ฉบับที่ 201 ปักษ์หลัง 16-28 กุมภาพันธ์ 2546 |
งานพุทธาฯครั้งที่ ๒๗ ได้สิ้นสุดลงอีกวาระหนึ่ง สิ่งที่น่าประทับใจก็คือ ญาติธรรมจากกลุ่มต่างๆอาสาเข้ามารับผิดชอบงานด้านโรงครัวดังเช่นในปีที่ผ่านๆมา ซึ่งการทำงานในครั้งนี้รวมกันเป็นภาค มีผลให้เกิดการประสานสัมพันธ์กับญาติธรรม กลุ่มต่างๆในภาคเดียวกันมากขึ้น รวมทั้งรายการธรรมะทางเลือกในภาคบ่าย ที่มีผลให้ญาติธรรมได้เลือกปฏิบัติธรรม ตามฐานของตน ทำให้จิตใจ เบิกบาน ในธรรม มากกว่าการนั่งฟังธรรมในศาลา ปีที่แล้วจัด ๑ วัน ปีนี้เพิ่มอีก ๑ วันเป็น ๒ วัน ส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ แต่ยังมีนักบวชอาคันตุกะและฆราวาสบางคนยังไม่กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม "ธรรมะทางเลือก" นี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น. ก็หวังว่าในงานปลุกเสกฯ ครั้งที่ ๒๗ ผู้ที่ร่วมงานคงมีความขวนขวายในกิจกรรมต่างๆ ของงานมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ ประโยชน์ตน และท่านให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท |
ธรรมะพ่อท่าน (๑๓) ปฏิบัติธรรม ? ปฏิบัติธรรมอย่างสัมมาทิฏฐิ คือ การกำหนดสติรู้เท่าทันปวงกิเลสที่เกิดขึ้นกับตัวเราทุกอากัปกิริยา จากการกระทบ สัมผัส ด้วยทวารทั้ง ๖ จับอาการเกิดกิเลสให้ทันแล้วล้างมันให้สิ้นเกลี้ยงจากจิต ในขณะใช้ชีวิตอย่างปกติของตนนั้นแหละ ทำจิตให้ได้ถึงสภาพที่ว่า...เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นสักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้มรสสักแต่ว่ารส สัมผัส สักแต่ว่าสัมผัส ไม่มีอารมณ์สุข-ทุกข์ใด เกิดภายในจิต เป็นพระอรหันต์ได้ทันที "ตัณหา" ที่จำเป็นที่สุด แม้ศาสนาพุทธอันว่าดีเลิศประเสริฐศรี ยังมีอันต้องเสื่อมสลายในกาลอนาคต... เราอาจจะสงสัยว่า เหตุใดพระศาสดาเมื่อบรรลุอมตธรรม ไยไม่ดับขันธ์ปรินิพพาน จำทนทุกข์มีชีวิตสืบต่ออีกตั้งนาน? เพราะทรงปรารถนาสร้างพุทธศาสนาให้คงมั่นแข็งแรง เป็นวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง ที่ทรงต้องการอนุเคราะห์ปวงชน ให้ได้พ้นทุกข์ ต่อเมื่อศาสนาก่อเกิดสมบูรณ์ทุกประการ พระองค์จึงทรงวางวิภวตัณหานี้ แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ผู้เป็นพระอรหันต์แท้ของพุทธศาสนา จะยังมีวิภวตัณหาเฉกเช่นพระศาสดา คือสืบสานศาสนาพุทธให้ยืนยาวต่อไป ตราบที่ท่าน ยังไม่ปรินิพพานเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ พระอรหันต์
กับ พระโพธิสัตว์ จึงเป็นสภาพอย่างเดียวกัน. |
สดจากปัจฉาฯ "ลืมสนิทว่า การประชุมครั้งที่แล้ว สมณะมหาเถระมีข้อที่พึงปฏิบัติอยู่ ๕ ข้อ ข้อที่ตนยังพร่องอยู่มากก็คือ การหาเวลาพูดคุยกับสมณะมหาเถระด้วยกัน ก่อนและหลังการประชุมอปริหานิยธรรม ซึ่งก็มีหลายรูป ที่ยังพร่องในข้อนี้เช่นกัน ในที่ประชุม สิ่งที่ยังต้องฝึกตนอีกเยอะก็คือ การทำใจให้เป็นปกติ เมื่อจะตำหนิใคร หรือจะรับคำตำหนิจากใครๆ รวมถึง การรับฟัง เรื่องที่ผู้อื่นวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวกับตัวเรา แต่เราไม่เห็นด้วยในท่าที และเหตุผลเหล่านั้น รู้สึกว่า ใจเรายังมีอารมณ์ขุ่น...! แต่ยังไม่ท้อนะ เพราะยอมรับความจริงว่า เรายังสั่งสมบารมีมาน้อย ชาตินี้ทั้งชาติ ถ้ามันจะขุ่นอยู่ทั้งชาติ ก็เป็นเรื่องของเราเอง เพราะการละกิเลส ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องทำเพื่อแข่งกับใคร ถึงอย่างไร ชาติหน้าๆก็ยังมีเวลาอยู่น่ะ ก็ขนาดอิสีติสาวกของพระพุทธเจ้า ยังใช้เวลาเป็นแสนกัปเลย ประสาอะไร กับคน บารมีน้อย อย่างเรา จะใช้เวลาไม่กี่สิบปี แค่ชาตินี้ชาติเดียวแล้ว จะได้ผลสำเร็จ ดูจะเป็นอภิชัปปา เกินบารมีจริง กระมัง...".
|
ธรรมะมาฆบูชา'๔๖ พ่อท่านเทศน์เปิดงานพุทธาฯ
ก่อนฉัน ๑๖ ก.พ. ๔๖ งานนี้จัดมาถึงครั้งที่ ๒๗ ถ้าเป็นคนอายุ ๒๗ กำลังปราดเปรียวแข็งแรงเลยนะ กำลังทำงาน กำลังแคล่าวแคล่องว่องไว กำลังดีเลย งานนี้เป็นงานพิธีกรรม ซึ่งเป็นงานเน้นไปในทางจิตวิญญาณ พ่อท่านเทศน์คืนนี้ ลูกพระพุทธเจ้า จะต้องมี ความเข้าใจอย่างนี้ และจะต้องปฏิบัติตน ให้ไปสู่ความเป็นอย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงมุ่งหมายอย่างแท้จริง เมื่อเราเป็นได้ เราก็จะรู้เลย นี่เราเป็นได้มาบ้างแล้วนะ ชาวอโศกเป็นได้มาบ้างแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ดียอดเยี่ยม ยังได้เท่านี้ก็ตาม ก็ได้แล้ว ชาวอโศกได้มาบ้างแล้ วเป็นรูปร่างพอสมควร งานพิธีกรรม งานกิจกรรม งานที่เป็นงานสร้างสรร งานผลิต งานการ ที่เป็นอยู่ยังชีพของมนุษย์ เน้นไปในทางวัตถุ หรือรูปธรรม ส่วนงานพิธีกรรม เน้นไปในทางนามธรรม เราก็ทำมาได้พอสมควร ...จนกระทั่งกลายเป็นผู้ที่ปล่อยปละละเลย ขาดคุณธรรมข้อที่ ๑ ของสาราณียธรรม ระลึกถึงกัน และขาดข้อที่ ๔ สังคหะ ไม่มาเกื้อกูลช่วยเหลือ กลายเป็นผู้จะมาเสพย์ กลายเป็นผู้มารับอย่างเดียว อันนี้อาตมาว่าไม่ดี อย่าเป็นผู้มารับ อย่างเดียว ไม่เป็นผู้ที่มาเกื้อกูล มาช่วยเหลือเฟือฟาย ไม่มามีน้ำใจที่จะมาเสียสละ ช่วยกันสร้างสรร เพราะงานของเรา มันไม่ใช่งาน ของใคร คนใดคนหนึ่ง และไม่ใช่งาน ที่จะมาทำเอาประโยชน์ส่วนตัวส่วนตน หรือส่วนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มันไม่ใช่ มันเป็นงาน กระจายบุญ เป็นงานแบ่งบุญ เป็นงานที่ทุกคนมาจะได้ส่วนบุญ รับเอาบุญ เพราะฉะนั้น ทุกคนจะมาลงทุน ลงแรงกัน จัดงานทีก็ต้องใช้ทุน ใช้แรง ใช้เวลา เตรียมงานไม่ใช่เบาๆ คนเป็นพัน เตรียมสถานที่ ปีนี้เตรียมส้วมขึ้นเยอะ มากขึ้น เพิ่มขึ้น ลำพังจริงๆแล้ว เขาอยู่กันที่ศาลีอโศกถ้าไม่ใช่ฤดูงาน กวาดกันเมื่อย งานจึงมาร่วมกัน ควรจะมาช่วยกันทุกคน ถ้าใครมีโอกาส มีเวลา สามารถปลีกมาได้ ซึ่งแต่ละพุทธสถาน แต่ละชุมชน จะสำนึก เรื่องนี้ พอถึงเวลา กลุ่มนี้จะมาก่อนได้กี่วัน ก็จะระลึกกัน จัดแจงเตรียมตัวกันมา ตั้งแต่เด็กและผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็ไม่มีใครบังคับ เพราะโตแล้ว ใครจะมาช่วยกัน ก็เรื่องของส่วนตัว ส่วนเด็กๆเราจัดระบบและฝึกฝนเขา ให้เขารู้เป็นลำดับๆ ถึงเวลา เราก็รวบรวมกันมา ถึงเวลาเราก็มากัน พวกเราจะเป็นสังคมเชื่อม สังคมสัมพันธ์ ไม่ใช่สังคมที่แตกแยก สังคมที่โดดเดี่ยว หรือสังคมตัวใครตัวมัน เป็นสังคม ของสัตว์โขลง เป็นสังคมที่ถูกต้องตามธรรมชาติ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์โขลง และก็รู้จักหน้าที่เหมือนผึ้ง ซึ่งมีลักษณะ ที่พิเศษมาก (บางส่วนจากธรรมะช่วงก่อนฉันในวันมาฆบูชา
เมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ. ๒๕๔๖ ขณะเทศน์เปิดงานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ ๒๗ ณ พุทธสถาน
ศาลีอโศก) |
พ่อโท่น...คนดีศรีเชียงราย นอกจากนั้น พ่อโท่นยังสอนชาวบ้านให้ทำหน่อไม้ปี๊บไว้กินและขายช่วงขาดแคลนหน่อไม้ จากการช่างสังเกตของพ่อ เห็นว่า เวลาช่วงหน่อไม้ออกมากๆ พ่อค้ามารับซื้อกิโลกรัมละ ๑.๕๐ บาท แต่ในขณะที่ไม่ใช่ฤดูกาลหน่อไม้ ชาวบ้านต้องไปซื้อ หน่อไม้ของพ่อค้ากิน กิโลกรัมละ ๑๕-๑๘ บาท พ่อโท่นจึงรณรงค์ และสอนให้ชาวบ้าน ทำหน่อไม้ปี๊บไว้กินเอง เหลือจำหน่าย ช่วงหน่อไม้ขาดแคลน ยังค่ะยังไม่พอ พ่อโท่นยังมีความรู้เรื่องการทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชาวบ้าน ได้ขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่น จนนำไปประกอบอาชีพได้ พ่อโท่นยังไม่หยุดยั้งที่จะทำความดีอยู่แค่นี้ พ่อยังเสียสละ แก่ชาวบ้าน ด้วยการเป็นแกนนำ จัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ให้ชาวบ้าน ใครๆจึงยกให้พ่อโท่น เป็นครูของชาวบ้านโดยแท้ เพราะพ่อ ยังสอนหนังสือ ให้ผู้ไม่รู้หนังสือ ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้บ้านของตนเอง เป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ของชุมชน บ้านพ่อโท่นจึงมีคนมาร่วมทำกิจกรรมมากมาย บ้างก็มาเล่าความสุขทุกข์ ปรึกษาหารือ และแก้ปัญหาร่วมกัน ด้วยภูมิปัญญา ชาวบ้าน พ่อโท่นเน้นให้ทุกคน มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน มีความรัก สามัคคีต่อกัน ชาวบ้าน จึงมาบ้านพ่อโท่น ด้วยความสมัครใจ เพราะมาแล้วอบอุ่นสบายใจ มีความสัมพันธ์ฉันญาติพี่น้อง พ่อโท่นใช้ หลักศาสนาที่ว่า "ให้ด้วยเมตตา แก้ปัญหาจากการวิเคราะห์ต้นเหตุ" และ "คิดก่อนทำอย่างมีสติ" ค่ะ...เมื่อได้พูดคุยกับพ่อโท่นแล้วความรู้สึกจึงไม่แตกต่างจากชาวบ้านคือ อบอุ่น สบายใจและปลื้มปีติยินดี ที่ได้รู้จักกับ คนดีๆ อย่างพ่อโท่น แม้ว่าพ่อโท่นจะถูกเชิญให้ไปเป็นวิทยากรในการบรรยายเรื่อง ปุ๋ยอินทรีย์ มากมายหลายที่ และแม้ประเทศญี่ปุ่น พ่อก็ได้รับเชิญ ไปบรรยายมาแล้ว ได้รับรางวัลต่างๆจากสังคมมากมาย แต่พ่อก็ยังไม่หยุดยั้ง ในการที่จะขวนขวาย หาความรู้ ด้วยความอ่อนน้อม ถ่อมตน เมื่อได้ข่าวว่า เชียงรายอโศก มีการอบรมเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์ จึงอยากจะมาเรียนรู้เพิ่มเติม ในสิ่งที่พ่อยังไม่รู้ พ่อบอกว่า มาแล้วได้มากกว่าที่ตั้งใจไว้ สิ่งที่พ่อประทับใจ และซาบซึ้งมากที่สุด กลับเป็นสัจธรรมของชีวิต ที่ถูกถ่ายทอด จากสมณะ และการดำรงชีวิต ของชาวอโศก พ่อไม่เคยได้ยินได้ฟังแบบนี้ ที่ไหนมาก่อน ตัวพ่อเอง ก็ปรารถนา จะพบกับ หมู่กลุ่มแบบนี้เหมือนกัน พ่อดีใจ และเกิดศรัทธา ที่เห็นเกษตรกรหลายๆคน เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ดีขึ้น พ่อบอกว่า รุ่นต่อๆไป พ่อจะขอมาช่วยงาน ที่เชียงรายอโศก ชีวิตของพ่ออยู่ที่ ๕ โมงเย็นแล้ว ใกล้มืดใกล้ค่ำเต็มทนแล้ว ชีวิตเหลือ อีกไม่มากแล้ว อยากใช้ชีวิตที่เหลือ ทำประโยชน์อย่างคุ้มค่า ด้วยการสร้างบุญกุศล ให้มากๆ การสร้างคน เป็นการสร้างมหากุศล คุยกันมาถึงตอนนี้ ผู้เขียนเองก็เกิดความรู้สึกคล้อยตามพ่ออย่างปีติยินดียิ่ง
น่าเจริญรอยตามจริงหนอ...แล้วท่านผู้อ่านละคะ รู้สึกอย่างไรบ้างคะ. |
หม่อมดุษฎีและคณะดูงานสันติอโศก
หม่อมดุษฎีและชาวต่างชาติดูงานสส.สอ. ทึ่งสันติฯเป็นเมืองสวรรค์ ทางเลือกใหม่ วันที่ ๑๒ ก.พ. ๔๖ เวลาประมาณ ๑๔.๓๐ น. อาจารย์หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา เจ้าของ ร.ร.อนุบาลสมประสงค์ พร้อมนักการศึกษาชาวอิตาเลี่ยน ๓ ท่าน และผู้ติดตามคนไทย ๒ ท่าน ศึกษาดูงานโรงเรียนสัมมาสิกขา สันติอโศก คุรุฟังฝน จังคศิริ ครูใหญ่และคณะ ให้การต้อนรับ โดยพาไปดูกิจกรรมฐานแปรรูป และพักรับประทานอาหารว่าง ซึ่งเป็นฝีมือของ น.ร. อาทิ เช่น ซาลาเปา, งาดำตัด, คุ้กกี้, น้ำเสาวรส, น้ำบีทรู้ด และพูดคุยซักถาม เกี่ยวกับวิถีชีวิตของ น.ร. โดยมีคุณดาบบุญ ดีรัตนา ทำหน้าที่เป็นล่ามอธิบาย หลังจากนั้นได้สนทนาซักถามปัญหากับพ่อท่านถึงการมาครั้งนี้ ที่บริเวณใต้โบสถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อมาดูกิจกรรม การศึกษาทางเลือกของที่นี่ และกล่าวว่าดีใจมากที่ได้มา สังคมที่นี่เหมือนเมืองสวรรค์ ข้างนอกเหมือนนรก คนในยุโรป กำลังแสวงหาสิ่งที่ดี อโศกจึงเป็นอีกทางเลือก เด็กที่เรียนจบแล้ว มีอะไรรองรับ เด็กอยากอยู่ที่นี่ต่อไป หรืออยากออก ไปอยู่ข้างนอก ฯลฯ โดยสนทนาอยู่ประมาณ ๑ ช.ม. หลังจากนั้น พ่อท่านมอบของที่ระลึก แล้วคณะต้อนรับ พาชม พระวิหารพันปีฯ แล้วเดินทางกลับ หม่อมดุษฎีได้กล่าวสั้นๆว่า "อยากจะมาอีกค่ะ" น.ส.ศศิธร(ดาว) จเร ให้สัมภาษณ์ว่า "ทำงานอยู่ที่ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย วังสมประสงค์ เพชรบุรี ๑๓ ของ อ.หม่อม มาครั้งนี้ เพื่อจะคุยเรื่องการศึกษา อาจารย์ที่มาท่านหนึ่ง สอนเกี่ยวกับการละคร ส่วนอีก ๒ ท่าน จะมาทำเรื่องการศึกษาด้วยกัน " น.ส.ศศิธร (เป็น นร.พุทธธรรมสันติอโศกตั้งแต่อายุ ๓ ขวบจนถึงชั้น ม.๓) แล้วกลับมาช่วยงานพุทธธรรมจนถึงปัจจุบัน ได้กล่าวว่า "จากการมาเรียนพุทธธรรม ได้นำเอาเรื่องของความอดทน สู้ความลำบากได้ อยู่ง่ายกินง่าย การคบหาผู้อื่น การไม่เพ่งโทส การมองตน การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และกำลังใจในการทำงาน ไปใช้ในสังคมภายนอก และที่เด็กพุทธธรรม เมื่อได้อยู่ข้างนอก คือการเป็นผู้นำ ทุกคนจะมีรัศมีตรงนี้ เห็นชัดมาก ฝากน้องๆว่า เรียนไปเรื่อยๆ อย่าคิดมาก ถึงเวลา ค่อยตัดสินใจว่า เราจะเป็นอะไร พยายามเรียนให้ดีที่สุด คนดีของตัวเราที่ทำได้ควรเป็นอย่างไร" อ.ฟังฝน จังคศิริ ครูใหญ่สัมมาสิกขาฯ "เขามาดูงานด้านการศึกษา เพราะการศึกษาของเราไม่เหมือนกับข้างนอก โดยมาดู ข้อมูลทั่วๆไป ที่โรงเรียนก่อน แล้วมาสัมภาษณ์พ่อท่าน และทาง อ.หม่อม ทำเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับเด็กพิเศษ เช่น เด็กสมาธิสั้น เขาดูในเรื่องของฐานงานและตารางเวลาของเด็กๆ ตั้งแต่เช้าจนเย็น เขารู้สึกว่าเด็กอยู่ที่นี่ได้ จะต้องเข้มแข็งพอสมควร เพราะช่วง ของการฝึก ๑๒ ช.ม. ทั้งเรียนและทำงาน ซึ่งเราก็บอกเขาว่า เด็กอยู่แบบธรรมชาติ ตามวิถีชีวิตชุมชน โดยไม่ได้ เคร่งเครียด เขามองเห็นว่า สังคมข้างนอกแย่ลง ที่นี่น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ เขาก็เลยมาศึกษาและดูงาน". |
พุทธาฯปีนี้
ชาวอโศกจัดองค์กรบุญนิยม นายอำเภอไพศาลีให้เกียรติร่วมเปิดงาน
ชื่นชมขอให้เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม ตั้งแต่วันที่ ๘ ก.พ. ตัวแทนนิสิตม.วช.จากเขตต่างๆเข้าพื้นที่ ประชุมเตรียมงานร่วมกับชาวชุมชน และแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในแผนกต่างๆ หลังจากนั้น นร.สัมมาสิกขาจากสันติฯ, ปฐมฯ, บ้านราชฯ, สีมาฯ ทยอยเดินทาง มาช่วยเตรียมงาน ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๓ ก.พ. มีการประชุมของมหาเถระ วันที่ ๑๓ ก.พ. พ่อท่านเดินทางจากสันติฯ แวะเยี่ยมและให้โอวาทสั้นๆ แก่ผู้เข้าอบรมฯ สัจธรรมชีวิต ที่ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน อินทร์บุรี ก่อนจะเดินทาง เข้าไพศาลี ให้โอวาทสมณะมหาเถระ และเป็นมิ่งขวัญกำลังใจ แก่ลูกๆที่มาช่วยเตรียมงาน ก่อนงานมีฝนตกหนัก แต่โชคดีที่ระหว่างงาน ฝนหยุดตกชั่วคราว เหมือนเกรงว่าผู้มาปฏิบัติธรรม จะลำบากในเรื่องของที่พัก งานครั้งนี้ มีสมณะ ๔๕ รูป และสิกขมาตุ ๑๗ รูป ร่วมเป็นเกจิอาจารย์ ทำหน้าที่พุทธาภิเษก ด้วยอานุสาสนีปาฏิหาริย์ สร้างคน ให้เกิดพุทธคุณ สำหรับรายละเอียดของงานมีดังต่อไปนี้ สำหรับรายการธรรมะในแต่ละวันมีดังนี้ ธรรมะก่อนฉัน ธรรมะภาคบ่าย ๑.ธรรมะทั่วไป
(คลายสงสัยที่ศาลาฟังธรรม) โดยสมณะร่มเมือง ยุทธวโร วันที่ ๒๐-๒๑ ก.พ. พ่อท่านตอบปัญหา ในหัวข้อ ตอบเปรี้ยงถึงความไม่เที่ยงของไตรลักษณ์ ธรรมะภาคค่ำ บรรยากาศทั่วไปของงาน ปีนี้มีคนมาร่วมงานมากขึ้น แม้อากาศจะร้อนอบอ้าว การงานแต่ละแผนกมีม.วช.-นร.สัมมาสิกขา จากที่ต่างๆ ร่วมรับผิดชอบงาน วันแรกของการลงทะเบียน บจ.ขอบคุณแจกแชมพูชีวภาพไร้สารเคมีให้ญาติธรรมทดลองใช้ และขอให้แจ้งผลการใช้ ในงานปลุกเสกฯ เพื่อทดแทนการใช้เคมี ที่นับวันจะมากขึ้นทุกที แต่ละวันกลุ่มญาติธรรมหมุนเวียนเข้ามาเป็นเจ้าภาพร่วมทำอาหารเลี้ยงผู้มาร่วมงาน ด้วยพืชผักไร้สารพิษ ตลอด ๗ วัน หลังทำวัตรเช้า(๑๗-๒๑ ก.พ.) เป็นการประชุมต่างๆขององค์กรชาวอโศกตามลำดับ ดังนี้ พรรคเพื่อฟ้าดิน, ตลาดอาริยะ และ ๖ พาณิชย์, บุญญาวุธหมายเลข ๓ (กสิกรรมไร้สารพิษ), คุรุสัมมาสิกขา และเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ (คกร.) ติดตามได้ ในรายงาน การประชุม ของแต่ละวัน ช่วง ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. หลังรับประทานอาหาร มีรายการธรรมะขึ้นกระดานดำ สำหรับคนเก่าที่ศาลาหายสงสัย และธรรมะ สำหรับคนใหม่ที่ศาลา ๖ เหลี่ยม โดยสมณะ-สิกขมาตุ หมุนเวียนแสดงธรรม นอกจากนี้วันที่ ๑๖ มีการพูดคุยเรื่อง ปั้นบ้านดิน ที่เรือน คนของแผ่นดิน หลังรายการภาคบ่ายของวันที่ ๑๗ พ่อท่านให้โอกาสลูกๆซักถามเกี่ยวกับหนังสือที่พ่อท่านเขียน เพื่อร่วมตอบคำถาม ในงานอโศกรำลึก ในรายการ เกมอโศกพันธุ์แท้ หนังสือของพ่อท่าน ซึ่งต่อมาผู้เข้าร่วมเล่นเกม ขอเปลี่ยนเป็นอโศกพันธุ์แท้ เพลงของพ่อท่าน เพราะเตรียมตัวไม่ทัน จึงเลื่อนไปจัดในปีหน้า แต่ยังคงมีพันธุ์แท้หนังสืออีคิวโลกุตระเล่มเดียว ในเรื่องของเพลง พ่อท่านจะให้โอกาสซักถาม ในงานปลุกเสกฯ ช่วงรับประทานอาหารถึง ๑๔.๐๐ น. ของวันที่ ๑๙ ก.พ. คุณหมออารีย์ วชิรมโน บรรยายเรื่องสุขภาพ ญาติธรรมสนใจเช่นเคย ที่เรือนคนของแผ่นดิน มีการดูแลสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการจัดกระดูก นวด ประคบ ดีท๊อกซ์ นวดเพื่อปรับสายตา ดูดเลือดพิษ มีผู้สนใจ มาลงชื่อ เพื่อใช้บริการเนืองแน่น หลังรับประทานอาหาร วันที่ ๒๐ ก.พ. ถึง ๑๔ .๐๐ น. อ.มาณพ ประภาสานนท์ จาก ร.พ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลฯ พูดเรื่อง วิธีการดูแลสุขภาพ แบบองค์รวม ที่นำการแพทย์ทางเลือกมาทดลองใช้รักษาผู้ป่วยที่ร.พ. ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ จนหาย จากโรคดังกล่าว มีผู้สนใจร่วมรับฟังมากมายที่ศาลาฟังธรรม ๑๙ ก.พ หลังรายการภาคบ่าย พ่อท่านเป็นประธาน ประชุมเตรียมงาน คืนสู่เหย้า เข้าคืนถ้ำสัมมาสิกขา จัดที่บ้านราชฯ ในวันที่ ๓-๕ พ.ค. ซึ่งมีนร.ก.ศ.น.และสัมมาสิกขาที่จบไปจากพุทธสถานต่างๆ รวม ๗๒๓ คน และคุรุรุ่นแรกๆ ทุกท่าน นอกจากนี้ ได้เลือกกรรมการ ประสานงานกลาง เพื่อส่งจดหมายแจ้งให้ศิษย์เก่า มาร่วมงาน และพ่อท่านได้เขียนจดหมาย ถึงศิษย์เก่า ส่งพร้อมกับจดหมายแจ้งด้วย และในวันที่ ๕ พ.ค. มีรายการศิษย์เก่าพบคุรุ และก่อนจาก พ่อท่านจะมอบ ของที่ระลึก แก่ศิษย์เก่า ที่จบ ม.๖ ทุกคน ใครทราบข่าวๆแล้ว ช่วยบอกต่อๆกันไปด้วย ตลอดงาน อาสาสมัครบุญนิยม หรือปลอกแขนเขียว แต่ละคน เจียดเวลาช่วยแบ่งเบางานต่างๆ สาธุ! ๒๒ ก.พ. วันสุดท้ายของงาน ช่วงก่อนฉัน ตัวแทน ม.วช.กล่าวสรุปงาน สมณะเดินดิน ติกขวีโร และสมณะบินบน ถิรจิตโต ให้ข้อคิด แล้วทานอาหารร่วมกัน เสร็จแล้วช่วยกันเก็บงาน แยกย้ายกันไปกอบกู้มนุษยชาติ ประกาศโลกบุญนิยม ด้วยความแข็งแรง เข้มข้น ทนทาน ยืนนาน แน่นลึก นึกนบ สำหรับผู้มาร่วมงานได้ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกดังนี้ นางดวงธรรม อุดมรักษ์ ร้อยเอ็ดอโศก "มาครั้งที่ ๘ แล้ว ดีมาก ตั้งใจมารับธรรมะโดยเฉพาะ พ่อท่านเทศน์ธรรมะ โลกุตระดีมาก ฟังแล้วมีพลัง ได้ฟังธรรมจากท่าน ยุทธวโร จึงได้รู้ว่าเรายังไม่ถึงโสดาบัน และประทับใจ ที่ท่านกล้าตาย เทศน์เรื่อง การทำใจ ให้ยินดี ได้ประโยชน์มาก เพราะตรงกับสภาวะ แวะไปที่เรือนคนของแผ่นดิน ได้ดูดเลือดพิษทิ้ง และดีท็อกซ์ รู้สึกสุขภาพ ดีขึ้นมาก" นายแผนผา คงนาวัง หินผาฟ้าน้ำ "ครั้งที่ ๔ ครับ ได้มาฝึกตัวเอง มาจุดไฟให้กับตัวเอง เพิ่มพลกำลัง รู้สึกมีไฟขึ้น อยู่ที่ชุมชน ก็ทำแต่งาน งานเร่งรีบจนเครียดในบางครั้ง มางานนี้ได้ฟังธรรมพ่อท่าน ได้รู้เรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ เรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ การศึกษา เป็นการเพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง ได้รับประโยชน์มาก ได้คบคุ้นกับพี่น้องเยอะแยะ หากอยู่ที่หินผาฯคงทำแต่งาน" นางไฟบุญ ศรีจันทร์ ดินหนองแดนเหนือ "มาครั้ที่ ๑๔ ค่ะ ได้มาเจอเพื่อนๆก็ดีใจ ทำวัตรเช้าไม่เคยขาด ฟังตลอด เข้าใจดี ไม่ง่วง แต่ปีนี้สุขภาพไม่ดี เท้ามีปัญหา ชอบทุกรายการ นายหลอมเหลา พงษ์ประเสริฐ ภูผาฟ้าน้ำ "มาร่วมงานเป็นครั้งที่ ๑๐ ครับ ได้ตอกย้ำตัวเอง ในแนวทางในการปฏิบัติธรรม บนเส้นทางสายนี้ เพื่อที่จะให้เรามีความมั่นคง ประทับใจพ่อท่าน ที่เสียสละเวลา ทำให้ลูกๆได้ความรู้ มีผลต่อจิตวิญญาณ เพื่อที่จะไปสร้าง มวลมนุษยชาติ". |
หัวเราะวันละนิดยืดชีวิตให้ยาว การหัวเราะร่วมกัน เป็นวิธีกระชับความสัมพันธ์ในหมู่คนอย่างหนึ่ง เพราะการหัวเราะทำให้เราสามารถปลดปล่อยตัวเอง และประสานตัวเองเข้ากับผู้อื่นได้ด้วย การหัวเราะนอกจากจะมีประโยชน์ในแง่ของอารมณ์และสังคมแล้ว ยังมีผลดี ต่อร่างกาย ของเรา คือ เวลาที่เราหัวเราะ เราจะสูดอากาศเข้า-ออกจากปอด ได้มากกว่า การหายใจปกติ ดังนั้น การหัวเราะ จึงเป็นการนำ ออกซิเจน เข้าเลือดได้มากกว่า และเป็นการกระตุ้น การไหลเวียนของเลือด ทำให้สมองแจ่มใสขึ้น หลังการหัวเราะ จะรู้สึก ผ่อนคลายตามมา กล้ามเนื้อต่างๆจะคลายตัว มากกว่าตอนก่อนหัวเราะ ทำให้เกิดอาการ ผ่อนคลายความเครียด ช่วยลด ความตื่นเต้นทางกาย ที่มีต่อปัญหาประจำวัน นักจิตวิทยามีความเห็นว่า อารมณ์ขันสามารถจัดการกับปัญหาชีวิตประจำวันได้ดี ช่วยสร้างและรักษาสุขภาพจิต ที่ดีเอาไว้ มีการวิจัย พบว่า ผู้ที่มีอารมณ์ขันเป็นปกติ จะไม่ค่อยป่วยหลังอายุ ๔๐ ปี ส่วนคนที่มีอารมณ์เคร่งเครียด ขี้หงุดหงิด จู้จี้ ขี้บ่น มองโลก และคนในแง่ลบ จะมีปัญหาทางสุขภาพมากเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ยิ่งพบอีกว่า ผู้ที่มีอารมณ์ขัน ชอบหัวเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส จะช่วยชลอความเสื่อมของร่างกาย เพิ่มพลังการมีชีวิตอยู่ ผู้ที่หัวเราะ ร่วมกัน มักจะอยู่ด้วยกันยืดและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข จึงขอเชิญชวนพวกเรามาหัวเราะร่วมกัน เพื่อเพิ่มพลังกายพลังใจต่อสู้กับกิเลสร่วมกัน ดีกว่ามาทำหน้างอ คอหัก ตาเขียวใส่กัน จะได้อยู่ปฏิบัติธรรม ด้วยกันนานๆ และอยู่ด้วยอายุยืนยาว แบบมีความสุขด้วยค่ะ. กิ่งธรรม |
การประชุมต่างๆในงานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ ๒๗ ประชุมพรรคเพื่อฟ้าดิน
และองค์กรบุญนิยม ดำเนินการประชุมโดยนางสาวขวัญดิน
สิงห์คำ หัวหน้าพรรคฯ เรื่องที่ประชุมมีดังนี้ พ่อท่านให้โอวาทปิดประชุมว่า งานที่เรากำลังทำเป็นงานระดับล้ำหน้าที่เขาทำกันไป พวกเรากันเอง พยายาม ทำความเข้าใจ กันให้ดี อย่าตั้งแง่ แต่ให้ประสานเชื่อมโยง ควรเปลี่ยนจิตใหม่ ที่จะร่วมไม้ร่วมมือกัน ให้เข้ากันได้อย่างกลมกลืน ตามหน้าที่ ฐานะของแต่ละบุคคล การประชุมองค์กรบุญนิยม
แบ่งองค์กรบุญนิยมออกเป็น ๑๑ หน่วยงาน ประชุมตลาดอาริยะและ
๖ พาณิชย์ เรื่องที่ประชุมมีดังนี้ ๒.การตลาดไร้สารพิษ(ผัก
ผลไม้ พืชไร่) กรณีความคืบหน้าและปัญหาที่น่าสนใจ นำเสนอในงานปลุกเสกฯ ๔.นโยบายออกร้านบุญนิยม พ่อท่านให้นโยบายร้านบุญนิยมว่า ในสังคมเขารับรู้เรา รู้จักกลุ่มชุมชนบุญนิยม เราต้อง ระมัดระวังตัว ไม่ฉวยโอกาส แต่ถือโอกาส ประกาศระบบบุญนิยม ถึงจะเป็นบุญ ให้ชัดเจน ถ้าเราขายต่ำกว่าทุน ลดราคา ลงได้ถึง ๓๐-๔๐ % ได้จริง ก็ไป แต่หากไม่ได้ก็ไม่ต้องไป หากจะไปขายในนามบุญนิยม จะต้องลดลงได้ถึง ๓๐-๔๐ % ๕.น้ำชีวภาพเพื่อซักล้างทดแทนเคมี มีการแจกตัวอย่างแชมพูทดลองใช้ในงานพุทธาฯ แก่ผู้ที่สนใจ กรุณาแจ้งผลการใช้ ในงานปลุกเสกฯ ๖.เรื่องอื่นๆ
-ขณะนี้ปฐมอโศกรวบรวมอ้อยทราย (น้ำตาลอ้อย) ได้ประมาณ ๕๐ ตัน ผู้ใดสนใจอ้อยทราย ราคาถูก ติดต่อโดยตรง ที่คุณทิวเมฆ ปฐมอโศก พ่อท่านให้โอวาทปิดประชุมว่า พัฒนาการของพวกเรา เรามีชีวิตอยู่ในสังคม มีการทบทวนปริยัติและปฏิบัติ มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และพากเพียรปฎิบัติ ชีวิตของลูกพระพุทธเจ้า จะเจริญทั้งด้านพิธีกรรม กิจกรรม จิตวิญญาณ ไปด้วยกัน ไม่แยกกัน วันนี้เราพูดถึงเงินล้านแล้วเฉยๆ อีก ๒๐ ปี แน่นอนกิจกรรมของเราพูดถึงเงิน ร้อยล้านได้แน่ เงินในระบบบุญนิยม เป็นสมบัติส่วนกลาง เป็นระบบที่โลกต้องการ แต่เขาทำไม่ได้ เราเริ่มสร้างระบบ วัฒนธรรม ละเอียดมาเรื่อยๆ เป็นเรื่องของ มนุษยชาติ ศาสนาไม่ได้แยกออกจากเรื่องใดๆ แต่จะเป็นแกนหลัก ของทุกอย่าง แทรกอยู่ทั้งในการศึกษา การค้า การบริหาร มนุษย์จะต้องมีธรรมะ มีศาสนา สังคมจึงจะเจริญ พวกเราศึกษามาแล้ว ก็มาทำงานฟรี
ที่นี่เราเอาความรู้ความสามารถมาทำงานเสียสละ ชีวิตเราก็อยู่รอด ชีวิตเราเจริญ
เพราะเราจนได้ เราแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคม พวกฆราวาสที่มาทำงานแล้ว ทำใจได้เหนือ
ปฏิบัติธรรม ในเพศฆราวาสนี่แหละ พิสูจน์ ถ้าเอารากฐานธรรมะ ของพระพุทธเจ้า
เป็นรากฐาน ในการดำเนินชีวิต โลกต้องการ ไม่ใช่แค่สังคมต้องการ เราค่อยๆ
กว้างเกื้อออกไป -คุณถึงไท แสงสุริยจันทร์ แจ้งว่า ได้ส่งหนังสือเรียนเชิญท่านนายกฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นประธาน เปิดงานเพื่อฟ้าดิน ในวันที่ ๑๖ พ.ค. ๔๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. และเรียนเชิญร่วมเสวนา หัวข้อเรื่อง "การพัฒนาชีวิตแบบยั่งยืน" ในเวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น. -ตกลงให้ใช้คำว่า กสิกร แทนคำว่าเกษตรกร และคำว่ากสิกรรม แทนคำว่าเกษตรกรรม เพราะชาวอโศก ทำกสิกรรมอย่างเดียว ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ -แจกเอกสาร การระดมสมองเตรียมเพื่อฟ้าดิน
ในงานตลาดอาริยะปีใหม่' ๔๖ ไปยังเครือข่ายต่างๆ ๒.การเก็บเมล็ดและพันธุ์พืช ถือเป็นวาระแห่งชาติ จะกอบกู้ชาติได้ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ โดยแม่ธรณี เป็นแหล่งเก็บ ตามธรรมชาติ ที่ดีที่สุด หรือกระจายกันไปปลูก ให้มากที่สุด ขอความร่วมมือจากพี่เลี้ยง ที่ออกไปประเมินผล ตามศูนย์ต่างๆ ให้หาเมล็ด และพันธุ์พืช จากพี่น้องกสิกรด้วย และในงานปลุกเสกฯ ขอให้ญาติธรรม นำเมล็ดและพันธุ์พืช ที่แต่ละคนบริโภค นำมาร่วมแสดง หรือหากมีพันธุ์พืชที่ไม่สามารถนำมาร่วมแสดงได้ ก็ขอให้นำภาพถ่ายมาด้วย เพื่อเก็บเป็นข้อมูลต่อไป -ตั้งศูนย์พันธุ์พืช มีผู้ประสานงานกลาง ฝ่ายนักบวช สมณะเสียงศีล ชาตวโร, สมณะถ่องแท้ วินยธโร และสมณะธาตุดิน ปฐวีโร ฝ่ายฆราวาส นายไพโรจน์ อัครสีวร, นายวัลลภ จันดาเบ้า และนายถึงดิน วิฆเนศ ซึ่งรับผิดชอบข้อมูลเมล็ด และพันธุ์พืช -ตั้งศูนย์ปุ๋ยสะอาด มีผู้ประสานงานกลาง ฝ่ายนักบวช สมณะเสียงศีล ชาตวโร ฝ่ายฆราวาส นายสมพงษ์ คงจันทร์, นายข้าดิน ศรีเชียงสา และ หนึ่งพุทธ วิมุตตินันท์ ซึ่งบจ.ดินน้ำฟ้า รับซื้อเมล็ดพันธุ์จากกสิกรด้วย ๓.องค์กร คกร. แบ่งออกเป็น ๔ ภาค ตามศูนย์การทำงาน และให้ภาคเหนือ-กลาง-ใต้ เลือกตัวแทน ภาคละ ๕ คน และ คัดเลือกจาก ๕ คน เหลือ ๒ คน รวม ๖ คน เป็นตัวแทนภาค เพื่อเข้าประชุมเครือข่าย คกร. และ ภาคอีสาน ที่เลือกตัวแทน จากศูนย์ย่อย ๔ แห่ง แห่งละ ๓ คน แล้วเลือกตัวแทนจาก ๑๒ คน เหลือ ๖ คน รวม ๔ ภาค จำนวน ๑๒ คน เป็นตัวแทนกลาง ของแต่ละภาค เพื่อเข้าประชุมกับองค์กร คกร. ภาคเหนือ ศาลีอโศก เป็นศูนย์ภาคเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย, เชียงใหม่, สิงห์บุรี, เพชรบูรณ์ และแพร่ สมณะที่ปรึกษา สมณะเสียงศีล ชาตวโร ผู้รับผิดชอบ นายสมพงษ์ คงจันทร์, นายไม้ผล ธรรมชาติอโศก และนายบุญใส่เกล้า สมกระโทก ภาคกลาง สันติอโศกเป็นศูนย์ภาคกลาง
ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม, ร.ร.ผู้นำกาญจนบุรี, บูรพาอโศก และ สันติอโศก
สมณะที่ปรึกษา สมณะนาไท อิสสรชโน ผู้รับผิดชอบ
นายสมพงษ์ ฟังเจริญจิตต์ ๔. การถ่ายทำสารคดี พ.ฟ.ด. ศูนย์อบรมใดที่ต้องการถ่ายทำสารคดีของกสิกร ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตนเอง ติดต่อได้ที่ นายหินไฟ หมายยอดกลาง และที่ประชุมมีมติซื้อรถคันใหม่ ให้กับทีมแสง สี เสียง ที่ชำรุด ๕.คัดเลือกตัวแทนองค์กรบุญนิยม เพื่อเข้าประชุม ๓ หน่วยงาน คือ ปุ๋ยสะอาด-ขยะวิทยา-กสิกรรมไร้สารพิษ ประชุมคุรุสัมมาสิกขา วาระการประชุม วาระที่ ๒ -ชุมชนดินหนองแดนเหนือ(อุดรฯ)
ขออนุญาตเป็นโรงเรียนสาขาของสัมมาสิกขาศีรษะอโศก ทำอย่างไร ที่สัมมาสิกขาแต่ละแห่ง จะสามารถปรับสมดุลของเวลา ให้แก่กันได้ วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่องไม่มี เพราะไม่มีการบันทึกไว้ วาระที่
๔ เรื่องเพื่อพิจารณาในการประชุมคราวหน้าที่พุทธสถานศีรษะอโศก วาระที่ ๕ กำหนดสัมมนาคุรุประจำปี ๒๕๔๖ ในวันที่ ๔-๕ เม.ย.๔๖ ณ พุทธสถานศีรษะอโศก พ่อท่านให้โอวาทปิดประชุมว่า
ชาวอโศกทำงานเป็นขบวนการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพพอสมควร
มีผลดี ผลสูง ความสามัคคี ความอบอุ่นทางจิต ที่เราเป็นได้ต้องอาศัยธรรมะของพระพุทธเจ้า
ที่ต่างคนต่างก็ลดกิเลส ซึ่งต่างจากทางโลกย์ หากพวกเรา ไม่ฝึกทางจิตวิญญาณ
จะระแหง". |
ทีนี้ลองมาตามเรื่องอื่นๆดูบ้างฮะ... นายอำเภอสมดี ผู้ไม่มีอบายมุข มาช่วยกล่าวเปิดงานด้วยจริงใจ และน่าประทับใจ พาครอบครัวมาฟังธรรมจนจบ จิ้งหรีด รู้สึกว่า คงเป็นนายอำเภอคนแรกกระมัง ที่พาครอบครัว มาร่วมเปิดงานพุทธาฯ แต่ก็แปลกใจว่า เหตุใด จึงมีชาวบ้าน บางแห่ง ไม่ค่อยชอบ หรือไปขัดผลประโยชน์ ของแหล่งอบายมุขหรือเปล่า ก็มิทราบได้... จิ้งหรีดอยู่งานพุทธาฯ ได้ยินเรื่องที่ทำให้มีความรู้สึกว่า โลกเราทุกวันนี้ไม่ค่อยน่าปลอดภัยเหมือนก่อน ยิ่งมีข่าวสงครามโลก จะระเบิดอีกครั้ง ก็ยิ่งเห็นว่าโลกกำลังลุกเป็นไฟ... สามีของญาติธรรมสำเนียง ปานปรุง ถูกคนร้ายฆ่าเสียชีวิตที่ จ.เชียงใหม่... สตรีวัยสาววิ่งหนีผู้ชาย ๓ คน เข้าไปที่ ชมร.ช.ม.ถึงขนาดฉุดกระชากลากถู ดีที่ลุงดาบขจร และแม่หนึ่งในธรรม ช่วยไว้ได้ โดยเรียกตำรวจ ๑๙๑ มาระงับสถานการณ์ อันป่าเถื่อนจากฝ่ายชายที่อ้างว่า เป็นสามีของฝ่ายหญิง เรื่องนี้ก็ต้องชื่นชมตำรวจ ที่มาช่วยระงับเหตุ ได้รวดเร็วทันสถานการณ์... "โอ่ง" ลูกชายคุรุฝนฟ้า ออกไปกินอาหารนอกที่พัก ก็ถูกโจรขี่มอเตอร์ไซด์เอามีดจี้ได้เงินไป ๕๐๐ บาท แต่มีการต่อสู้ ถึงกับเลือดตก ยางออกทั้งคู่ ท่ามกลางสายตาประชาชนที่ยืนดู แต่ไม่มีใครช่วย โอ่งต้องขี่จักรยานไปหาเพื่อน พอดีเพื่อน เพิ่งกลับจาก ศาลีอโศกเห็นเข้า จึงรีบนำส่งโรงพยาบาล ปรากฏว่า โอ่งถูกมีดแทง ๑๓ แห่ง ต้องเย็บถึง ๘๓ เข็ม ตอนนี้ ก็ปลอดภัยแล้ว... ลูกชายญาติธรรมกลุ่มศรีสงครามขับรถไปขายสินค้าแถวประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ถูกคนร้ายยิง ๕ นัด ด้วยปืนเก็บเสียง จนเสียชีวิต เพราะไปขัดผลประโยชน์ของเขา... เมื่อสังคมเราไม่ปลอดภัยมากขึ้น ชาวเราควรร่วมกันขวนขวายในทางธรรม ช่วงหนึ่งที่พ่อท่านเทศน์ ในวันมาฆบูชา มีอยู่ตอนหนึ่ง พ่อท่านบอกว่า ใครมาร่วมงานพุทธาฯแล้ว ทำตัวเป็นแขก ไม่ขวนขวายช่วยงาน ต่อไปจะแจกหนวดให้ จะได้รู้ว่า เป็นแขกจริงๆ พอวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่า ชาวเราขวนขวาย หางานกันเพิ่มขึ้น ก็ไม่รู้ว่า กลัวจะได้หนวด จากพ่อท่านหรือเปล่า?... คืน ๒๑ ก.พ.๔๖ ท่านนานุ่ม กัสสโก ซึ่งเป็นสมณะที่สูงวัยรูปหนึ่ง เป็นโรคหัวใจ และความดันโลหิตขึ้นสูงถึง ๒๐๐ ญาติธรรม ในงานพุทธาฯ จึงรีบพาเข้า ร.พ.ไพศาลี... โยมลำพัน ชะเอม เป็นศิลปินพื้นบ้านที่พ่อท่านชื่นชมว่า เป็นศิลปินที่เป็นประโยชน์ต่อโลก ยิ่งกว่าศิลปินทางโลกที่ดังๆ นอกจาก จะแต่งเพลงได้แล้ว ก็ยังสามารถร้องเพลงได้ด้วย แถมยังออกเท็ปเพลง สู่ตลาดได้อีก ใครสนใจ ติดต่อซื้อหาได้ ที่ศาลีอโศก... นักเรียนสัมมาสิกขาจากหลายแห่งก็มาช่วยงานกันดี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พูดออกวิทยุรัฐสภายืนยันว่า ร.ร.สัมมาสิกขา ของเรา ปลอดยาบ้าทุกแห่ง... งานพุทธาฯ'๔๖ นี้เกิดยุทธการพุทธาฯ '๔๖ คือวันสุดท้ายของงาน ชาวเราทุกฝ่ายร่วมกันเก็บกวาดงาน เสร็จภายใน ๔๖ นาที หลังจากพ่อท่าน นำทำวัตรเช้าเสร็จ แถมยังมีการนับเวลาถอยหลัง เป็นการสิ้นสุด ยุทธการนี้ด้วย (๙... ๘... ๗... ๖.. ๕... ๔... ๓...๒... ๑... ๐ เฮ...) ซึ่งก็สามารถทำได้เสร็จ ตามเป้าหมาย... จากงานพุทธาฯคราวนี้ ใครทดสอบเสียงไมค์หรือรับโทรศัพท์ อาจจะได้ยินคำใหม่ๆที่คุ้น แต่อาจไม่คุ้น คือคำว่า "พุทโธ ธัมโม สังโฆ" ไม่เชื่อก็ลองโทรไปหาท่านจันทร์ดูก็ได้ฮะ...จี๊ดๆ มุขเด็ดของพ่อท่าน...ในช่วงงานพุทธาฯที่ผ่านมา พ่อท่านปล่อยมุขเด็ดกระแทกโดนใจลูกๆไปหลายคน พ่อท่านเทศน์ว่า พวกเราหลายคน ทำงานยังต้องอาศัยเครื่องล่ออยู่ เหมือน "ลา" ที่เขาผูกหญ้าล่อให้เดินไปข้างหน้า พวกเราหลายคน ก็ยังเป็น เหมือน "ลา" อยู่ แล้วพ่อท่าน เรียกลูกๆทั้งหลายว่า "พวกลาทั้งหลาย เมื่อไหร่จะเลิกเป็นลาซะที" สำหรับคนที่ชอบทำ แต่งาน สบายๆ ทำตนเป็นคนชั้นสูง ชอบทำแต่งานสูง อยู่บนหอคอยงาช้าง ไม่รู้จักติดดินบ้าง อีกหน่อย คงจะต้อง ปลูกต้นตาลไว้ให้ จะได้อยู่บนยอดตาลโน้น ส่วนพวกที่มางานนี้แทนที่จะช่วยกันเป็นเจ้าภาพ กลับชอบทำตัวเป็นแขก ทั้งที่บ้างคน ก็มาร่วมงานตั้งหลายครั้ง หลายคราวแล้ว พวกนี้ เดี๋ยวจะต้องแจก "หนวด"ให้ จะได้เป็นแขกจริงๆซะเลย ลูกๆเจอมุขรวมเด็ดของพ่อท่านแล้ว ต่างขวนขวายงานเป็นการใหญ่ แต่ถ้าใครเป็นทั้ง "ลา" ที่มี "หนวด" และอยู่บน "ยอดตาล" คงจะลำบากพิลึก อ๊ะอ้าว! จิ้งหรีดเอง มีหนวดตั้งแต่เมื่อไหร่นี่ ต้องขอลาไปโกนหนวดก่อนเด้อ...จี๊ดๆๆ คืนสู่เหย้า เข้าคืนถ้ำสัมมาสิกขา
ครั้งที่ ๑ ขอเปลี่ยนเกม บุญนิยมร้านแรก ผู้รับใช้ ก่อนจากขอฝากคติธรรม-คำสอนของพ่อท่านที่ว่า พบกันใหม่ฉบับหน้า จิ้งหรีด |
ชมร.หน้าสันติอโศก
(ชมร.สตอ.) ชมร.หน้าสันติอโศก (ชมร.สตอ.) เปิดโรงบุญฯแจกอาหารไร้สารพิษ เมื่อวันที่ ๒๔ ก.พ.๔๖ ได้มีการแจกอาหารฟรี (โดยไม่มีการซื้อขาย) ให้กับลูกค้าที่มาทานอาหาร ทำให้หลายคน เกิดความสงสัยว่า ทำไมถึงแจกฟรี แถมอาหารก็มีให้เลือกรับประทาน มากมายหลายชนิด คุณปีกฟ้า เภาประเสริฐ ซึ่งเป็น เลขาฯได้เปิดเผยให้ฟังว่า เมื่อปลายเดือน ม.ค.๔๖ ชาว ชมร.สตอ.ได้ประชุมลงมติว่า จะแจก โรงบุญเดือนละ ๑ ครั้ง ซึ่งทาง ชมร.สาขาเชียงใหม่ และ มรฐ.(ร้านมังสวิรัติ จ.นครปฐม) ได้มีการแจกอาหารฟรี เพื่อเป็น การคืนกำไร ให้กับลูกค้าไปหลายครั้งแล้ว ทางทีมงานเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างบุญกุศล จึงขอเจริญรอย ตามบ้าง บรรยากาศโรงบุญเต็มไปด้วยความอบอุ่นแบบกันเอง เพราะแจกแบบอิ่มเอง (บุฟเฟ่ต์) เหมือนกับว่า ผู้ที่มารับประทานอาหารนั้น ได้นั่งรับประทาน อยู่ที่บ้านของตัวเอง หลายท่านบอกว่า วันหน้าจะเอาพืชผักผลไม้ มาร่วมด้วย บางท่าน ก็ขอบริจาคเงิน สมทบทุน แต่ทางเราได้ชี้แจงไปว่า นโยบายของโรงบุญนั้น ห้ามเรี่ยไร ห้ามซื้อขาย ถ้าหากอยากจะร่วมบุญ ก็สามารถติดต่อได้ ในวันที่ไม่มีการแจกโรงบุญ ญาติธรรมบางท่าน อยากให้มีบรรยากาศดีและพิเศษอย่างนี้อีก จึงขอร่วมบุญดังนี้ ๒๕ ก.พ.๔๖ คุณเกสร ตะบูนพงษ์
เป็นเจ้าภาพแจกทั้งร้าน ทุกคนที่ได้มาร่วมงานโรงบุญในครั้งนี้
ต่างประทับใจ ซาบซึ้งใจ กับคำที่ว่า การเสียสละออกไป นั่นแหละคือ การได้กำไร
ให้กับชีวิต. |
งาน "ฟ้าใส ใจสว่าง กลางสวนน้ำ" (บึงกุ่ม) ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๕ ก.พ.๔๖ ทีมงานกองหนุนจริยธรรมจัดงานเผยแพร่ธรรมะในสวนน้ำบึงกุ่มเป็นครั้งที่ ๒ ทีมงานขนเครื่องเสียง ออกจากสันติอโศก ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น. สิกขมาตุบุญจริง ขนหนังสือดอกบัวน้อยเล่มล่าสุด ไปแจกจ่าย แก่ผู้ร่วมกิจกรรม ทุกคน ยังไม่ทันเริ่มรายการ พระพิรุณก็เริ่มโปรยปรายความฉ่ำเย็นเพิ่มจากเดิมที่บรรยากาศเย็นสบายอยู่แล้ว เราก็ย้ายเวทีกัน ไปใต้ร่มไทรย้อย เพื่อหลบฝน แต่เมื่อฝนหนาเม็ดขึ้น ท่าน รปภ.ผู้เอื้ออารี มีเมตตาแห่งสวนน้ำฯ ก็ได้เปิดอาคาร ให้เข้าไปใช้ได้ พวกเราทีมงาน รวมทั้งผู้ร่วมกิจกรรมก็กุลีกุจอขนของกันคนละไม้ละมือ ไม่เว้นแม้เด็กน้อย ที่มาร่วมงาน คุณยุทธนา เพียรเวช เริ่มงานด้วยหัวข้อ "กินอยู่อย่างไร ไม่ตายเร็ว" เรียกความสนใจแก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง สมณะร้อยดาว ปัญญาวุฑโฒ แสดงธรรมเรื่อง "จันทร์กระจ่างกลางฟ้า" ทำให้พวกเราต้องหันมาพิจารณาตนเองว่า พระจันทร์ ในหัวใจของตนนั้น เริ่มแจ่มกระจ่างกันบ้างหรือยัง ด้วยความรักของพระพุทธเจ้า มอบให้แก่พุทธบริษัทนั้น แถมท่าน ยังแจก หนังสือ "เราข้ามเวลามาพบกัน" และ ซีดีเทศนาของท่านด้วย สมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ นำทีมงาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" ร่วมกิจกรรมด้วยลีลา "ธรรมรส-บทเพลง" โดยคุณประเสริฐศรี จันทน์อาภรณ์ (คุณนายสะอาด) นักร้อง ๒๐ ภาษา (เคยมาร่วมงาน "ธารน้ำใจสู่วัชราภรณ์") มาขับขานเพลง "ขวัญ" ซึ่งเป็น การประพันธ์เพลงโดย พ่อท่านโพธิรักษ์ เพื่อเตือนให้เราสร้าง "ขวัญ" ให้แก่ตนเอง ตามด้วยคุณสุขเกษม แพรมณี ในเพลง "ก่อนสิ้นแสงตะวัน" ย้ำเตือนให้เรา อย่าได้ประมาท ในวันเวลาที่ผ่านพ้น เพราะใกล้หมดลง คุณประเสริฐศรี ขับร้องเพลง "ม่านไทรย้อย" ช่างเหมาะสมกับบรรยากาศ เสียนี่กระไร ทั้ง ธรรมรส และ บทเพลง จากท่าทีและลีลาการนำเสนอผสมกับการเทศนา เรียกความครึกครื้นและซึมซับด่ำดื่ม "ธรรมรส" เข้าไว้ในจิตใจ ของทุกผู้ทุกคน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า
เสียงดนตรียังมีมนต์ขลังสำหรับมนุษย์...อยู่ที่ว่า เราเลือกที่จะฟัง
"เนื้อหาสาระ" แบบใด ให้เป็นอาหารใจ ของเรา. |
ประชุมมหาเถระครั้งที่
๕ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔-๑๗ ก.พ. ๒๕๔๖ ณ พุทธสถานศาลีอโศก มีการประชุมสมณะมหาเถระหรือสมณะที่บวชไม่ต่ำกว่า ๒๐ พรรษา ครั้งที่ ๕ เพื่อความเข้าใจชัดในการปฏิบัติธรรม และการทำงานช่วยสังคม การประชุมเริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น. เมื่อ ๑๓ ก.พ. ๔๖ ที่เรือนคนของแผ่นดิน อาคารสร้างใหม่ ซึ่งใช้เป็นที่พักของเกษตรกร ที่ทาง ธ.ก.ส. จัดมาให้อบรม สมณะบินบน ถิรจิตโต เป็นผู้อ่านบันทึกรายงานการประชุมครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๖-๘ พ.ย. ๔๔ สมณะเดินดิน ติกขวีโร ทำหน้าที่ดำเนินการประชุม โดยมีสมณะมั่นแจ้ง พุทธชาโต กับสมณะพิสุทธิ์ พิสุทโธ ช่วยบันทึก การประชุม ที่ประชุมได้ให้สมณะมหาเถระแต่ละรูป รายงานข้อปฏิบัติต่างๆที่ได้มีการตกลงกันในที่ประชุมมหาเถระฯ เป็นเบื้องต้น ตอนท้าย มีการนำเสนอปัญหาต่างๆ ให้หมู่กลุ่มพิจารณา จนถึงเวลาประมาณ ๒๑.๓๐ น. จึงยุติ เช้าวันที่ ๑๔ ก.พ. ๔๖ เวลาประมาณ ๐๗.๐๐ น. พ่อท่านได้มาตอบข้อซักถามและให้โอวาทแก่สมณะมหาเถระ จำนวน ๑๙ รูป (ลาประชุม ๓ รูป) โดยสรุป คือ พ่อท่านให้เข้าใจความจริงว่า ผู้อยู่เหนือโลกจริงจะเอ็นดูต่อโลก ต้องการช่วยโลก ไม่ใจดำ แต่ให้ระวัง จะขาดเจโต จบปัญญาเฟ้อ ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ความรู้สึกของคนในชุมชนและมหาเถระที่ร่วมประชุม ดังนี้ นายสมเจตน์(เพียงพอ) ชัยรัตน์ อายุ ๔๙ ปี "รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ดี ทำให้ชุมชนรู้สึกมีความอบอุ่น มีความสงบ มีความเย็น ที่สัมผัสได้ ถ้ามีอย่างนี้ทุกปีก็จะดี ศาลีฯ เป็นเหมือนชายแดน หากไม่มีการประชุมสมณะผู้ใหญ่ คงไม่ค่อยได้มา ซึ่งก็เป็นอะไร ที่พิเศษ เหมือนปาฏิหาริย์ ขนาดฝนก็ยังตกเลย" นายอุดม พรหมสีดา "มีปีติมากที่สมณะผู้ใหญ่มาระดมสมองที่นี่ ถ้าหากอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร ท่านจะได้ตัดสินใจไป อะไรจะแก้ไขได้ จะได้แก้ไข ญาติโยมก็จะได้มาทำบุญ ทำทานด้วย และพร้อมรับฟัง คำติเตือนจากท่านด้วย" สมณะผืนฟ้า อนุตตโร "ก็ถือว่าดี ได้มาทบทวนข้อวัตรปฏิบัติของมหาเถระ ที่พาน้องๆทำงานศาสนา ระดับหัวหอก หากไม่ชัดเจน ก็จะนำพากันลำบาก และก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่ได้มาสัมมนากัน มาครั้งนี้ ก็ได้งาน ๒ อย่าง มาช่วยเตรียมงานด้วย หรือ มาให้กำลังใจผู้มาเตรียมงาน ที่ได้เห็นสมณะมามาก ก็มีกำลังใจ ในส่วนตัว ก็ได้ทำความชัดเจนตัวเอง อะไรไม่ชัด ก็จะได้ถาม สมณะผู้ใหญ่ -พ่อท่าน และได้ใกล้ชิดสมณะผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก แม้มีการประชุมที่ไหน ก็ยินดี ที่จะเข้าร่วมประชุม" สมณะมั่นแจ้ง พุทธชาโต "โดยจริงแล้วในส่วนมหาเถระมีผลต่อชาวอโศกมาก หากมีการประชุมบ่อยๆ จะได้รู้ชัดตัวเอง และปรับปรุงแก้ไขต่อไป ในหลายเรื่องๆก็ไม่ง่ายที่จะเกิดความปรับตัว การมองเข้าไปหาด้านใน ส่วนใหญ่ ก็เป็นอย่างที่ วิเคราะห์กัน ถ้ามองออกไปข้างนอกก็เห็นง่าย โดยสรุปคือ ทำอย่างไร มหาเถระ จะมีความลดละได้ ในปริมาณ ที่มากพอ จนเป็นน้ำหนัก จนกระทั่ง ถึงทำความดี และไม่ยึดถือความดีว่าเป็นเรา เพราะถ้าไม่ลดละ จะทำให้ปักมั่น พุ่งไปในงานนอก มากไป ส่วนใหญ่ใช้มรรคมีองค์ ๘ ทำอย่างไร จะหันกลับมาเป็นการทำให้พ้นทุกข์ ในส่วนตน ในขณะที่ช่วยคนอื่น เห็นว่า องค์ประกอบในมหาเถระ ถ้ามาดูแลภายในมากขึ้น ชาวอโศกจะเพิ่มพลังมหาศาล" สมณะคิดถูก
ทิฏฐูชุกัมโม บวช
๒๒ ส.ค. ๒๕๒๕ รู้สึกกับการประชุมมหาเถระครั้งแรกว่า ๑๓ ก.พ. เริ่มประชุม เนื่องจากรอมาหลายวัน เวลาประชุมจริงๆ ก็รู้สึกเป็นปกติ เหมือนตอนประชุมมหาปวารณา เพียงแต่ ประเด็นที่ประชุมไม่กว้าง ส่วนใหญ่จะพูดคุยเฉพาะ เรื่องเกี่ยวกับมหาเถระด้วยกัน ใครมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง อะไรที่คิดว่า ควรปรับปรุง ให้ดีขึ้น ในฐานะน้องใหม่ ยังไม่รู้ข้อตกลง ของมหาเถระที่ตกลงกันไว้ว่า จะต้องทำอย่างไรบ้าง เลยไม่ได้รับ ขุมทรัพย์ มากมาย เพียงแต่ให้ระวัง เรื่องการใช้เหตุผล ถ้ามากเกินไป ก็อาจจะทำให้น้องๆ ไม่กล้าว่าเราได้ อีกประเด็นที่คุยกันก็คือเรื่องคอร์สมหัศจรรย์ การมีผู้ไปเข้าคอร์สมากๆ แสดงว่าข้างล่างไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือ สร้างความอบอุ่นได้ ฉะนั้นให้สมณะมหาเถระแต่ละแห่ง ช่วยกันเพื่อลดภาระทางภูผาฟ้าน้ำ เพราะถ้าคนขึ้นไปมากๆ สมณะนวกะ ก็จะขาด ความอบอุ่น เพราะอาจารย์ต้องมาเอาภาระ กับญาติโยม ไม่มีเวลาสอนนวกะ ก่อนเลิกประชุม
พ่อท่านได้เมตตาไปให้โอวาทปิดประชุมแทนภันเตสันตจิตโต ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
พ่อท่านเตือนให้ระวัง เรื่องการทำสังฆเภท พ่อท่านบอกว่า การลาออกมาจากหมู่ใหญ่ของพวกเรา
เป็นการประกาศนานาสังวาส แต่สงฆ์หมู่ใหญ่ ทำให้เป็นสังฆเภทเอง และพ่อก็ยังสอน
ให้มหาเถระ เรียนรู้โลกวิทูให้มาก พุทธไม่หนีโลก แต่เหนือโลก ทั้งโลกธรรม
- โลกอัตตา และ พ่อท่านก็ยังชี้ให้เห็นว่า สังคมทุกวันนี้เดือดร้อน เพราะไม่อยู่เหนือโลก
เป็นทาสโลกธรรม พอฟังแล้ว ได้ข้อคิดว่า คนที่จะช่วยคนได้ คือคนที่อยู่เหนือโลกได้แล้วเท่านั้น
ถ้าตัวเองยังเอาตัวเองไม่รอด แล้วจะไป ช่วยแก้ไขปัญหาให้คน ให้สังคม ได้อย่างไร
มันตรงกับที่พ่อท่านเคยพูดไว้ว่า นักการเมือง จะต้องมีอาริยะคุณในตน จึงจะเป็นนักการเมือง
ที่มีคุณค่า ต่อสังคม สมณะเองก็เช่นกัน ถ้าเราเองยังเป็นภาระต่อสังคม จะมีคุณค่า
ต่อสังคมได้อย่างไร การทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี จึงมีค่ากว่า คำสอน". |
ชื่อ
นางเจียม กรพาณิชย์ คุณยายเจียม เป็นผู้อายุยาวที่ขยันมา..ก...ก ช่วยงาน ชมร.จตุจักรสมัยอยู่ฝั่ง อตก. ปอกหอม-กระเทียม -คั่วถั่วลิสง สำหรับ ทำน้ำพริกขนมจีน พอย้ายมาอยู่ หน้าสันติอโศก ยายก็ไปช่วยขายน้ำเต้าหู้อีก ตอนนี้ ยายป่วยเป็นมะเร็ง แต่ยังคงช่วยงาน เหมือนเดิม เอ๊ะ...น่าสนใจแล้วซิ รู้จักประวัติกันก่อน คุณยายผู้ขยัน บรรพชนของชมร. ตอนที่แข็งแรงยายก็ช่วยหาฟืนเข้าโรงครัว ปอกกระเทียมเหมือนเดิม ยิ่งตอนนี้มีงานอบรม ธ.ก.ส. ก็ปอกมากขึ้น คนอื่น เขาก็รับงานกันไป ยายก็รับปอกกระเทียม เหมือนเดิม ไม่กลัวตายหรอก ไม่กลัวตายหรอก ตายก็เผาเลยไม่ต้องรอลูกหลาน ฟืนสำหรับเผายายก็เตรียมไว้แล้ว ป่วยนี่ก็ดีนะ ยายได้พักผ่อน ได้ทำงาน เบาๆบ้าง กินไม่ลงเมื่อไรก็ตายเมื่อนั้น ตอนนี้ยังกินได้ หากทำงานได้ก็อยากอยู่ต่อ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ควรอยู่ หากตายก็อยากเกิดในอโศกนี่แหละ จะได้กลับมาช่วยเขาทำงาน เห็นเด็กๆ ทำงานแล้วสงสาร อยากช่วยเขาไปทุกอย่าง ทุกวันนี้ ป่วยชนิดความตายยืนอยู่ตรงหน้า ยายก็ไม่หวั่น ประมาณว่าทำงานจนนาทีสุดท้ายของชีวิต ใครที่ขี้เกียจทำงาน ต้องอ่าน เรื่องของ ยายเจียม ผู้ขยัน อีกหลายๆรอบนะ จะได้ไม่เสียชาติเกิด ขอคารวะในความขยัน ของคุณยายค่ะ บุญนำพา รายงาน |
ปฏิทินงานอโศก งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ณ พุทธสถานศีรษะอโศก วันที่ ๖ - ๑๒ เม.ย. ๔๖ งานกสิกรรมไร้สารพิษ เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ ๑๐ ณ หมู่บ้านราชธานีอโศก วันที่ ๑๖-๑๘ พ.ค. ๔๖ งานโฮมไทวัง ณ ชุมชนราฃธานีอโศก วันที่ ๔-๕ มิ.ย. ๔๖
|
เสริมสร้างร่างกายให้สมบูรณ์
เพิ่มพูนเมตตาให้จิตใจ ด้วยอาหารมังสวิรัติ สาขาหน้าสันติอโศก
|