หน้าแรก >[09] การสื่อสาร > การเผยแพร่ธรรมะ >เราคิดอะไร

กติกาเมือง
- ประคอง เตกฉัตร - ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช

พระราชบัญญัติการค้าปลีก

ก่อนที่เราจะพูดว่าการมีพระราชบัญญัติการค้าปลีกหรือไม่ก็ดี การควบคุมไม่ให้ร้านค้า หรือห้าง ซุปเปอร์สโตร์ เปิดเพิ่มขึ้น หรือไม่ เราต้องมาตัดสินใจก่อนว่า เราจะเลือกให้สังคมเรา ของเราเป็นอย่างไร เราพอใจ กับการให้มีร้านขายของชำ หรือร้านโชห่วย ตามตรอกซอกซอยแบบเดิม และมีเจ้าของหลายๆ เจ้าของ หรือเราประสงค์จะให้มีร้านค้าดังกล่าว ที่แปรเปลี่ยนสภาพ จากสถานที่ขายสินค้า ไปรวมถึง แหล่งบันเทิง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือสวนสนุก เข้าไปด้วย ที่เราเรียกว่า ดิสเคานท์สโตร์ หรือ ซุปเปอร์สโตร์ หรือไม่ เราลองมาเปรียบเทียบ ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ที่เข้าควบคุม และไม่ควบคุม การค้าปลีก อย่างฝรั่งเศส กับอเมริกา หรืออย่างอินเดียกับญี่ปุ่น

ประเทศฝรั่งเศส และประเทศในยุโรป หลายประเทศ มีการจำกัดการเกิดใหม่ ของห้างสรรพสินค้า ประเภท ดิสเคานท์สโตร์ หรือ ซุปเปอร์สโตร์ ด้วยกฎหมาย และวิธีการต่างๆ ทำให้ห้างเหล่านี้ ที่มีอยู่แล้ว และตั้งอยู่ ร้านค้าปลีกต่างๆ อยู่ในสภาพผูกขาด กล่าวคือ ได้รับการจำกัด ให้การแข่งขัน จากการที่ห้างที่เกิดขึ้นใหม่ มีน้อยลง ซึ่งเป็นเหตุสำคัญ ทำให้ห้างเหล่านี้ ขายสินค้าได้ราคาแพงกว่า ที่ควรไปมาก จนกระทั่ง นักท่องเที่ยว ที่ไปจากประเทศต่างๆ หรือนิสิตนักศึกษา ต่างประเทศ ที่ไปเรียนในประเทศฝรั่งเศส เปรียบเทียบ ได้ชัดเจนว่า ราคาสินค้า ในประเทศฝรั่งเศสนั้น สูงเกินกว่า ความเป็นจริงมาก และ สูงกว่าสินค้า ในสหรัฐอเมริกา

ในประเทศสหรัฐอเมริกา การจำกัดการตั้งใหม่ของดีสเคานท์สโตร์ก็ดี ซุปเปอร์สโตร์ก็ดี เกือบจะไม่มี และเมื่อ ประกอบกับ การปล่อย ให้มีการแข่งขัน โดยเสรีอย่างสูง เกือบทุกรูปแบบ ทำให้ประชาชน ชาวอเมริกา สามารถ ซื้อสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค จากร้านค้าใหญ่ๆ เหล่านี้ได้ในราคา เกือบต่ำสุดในโลก จนทำให้ ร้านค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า ที่ไม่สามารถ พอที่จะแข่งขัน หรือที่จะขายของ มีคุณภาพ ที่ตลาดต้องการ ในราคาต่ำ ดังที่ประชาชน ต้องการ ต้องล้มเลิกกิจการไป เป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถสู้ กับร้านค้า ประเภท ซุปเปอร์ หรือ ดิสเคานท์สโตร์ได้ การแข่งขันดังกล่าว เป็นสาเหตุ ให้มีค่าครองชีพต่ำ และ มีความเจริญ ทางเศรษฐกิจสูง จี.ดี.พี. สูงขึ้นเฉลี่ยเป็นรายหัวสูง กว่าประเทศอื่นๆ ในโลก ทำให้รายได้ ของคนอเมริกา ตั้งแต่ชาวไร่ชาวนา ผู้ใช้แรงงาน ไปจนถึงบุคลากรอื่นๆ จัดว่าสูงมาก

การสงวนอาชีพ สำหรับคนไทยบางจำพวก ให้ดำรงอยู่ได้แต่เป็นเหตุให้คนไทยส่วนใหญ่ ต้องซื้อสินค้า ที่แพง และคุณภาพชีวิต ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร คือปัญหา ที่เราจะต้องพิจารณา มีร้านขายของชำ หรือโชห่วย ซึ่งขณะนี้ มีเกือบสองแสนร้าน ทั่วประเทศ ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการขนส่งสินค้า ในราคาสูง ไม่เหมือนกับ ห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ ทำให้ ไม่สามารถขายสินค้า สู้ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ได้ บางครั้ง ร้านขายของชำ หรือโชห่วย ก็ไปซื้อสินค้าจากห้าง หรือดิสเคานท์สโตร์ หรือ ซุปเปอร์สโตร์ อีกต่อหนึ่ง แล้วมาขาย เอาส่วนต่าง เป็นผลกำไร

ในประเทศอินเดีย มีหลักเกณฑ์ทำให้ห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นได้ยาก เพราะนโยบายของรัฐบาล ต้องคอยอุ้ม ร้านค้าปลีกเล็กๆ หรือแผงลอย หรือ คนหาบของขาย ให้อยู่ได้ตลอด นอกจากนี้แล้ว อินเดีย ยังใช้กฎหมาย คุ้มครอง อุตสาหกรรมเล็กๆ หรืออุตสาหกรรม ที่ไม่มีเทคโนโลยีสูงมาก ให้อยู่ได้ ทำให้ประชาชนอินเดีย ต้องบริโภคสินค้า ที่คุณภาพล้าสมัย และราคาค่อนข้างสูง สินค้าต่างๆ จากโรงงานดังกล่าว ขายได้ ไม่มากนัก เพราะราคาสูง ไม่มีคนซื้อ การส่งออก แทบไม่สามารถทำใด้ เพราะไม่สามารถ แข่งขัน กับตลาดโลกได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์โดยรวม ทางภาคอุตสาหกรรม มีน้อยมาก จี.ดี.พี. ของอินเดีย จึงตกต่ำ และ เกือบจะต่ำ ที่สุดในโลก

ถ้าเรา ออกพระราชบัญญัติ การค้าปลีก ออกมาก็อาจจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และประชาชน กลุ่มหนึ่ง ที่มีร้านโชห่วย หรือขายชองชำ และก่อให้เกิดระเบียบ ในกิจการค้าปลีก แต่กฎหมายดังกล่าวนี้ มีข้อยุ่งยาก พอสมควร ถ้าไม่มีกฎหมาย ดังกล่าวนี้ออกมา ในอนาคต โชห่วยต้องล้มเลิก ดิสเคานท์สโตร์ หรือ ซุปเปอร์สโตร์ ก็จะเพิ่มมากขึ้น ตามความต้องการของตลาด และมีการแข่งขัน ตัดราคากัน อย่างรุนแรง ต่อไป และจะมีกระจายออกไป ในต่างจังหวัด มากขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่า ประชาชน ก็มีโอกาส จะได้ซื้อสินค้า ในราคาถูกที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ รัฐบาลต้องคอย ควบคุมดูแล ผลประโยชน์ อันควรมี ควรได้ ของประชาชน ซึ่งเกิดจากการค้าเสรี พระราชบัญญัติ การค้าปลีกดังกล่าว จะต้องไม่ก่อให้เกิด พฤติกรรม ทำนอง ผูกขาดขึ้น ในวงการค้าปลีก ซึ่งจะเป็นการออกกฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรม ต่อประชาชน เพราะจะมีผล เท่ากับบังคับ ให้ประชาชน ต้องมีค่าครองชีพที่สูงขึ้น และ คุณภาพชีวิต ไม่ได้สูงขึ้น ตามไปด้วย การที่ประชาชน สามารถซื้อสินค้าได้ ในราคาถูกนั้น นอกจะทำให้ ดิสเคานท์สโตร์ หรือ ซุปเปอร์สโตร์ หรือ ห้างสรรพสินค้า ขายสินค้าได้มาก แล้วยังส่งผล ให้โรงงานต่างๆ ผลิตสินค้า ส่งไปขาย ได้มากขึ้น เมื่อมีการผลิตดีขึ้น ฐานะของคนงาน และเจ้าของโรงงาน ก็ต้องดีขึ้น เป็นธรรมดา จี.ดี.พี. โดยรวม ของประเทศชาติ ก็น่าจะต้องสูงขึ้นไปด้วย ผู้เขียนเห็นว่า การควบคุม หรือคุมกำเนิด ห้างสรรพสินค้า หรือ ดีสเคานท์สโตร์ หรือ ซุปเปอร์สโตร์ แม้จะมีผลดีอยู่บ้าง แต่ก็มีผลลบ ที่น่าจะนำ มาวิจัยด้วย

เรามีพระราชบัญญัติ การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๒ ด้วยความมุ่งหวัง มิให้เกิดการผูกขาด ในทางการค้า โดยห้ามไม่ให้ ผู้ใดประกอบธุรกิจ ที่มีอำนาจเหนือตลาด แต่การที่มีห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ หรือ มีดิสเคานท์สโตร์ หรือ ซุปเปอร์สโตร์ ก็จะเกิดผลเสีย เช่นเดียวกัน เช่น การกำหนด หรือ รักษาระดับราคา ซื้อหรือขายสินค้า หรือค่าบริการ อย่างไม่เป็นธรรม หรือการกำหนดเงื่อนไข ในลักษณะ เป็นการบังคับ โดยทางตรง หรือทางอ้อม อย่างไม่เป็นธรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นลูกค้าของตน ต้องจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ หรื อการจำหน่ายสินค้า หรือต้องจำกัดโอกาส ในการเลือกซื้อ หรือขายสินค้า การได้รับการบริการ หรือในการจัดหาสินเชื่อ จากผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือเป็นเหตุ ให้มีการระงับ การลด หรือจำกัดการบริการ การซื้อ การจำหน่าย การส่งมอบ และการนำเข้ามา ในราชอาณาจักร โดยไม่มีเหตุผล อันสมควร ทำลาย หรือทำให้เสียหาย ซึ่งสินค้า เพื่อลดปริมาณ ให้ต่ำกว่า ความต้องการ ของตลาด หรือการเข้าไปแทรกแซง การประกอบธุรกิจ ของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุ อันสมควร

การรวบธุรกิจเป็นอันตรายอีกประการหนึ่ง ในการมีห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ ที่จะส่งผล ต่อการ ผูกขาดตลาด ซึ่งการรวบธุรกิจดังกล่าวนั้น ยังหมายรวมถึง การที่ผู้ผลิต รวมกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย รวมกับ ผู้จำหน่าย ผู้ผลิตรวมกับผู้จำหน่าย หรือ ผู้บริการรวมกับผู้บริการ อันจะมีผลให้ สถานะของธุรกิจหนึ่ง คงอยู่ และธุรกิจหนึ่ง ทรุดลง หรือเกิดเป็นธุรกิจใหม่ การเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด หรือบางส่วน ของธุรกิจอื่น เพื่อควบคุม นโยบาย การบริหารธุรกิจ การอำนวยการ หรือการจัดการ ทั้งการเข้าซื้อหุ้นทั้งหมด หรือ แต่บางส่วน ของธุรกิจอื่น เพื่อควบคุมนโยบาย การบริหารธุรกิจ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของการผูกขาด และ มีโอกาส เป็นไปได้มาก ในกรณีห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่

การผูกขาดการแข่งขันเมื่อเป็นห้างสรรพ-สินค้าขนาดใหญ่นั้นทำได้หลายวิธี เช่น การกำหนด ราคา ขายสินค้า หรือบริการเป็นราคาเดียวกัน หรือตกลงกันหรือจำกัดปริมาณการขายสินค้า หรือบริการ หรือทำความตกล งร่วมกัน เพื่อเข้าครอบครองตลาด หรือควบคุมตลาด หรือกำหนดข้อตกลง หรือเงื่อนไข ลักษณะ สมรู้กัน เพื่อให้ฝ่ายหนึ่ง ได้รับการประมูล หรือประกวดราคาสินค้า หรือบริการ หรือ เพื่อมิให้ ฝ่ายหนึ่ง เข้าแข่งขันราคา ในการประมูล หรือประกวดสินค้า หรือการกำหนดแบ่งท้องที่ ประกอบธุรกิจ หรือ ลดคุณภาพของสินค้า หรือบริการให้ต่ำลง แต่จำหน่ายในราคาเดิม ทั้งการแต่งตั้ง หรือมอบหมายบุคคลใด แต่ผู้เดียว เป็นผู้จำหน่าย สินค้า หรือ ให้บริการ อย่างเดียวกัน ในประเภทเดียวกัน การกระทำ ดังกล่าวนั้น จะมีผล ให้เกิด การทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัด การประกอบธุรกิจ ของผู้ประกอบ ธุรกิจอื่นๆ เพื่อไม่ให้ธุรกิจอื่นอยู่ได้ และต้องล้มเลิก ประกอบธุรกิจ ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่ยกมาข้างต้นนี้ ล้วนแต่ เป็นผล ที่เกิดจาก มีการผูกขาด ทางการค้า และจะมีผลเสียหาย ในระยะยาวต่อไป ในการทำธุรกิจค้าปลีก

ฉะนั้น แม้การปล่อยให้การค้าปลีกเป็นไปโดยกลไกการตลาด ก็ตามมิใช่ว่าปัญหาดังกล่าว ข้างต้น ที่อ้างมานี้จะไม่เกิด ไม่ว่า รัฐบาลจะควบคุมห้างสรรพสินค้า ประเภทดิสเค้าท์สโตร์ หรือ ซุปเปอร์สโตร์ ก็ตาม หรือ รัฐบาลจะเข้าไปช่วยเหลือ ร้านค้าปลีก โชห่วย หรือร้านขายของชำ ก็ตาม รัฐบาล ต้องเข้าไป แก้ไข การผูกขาดสินค้า เพื่อมิให้เอาเปรียบ แก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอยู่เช่นเดิม มิใช่ระบบใด จะดีกว่าระบบใด แต่ทุกระบบต้องมีการถ่วงดุลตรวจสอบ เพราะมิฉะนั้นแล้ว ประชาชน จะถูกเอาเปรียบ อยู่เช่นเดิม และต้องไม่ปล่อยให้มีการผูกขาด จนประชาชน ไม่มีทางเลือก ต้องจำใจซื้อ หรือ ใช้บริการ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๕๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖)