกว่าสิบปี ก็ยังปฏิบัติได้ ไม่ล้าสมัย แต่ให้ผลดีแก่ผู้ปฏิบัติแน่นอน) อันความสุขปีใหม่นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากความประพฤติปฏิบัติของตัวเราเอง และความชื่นชมจากการ แสดงน้ำใจ ที่ญาติพี่น้อง ศิษย์ และผู้คุ้นเคยมอบให้ หากจะให้พรเหล่านั้นบรรลุจุดหมาย ดิฉันขอมอบชุด ๔ ย เป็นของขวัญแก่ท่านผู้อ่าน คือ ย ยิ้มแย้ม เพื่อแสดงไมตรี จิตและความเป็นมิตร
โดยไม่ต้อง ลงทุนอะไรเลย แล้วยังกำจัดศัตรูไปในตัว
- วิธีง่ายๆ คงจะไม่มีหรอกค่ะ นอกจากว่าเราเป็นคนมีบารมีจริงๆ ถึงจะทำได้ง่ายๆ อย่างเช่นคำสอนสั้นๆ ที่ดิฉันจำได้ "ตั้งตนอยู่บนความลำบาก กุศลธรรมเจริญ" "ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหันต์โดยลำดับ" "พระเสขะผู้ประกอบด้วย องค์ ๘ (มรรค ๘) จึงเป็นพระอรหันต์ ประกอบด้วยองค์ ๑๐ (มรรค ๘ และ สัมมาญาณ สัมมาวิมุติ) " สรุปทางพ้นทุกข์ทางตรง ๓ ทางคือตั้งตนบนความลำบาก รักษาศีล และปฏิบัติมรรค ๘
- ปลูกต้นไม้สิคะ ถ้ามีที่ว่างบริเวณบ้าน ถ้าไม่มีพื้นที่ ก็หากระถาง มาปลูกต้นไม้ไว้ที่ระเบียงบ้านได้ ปลูกโหระพา กะเพรา พริก ต้นหอม มะเขือ หรือผักอื่นๆ ที่กินอยู่ประจำ จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย ถ้าพอมีสตางค์เหลือเฟือ ก็ทำอาหารไปเลี้ยงนักเรียนในโรงเรียนยากจนที่ ไม่ไกลเกินไปนักบ้างก็ได้ หรือจะทำ อาหารมังสวิรัติไปถวายพระ แล้วก็ช่วยล้างจานหลังพระฉันเพล หรือจะขอที่วัดปลูกผัก สำหรับทำอาหาร ถวายพระก็ยิ่งดี (ชวนสามีมาช่วยกันปลูกด้วยนะคะ) โอ้... งานมีเยอะ ค่ะ ถ้ายังมีเวลาว่างอีก คุณหา หนังสือดีๆ มาอ่านบันทึกเทป ส่งไปให้ห้องสมุดคลอฟิลด์สำหรับคนตาบอดก็ดีเหมือนกัน
- คนเรานี่ก็แปลกนะ กล้าทำผิด แต่เวลาจะทำดีกลับไม่กล้า ดิฉันปรารภกับตัวเองอย่างนี้เสมอ เวลาที่คิด จะทำ ความดี แต่ไม่กล้าทำ เคยเล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนบอกว่าเธอต้องทำนะ ขอให้ทำเถอะ ยิ่งเดี๋ยวนี้ไม่ค่อย มีใครทำ เราต้องทำ ทำแล้วมีประโยชน์จริงๆ ใครเห็นก็ชื่นชม อิ่มใจ และคิดที่จะทำสิ่งดีๆ ต่อไปอีก สำหรับบางคนที่อาจจะมีความรู้สึกในเชิงลบนั้น อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลยค่ะ เราทำอะไรเขาก็ไม่พอใจ ทั้งนั้นแหละ เพราะฉะนั้นทำความดีทิ้งไว้ในโลกดีกว่า การเอ่ยคำว่า "ขอโทษ" ก็เป็นความดีประการหนึ่ง
- กรรมหรือการกระทำเป็นสิ่งประเสริฐสุด มนุษย์เกิดมาเพื่อสร้างสมกรรมดี
- ทำงานด้วยเรียนด้วย ก็ลำบากหน่อยนะคะ แต่ความลำบากนี่แหละสร้างคน ว่าแต่ ก.ร.ต. นี่อะไรล่ะคะ
- หมวก ๖ ใบแทนจริตนิสัยหรือมุมมองต่างๆ ของคน ถ้าเรายอมรับความจริงว่าแต่ละคนมีธรรมชาติและวิธีคิดของตนเอง เข้าใจและให้โอกาสผู้อื่นได้แสดงตัวตนของเขา เราก็จะได้ขยายโอกาสการเรียนรู้ของตนเองด้วย บ้าน หน่วยงาน ชุมชน สังคมใดก็ตามส่งเสริมให้มีความแตกต่างหลากหลาย ก็จะสามารถสร้างสรรค์ "สิ่งมหัศจรรย์" ขึ้นได้ คนเราถ้าอยู่แต่กับคนที่ไม่คิดต่าง ก็ไม่มีโอกาสค้นพบสิ่งใหม่ ข้อสำคัญผู้นำต้องมีความสามารถในการบริหารความขัดแย้ง ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าคุณครูสั่งให้นักเรียนทั้งห้องเรียนทำรายงาน เรื่องเดียวกันตามที่ครูกำหนดให้ ทั้งครูและนักเรียนก็จะได้รับความรู้เรื่องนั้นเรื่องเดียว แต่ถ้าคุณครูให้นักเรียนเลือกทำรายงานได้ตามที่ นักเรียนสนใจ แล้วนำความรู้ที่แต่ละคนได้รับมาแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน ทุกคนก็จะได้รับความรู้หลากหลายกว่ากันหลายเท่า เพียงแต่ครูจะต้องทำงานหนักหน่อย เพราะจะต้องแนะนำแหล่งข้อมูลที่นักเรียนแต่ละคนจะไปค้นหาเรื่องที่สนใจได้ จะต้องให้คำแนะนำการวางโครงเรื่องรายงานที่แตกต่างกัน และจะต้องยอมรับว่าครูไม่ได้รู้ทุกเรื่อง จึงพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ พร้อมกับนักเรียน ผู้ใหญ่ ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจ หรือผู้อื่นใดๆ ในลักษณะเดียวกันนี้ ที่ไม่มีความสามารถในการบริหารความขัดแย้งก็จะไม่ค่อยอยากฟังความเห็นที่แตกต่าง ไม่อยากเห็นการกระทำที่แตกต่าง เราผู้น้อยสงบปากสงบคำไว้ก็ดีแล้วค่ะ ตามสุภาษิตไทยว่า "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" หรือ "เจ้าว่างาม ก็ว่างามไปตามเจ้า" เพื่อความสงบสุขของชีวิต แต่อาจไม่ส่งผลดีต่อสังคม การที่จะแสดงความเห็นต่างหรือประพฤติตนต่างออกไปต้องอาศัยความกล้าหาญและความเสียสละ ถ้าเราเห็นว่าเป็นผลดีต่อส่วนรวมจริงๆ ก็น่าจะลองดูบ้าง แต่ต้องพร้อมยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย สิ่งที่อยากฝากคือถึงแม้เราจะเป็นคนเล็กคนน้อยอย่างไร ทุกคนก็มีคนที่เล็กกว่า เปิดใจรับฟังเขาบ้างนะคะ
- หาคำตอบอื่นบ้างสิคะ ทั้ง คนถามและคนตอบจะได้ไม่เบื่อ เช่น กินเพื่อสุขภาพ เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ชวนให้กินผักมากกว่ากินเนื้อนะคะ แล้วยิ่งสถานการณ์ปัจจุบันประเดี๋ยวก็สัตว์ประเภทนั้นเป็นโรคนั้น สัตว์ประเภทนี้เป็นโรคนี้ หรือตอบว่าอาหารผักปรุงง่าย จะต้มหรือผัดก็ใช้เวลาไม่นาน ประหยัดก๊าซ ประหยัดไฟ หากอารมณ์ดีกันทั้งสองฝ่าย ก็อาจจะตอบว่า ไม่อยากใช้พุงของเราเป็นสุสานฝังศพ ถ้าคุณเป็นคนใจร้อน คุณก็บอกได้ว่า ฝึกเจริญเมตตา เผื่อว่างดกินเลือดเนื้อแล้ว จะใจเย็นลงบ้าง สำหรับเรื่องสารอาหาร เราก็ต้องดูแลให้ครบถ้วนค่ะ ถั่ว งา ผัก ผลไม้ อย่าให้ขาด ถ้าคุณเลิกอาหารเนื้อสัตว์ได้เด็ดขาดแล้ว ไม่จำเป็นต้องกลับไปกินอีกเลย
แทนที่คุณจะแก้ปัญหาด้วยการหันกลับไปกินเนื้อสัตว์อีก คุณน่าจะฝึกจิตใจไม่ให้รำคาญ
คนถาม เขาถาม เราก็ตอบ เขายังไม่เข้าใจ ถามอีก เราก็ตอบอีก พยายามคิดหาถ้อยคำใหม่อธิบายให้เขาเข้าใจ
ควบคุมอารมณ์ไม่ให้โกรธหรือหงุดหงิด เขาจะได้เห็นอานิสงส์ว่างดกินเนื้อสัตว์แล้ว
อารมณ์ดี ใจเย็นจริงๆ
- บอกเขาด้วยนะคะว่า บุญบารมีน่ะสร้างได้ หัดฝืนใจตัวเองบ้าง ความดีอะไรที่ยังทำไม่ได้ ลองพยายามทำ นิดหน่อยก็ยังดี
- บุญมากบุญน้อยอยู่ที่ใจค่ะ ไม่ได้อยู่ที่ของ ถ้าให้ด้วยใจเสียสละจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าให้ของรักของหวง ของที่ท่านขาดแคลน สิ่งที่ไม่ผิดศีลธรรม แล้วก็ให้แก่คนดีมีศีลธรรม อย่างนี้ถึงจะเป็นบุญ แต่ถ้าให้แล้ว ตั้งจิตขอโน่นขอนี่ ขอให้กุศลผลบุญส่งให้ตนเองได้ลาภได้ยศ ได้นั่นได้นี่ อย่างนี้ได้บุญน้อย เพราะให้ด้วยจิตขี้โลภ
- ยิ่งมีสิ่งเร้ามาก แต่เรามีอำนาจเหนือกว่า เราสามารถทวนกระแสสังคมได้ เราก็ยิ่งแข็งแรงและบำเพ็ญบารมี แก่กล้าขึ้น เหมือนนักเรียนยิ่งได้ฝึกทำโจทย์ยากๆ ยิ่งเก่ง ฉันเดียวกัน
- การที่เราเอาเครื่องช่วยหายใจออก ไม่ได้เป็นการตัดชีวิตท่านนะคะ แต่ละคนก็มีเวลาที่เหมาะสมของ ตนเอง การใช้เครื่องช่วยหายใจต่างหากเป็นการฝืนธรรมชาติ ในเมื่อทรัพยากรของโลกมีจำกัด ทำไมเราต้องทุ่มเททรัพยากรมารักษาชีวิตที่ไม่มีความหวังแล้ว ในขณะที่ยังมีอีกหลายชีวิต ซึ่งถ้าได้ใช้ทรัพยากรนี้ เขาอาจจะกลับมีร่างกายแข็งแรง ทำประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป อีกอย่างหนึ่ง เรารู้ได้อย่างไรว่า ขณะที่เราว่าเราช่วยคนป่วยนั้น คนป่วยต้องทุกข์ทรมานเพียงใดต่อการฝืนสังขารให้ดำรงอยู่ ส่วนเรื่องการขายอวัยวะ ตอบได้ยากเพราะมีเหตุปัจจัยประกอบหลายอย่าง ถ้าขายเพื่อต่อชีวิตตนเองและคนอื่นก็น่าจะไม่ผิดอะไร แต่ถ้าขายในราคาสูงมากจนคนซื้อและครอบครัวของเขาต้องทุกข์ยากลำบากมากเพื่อจะรักษาชีวิตคนคนหนึ่ง ก็ดูจะใจไม้ไส้ระกำไปหน่อย อีกอย่างหนึ่ง สังคมไทยก็ยังไม่ค่อย ชินกับการขายอวัยวะทั้งของตนเองและผู้อื่น ดิฉันเองก็ยังรู้สึกแปลกๆ เพราะคิดว่าชีวิตร่างกายของคนไม่น่าจะใช้เป็นสินค้า (รวมทั้งการขายตัวและขายผู้หญิงด้วย)
- ลองทำอะไรยากๆ ดูบ้างสิคะ เช่น ละอบายมุขทุกชนิด งดอาหารเนื้อสัตว์เด็ดขาด อาหารอะไรที่เคยชอบก็อย่ากิน คนมีศักดิ์ศรีต้องทำสิ่งดีๆ ในฐานะชาวพุทธได้ คุณลองทบทวนตัวเองดูหน่อยเถอะว่าในแต่ละวันทำคุณงามความดีอะไรให้แก่คนอื่นและส่วนรวมบ้าง คุณ มีความดีมากพอที่จะที่จะถือได้ว่าตัวเองมีศักดิ์ศรีแล้วหรือยัง
- ๑. ถ้าเกิดสถานการณ์ต้องการคนเก่งมาช่วยทำงาน หรือช่วยแก้ปัญหาอะไรบางอย่างที่เราคิดว่าเราทำได้ แล้วก็ไม่มีคนอื่นทำด้วย แต่เราก็ไม่บอกใครว่าเราทำได้ ดิฉันว่าน่าจะผิดนะ แต่ถ้าสถานการณ์ปกติ เราก็ไม่ต้องไปบอกใครหรอกค่ะว่าเราเก่ง แค่เราทำหน้าที่ให้ดีที่สุด มันก็แสดงตัวอยู่แล้วว่าเราเก่งหรือเปล่า ๒. อธิษฐานไม่ได้แปลว่า "ขอ" นะคะ แต่แปลว่า "ตั้งใจ" เพราะฉะนั้นเวลาสวดมนต์หรือทำบุญใดๆ ก็แล้วแต่ ควรตั้งใจว่าจะประพฤติตนเป็นคนมีศีล ดำรงตนอยู่ในธรรม ความตั้งใจของเราจะเป็นพลังเสริมให้เรามั่นคงในคุณงามความดี และคุณความดีของเราจะคุ้มครองเราเอง ตามพุทธศาสนสุภาษิตว่า "ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม" เราชาวพุทธต้องพึ่งคุณธรรมของเราเองค่ะ อย่าไปคิดพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เลย
- ๑. คนเราไม่ใช่ว่าจะทำทุกอย่างหรือหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกันหรอกนะคะ
ใครทำอะไรได้ก่อนก็ทำ ส่วนที่ยังทำไม่ได้ ก็ฝึกฝนต่อไป ๓ - ๔ สองข้อนี้ต่อเนื่องกับข้อ ๒ ด้วยค่ะ ถ้าไม่อยากรับประทานอาหารราคาแพงและไม่ต้องแสวงหาร้านอาหาร หัดทำเองสิคะ เริ่มจากอาหารง่ายๆ ก่อน ผัดผักสารพัดชนิดหมุนเวียนกันไปแต่ละวันค่ะ ง่ายกว่านั้นก็ต้มผักจิ้มซีอิ๊ว เต้าหู้ทอดใส่ซีอิ๊ว กินกับข้าว ก็อร่อยดีนะคะ แกงจืดเต้าหู้ ต้มน้ำให้เดือด ใส่เต้าหู้ ใส่ตำลึงหรือวุ้นเส้นลงไป (วุ้นเส้นต้องแช่น้ำให้นิ่มก่อนนะคะ) เติมซีอิ๊วเล็กน้อย น้ำตาลนิดหน่อย แล้วก็ต้นหอม ก็คงพออิ่มท้องได้ ถ้าอยากกินอาหารรสชาติแปลกใหม่บ้าง ก็ลองหาซื้อตำราอาหารเจหรืออาหารมังสวิรัติมาทำดู อีกหน่อยคุณก็จะเป็นแม่ครัวฝีมือดีได้ไม่ยากค่ะ ดิฉันโชคดีได้มาทำงานให้วัด กินข้าววัด ก็เลยไม่ต้องทำอาหารกินเอง แต่บอกคนอื่นให้เขาทำได้มาหลายคนแล้วค่ะ
- ไม่ทราบว่าเป็นเพราะผักหรือเต้าหู้ คุณลองผัดผักไม่ใส่เต้าหู้กินดูสัก ๗ วัน แล้วก็ทดลองผัดเต้าหู้ ไม่ใส่ผักกินดูอีก ๗ วัน ถ้าพบว่าเป็นเพราะเต้าหู้ คุณก็อาจจะเปลี่ยนไปรับประทานถั่ว ชนิดต่างๆ ต้มหรือตุ๋น ให้นิ่ม (แล้วก็อย่าลืมกินงาด้วยนะคะ) ถ้าเป็นเพราะผัก ก็ต้องสังเกตดูว่าผักชนิดไหนทำให้คุณเสียดท้อง คุณจะลองเปลี่ยนมาทำน้ำพริกผักต้มกินดูบ้างก็ได้ค่ะ พยายามรับประทานอาหารหลายๆ อย่างหมุนเวียน กันไป และสังเกตดูด้วยว่า อาหารชนิดไหนมีผลต่อ ร่างกายอย่างไร
- ๑. ๗ อ. ขยายมาจาก ๔ อ. นั่นแหละค่ะ ๗ อ. ได้แก่
อิทธิบาท อารมณ์ อาหาร อากาศ เอนกาย (พักผ่อน) ออกกำลังกาย และเอาพิษออก
- ๑. "สุวลี" ค่ะ
- แสงสูญไม่ได้พิมพ์มานานแล้วค่ะ ส่วนสารอโศกได้แจ้งให้ฝ่าย จัดส่งหนังสือตรวจสอบแล้ว ถ้าไม่ได้ส่ง ก็จะส่งให้ต่อไปค่ะ แต่ต้องขอความกรุณาตอบรับสม่ำเสมอ ด้วยนะคะ
- ๑. กว่าหมื่นคนค่ะ
- เริ่มทำประมาณ พ.ศ.๒๕๒๗ ยี่สิบปีมาแล้ว ต้นคิดคือคณะกรรมการสมาคมผู้ปฏิบัติธรรมแล้วก็คุณธนิดา พึ่งทอง บรรณาธิการคนแรกของดอกหญ้า เธอเรียนจบด้านศิลปะมาโดยตรง คงจะมีส่วนมากทีเดียว ในการวางรูปแบบ ดอกหญ้า
ดิฉันชอบอ่านคอลัมน์ คิดตามหนัง เพราะได้ไปเล่าให้นักเรียน ฟัง และนักเรียนก็ชอบด้วย
แต่สิ่งที่ดิฉัน ไม่เข้าใจ คือทำไมผู้ผลิตหนังไทยปัจจุบันนี้ จึงมักจะนำบทโป๊
มาใส่ในภาพยนตร์ บางเรื่องดิฉันอยากนำมา ให้นักเรียนดู เพราะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
แต่เมื่อดูแล้ว มีบทไม่เหมาะที่จะให้นักเรียนดู ดูแล้วเหมือนกับสังคมนี้กำลังมอมเมาเยาวชน
โดยขาดจิตสำนึกจากผู้สร้างภาพยนตร์ - ถ้าเป็นวิดีโอ คุณตัดตอนที่ไม่เหมาะสมออกได้นี่คะ ถ้าที่โรงเรียนมีฝ่ายโสตฯ ขอให้เขาตัดต่อให้ได้ไหมคะ ถ้าไม่มีคนตัดต่อให้ ก็ตัดเองได้ อัดทับภาพตอนนั้นไปเลยค่ะ
- ๑. ดอกหญ้ากำหนดออกรายสองเดือน ถ้าสมาชิกไม่ตอบรับ
นานๆ ก็จะไม่ได้รับหนังสือค่ะ เพราะเรา ไม่ทราบว่าได้รับหรือเปล่า หรือได้ประโยชน์บ้างไหม
เราอยากส่งให้คนที่ได้ประโยชน์มากกกว่าค่ะ เพราะงบประมาณมีจำกัด
- ๑. พระนิกายมหายานไม่โกนคิ้วค่ะ ในพระไตรปิฎกก็ไม่มีกำหนดให้ผู้จะบวชต้องโกนคิ้ว
อาจเป็นเพราะคิ้วมันยาวแค่นั้น ไม่ได้ยาวออกมาเรื่อยๆ เหมือนผม
- ๑. ท่านคงยังไม่พอกระมังคะ
- ๑. เพราะจิตใจอ่อนแอ ต้อง ใช้สิ่งเสพติดมอมเมาจิตใจตนเอง
จะได้ทำชั่วได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ
- แรงจูงใจประการหนึ่งของคนส่วนใหญ่ที่พากเพียรเรียนหนังสือสูงๆ ก็เพื่อจะได้มีโอกาสมากกว่าคนอื่น ในการกอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเอง เราจะอยู่กับพวกเขา อย่างมีความสุขได้ด้วยการอย่าไปคิดแข่ง หรือ เปรียบเทียบกับเขา เขาอยากได้ก็ให้เขาไป เราพอใจแม้มีอยู่น้อยก็แล้วกัน
- วิริยะคือความเพียร
- เอหิปัสสิโก แปลตรงตัวว่า จงมาดู จงมาเข้าใจ หมายความว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า
เป็นสิ่งที่เรียกให้ผู้คน มาตรวจสอบศึกษาได้ หรือท้าทายให้มาพิสูจน์กันได้
- เท่าที่ทราบมาก็มีหลายเหตุผล แต่ส่วนใหญ่ก็หนีทุกข์ ทุกข์จากความรักบ้าง จากครอบครัว จากปัญหา สารพัด สารพันมากมายในแต่ละชีวิต ชีวิตในวัดน่าจะสงบกว่านอกวัด ปัญหาแค่เรื่องอาหารการกินเรื่องเล็ก แต่ละวัดคงจะมีวิธีบริหารจัดการต่างกัน ถ้าวัดไหน แม่ชีต้องรับผิดชอบเรื่องอาหารการกินเอง ก็คงลำบากหน่อย แต่บางวัดก็ดูแลแม่ชีอย่างดีเช่นเดียวกับพระ
- ตรงกลางจริงๆ ก็คือไม่ดีไม่ชั่ว ซึ่งตามความเข้าใจของดิฉันแล้ว จุดไม่ดีไม่ชั่วนี้ไม่มีหรอกค่ะ ในโลกแห่ง ความเป็นจริง คนเราทำอะไรสักอย่างก็ตัดสินได้ทั้งนั้นว่าดีหรือชั่ว แม้แต่ไม่ทำอะไรเลย ก็ยังพิจารณาได้ว่า ดีหรือชั่ว เช่น ถ้าร่างกาย แข็งแรงดี สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ แล้วไม่ทำอะไรเลย อย่างนี้น่าจะค่อนไปทาง ไม่ค่อยดีเพราะขี้เกียจ แต่ถ้าป่วยหนักอยู่ ไม่ทำอะไรเลย ถือว่าดี เพราะรู้จักประมาณตน ไม่สร้างความลำบาก ให้ตนเอง การตัดสินความดีความชั่ว มีหลักเกณฑ์ง่ายๆ ค่ะว่า ถ้าเบียดเบียน คนอื่นนับว่าชั่ว ถ้าเป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่นนับว่าดี
ดอกหญ้า อันดับที่ ๑๑๖ พฤศจิกายน- ธันวาคม ๒๕๔๗ |