- ฟ้าเมือง ชาวหินฟ้า - "น้ำ" จาก "ฟ้า" ปัญหาภัยแล้งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หากไม่ได้ "ฝนหลวง" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทาน และทรงติดตามผลการดำเนินงานของโครงการฝนหลวงอย่างใกล้ชิด ความเดือดร้อน เสียหายคงจะเป็นไปอย่างรุนแรงกว้างขวาง ในบรรดาปัจจัย ๔ ที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญของชีวิตนั้น อาหารนับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด เพราะมนุษย์ จำเป็นต้องกินอาหารทุกๆ วัน เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ขณะที่น้ำคือรากฐานสำคัญที่สุดของห่วงโซ่การผลิตอาหาร ถ้าขาดน้ำ พืช สัตว์ และมนุษย์ ก็จะดำรงชีวิต อยู่ต่อไปไม่ได้ เพราะขาดอาหารหล่อเลี้ยงชีวิต ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลในเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงให้ความสนพระทัย ในเรื่อง การบริการจัดการน้ำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และพระราชทานโครงการพระราชดำริมากมาย หลายต่อหลาย โครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำของประชาชน ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีความมั่นคงในด้านอาหาร และเป็นเพียงหนี่งในบรรดา ไม่กี่สิบ ประเทศของโลก ที่สามารถผลิตอาหารได้เหลือเฟือ จนสามารถส่งออกไปเลี้ยงพลโลก ลองคิดดูว่า หากเกิดวิกฤติการณ์ภัยพิบัติในธรรมชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารของโลก อาทิ เกิดปรากฏการณ์ ภัยแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ จนทำให้อาหารในโลกลดน้อยลง ประเทศต่างๆ ที่อาจจะร่ำรวยมั่งคั่งด้วยน้ำมัน อุตสาหกรรมหนัก เทคโนโลยี สารสนเทศ การท่องเที่ยว ฯลฯ แต่ขาด ความมั่นคงด้านอาหาร ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้คนในประเทศเหล่านั้นจะเกิดจราจล และ จะฆ่ากันตาย เพราะการแย่งชิงอาหาร ด้วยความหิวโหย ในขณะที่ประเทศไทยซึ่งเป็น "มหาอำนาจด้านอาหาร" ถึงแม้ผลผลิตจะลดน้อยลง เพราะภัยพิบัติในธรรมชาติดังกล่าว แต่ตราบใดที่ยังมีอาหารเพียงพอจะแบ่งปันกันกินภายในประเทศ คนไทยก็จะไม่ถึงกับต้องฆ่ากันเพื่อแย่งชิงอาหาร อาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของห่วงโซ่การผลิตอาหารเลี้ยงดูพลโลก จึงเป็นอาชีพ ที่มีความสำคัญยิ่ง ในฐานะเป็นรากฐานที่ช่วยหล่อเลี้ยงและสร้างความมั่นคงให้กับอารยธรรม ของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม คนไทยกำลังเริ่มทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ลูกหลานของเกษตรกร ทุกวันนี้ที่มีโอกาส ร่ำเรียนสูงขึ้น เมื่อเรียนจบ ก็มักจะหันไปประกอบอาชีพอื่น โดยไม่อยากจะเป็นชาวไร่ชาวนาเหมือนพ่อแม่ที่มีฐานะยากจน เกษตรกร ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นผู้สูงอายุ ส่วนคนหนุ่มสาว มักจะหนีไปทำงานในเมือง เป็นอาชีพหลัก (ถึงแม้อาจ จะกลับมาช่วยทำนาบ้าง ช่วงฤดูทำนา เป็นอาชีพรองก็ตาม) พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และ "เกษตร ทฤษฎีใหม่" เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีอาชีพที่มั่นคง จึงนับเป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อ สังคมไทย ในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ "ความพอเพียง" หมายถึง "ความ พอดีพอประมาณอย่างมีเหตุผล" (ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของคำว่า "สัมมา" ตามหลักพุทธธรรม) ถ้าคนไทยสามารถเข้าถึง "ปรัชญา" หรือ "ปัญญา" ของ "ความพอเพียง" นี้ได้ รากฐาน ทางปัญญา (wisdom) ดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยแก้ปัญหาทุกอย่าง ของสังคมไทย รวมทั้ง การแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศด้วย "การทำเกษตรทฤษฎีใหม่" ก็คือตัวอย่างหลัก (paradigm) ของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ในขณะที่แบบวิถีการผลิต (mode of production) ตาม "ทฤษฎีเก่า" ที่เกษตรกรเคยชิน คือการทำ เกษตรแปลงใหญ่ หลายสิบไร่ โดยมองว่า "ที่ดิน" เป็นรากฐานของความ 'มั่งคั่ง' (wealth) ยิ่งมีที่ดิน เพาะปลูกมาก ก็จะยิ่งสร้างความมั่งคั่งได้มาก ฉะนั้นก็จะมีการบุกรุกทำลายป่าเพื่อจับจอง ขยายที่ดิน เพาะปลูก กว้างออกไปเรื่อยๆ การทำเกษตรแปลงใหญ่อย่าง "ไม่พอดีพอประมาณ" กับศักยภาพที่มีอยู่ จะก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากที่ดิน ไม่คุ้มค่า และสิ้นเปลือง "น้ำ" มาก ในปีหนึ่งๆ เกษตรกรจะปล่อยให้ ที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่หลายเดือน โดยใช้ประโยชน์จากที่ดิน ในการ เพาะปลูก เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น เพราะขาดน้ำสำหรับการทำเกษตร และปล่อยให้ดิน เสื่อมความอุดม สมบูรณ์ หากเปรียบเทียบกับโรงงาน ก็เหมือนใช้ประโยชน์จากโรงงานและเครื่องจักรในการผลิตปีหนึ่ง เพียงไม่ กี่เดือน ช่วงเวลาที่เหลือปล่อยให้โรงงานและเครื่องจักรถูกทิ้งไว้เฉยๆ อย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งเป็น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก หัวใจสำคัญของ "การทำเกษตรทฤษฎีใหม่" ก็คือ การปรับเปลี่ยนแบบวิถีการผลิตของเกษตรกร โดยหันมา ทำเกษตร ในที่ดินแปลงเล็กลง ให้ "พอดีพอประมาณ" กับศักยภาพของแต่ละครัวเรือน ภายใต้กรอบวิธีคิดที่ไม่ได้มองว่าการมี "ที่ดิน" มากๆ เป็นปัจจัยสำคัญของการผลิตที่จะนำไปสู่ ความมั่งคั่ง แต่มองว่า การมี "ปัญญา" ที่รู้จักการบริหารแปลงเกษตรด้วยความ "พอดีพอประมาณอย่างมีเหตุผล" อันเป็น การผลิตบนฐานทางปัญญา (wisdom base) คือปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่ง เมื่อผลิตในที่ดินแปลงเล็กลงอย่างมี "ปัญญา" เกษตรกรก็สามารถจะบริหารจัดการ "น้ำ" ที่มีจำนวน จำกัด ให้เกิด "ประโยชน์สูง ประหยัดสุด" ซึ่งจะส่งผลให้สามารถใช้ประโยชน์สูงสุด จากที่ดินแปลงนั้น ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี การบริหารจัดการแปลงที่ดินซึ่งมีขนาดพอเหมาะพอดีกับศักยภาพของแรงงาน จะก่อให้เกิดความมั่งคั่ง เพิ่มขึ้น จากความประหยัดของขนาดการผลิต (economy of scale) ตลอดจนการทำเกษตรแบบผสม ผสานที่ทำให้ผลผลิตหลายชนิด ซึ่งเชื่อม-โยงสัมพันธ์กันอย่าง "พอเหมาะ พอดี" ในห่วงโซ่ของการผลิต จะก่อให้เกิดความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นจากความประหยัดของ ขอบเขตการผลิต (economy of scale) แปลงที่ดินซึ่งมีขนาดพอเหมาะอันได้รับการบริหารจัดการอย่างมี "ปัญญา" (wisdon) ดังกล่าว จึงสามารถ ก่อให้เกิดผลผลิต (ต่อหน่วยต้นทุน) เพิ่มมากขึ้น หรือมีผลิตภาพ (productivity) เพิ่มขึ้นด้วยเหตุผล ดังที่ได้กล่าวมา หากเกษตรกรสามารถสร้างความมั่งคั่งได้เพิ่มขึ้น หรือใกล้เคียงกับของเดิม จากการใช้พื้นที่ทำเกษตร แปลงเล็กลง นัยะของผลกระทบที่ตามมาก็คือ จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล ต่อการแก้ไข ปัญหา เรื่องที่ดินทำกิน ของประชาชน การแก้ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า การแก้ปัญหาการทำลาย ทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาคนตกงาน การแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร ฯลฯ พระราชดำริเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและการทำเกษตรทฤษฎีใหม่" นี้ จึงนับเป็นภูมิปัญญาที่มีความลุ่มลึก ในเชิงเศรษฐศาสตร์ และมีนัยสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดคุณูปการ ต่อการแก้ปัญหาต่างๆ ของสังคมไทย อย่างกว้างไกล ไพศาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทาง ให้กับพสกนิกรชาวไทย - ดอกหญ้า
อันดับที่ ๑๑๙ พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๔๘ -
|