ฉบับที่ 216 ปักษ์แรก1-15 ตุลาคม 2546 |
ขบวนการกลุ่มกับการปฏิบัติธรรม หากผู้ใดยังไม่สามารถจับหลักในแนวทางปฏิบัติธรรมได้ชัดเจน
ก็พึงอาศัยขบวนการกลุ่ม คือดำเนินชีวิต การทำงานตามมติ ของหมู่กลุ่ม อย่าทำอะไร
ตามใจตัวเอง จะคิดทำสิ่งใด ให้ฝึกหัดปรึกษาหมู่กลุ่มก่อน จนเป็นนิสัย ซึ่งการทำตามมติของกลุ่ม
จะทำให้เกิดการสลายอัตตา และเกิดศรัทธาในหมู่มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีมากยิ่งขึ้นอย่างถูกทิศถูกทาง. |
จับประเด็นจากหนังสือคนคืออะไร
? - ธาตุดี - |
สมณะแน่วแน่ สีลวัณโณ เจ...โกยบุญหรือโกยเงิน?
เทศกาลเจผ่านไปอุ่นๆ ต่อด้วยงานฉลองน้ำ คำว่าเหนื่อยแต่ก็สนุกและอบอุ่น คงต้องยกให้ ชาวบ้านราชฯ เพราะไม่มี ชุมชนไหน หรือพุทธสถานใด ที่ทั้งชุมชน ไปช่วยกันทำอาหารขายในเทศกาลเจ ที่อุทยานบุญนิยมจึงคึกคัก และอบอุ่น อย่างยิ่ง ทำเอาบ้านราชฯ เงียบเชียบร้างไปเลย ช่วงเวลาการขาย ก็ยาวนานกว่าทุกแห่ง ที่อื่นๆขายถึง ๑๔.๐๐ น. ก็ปิดร้าน แต่ที่อุทยานฯ ๑๙.๐๐ น. โน่นแหละถึงปิด หรืออาจกล่าวได้ว่า เปิดขายวันหนึ่ง เท่ากับที่อื่นขายสองวัน ยอดการขาย จึงมากกว่าทุกแห่ง แม้จะทำงานหนักมาทั้งวัน ก็ใช่ว่าจะได้นอน พักสบายๆ คิดดูสิ..ที่อุทยานน่ะมีที่หลับนอนสบายๆกี่แห่งกันเชียว อยู่ในเมืองก็ต้องมีเสียงรถและเสียงอื่นอีก นานาสารพัดที่ บ้านราชฯไม่มี แล้วที่นอน เป็นยังไงรู้มั้ย พื้นร้าน..บนโต๊ะอาหารนั่นน่ะถือว่าปกติธรรมดา ที่พิเศษคือ...ซอกรูไหน ที่พอจะซุกตัวนอน หลบฝนฟ้า ได้เป็นใช่ทั้งนั้น นี่คือผลพวง ของสิ่งที่พ่อท่านพาสอน พาฝึกให้กินง่ายอยู่ง่าย เด็กกลุ่ม สมุนพระราม ชี้ให้ดูถึงที่นอนของตน คือพื้นเรือนที่ขายของแห้ง เด็กบางคน ซนเล่นกันในกล่องกระดาษ แล้วก็หลับกัน คากล่องก็มี ไม่รู้ว่าในห้องน้ำห้องส้วม จะมีใครอาศัยเป็นที่นอน หรือเปล่า อาจจะไม่มีก็ได้ เพราะปัญหา ห้องน้ำไม่พอ กับคนทั้งชุมชนที่ไปกินนอนอยู่ที่นั่น เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง ที่ต้องหาทางแก้ไข เนื่องจากต้องรอคิวนาน บางคน กว่าจะได้ อาบน้ำ -นอนก็ปาเข้าไป ๒๒-๒๓ นาฬิกาโน่นแหละ บางรายต้องตื่นตั้งแต่ ๒-๓ นาฬิกาจัดเตรียมทำเต้าหู้ก่อน ไม่เช่นนั้น ไม่ทัน ในเมื่อทำงานหนักแต่ ได้พักน้อย สักวันอาจมีหลายคน ล้มทั้งยืนได้ หลายเดือนก่อน คุณทั้งดินล้มทั้งยืน ต่อหน้า ต่อตาผู้เขียน ก็มีมาแล้ว โชคดีหน่อย ที่เทศกาลเจเพียง ๑๐ วัน หากยาวนานกว่านี้ คงมีคนป่วยเจ็บหลายคนแน่ แผนกทำเต้าหู้... วันที่ยอดจำหน่ายสูงสุดต้องใช้ถั่วเหลืองถึง ๔๐๐ กก. แผนก นึ่งข้าวเหนียวกล้อง เป็นอีกแผนก ที่แจ้งเกิด ได้สบายๆ ฮิตติดอันดับ ลูกค้านิยมมาก วันที่ขายได้สูงสุดต้องนึ่งกันกว่า ๕๐ กก. การนึ่งข้าวเหนียวกล้อง มีขั้นตอนมาก ต้อง แช่ข้าวสารค้างคืนก่อนนึ่ง ต้องซิกถึง ๙ ครั้ง ซิกเป็นภาษาอีสาน หมายถึงการพลิกกลับข้าวเหนียวจากก้นหวดขึ้นมาข้างบน และต้องแช่น้ำธรรมดา ก่อนนำไปวางขาย ซึ่งใช้เวลา มากกว่าข้าวเหนียวขาวถึง ๔ เท่า พ่อท่านเองยังเอ่ยปากชมว่า อร่อยกว่า ข้าวเหนียวขาวเยอะ..มันกรุ่บๆ ปั้นเป็นก้อนได้ ไม่ติดมือ แม้แต่กลุ่มแสวงบุญ ที่นำเอาอาหารไปเดินเร่ขาย ข้าวเหนียวกล้อง ก็ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน เพียงแต่.. ลูกค้าบางรายเขาซื้อไปกินกับ..ปิ้งไก่ จึงขอคาดเดาล่วงหน้าว่า งานปีใหม่ต่อๆ ไปนี้ มุมข้าวเหนียวกล้อง จะคึกคักมโหฬาร แน่ เพราะเป็นสินค้าที่หาง่าย และ สอดคล้อง กับวิถีชีวิต ของชาวบ้านอยู่แล้ว ยิ่งเป็นช่วง ฤดูหนาวการกินข้าวเหนียว มากกว่าอย่างอื่น จะทำให้ร่างกายอบอุ่น สุขภาพดี สอดคล้อง กับหลัก แมคโคไบโอติค.. เปี๊ยบเลย ขอแวะถึงกลุ่มแสวงบุญนิดหนึ่ง เกิด จากความคิดที่ต้องการปลุกจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของวันพระ อีกทั้งเป็น การฝึกเด็ก ให้ได้เรียนรู้การทำงาน กับสังคมอย่างนี้ แรกๆนำไปขายเฉพาะวันพระ แต่ช่วงเทศกาลเจ ลูกค้าขาประจำ เรียกร้องมา จึงนำไปขาย วันอื่นด้วย ยอดการขาย สูงเป็นหมื่น ขึ้นไปถึงสองหมื่นกว่า ในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง อาหารที่นำ ไปเร่ขาย ก็พื้นๆเน้นไปทางสุขภาพ และไม่ได้เอร็ดอร่อยอะไรนัก การที่มีผู้สนับสนุนมาก นอกจากเห็นความสำคัญ ของเรื่องสุขภาพแล้ว อีกส่วนหนึ่งอาจมาจาก ความเอ็นดูเด็กๆ ที่ไปเดินเร่ขายก็เป็นได้ ที่นับว่า น่าจะเป็นเหตุสำคัญยิ่งก็คือ... กิตติศัพท์ชื่อเสียงกิจกรรมดีๆ ที่ชาวอโศก ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง หลายสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิด ภาพลักษณ์ที่ดีๆ ว่าคนกลุ่มนี้มีธรรม ทำประโยชน์ต่อสังคม น่าส่งเสริมสนับสนุน การตอบรับในเทศกาลเจ จึงมีมาก ทั้งๆที่ ๕-๖ปี ก่อนหน้านี้อุบลฯ กับเทศกาล เจก็เหมือนไม่มีอะไร พ่อท่านไปแวะเยี่ยมดูทีใดก็จะได้ยินเสียง..เหนื่อย..เมื่อย แต่ต่างล้วนยิ้มสู้และทำต่อ สำหรับเด็กเล็กนั้น เล่นไปช่วยงานไป ตามประสาเด็กๆ ดูเป็นสีสันหนึ่งของ ร้านอุทยานฯที่หาดูที่อื่นได้ยาก สำนวน พ่อท่านว่า... ใครจะลอกเลียนแบบก็ยาก คิดดูสิ นายทุนที่ไหนจะทำได้ เอาคนหลายวัย เป็นร้อยๆ ให้มาทำอย่างนี้ แม้มีเงินจะกล้าจ้างคนจำนวนเยอะๆอย่างนี้ หรือเปล่า เขาคงต้องคิดหนักขายถูก... แล้วจ้างคนมาเยอะๆ นี่มันจะคุ้มหรือ จ้างแล้วเขาจะมีใจทำให้อย่างนี้หรือ นี่เงินสักบาท เราก็ไม่ได้จ้างใครเลยนะ อีกสีสันหนึ่งที่ร้านเจอื่นๆไม่มีก็คือ มุมดนตรี ที่นอกจากทั้งเด็กเล็กและเด็กหนวดของพวกเราจะช่วยๆกันร้อง ก็ยังเปิดโอกาส ให้ลูกค้า ได้ขึ้นมาร้องด้วย ดูเป็นบรรยากาศแบบกันเองสบายๆอบอุ่นแบบครอบครัวมากกว่าร้านอาหารหรูๆที่มีดนตรีและนักร้องอาชีพ แม้พ่อท่านจะไม่ได้พูดเป็นเชิงเอาบุญมาหลอกล่อ ก็เชื่อว่าต่างล้วนมีปัญญาเข้าใจ ได้ว่าความเหนื่อย-หนัก-ลำบาก และความเสียสละ เป็นบุญกับตนเองอย่างไร พ่อท่านเอง ก็ไม่ได้เงินสักบาท มาเป็นของตน ชุมชนบ้านราชฯ นั่นแหละจะได้ อย่างน้อยๆ ก็จะมีเงินไว้ผ่อนชำระ กองบุญสวัสดิการ ที่ให้เงินหนุนมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ และที่คาดว่าจะได้เป็นรูปร่างเห็นๆ คือรถกระบะมือสอง ๒ คัน มาทดแทนคันเก่า ที่ชราภาพมากแล้ว ลูกค้าที่มาอุดหนุนร้านอุทยานฯ อาจมาจากหลากหลายความคิด.. จะว่ากระแสข่าวเทศกาลเจ ที่ทุกสื่อนำเสนอก็ใช่.. เชื่อว่าเป็นบุญ ตามตำนานของชาวจีนก็ใช่.. เพื่อสุขภาพที่ดีก็ใช่ ถ้าจะว่าฝีมือของแม่ครัวอร่อยมากจึงมีคนมาอุดหนุนกันแน่นนั้น..ไม่น่าจะใช่เต็มร้อยทั้งหมดทีเดียว เพราะอุปกรณ์ เครื่องปรุง รสต่างๆ นั้นพื้นๆ ไม่ว่าจะเป็นซีอิ๊ว.. เต้าเจี้ยว.. ซอส.. น้ำจิ้มต่างๆนั้นล้วนธรรมดา ที่สำคัญไม่ได้ใช้ผงชูรสเลย ต่างไปจากร้านเจทั่วๆไป ที่ปรุงสีกลิ่นรสจัดกว่าเยอะ ดังนั้นการที่มีคนมาอุดหนุนแน่นร้านเพราะอร่อยกว่าร้านเจอื่นๆ ก็คงไม่อาจกล่าวเช่นนั้นได้เต็มที่นัก ถ้าจะว่าเป็นเพราะ ราคาถูก ก็อาจมีส่วน เป็นไปได้มากทีเดียว เพราะแม้แต่รายการทีวีช่อง ๓ ที่ได้มาถ่ายทำแล้ว นำไปเผยแพร่ออกอากาศ ก็ยัง ประชาสัมพันธ์ให้ว่า เป็นร้านเจที่ใหญ่ที่สุด และถูกที่สุด สิ่งสำคัญที่ได้โดยที่หลายคนอาจไม่คิด ก็คืออาหารใจ ที่นับเป็นสีสันสำคัญ ที่ร้านเจอื่นๆไม่มี การได้สัมผัสเห็นกลุ่มคน หลากหลายวัย -วุฒิ ร่วมมือร่วมใจ กันทำงาน อย่างทุ่มเทเสียสละ โดยไม่ได้ลาภ -ยศตอบแทนมาเป็นของตนนั้น เป็นพฤติกรรม ที่หาดูได้ยากยิ่ง โดยธรรมชาติของเด็กๆ-วัยรุ่น-หนุ่มสาวจะมีความน่าเอ็นดูและสดใสอยู่แล้ว เมื่อผนวกกับความรับผิดชอบ ในการงาน ที่หนักเหนื่อย อย่างนี้ เป็นภาพที่ น่าประทับใจ อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีลูกหลานในวัยใกล้เคียง กัน ขณะที่เด็กวัยนี้ ในสังคม ส่วนใหญ่ มีภาพชีวิตที่ตรงกันข้าม ฟุ้งเฟ้อผลาญเปลือง กินเที่ยวเล่น ไม่รับผิดชอบการงานใดๆ ดังนั้นพฤติกรรมของชาวบ้านราชฯ ที่ร้านอุทยานฯ มิใช่เพียงแค่เป็นแม่ค้าแม่ขายเท่านั้น แต่เป็นการแสดงธรรม.. แสดงวิถีชีวิต ของผู้มีธรรม ความสมานสามัคคี ความไม่ขี้โลภ ความขยันและมีสมรรถนะ ที่ผู้มีดวงตาเห็นธรรมย่อมสัมผัสเห็นได้ เทศกาลเจจึงเป็นโอกาสดีที่ชาวอโศกจะได้ตั้งหน้าตั้งตาโกยบุญ คือเหนื่อยหนักมากขึ้น แต่ทุกคนก็ยังคงเสียสละ ไม่รับเงินเดือน รายได้ อะไรตอบแทน ต่างไปจากร้านเจทั่วๆไป ที่ถือเป็นโอกาสโกยเงิน เสร็จจากเทศกาลเจ มีงานฉลองน้ำต่อ ชาวบ้านราชฯต้องรีบกลับมาทำความสะอาด บ้านเรือน..เฮือนศูนย์ฯ และเรือ ที่จะใช้ต้อนรับ ผู้มาร่วมงานฉลองน้ำ จากชุมชนต่างๆ นี่แหละคือที่มาของคำว่าเหนื่อย แต่ก็สนุกและอบอุ่น เพราะไม่ได้ ทำคนเดียว ทำกันทั้งชุมชน ตั้งแต่ตัวเล็ก ตัวน้อย ไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ น้ำท่วมบ้านราชฯปีนี้ไม่สูงมากอย่างปีที่ผ่านๆมา พื้นชั้นล่างห้องทำงานพ่อท่านยังไม่ท่วม ปีที่แล้วท่วมถึง พื้นชั้นสอง ต้องขนย้ายโต๊ะ ตู้หนังสือ ขึ้นไปทำงานชั้นสาม แม้จะอับ..แคบแถมมดง่ามก็หนีน้ำเดินเพ่นพ่านไปทั่ว ต้องโรยแป้งโดยรอบ กันมดเข้ามาก่อกวน ขณะทำงาน สภาพอุดอู้ ชวนอึดอัด กับสิ่งของที่ดูระเกะระกะไปหมด แม้กระนั้นพ่อท่านก็อยู่ทำงานได้ ไหนๆก็พูดถึงห้องทำงานแล้วก็ขอเล่าให้คนใหม่ๆได้ทราบไปด้วยเลย ยุคแรกๆ ที่ยังไม่มีหมู่คณะใหญ่ ห้องทำงานพ่อท่าน ก็คือในกลด.. ที่กุฏิ.. หรือที่โคนไม้ทั่วไป ยามจาริก เมื่อมาปักหลักที่สันติอโศก มีการพิมพ์ หนังสือออกเผยแพร่ เพื่อต่องานได้กับฝ่าย เรียงพิมพ์ ที่ตอนนั้น ยังใช้ตัวตะกั่วจัดเรียง ก่อนส่งพิมพ์ กับเครื่องรุ่นเก่า ที่พิมพ์ได้ทีละแผ่น สำนวนคนยุคนั้น เรียกเครื่องพิมพ์นี้ว่า..ฉับแกระ (ตามเสียงที่เครื่องทำงาน) ห้องทำงานพ่อท่าน ก็อยู่ที่ตึก มูลนิธิธรรมสันติ (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) แรกๆก็อยู่ที่ชั้นสองด้วยกัน กับฝ่ายเรียงพิมพ์ ซึ่งเป็น ห้องโล่งๆ ไม่มีอะไรกั้นเป็นสัดส่วนเฉพาะ เนื่องจาก ฝ่ายเรียงพิมพ์ ล้วนเป็นผู้หญิง เพื่อความเหมาะสม จึงย้ายขึ้นไป บนดาดฟ้า ชั้นสาม กั้นเป็นห้องโปร่งๆ ผนังห้องเป็นกระจกผสมมุ้งลวด เป็นบานเลื่อน ภายในห้องมีแต่ หนังสือพระไตรปิฏก และอื่นๆ สำหรับใช้อ้างอิงประกอบการเขียน โต๊ะก็เป็นแบบนั่งพับขา ทำงานไม่ใช้เก้าอี้ ซึ่งมีเพียงหวายสาน เป็นพนักพิง เมื่อโบสถ์ที่บ้านเรือนไทยคับแคบ จึงได้มีการสร้างโรงเรือนสองชั้นประกบบ้านเรือนไทย ให้เป็นโบสถ์แทน (ซึ่งต่อมา ก็ย้ายเปลี่ยนอีก สร้างใหม่ เป็นโบสถ์ในปัจจุบัน) โดยผนวกการสร้างห้องอัดเสียง อย่างเป็นกิจจะลักษณะ แทนห้องอัดเสียง เดิมด้วย ห้องอัดเสียงเดิม คือห้องน้ำเก่า ของบ้านเรือนไทยนั้น ประกอบกับเริ่มมีการนำภาพยนตร์ มาใช้เป็นอุปกรณ์การสอน พ่อท่านจึงต้องมีห้อง ที่มีฝากั้นเป็นสัดส่วน ในการตรวจ ภาพยนตร์ โดยอาศัยส่วนหนึ่ง ของห้องคลังเสียง ขนาดห้องกว้าง เพียง ๑.๕ เมตร ยาว ๓ เมตร ซึ่งเล็กแคบมาก ไม่มีเก้าอี้ ยังคงนั่งพับขาเหมือนเดิม โทรทัศน์อยู่มุมหนึ่ง พ่อท่านนั่งอยู่ อีกมุมหนึ่ง เวลาจะมีใครปรึกษาอะไรเข้าไปได้ไม่เกิน ๔ คน ต่อมาบ้านเรือนไทยมีปัญหาเรื่องปลวกกินเสามาก ต้องรื้อเพื่อสร้างพระวิหารพันปี ในปัจจุบัน โรงเรือนสองชั้น ที่มีห้องทำงาน พ่อท่านด้วย ต้องย้ายไปสร้างที่ ศาลาคลังเสียง ในปัจจุบัน ห้องทำงานในปัจจุบัน มีขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร ในห้อง เริ่มมีสิ่งของมากขึ้น ทำให้เมื่อมีคณะทำงานใด ที่มีเรื่องจะปรึกษา สามารถเข้าไปได้ไม่เกิน ๗ คน ตึกฟ้าอภัยใหม่เสร็จปีก่อน ก็มีผู้มานิมนต์ให้พ่อท่านย้ายห้องทำงานไปที่ตึกใหม่ นั้น ด้วยเหตุผลนานาว่า อากาศถ่ายเทดีกว่า ห้องกว้างขวางกว่า สะดวกกับการที่ คณะทำงานใด จะมาปรึกษาหรือประชุม แต่พ่อท่านปฏิเสธที่จะย้ายไป ว่าอยู่ห้องเดิม ก็ดีอยู่แล้ว มีเสียงเปรยพ้อๆว่า ทำไมปล่อยให้พ่อท่าน ทำงานในห้องแคบๆ เล็กๆอยู่ได้ ขณะที่ลูกศิษย์ มีห้องทำงานที่ดีกว่า..! เมื่อมีโครงการร่วมบุญปฐพีพุทธฯ บ้านโยมมาลีเดิมหรือที่พ่อท่านให้ชื่อใหม่ว่าบ้านดอกไม้ มีห้องว่าง ๓ ห้อง หลายคน มีความพยายาม หลายครั้ง.. ขอให้พ่อท่าน ย้ายห้องทำงานไปที่นั่น ด้วยเหตุผลว่า ห้องกว้างขวาง วิวทิวทัศน์ และอากาศ ถ่ายเท ดีกว่า พ่อท่านยังคงภาวะ มักน้อยสันโดษ ปฏิเสธ พร้อมกับเหตุผลลึกๆว่า.. ถ้าย้ายไปตรงนั้น อาจมีคนคิดมองไปได้ว่า โครงการร่วมบุญปฐพีพุทธฯ ทำขึ้นมา เพื่อตัวเอง จะได้ไปอยู่ เช่นเดียวกับ พระวิหารฯที่มีผู้เสนอ.. สร้างห้องทำงาน ให้พ่อท่าน บนชั้น ๒ หรือ ๓ ซึ่งพ่อท่านก็ได้ปฏิเสธมาตลอด ด้วยเหตุผลลึกๆ เดียวกับโครงการ ร่วมบุญปฐพีพุทธฯ นี้มาก่อนแล้ว ห้องทำงานที่ปฐมอโศก ช่วงแรกๆที่พ่อท่านไปจำพรรษา เมื่อศาลางานเสร็จ พ่อท่านเลือกเอาซอกของบันไดทางขึ้นชั้น ๓ เพื่อประหยัดพื้นที่ ตรงกลางชั้นโล่งๆ จะได้ให้ผู้อื่นใช้ทำประโยชน์ ซึ่งได้มีการจัดทำเป็นห้องพักครู รวมถึงห้องเรียน ของนักเรียน ผสมด้วยพื้นที่ทำงานของปัจฉาฯ ห้องทำงานพ่อท่าน จึงมีรูปตัว L ตามสัดส่วนที่เหลือ ของบันไดทางขึ้น และห้องน้ำ ตัวห้องกว้าง ๑.๕ เมตร ยาว ๔ เมตร (โดยประมาณ) ทั้งสองด้านชนกัน เป็นรูปตัว L แรกๆ พ่อท่านยังไม่ได้ ใช้คอมฯ จึงมีโต๊ะพับเล็กๆ ไว้ทำงานเขียนอ่าน ต่อมาเกิดอาคารเรียนสัมมาสิกขา จึงย้ายห้องทำงานไปที่ชั้น ๖ ของตึกนั้น เนื่องจากสัดส่วนของอาคารเรียน สร้างตาม สภาพพื้นที่ ที่มี ทำให้ห้องทำงานพ่อท่าน ใหญ่มากกว่าทุกแห่ง วิวทิวทัศน์รวมถึงอากาศถ่ายเทก็ดีกว่าสันติอโศก แม้จะได้กลิ่น ขี้หมู โชยมาเข้มบ้าง จางบ้าง ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ก็ยังดีกว่า แต่น่าเสียดายจัง ที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้อยู่ใช้ กลับต้องใช้ห้องทำงานที่สันติอโศก เป็นส่วนมาก ขอกลับมาที่ห้องทำงานที่บ้านราชฯ เนื่องจากไม่มีโครงการว่า จะสร้างห้องทำงาน ให้พ่อท่านมาก่อน ด้วยเป็นชุมชน ที่ต่างจากปฐมอโศก, ศีรษะอโศก และชุมชนอื่นๆ ของชาวอโศกที่ จะมีพุทธสถานเกิดก่อน แต่ที่นี่มีชุมชนก่อน เมื่อพ่อท่าน เลือกที่จะมาจำพรรษา โยมงามอรุณ ได้ปรับแต่งบ้าน ที่ใช้เป็นที่พักฟื้นสุขภาพ ให้เป็นห้องทำงาน โดยกั้นเป็นห้องติดกระจก มุ้งลวด เพื่อสะดวกในการทำงาน ขนาดห้อง พอๆกับที่ สันติอโศก แต่อากาศสดสะอาดกว่าที่สันติฯ และปฐมฯมาก สำนวน พ่อท่านว่าอากาศหวาน สรุปแล้วห้องทำงานที่บ้านราชฯ นั้นเป็นการ แปลงมาจาก บ้านพักอาศัย ปีที่แล้วน้ำท่วมมาก จนห้องทำงาน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอยู่ยาก มดก็หนีน้ำเช่นกัน ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น จึงมีผู้ดำริว่า จะสร้างห้องทำงาน ในเรือ ที่พ่อท่านใช้พักนอนในปัจจุบัน เพียงแต่ตอนนี้ ยังไม่ได้ดำเนินการ แต่อย่างใด ที่เขียนเรื่องห้องทำงานในโอกาสนี้ เพื่อถ่ายทอดความมักน้อยสันโดษที่พ่อท่านมี ซึ่งยังไม่เคยเขียน หรือพูด ที่ไหนมาก่อน เผื่อคนรุ่นหน้า จะได้ใช้เป็นข้อมูลหนึ่ง ในการศึกษาวิจัยกันต่อๆไป สิ่งสำคัญก่อนจบ แม้จะได้ชื่อว่าห้องทำงานพ่อท่าน แต่พ่อท่าน ไม่ได้หวงแหนเป็นของของตน ใครจะมาใช้ เป็นที่อ่านหนังสือ หรือเอางานเข้าไปทำ พ่อท่านไม่เคยมีท่าที หรือ กิริยาใดๆ ที่แสดงถึงความหวงแหนเลย รายละเอียดเรื่องราว คงต้องเอาไว้โอกาสอื่นแล้ว. |
รายงานจาก
ต.อ.ร้านค้า เรื่องที่ ๑ เครดิตดีมีคุณค่า
เรื่องที่ ๒ ทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น
เรื่องที่ ๓ รักษาวัฒนธรรมภาษา เรื่องที่ ๔ ข่าวใหญ่!
บจ.พลังบุญถูกจี้ ! |
ตามรอยสัจธรรมชีวิต วันนี้คุณภาพชีวิตของ
ผู้ใหญ่เทียว นามบุตร เกษตรกรคนเก่ง ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) สาขามุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผู้ใหญ่เทียวเล่าให้ฟังว่า
หลังจากเข้าร่วมอบรมโครงการ สัจธรรมชีวิต ที่ราชธานีอโศก อ.วารินชำราบ
จ.อุบลราชธานี ตามคำชักชวน ของพนักงาน ธ.ก.ส. สาขามุกดาหารแล้ว ชีวิตได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
จากเมื่อก่อนที่เคยดื่มสุรา และสูบบุหรี่เป็นนิจ เดี๋ยวนี้เลิกหมดทุกอย่างแล้ว
เพราะสิ่ง ที่ได้จากการอบรม คือหลักธรรมคำสอนที่ให้ ลด ละ เลิกอบายมุข
ให้ใช้ชีวิต อย่างพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ดังพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ ที่อบรมยังสอน การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยอาศัย
น้ำหมักชีวภาพ แทนการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง อีกทั้งยังสอนวิธีการทำน้ำยา
อเนกประสงค์ เช่น ยาสระผม สบู่ และ น้ำยาล้างจาน ไว้ใช้เอง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
ในครัวเรือนได้มาก |
สรุปบรรยากาศเทศกาลกินเจที่ต่างๆ
ของชาวบุญนิยม เทศกาลกินเจปีนี้อยู่ในช่วงระหว่างวันที่ ๒๖ ก.ย. - ๔ ต.ค.๔๖ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการ บริโภคอาหาร ที่ปลอดเนื้อสัตว์ อันเป็นเรื่องของ บุญญาวุธหมายเลข ๑ ของชาวอโศกด้วย ชุมชนชาวอโศก ได้ร่วมแรงร่วมใจจำหน่ายอาหารเจ และมังสวิรัติ ในเทศกาลนี้ อย่างคึกคัก สำหรับบรรยากาศของงานในแต่ละแห่ง มีดังนี้ ราชธานีอโศก เริ่มจำหน่ายอาหารเจตั้งแต่วันที่ ๒๔ ก.ย. และขายถึงวันที่ ๕ ต.ค.(รวม ๑๒ วัน) ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๙.๐๐ น. ช่วงเย็น มีการแสดงดนตรี ของวงบ้านราชฯ,วงฆราวาส และนักร้องสมัครเล่น เช่น นร.อนุบาล นร. สมุนพระราม (ชั้นประถมฯ) นร.สสธ. และชาวชุมชน มียอดจำหน่ายสูงสุด ในวันที่ขายดีที่สุด และมียอดจำหน่ายรวมสูงสุด กว่าร้านทุกแห่งของชาวอโศก ทั่วประเทศ พิเศษสุด มีการสาธิต การนึ่งข้าวเหนียว กล้องจำนวน ๘ เตา ใช้ข้าวเหนียววันละ ๑๐๐ กก. เพื่อคำนึงถึงสุขภาพมากกว่ารายได้ จึงงดจำหน่ายอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เปาะเปี๊ยะทอด หอยทอด แม้ว่าจะขายดี เป็นที่ชื่นชอบ ของผู้บริโภคก็ตาม อาหารสุขภาพขายดีที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือซุปข้าวโพด ซุปงา และธัญพืช นอกจากนี้ขนมปังโฮลวีท ขายดีมาก จึงลดราคาจาก ๑๒ บาทเป็น ๑๐ บาท เป็นการคืนกำไร ให้กับผู้บริโภค สำหรับน้ำเสาวรส ขายดี จนต้องผลิตทุกวัน ในวันแรก นพ.สมนึก ศิริพานทอง จาก ร.พ.สรรพสิทธิประสงค์ ได้มาให้ความรู้เรื่องการกินเจ ที่ได้คุณค่าอาหารครบ ทั้งโปรตีน -แคลเซียม -ธาตุเหล็ก -วิตามินบี ๑๒ มีการรายงานสดบรรยากาศของเทศกาล กินเจจากอุทยานฯไปยังวิทยุชุมชนบัวกลางมูลทุกวัน ก่อนที่พ่อท่านจะสัตตาหะไปสันติฯ และกลับมายังบ้านราชฯได้แวะเยี่ยมให้กำลังใจทุกๆแผนก ทำให้ลูกๆ มีพลังใจ และกาย ในการทำงานเกินร้อย ในวันอาทิตย์ที่ ๕ ต.ค.มีลูกค้าเหมาร้านน้ำเต้าหู้และก๋วยเตี๋ยวแจกฟรีสำหรับผู้รับประทานในร้าน และพ่อท่าน ได้มาแสดงธรรมด้วย มีผู้บริจาคพริกขี้หนู และเห็ดแชมปิญอง นอกจากนี้คณะแสวงบุญ ซึ่งประกอบด้วยคุรุและนร.สัมมาสิกขา ได้นำอาหาร ไปขายนอกสถานที่ เช่น ร.พ. สรรพสิทธิประสงค์ ตลาดบ้านดู่ ตลาดน้อย ตลาดใหญ่ ตลาดวารินชำราบ และตลาดวารินเจริญศรี โดยเฉพาะ นร. ชั้นประถมฯ (กลุ่มสมุนพระราม) และอนุบาล ได้เดินขาย จากอุทยานฯ ถึงตลาดใหญ่ ระยะทางไป -กลับ ๔ ก.ม. และ เดินขายในตลาดด้วย เป็นการบูรณาการ วิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องการเสียสละ เพื่อชุมชน ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง ภาพของหนูน้อย เดินขายอาหาร เป็นภาพที่น่าเอ็นดู และเป็นที่ชื่นชอบ ของผู้ที่พบเห็น สำหรับอาหาร ที่ได้รับความสนใจ มากที่สุด คือ ข้าวเหนียวกล้องและข้าวกล้อง และหลังเสร็จสิ้นงานเทศกาลกินเจแล้ว ทางอุทยานฯได้ปิดบริการ ๔ วันเพื่อร่วมงานฉลองน้ำ และเปิดจำหน่ายอีกครั้ง ในวันที่ ๑๐ ต.ค.๔๖ สีมาอโศก ก่อนงานมีการเตรียมการ ร่วมกันคิด วางแผน จัดสรรตัวบุคคล แบ่งงานแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งเด็กนักเรียน และผู้ใหญ่ ชาวชุมชน ตลอดถึง สมณะและสิกขมาตุ โดยแบ่งทีมงานเป็น ๓ ทีม คือ ทีม ๑ ประจำร้าน มรส.(มังสวิรัติ
นครราชสีมา) การจัดสรรบุคลากรในแต่ละทีม พยายามจัดให้เหมาะสมและความสมัครใจ ในการทำงาน โดยแต่ละทีม มีการสรุปงาน ทุกวัน เพื่อหาข้อดี ข้อเสีย หรือข้อควรแก้ไข และส่งข่าวของแต่ละทีม ให้ทราบเป็นระยะ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน งานนี้สมณะและสิกขมาตุ ได้เดินสาย หมุนเวียนไปร่วมประชุม ให้กำลังใจทุกวัน ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น คือร้านเจ ๒ ขาดอุปกรณ์บางอย่าง และเตรียมงานกระชั้นชิดเกินไป มรส.ทีมเด็ก ขาดประสบการณ์ ผู้ใหญ่ถ่ายทอดงานไม่เก่ง และปรับอารมณ์เข้ากับเด็ก ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนหน่วยจรยุทธ์ ยังประสานงานได้ไม่ดี เช่น การจัดสายการเดิน การนัดหมาย การรับ-ส่งตามจุดต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีทีมพิเศษ (สทร.) ฝ่ายจัดซื้อแบบรวมศูนย์ โดยทีม ม.วช. (วัยรุ่น) ยังสะดุด ในการจัดส่ง ซึ่งปัญหา ที่เกิดขึ้นถือว่า เป็นการศึกษา เรียนรู้ บรรยากาศของแต่ละทีมสนุกสนาน เบิกบานร่าเริง เด็กๆอยู่ในระเบียบวินัยพอใช้ ผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบ มากขึ้น ถือว่างานนี้ ได้ปฏิบัติธรรม กันถ้วนหน้า ได้ผัสสะ ได้เห็น กิเลสตัวโตชัดเจน แต่ละคน มีความอดทน พยายามเอาชนะกิเลส สำหรับ การบริการ เข้าถึงคนระดับคนเดินดิน จนถึงไฮโซ ในห้องแอร์ ผลสะท้อนกลับ หน่วยงานราชการให้ความสนใจ และเอื้ออำนวยความสะดวกมาก เช่น เจ้าหน้าที่อำเภอเมือง จนท. สาธารณสุข โรงเรียนบางแห่ง และศาลากลางจังหวัด เชิญชวนให้ทางเราไปใช้สถานที่ วางขายอาหารได้ บางแห่งอยากให้ไป ขายอาหารตลอดไป ลูกค้าบางราย ก็นำพืช ผัก ผลไม้มาสมทบ ช่วงท้ายของงาน ให้ลูกค้าตักอาหารเอง รู้สึกเขาพอใจ ที่ได้มีส่วนร่วม และมีความเป็นกันเองมากขึ้น ได้สร้าง ความสัมพันธ์ ได้แสดง บุญญาวุธ หมายเลข ๑ ออกสู่สังคม ได้พัฒนาตัวเอง ได้ฝึกความกล้าหาญ คิดว่างานเจปีหน้า คงได้ท้าพิสูจน์ ชาวสีมาฯว่า จะได้ร่วมแรง ร่วมใจ แสดงความสามัคคี กันได้ดีอีกหรือไม่ ปฐมอโศก เทศกาลกินเจของชุมชนปฐมอโศกปีนี้ มีทั้งเด็ก วัยรุ่นและผู้ใหญ่ (เด็ก ๖๐ คน ผู้ใหญ่ ๓๐ คน คนวัด -คนชุมชน -ทีม ม.วช. อีกจำนวนหนึ่ง) มารวมด้วยช่วยกัน เด็กส่วนมากที่มาเป็นเด็กนักเรียนชั้น ม.๑ ตัวเล็กๆน่ารัก ใครๆเห็นก็ต้องเอ็นดู เพราะทำงานกันอย่าง ขยันขันแข็ง บางร้าน ได้รับมอบหมาย ให้เป็นเจ้าของ กิจการไปเลย โดย ๙๐ % ของเด็กๆ สามารถรับผิดชอบได้ดี ผู้ใหญ่ควบคุมเพียงเล็กน้อย พอสอน ๒-๓ ครั้ง เด็กก็ดำเนินการเอง ได้เลย ส่วนที่เหลือทีม ม.วช. ก็ดูแลได้ดี งานนี้คุรุไม่ได้มาด้วย ปัญหาคือ เด็กกินจุบจิบกันมาก เพราะดูแลไม่ทั่วถึง ช่วง ๔ วันก่อนเทศกาลกินเจอาหาร ขายดีมาก พอวันหลังๆลูกค้าเริ่มลดลง ช่วง เช้าเวลา ๐๗.๓๐-๙.๓๐ น. เป็นช่วงที่ลูกค้า มาซื้อ อาหารมาก โดยเฉพาะ ตู้อาหารรวมนั้น มัดถุงจนปวดมือไปตามๆกัน ลูกค้าส่วนใหญ่บอกว่า อาหารอร่อยดี นอกจากนี้ลูกค้าบางคนได้ทักทายและ สอบถามเด็กๆของเราว่า มาจากไหน, กินอยู่ กันอย่างไร เป็นต้น สำหรับวัตถุดิบในการปรุงอาหาร ได้ผัก ไร้สารพิษจากสวนสัมมาบ้าง จากญาติธรรม บ้าง แต่ ๙๐% ของผัก ยังต้องซื้อ จากตลาดอยู่ ร้านอาหาร หน้าพุทธสถานปฐมอโศก สำหรับบรรยากาศของการทำงาน เป็นไปด้วยดี เด็กๆเบิกบาน สดใสและทำงานเป็นทีมได้ดี จนผู้ใหญ่ขอจองตัว เผื่อปีหน้า ด้วย สาธุ ศีรษะอโศก บรรยากาศโดยทั่วไปมีการตื่นตัว มากกว่าทุกปี อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
อ.กันทรลักษ์ อ.ปากช่อง โดยได้รับความร่วมมือจากพุทธสถาน ศีรษะอโศก ส่งอาปอนำทีมนักเรียนสัมมา สิกขาฯ และนิสิต ม.วช. มาช่วยงาน รวม ๓๕ คน งานเจที่ปากช่องขายอาหารถึง ๑๒ วัน ปีนี้ยอดขายเพิ่มขึ้นทุกๆปี มีลูกค้าทั้งหน้าเก่า และใหม่มาเพิ่มขึ้นมาก ที่แปลกคือ มีกลุ่ม วัยรุ่นชาย - หญิงมาทานอาหารมากขึ้น เสียงสะท้อนจากลูกค้า คือ อาหารเจ ร้านกลุ่มปากช่องรสชาติดี ราคาก็พอเหมาะ ไม่ถูกไม่แพงเกินไป อาหารจะขายดีที่สุด ในช่วงเย็น-ค่ำ ในช่วงเช้า เด็กๆจะนำอาหารบรรจุถุง ใส่ถาดไปเดินขายตามตลาด เพื่อบริการลูกค้า ซึ่งก็ได้ผลดีมาก ชาวปากช่อง ได้รู้จัก รูปแบบ ของชาวอโศก ได้ซึบซับ และชื่นชมเด็กนักเรียน ของเรามาก นอกจากนี้อาปอยังได้นำผลิตภัณฑ์ ชุมชนมาจำหน่ายทุกปี ทำให้ได้เผยแพร่ สินค้าชุมชนที่มีคุณภาพ และเปี่ยมด้วยสรรพคุณ จนเป็นที่รู้จัก แพร่หลาย ซึ่งก็ขายดี เพิ่มขึ้นทุกปี มีลูกค้ามาอุดหนุนมาก ผลการประชุมสรุปงานในช่วงสุดท้าย เด็กสัมมาสิกขาฯที่มาใหม่ยอมรับว่า ตัวเอง ยังมีข้อบกพร่อง ที่ยังไม่มี ความขวนขวาย ขาดความกระตือรือร้น ไม่กล้าเข้าหาผู้ใหญ่ ซึ่งก็ตั้งใจจะปรับปรุงตัวเองต่อไป ส่วนเด็กโต และม.วช. ที่เคยผ่านงานเจ ปากช่อง มาแล้ว มีผลงานดีมาก ขวนขวายและรู้งาน อย่างน่าชื่นชม แต่หนักใจที่ยังไม่สามารถ ดูแลน้องๆ ให้ทำตามได้ และผู้ใหญ่ที่ปากช่อง ก็ลดน้อย ลงไป งานเทศกาลกินเจ ที่ปากช่องปีนี้ เด็กๆ ได้มีโอกาสฝึกทำงาน ในทุกแผนก เนื่องจาก ผู้ใหญ่ที่ปากช่องน้อยลงนั่นเอง ชมร.หน้าสันติอโศก ทางร้านใช้ระบบ "มังฯบุฟเฟ่ต์ (ลูกค้า บริการตัวเอง)" ซึ่งลูกค้าก็ตอบรับด้วยดี ที่ภาคภูมิใจที่สุด คือ ทางร้านยังคงรักษาระดับมาตรฐานพืชผักไร้สารพิษเอาไว้ได้ โดยใช้พืชผัก จากร้านกู้ดินฟ้า ๑ ซึ่งรับประกัน คุณภาพได้ และประกาศว่า จะยืนยันใน อุดมการณ์ที่ดีนี้ตลอดไป งานเทศกาลกินเจปี'๔๖ ก็ได้ผ่านพ้นไปอีกปี ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ก็ขออนุโมทนา กับทุกท่านมา ณ ที่นี้ ชมร.สาขาเชียงใหม่ ๒. เลิกระบบการใช้คูปอง
แต่ให้ซื้อ ขายด้วยเงินสดแทน เสร็จจากการขายอาหารในแต่ละวันก็มีการประชุมสรุปงาน เพื่อปรับปรุง ให้ดียิ่งๆขึ้น งานครั้งนี้ มีอาสาสมัครจากชุมชนภูผาฟ้าน้ำทุกฐานะ ญาติธรรมทั่วไป และ ชาว ชมร.เชียงใหม่ ได้ช่วยกันเต็มที่ ในการเตรียมงาน - เตรียมอาหาร เพื่อเทศกาลกินเจ โดยตรง |
บ้านราชฯ
เปิดร้าน "มังฯ บุฟเฟ่ต์"แห่งแรกใน จ.อุบลฯ วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖ ถือเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของชาวบ้านราชฯ และจ.อุบลฯ ที่เปิดร้านอาหาร "มังฯบุฟเฟ่ต์" จำหน่ายอาหารมังสวิรัติ โดยให้ลูกค้าตักอาหารเอง ในราคาจานละ ๑๐ บาท สำหรับกับข้าว ๒ อย่าง และ ๑๕ บาท สำหรับกับข้าว ตั้งแต่ ๓ อย่างขึ้นไป เปิดบริการตั้งแต่วันจันทร์ - วันเสาร์ เริ่มเวลา ๐๖.๐๐-๑๔.๐๐ น. (หยุดวันอาทิตย์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๔ จังหวัดอุบลฯ ได้อนุญาตให้ร้านมังฯบุฟเฟ่ต์ เป็นร้านอาหารสวัสดิการ ของสำนักงานฯ อยู่บริเวณ ด้านหลังร้านสหกรณ์บุญนิยม อ.วารินฯ จ.อุบลฯ ประมาณ ๙ นาฬิกาเศษ นายโสภณ อ่อนยอ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ ให้เกียรติเป็นประธาน กล่าวเปิด และทำพิธีเปิด ด้วยการผ่ามะละกอ พร้อมกับชิมด้วย หลังจากนั้น ได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนา จากพ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์ และร่วมรับประทานอาหาร แบบบุฟเฟ่ต์ มีพี่น้องทุกฐานะ มาใช้บริการมากมาย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ในสำนักงานฯ วันนี้เปิดบริการฟรี โดยให้ลูกค้าที่มาใช้บริการตักอาหาร ตามอัธยาศัย จะเริ่มจำหน่ายในวันศุกร์เป็นต้นไป นับเป็นร้านอาหาร มังสวิรัติแห่งแรก ในจังหวัดอุบลฯ ที่เปิดบริการแบบบุฟเฟ่ต์ ในราคาบุญนิยม สำหรับชื่อร้านมังฯ บุฟเฟ่ต์ ได้รับเมตตา จากพ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์ ตั้งชื่อให้ สำหรับผู้มาใช้บริการในวันนี้ ได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้ นายโสภณ อ่อนยอ ผช.ผอ.สนง. เขตฯ "อาหารอร่อยมากเลยครับ ถูกใจจะมาบ่อยๆครับ การบริการยอดเยี่ยม ขอให้จัดไป เรื่อยๆ เพราะว่ายังไง เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตฯ จะได้มาทานอาหารใกล้ๆ และเป็นอาหารที่มีคุณภาพ" นางอ้วน ภักดีไทย แม่ค้าในตลาดวารินฯ "อาหารอร่อยมาก ครูที่เคยไปขายอาหารในตลาดทุกวันพระ ชวนให้มากินขนมจีน ส้มตำ กินข้าว อาหารอร่อยทุกอย่าง จะมากินทุกวัน เพราะชอบกินอาหารแบบนี้ ตักเองดีมาก ราคาก็ไม่แพง" นายสังคม ผิวขำ ประชาชน "อาหาร มังสวิรัติทำให้สุขภาพดีมากครับ ระบบขับถ่ายดีขึ้นมาก ตักเองสะดวกมาก ก็ตักเอา ปริมาณที่พออิ่ม ทราบว่าเปิดร้านจาก อาจารย์ใหญ่ (พ่อท่าน) ผมไปฟังเทศน์ที่อุทยานฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว วันนี้พาลูกๆ มาทานด้วย ๓ คน" ด.ญ.ปิยะวรรณ ผิวขำ อายุ ๕ ขวบ "อาหารอร่อยค่ะ วันนี้กินขนมปัง นมเต้าหู้ หนูชอบขนมปังมากที่สุด" นายอุทัย สิทธิประภา ชุมชนร้อยเอ็ดอโศก "ตั้งใจมาฉลองน้ำ ได้ยินข่าวว่างดแล้ว เพราะน้ำลด แต่เตรียมผัก -มะละกอ ขึ้นรถแล้ว ไม่อยากเสีย ความตั้งใจ เลยโชคดีได้มาร่วมเปิดร้านมังฯ บุฟเฟ่ต์ ดีใจจริงๆ รู้สึกว่ามีเหตุปัจจัย ให้ได้มาร่วมกับ ชาวอุบลฯ ไม่เสียความตั้งใจ ขอแสดงความดีใจ กับชาวอุบลฯ ที่ได้เกิดใกล้คนมีบุญ มีโอกาส ที่จะได้สัมผัสกับอาหารบุญ เพื่อสุขภาพ และความงาม" อ.ลัดดาวัลย์ สุวาทิตย์ จนท.สนง. เขตฯ "เคยทานอาหารมังสวิรัติ มีความคิดว่าที่ทำงานก็อยู่ใกล้ร้านอาหาร ต่อไปคงได้มา ใช้บริการอีกค่ะ อาหารก็อร่อย" อ.อัญชลี ขุขันธุ์เขต
จนท.สนง. เขตฯ
"การตักเองดี ทำให้เราเลือกทานได้ตามใจ มีร้านอย่างนี้ดีมากค่ะ ทำให้เราสามารถ
เลือกได้ ในบางวัน ที่เราไม่อยาก ทานอาหารเนื้อสัตว์ ก็จะได้มาทานอาหารมังฯ
สลับสับเปลี่ยนกันไป มีบริการให้ก็ดีค่ะ" |
อาหารต้านมะเร็ง ในกระเพาะของเรา ลำไส้ยาว ๘ เมตร เท่าที่มนุษย์รู้จะมีเชื้อแบคทีเรีย ๒ กลุ่มใหญ่ๆ แต่ที่ไม่รู้ ยังมีอีกเยอะ นะครับ กลุ่มหนึ่ง เป็นเชื้อ ที่เป็นมิตรกับเรา อีกกลุ่มหนึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นศัตรูกับเรา แบคทีเรียที่เป็นเพื่อนกับเรา คือกลุ่มแล็คโตบาซิลลัส หน้าที่ของเขาคือ ๑.ช่วยย่อยอาหาร ๒.ช่วยสร้างวิตามิน ๓.ช่วยกำจัด เชื้อโรค ที่แปลกปลอมเข้ามา สมมุติว่า ถ้าเรามีแล็คโตบาซิลลัส ในท้องดีมาก มีเยอะมาก เมื่อไหร่ที่เราไปกินอาหาร มีเชื้ออหิวาต์ มีเชื้อซาลโมเนลลา เชื้อบิด เราก็จะไม่เป็นอะไร แต่ถ้าในท้องเรามีเชื้อแล็คโตบาซิลลัสน้อย พอเรากินอาหาร ที่มีเชื้อนิดเดียว ก็จะท้องเสียเลย ท้องอืด อาหารเป็นพิษได้ง่าย เชื้อแล็คโตบาซิลลัส ช่วยทำลายปัญหาเหล่านี้ เป็นเสมือน พลทหาร หรือทหารราบ อยู่ในท้องเรา คอยต้านคนอื่น ไม่ให้มารุกรานเรา ในลำไส้ของคนที่มีสุขภาพดีและกินอาหารถูกต้อง จะมีเชื้อพวกนี้ ๙๐% อีก ๑๐% เป็นเชื้อโรคแบบ เป็นอันตรายต่อเรา ก็คือ อีโคไล สแทฟฟิโลคอดคัสออเรียส อะไรพวกนี้ ซึ่งมันจะมีหน้าที่คอยทำร้ายเรา โดยปกติธรรมชาติ ให้มันอยู่ในสภาวะสมดุล ๙๐:๑๐ ถ้าเรากินหวานมากเกินไป เชื้อแล็คโตบาซิลลัส ไม่สามารถใช้น้ำตาลเป็นอาหารได้ อาหารของมันคื อคาร์โบไฮเดรต อีกกลุ่มหนึ่งที่เราเรียกว่า โอลิโกฟุสโต๊ด มีในกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ขิง ขมิ้น มากที่สุด มองอีกมุมหนึ่ง ก็คือว่า กินเครื่องเทศ พวกนี้แล้ว สุขภาพดี เพราะเราส่งวัตถุดิบ หรืออาหารไปให้เพื่อนเรากินในท้อง ถ้ามันแข็งแรง ก็จะช่วย ย่อยอาหาร ต่อสู้กับโรคอื่นได้ดี เชื้อโรคเลวๆที่เหลืออีก ๑๐% ใช้น้ำตาลทั้งนั้นเลย อีโคไล คอฟเซียร่า ซาลโมเนลลา พวกนี้มันใช้น้ำตาลหมด ถ้าเรากินหวาน อย่างต่อเนื่อง เชื้อโรคเลวๆ จะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ เชื้อดีๆจะลดตัวลงไปเรื่อยๆ สุดท้าย เราจะป่วยด้วยเหตุสารพัด กินอะไร ผิดนิดหนึ่ง ก็จะมีปัญหา กินอะไรผิดนิดหนึ่ง ก็ป่วย.(อ่านต่อฉบับหน้า) |
สธ.จับมือกรมการศาสนา
รณรงค์ "งดเหล้าทอดกฐิน" เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖ มีพระภิกษุสงฆ์จากวัดต่างๆในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมาร่วมราว ๗๐ รูป และเครือข่าย องค์กรภาคี งดเหล้า (รวมทั้งตัวแทน เครือข่ายชุมชนชาวอโศก) เข้าร่วมราว ๓๐ คน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๙ สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.กล้า สมตระกูล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม นางสุดารัตน์ กล่าวเปิดงานว่า "สถานการณ์การบริโภคสุราของประเทศไทยเป็นอันดับ ๕ ของโลก มีแนวโน้มการบริโภค สูงมากขึ้น เฉลี่ย ๒.๖ แสนคนต่อปี เงินที่ต้องสูญเสียไป ๑๒๕,๕๐๐ ล้านบาทต่อปี จากการรณรงค์โครงการ "งดเหล้า เข้าพรรษา" ที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือ เป็นอย่างดี ดิฉันทำงานมา ๒ ปีกว่า คิดว่าโครงการนี้ ประสบความสำเร็จมากที่สุด และเพื่อให้การบริโภคเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ และการมอมเมา ในกลุ่มเยาวชนลดลง มาตรการที่จะใช้รณรงค์ต่อเนื่อง จากออกพรรษาแล้วก็คือ จะประสานความร่วมมือ ให้วัดเป็นสถานที่ปลอดเหล้า" "กระทรวงสาธารณสุข และกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จึงร่วมกันจัดโครงการ 'งดเหล้าทอดกฐิน' โดยเริ่มจาก การไม่ให้มีเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในวัด เช่น งานทอดกฐิน งานศพ งานบุญ ที่ผ่านมา มักจะมีการขนเอาเหล้า เบียร์ เข้าไปฉลองกัน ถึงในวัด รวมถึง การเล่นการพนัน ต่างๆด้วย เป็นการเอาสิ่งมอมเมา เข้าไปในวัด จนเป็นประเพณี จึงต้องสร้าง ความเข้าใจ เปลี่ยนทัศนคติ และขอความร่วมมือ จากวัดและชาวบ้าน" "ในขณะนี้มีวัดที่ให้การสนับสนุนเข้าร่วมโครงการนำร่องแล้ว ๓๘๐ กว่าแห่ง ซึ่งในอนาคต อาจจะขยายผล ไปสู่งานบุญอื่นๆ เช่น งานวันเกิด ขึ้นบ้านใหม่" "สำหรับการบังคับเป็นกฎหมายนั้น เป็นหน้าที่ของกรมการศาสนารับผิดชอบในการศึกษากฎหมายว่า จะเพิ่มเติม ในรายละเอียดส่วนใด คาดว่า ไม่เกินสิ้นปีนี้ คงจะออกเป็นระเบียบข้อบังคับ ในส่วนมาตรการ ของกระทรวงสาธารณสุข จะดำเนินการอย่างเข้มงวด กับร้านค้า ที่ขายเหล้า และบุหรี่ แก่เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี เริ่มวันที่ ๑ พ.ย.๔๖ นี้" "ส่วนการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ต.ค.ที่ผ่านมา จะมีการประเมิน ผลกระทบ เมื่อครบ ๑ เดือน ของการบังคับใช้กฎหมาย" พระเทพวรมุณี เจ้าคณะเขตภาษีเจริญ และเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร กรุงเทพ กล่าวว่า "ที่ผ่านมา ได้พยายามรณรงค์ ให้พุทธศาสนิกชน ให้ความสำคัญ เกี่ยวกับเรื่อง งดเหล้า และบุหรี่ มาโดยตลอด เพราะถือว่า เป็นศีล ๕ ที่ควรประพฤติปฏิบัติ แต่น่าเสียดาย ที่เยาวชน ไม่ค่อยเข้ามาฟัง พระสงฆ์เทศน์เท่าใดนัก ทำได้เพียงฝากผู้ปกครอง ไปอบรมสั่งสอน" ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม กล่าวสรุปสถานการณ์การบริโภคแอลกอฮอล์ และการรณรงค์ งดเหล้าเข้าพรรษา จากผล การสำรวจ ความคิดเห็น จากประชาชน ทั่วประเทศ (๔ ภาค ๑๓ จังหวัด) ของเอแบค โพลล์ กรณีงดเหล้าทอดกฐิน, วัดเป็นเขต ปลอดเหล้า - เห็นด้วยห้ามดื่มในวัด ๘๕.๘ %, กำหนดให้งดดื่มเหล้า ๑ วัน/สัปดาห์ -เห็นด้วย ๗๑.๐ % พร้อมทั้ง เปิดทีวีให้ชมภาพตัวอย่าง โฆษณารณรงค์ "งดเหล้าทอดกฐิน" โดยมีหลวงพ่อคูณ และ พระพยอม เป็นพรีเซนเตอร์ ตัวแทนพระสงฆ์ เสนอประสบการณ์และระดมความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมประชุม "ทำอย่างไร ให้วัดเป็นเขตปลอด แอลกอฮอล์" ดำเนินรายการ โดย ดร.อำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธมณฑล สรุปประเด็นได้ดังนี้ จากคำให้สัมภาษณ์ของ ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ถาม : โครงการ "งดเหล้าเข้าพรรษา" ที่ผ่านมาผลเป็นที่น่าพอใจอย่างไรบ้าง? ตอบ : น่าปีติยินดี เพราะด้วยพลัง ของเครือข่ายองค์กรภาคี ๕๐ กว่าองค์กร มารวมกันด้วยความสมัครใจ ด้วยจิตสาธารณะ เป็นการชวนคนดี มาทำความดีด้วยกัน เพื่อคืนความดีให้แก่สังคม ผลของการทำงาน ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งทุกด้าน ผลของการสำรวจของ เอแบคโพลล์ ที่เคยดื่ม แล้วหยุดดื่ม ถึง ๓๑.๔ % หรือประมาณ ๕ ล้านกว่าคน ทะลุเป้า ประหยัด ค่าเหล้าเบียร์ราว ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ถาม : โครงการ "งดเหล้าทอดกฐิน" คาดหวังอะไรบ้าง ? ตอบ : พุทธศาสนิกชนที่เดินทางไปทอดกฐินหลังวันออกพรรษาแล้วได้บุญกันจริงๆ ไม่ใช่ดื่มกัน ตั้งแต่เดินทาง เมาที่วัด จะรณรงค์ ให้งดเหล้า ทอดกฐิน และจะให้วัด ปลอดจากอบายมุข เหล้า บุหรี่ อย่างแท้จริง โดยมีวัดเข้าร่วมโครงการนำร่อง ๓๘๐ กว่าวัด และจะขยายผล ไปทั่วประเทศ สามหมื่นกว่าวัด ก้าวต่อไป เป้าหมายสำคัญคนไทยมีสุขภาพ
ดีปลอดจากเหล้า ด้วยวิธี - ฅนเดินทาง - |
หน้าปัดชาวหินฟ้า เจริญธรรม สำนึกดี พบกับ นสพ. ข่าวอโศก ๒๑๖(๒๓๘)ปักษ์แรก ๑-๑๕ ต.ค.๔๖ ฉบับนี้ขอนำเรื่องราวสารพันในแวดวง ชาวเรามาฝากกัน ดังนี้ สู่หัวเมืองชายแดน...สมณะดินไท ธานิโย สมณะรุ่นบุกเบิกของบ้านราชฯตัดสินใจไปลงอารามช่วยงานที่สีมาฯต่อ หลังออกพรรษา จิ้งหรีดได้ยินพ่อท่านสนับสนุนตอนชาวสีมาฯไปกราบลาในงาน ฉลองน้ำว่า "ชาวสีมาฯเอาให้ดีๆนะ ได้ท่าน ดินไทไปช่วย" ข่าวแว่วมาว่า สมณะทำงาน กันเป็นทีม อย่างนี้สีมาฯไปโลดแน่ งานเจที่ผ่านมา นอกจากเปิดร้านขายเจเฉพาะกิจ เพิ่มอีก ๑ ร้านแล้ว ยังมีหน่วยจรยุทธ์ นร.สสม.เดินขายอาหารทุกวัน และได้รับการตอบรับอย่างดี ชาวสีมาฯ คงเคลื่อนกาย สลายอัตตาเพิ่มขึ้นนะฮะ ได้ทีมสมณะดีๆ ไปช่วยงาน จิ้งหรีดก็ขออนุโมทนากับชาว สีมาฯด้วย...จี๊ดๆๆ.... ดาวรุ่งงานฉลองน้ำ...ตลอด ๓ วัน ของงานฉลองน้ำในภาคค่ำ ด.ญ.แดนน้ำค้าง ลูกสาวของคุณสู่แดนธรรม จะร่วมร้องเพลง บอไซเกิบ และเพลง ปลูกต้นไม้ เป็นประจำ ทุกคืน นอกจากเสียง จะน่าเอ็นดูแล้ว ยังร้องได้ระดับมืออาชีพทีเดียว โดยเฉพาะ เพลงปลูกต้นไม้ น้องหลาร้องว่า..."วันนี้ เป็นวันพุธ ฉันจะปลูกสายหยุดไว้ใต้ต้นถั่ว..." จิ้งหรีดก็เพิ่งได้ยินเหมือนกัน อย่างนี้ต้น สายหยุดงามแน่เลย เพราะถั่วเป็นพืชบำรุงดิน อย่างดีใช่ไหมฮะ...จี๊ดๆๆ.... ผบ.กองทัพเรือบ้านราชฯ... ตำแหน่ง นี้ต้องถวายให้หลวงตาแดนเดิม พรหมจริโย ที่รับผิดชอบ ในเรื่องต่างๆ ของเรือบ้านราชฯ หลวงตาทำงาน ยังกะสมณะหนุ่มๆเลย ทั้งคล่องแคล่ว ว่องไว กระฉับกระเฉง หากไม่ได้หลวงตา ดูแลรับผิดชอบ การสัญจร ทางเรือ คงขลุกขลักแน่เลยฮะ สาธุ... จี๊ดๆๆ.... นักรบเมืองหลวง...ทำอาหารลุยงานเจ มา ๑๒ วัน (ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ) แล้วมาต่อด้วย งานฉลองน้ำอีก ๓ วัน (ทำอาหารเลี้ยง ผู้มาร่วมงาน ๒ มื้อ) ยัง...ยังไม่พอมือ แถมด้วยงาน เปิดร้านมังสวิรัติบุพเฟต์อีก ๑ วัน นิสิตบัวนวล พาลี ยังยิ้มสู้ต่อไป เอาพลัง มาจากไหนกันนี่... จิ้งหรีดทึ่งจริงๆเลยฮะ... จี๊ดๆๆ.... สู่อ้อมอกอันอบอุ่น...ขอต้อนรับ การกลับมาของทิดวัยคะนอง ที่พ่อท่านตั้งชื่อ ให้ใหม่ว่า "เลิกคะนอง" พร้อมเรือพ่วง น้อยๆ ๑ ลำ คือ ด.ช.กินเจดี อีกราย นายเจ็ดก้าว
โคตรพันธุ์ อดีต พ่อค้าก๋วยเตี๋ยวน้ำใสหน้าสันติฯ ที่หมดความสงสัยกับการหาเงินแล้ว
ตอนนี้จึง ขะมักเขม้น ช่วยงานที่บ้านราชฯ อย่างขยันขันแข็งแข็ง สาธุ บุญญาวุธ หมายเลข ๑... น่าอนุโมทนา กับทีมงานชมรมมังสวิรัติชาวอโศกทั่ว ราชอาณาจักร สำหรับช่วงเทศกาลกินเจ ที่ผ่านมา เพราะทุกๆคน ร่วมด้วยช่วยกัน เสียสละแรงกายแรงใจ สะสมบุญตามนโยบาย บุญญาวุธหมายเลข ๑ กันอย่างเต็มที่ เหน็ดเหนื่อยเพียงไหน ก็ยังมีรอยยิ้ม จิ้งหรีด เห็นบรรยากาศ แต่ละแห่งแล้ว ละเอียด สุขุม ประณีตมากขึ้นเรื่อยๆ ประเภทอารมณ์เสียๆ หรือหงุดๆหงิดๆ ที่อาจมีหลุดมา ให้เห็น อย่างสมัยก่อนๆ หาได้ยากแล้ว นี่ก็แสดงว่า การปฏิบัติธรรมของเรา มีผลจริงๆ นะเนี่ย แหม!งานบุญทั้งนั้นนี่นา ก็ถ้าไม่มีผู้คนมาใช้บริการของเราแล้ว เราจะเอาบุญ(มากๆ) ตรงไหนล่ะ (นี่ก็อ่านพบใน นสพ.ฉบับหนึ่ง ว่า ปีนี้มียอดผู้กินเจเพิ่มขึ้น ๑๕% และเริ่มกลายเป็นแฟชั่น ของวัยรุ่นไปแล้ว ก็ขออนุโมทนากับค่านิยมดีๆ ของวัยโจ๋ด้วยฮะ) อย่างที่ชมรมมังสวิรัติปฐมอโศกนั้น ช่วงงานเจเขาจะมีการสรุปงานของเด็กๆ ทุก ๓ วัน/ครั้ง โดยให้เด็กๆ ได้ฝึกพูด ฝึกคิด หากมีปัญหาอะไร ผู้ใหญ่ก็จะช่วยแก้ไข และในปีนี้ มีการแจกรางวัลแก่เด็กที่ทำงาน แล้วมีผลงาน "ดี" ในเรื่องการทำความสะอาด ดูแลร้านดี มีความสามัคคีในการ ทำงาน มีความรับผิดชอบงานดี มีทั้งหมด ๔ รางวัล ซึ่งก็ทำให้เด็กมีกำลังใจ และขวนขวาย รับผิดชอบงานมากขึ้น ชาวชมรม ที่นั่นบอกว่า "เราจะไม่มุ่งเน้นที่เป้า เราจะมุ่งที่ตัวเด็ก ต้องการให้เด็กได้ฝึกงานเป็น และพร้อมรับกับทุกๆ สถานการณ์ นอกจากนี้ ยังให้เด็กแต่ละฐาน ฝึกคิดต้นทุน และกำไรเอง (สำหรับอาหาร ๑ สูตร) ด้วย สาธุ...จี๊ดๆๆ.... ชมร.ช.ม....ในช่วงงานเจที่ผ่านมา ทาง ชมร.เชียงใหม่ ได้จัดรูปแบบการขายเป็นแบบ ลูกค้าบริการตัวเอง บรรยากาศโดยรวมทั้ง ผู้ให้ และผู้รับ บริการก็ดูพึงพอใจ กับรูปแบบ การบริการใหม่นี้ และในงานเจปีนี้มีคนวัด ชาวชุมชน เด็กนร.สัมมาสิกขาฯ มาช่วยงานกันอย่างคับคั่ง จึงมีบรรยากาศแห่งความอบอุ่น เป็นอย่างยิ่ง และเพื่อไม่ให้ เสียประโยชน์ตน ในเรื่องของการศึกษา ท่านอาจารย์ ๒ สมณะเก้าก้าว สรณีโย ได้เดินทางจาก ภูผาฟ้าน้ำลง มาสอน "อีคิวโลกุตระ" อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่า ลูกศิษย์ลงมาช่วยงานเจ ท่านอาจารย์ก็ตามลงมาให้ประโยชน์ด้วย หลังจากเสร็จงานในช่วงเย็น บรรดาชาวชุมชน และคนวัดต่าง ปีติไปตามๆกัน จิ้งหรีดเห็นว่า อย่างนี้น่าจะเข้าข่าย "ยิ่งให้ไป ยิ่งได้มา" นะเนี่ย (ยิ่งเราให้บริการผู้อื่น เราเองก็จะได้รับ อานิสงส์แห่งการให้ เช่นเดียวกันไงฮะ)...จี๊ดๆๆ.... บรรยากาศบ้านราชฯ...ช่วงวันที่ ๒๓-๒๘ ก.ย.ที่ผ่านมา จิ้งหรีดได้มีโอกาส เดินทางไปบ้านราชฯ เมืองเรือ ทำให้ได้เห็น บรรยากาศ ที่หมู่สงฆ์ ทางบ้านราชฯ มีความใกล้เคียงกับหมู่สงฆ์ ทางภูผาฟ้าน้ำในอดีตนั่นคือ มีจำนวนสมณะ มากกว่าฆราวาส ทั้งนี้เป็นเพราะช่วงนั้น ตรงกับเทศกาลกินเจ ทำให้คนวัดและชาวชุมชน ต้องเคลื่อนตัวเอง ไปที่อุทยานบุญนิยม จิ้งหรีดเดินทาง ไปครั้งนี้ เพราะต้องไปเป็น ผู้ช่วยนายช่างอัมพร วางสายโทรศัพท์ ซึ่งต้องนำสายไฟ และสายโทรศัพท์บางช่วง ลงท่อฝั่งดิน เพื่อแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายเรือ ในขณะที่น้ำท่วม เพื่อไม่ให้ขวางเส้นทาง การเคลื่อนย้ายเรือ ซึ่งทีมงานของนายช่างอัมพร ต้องทำงานหนักมาก เพราะต้องทำให้เสร็จ ก่อนน้ำจะท่วม ถึงขนาด บางครั้งต้องอุ้มลูก (น้องโมกข์) ขณะทำงาน ด้วย ซึ่งในที่สุด ก็ทำงานเสร็จ ทันก่อนน้ำจะท่วมถึง เฮ้อ!โล่งอกจิ้งหรีดไป... จี๊ดๆๆ.... อบอุ่น...วันที่ ๒๕
ก.ย.ที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวันลงปาติโมกข์ บรรยากาศที่ ราชธานีฯวันนั้นใช้เรือ
เป็นโบสถ์ จิ้งหรีด ส่วนในช่วงหัวค่ำ จิ้งหรีดยังได้ยินสมณะท่านหนึ่งถามท่านอุปัชฌาย์เดินดิน ติกขวีโร ว่า "ถ้าปรุง (ใช้ความคิด) มากๆ จนทำให้หัว (ศีรษะ) ร้อน ถึงขนาด บางทีต้องใช้ผ้าชุบน้ำ มาวางบนหัว" จิ้งหรีดได้ยินอุปัชฌาย์ท่านบอกวิธีแก้ให้ว่า "เราก็ไม่ต้องคิดมาก คิดนิดเดียวก็พอ แล้วโยนความคิด ให้หมู่ของเรา ช่วยคิด หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว และยังได้ฝึกยอมอีกด้วย ถ้าความคิดของหมู่ ไม่ตรงกับความคิดของเรา" จิ้งหรีดฟังแล้ว ก็เกิดยินดี ประทับใจในข้อแนะนำ ของท่านอย่างยิ่ง จะขอนำไปใช้บ้าง เพราะจิ้งหรีดเอง หัวก็ร้อนอยู่บ่อยๆ ต่อไปคงได้บรรเทา เบาบางลงบ้างล่ะฮะ ขอกราบขอบพระคุณ ท่านอย่างสูงฮะ...จี๊ดๆๆ.... ศาลีอโศก...จิ้งหรีดขยับปีก เห็นสมณะบางรูปขยับกายเหมือนกัน แต่ไม่ขอบอกว่า เป็นรูปไหน และเพราะอะไร? แต่ที่แน่ๆ เดือนนี้ ถึงเวลาออกพรรษาแล้ว ที่ศาลีฯ ก็ยังอบรมลูกค้า ธ.ก.ส.เหมือนเดิม (สัปดาห์ละ ๑ รุ่น) แต่ละรุ่นก็ประมาณ ๑๐๐ กว่าคน เท่านั้นเอง บางรุ่นเกือบ ๒๐๐ คนก็มี นอกจากนี้ยังมีนักเรียน จากโรงเรียนต่างๆ มาขอรับการอบรมอีก มีทั้งแบบค้างคืน และแบบ เช้ามาเย็นกลับ แถมยังมีกลุ่ม ประชาชนอื่นๆ จรมาเป็นครั้งคราวด้วย สาธุ... งานหนักอย่างนี้ อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะฮะ จิ้งหรีด เป็นห่วง...จี๊ดๆ ส่วนวิทยุชุมชนที่ศาลีฯ จิ้งหรีดเกาะอยู่เสาวิทยุ ติดตามความเคลื่อนไหว ก็สรุปได้ว่า ประสบผลสำเร็จดี มีผู้ฟังมากนับ ๑,๐๐๐ คนเชียว เวลาสมณะไปบิณฑบาต จะได้ยินเสียงจากวิทยุชุมชน ตามบ้านญาติโยม ไปเกือบตลอดทาง และเขายังได้รวบรวมเงิน สร้างสถานีวิทยุชุมชนขึ้น เป็นอาคาร ๒ ชั้น โดยจะสร้างชั้นล่าง ให้เสร็จก่อน เพื่อจะได้ใช้งานได้เลย ซึ่งคาดว่า จะสามารถใช้ได้ก่อน ปีใหม่'๔๗ อย่างแน่นอน บริเวณที่ใช้ก่อสร้างสถานี ก็อยู่ใกล้ห้องเสียงของศาลีฯ นั่นเอง พูดถึงวิทยุชุมชนแล้ว ก็ต้องพูดถึงสมณะชินธโร ตอนนี้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย(สวท.) จ.นครสวรรค์ คลื่น เอฟเอ็ม ๙๓.๒๕ เมกะเฮิรตซ์ ได้นิมนต์ท่าน ไปเทศน์ออกรายการวิทยุ ทุกวันเสาร์ เวลา ๐๙.๓๐-๑๐.๐๐ น. และ ยังได้รับนิมนต์ ไปเทศน์ที่ศูนย์ฝึกผู้นำฯ จ.กาญจนบุรี เมื่อ เดือน ก.ย.ถึง ๒ ครั้งด้วย ส่วนรายการวิทยุ ท่านก็จัดอยู่ หลายรายการ เช่น ธรรมรับอรุณ, กฎแห่งธรรม นิทานชาดก ซึ่งญาติโยม ก็นิยมชมชอบกันมาก สาธุ...จี๊ดๆๆ.... ผู้นำนักเรียน...หลังจากการอบรม
"ผู้นำนักเรียน" จาก ร.ร.ปายวิทยาคาร อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่ได้เข้าอบรมที่
กิจกรรมดีๆของเด็กเหล่านี้ ได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่ จากท่านผู้อำนวยการ ร.ร.ปายวิทยาคาร รวมไปถึง คณะสมณะ จากพุทธสถาน ภูผาฟ้าน้ำ ที่หมั่นไปให้กำลังใจ เด็กๆอยู่เสมอ และที่ลืมเสียมิได้ก็คือ แม่ครูหนู ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักอีกคน ก็ขออนุโมทนาสาธุ กับทุกๆท่าน ที่ช่วยกัน เป็นกำลังใจให้แก่เด็กเหล่านี้ ในการดำเนิน รอยตามสานงานบุญญาวุธ หมายเลข ๑ ที่พ่อท่านสอน สาธุ...จี๊ดๆๆ.... มรณัสสติ ก่อนจาก ขอฝากคติธรรม-คำสอน
ของพ่อท่านที่ว่า พบกันใหม่ฉบับหน้า |
ผู้ว่าฯ
จ.กำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ที่ผ่านมา ผวจ.กำแพงเพชร นายกฤช อาทิตย์แก้ว และ คุณฟ้าเกื้อ อาทิตย์แก้ว (ภรรยา) ได้ให้เกียรติ เป็นประธาน เปิดร้านอาหารมังสวิรัติ เป็นร้านแรกในอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร ภายใต้ชื่อร้าน "ศูนย์อาหารมังสวิรัติ กำแพงเพชร" ดำเนินการโดย ชาวชุมชนเพชรผาภูมิ โดยมีคุณประเสริฐ ฉัตรศรีวิเศษ และภรรยา เป็นผู้ก่อตั้ง และมีอุดมการณ์ ในการดำเนินงาน จะเผยแพร่ การรับประทาน อาหารมังสวิรัติ ซึ่งเป็นบุญญาวุธ หมายเลข ๑ ซึ่ง ผลกำไรที่ได้จาก การดำเนินงาน จะนำเข้าสู่ส่วนกลาง ของชุมชนเพชรผาภูมิ ในโอกาสที่ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้กล่าวถึง ความสำคัญของอาหารว่า เป็นหนึ่งในโลก ดังพุทธพจน์ ดังนั้นการเปิดร้านอาหารมังสวิรัติ ที่ใช้ผักไร้สารพิษและวัตถุดิบที่มีคุณภาพ จึงเป็นประโยชน์ ต่อประชาชน นอกจากนี้ ทางร้าน ยังได้ใบรับรอง "ร้านอาหารสะอาด และรสชาติอร่อย (CLEAN FOOD GOOD TASTE)" ของสาธารณสุขจังหวัดอีกด้วย ในวันเปิดร้านได้มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด มาทำการตรวจสอบอาหาร และวัตถุดิบในการปรุงอาหาร ของร้านด้วย เพื่อสร้าง ความมั่นใจ ให้แก่ลูกค้า ที่มาอุดหนุน คุณประเสริฐ ฉัตรศรีวิเศษ ผู้ก่อตั้งร้านกล่าวว่า "แม้จะเปิดร้านแล้วขาดทุน ก็จะยินดีต่อสู้ในแนวทาง ที่พ่อท่านพาทำ และ จะพยายามบุกเบิก ให้ประชาชนชาวกำแพงเพชร ได้สนใจ หันมารับประทาน อาหารมังสวิรัติ" ทั้งนี้ภายในร้าน ยังได้จัดมุม หนังสือธรรมะเอาไว้ ให้ลูกค้าได้อ่าน และยังมีเทปธรรมะ ชาวอโศก ให้ยืมไปฟัง อีกด้วย ส่วนราคาอาหาร ก็เป็นราคาบุญนิยม เพียงจานละ ๑๐ บาท สำหรับที่ตั้งของร้าน "ศูนย์อาหารมังสวิรัติกำแพงเพชร" ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมรุเทศบาล (วัดคูยาง) หาง่ายเพราะ ทั้งจังหวัด มีเมรุเผาศพ ที่เดียวเท่านั้น ญาติธรรมท่านใด ที่ผ่านไปทาง จ.กำแพงเพชร ขอเรียนเชิญอุดหนุนอาหารมังสวิรัติที่ร้านได้ทุกวัน |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนฯ
(สสส.) เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ เครือข่าย ภาคีรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) จัดให้มีการประชุม "สมัชชาเครือข่ายองค์กรภาคีงดเหล้า" ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพ มีผู้เข้าร่วม ประชุม มาจากเครือข่ายภาคี ๕๖ องค์กร ประมาณ ๓๐๐ คน เปิดรายการด้วยเสียงเพลง บทเพลงแหล่ "งดเหล้ากับปัญหาสังคม" โดยคุณบุญโทน คนหนุ่ม นักร้องเพลงแปลง ที่หลายๆ ท่านรู้จักกันดี ต่อจากนั้น ศ.น.พ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานโครงการรณรงค์ "งดเหล้าเข้าพรรษา" บรรยายความเป็นมา ของการ จัดการประชุม ทำไมต้อง "งดเหล้าเข้าพรรษา" จากความเชื่อ ในสังคมไทยเรื่องบุญ และเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย เพราะเหล้า เป็นสาเหตุ การตายอันดับ ๑ ของอุบัติเหตุ จราจร (ร้อยละ ๕๐ เกิดจากคนเมาแล้วขับรถ), การเจ็บป่วย อันดับ ๓ รองจาก เพศสัมพันธ์ และบุหรี่ , ปัญหาความรุนแรง ในครอบครัว และเป็นสะพานเชื่อมไปสู่ ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ และ อาชญากรรม สถานการณ์บริโภคสุราในประเทศไทย นักดื่มเพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่าภายใน ๙ ปี และ ๑ ปีมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ๒.๖ แสนคน ข้อมูล ที่น่าตกใจ พบว่า เยาวชนอายุ ๑๕-๑๙ ปีเริ่มลองดื่มสุราแล้ว สถิติการบริโภคแอลกอฮอล์ของไทย สูงกว่าประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส จึงมีการจัดพิธี งดเหล้าเข้าพรรษา โดยร่วมกับองค์กรภาคีต่างๆ ชักชวน และกระตุ้นให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม การรณรงค์ "งดเหล้าเข้าพรรษา"
ที่ผ่านมาได้อะไรบ้าง? ๘๓.๗ %
มีคนเห็นด้วย เพราะเป็นฤกษ์ดี วันดีทางศาสนา นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษเรื่อง "นโยบาย และ มาตรการสำคัญ ในการลดการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์" กระทรวงสาธารณสุข กับกระทรวงศึกษาธิการ ได้สำรวจ พฤติกรรม ของเยาวชนพบว่า เด็กที่มีปัญหา ติดเชื้อเอดส์ สาเหตุเริ่มจากเหล้า บุหรี่ ตามมาด้วยยาเสพติด เพศสัมพันธ์ ขายบริการทางเพศ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม นโยบายสำคัญ ของรัฐบาลนั้น ท่านนายกฯ ทักษิณ เห็นชอบว่า พวกเรา จะต้องช่วยกันนำเอาอบายมุข ออกจากสังคมให้ได้ เพื่อให้เป็นสังคมที่น่าอยู่ มีคุณธรรม ปลอดจาก ยาเสพติดต่างๆ โดยจะบังคับใช้กฏหมาย ที่มีอยู่อย่างเข้มแข็ง ซึ่งในวันที่ ๑ พ.ย. ๔๖ นี้ สธ.จะเข้มงวดกับร้าน ที่ขายเหล้า บุหรี่ให้กับเด็ก อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี และนางสุดารัตน์ ได้นำเสนอโครงการรณรงค์ต่อเนื่อง "งดเหล้าวันอาทิตย์" เพราะวันอาทิตย์เป็นหยุด เป็นวันครอบครัว ควรเป็นวันที่ลด งดการบริโภคเหล้า พร้อมทั้งประสานกับเครือข่ายพระสงฆ์ ช่วยกันรณรงค์ เรื่องงดเหล้าในวัด และ งานบุญ ต่างๆด้วย จากนั้นตัวแทนภาคีต่างๆ พระมหาวีระพันธ์ จากศูนย์เผยแพร่พระพุทธ ศาสนา แห่งประเทศไทย สมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ จากเครือข่าย ชุมชนชาวอโศก, แม่ชีศันสนีย์ จากเสถียรธรรมสถาน, ตัวแทนจากมูลนิธิธรรมกาย, ตัวแทนจาก สภาอุตสาหกรรม, ตัวแทนจากสถาบันราชภัฏ, ตัวแทนจาก สมาคมหมออนามัย, ตัวแทนจากชมรมพุทธศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย ต่างๆ รวม ๒๖ สถาบัน นำเสนอ "บทเรียนการดำเนินงาน งดเหล้าเข้าพรรษา" นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค รศ.นพ.ยงยุทธ ขจรธรรม ที่ปรึกษาวิชาการ สสส. อภิปรายเรื่อง "ยุทธศาสตร์ เพื่อลด การบริโภค เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์" หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน ต่อด้วยการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเรื่อง "ยุทธศาสตร์เพื่อลดการบริโภค เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ ยุทธศาสตร์ด้านนโยบาย, ด้านชุมชนและองค์กร และด้านการสร้างค่านิยม ทางสังคม และองค์ความรู้ ต่อจากนั้น ตัวแทนของแต่ละกลุ่ม นำเสนอผลการอภิปราย ต่อที่ประชุม ตัวอย่างเช่น ขึ้นภาษี, ลดการผลิต, กวดขันการเมาแล้วขับ, กำหนดเขต ปลอดเหล้า มีบทลงโทษ, การดำเนินงานประสาน ๓ ส่วน บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ (บวร), ยกย่องตัวอย่างที่ดี, สื่อสิ่งดีผ่านสื่อมวลชน, เน้นกลุ่มเป้าหมาย ที่เยาวชน เป็นต้น และสรุปข้อเสนอ ที่ได้จาก การประชุม พร้อมประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน ในการดำเนินงาน เพื่อลดการบริโภค เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ฉะนั้นภาคประชาชนต้องร่วมผนึกกำลังช่วยกันรณรงค์ให้เหล้าออกไปจากสังคม
วันนี้คุณทำอะไร เพื่อตัวเอง และสังคม ด้วยการ มีส่วนร่วม ในการงดเหล้าแล้วหรือยัง? - ฅนเดินทาง - |
ฉลองน้ำบ้านราชฯ
เหลือ ๓ วันเพราะน้ำลด ช่วงที่ระดับน้ำสูงขึ้นพ่อท่านกำหนด งานฉลองน้ำไว้ ระหว่างวันที่ ๖-๑๒ ต.ค. แต่เมื่อถึงวันที่ ๘ ต.ค. ระดับน้ำ ได้ลดลง เรื่อยๆ ซึ่งอาจทำให้เรือเกยตื้นได้ พ่อท่านจึงประกาศงดฉลองน้ำ ปีนี้จึงฉลองน้ำกันแบบเล็กๆ เพียง ๓ วันคือ ๖-๗-๘ ต.ค. ซึ่งก็ยังคง ได้รับความอบอุ่น มีพี่น้อง จากพุทธสถาน และญาติธรรมจากกลุ่มต่างๆทยอยมาร่วมงาน เหมือนเช่นเคย โดยมา ได้เพียง ๓ พุทธสถานเท่านั้น คือ สีมาฯ-ศีรษะฯ-สันติฯ และมีพี่น้องจากสวนส่างฝัน -ขอนแก่นอโศก-จากยโสธร ซึ่งต่างต้อง รีบกลับ เพราะติดงานอบรมฯ พี่น้องจากร้อยเอ็ดอโศก เดินทางมาถึง ในวันที่ ๙ เลยได้ร่วมงาน เปิดร้านมังฯ บุฟเฟ่ต์แทน รายการในแต่ละวันแสนเรียบง่าย ไม่มีทำวัตรเช้า เพราะแต่ละแห่งเพิ่งเสร็จสิ้นจากงานขายอาหารเจ จึงให้พวกเรา ได้พักผ่อนกัน ให้เต็มที่ ส่วนช่วงก่อนฉัน พ่อท่านได้แสดงธรรมทุกวัน ซึ่งแฟนเท็ป ๕ ดาวไม่ควรพลาด เด็ดๆทั้ง ๓ วันทีเดียว กลางวันก็ให้พักผ่อนตามอัธยาศัย เนื่องจากชาวบ้านราชฯบางส่วน ต้องออกไปเตรียมงาน เพื่อเปิดร้านมังฯ บุฟเฟ่ต์ ภาคค่ำ เป็นการแสดงแบบสบายๆตั้งแต่ ๖ โมงเย็นถึง ๒ ทุ่มครึ่ง บนเรือเวทีของพี่น้องแต่ละแห่ง ที่มาร่วมงาน มีวงฆราวาส เป็นตัวหลัก พ่อท่าน ได้เมตตา มานั่งชมให้กำลังใจทุกคืน คืนสุดท้าย พี่น้องจากที่ต่างๆ กลับกันหมดแล้ว จึงเป็นรายการ สรรหาดาวรุ่ง จากบ้านราชฯ ขึ้นมาร้องรำ ทำเพลงกัน แบบเรียบง่าย น้ำท่วมปีนี้ ความเสียหายเป็นเพียงพืชผักบางส่วนที่ปลูกในพื้นที่ต่ำ ซึ่งน้ำท่วมถึง การขนย้ายข้าวของ ได้ขนย้ายล่วงหน้า เรียบร้อยแล้ว ก่อนน้ำจะมา และบ้านบางหลัง ก็ขัดพื้นใต้ถุนบ้านเท่านั้น สำหรับผู้มาร่วมงานได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้ นางเจียม จันพิมาย สีมาอโศก "มาครั้งแรก บรรยากาศดี สนุกดี น้ำไม่ท่วมมาก ตอนเช้าก็ได้พายเรือเล่นนิดนึง เอาอาหาร ไปให้ปลา สนุกค่ะ แล้วไปช่วยในครัวอีก ฟังธรรมก็ดีค่ะ" คุณจริงจริง ม่วงมนตรี ศีรษะอโศก "น้ำท่วมกลายเป็นเรื่องปกติของชาวบ้านราชฯ รู้สึกว่าถ้าน้ำไม่ท่วมจะไม่สนุก ปีนี้ท่วมน้อย เด็กๆ ก็ผิดหวังนิดๆ ฟังธรรม ดีมาก พ่อท่านให้ศีรษะฯ หันกลับเข้ามามองชุมชน ซึ่งเป็นแกนหลัก ที่จะสืบทอดต่อไป" คุณธง ศิริโชติ ขอนแก่นอโศก "มาครั้งแรก รู้สึกดีมาก บรรยากาศความเป็นพี่เป็นน้อง กิจกรรมต่างๆก็ดี ฟังธรรมพ่อท่าน เทศน์ประทับใจ เข้าใจดี มากัน ๑๐ คน รีบกลับ เพราะจะไปเตรียมงานอบรมเยาวชนต่อ" นิสิตบัวนวล พาลี ราชธานีอโศก "โอ้เหนื่อยมากเลย เสร็จจากงานเจแล้วมางานนี้ ขาอ่อน แต่ว่าก็มีพลังมาก มีพลัง ในการทำงาน มีศรัทธา ในการทำงาน ถ้าเราทำจิตให้นิ่งไม่มีเรื่องอื่นที่จะฟุ้งซ่าน จิตนิ่งแล้วทำงานได้เยอะ อาหารก็กะเอา เปรียบเทียบ ระหว่าง คนอบรมกับพวกเรา พวกเรา จะกินมากกว่า คนอบรมเป็นคนข้างนอกกินไม่เยอะ" ด.ช.พุฒธี ทะรินทร์ ศีรษะอโศก ม.๑ "มาฉลองน้ำครั้งแรก ไม่มีน้ำเลย ไม่สนุกเลย อยากให้น้ำเยอะ เพิ่งกลับมาจาก ปากช่อง เสียดายมาก ไม่มีน้ำ อยากจะให้มีน้ำเยอะๆ" นายอุดม งามศิริ วงฆราวาส "ตอนจัดเวทีก็เรียกช่างศีรษะฯมาช่วย ๓ คน ทำเต็มๆวันเดียว ไม่รู้สึกหนัก แค่ย้ายเสา น้ำน้อย ก็แปลกๆอยู่ ไม่รู้จะจัด ได้หรือเปล่า พอท่านบอกว่าจะจัดแค่ ๓ วัน วันนี้วันสุดท้าย ก็คิดอีกอย่างหนึ่ง ก็ดีเหมือนกัน จะได้กลับปฐมฯ เร็วๆ น้องๆอยากกลับแล้ว ก็ไม่ซีเรียส ก็รู้ว่า ถ้าอยู่นานเรือ ก็ออกไปไม่ได้ ขนของก็ลำบาก มาจัดเวทีเป็นครั้งที่ ๔ รู้สึกคนบ้านราชฯเป็นกันเองมากขึ้น กับน้องๆ รู้สึกว่าจิตใจสนิทกว่าเยอะ ปีแรกมาเพราะเห่อ มาเพื่อสนุก เหมือนมาจะเล่นอย่างเดียว ปีที่สองมา ก็ได้ใจกันมากขึ้น ปีนี้เหมือนมาบ้าน".
|
อา. ๒๘ ก.ย.๔๖ - ประชุม "คนทำหนังสือ" สืบเนื่องจากกรณีเรื่อง ขอให้หยุดการละเมิดลิขสิทธิ์ และเรียกค่าเสียหาย ของบริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด เพื่อนเด็ก จำกัด แจ้งถึง บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด อ้างถึง หนังสือกิน-อยู่เพื่อชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งตัวแทน บจ.ฟ้าอภัย ได้ไปติดต่อ เจรจาขออภัย เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น คณะคนทำหนังสือจากมูลนิธิธรรมสันติ, สมาคม ผู้ปฏิบัติธรรม, บจ.ฟ้าอภัย, สำนักพิมพ์กลั่นแก่น มีความเห็นว่า ควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น หรือไม่ควร ใช้รูปภาพ ของคนอื่น เราควรพึ่งตนเอง ให้มากที่สุด เสนอซื้อกล้อง ถ่ายภาพดิจิตอล ไว้ใช้ส่วนกลาง โดยของบฯ จาก ๕ องค์กร หรือ ชุมชนสันติอโศก พฤ. ๒ ต.ค.๔๖ - ชุมชนสันติอโศก ต้อนรับคณะครูโรงเรียนอนุบาลสายสุดา ซอยนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ รวม ๒๖ คน มาเยี่ยมชม และเพื่อศึกษาชุมชนฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยจะจัดเข้าหลักสูตร การเรียนการสอนแบบวิถีพุทธ (บูรณาการ) ในภาคการศึกษาที่ ๒/๔๖ ที่จะถึงนี้ อา. ๕-พฤ. ๙ - ชุมชนศรีโคตรบูรณ์ อโศก จ.นครพนม เปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ "เข้าค่ายสุขภาพ ๗ อ." โดยมีคุณหมออารี มาช่วยเป็น วิทยากรพิเศษ ตลอดงาน อ. ๗ - ประชุม "สื่อสารบุญนิยม" ครั้งที่ ๓/๔๖ ณ ห้องประชุม ชั้น ๓ บจ.ฟ้าอภัย เตรียมออกหนังสือ "สื่อสารบุญนิยม" ให้ทันงาน มหาปวารณา ๕ - ๙ พ.ย.๔๖ นี้ อ. ๗ - พฤ. ๙ - คณะประสานงาน กลางเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย เดินทาง ๓ วันไปเยี่ยม ศูนย์ฝึกอบรม สีมาอโศก จ.นครราชสีมา ศูนย์ฯวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ศูนย์ฯเมฆาอโศก จ.บุรีรัมย์ ศูนย์ฯ ศีรษะอโศก จ.ศรีสะเกษ ศูนย์ฯ บ้านราช จ.อุบลราชธานี ศูนย์ฯสวนส่างฝัน จ.อำนาจเจริญ ศูนย์ฯ ศรีโคตรบูรณ์ จ.นครพนม ศูนย์ฯร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด ศูนย์ฯ สุรินทร์ จ.สุรินทร์ เพื่อทำความเข้าใจ เรื่องแผนการปฏิบัติงาน การดำเนินงาน โครงการพลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข โดยงบฯของ สสส. รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๔๐๐ กิโลเมตร ส. ๑๑ - หนังสือพิมพ์
"เราคิดอะไร" ของสำนักพิมพ์กลั่นแก่น ฉลองครบรอบ ๙ ปี ฉบับที่
๑๕๙ "กำไร" ตามวิธีคิด ของทุนนิยม คือ "การเอาเปรียบแท้ๆ"
และแถม ฉบับพิเศษอีก ๑ ฉบับ "เกิดกลางผัก" สาระน่ารักน่าเอ็นดูกับ
เด็กน้อยมังสวิรัติ เด็กน้อยผู้โชคดี... ยอดพิมพ์เพียง ๔,๕๐๐เล่ม อย่าพลาดนะจ้ะ จ. ๑๓ - พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์รับนิมนต์ไปแสดงธรรม "แนวทางบุญนิยม กับการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร ชุมชน ในท่ามกลาง กระแสทุนนิยมเสรี" ในงาน "ฉลอง ๓๐ ปี ๑๔ ตุลา" ณ ศาลาประชาคม ทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ข่าวด่วน...อา.๑๙ ต.ค.๔๖ เวลา ๐๙.๓๐-๑๓.๐๐ น. ขอเชิญฟังบรรยาย พิเศษ "การดูแลสุขภาพองค์รวมอย่างไร ให้ไม่โต่ง" โดย ดร.สาทิส อินทรกำแหง ณ ชุมชนสันติอโศก กรุงเทพฯ |
ชื่อ
นางทองสุข เกรียงศรี คุณป้าทองสุข เป็นนิสิตม.วช.เขตสีมาอโศก รหัส ๔๕๐๖๐๐๔ เป็นแม่ฐานเต้าเจี้ยว-ซีอิ๊ว ป้าได้รับอานิสงส์ จากการเป็นนิสิต มากมายทีเดียว ไปคุยกับป้ากันเลยค่ะ ลูกชาวนา จากหนังสือสู่ญาติธรรม ไปถึงเด็กๆ นร.เขายกมือไหว้ ป้ารู้สึกขนลุก ๗ วันที่อยู่ประทับใจทุกอย่าง กลับมาเล่าให้พ่อบ้านกับลูกสาวฟัง ทั้งสองก็เลย ไปร่วมงานพุทธาฯ ที่ไพศาลี ส่วนป้าก็เข้ากลุ่มอุดรฯ ก็ไปประชุมเป็นประจำ จากอ.น้ำโสมมาอุดรฯ ประมาณ ๑๐๐ กว่ากิโลฯ ป้าก็สลับกันไปกับลูกสาวและพ่อบ้าน ไปร่วมงานของชาวอโศก เมื่อลูกสาวแต่งงานแล้ว ก็เหลือกัน ๒ คน ก็ชวนพ่อบ้านว่า เราเลิกค้าขาย แล้วไปอยู่กับ พี่น้องเราที่สีมาฯ เถอะ เพราะตอนอยู่กลุ่มอุดรฯ ก็เทียวมาประชุมที่สีมาฯ เป็นประจำ เลยตกลงมาอยู่ที่นี่ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ ทำไมไม่หาเงินต่อ ไม่มีผัสสะอะไร ป้าเอาเรื่องคนไม่เป็น ต่อมาลูกสาวที่แต่งงานไปก็มาอยู่ด้วย และสีมาฯ เปิด ม.วช.ป้าก็เลยสมัครเป็นนิสิต เป็นนิสิตดีอย่างไร เข้ามาอยู่วัด รู้สึกดีกว่าอยู่บ้านมาก อยู่ใกล้กันแค่นี้ แต่แตกต่างกันมาก การขัดเกลาต่างกัน อยู่หมู่บ้านเรา มีครอบครัว ถือศีล ๕ พอเข้ามาอยู่ ในวัดถือศีล ๘ ต่างคนต่างอยู่ ทำงานส่วนรวม เป็นอะไรที่เบาว่าง รู้สึกมันคนละเรื่องกับอยู่บ้านเลย แม้จะห่างกัน เพียงนิดเดียว อยู่วัดเรามีเวลาให้กับตัวเองเยอะ ปฏิบัติธรรมได้ดีขึ้น มาเรียน ม.วช. ยิ่งได้ธรรมะเยอะ มีตัวกล้าขึ้น แต่ก่อนป้าเป็นคนขี้อาย เข้าที่ประชุม จะไม่กล้าพูด เป็นนิสิตได้อยู่ในหมู่กลุ่ม เป็นกันเองขึ้น ได้รู้อะไรมากขึ้น ดีมากเลยค่ะ ถึงจะจบ ป.๔ ถ้าเรามีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจจริง มันไม่เป็นอุปสรรค ขอให้เราอ่านออก เขียนได้ แล้วขยันเรียน ดีมากๆ เลยค่ะ ถ้าไม่เชื่อ ก็ลองมาเรียนดู จะได้อะไรหลายๆอย่างเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ -
บุญนำพา รายงาน - |