ฉบับที่ 178 ปักษ์แรก 1-15 มีนาคม 2545 |
งานพุทธาภิเษก สุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๒๖ เริ่มจัดตั้งแต่วันเสาร์ที่ ๒๔ ก.พ.-วันเสาร์ที่ ๒ มี.ค. ๒๕๔๕ ได้สิ้นสุดการอบรมศีล ๘ ให้กับญาติธรรมทั่ว ประเทศลงอีกครั้งหนึ่ง ผู้ที่ได้ไปร่วมงานต่อเนื่องจะมองเห็นหรือสามารถสัมผัสความเปลี่ยนแปลง หรือการ พัฒนากว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะรูปแบบ ของการจัดงาน ในปีนี้ มีการปรับปรุงขึ้น หลายอย่าง ดังนั้น ผู้เข้าร่วมงานจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น การจัด ระเบียบที่พักให้ดูสะอาดสะอ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย ดังรายการ ๕ ส. (สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ สร้างสรร) ซึ่งในปีนี้ญาติธรรมมีการพัฒนารวดเร็ว เพราะมีการเรียนรู้ไว แม้จะได้รับ คำแนะนำ เล็กๆน้อยๆ และอาศัยเทคโนโลยีสมัย ใหม่ โดยใช้วิดีโอบันทึกภาพจริงมาเปิดให้ดูที่ศาลาประมาณ ๓-๕ นาที ทำให้เห็น สภาวะมักน้อย สันโดษแบบพุทธอย่างชัดเจน อันแตกต่างจากความมักง่าย สันโดษ ของนักปฏิบัติธรรมบางคนที่เข้าใจผิดคิดว่า เป็นลักษณะแบบพุทธ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาในเรื่องขบวนกลุ่ม โดยเฉพาะหน่วยงานต่างๆ จะมีผู้อาสา เข้ามารับผิดชอบมากขึ้น แม้แต่การทำอาหาร ในแต่ละวัน ก็จะมีคณะทำงาน ร่วมประชุมกับกลุ่มญาติธรรม ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน อาสาเข้ามาช่วยงานในจุดนี้ ฉะนั้นญาติธรรมที่คิดจะทำอาหารในที่ส่วนกลาง หรือจะทำอะไรก็ตามในที่ที่มิใช่ ส่วนตัวด้วยศรัทธา ก็จะต้องปรับปรุงตัวเองเสียใหม่ สำหรับคนที่เคยคิดเองทำเอง หรือไม่เคยทำงาน ในรูปขบวนการกลุ่มมาก่อน ก็พึงฝึกเรียนรู้และลดละอัตตา ๓ (โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา และอรูปอัตตา) ด้วยการรู้จักร่วมประชุม รู้จักปรึกษา หารือ ไม่เอาแต่ความคิดความเห็น ของตัวเองเป็นใหญ่ ขาดปรโตโฆษะ และ โยนิโสมนสิการ อันส่งผลให้ ขาดสัมมาทิฏฐิ ขณะที่อโศกกำลังก้าวไปไกลและลึก แต่เรากลับติดแป้น หรือขี้เกียจ หรือเฉื่อยชาต่อ การพัฒนา กลายเป็นผู้ที่ล้าหลัง ก็ย่อมตกรถด่วน ขบวนสุดท้าย หรือก้าวขึ้นไม่ทันรถ ด่วนขบวนนี้ซึ่งมีพ่อท่านเป็นสารถีแน่นอน ประดุจดังไดโนเสาร์ที่ต้องสูญพันธุ์ไปจากโลก เพราะไม่สามารถปรับตัว ตามความเปลี่ยนแปลงของโลกลูกนี้ได้. |
||||||||||||||||
มีด้วยหรือ! ที่มีคนทั้งหมู่บ้านมาฝึกเป็นคนจนอย่างพระพุทธเจ้า หาเงินได้ก็สละออก ให้ส่วนกลาง ไม่เก็บไว้ใช้ส่วนตัว แถมยังมีเวลา ช่วยคนอื่น โดยไม่หลงเอาเวลา ของชีวิตไปกับความโลภโมโทสัน คิดเอาเปรียบสังคมมาให้ได้มากๆ แต่กลับพยายาม เสียสละให้กับผู้อื่น และสังคม อย่างมีความสุข ธรรมะพ่อท่านฉบับนี้ ขอนำบางส่วนของการเทศนาของพ่อท่านเมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ. ๒๕๔๕ ช่วงเทศน์ก่อนฉัน ต่อหน้าเกษตรกรรุ่นที่ ๑๑ ที่มารับการอบรมในหลักสูตร สัจธรรมชีวิต ณ พุทธสถานศีรษะอโศก เพื่อยืนยันคำกล่าวข้างต้นดังนี้ "...เดี๋ยวนี้สังคมเข้าใจผิด มีความคิดผิด คิดให้กิเลสมันโต หลอกกัน เข้าใจผิดกัน หมด ทุกคนต้องมาหัดจน จนแบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สังคม จนแบบมีประโยชน์ เป็นคนที่ กล้าจน มักน้อย จะขายก็ขายราคาถูก คนเหล่านี้มีประโยชน์ต่อโลกต่อสังคม อย่างพระพุทธเจ้า ท่านทิ้งสมบัติ ทุกอย่างมาบวช ตลอดจนท่านตาย ท่านก็ไม่เอาอะไรเลย ท่านเป็นคนจนที่ประเสริฐ เป็นคนจนที่ยิ่งใหญ่ คนก็เคารพนับถือ ไม่ต้องขนาด พระพุทธเจ้าหรอก ยกตัวอย่างแค่อาตมาทุกวันนี้ ของกินของใช้ไม่ได้ขาด ก็ไม่ได้ใช้ อะไรมาก อย่างศีรษะอโศกเป็นหมู่บ้าน สร้างทุกอย่างเป็นส่วนรวม ไม่มีส่วนตัว กินใช้ ส่วนกลาง ก็ช่วยกันทำ เหมือนครอบครัวเดียวกัน ไม่สะสมมาก สะพัดออกไป มี เศรษฐกิจที่หมุนเวียน ไม่กักตุนไว้เหมือนทุนนิยม ทุกวันนี้สังคมทุนนิยม คือ กอบโกย ให้ตัวเองให้พวกร่ำรวย หัดจน ใครสะสมให้รวยเป็นความเลว การจะเป็นคนจนที่ ประเสริฐนั้นยิ่งใหญ่ ลัทธิทุนนิยม ตะกละตะกลามแย่งชิงมันเลว เราไม่งอมืองอเท้า ไม่ต้องไปหลงโลก ต้องไปดูนั่นๆนี่ๆ อะไรเป็นลามกอนาจาร ไม่ต้องโง่ให้โทรทัศน์ หลอกทุกวัน อะไรที่หามาได้ทุกวันนี้ มันถูกพวกโฆษณา โทรทัศน์หลอกซื้อ อันนั้นก็น่าได้ อันนั้นก็น่ามี แต่ถ้ามาเรียนรู้สัจจะดีแล้ว เป็นคนมีประโยชน์ ได้ช่วยผู้อื่นได้เกื้อกูลผู้อื่น เรียนหนังสือ ก็สอนให้เอารัดเอา เปรียบสังคม ได้เปรียบเขาอย่างนี้เลว ถ้าได้เปรียบมาก ก็ฉลองมาก ไปหลงดีใจที่ตัวเองเลว มันโง่ไม่รู้ตัว เพราะหลอกกัน..." ฟังธรรมะพ่อท่านครั้งนี้แล้ว เราคงมีความเข้าใจชัดขึ้น และมั่นใจว่า การมาฝึกตัว เป็นคนจนผู้ยิ่งใหญ่ อย่างพระพุทธเจ้านั้น มีความสุขกว่าความคิดเอารัดเอาเปรียบ เพื่อร่ำรวยเงินตรา แล้วเราจะได้กล้าจน มากกว่ากล้ารวย แบบคนทั่วไป มากยิ่งๆขึ้น เพื่อ จะได้ไม่เกิดมาเป็นคน แล้วถูกหลอกให้หลง จมปลักอยู่ในความทุกข์ จนโงหูโงหัวไม่ขึ้น. คนยากจน |
||||||||||||||||
เสร็จงานพุทธาฯ (๒ มี.ค.๔๕) พ่อท่านได้รับนิมนต์ให้ไปดูที่ดินที่ จ.กำแพงเพชร ซึ่งญาติธรรม ได้รวมกันซื้อไว้ หลายปีก่อน โดยแบ่งที่ส่วนหนึ่ง ให้ส่วนกลาง ใช้ทำประโยชน์ มาถึงวันนี้ ขณะที่พืชผลกำลังเจริญ เกิดมีผู้คิดโครงการ รวบรวมชาวอโศกที่ ไม่ต้องการอยู่กับสังคมทั่วไป แต่ก็ไม่สามารถ อยู่ในชุมชนอโศกอื่นๆได้ ด้วยต้องการ รายได้มากกว่า ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท/เดือน (ซึ่งเป็นอัตราสูงสุด ของชุมชนอโศกใน ระบบบุญนิยม ขณะที่หลายคนทำงานฟรีไม่มีรายได้เลย) ขณะเดียวกับที่คุณกฤช อาทิตย์แก้ว ผวจ.กำแพงเพชร ต้องการชุมชนตัวอย่าง ที่ทำ กสิกรรมไร้สารพิษ จึงได้มาเชิญชวน ชาวอโศก ให้ไปร่วม "เพชรผาภูมิ" เป็นชื่อชุมชน ที่ได้จากการลงคะแนนเสียง ของญาติธรรมกำแพงเพชร โดยมีคุณรัชนี อาทิตย์แก้ว ภรรยาท่านผู้ว่าฯ ได้รับเลือก ให้เป็นประธานโครงการ การประชุม ในค่ำคืนนั้น (๒ มี.ค.) ที่ลานหน้าบ้านท่านผู้ว่าฯ โดยมีท่านผู้ว่าฯ ร่วมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นตลอด ขณะที่ มีผู้มีแนวคิด เปิดกว้าง เอื้อกับคนนอก ที่ยังไม่สามารถปฏิบัติตัว อย่างชาวอโศกได้ แต่ก็มีศรัทธา และมีเงิน ที่จะมาจัดตั้งธุรกิจ แปรรูป พืชผล ขณะเดียวกัน ญาติธรรมที่บุกเบิก มอบที่ให้ส่วนกลาง กลับคิดต่างคนละขั้ว ต้องการให้อยู่สงบๆ ทำเพียงพออยู่พอกิน ไม่ต้องการ ให้มีรายได้ใดๆ เลยด้วยซ้ำ พ่อท่านพยายามประสาน แนวคิดสองขั้วนั้น ด้วยการยืดโอกาส ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก อัตราสูงสุด ๓,๐๐๐ บาท เป็นไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท/เดือน พร้อมสวัสดิการ และ สาธารณโภคี ก็ยังคงได้รับอยู่ แต่ติงแนวคิดเปิดกว้าง ให้มีรายได้มากๆ เท่าที่ความขยัน และ ความสามารถ ของแต่ละคน จะทำได้ พ่อท่านว่า คนคิดเช่นนี้ ไม่รู้จิตวิญญาณที่มีกิเลส จากประสบการณ์จริง ของชุมชนเครือข่าย ที่ผ่านมา เมื่อมีรายได้มากขึ้น ความเสื่อมในศีล ทุจริตกรรมอื่นๆ ความไม่ซื่อสัตย์ จะตามมา นอกจากนี้ พ่อท่านยังติง แนวคิดกว้างเอื้อ เพื่อคนนอกที่มีศรัทธา แต่ยังปฏิบัติ อย่างชาวอโศกไม่ได้ แต่สามารถมา ร่วมซื้อที่ดินในชุมชน เพื่อจัดตั้งธุรกิจแปรรูป พ่อท่านเห็นว่า ไม่ได้เป็นการสร้างคน โดยพ่อท่านหวัง และต้องการให้ "เพชรผาภูมิ" เป็นชุมชนที่ทำกสิกรรม เป็นสำคัญ ก่อนอื่น ที่สุดแล้ว การจะเข้ามาร่วมโครงการ "เพชรผาภูมิ" จะมีระเบียบการอย่างใด การจัดสรรรายได้ ควรจะเป็นอย่างไร ก็อยู่ที่คณะกรรมการ และสมาชิกของ "เพชรผาภูมิ" จะประชุมกันต่อไป ส่วนท่านผู้ว่าฯ กฤช ยังคงหวังและตั้งใจ ที่จะให้เกิดชุมชนตัวอย่าง ที่ทำกสิกรรมไร้สารพิษ โดยให้ค่าชาวอโศก อย่างยิ่งว่า ขอเพียง หางๆชาวอโศกมาช่วย ก็เชื่อว่า จะเป็นไปได้ ที่กำแพงเพชรนี้. เยี่ยมสวนของส่วนกลางกลุ่ม กำแพงเพชรอโศก ผู้ว่าฯ จ.กำแพงเพชร ประชุมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์ คุณหนึ่งแก่น บรรยาย นายกฤช อาทิตย์แก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร กำลังชี้ให้ดูเขตพื้นที่ |
||||||||||||||||
ชุมชนไร้สารพิษ ต.อ.สัญจร ชมร.เชียงใหม่ เลยแวะไปเยี่ยมชุมชนเชียงรายอโศก ซึ่งเป็นการไปครั้งแรก ก็รู้สึกประทับใจ กับหลายๆอย่าง ทั้งบรรยากาศ และผรช.(ผู้รับใช้) ที่เข้มแข็ง มีความกระตือรือร้นดี แถมยังได้ของฝาก เป็นผักสดไร้สารพิษ กลับมากินที่กรุงเทพฯอีกด้วย ครั้งนี้ได้นำวัตถุดิบธัญพืช ซึ่งได้แก่ ถั่วเหลือง, ข้าว กข ๕ ,ข้าว กข ๖,ข้าวมะลิ ๑๐๕ และข้าวเหนียวดำ ซึ่งปลูกโดยวิธีกสิกรรมธรรมชาติ คือ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมีและสารเคมีใดๆ แต่ใช้ปุ๋ยชีวภาพแทน กลับมาตรวจ เพื่อดูว่า มียาฆ่าแมลงตกค้าง อยู่ในดินหรือไม่ ก็ปรากฏว่า ปลอดภัยไร้สารพิษ ยินดี ด้วยจริงๆ ที่เราจะได้มีแหล่งวัตถุดิบ ที่ปลอดภัย สำหรับชาวเรา ไว้บริโภค และจำหน่าย แก่ลูกค้า (ก็ขอแจ้งข่าว มายังบริษัท ทั้งขายส่ง และปลีกของเรา รับรู้ด้วยนะฮะ) และ ยังมีอีกนะจะบอกให้ ชาวต.อ.แอบชิมกะปิกับน้ำปูเจ โอ้โฮ!กลิ่นรส อย่าบอกใครเชียว ขณะนี้ อยู่ระหว่างปรับปรุงให้เจ๋ง เพื่อเตรียมเป็นสินค้าออก ของเชียงรายอโศกต่อไป ทราบแล้วเปลี่ยน! ให้ไปเลย ๕ ดาว ก่อนถึงเชียงรายอโศก ชาว ต.อ.ได้แวะรับประทานอาหารที่ ร้านแม่แดงมังสวิรัติ โดยการแนะนำ ของคุณชัดคม โชเฟอร์ผู้มีน้ำใจ ซึ่งนอกจากบริการความสะดวก และยังพูดเล่าแนะนำ เรื่องราวต่างๆ ที่ชาวกรุงอย่างเราๆ ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง อีกทั้งต้อง ขอขอบคุณ คุณใบหญ้า เจ้าของรถ ผู้เอื้ออารีอีกด้วย แม่ค้าสมเป็นชาวอโศก ปราศจากความโศกเศร้า เปี่ยมด้วยรอยยิ้มของแม่ให้ ทั้งอาหาร และความรู้ทุกเรื่อง ที่ลูกค้าอยากรู้ (ลูกสาวแม่แดงกระซิบว่า แม่ต้องพกมือถือ เพราะมีลูกค้าโทรมาคุยเรื่องต่างๆอยู่เป็นประจำ) ร้านอาหาร แม้เป็นเพียงร้านเก่าๆเล็กๆ แต่คุณภาพคับแก้ว อาหารหลากหลาย จัดร้านอย่างมีระเบียบ เรียบร้อย และสะอาดมาก ตั้งแต่ หน้าร้าน ไปจนถึงท้ายครัว บรรยากาศชวนรับประทาน เรียกว่า อิ่มท้องและอิ่มใจไปด้วย ตอนขากลับ ก็แอบแวะ อีกที พบว่า เขาเก็บร้านเรียบร้อย ตรงสเปค ๕ ส. เลยเก็บภาพ มาให้พวกเราดูกัน งานนี้ ต.อ.ขอเพิ่มให้อีก ๑ ส. คือ เสน่ห์ ของ (ร้าน) แม่แดง ชาว ต.อ.ถึงกับสัญญิง สัญญาว่า ปีหน้า คงต้องหาโอกาส แวะมาอีกแน่... ผู้สนใจ เชิญทางนี้ ๒.วันที่ ๑๑-๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๕ มีการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประยุกต์เทคโนโลยีเภสัชกรรม เพื่อการผลิตตำรับยา และ เครื่องสำอางสมุนไพร ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม การอบรม และการประชุมครั้งนี้ ท่านใดสนใจ ติดต่อ ขอรายละเอียด ได้ที่ ต.อ.กลาง โทร.๐-๒๓๗๔-๙๕๗๐ หรือ ๐-๒๓๗๔-๕๒๓๐ ภายในวันที่ ๑๐ เม.ย.๒๕๔๕ นี้. |
||||||||||||||||
เช้าวันที่ ๒๘ ก.พ. ๔๕ ที่ศาลาฟังธรรมศาลีอโศก ได้มีการประชุมกสิกรรมไร้สารพิษ ในงานนี้ พ่อท่านได้เป็นประธาน มีสมณะผู้ใหญ่จาก ๓ พุทธสถาน และสมาชิกทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมอีกประมาณ ๑๒๐ คน เริ่มประชุมเวลา ๐๖.๓๐-๐๘.๓๐ น. บรรยากาศในที่ประชุมเป็นกันเอง อบอุ่น มีสาระ มีความรู้แปลกใหม่ จากสมาชิกผู้มีประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเตรียมดิน เตรียมปุ๋ย การปลูก การรดน้ำ การตลาด ตามแบบภูมิปัญญาของชาวบ้าน แทบจะ ครบวงจรก็ว่าได้ ตลอดเวลาการประชุมสมาชิกต่างก็ร่าเริง เบิกบานแจ่มใส ใคร่รู้ แต่เสียดายเวลามีน้อยนิด จึงต้องตามติดหลังไมค์เมื่อเลิกประชุมแล้ว ส่วนในวันที่ ๔-๖ พ.ค.ที่จะถึงนี้ จะมีงานเพื่อฟ้าดินที่บ้านราชฯ ซึ่งจะมีการเปิด ตลาดไร้สารพิษ งานนี้ก็คงจะคล้ายน้องๆ งานปีใหม่ สมาชิกท่านใดสนใจ โปรดติดต่อ กับผู้รับผิดชอบแม่ข่ายตามพุทธสถานแต่ละแห่งได้ พ่อท่านนั้นเน้นย้ำเสมอว่า "อโศกจะต้องเป็นชาวกสิกร" ๑.เราต้องพึ่งตนเองด้วยปุ๋ย ๒.ยารักษาโรค สอง ข้อนี้เราต้องพยายามทำให้ได้ (ชาวอโศกจะต้องเป็นกสิกรแข็งขลัง เป็นกระดูก สันหลังของชาติ และของโลกในอนาคต สามารถเสียสละได้อย่างมากมาย และเป็น คนจนที่อิ่มสุขให้ได้) ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้ นายถึงแก่น วาดทองหลาง อายุ ๕๒ ปี จาก ปฐมอโศก "มีความประทับใจในการเข้าฟังประชุมกสิกรรมไร้สารพิษเมื่อเช้านี้ คือ ประทับใจ กสิกรรมแบบของคุณไม้ร่ม เพราะไม่ต้องรดน้ำบ่อยๆ ให้เสียเวลา และตัวเองก็เคยทำมาแล้ว ในการปลูกแตง ได้ผลพอใช้ได้" นิสิตดาวเพ็ญ นาวาบุญนิยม อายุ ๔๕ ปี ม.วช.ราชธานีอโศก "ประทับใจจากการ ประชุมคือ ๑.ได้ความรู้หลากหลายทางกสิกรรมธรรมชาติ ๒.ได้ฟังโอวาทจากพ่อ ท่านที่เน้นให้ชาวอโศกเป็นชาวไร่ชาวนา เป็นกสิกร ทำการผลิตให้อุดมสมบูรณ์ จะได้พึ่งตนเอง และจำหน่าย จ่ายแจก ให้กับเพื่อนบ้าน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ" นายพรชัย อุตมานนท์ อายุ ๔๖ ปี ได้มีโอกาสนั่งฟังการประชุมครั้งนี้ เห็นความเข้มแข็งของชุมชน การพัฒนาด้านวิทยาการ จิตวิญญาณ ที่พัฒนายิ่งสูงขึ้นๆ ถ้าทำได้ และทำได้จริง ชาติจะรอดแน่นอน น้ำใจจะทำให้ไทยพ้นภัย" นิสิตดาวแพงขวัญ ชาวหินฟ้า อายุ ๓๓ ปี ราชธานีอโศก "ประทับใจที่ได้ความ เป็นญาติยิ่งๆขึ้น คนที่เป็นกสิกรคือผู้มีน้ำใจ ได้เนื้อหา สาระประโยชน์ ในการทำกสิกรรม วิธีการต่างๆ เป็นรูปธรรม สำหรับการทำงานเป็นทีม และประสานงานกัน และได้ ตอกย้ำทิฏฐิ ความเป็นผู้สร้าง ผู้ผลิต ผู้จัดการ และวิสัยทัศน์กว้างไกล ในการกู้ชาติ ด้วยการเป็นกสิกรแข็งขัน". ใบจริง.....รายงาน |
||||||||||||||||
ตอนนี้ที่ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนอินทร์บุรี ก็มีความก้าวหน้าหลายอย่าง มีการอบรม กสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ ปีนี้มีอบรม ๒๐ รุ่น เดือนหนึ่งอบรม ๒-๓ รุ่น ที่ อบรมมาแล้ว ๖ รุ่น มี ๑.จ.แพร่ ๒.อินทร์บุรี ๓.จ.นครนายก ๔.อ.บางระจัน ๕.จ.ลำปาง ๖.จ.อ่างทอง และยังมีแขกจรมาอีกแทบทุกวัน มาขอดูงานการทำ น้ำสกัดชีวภาพ ในการอบรมก็พอเป็นไปได้ การอบรมต้องมีพี่เลี้ยง ต้องมีสมณะ ที่อินทร์บุรีมีพี่เลี้ยง และสมณะน้อย แต่มีคนนอก ที่ไม่ใช่ญาติธรรม มาช่วยเยอะ วิทยากรหลักที่อยู่ประจำ ที่อินทร์บุรีก็มี เช่น เกษตรกรสมพงษ์ ปราชญ์ชาวบ้าน คือคุณณัฐธงชัย เข็มทองคำดี เป็นผู้เชี่ยวชาญ เรื่องสมุนไพร แล้วก็มีป้าเกลี้ยง มือทำจุลินทรีย์ เป็น ๓ ขุนพลหลัก มีผู้มาเสริมคือ สมณะณรงค์ ชินธโร และคุณรำพัน ชะเอม พร้อมกับ ญาติธรรม ศาลีอโศก และญาติธรรมจากศูนย์ฝึกผู้นำ อ.ชำนาญ อ.บรรจง อ.วินัย และ คุณสมพงษ์ ฟังเจริญจิตต์ เอาใจใส่ มาช่วย อย่างดีเลย ทีมจากกองทุน SIF ก็มา ช่วย เขาว่าเราได้ทุนแล้วทำคุ้มค่า เขาจึงหมุนเวียน มาช่วยเรา เป็นคณะเลย สถานที่ของชมรมฯ ใครมาก็ติดใจ ติดแม่น้ำ อากาศดี ออกกำลังกายเช้ามืด (รำกระบอง) วันสุดท้ายเล่นรอบกองไฟ ทุกอย่างก็ทำตาม ตารางอบรมปกติ เหมือนที่ทำกันอยู่ คือมีธรรมะภาคเช้า บรรยายเรื่องอาชีพกสิกรรมธรรมชาติ และภาคปฏิบัติ วันสุดท้าย เกิดการผูกพัน อยากอยู่ต่อ เกือบทุกรุ่นเลย และหากไม่ได้มาก็รู้สึกเสียดายมาก ตอนนี้มีหลายองค์กรมาขอจัดอบรม ทาง ธ.ก.ส.สิงห์บุรี มาขอใช้สถานที่เพื่อนช่วยเพื่อนเป็นหลัก ในการประชุมพิเศษ (การจัดที่อื่น ค่าใช้จ่ายสูง) หากเป็นเรื่อง ของเกษตรกร ก็ยินดีเลย ทางด้านการศึกษา ก็อยากให้เด็กมาอบรม สาธารณสุขก็ อยากให้มาอบรมทุกวัน ชาวบ้านจะมาเรื่อยๆ วันละหลายรอบ ต้องจัดเวทีต้อนรับ หลายแห่ง ที่นี่มีสวนพฤกษา นานาพันธุ์ มาดูสมุนไพร ผักพื้นบ้าน ไม้ดอก ไม้ประดับ มาดื่มน้ำลูกยอ คลอเสียงเพลง ริมฝั่งเจ้าพระยา บรรยากาศที่นี่ดีมาก หากใครต้องการไปหาความรู้และคลายเครียด หรือไปรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ก็เชิญไปเยี่ยมเยียนได้ที่ ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน อินทร์บุรี โทร. ๐๓๖-๕๘๑๙๒๒. โพธิ รายงาน |
||||||||||||||||
เมื่อวันที่ ๑๒-๑๖ ก.พ.๔๕ ณ หมู่บ้านศีรษะอโศก เปิดการอบรมหลักสูตร สัจธรรมชี วิต รุ่นที่ ๑๑ เป็นกลุ่มเกษตรกร ในเครือข่ายของ โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบ ผสมผสาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการไทย-เบลเยี่ยม มาจาก ๗ จังหวัดด้วยกัน เกษตรกรรุ่นนี้ต่างกับรุ่นก่อนๆ ตรงที่อยู่คนละจังหวัด คนละอำเภอ แต่มีกิจกรรม ประสานงานร่วมกันมาตลอด ผู้เข้าอบรมรุ่นนี้มีจำนวน ๑๑๔ คน เป็นชาย ๔๐ คน หญิง ๖๖ คน และเจ้าหน้าที่ จาก ธ.ก.ส.อีก ๘ คน มาจากหลายสาขาอาชีพ แต่ส่วนมากเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ หมู ปลา วัว เป็นต้น บางคนมีวัว ๔๐-๕๐ ตัว และคนเหล่านี้เคยได้รับเงินกู้จาก ธ.ก.ส. และในโครงการของไทย-เบลเยี่ยม บางคนมีอยู่มีกิน แต่ส่วนมากประสบ ปัญหาการเงินมากที่สุด ปัญหาที่เกษตรกรมีอยู่ในรุ่นนี้
ซึ่งก็ไม่ต่างจากรุ่นอื่นๆ ที่ผ่านมาคือ ส่วนความคาดหวังของรุ่นที่ ๑๑ นี้คือ การอบรมในรุ่นนี้ ยังคงนอนพักในโรงแรมธรรมชาติ คือ ใต้ต้นไม้ในป่าศีรษะฯ เหมือนเดิม เพราะที่พักยังสร้างไม่เสร็จ แต่ให้พักแยก เขตชายกับหญิงตลอด ๔ คืน ๕ วัน กิจกรรมการอบรมรุ่นนี้ไปได้ด้วยดี มีความพร้อมเพรียง ปฏิบัติตามกฎกติกา แต่ก็ต่าง จากที่มาใน วันแรกมาก สำหรับรุ่นนี้โชคดีมาก ได้มีโอกาสฟังธรรมก่อนฉัน จากพ่อท่านในเช้าวันสุดท้ายของงาน บรรยากาศวันอำลาสุดท้าย ผู้เข้าอบรมได้ไปดูงานที่สวนซำตาโตง และสวนของอาโก ซึ่งเป็นญาติธรรม ในเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ ซึ่งปลูกกระเทียมและผัก ต่างๆ โดยเฉพาะกะหล่ำปลี ซึ่งหัวใหญ่มาก ทำให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่น ในการที่จะกล้า เริ่มต้น กล้าเปลี่ยนแปลงจาก เกษตรเคมี มาเป็น เกษตรอินทรี และจะได้มีความ อยู่ดีกินดีขึ้น ผู้เข้าอบรม กลับมาทานอาหารมื้อสุดท้าย ของการอบรม ก่อนทานอาหาร มีกิจกรรมใส่บาตรสมณะ สิกขมาตุพร้อมกับพี่เลี้ยง โดยมีพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ เดิน นำบิณฑบาตโปรดสัตว์ หลังจากนั้นฟังเทศน์ และตอบคำถามโดยพ่อท่าน เพื่อฉุดดวง วิญญาณออกการความโลภ โกรธ หลง ด้วยวาทะขวานจักตอกและคมชัดลึก เสร็จแล้ว พ่อท่านเดินทางกลับ กิจกรรมสุดท้าย ผู้เข้าอบรมรับพรจากสมณะ สิกขมาตุและใส่บาตรสมณะและสิกขมาตุ ด้วยการตั้งจิตอธิษฐาน คิดใหม่ทำใหม่ ละ ลด เลิกอบายมุข ซึ่งผู้เข้าอบรม ส่วนใหญ่ตั้งใจจะเริ่มชีวิตใหม่ เพื่อเรียนรู้สัมมาทิฏฐิ ก่อนจากกันไปครั้งนี้พี่เลี้ยงเข้าแถวนำ ร้องเพลงคนสร้างชาติ
ตอกย้ำยืนยันว่า เรา จะเป็นคนสร้างชาติ พร้อมคำคม ของพี่เลี้ยง เป็นคติที่ควรจดจำ
สั้นๆง่ายๆ เป็นของ ฝากจากพี่เลี้ยง ที่หวังว่า น้องเลี้ยงจะนำไปใช้ได้
แล้วล้อมกันเป็นวงกลมร้อง เพลงอำลา หลายๆท่านประทับใจจนร้องไห้ ในสัญญาคนสร้างชาติที่เรามีวาสนาจะ
สร้างด้วยกัน เราคนสร้างชาติทุกคน จะรอคอย ทั้งผู้ที่เคยมาแล้ว และผู้ที่ยังไม่เคยมา
เพื่อความมี อานิสงส์อันสัมบูรณ์ ดังพ่อท่านนำพาต่อไป |
||||||||||||||||
เมื่อวันพุธที่ ๖ มี.ค.๒๕๔๕ สมณะกระบี่บุญ มนาโป ซึ่งได้เดินทางจากเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มาพัก รักษาตัวที่ปฐมอโศก เพื่อเตรียมตัวไปพักรักษาสุขภาพที่บ้าน ราชฯเมืองเรือ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ได้ถึงแก่มรณภาพในช่วงบ่ายๆ ของวันดังกล่าว ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ นับเป็นความสูญเสียนักรบแห่งกองทัพธรรมของชาวอโศกอีกรูปหนึ่ง ที่ได้มรณภาพใน เพศนักบวช หรือ สมณเพศ โดยรูปแรกที่มรณภาพคือ ท่านอิทธิปาทายุโก รูปที่ ๒ คือ หลวงปู่วราสโภ รูปที่ ๓ คือ หลวงปู่ ชยสาโร และรูปที่ ๔ คือ สมณะกระบี่บุญ มนาโป สมณะกระบี่บุญ มนาโป ซึ่งอาพาธด้วยโรคมะเร็งและรักษาโรคด้วยอาหารแมคโครไ บโอติคจนมีอายุยืนยาว เกินกว่าที่แพทย์กำหนดไว้ หลายปี เริ่มมีอาการไข้ขึ้นสูง ตั้งแต่ วันที่ ๕ มี.ค.๔๕ และไม่ได้หลับทั้งคืน จนถึง เวลาตี ๓ ของวันพุธที่ ๖ มี.ค. ก็เริ่มอาเจียน และถ่ายอุจจาระ ๒ ครั้ง อาการไข้จึงลดลง แต่การสำรอก น้ำลายได้ไหล ออกมาไม่หยุด โดยออกมาเป็นระยะๆ จนกระทั่งเวลา ๑๒.๕๐ น. ก็สำรอกออกมาหนัก จนปากเขียว ลิ้นจุกปาก แล้วหายใจถี่ ลมหายใจร้อน เวลา ๑๓.๐๐ น. เริ่มหายใจห่าง และช้าลง ระหว่างนั้น สมณะดาวดิน ปฐวัตโต ซึ่ง เป็นปัจฉาสมณะ กับคุณแก่นขวัญ อยู่ดูแลอาการตลอด ถึงขั้นต้องปั๊มหัวใจ พอดีคุณหมอสายัญ มาดูอาการตามปกติ พร้อมกับคุณธาตุบุญ ข่าทิพย์พาที โดยคุณหมอได้ ตรวจดูอาการ แล้วบอกว่า ท่านถ่ายและสำรอก แล้วเกิดอาการช็อค เพราะขาดน้ำ และน้ำตาลมาก ตรวจหัวใจ และชีพจร ก็รู้ว่าเต้นอ่อนมาก ก่อนกลับ คุณหมอได้แนะนำ ให้ท่านนอนพัก แล้วดูอาการไปเรื่อยๆ เวลา ๑๔.๐๐ น. ส่องดูนัยน์ตาของท่าน ก็ไม่มีอาการตอบรับ ลมหายใจแผ่วเบา ชีพจรเบามาก ท่านหลับ ในท่าที่สบาย จนผู้ดูแล ไม่คิดว่า ท่านจะจากพวกเรา ไปอย่างง่ายดาย ก็พยายามนวด ประคบ และ หยอดน้ำเชอร์รี่ แต่น้ำก็ไหลคืน ออกมาทางจมูก จึงนิมนต์สมณะแก่นหล้า วัฑฒโน มาเยี่ยมเยียน ดูอาการเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น.เศษ ในที่สุด พวกเราก็รู้ชัดว่า ท่านได้จากพวกเราไปแล้ว อย่างสงบ รวมอายุ ๕๐ ปี สมณะกระบี่บุญ มนาโป เดิมชื่อ นายอ้ม ทารินทร์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พ.ค. ๒๔๙๔ จ.อุบลราชธานี การศึกษา จบชั้น ป.๔ และนักธรรมโท อาชีพเดิมก่อนออกบวช คือ ทำนาทำไร่ ยังไม่เคยแต่งงาน เคยบวชเป็นพระ จากมหาเถรสมาคม ท่านได้สมัคร เป็นสมณะ เมื่อวันที่ ๗ ส.ค.๒๕๑๘ รวมอายุที่บวชได้ ๒๖ พรรษา ถือว่าเป็นสมณะ ระดับมหาเถรสมณะที่ได้มรณภาพ ศพของท่านได้ตั้งที่พุทธสถานปฐมอโศก และทำพิธีเผาในวันอังคารที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๕ ในวันเผาศพ ของท่าน พ่อท่านได้นำทำพิธี โดยมีสมณะ สามเณร สิกขมาตุ และ ญาติธรรม จากทุกภาค มาร่วมงาน เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขณะที่ท่านยังแข็งแรง ท่านได้ทำประโยชน์ให้กับศาสนาอย่างมากมาย ในช่วงที่บวชอยู่ ท่านมีกรรมฐานส่วนตัว คือ "เราจะไม่ห่อเหี่ยวในสิ่งไม่ประสบอารมณ์" และ "ยิ้มเสมอ เมื่อเจอผัสสะ" ส่วนคติธรรมประจำใจของท่านคือ "ไม่มีใครจะไม่ถูกด่า", "เราจะต้องมองคำด่า เป็นคำชมให้ได้" ที่สันติอโศกและปฐมอโศก ได้จัดบอร์ด รำลึกถึงความดีของท่าน ณ บริเวณศาลาฟังธรรม สมณะกรรมกร กุสโล (บวช ๒๘ พรรษา) ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวของเราถึงความ รู้สึกในการมรณภาพ ครั้งนี้ของท่านมนาโปว่า "รู้สึกเป็นธรรมดา ในเรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปดูสภาพศพ รู้สึกผ่องใส และคิดว่า ต่อไปตัวเอง ก็ต้องประสบเช่นนี้" สมณะมั่นแจ้ง พุทธชาโต (บวช ๒๔ พรรษา) ให้สัมภาษณ์ว่า "ก็เห็นว่าถึงอายุขัย ของท่าน และจากที่ ดูอาการ ของภันเตมนาโปแล้ว ได้เห็นว่าท่านมีความอดทนสูง แม้เวทนาจะแก่กล้า ท่านก็เพียงบอกว่า ท่านมีอาการไม่สบายอย่างไรเท่านั้น" สมณะแก่นกล้า วัฑฒโน "รู้สึกเกินความคาดหมาย เพราะช่วงไปเยี่ยมก่อนมรณภาพ ๑ วัน ภันเตยังยก ข้าวโพด ขึ้นมาแทะฉันเองได้ ๑ ฝัก ก็ดูแข็งแรง ดูช่วยตัวเองได้ มากขึ้นกว่าตอนมาจากเกาะสมุยใหม่ๆ และคิดว่า จะได้ไปพักฟื้น ที่บ้านราชฯ หลายคน ก็เตรียมการเดินทาง แต่พอถูกตามตัว ไปดูอาการ ช่วงเวลาประมาณ ๑๘.๑๐ น.พอจับชีพจร ใช้เครื่องตรวจหัวใจ แล้วก็สัมผัสดู ลมหายใจ ก็รู้สึกว่า ทุกอย่างอยู่ใน สภาพนิ่ง จึงบอกพวกเราว่า ท่านมรณภาพแล้ว" คุณใจดิน ชาวหินฟ้า "ได้รับข่าว การมรณภาพ
ของท่านมนาโป จากคุณใบพุทธ รู้สึกไม่อยากเชื่อ ไม่คาดคิดว่า ท่านจะจากเรา
ไปเร็วขนาดนี้ เมื่อได้รับการยืนยัน ก็ต้องเชื่อ ได้ไปเยี่ยมท่าน ก่อนไปงานพุทธาฯ
๑ วัน ท่านก็คุยด้วยหลายคำ เห็นพลังเสียงใส สมณะปัจฉาฯ ประคองเดิน ก็เดินได้ไกล
สำนึกของเรา ท่านคือบุคคลแรก ที่สละชีวิต อุทิศตัว รักษาสุขภาพ โดยวิธีแมคโครไบโอติคส์
ถึงแม้จะไม่หายขาด แต่เรารุ่นหลัง ได้ศึกษาข้อมูล จากท่านอย่างมากมาย ดิฉันจะเลือกเอาสิ่งดีๆ
มาร่วมสืบสาน การรักษา ด้วยวิธี ธรรมชาติบำบัด ต่อไป |
||||||||||||||||
การอบรมรุ่นแรก (๖-๑๐ ก.พ. ๔๕) เปิดงานโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงษ์ ได้รับกำลังใจอย่างเนืองแน่น ทั้งจากประธาน คกร. คุณธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ ไปช่วยบรรยายในรายการ "ชีวิตยังมีหวัง" คุณร้อยแจ้ง จากบ้านราชฯ ไปช่วยเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ในการเตรียมงานต่างๆ สาธุ ยินดีจ้าดนักเจ้า...ครูกระจาย บุญยัง รองหัวหน้าพรรคเพื่อฟ้าดิน และประธานสาขา ๘ เชียงใหม่ คุณเมืองหิน ลือโขง ก็พาทีมงานจากเชียงใหม่ ไปช่วยเตรียมงาน และอยู่ช่วยตลอดงาน ทั้งด้านพิธีกร/ พี่เลี้ยง/ งานครัว/ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ทีมสมณะภูผาฟ้าน้ำ นำขบวนโดยท่าน อาจารย์ ๒ สมณะเก้าก้าว สรณีโย สมณะเลื่อนฟ้า สัจจเปโม สมณะลานบุญ วชิโร สมณะหินเพชร ธัมมธีโร และสมณะวิเชียร วิชชโย เป็นความโชคดี ของเชียงรายอโศก ที่สมณะดวงดี ฐิตปุญโญ จากพุทธสถาน ศีรษะอโศก ได้ไปเยี่ยมโยมแม่ ที่ป่วยที่เชียงราย เลยได้ไปช่วยสร้างสีสัน ให้งานอบรมได้คึกคัก ได้รูปแบบ เนื้อหาสาระ จากต้นฉบับ ศีรษะอโศก นอกจากนี้ ยังมีพี่ๆน้องๆ จากบ้านราชฯ ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา ลำพูน และเชียงราย ประมาณ ๕๘ ชีวิต ไปช่วยกันเป็นเจ้าภาพ งานนี้อย่างอบอุ่น ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม ให้บริหารงานครั้งนี้ คือ อ.ไม้เพชร (สมพงษ์) กุระปะ ที่ตัดสินใจลา ออกจากครู เพื่อมารับภาระ เป็นกำลังสำคัญ ของเชียงรายอโศก ในการทำงานอบรม ในครั้งนี้ ในฐานะ ผ.อ.ศูนย์ฝึกอบรม จาวเจียงฮายอโศก ขอสาตุ๊ๆๆ งานอบรม "สัจธรรมชีวิต" รุ่นที่ ๑ นี้ ผู้เข้ารับการอบรมเป็นเกษตรกรจาก อ.ปง จ.พะเยา จำนวน ๗๕ คน ชาย ๔๙ คน หญิง ๒๖ คน เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.๙ คน รุ่นนี้จะเป็นกันเองแบบชาวบ้าน ชอบลุยฐานงาน ชอบทำงานมากกว่า รุ่นที่ ๒ (๑๓-๑๗ ก.พ. ๔๕) เป็นเกษตรกรจาก อ.เมือง จ.ลำปาง จำนวน ๗๘ คน ชาย ๔๙ คน หญิง ๒๙ คน เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ๑๐ คน รุ่นนี้ค่อนข้างจะเป็น สายปัญญา เพราะมีลีลาของชาวเมืองใหญ่ ชอบสนุก มีผู้ใหญ่บ้าน อบต. และศิลปิน อยู่หลายคน รุ่นนี้จะแต่งเพลง กันเก่งมาก บรรยากาศทั่วไป มีความเป็นกันเอง สบายๆแบบชาวเหนือ เน้นเนื้อหา สาระสัจธรรมชีวิต สอดแทรกด้วย เนื้อหาอาชีพ คือทำปุ๋ยหมักชีวภาพ สูตรของพ่อหน่อ ประมวลการ, น้ำหมักชีวภาพ หัวเชื้อดินระเบิด สาธิตโดย คุณต้นเสียงธรรม, น้ำยาอเนกประสงค์ โดยคุณอำนวย คลี่ใบ, ฐานงานการทำเห็ดต่างๆ โดยคุณสิทธิศักดิ์ คุณฝ่าฝัน และทีมพยาบาล ร่วมกันสร้างสีสัน เรื่องการแยกขยะ ได้ทั้งสาระและ บันเทิง ช่วงสันทนาการ ก็มีศิลปินเนืองแน่น การละเล่นพื้นบ้าน เพลงจ้อยซอ ดนตรี พื้นเมืองสะล้อซอซึง วงของญาติธรรม แบบต่างคนต่างมา แล้วมารวมวง กันหลังเวที แสดงให้เห็น ถึงความเป็นเอกภาพ ของพวกเราชาวอโศก เป็นที่ถูกใจ ของผู้เข้ารับการอบรม พวกเราเน้นสื่อ แสดงให้พวกเขารู้สึก ถึงคุณค่าของชีวิตชาวนา ให้เขาได้ซาบซึ้ง ถึงความเป็น "คนของแผ่นดิน" อย่างจริงจากหัวใจ ผลสุดท้าย ในวันอำลา ความประทับใจ ก็สื่อสัมผัสได้ ทางสายตา รอยยิ้มและน้ำตา แห่งความซาบซึ้งอาลัย ทั้งทีมงาน และผู้เข้ารับการอบรมถ้วนหน้า งานนี้ถือว่าเชียงรายอโศกสอบผ่าน เพราะไม่มีผู้เข้าอบรม หนีกลับบ้านแม้แต่รายเดียว ถึงแม้ว่า ในการอบรมรุ่นที่ ๒ จะมีฝนตก เกือบทั้งคืน กับอีกหนึ่งวัน แต่สถานการณ์นี้ ก็สร้างความประทับใจ ให้แก่ผู้เข้าอบรม ที่เราได้ช่วยเก็บของ ในที่พัก ไม่ให้เปียกน้ำ ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ได้เป็น คนของแผ่นดินร่วมกัน งานนี้เป็นงานรวมพลัง ของญาติธรรมชาวอโศก ทางภาคเหนือตอนบนโดยแท้ พวกเรารู้สึกถึง ความสมัครสมานสามัคคี ความเป็นพี่น้อง ภราดรภาพโดยแท้ ถึงแม้จะมีข้อบกพร่อง ในเรื่องพิธีกรยังไม่เก่ง ในเรื่องการนำเสนอ ด้านที่พักและห้องน้ำไม่เพียงพอบ้าง แต่ก็เป็นปัญหา ที่จะได้รับการแก้ไข ในโอกาสต่อไป. แมงเวา+ตะวันไพร รายงาน ๒๖ ก.พ. ๔๕ |
||||||||||||||||
การสัมมนาคุรุชาวอโศก ซึ่งเคยจัดที่สีมาอโศกในช่วงกลางเดือนมกราคม ได้ย้ายมาสัมมนาในงานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ ๒๖ ณ พุทธสถาน ศาลีอโศก เพื่อความสะดวกและลงตัวในหลายๆด้านทั้งบุคลากร เวลา และสถานที่ โดยใช้เวลา ๒ วัน คือวันที่ ๒๔ ก.พ. เวลา ๐๖.๐๐-๐๘.๓๐ น. และวันที่ ๒๕ ก.พ. เวลา ๐๖.๐๐-๐๘.๓๐ น.และ๑๒.๐๐-๑๗.๐๐ น. โดยมีพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ เป็นประธาน มีสมณะ เข้าร่วมประชุม ๑๗ รูป และสิกขมาตุ ๑๐ รูป คุรุจากสัมมาสิกขาแต่ละแห่ง ได้รายงานกิจกรรมการเรียนการสอนให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้ ศีรษะอโศก จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเอาการทำงานแต่ละฐานเป็นฐานงานของนร. โดยลงมือปฏิบัติจริงมิใช่เพียงแค่เรียนทฤษฎีเท่านั้น เช่น อาชีวะช่างฯ เรียนในฐานช่าง, อาชีวะพาณิชย์ เรียนในร้านน้ำใจ, การทำนา ลงมือปลูกข้าวในนาตั้งแต่ดำนาจนเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว และฯลฯ โดยจัดการศึกษาแบบองค์รวม อาศัยงานอบรมลูกค้า ธ.ก.ส. และกลุ่มผู้มาดูงาน เป็นบทฝึกให้นร.รับผิดชอบแต่ละแผนก โดยทำงานประสนกับชาวชุมชน ซึ่งได้พัฒนาทั้งตนและผู้อื่น ช่วยให้การศึกษาแบบองค์รวมพัฒนารุดหน้าไปพร้อมๆกันทั้งชุมชน และได้งานเพิ่มขึ้น สีมาอโศก ได้นำวิชาการในวิชาต่างๆไปใช้ในร้านอาหารมังสวิรัติทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ฝ่ายช่างเชื่อมได้ช่วยสร้างโรงครัวใหม่ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งงานอบรมบลูกค้า ธกส. นร.ก็มีส่วนร่วมรับผิดชอบกับผู้ใหญ่ ราชธานีอโศก แบ่งการศึกษาออกเป็น ๓ ระดับ คือ ประถมศึกษา(สมุนพระราม), มัธยมศึกษา และอุดรศึกษา(ม.วช.) ใช้การเรียนการสอน แบบบูรณาการ เช่นเดียวกัน ไม่ว่าฐานช่าง, ไฟฟ้า และ ฯลฯ โดยใช้งานอบรมลูกค้า ธ.ก.ส.เป็นบทฝึกภาคปฏิบัติ นร.ได้เข้ามามีส่วน ร่วมรับผิดชอบงาน แต่ละแผนกกับทีม ม.วช.และผู้ใหญ่ แม้แต่ทีมสมุนพระราม ก็มีส่วนร่วม ในงานอบรมฯ และงานของชุมชมด้วย ปฐมอโศก การเรียนการสอนของ นร.ชั้น ม.๑ สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน การเรียนวิชาการในฐานงาน กำลังเจาะลึกฐานทำเต้าหู้ ซึ่งจะทำเป็นตัวอย่างของหลักสูตรบูรณาการในฐานงาน ระดับอาชีวะฯ ได้เข้าร่วมแก้ปัญหาชุมชน ทุกสถานการณ์ เช่น การออกงานต่างๆ ของนร. รวมทั้งนร.ช่างกลหนัก รับผิดชอบ ทั้งที่ปฐมฯ และราชธานีฯ การทำเครื่องหีบอ้อย และทำอ้อยทราย ที่มะเซอย่อ จ.กาญจนบุรี, การคุมการก่อสร้าง แทนผู้ใหญ่ และการเป็นพี่เลี้ยง ในงานอบรมลูกค้า ธ.ก.ส. ศาลีอโศก จัดการศึกษาแบบองค์รวม นร.รับผิดชอบในฐานงานต่างๆ และมีส่วนร่วมในงานอบรมลูกค้า ธ.ก.ส. สันติอโศก จัดการศึกษาสอดร้อยกัน ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน(บวร) สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนและสังคม หินผาฟ้าน้ำ จัดการศึกษาสอดคล้องกับวิถีชุมชนเช่นเดียวกัน และนร.มีส่วนร่วม ในงานอบรม ธ.ก.ส.เช่นกัน พ่อท่านได้ให้โอวาท เน้นให้การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อเป็นผู้รับใช้ และการศึกษา ต้องติดดิน นร.ต้องทำกสิกรรมเป็น โอกาสนี้ผู้สื่อข่าว ได้ขอสัมภาษณ์คณะคุรุ ที่เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้ คุณส่องฟ้า ศิริโชติ อายุ ๓๙ ปี จากสีมาอโศก "บรรยากาศอบอุ่นมาก ได้ข้อสรุปที่ดี คุ้มค่ากับเวลาที่ได้ระดมความคิดกัน น้องใหม่ ที่องค์ประกอบ ยังไม่พร้อม ก็เห็นทิศทางแนวทาง ที่มีตัวอย่างชัดเจน ก็มีความหวังว่า จะปรับปรุงพัฒนาตาม แบบอย่าง ให้ได้ดีที่สุด ผู้ที่จะเป็นครูคนนั้น ต้องเป็นผู้มีความสมบูรณ์ มีใจที่เต็มพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ โดยเฉพาะคุรุสัมมาสิกขานั้น ไม่ง่ายเลย การได้อยู่กับเด็ก เราก็ได้ฝึกตัวเอง อย่างยิ่ง ต้องควบคุมอารมณ์ อดทนกับสิ่งที่ ไม่ถูกใจอย่างมาก" นิสิตฝั่งบุญ ชาวหินฟ้า อายุ ๓๙ ปี จากราชธานีอโศก "เป็นการสัมมนาที่พัฒนาขึ้นมากจากปีที่แล้ว โดยเฉพาะ วาระการเรียนการสอน แบบบูรณาการ บรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น สนุกสนาน เข้าถึงเป้าหมายการศึกษา ตามแนวบุญนิยม ได้มากทีเดียว การสอนแบบองค์รวมประทับใจที่เด่นๆ คือ ศีรษะอโศก และราชธานีอโศก ที่อื่นๆ ก็พัฒนาไปอย่างอบอุ่น" คุณม่านพร ขวัญสำราญ อายุ ๕๗ ปี จากหินผาฟ้าน้ำ " ได้เป็นความก้าวหน้า ของการจัดการศึกษา จากการเอาภาระของคุรุ แม้จะหนักอย่างไร รายได้ของคุรุ คือการฝึกฝนตนเอง บรรยากาศอบอุ่น สาระการสัมมนา เข้าทิศทาง จะอย่างไรก็ยังมี ข้อที่ควรจะปรับปรุง ต่อเติมให้ดียิ่งๆขึ้น เป็นต้นว่า หลักสูตรรายวิชา โดยเฉพาะวิชาเลือกเสรี ที่เหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของชุมชน แต่ละโรงเรียน ควรจะได้เขียนเอง ตามระดับชั้น ถ้าเราทำได้ จะสมบูรณ์มาก คิดว่าหลายแห่งคงดำเนินการอยู่" คุณฝุ่นธรรม ตันตมณีรัตน์ อายุ ๓๔ ปี จากสันติอโศก "ได้เห็นการพัฒนา การก้าวหน้า ของการศึกษาบุญนิยม ที่คุรุแต่ละร.ร. ได้ดูแลนักเรียน ด้วยระบบศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็กนักเรียนด้วยคุณธรรมของศีล ๕ ละอบายมุข สอนให้เด็กเป็นงาน ช่วยเหลือตนเอง โรงเรียน รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาชุมชน แต่ละแห่ง เด็กๆสามารถบูรณาการ เขียนผลงาน ประโยชน์จากงานอาชีพ ที่ฝึกฝนมาได้ เป็นเอกสารรูปเล่ม ให้ผู้สนใจ เรียนรู้ต่อไปได้ เมื่อพวกเขาจบ ออกไปจากโรงเรียน ไม่มีคำว่าตกงาน แม้ในเศรษฐกิจ ตกสะเก็ดเช่นนี้ เพราะพวกเขาได้ฝึกตน ในการรักษาศีล ฝึกติดดินในการทำงาน ย่อมเป็นคุณภาพ ที่ไหนๆ ต้องการร่วมงานด้วย และสามารถพึ่งตนเองได้ ส่วนประโยชน์ที่ได้สำหรับคุรุ ได้ฝึกเสียสละแรงกายแรงใจ
ไม่รับเงินเดือน สอนถ่ายทอดวิชาให้ฟรีๆ ด้วยความรักความเมตตา ได้ปฏิบัติธรรม
ตามมรรคองค์ ๘ ที่พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์นำพาสอน รู้สึกต้องพากเพียรต่อไปในการลดละกิเลส
อัตตามานะ หัดยอมน้อม เข้าประสานกับ ทีมงานคุรุด้วยกัน เพื่อความอบอุ่น
ภราดรภาพ ในการทำงาน และเพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม" สัมมนาเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ (คกร.) เมื่อวันที่ ๒๖ ก.พ. ๔๕ ณ งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ ๒๖ ระหว่างงานได้มีการประชุมเครือข่ายชาวอโศกทั่วประเทศ ถึงงานอบรมลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ได้รับการพักชำระหนี้ โดยเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ ในโครงการพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตเกษตรกร โดยแต่ละแห่ง ได้รายงานการอบรม ดังนี้ สีมาอโศก อบรมได้ ๘ รุ่น รวม ๘๗๙ คน เกษตรกรประทับใจการต้อนรับและธรรมรับอรุณ หลังการอบรมฯ จะมีการติดตามประเมินผลเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรม
โดยเน้น ๕ หัวข้อ คือ พ่อท่านให้โอวาทปิดท้ายว่า เครือข่ายทำงานเป็นตัวถักทอได้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน มีเหตุปัจจัย ทำให้เราดีขึ้น คนที่ไม่เคยคิด ก็ได้คิด คนมีภูมิสูง เขาสัมผัสเรา จะรู้ว่าไม่ธรรมดา เราเป็นสังคมตัวอย่าง คนมารวมกัน แสดงพฤติกรรม จะได้เห็นวัฒนธรรม ความพร้อมใหม่ๆนี้ต้องทำให้ดี เราจะต้องเข้มข้น แข็งแรง ความหวังใหม่ของเราก่อเกิดแล้ว เราทำจริง ร่วมใจสร้างชาติ เป็นคนของแผ่นดิน |
||||||||||||||||
ก่อนเริ่มงานประมาณ ๑ สัปดาห์ สมณะ, สิกขมาตุ, ญาติธรรม, นิสิต ม.วช. จากเขตศีรษะฯ-ปฐมฯ-ราชธานีฯ และนร.สัมมาสิกขา จากสันติฯ-ปฐมฯ-ศีรษะฯ เดินทางมาช่วยเตรียมงาน ทำให้บรรยากาศ ของการเตรียมงานอบอุ่น แม้อากาศร้อน จะเริ่มมาเยือนแล้วก็ตาม และเป็นครั้งแรก ของงานพุทธาฯ ที่นิสิตจากม.วช. ได้เข้ารับผิดชอบ เป็นแม่งาน แทนผู้ใหญ่ ครั้งนี้มีสมณะเกจิอาจารย์ ๔๔ รูป และสิกขมาตุเกจิอาจารย์ ๑๖ รูป ทำหน้าที่พุทธาภิเษก ด้วย อานุสาสนีปาฏิหาริย์ สร้างคนให้เกิด อาริยญาณ สำหรับรายละเอียดของงานมีดังต่อไปนี้ หลังจากนั้นพ่อท่านเทศน์ก่อนฉันว่า สังคมยุคไร้ระเบียบ ต่างคนต่างยึดต่างอิสระ ตามความโลภโกรธหลง ล้วนนำสังคม ไปสู่การล่มสลาย ในอนาคต คือกลียุค ผู้คนจะรอดได้ ด้วยบุญนิยม แล้วพ่อท่าน นำกล่าวปฏิญาณอุโบสถศีล รายการธรรมะแต่ละวันมีดังนี้ ทำวัตรเช้า ธรรมก่อนฉัน ธรรมภาคบ่าย สำหรับกลุ่มทำกิจกรรม ซึ่งเป็นงานบำเพ็ญบุญ ให้กับชุมชนศาลีอโศก แบ่งออกเป็น ๑๑ กลุ่ม คือ ๑.สะสางหมู่บ้าน ๒.ถางหญ้าบริเวณกุฏิ ที่พักของพ่อท่าน ๓.หั่นขมิ้นและสะสางต้นไม้ ๔.ทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ ๕.ใส่ปุ๋ยจุลินทรีย์แปลงผัก ๖.เก็บผักขี้หูด ๗.ถอนหญ้าแปลงผัก ๘.รดน้ำจุลินทรีย์ แปลงผัก ๙.ทำน้ำหวาน หมักชีวภาพ ๑๐.กรอกน้ำจุลินทรีย์ ๑๑.ถอนตอซังข้าว และ ๑๒.เก็บเมล็ดสะเดา แต่ละกลุ่ม มีหัวหน้ารับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อฝึกเป็นผู้ตามที่ดี แม้ว่าหัวหน้ากลุ่ม จะเป็นเด็ก ไม่ทำตามภพของตัวเอง โดยไม่สอบถาม ทำให้เรารู้จัก ตัวเองมากขึ้น เพื่อความสามัคคี เป็นพี่เป็นน้องกันมากขึ้น ลดการถือสา ให้อภัย และวันที่ ๒๘ ก.พ.-๑ มี.ค. เป็นรายการตอบปัญหา ให้ทะลุสัญญาเวทยิตนิโรธ โดยพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ มีสมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ ช่วยอ่านคำถาม ให้วันแรก วันที่ ๑ มี.ค. เวลา ๑๗.๐๐ น. มีการฌาปนกิจศพญาติธรรมเก่าแก่ของศาลีอโศก คือยายเคลือบ (สุขเย็น) ณ พุทธสถานศาลีอโศก ซึ่งได้เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ ๒๘ ก.พ. รวมอายุได้ ๙๕ ปี ญาติธรรมที่มาร่วมงาน ร่วมฌาปนกิจศพ เป็นจำนวนมาก และพ่อท่าน ได้ให้โอวาท ก่อนประชุมเพลิง ธรรมภาคค่ำ พิเศษสุด ในคืนวันที่ ๒๖ ก.พ. คืนมาฆบูชา พ่อท่านได้แสดงธรรม ย้ำเน้นให้แต่ละคน ขวนขวายเพิ่มขึ้น ลดละเลิกกิเลส ให้ถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ บรรยากาศทั่วไปของงาน ปีนี้อากาศค่อนข้างร้อนในตอนกลางวันและตอนหัวค่ำ ในช่วงเช้าอากาศจะเย็นสบายที่สุด การงานแต่ละแผนก มีนิสิตม.วช. และนร.สัมมาสิกขาฯ จากแต่ละแห่ง เข้ามารับผิดชอบ อย่างขยันขันแข็ง ทดแทนแรงงาน ของผู้ใหญ่ ที่นับวัน จะถดถอย ลงไปเรื่อยๆ วันแรกของงาน ญาติธรรมให้ความร่วมมือมาลงทะเบียนเช่นเคย และมีญาติธรรมใหม ่มาร่วมงานเป็นครั้งแรก ประมาณ ๑๐๐ กว่าคน ด้านอาหารเริ่มลงตัว ญาติธรรมแต่ละกลุ่ม ชุมชนหมุน เวียนเข้ามาเป็นแม่ครัวในแต่ละวัน โดยใช้ผักไร้สารพิษ ปรุงอาหาร เลี้ยงผู้มาร่วมงาน ตลอด ๗ วัน และมีรายการอาหารแกงถั่ว เพื่อสุขภาพบริการด้วย เพราะนักมังสวิรัติ ต้องเป็นนักบริโภคถั่ว ช่วง ๐๖.๐๐ - ๐๘.๐๐ น. หลังทำวัตรเช้า , ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. ของแต่ละวัน หลังรับประทานอาหาร และ ๑๖.๑๕-๑๗.๑๕ น. เป็นการสัมมนาคุรุ, สัมมนา คกร., ประชุมพรรค พ.ฟ.ด., ประชุมกสิกรรมธรรมชาติ, พาณิชย์บุญนิยม, ประชุม ต.อ., ประชุม สาธารณสุข บุญนิยม และ ฯลฯ และช่วง ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. รายการธรรมะขึ้นกระดานดำที่ศาลาเขตหญิง และรายการสนทนาธรรม พูดคุยซักถามที่ศาลา ๖ เหลี่ยม มีสมณะ-สิกขมาตุเกจิฯ หมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน ได้รับความสนใจ จากญาติธรรมทั้งเก่าและใหม่ เป็นอย่างดี ๒ มี.ค. วันสุดท้ายของงาน ช่วงก่อนฉัน สมณะเดินดิน ติกขวีโร ได้ปรารภเรื่องขยะพลาสติก ให้ทุกคนมีสำนึก ช่วยกันลดการใช้ ตัวแทน ชุมชนศาลีฯ กล่าวขอบคุณ ที่ทุกคนมาร่วมเป็นเจ้าภาพ ตัวแทนม.วช. ชายและหญิง กล่าวถึงการเตรียมงาน และขอบคุณญาติธรรม ที่ให้โอกาสเข้ามา บริหารจัดการ จบลงด้วยสมณะเดินดิน ย้ำให้กลับไปทำฌาน เผากิเลสตัวเอง และกุศลสูงสุด คือการเจริญ อนิจจสัญญา แล้วรับประทาน อาหารร่วมกัน เป็นมื้อสุดท้าย ก่อนจะแยกย้ายกลับ ไปสืบสานงานศาสนา เผยแพร่บุญนิยม ด้วยการเคี่ยวเรา เพื่อเอามิตร สำหรับผู้มาร่วมงาน ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์มาดังนี้ นางดาวใหม่ ทาระพันธ์ อายุ ๓๘ ปี จากหินผาฟ้าน้ำ ให้สัมภาษณ์ว่า "อยู่กลุ่มเก็บเมล็ดสะเดา มีสมณะดินดี สันตจิตโต เป็นหัวหน้ากลุ่ม ท่านพาไปเก็บที่ทุ่งนา เนื่องจากไม่ได้เตรียมไม้สอยไป ต้นสะเดามดแดงก็เยอะ จึงเก็บได้น้อย ท่านสมณะ ให้แต่ละคนเปิดใจ จัดรายการ อย่างนี้ดีมาก ได้เปลี่ยนบรรยากาศ เพราะอยู่ในศาลาก็ง่วง มาครั้งนี้ ตัวเองรู้สึกว่าไฟอ่อน ได้เห็นญาติธรรม ต่างถิ่นเจอกัน ประทับใจ ฟังธรรมดี ทุกรายการ" นางวิไล จันทร์ดอกรัก อายุ ๖๒ ปี จากพิษณุโลก ให้สัมภาษณ์ว่า "อยู่กลุ่มหั่นขมิ้น เพราะชอบสมุนไพร แต่ไม่ได้หั่นเพราะมีดมีน้อย เลยไปช่วยแพ็ค หญ้าหนวดแมว ที่โรงสมุนไพร เลือกไปเพราะ นั่งฟังธรรมแล้วง่วง จัดรายการอย่างนี้ ได้ฟังธรรม ได้ทำงานด้วย ถ้างานปลุกเสกฯ จัดรายการแบบนี้อีกก็ดี เพราะงานวัดมีเยอะ แต่คนช่วยมีน้อย มีคนมาร่วมงานมาก ได้ช่วยกันทำงานให้วัดบ้าง" คุณสุคนธ์ กิจบำรุง จาก กทม. ให้สัมภาษณ์ว่า "ธรรมะขึ้นกระดานดำ บรรยากาศการฟังธรรมไม่เคร่งเครียด เหมือนบนศาลา คือทั้งสมณะ และญาติธรรม จะสบายๆ สามารถเข้าใจธรรมะ ที่ฟังจากตอนเช้า ได้มากขึ้น" นางวิไล วราเนตร อายุ ๕๘ ปี จากร้อยเอ็ด ให้สัมภาษณ์ว่า "มาครั้งแรก เสร็จจากงานอบรม ธ.ก.ส.ที่ร้อยเอ็ดอโศก เมื่อ ๑๖-๒๐ ก.พ. ญาติธรรมแนะนำ ให้มางานพุทธาฯต่อ มาแล้วสบายใจ ปลื้มใจ อากาศร้อน แต่ใจสงบ กินมื้อเดียว ไม่หิว ได้ฟังธรรมจากพ่อท่าน ปลื้มใจมาก กลับไปบ้าน จะไปปลูกผัก ทำน้ำยาซักผ้า ทำแชมพู ปุ๋ยจุลินทรีย์ และตั้งใจกินมังสวิรัติ" นายทั้งดิน วรพิมพ์รัตน์ อายุ ๒๕ ปี จากราชธานีอโศก ให้สัมภาษณ์ว่า "มาครั้งแรก ประทับใจ ได้มาฝึก ได้เรียนรู้ธรรมะ ที่ไม่เคยได้ยิน ได้ฟังมาก่อน ฟังธรรมะรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ชอบทุกรายการ โดยเฉพาะ ทำวัตรเช้า เพราะเวลาเช้า รับธรรมะได้ดี รายการตอบบ่าย ที่จัดแยกมานอกศาลาก็ดี ก็ได้มาเรียนรู้ สัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง" น.ส.สงบ เรืองสุข อายุ ๒๙ ปี จาก จ.ชัยภูมิ ให้สัมภาษณ์ว่า "แยกมากลุ่มฟังธรรม เขตสมณะเกจิฯ ได้ถามพูดคุยปัญหาอย่างใกล้ชิด ส่วนมากได้ฟัง เพราะคนอื่นถามตรงกับปัญหาของเรา และได้รูปัญหาของเพื่อน ถ้าฟังบนศาลา เราไม่ได้ถาม ฟังอย่างเดียว ทำให้ง่วง มาฟังอย่างนี้ไม่ง่วง" |
||||||||||||||||
เจริญธรรม งวดนี้ขอขึ้นต้นด้วยข่าว "มรณัสสติ" กับการมรณภาพของสมณะกระบี่บุญ มนาโป ซึ่งท่านเป็นสมณะ รุ่นบุกเบิกของชาวอโศก ที่มีคุณูปการ กับชาวอโศก อย่างยิ่งรูปหนึ่ง ท่านครองตน อยู่ในเพศบรรพชิต ตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต นับเป็นบรรพชน ของชาวอโศก ที่น่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง จิ้งหรีดก็ขอกราบ แสดงกตัญญูกตเวที ระลึกถึงบุญคุณท่าน มา ณ โอกาสนี้ ส่วนในฉบับ เรามีข่าวงานพุทธาฯ ครั้งที่ ๒๖ ซึ่งปีนี้มีอะไรแปลกใหม่ (วิวัฒนาการ )ที่น่าสนใจหลายเรื่อง พลิกอ่านดูได้ฮะ ทีนี้วกมาคุยถึง ข่าวอโศกฉบับที่แล้วกันหน่อย...เพราะหลายต่อหลายคนสงสัย บ้างก็ ทายกันว่า "ส.สม." ที่ลงหัวข่าวหน้า ๑ ฉบับก่อนน่ะ ทีมข่าว เขาย่อมาจากคำว่า อะไรหนอ จิ้งหรีดก็ขอเฉลยว่า ที่แท้เป็นความผิดพลาดทางเทคนิค (อีกแล้ว...ฮา) ที่ ถูกต้องคือ "ส.สษ." คราวนี้ก็คงมีคำตอบแล้วสิว่า แปลว่า จั๋งได ส่วน "ส.สม."นั้น จิ้งหรีดขอแปลว่า สมณะและสิกขมาตุ ดีไหมเอ่ย? จบแล้วมาเข้าเรื่องในแวดวงภายในของเราต่อ (ไม่อย่างนั้น จิ้งหรีดอาจถูกท่าน บก.เปลี่ยนชื่อเป็น...`แมงโม้'ได้) น่าอนุโมทนา... ด.ญ.เหมือนแพร พวงแก้ว ชั้น ม.๒ "อยากลองมาฝึกตัวเอง อยู่วัดเคยฝึกมาก่อน ตื่นตี ๓ มาเตรียมตัว เวลาฟังธรรมง่วง ก็มีเพื่อนช่วยปลุก ฟังธรรมรู้เรื่อง เพราะต้องจดสรุปส่งสมณะ ชอบรายการภาคค่ำมากที่สุด เพราะไม่ร้อน ตอนเช้าไม่ร้อน แต่ไม่ค่อยรู้เรื่อง ช่วงจัดรายการ พบสมณะ ได้ไปคุยกับสมณะฟ้าไท สมชาติโก แยกไปฟังดีกว่า เพราะได้ถาม ปัญหาที่ไม่รู้ ฟังในศาลาไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ตรงนี้เราถามได้ บางวัน หลังอาหาร ก็ไปเรียนธรรมะ ขึ้นกระดานดำด้วย กลับไปบ้านก็ทาน ๒ มื้อ หากตรงกับวันเกิด (วันจันทร์) จะทานมื้อเดียวค่ะ" ฟังแล้วเป็นไงบ้างฮะ นี่แค่ตัวอย่างเล็กน้อย จากเด็กๆ ชาวอโศกนะเนี่ยะ...จี๊ดๆ เข้าใจเปรียบ... ๕ ส.จัดระเบียบสังคม... เพชรผาภูมิ... นักมังสวิรัติคือนักกินถั่ว... สะเดา... ฟังธรรมแล้วง่วง... จอยักษ์... หนังกลางแปลง... กทม.ชนะ... บาตรเดียวรักษาทุกโรค... เพชรมีอยู่ทุกที่... สยบทะเลาะ... สมณะอาวุโส - ได้เห็นจิตตัวเองสงบ ไม่เหมือนสมัยเป็นฆราวาส ที่ชอบทะเลาะกับ หมาครับ สมณะภันเต - คนกับหมาก็เหมือนกัน หากใครมาว่าเรา ถ้าเราหยุดได้ เรื่องก็จบ จิ้งหรีดได้ยินแล้ว ก็แสนเปรมปรีดิ์ในจิต ที่ได้ข้อคิด ตามสมณะอาวุโส กับเขาด้วย ก็ เพราะจิ้งหรีดเอง บางครั้ง ก็ชอบทะเลาะ เหมือนกัลล์... จี๊ดๆ ชมร.หน้าสันติอโศก... อินทร์บุรี... เก็บตก... ออกจากสีมาอโศก คณะของพ่อท่าน ร่วมถ่ายรูปที่สี่แยก ในหมู่บ้านที่มีป้ายต่อต้านชาวอโศก ที่ตอนนี้มีทั้งป้ายเล็ก ป้ายใหญ่ นับสิบป้าย (เดิมมีเพียง ๒ ป้าย) แสดงให้เห็นว่า ชาวบ้านบางส่วน ยังไม่เข้าใจเราพอ จิ้งหรีดว่า ก็คงมีวิธีเดียวล่ะฮะ ก็คือ ตั้งใจทำดี ให้มากๆๆๆๆ จนกว่าจะถึงวันนั้น วันที่เขาเข้าใจเราไงฮะ พอเดินทางถึงศีรษะอโศก พ่อท่านก็ได้เปิดโอกาส ให้ทีมนกระจอกเทศ ซึ่งเป็นคณะ ทำงานอบรมฯ เข้าพบ ได้ยินพ่อท่าน ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า งานอบรมทำให้พวกเรา ได้รวมตัวกัน จิ้งหรีดเลยสรุปเอาว่า ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ทั้งนั้นเลยน่ะ แถมพูดถึง การอบรมที่สวนส่างฝันว่า มีศิลปะประกอบการอบรมดี ญาติธรรมที่นั้น คงดีใจแน่ๆเลย ส่วนที่สีมาอโศก ยังแข็งๆอยู่.. หากพัฒนาต่อ รับรองหมดแข็ง เปลี่ยนเป็นพริ้วแน่ๆเลย ประโยคหลังนี่จิ้งหรีดว่าเองนะฮะ จิ้งหรีดตามพ่อท่านไปครั้งนี้ สังเกตว่า ไปที่ไหน จะได้ยินพ่อท่าน จะย้ำ ๒ ประโยค คือ "เหตุผลคือ ความบ้า อัตตาคือ ความจริง" และ "อรูปอัตตา โดยเฉพาะ การเอาแต่ใจตัว เป็นตัวการของความขัดแย้ง" ทำให้จิ้งหรีดคิดเอง ตามประสาว่า ๒ เรื่องนี้ อาจจะเป็นสักกายะ ของชาวเรา ตอนนี้หรือเปล่าหนอ?!... จี๊ดๆ บอกบุญ... เพิ่มสมรรถนะ... มรณัสสติ สมณะกระบี่บุญ มนาโป อายุ ๕๐ ปี เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ ๖ มี.ค.๔๕ ฌาปนกิจศพวันที่ ๑๒ มี.ค.๔๔ ที่เมรุปฐมอโศก ก่อนจากขอฝากกันด้วยคติธรรม-คำสอนของพ่อท่านที่ว่า "บุญอยู่ตรงได้ให้" ฉบับนี้ลาไปก่อน พบกันใหม่ฉบับหน้า จิ้งหรีด |
||||||||||||||||
ยายย้งเป็นญาติธรรมเก่าแก่ ของศาลีอโศกมา ๒๐ ปีแล้ว ปลูกบ้านอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ เป็นคนร่าเริง สนุกสนาน ร้องเพลงก็เก่ง ไปรู้จักกับยายกันค่ะ ชีวิตของยาย เป็นพี่คนโต มีพี่น้อง ๒ คน เตี่ยมาจากเมืองจีน แม่ขายขนม ต่อมาเตี่ยหนีไปเมืองจีน แล้วไม่กลับมาอีกเลย แม่แต่งงานใหม่ มีลูกอีก ๒ คน ตอนเล็กๆ ยายไปอยู่กับตายาย เลยไม่ได้เข้าโรงเรียน แต่งงานตอนอายุ ๑๗ ปี พ่อบ้านแก่กว่า ๕ ปี ไปเจอกันตอนไปทำนา ไม่ได้รักกัน แต่ผู้ใหญ่บอกว่า หากแต่งงาน จะให้ควาย ๒ ตัวกับนาแถวหนึ่ง ๒๐ ไร่ อยากมีนาเป็นของตัวเอง เพราะอยู่กับคนอื่น ลำบากเหลือเกิน ตอนนั้นก็มีคนรักอยู่แล้ว ฐานะเขาดี แต่วาสนาของยายไม่ถึง มีลูกด้วยกัน ๘ คน ต่อมาเสียชีวิตไป ๒ คน สามีเป็นคนดีอยู่ในโอวาท อยู่ด้วยกันจนเขาตายจากไป ด้วยโรคมะเร็ง อโศกหายเศร้า ปี ๒๕๒๕ ทุกข์มากเพราะลูก คนที่ยายรักมากเสียชีวิต คิดจนจะเป็นบ้า เสียให้ได้ ญาติธรรมแนะนำ ให้มาไพศาลี มาแล้วก็ติดเลย เปลี่ยนแปลง ตัวเองทันที อาหารก็ตำพริกกับเกลือ ใส่น้ำเปล่า จิ้มกับผักลวก ซีอ๊งซีอิ๊วไม่รู้จักหรอก ญาติธรรมให้ถั่วเหลืองมา ๒ ลิตร พอจะไม่มีแรง ก็ต้มกินครั้งหนึ่ง ทีละฟายมือ ไม่กล้ากินเยอะ กลัวจะหมด เพราะไม่รู้จะไปซื้อที่ไหน กินมื้อเดียวจนผอม เหลือแต่กระดูก จนเขาว่า เดี๋ยวก็เหลือ แต่กระดูกหรอก เคยล้มไปกินขนมจีน ๑ จับ ประชดลูก ว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี เพราะลูกไม่เชื่อฟัง ตั้งแต่นั้นมา มั่นคงในมังสวิรัติ ถึงวันนี้ ๒๐ ปีแล้ว โทสะตัวร้าย ตัดยากที่สุด เวลามันขึ้นตัวสั่นเลย จะไม่พูด นิ่งลูกเดียว หมดแรง สมณะบอกว่า ถ้าไม่ละโทสะ จะไม่ได้เกิดเป็นคน จะเป็นยักษ์เป็นเสือ แล้วตกนรกด้วย ยายยังละไม่ค่อยได้ สมัยก่อน ต้องให้ลูกได้ดังใจ ถ้าไม่ได้ไม่ยอม ครั้งหนึ่งตอนไปดำนา ลูกเขาดำช้า จะดุลูก ก็กลัวลูกไ ม่ช่วยดำ ก็เลยล้มบึ้งลงไปในนา ร้องว่า "ตายมันละโว้ยกู ตายมันซะที" โกรธจัดว่าลูกดำนาช้า เราก็รีบจะให้เสร็จ ลูกเขาก็ยืนดู กันเป็นแถว ยายเลยพูดว่า "กูยังไม่ตายโว้ย" มรรคผลวันนี้ หากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นวันนี้ ดำนาไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร วางได้ เมื่อก่อนยึดจัด อยากให้เสร็จ นี่คือสิ่งที่ยายเห็นชัดเจน ทรัพย์สมบัติก็เฉยๆ สมณะเทศน์ว่า ถ้ามัวห่วงทรัพย์สมบัติ ตายไปจะไปเป็นไอ้จก (จิ้งจก) ข้างฝาเรือน ทุกวันนี้ไม่ห่วงอะไร อยู่วัดก็เพลินไป ยายอยู่ฐานอะไหล่ ใครใช้ทำอะไรทำหมด แต่จะให้เป็นหัวหน้าเป็นไม่ได้ เพราะทำไม่เก่ง อาหารนี่ ยายไม่ทุกข์ร้อน ง่ายที่สุด กินแค่อยู่ได้ เพราะว่าผ่านพริก กับเกลือมาแล้ว ไม่กลัวตาย แต่ยังไม่อยากตาย เพราะยังทำอะไร ไม่ค่อยได้ อยากอยู่อีกหน่อย อยากจะทำ ให้เอี่ยมกว่านี้ ตอนนี้กำลังศึกษา โพชฌงค์ ๗ ฟังเท็ป เริ่มเข้าทางแล้ว เพราะแก่แล้ว ช้าอยู่ไม่ได้ ยายก็เตือนตัวเอง หากตายลง ก็เผาที่นี่แหละ สั่งลูกไว้แล้ว ไม่ต้องทำอะไรหรอก ฟังธรรมกับ ทำบุญอย่างเดียว กะว่าจะไว้ ๓ คืน เพื่อให้ลูก ได้ฟังธรรมได้ทำบุญ
ประโยชน์ตน-ท่าน งานอบรมเกษตรกรฯ ยายก็ช่วยร้องเพลง คนสร้างชาติกับเด็กๆ ร้องตามเขาได้ แต่ร้องเองไม่ได้ ยิ่งมีงานอบรมฯ ยิ่งกระชุ่มกระชวย รู้สึกดีมาก ได้ช่วยชาวบ้าน ที่เขาลำบาก พบทางออกของชีวิต เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.ถามยายว่า "ยาย..เขาเอามาปล่อยเหรอ เห็นคนแก่มีเยอะ" ยายบอกว่า "เปล่า...ยายมาเอง" อยู่ที่นี่อบอุ่น มีเพื่อนรุ่นราว คราวเดียว พอหายไปก็ถามหากัน มีความรักกัน ระลึกถึงกัน อยู่วัดรักษาศีลได้บริสุทธิ์ กลับบ้านแม้มีลูกหลาน แต่เหมือนอยู่ตัวคนเดียว ยุคนี้เครือข่ายแต่ละแห่ง ล้วนมีงานอบรม กันถ้วนทั่ว แม้แต่ยาย ก็ร่วมด้วยช่วยกัน สั่งสมบุญ ให้กับตัวเอง แล้วท่านล่ะ... วันนี้ได้สั่งสมบุญ ให้กับตัวเอง บ้างหรือยัง ? บุญนำพา รายงาน |
||||||||||||||||
ประชุมเตรียมงานยุวพุทธฯที่สันติอโศก บึงกุ่ม...เมื่อวันที่ ๓ มี.ค.๒๕๔๕ ณ พุทธสถานสันติอโศก เวลา ๑๒.๓๐ น. คณะ ครูพุทธธรรม และสัมมาสิกขาสันติอโศก ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ เกี่ยวกับ การจัดงานยุวพุทธทายาท ซึ่งในปีนี้ ได้ให้แต่ละแห่ง จัดงานอบรมยุวพุทธฯ กันเอง ที่ประชุมได้พูดถึงการจัดงานยุวพุทธฯในครั้งนี้ว่า จะใช้สถานที่ในชุมชนสันติอโศกเป็น สถานที่อบรม เพื่อให้เกิดความคบคุ้น ระหว่าง ชาวชุมชน และเยาวชน โดยเยาวชน ที่มาเข้าค่ายยุวพุทธฯ จะได้เห็นวิถีชีวิต แบบคนเมืองที่สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของตัวเอง นอกจากนี้สิ่งที่ควรเน้น แก่เยาวชนในงานนี้ คือคุณธรรมในด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และความอดทน ต่อความซ้ำซาก ในวิถีชีวิตที่ดี จะช่วยให้ชีวิต มีภูมิต้านทาน ไม่ไหลตาม ไปกับกระแสสังคม ที่กำลังเสื่อมทรามด้านคุณธรรม จนเกิดปัญหา การเอารัดเอาเปรียบ และ ติดยาเสพติด มากยิ่งขึ้น. ประชุมพาณิชย์บุญนิยม
ประชุมพรรคเพื่อฟ้าดิน
ประชุมสาธารณสุขบุญนิยม
การรายงานสถานะในพุทธสถาน ๖ แห่ง ติดอันดับคือเส้นยึด เส้นตึง ไม่ปวดหลังเลยคือศาลีอโศก ติดอันดับ ๕ อ.ครบคือราชธานีอโศก ประชุมการสื่อสารบุญนิยม เพชรผาภูมิ
ชุมชนคนสร้างชาติ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายกฤช อาทิตย์แก้ว เป็นผู้สนับสนุนโครงการ และประสานงานกับองค์กรของรัฐ ญาติธรรม ท่านใดสนใจ สามารถติดตามความคืบหน้า ได้จากงานปลุกเสกฯ พุทธสถานศีรษะอโศก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ หรือติดตาม จากหนังสือพิมพ์ ข่าวอโศก ซึ่งผู้สื่อข่าว จะรายงานให้ทราบ ในโอกาสต่อไป
จดหมายจากสมาชิก ดิฉันอ่านข่าวสารจากข่าวอโศก ก็อยากเสนอให้ลงวิธีการทำปฏิกรชีวภาพ นอกจากทำให้น้ำอุ่นได้ถึง ๕๐ องศาเซลเซียสแล้ว จะใช้ย่างอาหารได้หรือเปล่า การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตเกษตรกร ควรจะจัดที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย เพราะเกษตรกร ในจังหวัดเชียงใหม่ และผู้สนใจมีเยอะ จะเป็นการส่งเสริมความรู้ ให้แก่เกษตรกรในจังหวัดนี้ด้วย ขอแสดงความนับถือ ปฏิกรชีวภาพเคยทำแต่น้ำอุ่น จนประสบความสำเร็จ
แต่การนำไปใช้ในการย่างอาหาร ยังไม่เคยทดลอง หากท่านใด มีความรู้เรื่องนี้
กรุณาแนะนำมาด้วย ส่วนเรื่องการอบรมฯเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่พร้อมในเรื่องสถานที่
แต่ที่จังหวัดใกล้เคียง คือเชียงราย ได้เปิดการอบรมไปแล้ว และกำลังจะอบรม
รุ่นต่อไป สนใจสอบถามได้ที่ เชียงรายอโศก โทร.๐๕๓-๗๐๐๕๐๔ |
||||||||||||||||
ชมรมสัมมาสิกขาพุทธธรรม จัดงานปิดภาคเรียนพุทธธรรม เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ ก.พ. ๔๕ ณ พุทธสถานสันติอโศก งานปิดภาค พุทธธรรมปีนี้ เป็นอะไรที่เรียบง่าย แต่ก็มากด้วยคุณค่าทางจิตวิญญาณ เพราะรายการมีทั้งสาระและบันเทิง มีนร.พุทธธรรม มาร่วมงาน ประมาณ ๖๐ คน ผู้ ปกครอง ๒๐ กว่าคน โดยในช่วงเช้าจัดกิจกรรมที่ชั้นล่างตึกสัมมาสิกขา มีสมณะ และสิกขมาตุ มาเทศน์ ให้ข้อคิด กับเด็กๆ จากนั้นเด็กๆกล่าวคำไหว้ครู เพื่อแสดง ความเคารพ และขอบพระคุณ คุณครูที่ช่วยอบรมสั่งสอน ให้พวกเขา เป็นคนดี คุณครูทุกคน ก็พูดให้โอวาทเด็ก เป็นครั้งสุดท้าย สรุปว่า ขอให้ทุกคนเป็นเด็กดี นำสิ่งดีๆที่ได้เรียนรู้ จากการมาเรียน พุทธธรรม กลับไปทำ ที่บ้านด้วย และสามารถนำความดีที่ทำ มาฝากที่ธนาคารบุญ ตอนเปิดเทอมได้ ลำดับต่อมา เป็นรายการสำคัญที่ทุกคนรอคอย คือ การแจกรางวัล มีรางวัลนักมังสวิ รัติรุ่นจิ๋ว ซึ่งน่าประทับใจกับ ด.ญ.สุนีตา,ด.ญ.สุศีลา ราม สองพี่น้องวัย ๕ และ ๖ ขวบ ที่ทานมังสวิรัติมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ทานไข่ เธอมีบิดาเป็นชาวอินเดีย นอก จากนี้ยังมี น.ร.พุทธธรรมอีก ๗ คนที่ได้รับรางวัลนี้ รางวัลต่อมา คือ รางวัล นร.ที่ตรวจศีลส่งเป็นประจำ ซึ่งน่ายินดีที่ปีนี้ มีนักเรียนได้ รางวัลนี้มากกว่าทุกปี รางวัล นร.ที่มาเรียนประจำ และรางวัล นร.ที่มีความประพฤติดี มีความดีที่ทุกคนยอมรับ ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน ปีนี้มี ๒ คน คือ ด.ช.ปราศรัย เจตต์สันต์ ด.ญ.ชุดาพร แคนโนนงิ้ว ซึ่งทั้งสอง เป็นผู้ที่มีน้ำใจมาก ขยัน เอาภาระ พูดจาไพเราะ และมาเรียนสม่ำเสมอ รางวัลพิเศษปีนี้ก็คือ รางวัล น.ร.ที่ทำความดี ฝากธนาคารบุญ ที่ทำยอดฝากได้มากที่สุด และฝากเป็นประจำสม่ำเสมอ อันดับหนึ่ง ด.ช.ปราศรัย เจตต์สันต์ (โอ) อายุ ๑๒ ปี ยอดฝาก ๓,๐๘๘ หน่วย อันดับสอง ด.ญ.พาขวัญ อุปราสิทธิ์ (เอ็ม) อายุ ๖ ปี ยอดฝาก ๑,๖๗๖ หน่วย อันดับสาม ด.ญ.ภราดา อุปราสิทธิ์ (เอย) อายุ ๕ ปี ยอดฝาก ๑,๕๖๕ หน่วย สำหรับคนที่ไม่ได้รางวัล ก็อย่าพึ่งท้อใจ จงทำดีต่อไป ทำให้ต่อเนื่อง ทำสม่ำเสมอ ไม่แน่ปีหน้าเราอาจจะได้รางวัลก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ เราทำดีเมื่อใด เราก็ได้ดีนั้น ทันทีอยู่แล้ว ภาคบ่ายเป็นรายการแข่งกีฬาอาริยะ ก่อนแข่งกีฬาก็มีทีมคุณยายกลุ่มชราภิบาล มาเล่านิทานให้เด็กๆ ฟัง และพาเล่นเกม บรรยากาศ เป็นกันเอง สนุกสนาน เด็กๆให้ความสนใจดีมาก ต้องขอขอบคุณ คุณจุฬา สุดบรรทัด ที่นำทีมคุณยาย มาให้ความรู้ ความบันเทิงแก่เด็กๆ สำหรับการแข่งกีฬาฯ แบ่งเป็น ๒ ทีม คือทีมสีแดง และสีน้ำเงิน กีฬาชนิดแรกที่ แข่งขันคือ กีฬาพับผ้า ใครพับได้เป็นระเบียบ เรียบร้อยที่สุด ภายในเวลาที่กำหนด เป็นผู้ชนะ ปีนี้นอกจากจะให้เด็ก นร.หญิงแข่งขันแล้ว ก็ให้ นร.ชายเข้าแข่งด้วย ฝีมือการพับผ้า อาจจะต่างจาก ฝ่ายหญิงบ้าง แต่ฝีมือ ก็พอใช้ได้ ทีเดียว กีฬาชนิดต่อมาคือกีฬาล้างจาน กีฬากวาดบ้าน-ถูบ้าน กีฬาแยกขยะ กีฬาวิ่งเปี้ยว กีฬาชักคะเย่อ กีฬาแต่ละชนิดแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน โดยมีกองเชียร์ เชียร์อยู่ข้างๆ มีข้อน่าสังเกตคือ นักกีฬาแต่ละคน มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส แม้จะแพ้ การแข่งขัน ก็ไม่แสดงอาการโกรธ หรือไม่พอใจออกมา ต่างยอมรับกติกา ด้วยความเต็มใจ มิน่าล่ะ!...เพราะมีหัวใจของนักกีฬา "รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย" นี่เอง ถึงมีจิตใจที่เบิกบาน สำหรับสีที่ชนะ การแข่งขันกีฬาอาริยะปีนี้คือ สีแดง
ส่วนกองเชียร์ที่ชนะคือ สีน้ำเงิน งานจบลงด้วยดี ในเวลาบ่าย ๓ โมง โดยมีสมณะ
กล้าตาย ปพโล กล่าวปิดงาน จากนั้นทุกคน จับมือกันเป็นวงกลม ร้องเพลงอำลาร่วมกัน
และไหว้ลากัน ด้วยความซาบซึ้งใจ เทอมหน้า มาเจอกันใหม่ในเดือนพฤษภาคม. |
||||||||||||||||
ความอ้วน นอกจากจะทำให้บุคลิกบกพร่อง ในด้านความงามแล้ว ยังทำให้บกพร่อง ในด้านสุขภาพ อย่างน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ก่อนที่จะทราบ ถึงความน่ากลัว ของความอ้วน เราลองมาดูกันซิว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ ในสมัยนี้พากันอ้วนออกๆ แม้กระทั่งเด็กๆก็เป็น โรคอ้วนกันมาก บางคนก็ไปหาซื้อยาลดความอ้วนมากิน ให้เป็นอันตรายซ้ำสอง ผีซ้ำ ด้ามพลอยต่อสุขภาพไปอีก ก็อาหารที่เรากินเข้าไปทุกวันนี้แหละ เป็นตัวสำคัญที่สุด โดยเฉพาะ อาหารชุบแป้งทอดทั้งหลาย อาหารที่มีกะทิ อาหารหวานมันทั้งหลาย ไขมันที่ไม่อิ่มตัว จะไปเกาะตามผนัง ของหลอดเลือด ทำให้เกิดเส้นเลือดตีบตัน เลือดไหลผ่านไม่สะดวก หัวใจต้องทำงานหนัก ในการสูบฉีดโลหิต ทำให้ความดันโลหิตสูง เส้นโลหิตขยายตัวไม่ได้ อาจทำให้แตก หัวใจทำงานหนัก ตลอดเวลา ทำให้เกิดโรคหัวใจ จากการศึกษาพบว่า คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ได้มากกว่าคนปกติ เรียกว่า โรคตามกันมาเป็นพรวน ไม่ว่าจะความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคนิ่ว โรคไต ฉะนั้น คนที่ยังไม่อ้วน ก็ขอให้รักษาความไม่อ้วนไว้ ส่วนคนที่อ้วนซะแล้ว ก็ต้องดูแลตนเอง ให้ดีเป็นพิเศษ วันหนึ่งๆ คนปกติ ไม่ควรกินน้ำตาลมากกว่า ๔-๕ ช้อนโต๊ะ รวมถึง ในขนม เครื่องดื่ม และการปรุงอาหารอื่นๆด้วย อย่าลืมว่า น้ำหวาน ๑ แก้วให้ พลังงานเท่ากับข้าว ๑ ทัพพี นอกจากนี้ ยังควรควบคุมอาหารประเภท ข้าว แป้ง เผือก มัน และไขมัน อย่างเข้มงวดด้วย ควรออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอด้วย ควรปลูกฝังตนเอง และเด็กๆของเรา ให้มีนิสัยการกิน และการออกกำลังกาย ให้สมดุลด้วย เพื่อป้องกันความอ้วน และโรคที่มา กับความอ้วน แต่ถ้าจิตใจของใคร จะอ้วนศีล อ้วนธรรม คือทำให้ได้มากๆ
ปฏิบัติให้ได้ดีๆ ก็คงจะไม่เป็นผลเสีย ไม่เป็นบ่อเกิด แห่งโรคภัยไข้เจ็บ
เหมือนการอ้วน ทางร่างกายหรอกนะคะ. |
||||||||||||||||