ฉบับที่ 231 ปักษ์หลัง16-31 พฤษภาคม 2547 |
คิดง่ายกว่าทำ สิ่งที่น่าเป็นห่วงประการหนึ่งของชาวอโศกในการประชุม ก็คือ คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด ที่น่าเป็นห่วงก็คือ เวลาคิดนี่ ถ้าไม่ได้คำนึงถึงคนและสมรรถนะของคนทำ ก็จะคิดไปได้ไกลกว่าความเป็นจริง ถ้าผู้คิดเป็นผู้ใหญ่ หรือ มิใช่คนที่จะลงมือทำตามมติที่ประชุม คนทำเป็นผู้น้อย ผู้น้อยก็ต้องพยายามทำตามผู้คิด ทำตามมติที่ประชุม ไม่กล้าปฏิเสธ แม้ตัวเองหรือคณะจะทำไม่ไหว บางทีผู้ใหญ่หรือผู้คิดก็คิดว่า ตัวเองทำได้ในสิ่งที่คิด แต่ตัวเองไม่ได้ทำและประมาณผิด พอคนอื่นทำก็ มีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งบางเรื่อง ก็ต้องลงทุน ไปทั้งกำลังคน กำลังทรัพย์ แต่ผลได้ไม่คุ้ม เสีย เพราะไม่ได้ดั่งที่คิด ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยๆ อะไรจะเกิดขึ้น ก็ขอให้คนที่คิดแต่ไม่ได้ทำ ช่วยไตร่ตรองให้ดีๆ. คิดง่ายกว่าทำสิ่งที่น่าเป็นห่วงประการหนึ่งของชาวอโศกในการประชุม ก็คือ คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด ที่น่าเป็นห่วงก็คือ เวลาคิดนี่ ถ้าไม่ได้คำนึงถึงคนและสมรรถนะของคนทำ ก็จะคิดไปได้ไกลกว่าความเป็นจริง ถ้าผู้คิดเป็นผู้ใหญ่ หรือ มิใช่คนที่จะลงมือทำตามมติที่ประชุม คนทำเป็นผู้น้อย ผู้น้อยก็ต้องพยายามทำตามผู้คิด ทำตามมติที่ประชุม ไม่กล้าปฏิเสธ แม้ตัวเองหรือคณะจะทำไม่ไหว บางทีผู้ใหญ่หรือผู้คิดก็คิดว่า ตัวเองทำได้ในสิ่งที่คิด แต่ตัวเองไม่ได้ทำและประมาณผิด พอคนอื่นทำก็ มีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งบางเรื่อง ก็ต้องลงทุนไปทั้งกำลังคน กำลังทรัพย์ แต่ผลได้ไม่คุ้ม เสีย เพราะไม่ได้ดั่งที่คิด ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยๆ อะไรจะเกิดขึ้น ก็ขอให้คนที่คิดแต่ไม่ได้ทำ ช่วยไตร่ตรองให้ดีๆ. |
สั่งสมโลกุตระกุศลให้ชีวิต ในงานเพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ ๑๑ ที่ ชุมชนราชธานีอโศก ในวันที่ ๑๘ พ.ค.๒๕๔๗ ในช่วงของ"พรก่อนจาก" พ่อท่านได้แสดงธรรม ให้แก่พนักงาน ธ.ก.ส. และทุกคนที่มาร่วมงาน ว่า "...ขอให้ทุกคนตั้งใจ สิ่งที่ดีสิ่งที่ได้ ตั้งใจแล้ว สิ่งใดที่มั่นใจแล้ว ลงมือทำอย่าช้า เวลาไม่มาก เกิดมาร้อยปีตาย สั้นนิดเดียว ร้อยปีตายกับวัฏสงสารนี้ โอ้โห...คุณเทียบได้มั้ย ร้อยปีนี้นิดเดียว วัฏสงสารนั้นนับไม่ถ้วน คุณยังไม่ตายในวัฏสงสาร อัตภาพของคุณ ยังไม่ปรินิพพาน คุณยังจะวนเวียนในวัฏสงสารนี่อีก วัฏสงสารมันยาวนานมาก เพราะฉะนั้นร้อยปีตาย เมื่อได้มีโอกาสได้มาพบศาสนา ได้มาพบมิตรดี สหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดี ซึ่งจะเป็นแรงเหนี่ยวนำ เป็นสนามแม่เหล็กที่จะทำอะไรให้เกิดพัฒนาในช่วงชีวิตที่เราได้มาพบนี้ ตายแล้ว วิบากอีกเยอะแยะเหมือนหมาไล่เนื้อ ยังไล่คุณ อยู่อีกนะ คุณอย่านึกว่าคุณมาเกิดคนหนึ่งๆนี่วิบากมันมาเกิดทั้งหมด ไม่ใช่นะ ชุดหนึ่ง เท่านั้นนะ คนเรามาเกิดมีวิบาก มาเกิด ให้ชุดหนึ่ง ส่วนวิบากขณะนี้ที่ยังมีมาเยอะเลย และวิบากชั่วนี่มากกว่า ท่านเปรียบไว้ เหมือนหมาไล่เนื้อ มันยังวิ่ง ไล่กวด ยังไม่ทัน คุณตายปั๊บมีอีกเยอะเลยมา นึกว่าคุณทำดีในปางนี้แล้วนี่จะคุ้ม ไม่แน่ วิบากอื่น มาสมทบ ชาตินี้ได้เกิดเป็นคน ชาติหน้า อาจจะไป เป็นควาย ยังไม่แน่หรอก แม้ทำดี เพราะฉะนั้นต้องเผื่อพอไว้ เมื่อได้รับโอกาสดี อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทำไว้ ดังที่อาตมาเทศน์ไว้ เมื่อวันแรก เกิดมาเป็นคนมีชีวิตรอดได้พบพุทธศาสนา แล้วทำให้มันบรรลุ ทำให้มันได้มรรคผล ซึ่งเป็นทรัพย์ เป็นสมบัติ ต้องสั่งสม อันนี้ คนไม่ได้พบ พุทธศาสนามีอีกมากเหลือเกิน ๖ พันกว่าล้าน ในโลกนี้น่าสงสาร เขาไม่รู้จักทิศทางที่แท้จริง ที่ไปดีจริงๆ เพราะฉะนั้นอย่าพลาดโอกาส ไม่ใช่อาตมามายุแหย่ แต่อาตมาอยากจะให้คุณได้ประโยชน์ใส่ตน เกิดมาไม่เสียชาติ มันควรจะได้ เพราะฉะนั้นเหลือเวลาที่นั่งๆอยู่นี่ ไม่เท่าไหร่หรอกนะ บางคน ๔๐ เอนเอียงเข้าไปห้าสิบ หกสิบ เจ็ดสิบ แล้ว จะอยู่ถึงเจ็ดสิบปี ขนาดอาตมาหรือเปล่า ยังไม่รู้ เพื่อนๆรุ่นเดียวกับอาตมาตายไปซะเท่าไหร่ก็ไม่รู้ เหลือเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ตายมากกว่าที่เหลือ เพราะฉะนั้น อย่าไปประมาท ก็ขอให้ทุกคน ได้พยายามพากเพียรสั่งสมเอาสิ่งที่ดีเป็นทรัพย์ กรรมเท่านั้นเป็นทรัพย์ ขอให้พากเพียรสั่งสม กรรมที่เป็นกุศล โดยเฉพาะ ได้โลกุตระกุศล ขอให้ทุกคนมีโอกาส แล้วก็มีบุญได้รับสิ่งอย่างนี้ถ้วนทั่วทุกคนเทอญ" - เด็กวัด - |
- สมณะแน่วแน่ สีลวัณโณ - สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา งาน "คืนสู่เหย้า เข้าคืนถ้ำ"ครั้งที่ ๒ ที่บ้านราชฯ ซึ่งเพิ่งจะผ่านมานี้ (๑๒-๑๔ พ.ค.) ได้มีการประชุมเพื่อก่อตั้ง "สมาคม ศิษย์เก่าสัมมาสิกขา" ขึ้นมา ถือได้ว่า"จะ" เป็นน้องใหม่ล่าสุดขององค์กรชาวอโศก ที่ใช้คำว่า "จะ" ก็เพราะยังเป็นเพียงการนำเสนอ ให้บรรดาศิษย์เก่า ที่ไปร่วมงานรับทราบ ซึ่งจะต้อง รอการดำเนินการทางกฎหมาย ของการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องก่อน ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนกับเด็ก อยู่ในครรภ์ ใกล้คลอดเต็มที หากเสร็จขั้นตอน ตามกฎหมายแล้ว จึงถือได้ว่าคลอดออกมาเป็นน้องใหม่โดยสมบูรณ์ องค์กรชาวอโศกที่ได้จดทะเบียนแล้วมี ๕ องค์กรได้แก่ มูลนิธิธรรมสันติ กองทัพธรรมมูลนิธิ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม ธรรมทัศน์สมาคม มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งจะประชุมกันวันอาทิตย์ปลายเดือน พ่อท่านเองร่วมประชุมด้วยแทบทุกครั้ง มีเพียงครั้ง หรือ สองครั้ง อย่างมาก ที่ไม่ได้ร่วมประชุมด้วย เนื่องจากอาพาธ ช่วงผ่าตัดตา ดังนั้นอีกไม่นานนัก การประชุมประจำเดือนจะมี ๖ องค์กร คราวนี้จะมีหนุ่มสาวลูกหม้อของชาวอโศกร่วมประชุม กับญาติธรรม รุ่นเก่าแก่ และ รุ่นกลางคน คณะก่อการดีหรือกรรมการสมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา จะได้มีโอกาสไปเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ ขององค์กร ชาวอโศก ขณะเดียวกัน กิจกรรมต่างๆ ของศิษย์เก่าก็จะได้รายงานให้ผู้ใหญ่ได้รับรู้ พ่อท่านเคยกล่าวกับเด็กนักเรียนสัมมาสิกขาว่า อนาคตสังคมไทยจะเป็นเช่นใด ฝากความหวังไว้ที่สัมมาสิกขาทุกคน เพราะหนุ่มสาว ลูกหม้อเหล่านี้ จะก้าวขึ้นมาทำงาน ทดแทนผู้ใหญ่รุ่นปัจจุบัน ซึ่งนับวันสังขารจะเสื่อมทรุดลงเรื่อยๆตามวัย แต่ปัญหาอยู่ที่ หนุ่มสาว ลูกหม้อ ที่มีความตั้งใจ มีความกระตือรือร้นที่จะก้าวเข้ามาทำงานทดแทนผู้ใหญ่ ยังมีไม่มากนัก หลายคนยังอยากสนุก อยากที่จะมี จะเป็นอย่างโลกีย์ ขณะเดียวกัน หนุ่มสาวที่อยู่ในชุมชนต่างๆนั้น หลายคนก็มีการงานประจำอยู่แล้ว ถ้าจะรับงานใดๆอีก จึงเป็นเรื่อง ที่เขาก็มีสิทธิ์ คิดเกรงว่า จะหนักเหนื่อยมากไป งานเก่าที่รับอยู่ก็จะไม่ได้ดี งานใหม่ที่รับมาก็จะไม่ได้เรื่อง ความคิดในการก่อตั้งเป็นสมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขานี้ มาจากศิษย์เก่าศีรษะอโศกคนหนึ่งชื่อ"จืด"หรือชื่อที่ พ่อท่านตั้งให้ว่า "กระบี่พุทธ" เขาได้ไปเห็นองค์กรหนึ่งภายนอก สมาชิกองค์กรนั้นมีความทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจ และทุนทรัพย์ในการช่วยเผยแพร่ หลักธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า แม้หลายอย่างจะไม่สัมมาทิฐิก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ จากพ่อท่าน และ ชาวอโศก ซึ่งดูจะมีสัมมาทิฐิมากกว่า ดูมีเหตุผล ที่ดีกว่าด้วยซ้ำ เขาจึงมองมาที่ตัวเอง และคิดต่อไปถึงเพื่อนๆ ศิษย์เก่าสัมมาสิกขา ทั้งหลาย ซึ่งได้กระจัดกระจายกันออกไป หลายคนศีล หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้มา จากพ่อท่านแทบไม่เหลือแล้ว หลายคน ต้องไปทำงาน รับใช้นายทุน หลายคนกำลังหางานทำ ด้วยความเป็นห่วง และเสียดาย สิ่งดีๆที่ได้เรียนรู้มาจาก พ่อท่านและชาวอโศก จะสูญหาย ไปเปล่าๆ ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปทั้งตัวเขาเองและเพื่อนๆ นับวันมีแต่จะตกต่ำ ทำอย่างไร จึงจะสามารถรวมกลุ่มศิษย์เก่าเหล่านั้น ให้ได้มี กิจกรรมร่วมกันได้ โดยไม่เกี่ยงหรือแบ่งแยกว่าจะเป็นศิษย์เก่า จากสัมมาสิกขาใด จุดสำคัญ ของความคิดรวมกลุ่มกัน เพื่อรวบรวม เอาแรงกายและความรู้ความสามารถของบรรดาศิษย์เก่าหนุ่มสาวที่มี มาช่วยงานศาสนา มาช่วยงานพ่อท่าน มาช่วยงานชาวอโศก ขณะที่ปีที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งเป็นชมรมศิษย์เก่าสัมมาสิกขาไปแล้ว แต่ยังไม่มีกิจกรรมอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ แม้แต่การติดต่อ ข่าวสารถึงกัน ก็แทบไม่มี ศิษย์เก่าหลายคนจึงเห็นว่าจะตั้งอะไรขึ้นมาก็เท่านั้น ที่สำคัญจะกลายเป็นภาระเรื่องงานเอกสาร หลายคน จึงไม่เห็นด้วย คิดว่า อย่าไปตั้งอะไรขึ้นมาใหม่เลย แค่ที่มีอยู่ยังทำอะไรไม่ได้ถึงไหนเลย งานของส่วนกลางชาวอโศก ตามชุมชนต่างๆ ก็มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นเหตุผลจริง ที่น่ารับฟังยิ่ง แต่"จืด"เขาไม่ท้อ แม้ในอดีตสมัยเรียนเขาอาจมีพฤติกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือในสายตาของหลายคนก็ตาม "จืด" ยังคงเดินหน้า บอกเล่า ความคิด ของตนให้ฟังว่า ไม่ว่าจะจัดตั้งเป็นอะไรก็ตาม ถ้าสมาคมไม่ได้ ก็อาจจะเป็นในรูปแบบอื่น ที่สามารถทำให้ กลุ่มศิษย์เก่านี้ จะได้มีการรวมตัวกัน ถ้ากลุ่มแข็งแรง ก็คิดจะมีกองทุนช่วยเหลือกัน ทั้งเรื่องการเงิน ความเจ็บป่วย รวมไปถึงงานอาชีพ ศิษย์เก่า ที่แข็งแรงเพียงพอ จะเข้ามาช่วย ในด้านต่างๆ ให้กับศิษย์เก่ารุ่นเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง ทั้งให้ความรู้ คำแนะนำ รวมไปถึงการเงิน สำหรับศิษย์เก่าที่ยังไม่อยากเข้ามาทำงานในวัด ยังต้องการมีเงินรายได้ใช้จ่ายบ้าง ก็อยากให้มารวมกันทำงานในรูปของบริษัท ซึ่งจะรองรับสินค้า จากชุมชน ชาวอโศกต่างๆ เพื่อช่วยระบายกระจายสินค้าต่างๆให้ วิธีการนั้นจะดำเนินการตลาดอย่างทุนนิยม โดยจัดรูปบรรจุภัณฑ์สินค้าให้ดูดี เพื่อจัดส่ง ห้างสรรพสินค้าต่างๆ สำหรับระเบียบคร่าวๆในการรับเข้าร่วมทำงานในบริษัทก็คือ ต้องมีศีล ๕ เป็นอย่างน้อย ไม่มีอบายมุข และจะพยายาม ให้ได้พบสมณะสิกขมาตุบ้าง แม้จะรู้ว่าเพื่อนๆศิษย์เก่า หลายคน จะมีความรู้สึกเข็ดขยาด ไม่อยากจะเข้าหาสมณะ สิกขมาตุเท่าไรก็ตาม "จืด"ยังคงฝันต่อไปอีกว่างานปีใหม่"ตลาดอาริยะ" ก็อยากจะให้มีสินค้าของศิษย์เก่าฯมาร่วมกันออกร้าน อาจจะเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ได้ ด้วยได้ยิน พ่อท่านเทศน์ ที่งานปีใหม่ที่เพิ่งผ่านมา ฝันสุดท้ายที่ผู้เขียนถือว่าเป็นสุดยอดความฝันของ "จืด" ก็คือ ถ้าสมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา เข้มแข็ง บริษัทศิษย์เก่าฯ แข็งแรง ผมอาจจะทิ้ง ทุกอย่าง แล้วก็เข้าวัดก็ได้ อันนี้"จืด"เขากระซิบเบาๆ ยังไม่กล้าบอกใครให้รู้ เกรงจะทำไม่ได้ ดังที่คิดฝันไว้ ผู้เขียนเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจที่ดีของเขา ก็รู้สึกอนุโมทนาด้วยเป็นอย่างยิ่ง แม้จะรู้ว่าสิ่งที่เขาคิดฝันนั้น หลายอย่างมันไม่ง่าย อย่างที่คิด แต่ก็อยากจะส่งเสริม ความฝันของเขาให้เป็นจริง ดีที่พ่อท่านก็เห็นด้วยกับการตั้งอะไรขึ้นมาให้ดูเป็นหลักฐาน จริงจัง เพื่อรวบรวมศิษย์เก่า เข้ามาให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อพ่อท่านเห็นดีด้วยเช่นนี้ หลายคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะเกรง จะเป็นการเพิ่มงาน โดยเฉพาะงานเอกสาร ต่างก็จำนน ต้องยอมตามที่พ่อท่านเห็นดี แม้จะรู้ว่าจะต้องเหนื่อยมากขึ้นก็ตาม สมาคมศิษย์เก่า สัมมาสิกขา ก็จึงได้เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้ สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะขอร้องญาติธรรมผู้ใหญ่ ช่วยๆกันส่งเสริม "สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา" นี้ด้วยเถิด โดยเฉพาะ ในด้านการเงิน เพราะอย่างไร ค่าใช้จ่ายในเรื่องของเอกสารก็ต้องมี และยิ่งถ้ามีกิจกรรมด้วยแล้วก็ยิ่งต้องมีค่าใช้จ่ายแน่ ขณะที่ศิษย์เก่าฯ หนุ่มสาว เหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังต้องเรียน หลายคน ยังไม่มีรายได้อะไรเท่าไรนัก องค์กร อื่นๆเช่น มูลนิธิธรรมสันติ กองทัพธรรมมูลนิธิ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม ธรรมทัศน์สมาคม มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน ต่างก็มีกิจกรรม มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพอจะมีรายได้ เลี้ยงสมาคม หรือมูลนิธิให้ดำเนินการไปได้ หรือมีส่วนกลาง ที่คอยช่วย เกื้อหนุนอยู่ แต่ "สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา"นี้ "จืด"เขาคิดมาแต่แรกว่า จะไม่ขอรบกวนส่วนกลาง อยาก จะให้เป็นเรื่องของ ศิษย์เก่าช่วยทำกันเอง อันนี้ก็เป็นความตั้งใจ ที่ดีของ "จืด"เขา แต่ในช่วง เริ่มก่อตั้งนี้ ก็อยากให้ผู้ใหญ่ช่วยกันดูแลบ้าง เห็นอะไรขาดช่วยกันเติมให้ด้วย เผื่อความฝันของ "จืด" จะเป็นจริงในเวลาไม่นานนัก ก็เป็นได้ "จืด"กำลังมี"ไฟ"แรงคุโชน เขาตั้งความหวังว่าภายใน ๓ ปี "สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา" จะมีรูปร่าง ที่แข็งแรงได้ แต่ผู้เขียน บอกเขาว่าให้เวลา ๕ ปีขึ้นไปได้เลย พ่อท่านเปรยเบาๆ ว่าคอยดูเถอะต่อไป "สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา" จะมีบทบาท ต่อสังคม อย่างมาก ผู้เขียนจึงอยากจะบอกคณะก่อการดีหรือศิษย์เก่าหนุ่มสาวที่อยู่ตามชุมชนต่างๆว่า "เห็นใจ"นะที่พวกเธอ ต้องเหนื่อย มากขึ้นแน่ แต่ก็อยากให้พวกเธอสู้ทนเหนื่อยหนักต่อไปเถอะ เพื่อพี่ เพื่อน้อง เพื่อสังคม เพื่อชนรุ่นหลัง สำหรับงาน "คืนสู่เหย้า เข้าคืนถ้ำ" มีผู้มาลงทะเบียน ๒๑๘ คน ศิษย์เก่าช่วยกันก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา เป็นจำนวนเงิน ประมาณ ๑๓,๐๐๐ บาท มีผู้ได้ฟังธรรมพ่อท่านแล้ว เปลี่ยนใจจากเดิมที่เสร็จงาน "คืนสู่เหย้าฯ" แล้วจะกลับ กลายเป็นอยู่ต่อ เพื่อร่วมช่วยงาน "เพื่อฟ้าดิน" มีอยู่คนหนึ่งนั่งรถกลับไปถึงหมู่บ้านคำกลางแล้ว เกิดเปลี่ยนใจกะทันหัน บอกให้รถจอดขอลง แล้วโทรศัพท์ให้ชาวบ้านราชฯ เอารถไปรับกลับเข้ามาด้วย ศิษย์เก่าที่ไม่ได้มาร่วมงานในปีนี้ รวมถึงศิษย์เก่าที่มาแล้วกลับไป ไม่ได้อยู่ร่วมงาน "เพื่อฟ้าดิน"ต่อ ผู้เขียนไม่ได้คิดว่า เขาไม่มีน้ำใจ ไปทั้งหมด เขาอาจมีวิบากของเขา หรืออาจมีความจำเป็นบางอย่าง สักวันหนึ่งเขาจะมาแน่ ถ้าเขาหมดจากภาระของเขา หรือ มีดวงตาเห็นธรรม เห็นทุกข์เห็นโทษภัย ของวัฏสงสารมากกว่านี้ เหมือนอย่างที่พ่อท่านเคยกล่าวว่า อาตมาไม่กลัวว่า คนจะไม่มาเอา แนวทาง บุญนิยม หรือ อาตมาไม่กลัวว่า อโศกจะไม่ได้สร้างหนัง เพราะโลกีย์มาถึงทางตันไปหมดแล้ว สักวันหนึ่ง เขาจะมาขอเอา เราแน่ เพียงแต่เรามีเนื้อ พอที่จะให้เขาไหมเท่านั้น จริงทีเดียว ถ้าเกิดกรูเกรียวกันเข้ามา ชาวอโศกทุกวันนี้มีเนื้อในพอหรือมีเรี่ยวแรงพอที่จะให้เขาไหม กลียุคอาจไม่ยาวนาน อย่างที่ หลายคน เข้าใจก็ได้ เพราะนี่สงครามคูเสดสมัยใหม่ กำลังห้ำหั่นอย่างไม่ลดราวาศอกกันเลย อย่างที่พ่อท่านบอกนั่นแหละ เราขอเป็น หน่วยกาชาด เป็นหน่วยผลิตอาหาร เลี้ยงเขาดีกว่า แล้วเราจะอยู่รอด ญาติธรรมผู้ใหญ่น่าจะได้คิดให้มากๆนะ ขนาดหนุ่มสาว เขายังคิด ที่จะรวมตัวกัน คิดที่จะช่วยเหลือกัน คิดที่จะช่วยงานศาสนา ประสาอะไรกับญาติธรรมผู้ใหญ่ ที่มีวุฒิภาวะ มากกว่า มีคุณวุฒิมากกว่า มีหน้าที่การงานที่ดีกว่า มีการเงินที่ดีกว่า จะไม่คิดทำอะไรให้เป็นรูปร่างขึ้นมาบ้างหรือ โดยเฉพาะที่กำลัง ทะเลาะกันไม่แล้ว ตามชุมชนต่างๆ น่าจะหยุด และละอาย รุ่นลูกหลานเรา ที่คิดทำได้ดีกว่าเรานะ ผู้ที่เอาแต่จดๆจ้องๆรีๆรอๆอยู่นั่นแล้ว ไม่เข้ามาร่วม กันสักที ระวังเถอะ
! ชีวาวายอาจมาถึงเรา เร็วกว่าที่คิด!!! |
เจ้าหน้าที่
ธกส.นับพัน มารับการฝึกอบรมที่บ้านราชฯ ร่วมงานกับคกร. อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ชาวบ้านประทับใจ งานเพื่อฟ้าดินครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ พ.ค. ๒๕๔๗ ณ ชุมชนราชธานีอโศก ต.บุ่งไหม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.), สถาบันเพื่อพัฒนาการเกษตรและชนบท จำเนียร สาระนาค (สจส.) และเครือข่าย กสิกรรมไร้สารพิษ แห่งประเทศไทย(คกร.) ร่วมกันดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตเกษตรกร จัดสัมมนา เชิงสัมมนา เชิงปฏิบัติการ โครงการ "การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เพื่อเอาชนะความยากจนอย่างยั่งยืน" ผู้ร่วมสัมมนาได้แก่ วัตถุประสงค์ของการสัมมนา เพื่อ ที่พักของพนักงาน ธ.ก.ส.จัดไว้ที่เฮือนศูนย์สูญโดยแยกตามภาค ชั้น ๔ ภาคเหนือ, ชั้น ๓ ภาคกลาง, ภาคตะวันออก และ จังหวัด กาฬสินธุ์-ขอนแก่น -ชัยภูมิ-โคราช ชั้น ๒ ภาคอีสานทั้งหมด(ยกเว้น ๔ จ.ว.ที่พักชั้น ๓) สำหรับภาคใต้และภาคตะวันตก พักในชุมชน ผู้ที่ต้องการปลีกวิเวก หรือฝึกชีวิต อย่างชาวอโศก มีกลดแขวนบริการอยู่ใต้ต้นไม้ (ปูน) ชั้นล่างเฮือนศูนย์ ส่วนเกษตรกร พักในชุมชน จุดบริการอาหารมี ๓ จุด เฮือนเพิ่งกัน, หลังเฮือนเอิ้นขานและใต้เฮือนศูนย์ นายศุภชัย วงศ์เวคิน พนักงานพัฒนาธุรกิจ ๗ ระดับ ปฏิบัติการ จ.อุบลฯ ให้สัมภาษณ์ ถึงเป้าหมาย ของการสัมมนาครั้งนี้ว่า "การอบรมสัมมนาครั้งนี้เป้าหมายใหญ่เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก เปลี่ยนแนวความคิดของ พนักงาน ธ.ก.ส. หากสามารถ ปรับเปลี่ยน โครงสร้างของตัวเองได้ ถือว่าเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ เพราะว่า แม้เราอยากทำแต่กลไก หรือตัวพนักงานไม่ขับเคลื่อน ก็ไม่ประสบ ความสำเร็จ สรุปง่ายๆพนักงานต้องอิน (in) เสียก่อน เมื่ออบรม เสร็จแล้วพนักงานก็จะไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร พนักงานมาจากทั่วประเทศ ๔ ภาคไกลสุดคือนราธิวาส ๙๙%เป็นผู้ชายที่สมัครใจมา เพราะในหนังสือแจ้งไปว่า เฉพาะพนักงาน ผู้สมัครใจ ที่จะเข้ามา และ ๙๐ %เป็นพนักงานภาคพื้นสนาม ซึ่งคลุกคลีกับชาวบ้านอยู่แล้ว ๓ ปีที่อบรมฯ เราติดตามประเมินผลมาตลอด ณ วันนี้ ธ.ก.ส.มองว่าเดินถูกทาง แต่ตัวชี้วัดยังคงอีกนาน ถามว่าประสบความสำเร็จ หรือยัง ยัง เราเห็นผล ในส่วนของการลดต้นทุนการผลิต เช่น ผลิตน้ำยาล้างจาน ซักผ้า แชมพูสระผม ลดอบายมุขได้ โอกาสที่ เกษตรกร อยู่ได้ มี" สำหรับบรรยากาศของงานมีดังนี้๑๕ พ.ค. ๖ โมงเช้าเป็นต้นไป พนักงาน ธ.ก.ส.และเกษตรกรเข้าพื้นที่ ลงทะเบียน รับถุงพลังศรัทธา พร้อมเอกสาร เข้าที่พัก บ่าย ๒ โมง พนักงาน ธ.ก.ส.ทัศนศึกษาโครงการป่าดงนาทาม (โครงการพิเศษของกรมทหารราบที่ ๖) ซึ่งเป็นต้นแบบ ของแนว เศรษฐกิจ พอเพียง ๖ โมงเย็น รายการ "อบอุ่น-คุ้นเคย" การแสดงบนเวทีธรรมชาติ เริ่มด้วยวงฆราวาส รีวิวของน.ร.สมุนพระราม และช่วงสุดท้าย ซักถาม ข้อสงสัย ได้ทุกเรื่อง อย่างเป็นกันเองกับพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
๑๖ พ.ค. วันแรกของงาน ในช่วงเช้าคุณหมอสำเริง มีทรัพย์(หมอเขียว) นำออกกำลังกายบริเวณลานโคกใต้ดิน เหงื่อออก พิษออก มีเหงื่อ มีแฮง (แรง) พักผ่อนตามอัธยาศัย รับอาหารเบาๆ ข้าวต้มเครื่องร้อนๆ บรรยากาศเรียบง่าย เป็นกันเอง เหมือนเป็นบ้าน ของเรา ๒ โมงเช้า เข้าศาลา ฟังกำหนดการ และพ่อท่านแสดงธรรม ๔ โมงเช้า นายพิทยาพล นาถธราดล ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวรายงาน ฯพณฯ รองนายกรัฐมตรี พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นประธานในพิธี กล่าวเปิดงานและทำพิธีเปิด โดยตัดเชือก มีลูกมะพร้าว ตกลงมาลั่นฆ้อง..โ...ม...ง... ประธานในพิธี, ผู้จัดการ ธ.ก.ส., รองผู้จัดการ ธ.ก.ส., เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ฝ่ายต่างๆ, รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตต่างๆ จ.อุบลฯ รับของที่ระลึกจากพ่อท่าน หลังจากนั้น ประธาน คกร.คุณถึงไท แสงสุริยจันทร์ นำประธานฯเดินเยี่ยมชมนิทรรศการ, ผลงานของเครือข่ายต่างๆ จากบริเวณ หน้าเฮือนศูนย์ เลี้ยวขวา เครือข่าย จ.ลพบุรี สาธิต ถั่วงอกตัดราก โดยไม่ใช้สารฟอกขาว (ในตลาดใช้สารฟอกขาว ในส่วนราก ของถั่วงอก) โชว์เมนูสุขภาพ ยำถั่วงอกไร้สารพิษ ให้พลเอกธรรมรักษ์ได้ชิม แล้วเข้าตลาดบริเวณตลาดอาริยะ(โครงเขียว)ที่เกษตรกรนำผลผลิตมาจำหน่าย มีผักพื้นบ้านต่างๆ จากเครือข่ายยโสธร โรงเรียนชาวนา เกษตรอินทรีย์ สาธิตการสีข้าวด้วยมือ, การตำข้าว, การฝัดข้าว, มีแปลงสาธิตการเตรียมดินปลูกข้าว, การดำนำ, การสูบน้ำ ออกจากนา เตรียมเก็บเกี่ยว, การวิดน้ำเข้านาสมัยก่อน, ซึ่งพลเอกธรรมรักษ์ได้ทดลองวิดน้ำด้วย, มีประชาชนจากภายนอกมาเดินซื้อสินค้ามากมาย ตลอดเวลาเยี่ยมชมท่านประธานจะแวะดู ซักถามอย่าง สนใจ เกษตรกรแต่ละเครือข่ายได้มอบพืชผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์ ให้แก่ ท่านประธาน หลังจากเยี่ยมชม ท่านประธานและแขกผู้ใหญ่รับประทานอาหารเที่ยงในเรือท้าวแถนพญามูล ส่วนผู้ติดตาม รับประทาน ที่เรือเกียข่วมฟ้า, เรือกล้าข่วมฝัน บริเวณบุ่งไหมน้อย แล้วเดินทางกลับ ในบริเวณศาลา หลังพิธีเปิดงาน นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีตรมว.กระทรวงอุตสาหกรรม บรรยายพิเศษ เรื่อง "ทิศทางการปรับ ทัศนคติพนักงาน และเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน" บ่ายโมง นายพิทยาพล นาถธราดล ผู้จัดการ ธ.ก.ส.ชี้แจง ความคาดหวังของธนาคารกับนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ปัญหา หนี้สิน ภาคประชาชน บ่าย ๒ โมง คุณหนึ่งแก่น บุญรอด สัมภาษณ์เจาะใจ คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรมว. กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม บ่าย ๓ โมง แบ่งกลุ่มเยี่ยมชมฐานวิชาการ ๔ ฐานหลัก (หมุนเวียนฐานย่อย ๕ ฐาน ใช้เวลาฐานละ ๑๐ นาที) ๑. เกษตรอินทรีย์กู้หนี้ชาวนาไทย มีผู้สนใจ ๒๔๕ คน สัญลักษณ์ธงเหลือง ๕ โมงเย็น ชมขบวนแห่เพื่อฟ้าดิน จากวัฒนธรรม ๓ ภาค ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน รายการภาคค่ำ สาระบันเทิง ฟังสัมภาษณ์คุณมาร์ติน วิลเลอร์ ฝรั่งที่มีอุดมการณ์บุญนิยม พร้อมชมภาพประกอบจาก โปรเจคเตอร์ ๑๗ พ.ค. วันที่สองของงาน ๔ นาฬิกา ฟังธรรมะรับอรุณ โดยพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ แล้วออกกำลังกายร่วมกัน ๘ โมงเช้า ฟังการชี้แจงจาก ธ.ก.ส. แล้วแบ่งกลุ่มพบสมณะตามจุดต่างๆ ๒๐ กลุ่มจนถึง ๑๐.๓๐ น. ผู้แทนจากฝ่ายพัฒนา คุณภาพหนี้ ชี้แจงแนวทาง การทำงาน "ยุทธศาสตร์สำคัญของ ธ.ก.ส. การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เพื่อต่อสู้ความยากจน อย่างยั่งยืน" บ่ายโมงถึงบ่ายสามโมง เวทีจุดประกายแนวคิด แบ่งกลุ่มตามหัวข้อสัมมนา ๔ กลุ่ม บ่ายสามโมงจนถึงห้าโมงเย็น เวทีเสริมปัญญา เลือกเจาะลึกกับวิทยากร (กลุ่มย่อย) ภาคค่ำรายการสาระบันเทิง การแสดงจากเครือข่ายต่างๆ ปิดท้ายด้วยฟังสัมภาษณ์ลุงทองเหมาะแจ่มแจ้ง นักวิชาการ ป.๔ ผู้คิดค้น พันธุ์ข้าวไทย และ ดต.พิชัย สุริยุทธ นักสู้ผู้สร้างป่าพร้อมชมภาพประกอบจากโปรเจคเตอร์ ๑๘ พ.ค. วันสุดท้าย ๗ โมงเช้า พ่อท่านนำหมู่สมณะ-สิกขมาตุบิณฑบาต จากบริเวณถนน ณ เฮือนศูนย์ไปเฮือนเพิ่งกัน ๘ โมงเช้าสรุปแนวทางในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตเกษตรกร ทิศทางและนโยบายสำคัญของ ธ.ก.ส.โดย ผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริม การเรียนรู้ นายศุภชัย สถาการ หลังจากนั้นฟังพรก่อนจาก โดยพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ สรุปว่า "ขอให้ทุกคนได้พยายาม พากเพียรสั่งสม เอาสิ่งที่ดีเป็นทรัพย์ กรรมเท่านั้นเป็นทรัพย์ ขอให้พากเพียรสั่งสมกรรมที่เป็นกุศล โดยเฉพาะได้โลกุตระกุศล ขอให้ทุกคนมีโอกาส แล้วก็มีบุญ ได้รับสิ่งอย่างนี้ถ้วนทั่วทุกคน" แล้วรับประทานอาหารร่วมกันเป็นครั้งสุดท้าย แยกย้ายกัน เดินทางกลับ บ่ายโมง คกร.ธ.ก.ส. ประชุมสรุปงาน ภาพรวม ออกมาดี ก่อนเริ่มงานและระหว่างงานฝนตกลงมา ทำให้อากาศที่ร้อนอบอ้าวสดชื่นเย็นสบาย แม้ถนนอาจเฉอะแฉะบ้างก็ตาม ภายในงาน มีรถหน่วยตรวจสอบ เคลื่อนที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุข มาตรวจหาสารปนเปื้อน ในอาหาร รวม ๑๓๔ ตัวอย่าง พบยาฆ่าแมลง ระดับปลอดภัย ๒ ตัวอย่างจากกระชายดำ (ยังไม่ตรวจ ๒ ตัวอย่าง และรอผล การตรวจหา จุลินทรีย์ก่อโรค ๓๖ ตัวอย่าง) ซึ่ง น.ส.น้อมขวัญ ปัฐยาวัต ต.อ.อโศก ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "มีผู้ผลิตบางราย นำสินค้า ต้องห้าม มาในงาน เช่น น้ำหมักชีวภาพ ซึ่ง ต.อ.ยังไม่ได้ดูแล ยาสมุนไพรตำรับที่เป็นชิ้นๆ ก็ได้รับความร่วมมือมีการเก็บลง ประทับใจว่า พวกเราให้ความร่วมมือกันดี และเข้าใจกันง่าย ที่ต้องปรับปรุงก็คือ โซนการจัด ตลาดก็ลงตัว แต่ยังมีในหมู่บ้านบางซอกบางมุม ไม่มีการประชาสัมพันธ์ ทำให้ฝ่ายเก็บตรวจ พลาดไป ก็งงว่า ตรงนี้ก็มีด้วยเหรอ" ผู้มีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆในงานได้ให้สัมภาษณ์ ดังนี้ คุณถึงไท แสงสุริยจันทร์ ประธานคกร. "ครั้งนี้เป็นการจุดประกายเริ่มต้นโครงการใหม่ เป้าหมายของงานนี้ทั้งเกษตรกร และ พนักงาน ธ.ก.ส. เกษตรกร ก็จะได้มาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทางส่วนของพนักงานเองก็จะได้ดูผลงาน ว่า ๓ ปีที่ตัวเองทำมา เกิดผลยังไงบ้าง แต่ละภาค ก็ได้มาแชร์กันว่า มันเกิดผลอย่างนี้นะ เสร็จแล้วเขาก็จะมาสรุปหาแนวทางร่วมกันทั้งเกษตรกร และพนักงาน ธ.ก.ส.ว่า เราจะเดินทาง ทิศทางนี้ต่อไป หรือจะปรับปรุงกันยังไงดี เพื่อเอาชนะความยากจนอย่างยั่งยืน ที่มาออกร้านเป็นผลงานของชาวบ้านจากการอบรม ๓ ปีที่ผ่านมา ศูนย์ฝึกอบรมเป็นแค่พี่เลี้ยงมาคอยดูคอย ให้กำลังใจ พนักงาน ธ.ก.ส. ก็จะมาสรุปบทเรียน งานปีนี้ไม่เครียดเหมือนปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.เคยเห็นฝีมือเราเมื่อปีที่แล้ว ครั้งนี้เขาสบายใจ งวดนี้ประชุมเตรียมงาน ระหว่าง คกร. กับ ธ.ก.ส. แค่ ๒ ครั้ง เป้าหมายคือให้ ธ.ก.ส.กับ ค.ก.ร. เป็นทีมงานเดียวกันในการจัดงานเพื่อฟ้าดิน ไม่แยกว่านั่น ธ.ก.ส. นั่น ค.ก.ร. พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ฯพณฯรองนายกรัฐมนตรี "การส่งเสริมให้คนมีอาชีพ ถ้าคนมีธรรมะก็แก้จนได้ ถ้าเราไป พักหนี้ปลดหนี้แล้ว เขาไปกินเหล้าเมายา เหมือนเดิม ก็ยังจนอยู่ ถ้าเผื่อเราเอาธรรมะเข้าไปใส่ มีหลายคนเขาก็บอกเดี๋ยวนี้เลิกแล้ว ก็จะแก้ปัญหา ความยากจนได้ การจัดงานอย่างนี้ จะเป็นกระแสว่าเกษตรกรที่เขายังไม่เห็นผล ยังไม่ได้ผล ว่ามันช้า มันรอไม่ไหว ความคิดก็จะขยาย บรรยากาศธรรมชาติดี คนเดี๋ยวนี้มากขึ้น มีปัญหามากขึ้น คนก็ใฝ่ธรรมะสูงขึ้น การที่จะสร้างบรรยากาศที่มันง่าย มันธรรมชาติ เป็นเรื่องดี ที่นี่ทำเลดี มีน้ำ บรรยากาศดี" นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีต รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ "ผมตั้งใจจะมากราบพ่อท่านเท่านั้น ก็ได้กราบพ่อท่าน สมใจอยากแล้ว และ ได้คุยกับท่านพักใหญ่ด้วย เป็นความสุขมาก งานอย่างนี้ดีมาก ไม่ใช่แต่เพียงทำกิจกรรมสัมมนา ประชุมแล้ว จบกันไป ได้ความสัมพันธ์ ส่วนตัวที่ดีมาก ทำให้เกิดความผูกกันเป็นปึกแผ่น เกื้อกูลกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ใครมีปัญหาอะไร ก็บอก และ ทุกคนก็พร้อม จะช่วยแก้ปัญหา ซึ่งกันและกัน โดยอาศัยคำสอนของพุทธะ โดยคำสอนของพ่อท่านเอามาเป็นเข็มทิศ ในการทำงาน ดีมากครับ" นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีต รมว.อุตสาหกรรม "เท่าที่เห็นในการทำงาน ต้องยอมรับว่าทุกคนทำงานกันได้ดีมาก ก็ไม่คิดว่า จะทำงาน กันได้ลงตัวขนาดนี้ รู้สึกว่าคงจะมีการเตรียมงานกันมาดีในการแบ่งหน้าที่ แบ่งบทบาท แม้แต่รายการบนเวที หรือ รายการพาท่าน ประธานไปดูงาน ก็เป็นไปตามกำหนดทุกอย่าง ไม่มีการล่าช้า แสดงว่าประสิทธิภาพเยี่ยม สงสัยจะประชุมวางแผนกัน ไม่น้อยกว่า หนึ่งครั้ง ทีมงาน คงจะทำให้ผู้ร่วมงานทึ่งมากเหมือนกัน เพราะคนหมู่มากแต่ทำงานได้ลงตัว พอสัมผัสได้" นายสุวิทย์ ส.ส.อ.ตระการพืชผล จ.อุบลฯ เขต ๕ "ผมมาที่นี่บ่อยมาก และมีความชื่นชมในการที่เราอยู่แบบนี้ และ ก็ช่วยกันทำงาน แบ่งหน้าที่ กันทำงาน เพื่อเป้าหมายที่เราหวังไว้ แล้ววันนี้สังคมเริ่มจะยอมรับ เพราะคนกลัวตาย โดยเฉพาะอาหารปลอดสารพิษ อาหารปลอดภัย เพราะพวกเรา มาจากดิน สุดท้ายก็ไปสู่ดิน ตอนมีชีวิตอยู่ก็ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง โรคภัยไม่มาเบียดเบียน ถือว่า เป็นบุญแล้ว ตอนนี้ เราก็เริ่มมากินแบบนี้ ก็ถือว่าเรามีบุญเหมือนกัน ก็ขอชื่นชมที่พวกเราทำแบบนี้ แล้วก็ช่วยเหลือสังคม" นายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ ส.ส.อ.น้ำยืน จ.อุบลฯ "ในการที่เราให้หลายๆคน คือมีคนที่มาสัมผัสมีหลายระดับ ถ้าเผื่อเขามาแล้ว นำจิตวิญญาณ พวกนี้ออกไปแล้วอยู่ที่บ้าน คิดว่าเมืองไทย จะเดินไปข้างหน้าได้ เพราะจะลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิต" น.ส.ชลาทิพย์ วิชัยบุญ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาสำโรง จ.อุบลฯ "สมกับชื่อเสียงของราชธานี ชื่อเสียงเป็นอย่างไร ผลงานก็เป็น อย่างนั้น มากกว่า ชื่อเสียงที่ได้ยินมาอีก ประทับใจมากค่ะ ฝากความประทับใจในสิ่งดีเหล่านี้ไว้ให้พวกเรานะคะ ก็ขอให้ยืนหยัดต่อไป ไม่ใช่เฉพาะ คนรุ่นเราค่ะ ในอนาคต เรายังมีลูกมีหลานมากมาย ประเทศไทยเรายังคงอยู่ ขอให้ราชธานีอยู่เป็นหลัก ให้กับพวกเรา ต่อไปนะคะ" คุณจุฬารัตน์ นิรัศตยกุล พิธีกร "มาเป็นครั้งที่ ๓ รู้สึกอิ่มใจขึ้นเรื่อยๆ มีผู้คนเห็นว่าวิถีอย่างนี้น่าจะเป็นทางออกของชีวิตตัวเอง และ เป็นทางออก ของสังคมรวม แล้วก็มีคนเข้ามาทำงานด้วยกันมากขึ้น มาแล้วรู้สึกดี ทำให้ตัวเองเป็นสุขและก็พร้อมจะให้กับสังคม" ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ "ผมคล้ายๆกับเป็นศีลพักรักจำมานานแล้ว เป็นคนที่ติดตามงานอโศกมา และเป็นคนที่มี ลูกศิษย์ลูกหา มาทำวิทยานิพนธ์ กับอโศก และผมสนใจแนวพุทธมาตลอด ผมคิดว่าสันติอโศกเป็นขบวนการเคลื่อนไหว ที่มีกลยุทธ์ของการเผยแพร่ ที่มีประสิทธิภาพ เพราะว่าลักษณะความคิด ถ้าไม่มีการจัดตั้ง ไม่มีการจัดการ มันเป็นความคิดที่ลอยๆ ลักษณะของสันติอโศก เมื่อเขามีความคิด เขามีความเชื่อ ในความคิด เขาก็มีกลยุทธ์ในการจัดการที่ใช้ความคิดนั้น สู่การปฏิบัติ อันนี้เป็นรูปธรรม ผมชอบ" นายพงษ์ทวี ศรีประเสริฐ ธ.ก.ส.มหาสารคาม "รุ่นพี่ๆที่มาก่อนก็คุยให้ฟังบ้างว่าเป็นยังไง ประทับใจตั้งแต่เริ่มเข้ามา ในส่วนของ การทักทาย ต้อนรับ จะเอาใจใส่ ประชาสัมพันธ์ในส่วนข้างล่างดี รู้สึกทึ่งมาก ไม่คิดว่าอาคารจะใหญ่ขนาดนี้ คิดว่าเป็นชุมชนเล็กๆ ส่วนอื่นๆก็ดีทั้งหมด คนที่อยู่ที่นี่ อัธยาศัยก็ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส อาหารการกินก็กินได้ อร่อย น้ำท่าสะดวก แต่ไม่มีที่อาบน้ำ เป็นห้องรวม ทั้งส้วม แยกสักหน่อย ก็คงจะดี ที่พัก ไม่สบายเท่าไหร่ แต่ก็ตั้งใจอยู่แล้วว่าต้องมาสัมผัสบรรยากาศแบบนี้ ก็มานอนอย่างนี้ล่ะ ไม่ร้อนเท่าไหร่ พอรับได้ ยุงก็พอมีบ้าง ดูแล้วเป็นชุมชน ที่เกือบครบวงจร หมอ พยาบาล ประชาสัมพันธ์ เป็นระบบหมดแล้ว ได้ความรู้ไปเยอะมาก คิดว่าจะเอาส่วนนี้ไปประชาสัมพันธ์ต่อ ในส่วนของลูกค้า ธ.ก.ส.ถ้ามีโอกาสก็จะพามาดูงานด้วย มาสัมผัส ด้วยตัวเอง ดีกว่า เวลาพูดไปเขาอาจจะไม่เชื่อก็ได้ รุ่นพี่ที่ไปอโศกมาแล้วถ่ายทอดต่อ มีการจัดตั้งเป็นกลุ่ม ทำน้ำหมัก ทำปุ๋ย เป็นการลด ค่าใช้จ่าย ฟังธรรม รู้สึกว่าท่านเทศน์เก่ง มีความรู้เยอะ ไม่หนักครับ รับได้" นายสมภพ พานทอง ธ.ก.ส.จ.สตูล "สมัครใจมาครับ ได้เห็นวิถีชีวิตชุมชนที่วิถีชีวิตอาจจะแตกต่างจากเราไปหน่อยหนึ่ง แต่ว่ามอง ในภาพรวม ก็เป็นชุมชนค่อนข้างจะดี แต่ว่าคงถือว่าจะเลือกเอาสิ่งที่น่าจะไปปรับใช้ เพราะเราคงไม่สามารถดำรงชีวิตแบบนี้ ได้ทั้งหมด เพราะว่าการคิด สภาพบริบท ก็แตกต่างกัน แต่เป็นตัวอย่างที่ดี ถ้าคนไทยทำได้อย่างนี้มากๆก็ดี ผมพักในชุมชน สบาย น้ำท่าสมบูรณ์ สะดวก อาหารอร่อย จำนวนคนมากทำให้ไม่ได้สาระในเนื้อที่เราต้องการได้เต็มที่ หากเล็กลง มากว่านี้ ก็จะดี น่าจะมีการกลับมาพากลุ่มสนใจมาแลกเปลี่ยน มาฝึก ได้มีโอกาสได้เรียนรู้จริง เหมือนวิถีชีวิตจริง ผมเคยเป็นสมาชิกแสงสูญ เมื่อปี ๒๕๑๘ ตอนหลัง เห็นเงียบไป" นายศรยุทธ สัตยบุศย์ ธ.ก.ส.ปัตตานี ชาวไทยอิสลาม "ได้มาเห็นอะไรใหม่ๆ ถ้าหลายชุมชนในประเทศไทยเป็นแบบนี้ก็ดี เราฟัง มาเยอะ ชุมชนเข้มแข็งสำหรับที่นี่โอเค. ผมทำละหมาดที่พักครับ สะดวกกว่า น้ำท่าก็พร้อม อาหารก็เต็มที่เลย ที่พักก็ต้อนรับดี รายการภาคค่ำก็ดีครับ ระบบเสียงก็ดี พิธีกรก็ชัดถ้อยชัดคำ ผมเลือกฐานปุ๋ยอินทรีย์ แต่ยังไม่ สามารถ เจาะลึกได้มาก มาที่นี่เป็นครั้งแรก มาด้วยใจ บ้านพักก็ดีมาก น้ำท่าก็พร้อม" นายสุพัฒน์ เทวนา หัวหน้าหน่วย ธ.ก.ส.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน "เคยได้ยินแต่ชื่อ ผมเคยไปไพศาลีไม่ใหญ่เท่า ที่นี่ เอาเกษตรกร ไปร่วมอบรมฯ ตอนนั้น ปรับตัวไม่ค่อยได้ ตอนนี้มาที่นี่รู้สึกสบาย ผมพักชั้น ๓ รายการธรรมะก็ดีครับ แต่เนื้อหาหนักไปหน่อย ไม่ค่อยมีรีแล็ค ค่อนข้างจะพูด เรื่องบุญนิยม เยอะไปหน่อย รายการภาคค่ำดี เบาๆ อาหารกินได้ อร่อยดี ผมเลือกเจาะฐานบุญนิยม ในส่วนของลูกค้าผมก็คิดว่า
จะเอาแนวคิดไปขยาย จะได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ลูกค้าอีกที บางบ้านก็เริ่มทำน้ำยาอเนกประสงค์
ปุ๋ย เริ่มมีการรวมกลุ่มกัน ประทับใจผลงานของชุมชน รู้สึกว่าเข้มแข็งดี
เอาผลงาน ของแต่ละคน มาแสดง ก็ดูหลากหลายดี การออกกำลังกายตอนเช้าดีมากครับโดยเฉพาะท่าหนุมาน
จะลองเอาไปทำ ที่บ้านดู". |
ผลิต 'บีที' ฉลุยป้อนสู่เกษตรกร นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมีจำนวน มากกว่า ๒๕๐ ชนิด กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ Bacillus thuringiensis (Bt) เพื่อนำมาใช้ ทดแทนสารเคมีในการควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยเชื้อบีทีดังกล่าวเป็นจุลินทรีย์ที่พบอยู่ในทุกภาค ของประเทศไทย มีความเฉพาะ เจาะจงสูง ต่อแมลงศัตรูพืชเป้าหมาย มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลาย แมลงศัตรูธรรมธาติ และแมลงที่มีประโยชน์ ไม่มีพิษ ตกค้างในพืช ประเทศไทยสามารถผลิตได้ในราคาถูกกว่า การนำเข้าจาก ต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตรได้ก่อสร้างโรงงานต้นแบบผลิตเชื้อ บีทีขึ้น ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดยใช้งบประมาณ ทั้งสิ้น ประมาณ ๑๕ ล้านบาท โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำบีทีสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยมาพัฒนาการผลิตในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเชื้อ บีทีมีบทบาทสำคัญในการนำ ไปใช้สนับสนุน การผลิตในระบบการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) โดยสามารถนำไปใช้ ผสมผสาน กับวิธีการอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อผลิตผักและผลไม้ที่ปลอดจากสารพิษตกค้าง และมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ และเพื่อเป็น การขยาย การผลิตบีที ไปสู่เกษตรกร จึงได้ตกลงทำสัญญา ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตบีที ให้แก่บริษัท อะโกรไบโอเมท จำกัด ได้นำไปผลิต ในเชิงพาณิชย์ เผยแพรสู่เกษตรกร โดยมีระยะเวลา ในการผลิต ๖ ปี "หลังจากตกลงทำสัญญาแล้วภายในระยะเวลา ๖ เดือน บริษัทฯ จะขอเริ่มผลิตเชื้อบีที โดยมีเจ้าหน้าที่จาก กรมวิชาการเกษตร เข้าไปดูแล ด้านเทคนิคการผลิต ซึ่งบริษัทฯ มีกำลังการผลิตเชื้อบีทีได้ประมาณ ๑๐ ตัน/เดือน เป็นการลดการนำเข้าเชื้อบีที จากต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทย ต้องนำเข้า เชื้อบีที จากต่างประเทศ ปริมาณปีละ ๖๐- ๑๐๐ ตัน ทั้งนี้ต่อไป เอกชนจะมีบทบาท สำคัญ ต่อการให้ความร่วมมือ นำผลงานวิจัยของกรมฯ ไปขยายผล เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น" อธิบดีกรม วิชาการเกษตร กล่าว. (จาก นสพ.ไทยโพสต์ เอ็กซ์-ไซท์ วันที่ ๒๗ พ.ย.๔๖) |
สัมภาษณ์ สมณะเดินดิน ติกขวีโร(ต่อจากฉบับที่แล้ว) ท่านอยากจะฝากข้อคิดอะไรให้แก่ญาติธรรมบ้างคะ *** ยุคนี้อาตมาว่า น่าจะเป็นยุคอันตรายของชาวอโศก และไม่ใช่อันตรายธรรมดา พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นอันตราย อันแสบเผ็ดด้วย การที่เรา มีชื่อเสียงมาก ได้รับการยอมรับมาก ทุกคนก็มีผลงาน มีการประสบความสำเร็จค่อนข้างจะสูง ลาภ สักการะ เสียงสรรเสริญ ก็จะเข้ามา ตรงนี้คิดว่า น่าจะเป็นอันตรายของเราอย่างมากทีเดียว อาตมาคิดว่ามันน่ากลัวมากกว่าตอนที่เราถูกจับกุมคุมขัง จากทางฝ่ายศาสนา กระแสหลักเสียอีก และสิ่งที่เราจะต้องระมัดระวังก็คือว่า เราจะต้องพยายามที่จะต้องเป็นหนึ่งให้หมด นิ่งให้มั่น และแน่นให้มาก ความหมาย เป็นหนึ่ง ให้หมดก็คือ จะต้องมี ความเป็นเอกภาพให้สูง หนึ่งเพื่อทั้งหมด อย่างที่เรามีสโลแกนว่า หนึ่งเพื่อทั้งหมด ทั้งหมดเพื่อเป็นหนึ่ง เราคิดอะไร พยายามที่ให้สอดคล้อง กับระบบด้วย เหมือนอย่างที่บางคนเห็นความสำคัญเรื่องกสิกรรม เห็นความสำคัญเรื่องปุ๋ย จนอยาก จะเลี้ยงควาย เพื่อจะได้ปุ๋ย มาทำกสิกรรม คือคิดแต่เรื่องของตัวเองอย่างเดียว แต่ว่าไม่สอดคล้องกับธรรมวินัย ไม่สอดคล้อง กับหมู่กลุ่ม ไม่สอดคล้องกับ ภาวะวิถีชีวิตของชาวอโศก คืออยากจะได้ขี้ควายอย่างเดียว จนลืมคิดไปว่าสอด คล้องกับหมู่กลุ่มไหม? คิดแล้วก็ตกไปในภพของตัวเอง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วเรื่องนั้นสำคัญที่สุด แต่ว่าไม่ได้คิดผลกระทบ ของหมู่กลุ่ม หนึ่งเพื่อทั้งหมด ต้องคิดด้วยว่าความคิด ความคิดที่เป็นหนึ่งของเรา มันสอดคล้องกับหมู่กับกลุ่มด้วย ไม่ใช่ตกไปในภพ ของเราอย่างเดียว แล้วก็ดุ่ย ดิ่งไม่สดับ ตกอยู่กับความคิดของเรา อย่างเดียว แต่คิดให้เป็นองค์รวม คิดให้เป็นภาพรวมให้มาก ก็จะทำให้เราไม่เกิดอันตราย ที่เข้ามากระทบได้ ประเด็นที่สอง ที่เน้น นิ่งให้มั่น เหตุการณ์ที่ท่านนายกฯมาครั้งนี้ อาตมาได้เห็นถึงความนิ่งของพวกเราได้ชัดเจน เพราะว่าโปรแกรม กำหนดการมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากเดิมที่ว่าจะมาพักค้างคืนที่ศีรษะอโศก พอทางจังหวัดไปประชุมกัน เขาก็ตัด ของเราออก บอกว่า ถ้ามีเวลาก็จะมา ถ้าไม่มีเวลาก็จะไม่มา แล้วจะไปอีกที่หนึ่งเป็นหลัก แต่พอใกล้เข้ามาจริงๆทางจังหวัด ก็มาประสานใหม่ ว่านายกฯ จะมาค้างคืนแน่นอน จะมาถึงประมาณห้าโมงเย็น สุดท้ายพอใกล้งวดเข้ามาจริงๆ จากห้าโมงเย็น ก็กลายเป็นหนึ่งทุ่ม แต่พอถึงวันจะมาจริงๆ ข่าวก็เปลี่ยนมา บอกว่ามาสามทุ่ม แต่พอจวนแจจริงๆ สุดท้ายแน่นอนคือจะมาถึง หนึ่งทุ่ม ซึ่งตรงนี้เป็นความโกลาหลพอสมควร พอทางจังหวัด เขาเตรียมคน ว่าจะมาต้อนรับนายกฯ เป็นหมื่น แล้วให้เราเตรียมอาหาร ที่จะเลี้ยงคนสองพัน แล้วตอนค่ำที่นายกฯจะมาทานข้าว ก็จะมีนักข่าว ผู้ติดตาม คณะทีมใหญ่ด้วยประมาณ ๒๐๐ แต่ข่าวที่ เปลี่ยนแปลงไปมา ฝ่ายเตรียมอาหารก็ค่อนข้างที่จะยุ่งมากเลย เพราะเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงตลอด พอนายกฯ ว่าจะมา สามทุ่ม คนก็หายไปเยอะเหลือแค่สองพัน ซึ่งก็ลงตัวดี เราก็มีกำลังเลี้ยงคนได้พอดี ถ้าคนมามากกว่านี้ เราคงหนักแอ้ทีเดียว แล้วตอน กลางคืน เราก็ทำอาหารเต็มที่ เพื่อจะเลี้ยงคณะท่านนายกฯ สักสองร้อย แต่ปรากฏถึงเหตุการณ์จริงๆ ท่านนายกฯ ก็ไม่ทานข้าวเย็น คณะสองร้อย ก็จะมีไม่มากเท่าไหร่ เพราะนักข่าวเขาไม่ให้เข้ามา เพื่อรักษาความปลอดภัย ก็เหลือคนไม่เท่าไหร่ แต่สุดท้าย เหตุการณ์ทั้งหมด มันลงตัวมากเลย กับข้าวที่เตรียมไว้สำหรับคนสองร้อยไม่มีคนกินก็ไม่เป็นไร ตอนเช้า ก็อุ่นเอาไว้แล้วมากินต่อได้ แม่ครัวก็ทำทีเดียว กินได้สองวัน แม่ครัวก็ไม่หนัก แล้วคนกลับไปเยอะก็ทำให้เรามีเวลาต้อนรับพี่น้องประชาชนได้อย่างเต็มที่ ทุกอย่าง ลงตัวหมด จะเป็นการลงตัว ได้หมด เพราะอาศัยความนิ่งให้มาก นิ่งให้มั่นของเรา ไม่เต้นตามคลื่นไม่ตื่นตามลม มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหว เอาทุกสถานการณ์ มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ก็จะทำให้ไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ไม่เกิดขัดแย้ง ไม่มีปัญหาต่อกัน เราจะประสาน กับทุกฝ่ายได้ด้วยดี แต่ถ้า คนมีโลกธรรมสูง จะเครียด จะนอนไม่หลับ จะยุ่งวุ่นวายทะเลาะเบาะแว้ง กันไปเยอะแยะ ทีเดียว และแน่นให้มาก ตรงนี้ก็สำคัญ ถ้าพวกเราต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างว่ากันไปตามเรื่อง บอกกล่าว กันไม่ได้ อันนี้ก็คือความหลวมของชุมชนแต่ละแห่งนั้นๆ สุดท้ายก็จะไม่มีใครแบกภาระภายใน มีแต่คนจะคิดทำงานนอกออกไป คิดจะไปช่วยเหลือ มนุษยชาติ แต่ลืมเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ติดตัวของเรา แน่นให้มากก็คือเราจะต้องมาผนึกกำลังกัน ตามโศลก ที่พ่อท่าน ให้ไว้ว่า เน้นแก่นให้แน่นกว่ากว้าง ไม่ต้องไปเน้นความกว้าง แต่เน้นแก่นให้ลึกที่สุด ถ้าเรากอดคอรวมตัวกันได้ พระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัส ไว้ว่า ความพร้อมเพรียง ของปวงชน ผู้เป็นหมู่ ย่อมยังประโยชน์ ให้สำเร็จ จะทำอะไรก็สำเร็จไปหมด จะมีความกว้าง มีความแน่น มีความนิ่ง แล้วก็ทั้งแน่นทั้งนิ่งแล้วก็มีความเป็นหนึ่งอย่างสูง อันนี้เป็นจุดเด่น ของชาวอโศก ที่เราเจริญรุ่งเรือง มาได้ทุกวันนี้ เพราะความเป็นหนึ่งของเรา ที่มีเอกภาพค่อนข้างจะสูง สิ่งเหล่านี้ ก็จะทำให้เราสามารถ พ้นอันตรายอันแสบเผ็ด ที่เข้ามาทะลุ ทะลวงเรา ได้โดยเราจะต้องมาพยายามกอดคอ ผนึกประสาน เป็นอันหนึ่งให้ได้ ทำอย่างไรที่ชุมชนของเราจะอยู่กันด้วยความอบอุ่น บอกกล่าวกันได้ ไม่ใช่คิดสรุปกันเอาเอง ระวัง!!!.... มัวแต่คิดช่วยเหลือ มนุษยชาติ จนลืม เพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ในชุมชน วันที่เราไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้น....เราคือคนสุดท้ายในชุมชน..... - ทีมข่าวพิเศษ - |
สมณะเสียงศีล ชาตวโร รับโล่ "เป็นคนดี 'ศรี' เกษตร(อินทรีย์)" เมื่อวันพุธที่ ๒๑ เม.ย. ๒๕๔๗ สมณะเสียงศีล ชาตวโร ได้รับโล่ "เป็นคนดี 'ศรี' เกษตร(อินทรีย์)" จากชมรมเกษตรอินทรีย์ แห่งประเทศไทย โดยมี อ.ชนวน รัตนวราหะ ประธานชมรมฯ เป็นผู้มอบโล่ในครั้งนี้ สำหรับผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับโล่ ในครั้งนี้คณะกรรมการได้พิจารณามอบให้ผู้ที่ได้ทำคุณประโยชน์ ให้กับสังคม ในด้านการเกษตร อินทรีย์ ซึ่งนอกจากสมณะเสียงศีล ชาตวโร แล้ว ยังมี อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ, อ.สมหมาย หนูแดง ครูภูมิปัญญาไทย ด้านเกษตรธรรมชาติ, พันโทวีระ ใจหนักแน่น หรือ ผู้พันคิม ซากัสส์ จากสถานีวิทยุ พล ปตอ. ซึ่งจัดรายการเรื่อง เกษตรชีวภาพ, รศ.อาภรณ์ ภูมิพันนา ซึ่งมีผลงานการเขียนเกี่ยวกับการอนุรักษ์บำรุงดินด้วยจุลินทรีย์ เข้ารับโล่ฯ ในงานนี้ด้วย และในงานครั้งนี้ สมณะเสียงศีล ชาตวโร ยังได้รับนิมนต์ให้เป็นวิทยากรในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ครัวไทยเป็นครัวโลก ได้จริงหรือ" โดยร่วมกับท่านวิทยากรที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน โดยมี อ.ชนวน รัตนวราหะ ประธานชมรมเกษตรอินทรีย์ แห่งประเทศไทย อดีตรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ดำเนินรายการ สมณะเสียงศีล ชาตวโร กล่าวว่า "ถือได้ว่า หน่วยงานและผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมได้เห็นความสำคัญในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นเรื่องน่าอนุโมทนาที่ท่านเหล่านั้นก็ได้พยายามเชิดชูผู้ที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อไม่ให้คนทำความดีท้อแท้ โดยส่วนตัวอาตมาก็ได้ช่วยงานเป็นประธานที่ปรึกษาของชมรมนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งชมรมฯ และได้ร่วมกิจกรรม ต่างๆ ของชมรมฯ นี้เสมอมา" สำหรับสมณะเสียงศีล ชาตวโร นั้นก่อนได้รับโล่ในครั้งนี้ เคยได้รับการเชิดชูเกียรติในด้านเกษตรธรรมชาติจากหน่วยงานต่างๆ มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง เช่น ได้รับโล่ "ผู้ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ดีเด่น ปี'๔๖" ในงานเกษตรอินทรีย์ฯ ณ พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ จาก รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น และในระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ พ.ค.๔๗ ที่ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนอินทร์บุรี ซึ่งสมณะเสียงศีลดูแลอยู่ ยังได้รับการติดต่อให้ช่วยจัดงาน อบรมตัวแทนชาวนาทั่วประเทศอีกด้วย. |
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นอย่างไร? (๑) เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ระบบภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของร่างกาย ในการมีสุขภาพดี เพราะสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ ฉบับนี้ อยากจะเล่าให้ฟังอย่างคร่าวๆว่า ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรามีอะไรบ้าง ถึงได้สามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บของเราได้ถึงขนาดนี้ เริ่มต้นที่ผิวหนังชั้นนอกสุด เป็นเสมือนรั้วที่แข็งแกร่ง ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าไปในร่างกาย ถัดเข้าไปจากรั้ว ก็จะมีกองทัพทหาร อันเกรียงไกร คอยตระเวนในกระแสเลือด รักษาความปลอดภัยให้กับร่างกายของเราตลอดเวลา ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ที่เป็น ส่วนประกอบร่างกาย ทุกระบบอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ในจมูกของเราก็มีขนกรองอากาศคอยดักเชื้อโรค และฝุ่นละออง ได้ในระดับหนึ่ง ในปากมีน้ำย่อยที่ช่วยย่อยสลายสิ่งไม่พึงประสงค์ได้บ้าง ในกระเพาะอาหารมีกรดเข้มข้น ฆ่าเชื้อโรค ได้หลายชนิด หากมีเชื้อโรคหรือศัตรูสามารถเล็ดลอดเข้าไปในร่างกายของเรา ได้จริงๆเมื่อใด เมื่อนั้นเม็ดเลือดขาวและระบบคุ้มกันที่เข้มแข็ง จะออกรบต่อสู้กับศัตรูอย่างน่าอัศจรรย์ แต่ดูเหมือนว่าศัตรูร้ายของเราทุกวันนี้ทวีความร้ายกาจขึ้นทุกวันทั้งประสิทธิภาพการทำลายล้างและปริมาณ ที่มากขึ้น จนทหาร ของเราอาจพ่ายแพ้ได้ง่ายๆ เพราะนอกจากจะเป็นศัตรูจากธรรมชาติแล้ว ยังมีศัตรูนวัตกรรมใหม่ ที่คนประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา ได้แก่ สารสังเคราะห์ที่ผสมอาหาร สารกันบูด สารเคมีต่างๆ ทั้งที่ใช้ในเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แม้กระทั่งยาที่เรากินเข้าไป นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สารเคมี มากล้นรอบตัวเรา ทำให้คนรุ่นใหม่ๆภูมิคุ้มกันลดลง ทหารอ่อนแอลงเพราะต้องออกรบหนักบ่อยเกิน คน รุ่นใหม่จึงมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ มะเร็ง กันมากขึ้น ประกอบกับอาจมีสาเหตุหนึ่งมาจากความเครียด และความกดดัน ของสังคมด้วย เราผู้เป็นเจ้าของภูมิคุ้มกันของเราเอง ต้องช่วยทหารของเราด้วยนะคะ อย่างน้อยก็อย่าชักศึกเข้าบ้านให้บ่อยนัก ควรหลีกเลี่ยง ศัตรูกาย ศัตรูใจให้ไกลๆ หมั่นฝึกซ้อมทหารของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการใช้กลยุทธ์ ๗ อ. ก็จะทำทหารของเราเข้มแข็ง คอยป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บให้เรานะคะ. |
ผวจ.นครสวรรค์เปิดงานกสิกรรมไร้สารพิษ ณ ชุมชนศาลีอโศก ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยมของสังคมที่กำลังผันแปร นำพาหายนะมาสู่ตนและสังคม ชุมชนศาลีอโศกพยายามยืนหยัดยืนยัน หาทางออกให้กับตนเองและสังคมรอบข้าง โครงการตลาดนัดไร้สารพิษ กสิกรรมไร้สารพิษ ได้ถูกกำหนดเป็นจุดเริ่มต้น ของการ พัฒนาสังคม ดังนั้นวันอังคารที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๔๗ ทางชุมชนศาลีอโศกได้กำหนดกิจกรรมโครงการสร้างเสริมกสิกรรมไร้สารพิษขึ้นมา เพื่อระดมความคิดของผู้นำและเกษตรกร หาแนวทางในการจัดการกับปัญหาด้านการพัฒนาอาชีพและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุดังที่ได้กล่าวมา ทางผู้จัดงานจึงได้เรียนเชิญ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนคร สวรรค์ ดร.พีรพล ไตรทศาวิทย์ มากล่าวเปิดงาน พร้อมกับบรรยายพิเศษ ยุทธศาสตร์ ของจังหวัด จุดประกายความหวังการทำกสิกรรมไร้สารพิษ การบรรยายในครั้งนี้ ได้รับความสนใจ จากเกษตรกร ในเขต อ.ไพศาลี และอำเภอใกล้เคียงไม่ต่ำกว่า ๖๐๐ คน สำหรับเกษตรกรที่มาร่วมกิจกรรมในงานนี้ นอกจาก จะได้รับฟังการบรรยายพิเศษจาก ผู้ว่าฯแล้ว ยังมีกิจกรรมตรวจเจาะเลือดเพื่อค้นหาสารเคมีตกค้างของเกษตรกร ผลการตรวจ มีเกษตรกรไม่น้อยที่มีสารเคมีตกค้างอยู่ในเกณฑ์อันตราย ทางด้านวิทยุชุมชนสัมพันธ์ไพศาลี ได้ถือโอกาสนี้ถ่ายทอดการบรรยายของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้รับเสียงตอบรับ จากผู้ฟัง ทางบ้านว่า รายการนี้เป็นประโยชน์ดี หลังจากที่ผู้ว่าราชการจังหวัดบรรยายเสร็จ ผอ.ศูนย์ฝึกอบรมเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ ชุมชนศาลีอโศก ได้เรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมรับประทานอาหารมังสวิรัติ นอกจากผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ให้เกียรติ ร่วมรับประทานอาหารมังสวิรัติแล้ว เกษตรกรที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ยังได้ทยอยกันร่วมรับประทาน อาหารมังสวิรัติ ที่ทางชุมชนได้จัดรับรองไว้ หลังรับประทานอาหารเสร็จทางผู้จัดกิจกรรมยังได้นำเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการทำกสิกรรมไร้สารพิษมาสัมภาษณ์ พร้อมกับ นำผลผลิตมาเป็น ตัวอย่าง ยังความชื่นชมแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างมาก กิจกรรมโครงการนี้ได้ยุติลง ช่วงเวลา ๑๔.๓๐-๑๕.๐ น. โดย ผอ.ธ.ก.ส.จังหวัดนครสวรรค์ สรุปการเสวนาและนโยบาย ธ.ก.ส.ที่มีต่อลูกค้า. |
หน้าปัดชาวหินฟ้า นสพ.ข่าวอโศก ฉบับที่ ๒๓๑ (๒๕๓) ปักษ์หลัง ๑๖-๓๑ พ.ค.๔๗ เจริญธรรม สำนึกดี พบกันอีกครั้งกับ "หน้าปัดชาวหินฟ้า" นำเสนอข่าวความเคลื่อนไหวในแวดวงชาวอโศกเหมือนเคย ก่อนอื่นขอประชาสัมพันธ์ถึงผู้ประสงค์ จะจัดโรงบุญมังสวิรัติในงานอโศกรำลึก ปี๔๗ ในวันที่ ๙-๑๐ มิ.ย.ที่จะถึงนี้ กรุณาแจ้ง ความประสงค์ ด่วน! เพื่อที่คณะทำงานจะได้ให้บริการในด้านสถานที่และความสะดวกในด้านต่างๆได้อย่างเต็มที่ นี่ก็ได้ข่าวว่า พ่อให้แม่ให้เจ้าประจำๆ (กี่ปีๆก็ไม่เคยถอยหนี) แจ้งเข้ามาหลายรายแล้วฮะ ก็ต้องกราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ พฟด...งานคืนสู่เหย้าฯครั้งที่ ๒ หลายคนบอกว่า ปีนี้จัดได้ลงตัวขึ้น ศิษย์เก่า ก็มีเวลาพูดคุยกันมากขึ้น แม้ศิษย์เก่าจะมาน้อยกว่า ปีที่แล้วก็ตาม "จืด" พาเพื่อนลุยตั้งสมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา ซึ่งพ่อท่านก็สนับสนุน คราวนี้จึงมีการเลือกกรรมการสมาคมฯ ชุดแรก ซึ่งเป็นชุด ก่อตั้งด้วย โดย น.ส.อุ่นเอื้อ สิงห์คำ ได้เป็นประธานอีก ๑ ปี ศิษย์เก่าฯที่อื่นๆ ก็มีการเลือกตัวแทนเป็นประธานกลุ่มย่อย และ เป็นกรรมการ โดยตำแหน่ง ตอนนี้ก็คงต้องจับตามองกันต่อไป ว่าเมื่อไรจะมีการประชุม ๖ องค์กรที่สันติอโศก การมาชุมนุมของศิษย์เก่าฯในครั้งนี้ ได้มาช่วยเตรียมงาน พฟด. (วันที่ ๑๖-๑๘ พ.ค.๔๗)ด้วย หลังงานก็มีศิษย์เก่าอยู่ช่วยงาน บางส่วน บางคนกะว่าจะเดินทางกลับ แต่พอคิดไปคิดมาก็ขอลงจากรถมาช่วยงาน พฟด. ที่เห็นว่าขมีขมันเป็นพิเศษนั้น ได้แก่ ศิษย์เก่า ชื่อ "แจ๋วแหว๋ว" ซึ่งบอกคนป้อนงานว่า ถ้าไม่ป้อนงานให้ต่อเนื่องจะไหลกลับปฐมฯนะเออ ทำให้ฝ่ายป้อนงาน ต้องรีบ หางานมาให้อย่าง ต่อเนื่อง จริงไม่จริง เชื่อไม่เชื่อ ก็ไปถาม แจ๋วแหว๋วเอาเองนะฮะ...ส่วนงาน พฟด.ปีนี้ ก็ลงตัวกว่าปีที่แล้วเช่นกัน เพราะคนน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งก็พอดีสำหรับชาวเรา ขนาดพอดีก็ร่วม ๒,๐๐๐ คน (งงจัง นี่ขนาดน้อยของเขานะฮะ) ซึ่งตั้งใจมารับ การฝึกอบรมโดยเฉพาะ ทำให้งานลงตัว ราบรื่น เพราะแต่ละคนพยายามปรับตัวเองตามสถานการณ์...อานิ่ม (เพ็ญเพียรธรรม) ที่สันติฯ ก่อนงานก็ประกาศรับบริจาคขวดน้ำขนาด ๑ ลิตร เพื่อแจกผู้มารับการอบรม... ในช่วงงานท่านพิสุทธ์ พิสุทโธ ก็ช่วยถ่ายทอด เสียงเทศน์ของพ่อท่านแบบสดๆ ทั้งช่วงทำวัตรเช้าและก่อนฉัน (วันเปิดงาน) ทำให้จิ้งหรีดที่สันติฯ ได้รับบรรยากาศสดๆ จากบ้านราชฯ เมืองเรือ อิ่มใจ อิ่มธรรมโดยทั่วหน้า นี่แหละยุคสื่อสารไร้พรมแดนจริงๆ...จี๊ดๆๆๆ... ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน...จะสังเกตได้จากภาพข่าวหลายครั้งที่ท่านนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ใช้วิธีปรึกษา หารือกัน ในสนามกอล์ฟ แบบตีกอล์ฟไปด้วย คุยกันไปด้วย แต่ในแวดวงสมณะพุทธสถานราชธานีอโศก จะมีบรรยากาศแห่งการ พูดคุย และปรึกษาหารือกันทุกวันเหมือนกัน นั้นก็คือในช่วงเวลาที่นั่งรถออกไปบิณฑบาตนอกพุทธสถาน จิ้งหรีดนั้นสังเกตดู หลายๆ ครั้ง ที่พ่อท่านจะพูดเรื่องลึกๆให้ฟัง เป็นเรื่องที่บางทีจะรับรู้ได้เฉพาะสมณะเท่านั้น บางทีมีแถมเรื่องอจินไตย ก็หลายครั้งหลายเรื่อง และ การพูดคุยปรึกษาหารือระหว่างสมณะผู้ใหญ่กับพ่อท่าน ซึ่งจะมีสมณะผู้น้อยรับฟังไปด้วย และสิ่งที่น่าประทับใจก็คือ ท่านอุปัชฌาย์ เดินดิน ติกขวีโร ที่เวลาจะพูดคุยกับพ่อท่านนั้น จะพนมมือไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งเป็นลีลาที่แสดงถึงความอ่อนน้อม ถ่อมตนอย่างเห็นได้ชัด และแม้ว่าจะอยู่กับพ่อท่านมานาน แต่ปริมาณความอ่อนน้อมก็ไม่เคยลดลงเลย รวมไปถึงสมณะผู้ใหญ่ ที่บวชนานๆ หลายรูป ก็จะมี ความอ่อนน้อมถ่อมตนสูงเช่นเดียวกัน นี่...เป็นสิ่งที่แสดงออกมาในเชิงรูปธรรม ในภาษิตที่ว่า "ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน" พ่อท่านเองเวลาที่นั่งรถ ๖ ล้อไปบิณฑบาต บางทีฝุ่นก็เข้ามาในตัวรถจนฟุ้งเต็มไปหมด แต่พ่อท่านก็ไม่เคยบ่นเลย นี่ก็ทำให้เห็นว่า ไม่ว่าจะนั่งรถ "รามรักษ์" ที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกขนาดไหน หรือจะเป็นรถ ๖ ล้อที่ ต้องสมบุกสมบันสักปานใด ก็ไม่กระทบใจ ผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงเลย นี่ก็อีกตัวอย่างหนึ่งเหมือนกัน...จี๊ดๆๆๆ... หายเหนื่อย...หลังจากช่วยทำ ช่วยกรอก และช่วยขายปุ๋ยพลังขวัญดิน ในงานมหกรรม กู้ดินฟ้า หนูดีกับคุณแม่ก็มาชมรายการ ที่เวที คอนเสิร์ตธารน้ำใจ กวีซีไรท์อังคาร กัลยาณพงศ์ เมื่อวันก่อน พอช่วงบ่ายแก่ๆ ครั้นหายเหนื่อย จิ้งหรีดได้รับฟังความรู้สึกมาว่า บรรยากาศดีมาก เพราะได้นั่งท่ามกลางธรรมชาติ สายลมอ่อนๆก็พัดพา แถมใต้ฝ่าเท้ายังมีทรายขาวๆนุ่มๆ เบื้องบนมีน้ำตก ไหลงมา กระทบโขดหินพร้อมละอองเล็กๆ เวลามีลมพัดมา ก็ชุ่มฉ่ำอุราแก่ ผู้นั่งชมอยู่เบื้องล่าง จนผู้ชมบางท่าน ต้องย้ายที่ แม้มันจะเย็น สบายดีก็ตาม หลายคนได้ฟังนักปราชญ์พูด ก็รู้สึกสนุกและมีสาระดีมาก กวีของท่านอังคารนั้น จิ้งหรีดกะว่าจะลุกขึ้นไปซื้อผลงาน รวมบทกวี ซะหน่อย แต่ก็ช้าเกินไปเพราะหมดเสียก่อน แต่ยังดีที่ อ.วิลาวัลย์ให้ยืมมาถ่ายเอกสาร หลายคนโดยเฉพาะคุณศรีฟ้า บอกว่า ชอบดนตรี ของคีตาญชลีมาก เพราะน่ารักและเล่นดนตรีมีสาระกันทั้งครอบครัว ส่วนหนูดีนั้นปลื้มสุดๆ กับคุณอุ๊ หฤทัย บอกว่า เสียงนี่สุดยอดเกินบรรยาย ถ้าหลับตาฟังจะรู้สึกเหมือนอยู่กลางเมืองของต่างประเทศที่ร้อนระอุและมีม้า มีคาวบอย (เธอว่า ปานฉะนั้น) แต่พอลืมตาคือบรรยากาศพี่ๆน้องๆญาติธรรมนั่งฟังกันอย่าง รื่นรมย์เป็นที่สุด สาธุ...จี๊ดๆๆๆ... ประทับใจ...จิ้งหรีดเห็น พ.ต.ท.รุ่งโรจน์ ไปช่วยทำงานที่โรงปุ๋ยสันติอโศก จิ้งหรีดสังเกตมาหลายวัน คุณอารุ่งโรจน์จะลากลับ หลังสุดเสมอ จิ้งหรีดกลับมามองที่ตัวเอง พอทำเสร็จก็รีบกลับบ้านเลย ตอนตักปุ๋ยใส่กระสอบเสร็จ ต้องปิดปากถุง แล้วย้ายไปเก็บ ให้เป็นระเบียบ จิ้งหรีดเห็นอารุ่งโรจน์ อากรักน้ำเย็นก็อุ้มถุงใหญ่ ส่วนจิ้งหรีดหิ้วถุงน้อยอยู่หลายเที่ยว ก็มาสังเกตเห็นการเสียสละ ของอาทั้งสองแล้ว รู้สึกอายจัง... จี๊ดๆๆๆ... ยอมรับบ้างแล้ว...สังคมยอมรับพญาแร้งบ้างแล้ว...พ่อท่านได้กล่าวเปิดการอบรมวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งหัวเรี่ยวหัวเรือที่จัดคือ อุบาสิกา รินธรรม อโศกตระกูล ซึ่งตอนนี้ถือว่า ได้เป็นว่าที่ดอกเตอร์ของชาวอโศกสายวัดคนแรก เพราะวิทยานิพนธ์ได้สอบผ่านแล้ว พ่อท่านได้เปิดใจและพูดคุยอย่างกันเอง กับลูกๆว่า ดีใจที่เห็นพวกเรามาทำงานแต่ไม่ได้เงิน ขณะนี้ชาวอโศกมีงานต้องวิจัยมาก ต้องจัดระเบียบ ระบบ เรียบเรียง จัดหมวดหมู่ เก็บหลักฐาน และได้พูดถึงงานเมื่อวันก่อนที่จัดให้กวีอังคารว่า ท่านส.ศิวรักษ์ ได้เอาหนังสือ Speeds of Peace ซึ่งหน้าปกในมีภาพพ่อท่าน มีเครื่องหมายดอกจันทน์ และเขียนข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ใจความเป็นภาษาไทยว่า "สมณะโพธิรักษ์ เป็นผู้ได้รับความสำเร็จอย่างมากในการใช้ธรรมะ ให้เกิดผลกับสังคม" จิ้งหรีดได้ยินพ่อท่านเล่าแล้วก็รู้สึกเป็นปลื้ม แต่ก็รู้ตัวว่า เราจะต้องทำดีให้ยิ่งๆ ขึ้น เพื่อ ไม่ให้สังคมผิดหวัง ก็คิดไปถึงชาวอโศกที่อาจมีข้อขัดแย้งกันอยู่บ้าง ก็พึงให้อภัย และช่วยกันเถอะ เพื่อให้สังคมโลกอยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุขยิ่งๆ ขึ้น... จี๊ดๆๆๆ... รร.ในฝัน... ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นของ นร.สัมมาสิกขา ชั้น ม.๑ จิ้งหรีดขอไม่บอกว่าจากที่ไหน แค่อยากให้ได้พิจารณาว่า รร.ในฝันของเด็กๆ เขาต้องการอะไรบ้าง ก็ตามประสาเด็กๆ จะถูกหรือผิดอย่างไรนั้น ก็ขอให้ผู้ใหญ่อย่างเราๆได้เข้าใจเด็กๆก็แล้วกัน...จี๊ดๆๆๆ... เข้าคืนถ้ำฯ...ขอแจกแจงสถิติของศิษย์เก่าสัมมาสิกขาที่มาร่วมงานเข้าคืนถ้ำฯ ครั้งที่ ๒ ที่ผ่านมาสักหน่อย เพราะเห็นว่ามีตัวเลข หลายอย่าง น่าสนใจ งานนี้มีศิษย์เก่ามาร่วมงานทั้งหมด ๑๙๔ คน แยกเป็นชาย ๑๑๙ คน หญิง ๗๕ คน จบชั้น ม.๖ ๑๕๔ คน-ชั้น ม.๓ ๑๗ คน-ออกกลางคัน ๑๖ คน, มีสถานภาพโสด ๑๗๔ คน-สมรส ๙ คน, อาชีพนักศึกษา ๑๐๔ คน-ทำธุรกิจส่วนตัว ๓๔ คน-พนักงาน /รับราชการ ๑๓ คน-อยู่เป็นคนวัด ๓๕ คน-และอื่นๆ ๗ คน ในส่วนการปฏิบัติธรรม ถือศีล๕ ๑๕๕ คน-ถือศีล๘ ๒๓ คน-นักบวช ๑ รูป, ทานมังสวิรัติประจำ ๑๔๕ คน-ครั้งคราว ๓๗ คน-ไม่ทานมังสวิรัติ ๑ คน, ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ ๑ คน-ดื่มเป็นครั้งคราว ๔๖ คน-ไม่ดื่มเลย ๑๒๙ คน, สูบบุหรี่ประจำ ๑ คน- สูบเป็นครั้งคราว ๑๔ คน-ไม่สูบเลย ๑๗๐ คน, การพนัน เล่นเป็นครั้งคราว ๑๗ คน-ไม่เคยเล่น ๑๗๐ คน และไม่มีใครมีหนี้สิน ทีนี้ลองมาฟังศิษย์เก่าบางท่านเล่าความรู้สึกให้ฟังกันบ้าง นายหินคม วิลามาศ ศิษย์เก่าศีรษะอโศก เล่าว่า "สมัยเรียนบางช่วงก็มีความสุข แต่บางครั้งก็รู้สึกไม่พอใจอาๆที่ขัดใจเหมือนกัน แต่พอจบออกมาทำให้เรามีความคิดต่างจากโลก ภายนอก สามารถนำคำสั่งสอนและสิ่งที่ได้ฝึกฝน สมัยเรียนมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างดี..." นายอโศก ศรีสุข ศิษย์เก่าสันติอโศก ซึ่งปัจจุบันทำสวนผลไม้ไร้สารพิษและทำพลอย รำลึกให้ฟังว่า จากวันนั้นถึงวันนี้ เขารู้สึก ภาคภูมิใจ แม้ตอนจบจะออกไปคนเดียว แต่ตอนกลับมาพาสมาชิกมาเพิ่มอีก ๒ คน (ภรรยา และลูก) "...อยากจะขอบคุณคณะครู และอาๆมากที่ทำให้คนเป็นคนมากขึ้น หาไม่แล้วผมก็ยังไม่รู้ว่าผมจะเป็นยังไง อยากจะฝากถึงทุกคนที่ยังอยู่ข้างนอก หากใคร เข้าใกล้วัดได้จะดีที่สุด ส่วนใครที่ไปผจญโลก ถ้าคิดว่าในวัดดีกว่ากลับเข้าวัดเลยครับ ผมยังอยากกลับเลย" น.ส.อารีรัตน์ (บุ๋ม) ศรีโพธิ์ ศิษย์เก่าฯ ศีรษะอโศก "เคยเป็นเด็กที่หนีค่ายดูตัว จนอยู่วัดนานถึงสิบปี พอออกแล้ว ปรากฏว่าสิ่งที่ ซับซาบไว้ ที่คิดว่าไม่ได้อะไรนั้น กลับได้ใช้ประโยชน์ในชีวิตตลอดมา ทำให้เราไม่หลงการแต่งตัว-แต่งหน้า และได้รับประโยชน์ จากการเขียนบันทึกที่ได้ฝึกฝนตอนอยู่วัด" สาธุ....จี๊ดๆๆๆ... อย่าหลงเชื่อ...ได้ข่าวว่า มีแผ่นใบและซองผ้าป่ามหากุศลแอบอ้างใช้ชื่อพุทธสถานของชาวอโศกแห่งหนึ่ง เป็นสถานรับบริจาคทรัพย์ สร้างนั่นสร้างนี่ โดยทางชาวอโศกไม่ได้มีโครงการดังกล่าวเลย ก็ขอแจ้งพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้รับทราบว่า ชาวอโศกไม่ได้มี นโยบาย แสวงหาทรัพย์ในรูปแบบของการเรี่ยไร ใดๆทิ้งสิ้น....จี๊ดๆๆๆ... คติธรรม-คำสอนของพ่อท่านประจำฉบับนี้ มีดังนี้ พบกันใหม่ฉบับหน้า - จิ้งหรีด - |
รายงานผลการตรวจหาสารปนเปื้อนในวัตถุดิบพืช
ผัก ผลไม้ และ อาหารแปรรูป จำนวนตัวอย่างที่สุ่มเก็บส่งตรวจ (จำแนกตามประเภทการตรวจ) *** ผลการตรวจ หมายเหตุ*๑. การตรวจหายาฆ่าแมลง ตรวจด้วยชุดตรวจสอบหายาฆ่าแมลงอย่างง่าย "GT" ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีความสามารถตรวจหาระดับความเป็นพิษของสารพิษตกค้างในกลุ่มสารประกอบฟอสเฟต และ/หรือสารคาร์บาเมท หรือสารพิษอื่นๆ ที่มีผลต่อหลักการนี้ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ๒. ผลผลิตในงานนี้ มีประมาณ ๒-๓ ชนิด ที่ยังปลูกโดยวิธีปลอดสารพิษ (ใส่ปุ๋ยเคมี) แต่ตรวจไม่พบสารเคมีตกค้าง อาจแสดงว่า เก็บในระยะ ปลอดภัย. - ต.อ.กลาง รายงาน - |
แอบอ้างชื่อชาวอโศก เรี่ยไรผ้าป่ามหากุศล พุทธสถานสันติอโศก กทม. เรื่อง กรณีผ้าป่ามหากุศล เนื่องจากมีการแอบอ้างชื่อ พุทธสถานศาลีอโศก ต.โคกเดื่อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ ลงพิมพ์ในแผ่นใบและซองผ้าป่า ออกเรี่ยไร และ เชิญชวนให้สาธุชนร่วมบริจาคทรัพย์ อ้างเพื่อจะนำเงินมาสร้างศาลาโรงเจสถานธรรม ณ พุทธสถานศาลีอโศก จ.นครสวรรค์ ทั้งๆ ที่ทีมงานบริหารศาลีอโศกไม่มีโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด (แผ่นใบ "ผ้าป่ามหากุศล") จากการแอบอ้างดังกล่าวข้างต้น ชาวอโศกขอแจ้งให้พุทธศาสนิกชน ชาวพุทธ รวมถึงญาติธรรมทั้งหลายได้ทราบโดยทั่วกันว่า ชาวอโศกทุกแห่ง ไม่เคย และ ไม่มีพฤติกรรมแสวงหาทรัพย์ในรูปแบบของการเรี่ยไรใดๆ ทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น ชาวอโศกมีหลักการ เข้มงวด ในการรับบริจาคว่า คุณสมบัติของผู้ที่จะบริจาคเงินให้กับชาวอโศกได้นั้น จะต้องมาคบคุ้นกับชาวอโศกไม่ต่ำกว่า ๗ ครั้ง เป็นอย่างน้อย หรือ อาจฟังเท็ปธรรมะ ๗๐ ตลับ หรือ อ่านหนังสือธรรมะของชาวอโศก ๗ เล่ม เป็นอย่างน้อย มาก่อน เพราะทางอโศกเห็นว่า การเรี่ยไรจากผู้ไม่เข้าใจ ไม่ศรัทธาอย่างมีปัญญา เป็นการทำลายพระศาสนา จึงขอแจ้งมาเพื่อทราบและช่วยกันสอดส่องควบคุม ไม่ให้พฤติกรรมทำนองนี้ได้เกิดขึ้นและสร้างความเสียหายต่อชาวอโศก เพื่อยังความเจริญของพระพุทธศาสนาสืบต่อไป จึงเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน เจริญธรรม |
ชื่อ น.ส.ประไพ ฉิมพาลี *** ความลำบากสร้างคน *** อนุสติของชีวิตคู่ ตอนที่ขายของอยู่ที่ร้าน มีผู้หญิงสวยระดับนางงามมากินอาหารที่ร้าน เขาร้องไห้เพราะสามีไปมีคนอื่น ป้ามาฉุกคิดว่า ขนาดเขาสวย ขนาดนี้สามียังทิ้ง แล้วหน้าตาเราก็ไม่ได้สะสวยอะไร หากเจออย่างเขาบ้างเราจะสู้ไหวไหม คิดว่ารักแท้ไม่มีหรอกในโลก มีแต่รักตัวเอง *** รู้จักอโศก ต่อมาพี่สาว (ป้าประทุม ฉิมพาลี) ไปปลูกบ้านที่ปฐมอโศก ป้าก็ตามไปอยู่และเทียวไปมาระหว่างบ้านกับปฐมฯ ทุกวันนี้ก็อยู่วัดประจำ ช่วยงาน อยู่ฐานเจาะวิจัยฯช่วยติดฉลากยา ว่างๆก็ไปช่วยเจ๊เกียวขายก๋วยเตี๋ยวเป็ดเจบ้าง *** ในสังคมบุญ ป้าประไพมีบุญที่เห็นทุกข์ของชีวิตคู่ จากชีวิตจริงของคน ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ด้วยการไปแต่งงาน และไม่ไปหวังลมๆแล้งๆ ว่าเรา อาจจะโชคดี ใครเป็นโสดหรือเป็นโสดรอบสองเชื่อพระพุทธเจ้าดีกว่า ผู้มีรัก (ที่เห็นแก่ตัว) ย่อมมีทุกข์ (และจะมีทุกข์ตามมาอีกสารพัดเรื่อง) - บุญนำพา รายงาน - |
โครงการรวบรวมองค์ความรู้และพัฒนาผลผลิต *** วัตถุประสงค์โครงการ ๑. รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ประสบการณ์การใช้จริง และการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ทั้งจากในประเทศ และ ต่างประเทศ ๒. ส่งเสริมการศึกษา วิจัย และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ให้ได้องค์ความรู้ใหม่หรือผลผลิตใหม่ นำสูตรที่ได้ไปทดลองใช้ในชุมชน หรือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ ๓. เผยแพร่การใช้ประโยชน์ สรุปบทเรียนเพื่อพัฒนาให้เป็นผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานต่อไป ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดที่มีสารเคมีสังเคราะห์ คือ เมื่อวันที่ ๘ - ๙ เมษายน ๒๕๔๗ ในงานปลุกเสกฯ ณ พุทธสถานศีรษะอโศก ได้มีการประชุมรวบรวมองค์ความรู้ จากญาติธรรม ชาวอโศก มีผู้เข้าร่วมประชุมการประชุม ๔๕ คน ได้องค์ความรู้ดังนี้ (ต่อจากฉบับที่แล้ว) ประเภท วัตถุดิบแห้ง สูตรผสม สูตรผงนัวจากเครือข่ายอินแปง สกลนคร (นัว
เป็นภาษาอีสาน แปลว่า รสอร่อยกลมกล่อม) นำใบพืชผักทั้งหมดมาล้างให้สะอาด ตำผสมกับข้าวเหนียวนึ่งตากแห้งจนแหลกละเอียดเข้ากันดี นำไปผึ่งลมให้แห้งสนิท ๒ - ๓ วัน ร่อนเก็บเป็นผงใส่ขวด เก็บไว้ในที่แห้ง นำมาใช้ปรุงรสแกง ต้ม ป่น แจ่ว ส้มตำ อ่อม อาหารอื่นๆ ได้รสชาติดี ประเภท วัตถุดิบแปรรูป หมายเหตุ ปฏิทินงานอโศก งานอโศกรำลึกฯ ครั้งที่ ๒๓ ณ พุทธสถานสันติอโศก พุธที่ ๙ - พฤหัสบดีที่ ๑๐ มิ.ย.๔๗ งานคืนสู่เหย้า นศปธ. ณ พุทธสถานสันติอโศก เสาร์ที่ ๑๗
- อาทิตย์ที่ ๑๘ ก.ค.๔๗ |