ฉบับที่ 243 ปักษ์หลัง 16-30 พฤศจิกายน 2547 |
คบคนดี ในงานมหาปวารณา ครั้งที่ ๒๓ ที่ผ่านมา พ่อท่านได้พูดถึงสัมปทา ๗ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติประดุจแสงเงินแสงทอง ของอาริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อแรกของสัมปทา ๗ คือ คบมิตรดี มีเรื่องที่น่าคิดว่า เดี๋ยวนี้เยาวชนของเราขาดคุณธรรมความดีเพิ่มขึ้นและมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะเยาวชนของเรา คบมิตรไม่ดี รวมทั้งเทปผี ซีดีเถื่อน หรือสื่อต่างๆ จากสังคมภายนอก ที่มอมเมาจิตวิญญาณให้มีกิเลสเพิ่มมากขึ้น มันแทรกซึมเข้ามาในชุมชนบุญนิยม จากเพื่อนและผู้ใหญ่ที่ไร้ศีล หันมาดูนักเรียนสัมมาสิกขาฯ ซึ่งเป็นเยาวชนของชาวอโศก ก็มีปัญหาละเมิดศีลเพิ่มขึ้น แม้จะไม่รุนแรง เท่าสังคมภายนอก แต่ก็เป็นเรื่องที่คุรุควรพิจารณาว่า ทุกวันนี้เราปล่อยให้เยาวชนของเรา อยู่กับคนชนิดไหน มากที่สุด การที่เด็กอยู่วัด แต่ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนๆที่ยังไม่มีความแข็งแรงทางจิตวิญญาณเพียงพอ แทนที่จะอยู่กับ ผู้ใหญ่ที่มีศีลดี และนักบวช เป็นเวลานานกว่า มากกว่าในแต่ละสัปดาห์ แล้วเด็กของเรา จะเกิดความเข้มแข็ง ทางจิตวิญญาณได้หรือ? ขนาดพ่อไม่ติดเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ยังสอนให้ลูกเลิกเหล้า ไม่สูบบุหรี่ได้ยาก ถ้าเด็กเราอยู่กับคนที่ไม่เข้มแข็ง ทางจิตวิญญาณ ทิศทาง ของเด็กเรา จะเดินไปสู่ทิศทางไหนเอ่ย ! โปรดพิจารณาเถอะว่า เด็กของเราจะมีศีลเด่นได้อย่างไร แม้จะอยู่สัมมาสิกขามาหลายปี?!. |
กรรมปัจจุบัน เป็นตัวแปรของชีวิต ตอนหนึ่ง พ่อท่านได้เทศน์ อธิบายขยายความถึงกรรมปัจจุบันว่าเป็นตัวแปร ของชีวิตว่า... "....กรรมต่างๆ กิริยาต่างๆของมนุษย์ที่เรามากระทำนี้ มันเป็นตัวแปรของชีวิต ถ้าเข้าใจอย่างที่อาตมายืนยัน แล้วว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสถึงศรัทธา ๔ นี้ กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา ตถาคตโพธิสัทธา ชีวิตมันไม่มีอะไรหรอก คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ศรัทธาแปลว่าเชื่อ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้แล้วก็เชื่อ ท่านเชื่อว่าทุกอย่างมีกรรม มีวิบาก แล้วก็กรรมเป็นของ ของตน รายละเอียดของกรรมต่างๆก็คือ ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่เอามาอธิบาย มาเล่าให้ฟัง ถ้าเผื่อเราสำคัญในกรรม สำคัญในวิบาก เราก็รู้ว่าเราเกิดมาจะเอาอะไร คุณก็เอากรรมนี่แหละ มันเป็นทรัพย์ คุณไม่เอาก็ไม่ได้กรรมนี่ แต่เงินทอง คุณเอามันให้ตาย มันก็ไม่ได้ อาตมาว่า อาตมายกนิทาน หรือว่าตัวอย่าง ประกอบชัดนะ ต่อให้คุณสุจริตด้วยนะ หาเงินได้แสนล้าน กอดไว้เลย ไม่ให้กระดิกเลยนะ ได้แสนล้าน ขาดใจตาย สุดท้ายก็ตาย แสนล้านอยู่ในอ้อมกอดเลยนะ แล้วมันใช่ของคุณที่ไหน มันเอาไปได้เหรอแสนล้าน เดี๋ยวเขาก็แกะมือ เอาแสนล้านออกไปกระจาย สุดท้ายเขาก็เอาร่างคุณไปเผาเอาไปฝังก็แล้วแต่ มันไม่ใช่ ทรัพย์ของคุณเลย ให้คุณสุจริต ให้คุณหาด้วย หาได้ ง่ายได้ยากอะไร ก็ตามใจเถอะ คุณภาคภูมิ กอดเอาไว้ แสนล้านมันก็ไม่ใช่ของคุณ ยิ่งคุณไปโกงเขามา แต่คุณได้แสนล้านคุณจะต้องเอาเปรียบเขาด้วยวิธีคิด แบบทุนนิยม จึงจะได้แสนล้าน สามัญนี้คุณจะไม่ได้แสนล้าน ใช่ว่าเงินนี่มันจะหมุนให้คุณง่ายๆ แม้คุณจะมีบุญก็ไม่ง่าย ยิ่งคุณไปเอาเปรียบ เขามา ไปโกงเขามา โกงแสนล้าน ก็ได้บาปแสนล้านนั่นแหละ มันจะมากขนาดไหนล่ะ นั่นแหละทรัพย์ของคุณ โกงแสนล้าน บาปแสนล้าน นั่นต่างหากของคุณแท้ เงินแสนล้านนี่ ของคุณที่ไหน อาตมาว่า ตัวอย่างนี้ชัดนะ ฟังก็รู้ แม้จะเป็นตรรกะ เป็นแค่หลักเหตุผลก็ตาม มันชัดน่ะ ใช่มั้ย คนเราไม่รู้ เที่ยวไปได้แย่งลาภ แย่งยศ ไปโกง ไปฆ่าไปแกง ไปสร้างวิบาก จะต้องแย่งต้องชิง ต้องทำร้ายกัน ให้เจ็บให้ปวด ให้อาฆาตมาดร้าย ให้เป็นเวรเป็นภัย ต่อกันไปอีก มากมาย ดีไม่ดีได้บาปที่ไปทำทุจริตอะไรต่างๆ น่าเสียดายชีวิตที่เกิดมา สั่งสมสิ่งเหล่านี้ไปแต่ละชาติๆ แล้วก็น่ากลัว ถ้าไม่ชัดในสัจธรรมพวกนี้แล้ว เราไม่กลัว บาป พระพุทธเจ้า ถึงได้ตรัส "บาปแม้น้อย ก็อย่าพึงกระทำ" เพราะมันเป็นของจริง ทำเสร็จแล้วคุณบอกว่า ไม่ใช่ของเรา ไม่เอา เอาไปขายทอดตลาด เอาบาปเอาชั่ว ไปขายทอดตลาด มีใครจะซื้อ มันขายได้ที่ไหน มันเป็นของของตน เอายางลบ ลบก็ไม่ได้ เอาลิควิดลบก็ ไม่ออก เอาอะไรทำลายก็ ไม่ออก ต้องเป็นของตน ทำในที่ลับ ทำในที่แจ้ง ของตนทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นให้สำคัญในกรรม พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ในกรรม ปัญญาสัพพัญญุตญาณ ปัญญาของ พระพุทธเจ้า นะ ตรัสรู้ ไม่ใช่คนคิดธรรมดา ไม่ใช่หัวแค่ไอน์สไตล์ ไม่ใช่หัวแค่ ปราชญ์เก่งๆ พระพุทธเจ้าตรัสรู้นะ พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า ถ้าเข้าใจแล้ว คุณมาทำ มาพิสูจน์ คนเราไปแสวงหาอะไรก็รู้ ก็ต้องแสวงหากรรม ยิ่งเป็นโลกุตระ กุศลโลกุตระ นั้นสุดยอด สมบัติอาริยสมบัติ โลกีย-สมบัตินั้น โธ่เอ้ย... คุณแย่งกันมาไม่รู้กี่ชาติ สมบัติผลัดกันชมมา ไม่รู้กี่ชาติๆ มาแล้วโลกียสมบัติ หยุดแย่งได้แล้ว หยุดสะสมได้แล้ว มาเถอะ ท้าทายให้มาพิสูจน์ ว่า ไม่ต้อง สะสมทรัพย์ จะประเสริฐ ได้ไหมคน... คนเราถ้าเข้าใจแล้ว มากระทำอย่าง ที่ว่านี้เถอะ มากระทำ เราประเสริฐได้ ทั้งๆที่เราไม่ต้องเที่ยวไปแย่งไปชิง เที่ยวไปได้สะสม ไม่ต้องไปกอบโกย มีชีวิตอยู่อย่าง เรียนรู้สาระของชีวิตว่า อยู่กินแค่ไหน ใช้แค่ไหน ทำแค่ไหน ทำไป สั่งสมความสามารถ สั่งสมความรู้ สั่งสมสิ่งที่ดีงามไป แล้วก็สร้างสิ่งที่ดี แล้วอย่ายึด คำสอนของ พระพุทธเจ้าสุดยอด มั้ย แม้ดีก็อย่าไปหลงดี อย่าไปยึดดีเป็นเรา เป็นของเรา ไปยึดดีเป็นอัตตา เป็นอัตตนียา เป็นมะมัง ไม่เอา นมัญญติ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่สำคัญมั่นหมายว่ามันเป็นเรา ทั้งๆที่มันเป็นของเรานี่แหละ......" พ่อท่านสอนให้เรียนรู้สาระของชีวิต ให้ทำแต่กรรมดี แล้วไม่ยึดดีที่เราทำ ผู้ใดสามารถทำได้ก็จะยิ่งเป็นตัวแปร พาเราขยับสู่สุขที่ยิ่งกว่าสุขเข้าไปทุกที ทำดีแล้วยังยึดดีก็ยังนับว่าโง่อยู่ ป่วยการกล่าวไปไย ถึงคนที่ไม่รู้จัก กระทำกรรมดี ทำแต่กรรมชั่วอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน.... - เด็กวัด - |
ชาวอโศกร่วมจัดงานมหกรรมเกษตรฯ สมเด็จพระเทพฯเสด็จเปิดงาน ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พ.ย. ๒๕๔๗ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ม.เกษตรศาสตร์ กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ร่วมกับ ๔๘ องค์กรเอกชน ร่วมจัดงาน สมัชชา เกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ ๓ "มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน" ณ สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรม การเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษและสถาบันบุญนิยม ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน ร่วมจัดงานในครั้งนี้ด้วย ชมรมมังสวิรัติ แห่งประเทศไทย สาขาหน้าสันติอโศก ออกร้านจำหน่าย อาหารมังสวิรัติในราคาต่ำกว่าทุนโดย ใช้กระทง เป็นวัสดุ บรรจุอาหาร เพียงกระทงละ ๕ บาท, ร้านกู้ดินฟ้า จากเครือข่าย กสิกรรมไร้สารพิษ แห่งประเทศไทย จำหน่ายพืชผักผลไม้ไร้สารพิษ, เครือข่าย กสิกรรมไร้สารพิษปฐมอโศก และเครือข่ายต่างๆ ร่วมจำหน่ายสินค้า กสิกรรม และสาธิต การทำ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ, การเพาะถั่วงอกไร้ราก และนำบ้านพลังอโศก มาแสดงให้ชมตลอดงาน ร้านจำหน่ายอาหารภายในงานให้ใช้เฉพาะเตาถ่าน ห้ามใช้แก๊ส ห้ามใช้โฟมบรรจุอาหาร นอกจากนี้เครือข่าย ต่างๆจากองค์กรต่างๆ ทั่วทุกภาค ของประเทศไทย นำสินค้า จากชุมชนมาจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจ ตลอดงานมีการอภิปรายภายในหอประชุมทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย มีองค์ความรู้ต่างๆจากองค์กรต่างๆ มาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันที่ลานเกษตรและสุขภาพ ลานหนังสือและเด็ก และลานอาหาร จากอาหารพื้นบ้าน ภาคต่างๆ วันที่ ๑๘ พ.ย. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินและพระราชทาน พระราชดำรัส เปิดงานมหกรรม เกษตรยั่งยืน โทรทัศน์ช่อง ๑๑ ถ่ายทอดสด สำหรับการอภิปรายในภาคเช้าและภาคบ่ายของแต่ละวัน ตัวแทนองค์กรชาวอโศก คุณขวัญดิน สิงห์คำ จาก ศีรษะอโศก จ.ศรีสะเกษ, คุณวีรพล กมลรัตน์ จากสวนส่างฝัน จ.อำนาจเจริญ และคุณธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ จากสถาบันบุญนิยม ได้ร่วมอภิปรายในแต่ละวัน และตลอด ๔ วันของการอภิปราย ในหัวข้อต่างๆ ผู้ร่วม อภิปราย มักจะหยิบยกกล่าวอ้างถึง องค์กรชาวอโศกเสมอ ในเรื่องของความเข้มแข็ง ซึ่งเติบโตขึ้นมาอย่างช้าๆ แต่ยั่งยืน นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำข้อมูลของ พืชผักผลไม้ในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มาเปิดเผยว่าจากการเก็บตัวอย่างไปทดสอบ พบว่ามีสารตกค้าง ของยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี แทบทุกชนิด และ ทำให้ ผู้บริโภค เป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสตรี ขณะนี้สารเคมีตกค้างจากอาหาร ได้คืบคลานสู่การเป็น มะเร็งมดลูก เด็กไทย ในอนาคต จะเกิดมามีรูปร่าง พิกลพิการ เนื่องจากสารเคมีในอาหาร ที่แม่รับประทาน สะสมเข้าไป โดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ การอภิปรายในภาคบ่ายของวันที่ ๑๘ พ.ย. หัวข้อ "เหลียวหลังแลหน้าเกษตรกรรมยั่งยืนในสังคมไทย" คุณขวัญดิน สิงห์คำ ได้เล่าเรื่องราว ของหมู่บ้าน ศีรษะอโศก ตั้งแต่ เริ่มต้นที่ขาดแคลน ต้องแบ่งกล้วยน้ำว้า ออกเป็น ๔ ส่วนถึงจะแจกจ่ายกันทั่วถึง มาถึงวันนี้มีสวนพืชผัก ผลไม้ไร้สารพิษกิน อย่างอุดมสมบูรณ์ มีฐานงาน ครบวงจรมาก กว่า ๓๐ ฐานที่ผลิตกินใช้ในชุมชน เมื่อเหลือจึงนำมาจำหน่าย มีชาวบ้านสนใจ มาสมัคร เป็นสมาชิกเครือข่าย และเปลี่ยนแปลง ชีวิตจนดีขึ้น สามารถปลดหนี้สิน มีความสุขตามแนว พระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง การอภิปรายในภาคบ่ายวันที่ ๑๙ พ.ย. หัวข้อ "ประสบการณ์จากแผ่นดิน การสืบทอดเกษตรกรรมยั่งยืนในรอบ ๒ ทศวรรษ" คุณวีรพล กมลรัตน์ กสิกรจากเครือข่าย กสิกรรมไร้ สารพิษ สวนส่างฝัน ได้บอกเล่าเรื่องราว ของ สวนส่างฝัน จากพื้นดินร้อนแห้งแล้ง ที่ไม่มีอะไร ปลูกอะไรลงไปก็ตายหมด แต่ด้วยหัวใจนักสู้ ของผู้ปฏิบัติธรรม สามารถพลิกฟื้น จนอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันเป็นศูนย์อบรมฯที่ได้รับการยอมรับ มีสมาชิก เครือข่ายเพิ่มขึ้น และ สามารถปลดหนี้สิน มีความสุข ตามแนวพระราชดำริฯเช่นกัน สำหรับการอภิปรายในภาคเช้าวันที่ ๒๑ พ.ย. หัวข้อ "เศรษฐกิจชุมชนบนฐานเกษตรกรรมยั่งยืน" คุณธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ ตัวแทน สถาบันบุญนิยม บอกเล่าเรื่องราว ตั้งแต่เริ่มต้นของชาวอโศก จากกลุ่มเล็กๆจนปัจจุบัน มีเครือข่ายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยมีวิถีชีวิต อยู่บนพื้นฐานของศาสนา ใช้ศาสนาเป็นหลัก ในการบริหาร จัดการภายใน ของแต่ละองค์กร ผู้ร่วมจัดงานและผู้ร่วมงาน ได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้ อ.ชนวน รัตนวราหะ "การจัดงานบรรลุเป้าหมายนะ เพราะว่าเราเองก็เป็นกลุ่มที่พึ่งตนเอง เราทำได้ขนาดนี้ ก็นับว่าเป็นที่พอใจ จะไปเทียบกับ เหลียวหลังแลหน้า จากรากหญ้า สู่รากแก้ว ซึ่งเขามีกำลังมีงบประมาณมาก เราทำไม่ได้หรอก เราทำได้แค่นี้ เรียกว่าคนที่มาที่นี่ หรือคนที่เข้าฟังสัมมนา ก็เป็นคนที่สนใจจริง เรื่องเกษตร กรรม ยั่งยืนจริงๆ ถือว่าเป็นคนที่มีคุณภาพ ซึ่งก็จะขยายจำนวนมากขึ้น ถ้าเราจะเทียบกับการจัด สมัชชา เกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ ๑ เมื่อปี ๒๕๓๕ กับครั้งนี้ จะเห็นว่าประสานกัน มีคนเข้าใจเรื่องของเกษตรยั่งยืน มากขึ้น ยกตัวอย่างที่เราสามารถ บอกกล่าวให้กับประชาชน ที่สนใจได้อย่างเป็นรูปธรรม ต้องขอชื่นชมกับทางชุมชนอโศก วันนี้ผมฟังคุณธำรงค์อธิบายอย่างชัดเจน ทำให้คนได้เข้าใจแนวทาง พึ่งตนเอง ของ ชุมชนอโศกได้อย่างดี ผมอยากจะวิงวอน ให้ผู้ที่รับผิดชอบบ้านเมือง มองดูตัวอย่างของชุมชนอโศก เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ เป็นแนวทางของการแก้ไขปัญหา ที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ ที่ผ่านมา ประเทศเราไม่ได้พึ่งตนเอง สักเท่าไหร่ แทบไม่ค่อยได้พึ่งตนเอง โดยเฉพาะราชการไม่ได้พึ่งตนเอง โดยเฉพาะ ราชการไม่มีจิตสำนึก ของการพึ่งตนเอง ทุกอย่าง พึ่งต่างประเทศหมด ทุกอย่างต้องอาศัยเงินตราทั้งนั้น ไม่มีจิตสำนึก ของเศรษฐกิจพอเพียง ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องทำความเข้าใจกับเศรษฐกิจพอเพียงในแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นยุทธวิธี ในการที่จะทำให้ เศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่เป้าหมายที่ แท้จริง คนน้อยไม่เป็นไร คือเราไม่ต้องการปริมาณ ว่าคนต้องมากันมืดฟ้ามัวดิน เราต้องการคนที่มาแล้ว สามารถออก ไปใช้ประโยชน์ หรือทำจริงกับเรื่อง เกษตรกรรม ยั่งยืน" คุณธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ ประธานเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ "เป็นครั้งแรกที่เรามาจัดร่วมกับเขา เขาจัด ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ ครั้งที่ ๒ เราไม่ได้ร่วม ได้มาร่วมเพราะ ได้ไปประชุมกับเขาหลายงาน ก็เลยรู้จักกัน เป้าหมายของการจัดร่วมครั้งนี้ คืออยากจะสร้างสัมพันธไมตรีและประสานกับกลุ่มภายนอกต่างๆ เป็นการ เชื่อมข่ายกัน ส่วนเรื่องการเผยแพร่ ไม่ค่อยเท่าไหร่ เพราะคน ไม่กว้างเท่าไหร่ การจัดงานครั้งนี้คิดทำให้คนที่เริ่มทำเป็นกลุ่มมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น มีข้อมูลหลายอย่างเข้ามาแลกเปลี่ยนกัน เราก็ได้มุมมอง จากกลุ่มอื่นว่า เขาคิดยังไง เขาทำยังไง เป็นเรื่องขอ งการประสานสังคม" นักวิชาการ ไม่ประสงค์ออกนาม อายุ ๖๕ ปี จากสิงห์บุรี "ผมว่าการประชาสัมพันธ์น้อยไปนิดหนึ่ง คนไม่ทราบ เท่าที่ควร การจัดงานดี ผมชอบทั้งหมด ผมว่าเป็นการรวมพลัง ของคนจนทั้งหมด เพราะถ้าคนจนไม่ช่วยกัน ก็สู้นายทุนไม่ได้ ควรจัดทุกปี แต่สถานที่ไม่ค่อยเหมาะเพราะเข้ามาลึกเกินไป ควรจะอยู่ด้านหน้า ผมยังมองว่าเรื่องเกษตรเคมี เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ อย่าไปตีกันเลย แต่เราพยายามลดเกษตรเคมีเสีย เพราะเราหลงทางไปแล้ว โจรก็ต้องกลับใจได้ เราต้องช่วยกันทำ เราอย่าไปตีกันเดี๋ยวเหมือน ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ แต่ให้ข้อมูลกัน แลกเปลี่ยนความคิด ขนาดศาสนา เรายังไม่บังคับให้ใครต้องมานับถือ การทำ ทุกคน มีสิทธิ์ที่จะทำ เพียงแต่ทุกคนไม่อยากทำชั่ว ต้องเข้าใจอันนี้ พวกเคมีอาจจะหลงผิด เพราะเราไปสอนเขา ทางนั้นเสียแล้ว ผมยังมองว่าทำไมชาวนาเราไม่รวยสักที นโยบายรัฐบาลทุกยุคอาจจะผิด ผมว่าการทำเกษตรอย่างยั่งยืน จะแก้ปัญหาความยากจน ระดับรากหญ้าได้ แต่ต้องอาศัยเวลา ระยะสั้นคงไม่ได้ และทุกคนต้องตัดกิเลสนะ และอีกอย่างหนึ่ง ผมอยากจะฝากว่า ในงานนี้มีมูลนิธิ เยอะเหลือเกิน เหมือนเราแย่งกันทำงาน น่าจะรวมกันทำ ขยายให้ใหญ่ แล้วพลังจะได้มากขึ้น ผมไม่ต้องการให้คุณเดินขบวน แต่ต้องการให้พวกคุณมีพลัง ผมไม่มีสิทธิ์ ไปบังคับรัฐบาล แต่เราควร จะแนะนำได้บ้าง" น.ส.ชลิตา บัณฑุวงศ์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน "คิดว่าการจัดงานยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะ หลายอย่าง ยังฉุกละหุก จัดการให้เสร็จไม่ทัน เช่น หนังสือ ต้องมาออกวันที่ ๒ ของงาน และคิดว่า คนยังน้อย จริงๆประชาสัมพันธ์ ก็เยอะ แต่อาจจะไม่เยอะเท่าที่ควร ที่ตั้งเป็น มุมที่ค่อนข้างอับ จริงๆแล้ว จะตั้งร้าน ให้ติด ด้านหน้าแต่ มีปัญหาเรื่องขบวนเสด็จ ที่จะต้องไม่มีอะไรมากีดขวาง จึงต้องขยับร้านมาด้านหลัง จึงทำให้คน ไม่เห็นว่า มีการจัดงาน" อ.เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิเกษตรยั่งยืน(ประเทศไทย) เลขานุการการจัดงาน "จริงๆชื่องานว่าสมัชชา เกษตรกรรม ทางเลือกครั้งที่ ๓ แล้วก็เป็นมหกรรม เกษตรยั่งยืนครั้งที่ ๑ แล้วสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ ๓ มันต่อเนื่องมาจากครั้งที่ ๑ เมื่อปี ๒๕๓๕ ครั้งที่ ๒ เมื่อปี ๒๕๓๙ ความจริง ๔ ปีครั้ง แต่ว่าตอนปี ๒๕๔๓ เรายุ่งมาก เราได้โครงการนำร่อง ของรัฐบาลไป เงินมันมาก เราต้องเตรียมงานเยอะ เลยหยุดไปช่วงหนึ่ง ตอนนี้ เป็นรอบที่ ๔ แต่ครั้งที่ ๓ พอดีโครงการ นำร่องเสร็จ เราก็มาทำ เป้าหมายแรกของสมัชชา ก็คือการรวบรวมองค์ความรู้ ว่าในรอบ ๔ ปีที่ผ่านมามันเกิดอะไรขึ้นบ้างในแวดวง เกษตรกรรม ทางเลือก หรือว่าเกษตรยั่งยืน หรือเกษตรแบบ บุญนิยม ซึ่งแล้วแต่จะเรียก ซึ่งไม่ใช่เป็นเกษตร กระแสหลัก ที่ทำลายธรรมชาติ ในการจัดสมัชชาฯ คือรวมเอาคนที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้จากทุกๆฝ่าย มาแลกเปลี่ยนกันในมิติต่างๆ เช่น มิติทางเทคนิค มิติทางชุมชน ทางสังคม ทางสิ่งแวดล้อม เอามาเพื่อ จะรวบรวมเป็นหลักฐาน เป็นหนังสือ เป็นเทป เป็นการเผยแพร่ เพื่อให้วิชาการด้านนี้ มันก้าวหน้าไป เพื่อสนับสนุน เกษตรกร หรือผู้บริโภคว่า ชุมชนต่างๆ ที่ทำเรื่องนี้อยู่ ซึ่งเขาเป็นคนทำก็จริง แต่ว่าการสนับสนุนทางด้านวิชาการก็เป็นหัวใจอันหนึ่ง ที่ทำให้พัฒนาขึ้นไปได้ แล้วส่วนหนึ่งก็คือมีการพบปะกัน แลกเปลี่ยนกัน รู้จักกัน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดึงผู้บริโภคมาแล้วให้เป็น ที่ยอมรับกัน ในระดับนโยบายด้วย เป้าหมายมันหลากหลาย เพียงแต่ว่าหลักๆจริงๆเอาเรื่องวิชาการเป็นต้นหลักก่อน หลังจากนั้นอย่างอื่น ก็ตามมา การจัดงานครั้งนี้ก็เหมือน ๒ ครั้งที่แล้ว คือ เป็นการสืบเนื่อง แต่ครั้งนี้พิเศษตรงที่ว่า เราเว้นมา ๘ ปี แล้วองค์กร ที่มาร่วมด้วยเพิ่มขึ้น แล้วมีความเข้มแข็งมากขึ้น อย่างอโศกนี่ ตั้งแต่ครั้งแรกเราก็ร่วมแล้ว แต่ว่าครั้งนี่ เข้มแข็ง กว่า ๑๒ ปีที่แล้วเยอะมาก เราเห็นชัดเลยว่า พัฒนาของเครือข่าย หรือว่าของชุมชน หรือว่า เกษตรกรผู้บริโภค ในเรื่องเกษตรยั่งยืน มันก้าวหน้าไปมาก แต่ว่าที่น่าสนใจก็คือหน่วยงานของรัฐที่ไม่เคยเข้าร่วม อย่างกระทรวงสาธารณสุข
กลายเป็นตัวหลักเลย เพราะว่า ทีแรก เราเริ่มจากกระทรวงเกษตร เริ่มจากเกษตรกร
ผู้บริโภค ปรากฏว่าปัจจุบันนี้ คนที่เห็นปัญหาของ เกษตรสมัยใหม่ ที่มีผลต่อสุขภาพ
ก็คือกระทรวงสาธารณสุข เพราะว่าโรคที่เกิดจากสารเคมี ซึ่งไม่ใช่โรคติดเชื้อ
เป็นโรคที่โตเร็วมาก อย่างเช่นมะเร็ง คุณหมอลือชา บอกว่า ๕ ปี ตั้งแต่ปี
๒๕๓๘-๒๕๔๓ อัตราเฉพาะ เป็นมะเร็งตับอย่างเดียว ซึ่งร้ายแรงที่สุด เพิ่มขึ้นกว่า
ร้อยเปอร์เซนต์ จากสารเคมีเป็นตัวหลัก เพราะว่าตัวเลข ของ การเพิ่มขึ้น
ของการใช้สารเคมี จากการนำเข้าของประเทศไทย กับการเพิ่มขึ้นของการเป็นมะเร็ง
เป็นเส้นเดียวกัน คือเพิ่มขึ้นอัตราเดียวกัน ชัดเจนมาก มีความสัมพันธ์กันโดยตรง
ขนานกันไปเลย อย่างเมื่อวานมีการเต้นแอโรบิคทั่วประเทศ ๓๓ ล้านคน คือเรารู้ว่างานพวกนี้เป็นกระแส ซึ่งจะมาทำให้คน สนใจไปชั่วครั้งชั่วคราว มีหลายๆงาน มาตลอดเวลา แต่เราเห็นว่า พวกนั้นไม่ยั่งยืนหรอก เขาก็จะไปๆ ชั่วคราว แล้วก็จะเปลี่ยนไปเรื่องใหม่ไปเรื่อย แต่ว่าของเรา มันยั่งยืน เราไม่ต้องมีใคร สนใจมากหรอก แต่ว่าในที่สุดแล้ว คนที่เห็นความสัมพันธ์ก็คือ เกี่ยวพันกับชีวิตตัวเอง เช่น เป็นโรคบ้าง หรือตัวเองทำเกษตร ล้มละลายบ้าง ผู้ค้าขายซึ่งถูกเอาเปรียบอะไรบ้าง คือของเรา จะมีคำตอบ พวกนั้นอยู่แล้ว แต่ใครมีปัญญาก่อนก็เข้ามา ใครมีปัญญาทีหลังก็เข้ามาทีหลัง แต่ว่า เชื่อเถอะมันต้องเพิ่มขึ้นแน่ เพราะว่าเหล่านี้ คือสัจจะ คือความจริง คือมันพิสูจน์ตัวเอง มาตั้ง ๒๐ ปีแล้ว แล้วมันก็โตขึ้น เหมือนกับขบวนการอโศกนี่มันไม่มีทางจะเล็กลงหรอก เพราะว่ามันเป็นความจริง มันเป็นธรรมะ มันเป็นทางออก มันเป็น คำตอบ ซึ่งพวกนี้กาลเวลามันพิสูจน์ได้ เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องรีบก็ได้ คือการเติบโตของบางอย่างมันต้องโตช้า เพราะมันเป็นไม้ยืนต้น แต่มันโตช้ามันอายุยืน แล้วเวลาออกดอก ออกผล ก็งดงามมาก แต่ที่โตเร็วปุ๊บปั๊ปๆมันไม่งามหรอก แล้วมันจะสลายไปเร็ว เป็นพืชอายุสั้น เพราะว่า กล้วยไม้ออกดอกช้าฉันใด การศึกษาเป็นไปเช่นนั้น ออกดอกยามใดงามเด่น ก็คือเหมือนกัน แต่ของเราไม่ใช่ กล้วยไม้ เป็นไม้ยืนต้น ต้องใช้เวลา กว่าจะเติบโต กว่าจะออกดอกออกผลเป็นสิบๆปี อาจจะเป็นหลายสิบปี อย่างต้นตาล ๒๐ ปีขึ้นไป อย่างต้นตาล อายุร้อยๆปี มันออกลูกตลอดเวลา ไม่ทำลายธรรมชาติ มันแข็งแรง ทนทาน ซึ่งก็คือสัญลักษณ์ของเราว่า ถ้าจะเปรียบเทียบกับ เกษตรยั่งยืน ว่าต้นตาล แต่ถ้าเกษตรแบบเคมี อาจจะเป็นผักบุ้ง เป็นถั่วงอก เพาะวันสองวัน ได้กินแล้ว หลังจากนั้น ก็ไม่ได้เกิดอะไรขึ้นมา งานครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จแน่ เพราะว่าพวกเรานี้มากขึ้น แล้วประสบการณ์ ของเราชัดยิ่งขึ้นว่า ทางด้าน เทคนิคเราพัฒนามากขึ้น ทางด้านชุมชน เขาเข้มแข็งขึ้น ทางด้านตลาดมากขึ้น ทางด้าน ประสิทธิภาพ อะไรทุกอย่างเรามากขึ้น แม้แต่ความรู้เราก็มากขึ้น หรือว่าพันธมิตรเรา ก็มากขึ้น แล้วคุณภาพ ก็ชัดเจนเลย แต่ปริมาณก็ขึ้น แต่อาจจะไม่ขึ้นหวือหวา แต่ว่ามันก็ขึ้น เพราะฉะนั้นสรุปแล้วของเรามีด้านบวก เพราะฉะนั้นการพอใจหรือไม่พอใจ อยู่ที่การตั้งความหวัง ถ้าเราตั้ง ความหวัง บนพื้นฐานไม่จริง โอ๊..คนต้องมา เป็นหมื่นเป็นแสน แล้วทุกคนก็ต้องมาเฮฮา เอาไปทำกันทุกคน เราจะผิดหวัง เราจะไม่พอใจ เพราะไม่ได้ตามที่เราหวัง แต่ว่ามันไม่ได้ผิด ตรงที่ว่าคนไม่มา แต่ว่าจะผิดตรงที่ ตั้งความหวัง ที่มันไม่จริง มันต้องโทษตัวเองว่า เราตั้งความหวังไว้มันไม่จริง เราเลยขาดทุน ถ้าเราไม่ตั้ง ความหวังเลยว่า เราก็เอาแค่ตามเหตุ ตามปัจจัย เราก็ไม่ผิดหวัง อันนี้มันอยู่ที่ความโง่ ความฉลาดของเราเอง ถ้าเราฉลาด เราก็ไม่ผิดหวัง เราก็พอใจ มีแต่กำไร ไม่มีทางขาดทุน ถ้าตั้งแบบบ้าๆบอๆ มันก็ผิดหวังทั้งปีแหละ เพราะตั้งความหวังบนความโง่ บนความอวิชชา เมื่อครั้งสุดท้ายปี ๒๕๓๕ ผมยังจำได้เลยว่า วันสุดท้ายชาวอโศกบอกว่าเดี๋ยวๆไม่ต้อง
ผมขอขยะหมดเลยนะ พี่ไม่ต้อง โอ๊. อย่างนั้น สบายซิ เอาไปเลย ผมยังจำได้". |
ฝ่ายผลิตชาวอโศกร่วมร้อยเติมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนฯ ระหว่างวันที่ ๗ -๑๒ พ.ย. ๒๕๔๗ หลังเสร็จสิ้นงานมหาปวารณา ในช่วงบ่ายตัวแทนองค์กรชาวอโศก เดินทาง ไปอบรมที่คลินิกเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาอาชีพวังรี ต.เขาพระ อ.เมือง จ.นครนายก ในโครงการ "เติมความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อวิถีชีวิต และวัฒนธรรมชุมชน แบบเศรษฐกิจพอเพียง" เมื่อไปถึงที่พัก วังรี รีสอร์ท อาจารย์ กมลทิพ พยัฆวิเชียร (อาจารย์แอ๋ว) ผู้อำนวยการวังรี รีสอร์ท ปฐมนิเทศ มีวิธีการ บอกได้อย่างมีศิลปะอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ การเข้าพัก ในโรงแรมของชาวบ้านที่ไม่รู้ว่า ผ้าห่มอยู่ตรงไหน ใช้น้ำอุ่นอย่างไร ใช้ลิฟท์ ไม่เป็น อาจารย์คงเห็นพวกเรา แต่งตัวกันแบบชาวบ้าน รองเท้าไม่ใส่ จึงได้เล่าเรื่อง นี้ขึ้น เพื่อบอกให้รู้อย่างมีศิลปะ อาหารมื้อแรกที่ทางรีสอร์ทจัดให้ ทุกคนประทับใจ สลัดน้ำแจ่ว ผักสด ในแต่ละวัน ฟังบรรยาย การทำธุรกิจ จะมีขบวนการผลิต ขบวนการขาย ทุกคนเอาใจลูกค้า หรือเรียกลูกค้า คือพระเจ้า สิ่งที่ทุกคนทำสินค้าขาย เป็นสินค้าอุปโภค บริโภค เป็นสินค้าขายยาก ในบรรดาการขาย ต้องแพร่ กระจายให้ผู้บริโภครับรู้ ความสะดวกสบาย เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากที่สุด สำหรับของชาวอโศกที่ต้องสร้าง คือทุกอย่างต้องได้มาจากการไร้สารพิษจริง ๆ อาจารย์ค่อนข้างมั่นใจว่า พวกเรานำผลผลิต มาจากแหล่งผลิต ที่ไม่มีสารพิษใดๆ ขอให้ยืนยัน ตัวนี้ให้ได้ อาจารย์มองว่า พวกเราแน่มาก ไม่ยอมกระจายสินค้า ให้ลูกค้ามาหาเอง ยกตัวอย่าง อภัยภูเบศย์ สินค้าไม่ได้ดีกว่าเรา แต่เขาทำได้ดีกว่า เราต้องทำ อย่างนั้นให้ได้ สร้างภาพลักษณ์ กระจายสินค้าให้ได้ การผลิตสินค้าต้องต่อเนื่อง หา ซื้อได้ตลอด อย่าทำแบบ นานๆทำครั้งหนึ่ง แนวคิดของอาจารย์ 7-Eleven มีมากเท่าไหร่ ร้านของพวกเราต้องมีมากเท่านั้น บุญต้องเข้าถึงประชาชน ไม่ใช่ อยู่กับที่ แล้วให้เขามาหาเอาเอง พวกเราต้องขาย Concept ไร้สารพิษ ไม่ใช่กำไรอาริยะ พวกเราไม่ค่อยสนใจ ลูกค้า วันที่ ๒ แยกกลุ่มอบรมเบเกอรี่ กลุ่มขนมปังและขนมอบ และกลุ่มแปรรูปผัก ผลไม้และสมุนไพร อบรมทั้งวัน เนื่องจากอยู่ร่วมกันหลายชีวิตย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งพวกเราถูกสอนเรื่องบุญนิยม แต่เรามารับ ความรู้ อย่างทุนนิยม เกิดปัญหา ด้านความคิด ที่ต้องถกเถียง และทำความเข้าใจกัน โดยคุณร้อยแจ้ง เป็นตัว ประสาน นัดประชุมรวบรวมแนวคิด ปัญหาที่แก้ได้ ปัญหาที่แก้ไม่ได้ เช่น การรับใบประกาศจากการอบรม ตกลงว่าทางศูนย์ฯจะส่งให้ทุกคน กรณีขนมปังใส่ไข่ การเรียนเบเกอรี่ บุญนิยมไม่กินไข่ มีพวกเราคนหนึ่ง กินขนมปังที่มีไข่ คราวหน้า ควรจะมีการคัดคน ให้มากกว่านี้ ในที่ประชุม ให้พูดคนละ ๑ นาที แสดงความคิดเห็น ประทับใจ ชื่นชมกันและกัน ชมหลักสูตร สถานที่ ปิดประชุม กราบ ผู้มีอายุมากที่สุด ตามวัฒนธรรมชาวอโศก อาจารย์ต้องการไปเรียนรู้การปรุงอาหารเพื่อสุขภาพกับพวกเรา ดูแล้วอาจารย์ค่อนข้างคาดหวังหลายอย่าง จากพวกเรา เช่น องค์ความรู้เรื่องอาหาร ผักผลไม้ ไร้สารพิษ เพราะค่อนข้างเชื่อว่า พวกเราเชื่อถือได้ในทุกเรื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระวังในพวกเรา วันที่ ๓ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จากกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความรู้เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยี (อาหารและเครื่องดื่ม) แล้วแบ่ง กลุ่มเข้าพบ เจ้าหน้าที่โต๊ะต่าง ๆ ตามสินค้าที่ผลิต กลุ่มที่ ๑ ผลิตผัก ผลไม้สด กล้วย ลำใยอบ แยม ไอศกรีม เต้าหู้ โจ๊ก ครูแอ๋วให้ความรู้เพิ่มเติม พันธกิจของชาวอโศกคือ การให้เครือข่ายฯลงไปดูการปลูกข้าวไร้สารพิษ แล้วสร้าง ภาพลักษณ์ เรื่องไร้สารพิษ และกระจายสินค้า ให้ทั่วประเทศ เหมือน 7-Eleven อาจารย์แอ๋วบอกว่า ทำเหมือนพวกเรา ไม่ได้ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ วันสุดท้าย เตรียมตัวเดินทางกลับ ชมธุรกิจสปาของอาจารย์แอ๋ว หลังจากนั้นไปชมอาคาร GMP ของวังรีรีสอร์ท เข้าห้องประชุมใต้ดิน ทำพิธีอำลา โดยให้แต่ละกลุ่ม ออกไปกล่าวคำอำลา และพวกเราร่วมกันร้องเพลง อยากให้ความรักเพื่อคนทั้งโลก ฝ่ายอาจารย์ร้องเพลง คำสัญญา เดินทางกลับเวลา ๑๓.๑๕ น. ผู้ไปร่วมอบรมได้เปิดใจ ดังนี้ คุณประกายขวัญ ฝ่ายการตลาด บจ.พลังบุญ "ได้เห็นความแตกต่างของทุนนิยมและบุญนิยม ต้นทุน จะเหมือนกัน จะต่างกันตรง "กำไร" ผลิตภัณฑ์ของเรา ต้องการยืดอายุ แต่อาจารย์จะเน้น ความสวยงามของ Packing การผลิต เขามีสูตรที่มาตรฐาน (เป๊ะ เป๊ะ) เขาจึงอยู่ได้ ได้ชื่อกาแฟดีท็อกซ์ว่า "ชีวิน" จะนำความรู้ที่ได้ ไปพัฒนา มาตรฐานความโดดเด่น ในการจัดร้าน" คุณพาสิณี "มีความคาดหวังว่าการที่เรามารวมกันเราจะได้จุดเด่น หรือสินค้าเป็น "ภาพลักษณ์" อันเดียวกัน เป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อสู้กับสินค้าทุนนิยม เคยดูงาน ต่างประเทศ เรื่องผักปลอดสาร เขานำหน้าเราเยอะ อยากให้เรามีเครือข่ายเหนือ 7-Eleven" คุณใบลาน ตรวจสอบคุณภาพสินค้าของทุกชุมชน "ทำเกี่ยวกับการตลาดด้วย ประทับใจการบริหาร การประสานงาน ต่างจากเรา ลูกทุ่งมาก สินค้าของพวกเรา ทางการเขาต้องการให้สินค้าเรา เป็นสินค้า ๕ ดาว". |
รายงานความเป็นไป ของกสิกรรมไร้สารพิษ (ตอน ๔) ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๔๗ เดินทางไปวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เข้าพักในชุมชน ๑ คืน เช้าวันรุ่งขึ้นได้ประชุม ร่วมกับทีมงานบริหารของ คกร. และทีมงานบริหา รการผลิต/การตลาดของ วังน้ำเขียว ได้เยี่ยมชมแหล่งผลิต ตามสวนต่างๆ ที่เป็นลูกไล่ (เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมกับกลุ่มวังน้ำเขียว) ประเมินศักยภาพ ในการดำเนินการ แล้วจึงร่วมวางโควตา การผลิต กับกลุ่มวังน้ำเขียว ในตอนบ่ายได้เดินทางต่อไป ยังอำเภอคลองน้ำขาว และอำเภอวังม่วง ซึ่งเป็นกลุ่มกสิกร ที่ผ่านาการอบรม กับชุมชนของ พวกเรา ในเรื่องเกี่ยวกับการทำ กสิกรรม ไร้สารพิษ ประมาณ ๖-๗ ครอบครัว ซึ่งประเมินจากความพร้อม กลุ่มวังม่วงยังไม่พร้อม เพราะต้องระมัดระวัง กับปัญหาน้ำท่วม ในฤดูฝนนี้ ส่วนกลุ่มคลองน้ำขาว ก็กำหนดโควตาการผลิต ในเชิงพืชไร่เพื่อความเหมาะสม กับการขนส่ง เมื่อมีผลผลิตเป็นที่แน่ชัด ซึ่งจะมีการขนส่ง เฉพาะเมื่อมีผลผลิตเท่านั้น ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๗ เดินทางไปไร่ปลูกรัก จ.ราชบุรี เพื่อขอเข้าเยี่ยมชมและดูกระบวนการผลิต แต่ได้รับ การปฏิเสธ โดยทางไร่ปลูกรัก ให้เหตุผลว่า เป็นไร่ปิด และไม่ได้มีการ นัดหมายล่วงหน้า ทางทีมงานก็ได้ดำเนิน ทุกวิถีทาง ที่จะขอเข้าไปดูพื้นที่การเพาะปลูกให้ได้ แต่ก็ได้รับการยืนยันว่า ไม่สามารถให้เข้าพื้นที่ได้ จึงต้อง เดินทางกลับ และประชุมร่วมในทีมงาน ได้ข้อสรุปว่า หลังจากที่ร้านกู้ดินฟ้า ๑ ปิดตัวลง และเริ่มเปิดบ้าง เมื่อมีผักไร้สารพิษจริงๆ พืชผักผลไม้ทุกชนิด ที่สามารถนำมาขาย ภายในร้านได้นั้น จะต้องได้รับการตรวจสอบ โดยการลงพื้นที่จริง โดยทีมงานติดตามผลผลิตไร้สารพิษ ที่กำลังดำเนินงานกันอยู่ ดังนั้น จากที่เคยรับผัก จากไร่ ปลูกรักอยู่บ้าง ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่มาก จึงระงับการ รับผักจากไร่ปลูกรัก ตั้งแต่มีมติ หลังที่ประชุมกัน วันนั้น เป็นต้น ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เดินทางไปบ้านท่าตะแบก ต.วังหน้า อ.แกลง จ.ระยอง ไปเยี่ยมชมสวนของคุณธนกร /คุณศิริกุล ญาติธรรมกลุ่มรามฯ ซึ่งทีมงาน เคยได้พบปะกับ คุณธนกรในงานอโศกรำลึก ที่สันติอโศก ในสวน ประมาณ ๑๐ กว่าไร่ของคุณธนกร ปลูกทั้งทุเรียน ลองกองและมังคุด ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะมังคุด ทราบว่าผลผลิตออกปีละกว่า ๖ ตันและนำไปขาย ในตลาดทั่วไป ในราคาเดียวกับ ผลผลิตท้องตลาด และ ทราบถึงต้นทุน ที่แท้จริงว่า การทำผลไม้ไร้สารพิษ สามารถขายในราคาต่ำกว่าท้องตลาดได้ (มังคุดที่นี่ ขายส่ง ๑๐-๑๓ บาท และกล้ารับประกัน คุณภาพทุกลูก เพราะมีวิธีการ เก็บเกี่ยว อย่างประณีต) จากนั้น ไปพบ กับป้าซ่อนกลิ่น ซึ่งเป็นญาติกับคุณธนกร และป้าซ่อนกลิ่น ปลูกแก้วมังกรไร้สารพิษ ประมาณ ๒-๓ ไร่ สอบถาม ได้ความว่า ยังใช้ปุ๋ย ซุปเปอร์เทอร์โบ ถึงจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์แต่ราคา ก็ยังแพงอยู่ เมื่อเทียบราคากับปุ๋ย ของพวกเรา ตามที่ชุมชนต่างๆ ผลิตกันขึ้นมา และยังไม่มั่นใจ ในเรื่องคุณภาพด้วย ทางทีมงาน จึงแนะนำ ให้หันกลับมาใช้ปุ๋ย ของชุมชนด้วยเหตุผล เรื่องราคาที่ถูกกว่า และคุณภาพและสารปนเปื้อนในปุ๋ย ซึ่งก็ได้รับ ความเห็นดีด้วย จากป้าซ่อนกลิ่น ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เดินทางไปคลอง ๑๓ จ.ปทุมธานี เป็นสวนส้มเก่า เนื้อที่กว่า ๑๘๐ ไร่ ซึ่งดูแลโดย คุณ... ก่อนหน้านี้ในที่ประชุม ตลาดนัด ไร้สารพิษ คุณ...ได้แจ้งในที่ประชุมว่า ได้ปลูกผักบุ้งไว้ เป็นปริมาณมาก แต่เมื่อไปถึงสวน ไม่เป็นอย่างที่พูดไว้ ซึ่งทางเราได้กำชับว่า ในที่ประชุมอย่าพูดอะไร เกินความจริง ต่อจากนั้น ก็ไปแวะบ้านคุณจินดา ที่คลอง ๑๓ ใกล้กับสวนที่ คุณ...ดูแลอยู่ ซึ่งเป็นผู้มอบที่ดินส่วน ที่ติดกับที่บ้านของ คุณจินดา ให้กับทางอโศก จำนวน ๕๐ ไร่ คุณจินดา ให้เก็บผักบริเวณรอบๆบ้าน มาทำบุญที่วัด. (อ่านต่อฉบับหน้า) |
สัมภาษณ์ สมณะเดินดิน ติกขวีโร ข้อคิดจากงานมหาปวารณาที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ กับวาระครบรอบ ๗๒ ปีของพ่อท่านในปี ๒๕๔๘ ที่กำลัง จะมาถึง ลูกๆจะเตรียมตัวกันอย่างไรบ้าง และข้อคิดของฝาก สำหรับอโศกพันธุ์แท้ทุกท่าน ขอเชิญพบ คำให้สัมภาษณ์ของ สมณะเดินดิน ติกขวีโร ได้แล้วค่ะ * ท่านได้ข้อคิดอะไรในงานมหาปวารณาที่ผ่านมาบ้างคะ? - ๑. ปีนี้พ่อท่านให้โศลกสำคัญมาก น่าจะถือว่าเป็นกรรมฐานของชาวอโศกทุกๆคนที่จะต้องคำนึงถึง การมุ่ง ศึกษา ลดละกิเลสเป็นหลัก ไม่พุ่งไม่เพ่งเล็งกล้า ความก้าวหน้า ของการงาน หรือไปเพ่งเล็งกล้าเรื่องรายได้ เงินตรา พ่อท่านเตือนแม้แต่สมณะว่าเราจะต้องไม่ลืม...ลืมตัวเราเอง ลืมคนของเราเอง การที่มีคนมายอมรับ ก็จะทำให้เราลืมคน ลืมการพัฒนาจิตวิญญาณ พ่อท่านย้ำว่าเราจะต้องคำนึงถึงฐานะความจริง ของตัวบุคคล ให้มาก มิเช่นนั้น จะขาดสนามแม่เหล็ก แห่งวัฒนธรรม ถ้าองค์ประกอบของคน ของตัวบุคคลไม่มากพอนี่ มันก็ไม่มีผลในการที่จะทำให้เกิด สนามแม่เหล็กแห่งวัฒนธรรม ที่จะพัฒนาจิตวิญญาณของคนให้ดีขึ้น พ่อท่านให้เราคำนึงถึงตัวเราและกลุ่มของเราว่า เราเป็นกลุ่มคนที่สวนกระแส ซึ่งจะมีคนมากนั้นเป็นไปไม่ได้ ข้อที่สองก็คือ เราพึ่งเกิดใหม่ ยังไม่ได้นาน พึ่งเริ่มต้น เท่านั้นเอง และข้อที่สามก็คือคนของเรา ก็น้อย การจะเพิ่ม ขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น เราต้องประเมินให้ถูกว่า เราเป็นเพียงแค่มดเล็กๆ อย่าคิดอาสาจะไปขนท่อนซุง ๒. ปีนี้เป็นปีเฉลิมฉลองของปฐมอโศก ถือว่าเป็น ๑๒ ปีของโรงเรียนสัมมาสิกขา ครบรอบ ๒๐ ปีของชุมชน ปฐมอโศก และครบรอบ ๒๔ ปี (๒ นักกษัตร) ของพุทธสถาน ปฐมอโศก แต่สภาพของปฐมอโศกก็เหมือนที่อื่นๆ คือเราทำงานหนักกันมาตลอด พอถึงเหตุการณ์วันงานจริงๆ เราก็เตรียมทำอะไรกันไม่ทัน แม้แต่จัดนิทรรศการ หรือแผ่นพับ ใกล้งานแล้วก็ยังไม่เสร็จกันเลย ตรงนี้เราคงจะต้องคิดกันแล้วว่า วาระเฉลิมฉลองนี่ ถ้าพี่น้อง ของเรา จะไปช่วยกันได้ เพื่อเป็นการสลาย ตัวตนของเรา เพราะว่าปฐมอโศกก็ดี สันติอโศกก็ดี หรือ ราชธานีอโศก ก็ดี ก็เป็นสมบัติของเราทั้งหมด ของชาวอโศก ถ้าเราไปช่วยเพิ่มเติมสีสัน ให้กับพี่น้องของเราได้ ก็จะดีมาก และที่สำคัญก็คือ การเฉลิมฉลองเราไม่น่าจะเน้นเรื่องรูปแบบเท่าไหร่ เช่นต้องไปเน้นทำ นิทรรศการ เป็นหลัก ทำใบแผ่นพับเป็นหลัก แต่ว่าเนื้อหาสาระ ของการพัฒนาชุมชนให้มี ๕ ส. การพัฒนาความอบอุ่น ภายในชุมชน การต้อนรับ ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ส่วนนี้น่าจะเป็น เนื้อหาสำคัญ ที่ชุมชนต่างๆ ถ้าครบรอบน่าจะเน้นตรงนี้เป็นเนื้อหาหลัก ให้ได้เตรียมตัว เตรียมใจกันไว้แต่เนิ่นๆ ๓. ปีนี้ได้เห็นระบบของสาธารณโภคีได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะเราได้มาช่วยกันระดมสมองที่จะต้องจัดเตรียม งานปีใหม่ ซึ่งปีนี้ขาใหญ่ๆที่เป็นญาติธรรม ไม่สามารถ มาสนับสนุน ตลาดอาริยะได้ บางกลุ่มเคยขายพลาสติก ขาดทุนเป็นแสนๆ แต่ปีนี้มีกำลังเพียงแค่ จะมาขายส้มตำ เท่านั้นเอง ในการแก้ปัญหาตรงนี้ เราได้มา ระดม สมอง กันว่า คงต้องมาลงขันร่วมกัน ใครมีแรงเอาแรงมาร่วมกัน ใครมีสมองก็เอาสมองมาร่วมกัน ใครมีเงิน ก็เอาเงินมาร่วมกัน เป็นสาธารณโภคี ไม่ต้องไปกำหนด แบ่งแยกกันว่า เป็นสันติอโศก เป็นราชธานีอโศก อีกต่อไป อาหารก็รวมกันขาย ชาวบ้านชอบกินส้มตำ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ก็ช่วยกันทำ ให้มากเพียงพอ ให้อิ่มหนำ สำราญ หรือของใช้ปัจจัยสี่ที่จำเป็น เป็นต้นว่า น้ำมันพืช น้ำตาล เครื่องครัว เสื้อผ้า ก็รวมทุนกันไปซื้อ แล้วก็มา ช่วยกัน แบ่งขาย ที่ผ่านๆมา เป็นปัญหาตรงที่ว่า พอแบ่งว่ากลุ่มนั้นกลุ่มนี้ มันก็จะทำให้ต้องแย่งของ แย่งวัสดุ ที่จะมาจัดร้าน แย่งอุปกรณ์ต่างๆ แย่งเด็กนักเรียน เพิ่มความเหน็ดเหนื่อย ให้กับพวกเรา อยู่พอสมควร แต่เมื่อ พวกเราแต่ละคน สลายตัวตนมาผนึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ปัญหาที่คิดว่าใหญ่ รู้สึกว่ามันเล็ก ลงไป ได้ทันที ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เกิดจากการที่เรา ลดอัตตา ลดความสำคัญของแต่ละคนลงมา ถือได้ว่าเป็นนิมิตร หมายที่ดี ของงานปีใหม่ ที่เราจะได้ประกาศธรรมานุภาพ ของบุญญาวุธหมายเลข ๒ ประกาศ ระบบ สาธารณโภคีของพระพุทธเจ้า ให้สมบูรณ์ชัดเด่นขึ้นมา เป็นงานสอบไล่ใหญ่ ของชาวอโศก ที่จะได้เสียสละ ช่วยเหลือ สังคม โดยตัวเอง ก็ได้ลดละตัวตน ได้สร้างกุศลโลกุตระ ให้เป็นทรัพย์แท้ กับชีวิตของเราด้วย
- จะเป็นสิ่งที่ดีมากเลย หากพ่อท่านไปที่ชุมชนไหนๆของชาวอโศก พวกเราก็มีความสามัคคี มีความรักกัน มีสาราณียธรรม ๗ อย่างดี แต่ทุกวันนี้ จะมีปัญหา ที่เป็นเสมือนทางตันของแต่ละแห่งๆ เกิดจากแต่ละคน ให้ความสำคัญ แก่ตัวเอง โดยไม่เห็นองค์รวม เห็นระบบเป็นใหญ่ ถ้าเปรียบเทียบ ร่างกายของเรา ตาก็เรียกร้อง ความสำคัญ หูก็เรียกร้องความสำคัญ ปากก็เรียกร้องความสำคัญ ปากก็อยากจะกินไป โดยที่ไม่รู้ว่ากระเพาะ จะรับได้หรือไม่ได้ ตาก็อยากจะดูข่าว ดูหนังสือพิมพ์ โดยไม่คิดว่า ร่างกายมันควรจะพักผ่อนหรือไม่ หูก็อยาก จะฟังเรื่องราวต่างๆ นานา โดยที่ใจ ก็ฟุ้งซ่าน เยอะแยะแล้ว มันก็จะทำให้ร่างกาย ทรุดฮวบไปทันที เพราะแต่ละคน ไม่ได้ลดความสำคัญ ของตัวเองลง ดังนั้นอยากจะเสนอว่า การเฉลิมฉลอง ๗๒ ปี เรามาพลีชีพอันยิ่งใหญ่ด้วยการลดละอัตตา ละความสำคัญ ของตัวเองลงกันดีไหม โดยพยายามที่จะเพ่งมองตัวเอง รีบทำนา ของตัวเองก่อน รีบแก้ไขกิเลสของตัวเองก่อน (๑) แล้วสามารถที่จะเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน รับฟังคนอื่น ให้ผู้อื่นเขาตำหนิติเตียนได้ (๒) บอกกล่าวได้ เป็นข้อ ที่สอง ถ้าเราสามารถเห็นได้ว่า คำตำหนิติเตียนนี่แหละมันทำให้เราเล็กลงน้อยลง ทำให้จิตของเรา เป็นโลกุตระ แต่ละคนอัตตา ก็จะลดลงได้ และเราพยายาม ที่จะเป็นผู้รับใช้ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่สำคัญ ก็คือว่า จะเป็น ผู้รับใช้ให้มาก มากกว่าจะเป็นผู้จัดการ (๓) คนสามารถทำตัวให้เล็กน้อยลง เป็นผู้รับใช้ ได้มากเท่าไร จิตก็จะมี ความทุกข์น้อยเท่านั้น แต่ถ้าคนวางฟอร์ม วางตัวตนเป็นผู้จัดการ เป็นผู้บริหารยิ่งใหญ่ เท่าไร ก็จะหัวระเบิด ทุกข์มากเท่านั้น และที่สำคัญก็คือว่า พยายามให้ความสำคัญกับหมู่ โดย ลดความสำคัญ ของกูลง และ ข้อสุดท้าย ก็คือ ทำอย่างไรเราจะเพ่งเล็งกล้า ในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ของเราให้มาก (๔) ไม่ไปเพ่งเล็งกล้า แต่หอม กระเทียม หรือว่ากิจการ การงานอย่างเดียว ซึ่งตรงนี้มันจะเป็นเรื่องที่เราจะต้อง ไม่ติดแป้น เพื่อจะเป็นเทพเจ้านิกายใด นิกายหนึ่ง พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ว่า เป็นองค์ประกอบของ เมถุนสังโยค ยังไม่สามารถทำให้ชีวิตของเรา พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสได้ องค์ประกอบทั้งสี่นี้ น่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้เราได้พลีชีพแห่งอัตตามานะแห่ง กิเลสทั้งหลายลงได้ น่าจะเป็นงาน เฉลิมฉลอง อันยิ่งใหญ่ของชาวอโศก ในโอกาส พ่อท่าน จะครบรอบ ๗๒ ปีในเดือนมิถุนายนปี ๒๕๔๘ เร็วๆ นี้
- ในงานมหาปวารณาที่ผ่านมา พ่อท่าน บอกว่า อายุของท่าน ๗๐ แล้ว แต่ท่านยังสงสัยอยู่เลยว่าท่านไม่น่า จะถึง ๗๐ นะ เพราะรู้สึกว่า จิตใจของท่าน ร่างกายของท่าน ก็ยังหนุ่มกระชุ่มกระชวย อาตมาเคยไปบิณฑบาต กับท่าน คนสูงอายุอายุ ๗๐ ปี เหมือนพ่อท่าน แต่เวลาจะลุกขึ้นใส่บาตร ก็ต้องมีคนคอยพยุงขึ้น แต่ของพ่อท่าน ยังเดินปร๋ออยู่เลย ท่านก็เลยเน้นว่า ในบรรดา ๗ อ. อ.อารมณ์ หรือจิตใจเป็นประธานของ สิ่งทั้งปวงเลย โดยที่ อ.อื่นๆ ของพ่อท่าน ท่านไม่ค่อย มีเวลาทำเท่าไร ออกกำลังกาย ก็ไม่ค่อยได้ทำ อิริยาบถก็นั่งพิมพ์อยู่กับ คอมพิวเตอร์ ทั้งวัน เอนกายก็ไม่ค่อยได้พัก เอาพิษออกหรือดีท๊อกซ์ทุกวันนี้ ก็นานๆ ทำที แต่ในวัย ๗๐ ปีของพ่อท่าน พวกเราซึ่งเป็นคนหนุ่มๆ อายุ ๔๐-๕๐ ยังเดินตามพ่อท่านแทบไม่ทัน พ่อท่านก็ติง พวกเราในงานนี้เหมือนกันว่า เราเน้นชาวบ้าน เรื่อง ๗ อ. แต่ว่าพวกเราเอง ทำไมถึงป่วยกันเยอะ ยังเป็นตัวอย่าง ไม่ได้ อยากจะฝากพวกเราว่า ทุกวันนี้เราก็ได้ให้ความสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น แต่ว่าตัวอย่างในการรักษา สุขภาพที่ดี อย่างพ่อท่าน ที่ท่านทำอารมณ์ของท่าน ให้ดีอย่างมากเป็นหลัก เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง สุขภาพ ที่แข็งแรง ในฐานะที่เคยอยู่ใกล้ชิด กับพ่อท่าน ก็สังเกตอย่างหนึ่งว่า พ่อท่านเป็นผู้ที่มี ฉลาดในอารมณ์ หรือว่าเป็น ผู้มีอีคิว มีอารมณ์ดี มีหลายสาเหตุด้วยกัน ๑. มากด้วยอนุโมทนา ใครทำดีเล็กๆน้อยๆ เป็นกุศลเล็กๆน้อยๆท่านจะยินดี มีอารมณ์ดี มีอนุโมทนากับเขา อย่างมากทีเดียว ๒. มากด้วยเมตตา ท่านมีจิตที่พร้อมจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือคนทุกคน ไม่ว่าคนดี คนเพี้ยน พ่อท่านมีจิต ขวนขวาย ในงานเล็กงานน้อย คนที่ทำหน้าที่เป็นปัจฉาฯ รู้ดีว่า จะต้องพยายาม ช่วยกันตัดรอบเพราะ... มหาบุรุษ นั้น ย่อมมีอัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา ท่านมากด้วยเมตตา ก็ทำให้พลังจิตอิทธิบาทของท่าน ค่อนข้างจะสูง ทำอะไร โดยที่มิรู้เหน็ดมิรู้เหนื่อย ๓. มากด้วยการไม่ยึดในอัตตา ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นท่านเอาประโยชน์มาใช้ ได้หมด แม้ไม่เป็นอย่างที่ท่านคิด หมู่กลุ่มเอาอย่างไร ท่านก็พร้อมที่จะเอาตามหมู่กลุ่ม รู้สึกว่า ท่านได้ประโยชน์ทุกสถานการณ์ เห็น ประโยชน์ ทุกสถานการณ์ ไม่มีอัตตาที่จะไปยึดกำหนดอะไร จิตจึงมีความยินดีได้มาก ๔. มากด้วยวิมุติ ตรงนี้พวกเราที่อยู่ใกล้ก็จะเห็นได้ว่า พลังจริงๆของท่านก็คือพลังของวิมุติ ที่แม้จะมีผัสสะ อะไรที่เกิดขึ้น ก็จะเห็นได้ว่า ท่านไม่ได้มีอารมณ์หงุดหงิด รำคาญ พร้อมที่จะตื่นได้ทุกขณะ พร้อมที่จะหลับได้ ภายในหนึ่งนาที แม้จะมีเรื่องราวยุ่งยากวุ่นวายอะไ รต่างๆเข้ามา ถ้าเป็นคนธรรมดานี่ คิดว่าหัวระเบิดแล้วล่ะ เพราะมีเรื่อง มีข้อขัดข้อง มีปัญหาต่างๆเข้ามาหา พ่อท่านอยู่ทั้งวัน ในขณะที่ท่านต้องเขียนหนังสือที่ลึกๆ ยากๆไปพร้อมๆกันทั้งวัน แต่ขณะเดียวกัน เรื่องที่เข้ามา ก็เป็นร้อยๆเรื่อง แต่พ่อท่านก็เปิดเผยใจ ให้พวกเรา ได้ทราบว่า ท่านเองไม่มีความรำคาญใจแต่อย่างใด แม้เรื่องราวต่างๆที่หนักๆ เพราะว่าเรื่องที่เข้าหาพ่อท่าน ก็เป็นเรื่องที่เรา แก้กันไม่ได้แล้วต้องเข้ามาให้ท่านต้องแก้ให้ ท่านก็บอกว่า แม้จะมีเรื่องเข้ามาเป็นร้อยๆเรื่อง ในขณะที่ต้องเร่งเขียนหนังสือ ท่านเอง ก็ไม่ได้รู้สึกว่า มีความรำคาญใจอะไร มีแต่ความปีติยินดีเบิกบาน ซึ่งตรงนี้ก็ยากที่คนธรรมดา จะทำได้ มันเป็นพลังวิมุติ ของพ่อท่านเท่านั้น อ.อารมณ์ดี ก็รู้สึกว่า อ.อื่นๆก็คงจะยังเป็นรองทีเดียว แต่อย่างไรก็ดีพวกเราเองบารมีไม่มากอย่างนั้น ก็คงต้อง ให้ความสำคัญกับ อ.อื่นๆด้วย เพื่อที่เรา จะได้ร่วมงาน เฉลิมฉลอง ๗๒ ปีของพ่อท่าน ด้วยความที่มีสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ที่แข็งแรงไปด้วยกัน หากว่าการปฏิบัติธรรมของเราดำเนินไปตามสัมมาอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามลำดับอย่างไม่ขาดตก บกพร่อง เพ่งเล่งกล้า ในอธิศีล อธิจิต เคร่งครัดที่ตน ผ่อนปรนผู้อื่น อยู่ตลอดเวลา สุขภาพกายและสุขภาพจิตของเรา จะสมบูรณ์ไปพร้อมๆกันแน่นอน ...ความผิดพลาดที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียน วินาทีต่อแต่นี้ไป มาร่วมกันปฏิบัติบูชาเพื่อถวายเป็นสักการะบูชา ในวาระที่พ่อท่าน มีอายุครบ ๗๒ ปี กันดีไหม. |
สวนส่างฝัน
พลิกฟื้นวัฒนธรรมลงแขกเกี่ยวข้าว ศูนย์ฝึกอบรมคุณธรรมกสิกรรมไร้สารพิษ สวนส่างฝัน จัดงานพลิกฟื้นวัฒนธรรมลงแขกเกี่ยวข้าวในวันที่ ๑๒ พ.ย.๔๗ ซึ่งมีนายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดอำนาจเจริญให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี พร้อม ข้าราชการหลายหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรท้องถิ่น เช่น นพ.ชัยพร ทองประเสริฐ นายก อบจ.อำนาจเจริญ, นายศักดิ์ชัย ตั้งตระกูลวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองอำนาจเจริญ พร้อมกับนายกเทศมนตรีตำบลหัวตะพาน, นายกเทศมนตรีตำบลเสนางคนิคม, นายเถลิงศักดิ์ บุญชิต นายอำเภอเมือง จ. อำนาจเจริญ ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส. จังหวัดอำนาจเจริญ (นายประกิต มีนาเขต) ผู้จัดการ ธ.ก.ส.อ.เมือง, อ.ลือ ผู้จัดการธนาคารออมสิน, และเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. หน่วยงานราชการ โดยท่านผู้ว่าราชการเชิญมาร่วมด้วยตัวท่านเอง วันลงแขก ตรงกับงาน อบรม โครงการเตรียมความพร้อมเกษตรกรพันธุ์ใหม่ ของจังหวัดอำนาจเจริญ (วันที่ ๑๑-๑๕ พ.ย. ๒๕๔๗) มีผู้อบรมร่วมลงทะเบียนอบรม ๑๐๑ คน และสมาชิกโรงเรียนชาวนา ทั้ง ๑๕ แห่ง ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมด้วย พระมหาณรงค์ จากวัดบ้านลาดคำ พี่เลี้ยงจากบ้านราชฯเมืองเรือ นำโดยคุณดาวพร ชาวหินฟ้า พร้อมทีมงาน ถ่ายทำวีดีโอ และการให้กำลังใจจากท่านสมณะหินแก่น และสมณะแก่นเกล้า นักเรียนจากโรงเรียน บ้านเชียงเพ็ง ๒๐ ชีวิตและผู้ใหญ่ การจัดงาน ครั้งนี้ กลุ่มสวนส่างฝันเห็นว่า... วันนี้ชาวนา รับภาระหนักมาก ตั้งแต่การซื้อสารเคมี ปุ๋ย ค่าแรงดำนา-เกี่ยวข้าว ถ้าพลิกฟื้นวัฒนธรรม ลงแขก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงาม ที่ช่วยเกื้อกูลสังคมอิสาน ให้ลดต้นทุน ยังความเป็นพี่ เป็นน้อง "พริกบ้านเหนือ เกลือบ้านใต้" เพิ่มความอบอุ่น ให้กับสังคม แปลงนาที่เกี่ยวก็เป็นนาบุญที่ทำโดยใช้ปุ๋ยหมักและจุลินทรีย์ชีวภาพ ทำให้ผลผลิตสูงเมล็ดข้าว หอมนุ่มขึ้น ปีนี้แม้น้ำจะท่วมฝนแล้งตอนปลาย ผลผลิตจึงต่ำลงบ้าง ข้าวเหนียวได้ผลผลิต ๑,๑๐๐ กก./ไร่ ข้าวหอมมะลิแดง ๗๐๐ กก. /ไร่ ข้าวหอมมะลิพื้นเมือง ๖๐๐ กก./ไร่ ต้นข้าวสูงท่วมหัวคนเกี่ยว ทำให้ทุกคน ที่ร่วมเกี่ยวข้าวยินดีและพอใจในผลผลิต หลายคนบอกว่า "ถ้าได้ต้นข้าวอย่างนี้ ผลผลิตอย่างนี้ จะไปนาทุกวัน" บางคนบอกว่า "กลับไปบ้านเกี่ยวข้าวเสร็จจะรีบทำปุ๋ยให้มากๆ ปีหน้าจะปลูกข้าวให้ทันสวนส่างฝัน" ท่านผู้ว่า และท่านนายอำเภอ เกี่ยวไปก็ออกปากว่า "ข้าวหนักมือมากเลย" ก่อนเปิดการพลิกฟื้นวัฒนธรรมลงแขก ท่านผู้ว่าฯกล่าวเปิด ว่า "วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก ผลผลิตต่ำ ใช้สารเคมี มากขึ้น ยิ่งใช้มากผลผลิตยิ่งต่ำราคาก็ต่ำลง เราต้องเปลี่ยนแปลง การทำการเกษตรกันใหม่ วันก่อนเราทำแบบ ปู่ย่าตายายพาทำ เป็นการทำเพื่ออยู่เพื่อกิน วันนี้เราทำเพื่อขาย ชีวิตเราจึงเปลี่ยน อย่างในหลวง ท่านว่า...เราทำ เกษตรการค้า ต้องแข่งขัน ปีที่แล้วเราขายข้าวได้ ๗ ล้านกว่าตัน ปีนี้คาดว่าจะขายได้ ๑๐ ล้านกว่าตัน แต่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับซื้อน้ำมัน ซื้อสารเคมี วันนี้ผลผลิตต่ำ เวลาขายแล้วแต่พ่อค้า วันนี้เวียดนาม คือคู่แข่งของเรา ต้นทุนต่ำกว่า ดินดีกว่า สารเคมีน้อยกว่า ราคาเราสูงกว่า เราแข่งขันไม่ได้ ถ้าเราเป็นคนซื้อ เราก็คงซื้อของ ที่ถูกกว่า ข้าวชนิดเดียวกัน คุณภาพใกล้เคียงกัน เราซื้อของที่ถูกกว่า วันนี้เราต้องปรับ ทำอย่างไรเราจะปรับ วิธีผลิตให้สูงขึ้น วันนี้ผลผลิตเรายังต่ำ ผลผลิต ข้าวหอมมะลิ ๓๘๐ กก./ไร่สูงสุด ต้นทุนก็สูง และยังจ้างแรงงาน การลงแขกหมดไป เราไม่รู้ถึงผลเสีย เช่นการเผาฟาง ทำให้ดินร้อนดินแข็ง เสียปุ๋ย วันนี้ให้เรา รณรงค์ไถกลบ ปลูกปุ๋ยพืชสด จะทำให้ดินดีขึ้นเราต้องทำต่อไป การใช้ปุ๋ยเคมีทำให้เกิดโรคภัยหลายอย่าง เช่น โรคทางเดิน หายใจ เมื่อก่อนวิถีชีวิตเรา หาอาหารตามท้องไร่ ท้องนาได้ วันนี้เริ่มหมดไป น้ำแห้งอาหารก็ลดลง เราผลิตเราซื้อ ทุกอย่าง วันนี้เราน่าจะปลูกอาหารรอบบ้านอย่างที่ท่านปฏิบัติกรรายงาน เดินออกจากบ้าน มีของกิน และ ไร้สารพิษด้วย ไม่ต้องเสี่ยงขี่มอเตอร์ไซค์ไปซื้อของในตลาด ถ้าเราเดิน เข้าสวนมีอาหาร ลดค่าใช้จ่าย ซึ่งน้ำมัน ขึ้นอย่างอื่นขึ้นตาม น้ำมันคงขึ้น หลังเดือน มีนาคม ประมาณ ๕-๖ บาท กองทุนน้ำมันเริ่มหมดแล้ว เตรียม สถานการณ์ด้วย ถ้าเราหันมาทำตามแนวพระราชดำรัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา สวนส่างฝัน มีที่ ๖ ไร่อยู่ได้สบายๆ กำนันดอนเมย ทำนาได้ปีละหกหมื่นบาท วันนี้แบ่งที่ทำสวน ๑๕ ไร่ รายได้เพิ่มขึ้นเป็น ๒-๓ แสน บาท/ปี ตะไคร้กอละ ๑๐๐ บาท ในหลวงบอกอย่ามุ่งทำเพื่อการค้าเลย ทำกินก่อน มะละกอ มะนาว จะกินส้มตำต้องซื้อหมด ผมชื่นชม ท่านที่มาอบรม วันนี้ท่านได้ องค์ความรู้ เพื่อไปทำมาหากิน และผมกำลัง รณรงค์ ลด ละ เลิกอบายมุข ด้วย ผมเคยซื้อลอตเตอรี่ ตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ แต่ไม่เคยถูก วันนี้เลิกแล้ว มีเงินเก็บให้ลูกด้วย โอกาสถูก ๑ ใน ๖ ล้าน อีกอย่างการจัดงานแบบฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เช่น งานบวช งานศพ งานแต่งงาน แต่งงานเสร็จเป็นหนี้ จะจู๋จี้กับเมีย ก็ไม่มีความสุข ต้องห่วงเรื่องใช้หนี้ เราทำแข่งกันเอาหน้า แต่ตามด้วยหนี้สิน วันนี้เราต้องเปลี่ยนความคิด ทำอย่างไร จะมีความสุข โดยไม่เดือดร้อน การแก้ปัญหา ความยากจน รัฐบาลทำคนเดียวไม่ได้ ท่านต้องช่วยด้วย ผมเป็นลูกชาวนา จบป.๔ เข้ากรุงเรียนหนังสือ เคยเรียนรู้การเลี้ยงควาย การทำไร่นาบ้าง วันนี้เราน่าจะกลับ และเปลี่ยนแนวคิด ได้ทำอย่างอื่นอีกมากมาย หลังจากกล่าวเปิดงานเสร็จ ขบวนประมาณ ๒๐๐ คน ร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวพันธุ์ "เล้าแตก" เป็นที่สนุกสนาน ครึกครื้น เป็นพิเศษ มี สทท.๑๑ มาถ่ายทำข่าว ท่าน ผอ.ธ.ก.ส. และผู้จัดการ ธ.ก.ส. เผยความในใจ เป็นการ เกี่ยวข้าว ครั้งแรกนะ หลายท่าน ยังไม่คุ้นกับการเกี่ยวข้าว แต่สีหน้าบ่งบอกถึง ความประทับใจ ประทับใจ การรวมแรง การรวมพลัง การลงแขกเกี่ยวข้าววันนี้ ท่านผู้ว่าร่วมเกี่ยวข้าวอยู่เกือบ ๑ ชั่วโมง แม้หลายท่าน จะไม่เคยเกี่ยวข้าว แต่ก็มีประกายแห่งความยินดี บางท่านเกี่ยวข้าว เอารวงข้าวมาข้างหลัง เอาลำต้นข้าว ไปข้างหน้า แล้วคนที่เกี่ยวเป็น ก็มาช่วยบอกกัน สอนกัน บรรยากาศ สนุกสนาน ครึกครื้น มีเสียงหัวเราะ เป็นระยะๆ สลับกับเสียงไต่ถาม เกี่ยวอย่างไร อย่างนี้ใช่ไหม เกี่ยวเสร็จ วางอย่างไร อย่างนี้ใช่ไหม ยังความ เป็นกันเอง เป็นพี่เป็นน้อง ลืมยศ ตำแหน่ง กันไปชั่วขณะ เพราะทุกคนคือ "ชาวนา" และกำลังเกี่ยวข้าว จากนั้นท่านผู้ว่าฯกล่าว เปิดใจหลังเกี่ยวข้าวว่า "สนุกดีครับ คิดถึงวัยเยาว์ ถ้าเกี่ยวข้าวคนเดียวหรือ ๒ คน สามีภรรยา คงเหนื่อย หลายคนคงเหน็ดเหนื่อย เป็นโอกาสดีครับ ที่ได้ทำบุญร่วมกัน เป็นมิตรกัน รุ่นที่ ๑๐๕ เกี่ยวข้าวมะลิ ๑๐๕ ท่านนายก อบจ. ท่านเรียนแพทย์มา ๖ ปี ท่านยังเกี่ยวข้าวได้ คิดจะช่วยเหลือชาวนา ต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกๆท่าน นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ" หลังจากนั้นท่านผู้ว่าฯ และคณะทั้งหมดก็เดินทางไปประชุมด่วนที่ศาลาว่าการ จังหวัดเรื่อง "การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยแล้ง" นายอำเภอเมือง นายเถลิงศักดิ์ บุญชิต สนใจเรื่องสวน ๓ ไร่ จะขอมาอบรมที่สวนส่างฝัน ทางสวนบอกว่า มิกล้า มิบังอาจ ให้ความรู้ท่านหรอก แต่ท่านบอกว่า "จะมาจริงๆนะ จะทำสวน ๔ ไร่ให้เป็นตัวอย่าง ให้ประชาชน ดูว่า ๔ ไร่ก็พอกินไม่ต้องทำมาก" สมณะหินแก่น นมวังโส "เป็นความลงตัว เป็นสิ่งที่ดีที่หลายฝ่ายมารู้มาเห็น และมาร่วมมือกันทำสิ่งที่ดี ให้สังคม" หลวงพ่อน้อย เสฐมัคโค วัดป่าสวนธรรมร่วมใจ "เป็นบรรยากาศที่ดี ที่พ่อเมือง ข้าราชการ เอกชน พ่อค้า ชาวนา มาร่วมกัน ทำกิจกรรมที่สร้างสรร เพื่อคนจะได้ลด การใช้สารพิษลง สมณะแก่นเกล้า "ประทับใจประเพณีการลงแขกที่มีคนมาเป็นหลายร้อยคน คิดถึงประเพณีเก่าๆ ประทับใจ มาก ที่คนหลากหลายมาช่วยงานกัน ถ้ามาช่วยกันแบบนี้งานก็จะเบา งานก็จะเสร็จเร็ว อยากให้ประเพณีนี้อยู่กับสังคมไทยนานๆ ถ้าเมืองไทย ทำกันอย่างนี้ ประเทศชาติคงไปรอด ช่วยลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องไปจ้างกัน ก็ประทับใจ มาก มีทั้งผู้สื่อข่าว ทหาร เจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน เกษตรกร มาช่วยกันในวันนี้" นายแสวง มลศิลป์ อ.ป่าติ้ว อ.เมือง จ.ยโสธร โรงเรียนชาวนากลุ่มโรงเรียนชุมชนบ้านเชียงเพ็ง "ได้พาคณะ อาจารย์ ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน ๓๐ ชีวิต มาร่วมในการลงแขกครั้งนี้ เห็นต้นข้าวแล้ว กอข้าวใหญ่ รวงใหญ่ หนักมือ บรรยากาศการลงแขกดีมาก ชื่นชมในความร่วมมือร วมพลังในการทำงาน ได้ความสนิทสนม กันมากขึ้น ได้เห็นหน่วยงานราชการ ผู้ว่าฯ นายอำเภอ ฯลฯ หน่วยงานต่างๆมาร่วม ภาพอย่างนี้หาที่ไหน ไม่ได้ง่ายๆ ผู้ว่าฯให้ความสำคัญ กับชาวไร่ชาวนา ดีใจแทนคนอำนาจเจริญ ที่มีผู้ว่าราชการดีๆ อย่างนี้" นายทองเลื่อน ขันติจิตร โรงเรียนชาวนา บ้านโนนค้อทุ่ง อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ "ประทับใจ ที่มีโอกาส ได้มาเห็น ต้นข้าวงาม รวงข้าวก็หนัก ไร่ละหนึ่งตัน คิดว่า สมควรจะได้ ข้าวเหนียวยังงามสู้ข้าวจ้าว ที่อยู่แปลง ข้างๆ ไม่ได้นะ บรรยากาศการลงแขก ก็อบอุ่น" นางสวัสดิ์ กมลฤกษ์ โรงเรียนชาวนา กลุ่มหนองแก้วสร้างสรร อ.หัวตะพาน "รู้สึกดีใจมากที่ได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยกัน มีการสนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน ถ้าในสังคมชุมชนทำได้อย่างนี้ ดีจริงๆ มีความพร้อมเพียงกัน สามัคคีกัน สังคมไทยคงไปรอดแน่" นางบางรัก โฮมทอง โรงเรียนชาวนาบ้านคึมชาด อ.เสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ "ประทับใจที่มีการร่วมมือ ยินดี พร้อมเพรียงกันทำและพร้อมเลิก ได้เห็นความแตกต่าง ของต้นข้าวที่ไม่ใช้สารเคมี กับใช้ปุ๋ยเคมี จะเมล็ดลีบเยอะ ต้นข้าว ไม่ค่อยสมบูรณ์ แต่ข้าวก็งามแข็งแรง และที่ประทับใจมากก็คือ ได้สนุกสนานเฮฮา กับกลุ่มสมาชิกชาวนา เหมือนๆกัน" ป้าดินงาม นาวาบุญนิยม "รู้สึกว่าสวนส่างฝันแปลกตาขึ้นเยอะ ไม่ได้มาเยี่ยมนานแล้ว มีความหนาแน่นด้วย พืชพันธ์ ธัญญาหาร เห็นการทำงาน ของหมู่กลุ่ม ในชุมชนเล็กๆ โดยเฉพาะได้เห็นการทำงานของทีมผู้ชาย ที่ทำงานกันง่ายๆ แต่มั่นคงและเข้มแข็งประทับใจข้าว "เล้าแตก" เมล็ดใหญ่ เกี่ยวเต็มกำมือไม่ได้ จะรู้สึกปวด ข้อมือ ต้องรีบวาง และที่สำคัญคือ ประทับใจผู้ว่าฯ เป็นกันเอง เป็นคนติดดินอยู่ในตัว" ดาวพร ชาวหินฟ้า "มีความรู้สึกอยากมาที่สวนส่างฝันมาก เย็นวันที่ ๑๑ พ.ย. ยังไม่ถึง ๓ ทุ่มก็ตุ้มโฮมหมู่กลุ่ม เป็นผู้ติดต่อ ประสานงานกับ ท่านสมณะเดินดิน ติกขวีโร ท่านก็อนุญาต แถมท่านยังเป็นคนติดต่อเรื่องรถ เครื่องวิดีโอ ให้ ประทับใจในการทำงาน ที่มีผู้ใหญ่ในบ้านเมือง มองเห็นความสำคัญ ของชาวนาชาวไร่ แม้เพียง เศษเสี้ยว ของวินาทีก็ให้ความสนใจ สละเวลามาเป็นกำลังใจ ให้แก่ชาวนาชาวไร่ ประทับใจผู้ว่าฯมากที่สุด ที่ท่านเป็นคนติดดิน" นายไสว โมขศักดิ์ (ผู้ใหญ่บ้านสร้อย) โรงเรียนชาวนาบ้านสร้อย อ.พนา "ประทับใจทุกๆอย่าง บรรยากาศก็ดี อากาศ ก็เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ไม่เคยมาอบรม มีแต่ลูกบ้าน มาอบรมแล้วกลับไปทำ ไม่เคยได้มาสัมผัสกับ บรรยากาศอย่างนี้ พอได้มาแล้วก็ดี คิดว่า ถ้ามีโอกาสจะกลับมาอีก ประทับใจรวงข้าว และการร่วมแรง ร่วมใจ ในการลงแขก เป็นบรรยากาศที่อบอุ่น ได้เห็นการทำงานของชาวชุมชนสวนส่างฝัน ที่ทำงานเสียสละกันจริงๆ ถ้าในหมู่บ้าน ชุมชนต่างๆ มีการลงแขกกันอย่างนี้ ก็คงจะดีครับ" นายคำไหล ทานะสิน (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) ประธานกลุ่มโรงเรียนชาวนาบ้านหนองหิ้ง อ.หัวตะพาน "การลงแขก วันนี้ดีมาก ได้ความรู้เรื่อง ข้าวพื้นบ้าน ได้สัมผัส ใกล้ชิดกับผู้ว่าฯ ได้รับรู้และเห็นการทำงานของผู้ว่าฯ ที่ไม่ได้ ทอดทิ้งชาวบ้าน ได้สัมผัสข้าวกอใหญ่ รวงใหญ่ รู้สึกหนักข้อมือ ประทับใจพี่น้องทุกๆคน ที่ช่วยกันลงแขก โดยไม่มีใครบ่น มีแต่เสียงหัวเราะสนุกสนาน สนุกดีครับ" นายธนานันท์ เครืออาษา (ผู้เข้าอบรม) เขตสายไหม กรุงเทพฯ "ตอนนี้อายุ ๖๓ ปีแล้ว เคยเป็นพนักงานของ การปิโตรเลียม และเคยเป็นทหารผ่านศึก เป็นคนกรุงเทพฯ คนแรกที่ได้รับการอบรมจากสวนส่างฝัน เรื่องภาษา ก็มีปัญหาอยู่บ้าง เพราะไม่ค่อยได้มาสัมผัส กับชีวิตอย่างนี้ ไม่ได้มาคลุกคลีกับชาวบ้านชาวนา บรรยากาศของ สวนส่างฝันเห็นแล้วชอบมาก เป็นบรรยากาศที่บริสุทธิ์ ดีใจมากที่ได้มาสัมผัม กับชาวอโศก ไม่เคยเห็นการอบรม ที่ไหน เหมือนสวนส่างฝัน เพราะที่สวนส่างฝัน ไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง แต่ก็ดีใจที่ได้มาสัมผัส คิดว่าไม่มีสวนไม่มีนา กลับไป ก็ไม่ได้ทำเกษตร แต่จะกลับไปเป็นพ่อที่ดีของลูกๆให้ได้มากที่สุด" นางสมใจ นาทอง ต.นาป่าแซง อ.ปทุมราชวงศา (ผู้เข้าอบรม)"เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.พันธุ์ใหม่ มาอบรมครั้งแรก ดีใจที่มีผู้ว่าฯ มาเปิดงาน สนุกสนาน ได้ความรู้ ไม่คิดว่า จะได้พบคน มากขนาดนี้ มีหน่วยงานของข้าราชการ มาร่วม ได้เห็นข้าวงาม ไม่เคยเห็นข้าวงามอย่างนี้ อยากจะให้ผู้ว่าฯ ช่วยเรื่องภัยแล้ง และเป็นกำลังใจให้ชาวนา อยากให้มีการอบรม อย่างนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ อยากให้หลายคน มาสัมผัสบรรยากาศอย่างนี้" นายอุดม เติมสุข ต.โนนหนามแท่ง อ.เมือง "เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.พันธุ์ใหม่ เกิดปิติใจที่เห็นการลงแขกและผู้ว่าฯ มาให้กำลังใจ มาพลิกฟื้น วัฒนธรรม การลงแขก ได้งานเยอะ อยากให้มีการรวมพลัง มีความสามัคคีกัน และอยากให้มีการอบรมอย่างนี้อีก ประทับใจผู้ว่าฯ น้อยคนที่จะคลุกคลี กับชาวบ้านอย่างนี้" อ.นักบุญ (ผอ.ศูนย์ฝึกฯเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ สวนส่างฝัน) "ช้างเหยียบนา พญาเหยียบเมือง ถือว่า เป็นมงคลอันอุดม" ผู้หลักผู้ใหญ่ คนสำคัญของจังหวัด มาเป็นขวัญและกำลังใจ ในการพลิกฟื้นวัฒนธรรม ลงแขกเกี่ยวข้าว เมื่อผู้หลักผู้ใหญ่มา ผู้น้อยก็ตามมา หัวขบวนเป็นอย่างไร หางก็ตาม "ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เมื่อมีการเริ่มต้น ก็จะมีสอง มีสามไปเรื่อยๆ"
|
ระวัง!ควันธูปเทียน "ควันธูปเทียนมีสารก่อมะเร็งเนื้อร้าย การไปวัดทำบุญตามวัดในเมืองไทยทั่วๆไปคงต้องเผชิญกับควันธูปเทียน ดังนั้น ควรจะได้ระมัดระวัง การหายใจ เอาควันธูปและเทียน ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับปอดไว้บ้าง เรื่องก็คือได้อ่านเจอใน นสพ. ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒๕ พ.ย.๔๗ ว่า นักวิทยาศาสตร์ของ มหาวิทยาลัย มาสสทริชต์ ของเนเธอร์แลนด์ ได้พบในการศึกษาว่า ธูปและเทียนที่จุดเอาไว้ อาจจะปล่อย ฝุ่นละออง ที่อาจก่อมะเร็ง ออกมา ในระดับอันตรายได้ รายงานการศึกษาซึ่งเปิดเผยในวารสารการแพทย์ "โรคระบบทางเดินหายใจยุโรป" กล่าวว่า "ในโบสถ์ ที่จุดเทียน เอาไว้ทั้งวัน เราได้พบปริมาณ ฝุ่นละอองเล็กจิ๋วเหล่านั้น ลอยอยู่หนาแน่น ยิ่งกว่าตามถนน ที่มีรถรา คับคั่งมากประมาณถึง ๒๐ เท่า ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามันจะมีปริมาณสูงขนาดนี้ ด้วยเหตุว่า ในฝุ่นละอองเหล่านี้ มีอนุภาค พีเอ็ม ๑๐ ซึ่งอาจจะหายใจเข้าไป และอาจเป็นอันตรายได้ปนอยู่ด้วย จึงเห็นว่า ควรแจ้งให้ได้ทราบ กันไว้" คณะนักวิจัยยังกล่าวว่า "ทั้งยังได้พบสารระเหยไฮโดรคาร์บอนก่อ มะเร็งและสาร อนุมูลอิสระ ที่ไม่รู้จักอีก ๒-๓ ชนิด ในควันของธูปและเทียนที่จุดอยู่ ซึ่งปรมาณูของสารอนุมูลอิสระ อาจเป็นตัวก่อ และเลี้ยงมะเร็งได้ จริงอยู่ สำหรับ ศาสนิกชนทั่วไป ที่ไปโบสถ์เป็นครั้งเป็นคราว อาจจะสร้างความรำคาญให้ได้ แต่สำหรับผู้ที่ต้อง อยู่ประจำ ตั้งแต่พระและนักบวชกับผู้ที่มีหน้าที่อื่น อาจจะเสี่ยงอันตรายได้" ทางฝ่ายสมาคมแพทย์โรคทรวงอก ของอังกฤษ ได้แสดงความเห็นว่า พวกอนุภาคที่เป็น มลพิษ ไม่ว่าจะอยู่ ที่ไหน ภายในหรือนอกอาคารสถานที่ ก็ล้วนแต่ก่ออันตรายได้ทั้งนั้น โดยมันอาจจะทำให้ ปอดผิดปกติ ทำให้ เป็นโรคของ ระบบทางเดินหายใจ อย่างเช่น โรคถุงลม ปอดโป่งพอง และโรคของระบบทางเดิน หายใจ นี่พวกเราก็นับว่าโชคดีจริงๆ ที่พ่อท่านพาปฏิบัติบูชา ไม่ต้องจุดธูปจุดเทียนอีกแล้ว ไม่อย่างนั้น พวกเรา ไม่ใครก็ใคร ที่อยู่ในวัด อาจปอดดำไปแล้วก็ได้. - บุญนำมา รายงาน - |
พุทธธรรมครบรอบ
๒ นักษัตร ได้จัดขึ้นในเวลาเที่ยงของวันเสาร์ที่ ๑๓ พ.ย.๒๕๔๗ และจบลงในเวลาเที่ยงของวัน อาทิตยที่ ๑๔ พ.ย.๒๕๔๗ บรรยากาศโดยรอบงาน จะมีนิทรรศการภาพถ่ายให้ชม "ยังจำ ได้ไหม..." เพื่อช่วยการรำลึกถึงอดีต ศิษย์เก่าฯ ที่มาร่วมงานก็มีตั้งแต่รุ่นแรกเริ่มการก่อตั้ง เป็นรุ่นที่ไม่มีอะไรเลย ไม่มีบันทึกใดๆ นอกจากเก็บไว้ ในความทรงจำ ที่พี่ๆมาบอกเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวเมื่อ ๒๓ ปีที่แล้ว คณะครู ซึ่งประกอบด้วย สมณะ สิกขมาตุ และครู ก็พร้อมใจกันมา เพื่อร่วมรำลึกถึงวันเวลาเก่าๆด้วยกัน อย่างอบอุ่น ซึ่งงานนี้มีศิษย์เก่า ที่มาร่วมงาน รวมแล้ว ประมาณ ๑๐๐ คน
ในงานมีกิจกรรมพิเศษ "เล่นกับเพื่อนๆเมื่อวันวาน...?" ก็มีการละเล่นที่รำลึกถึงอดีต ในช่วงการเป็นนักเรียน พุทธธรรม เช่น กระโดดหนังยาง ดีดลูกแก้ว ตั้งเตและเป่ากบ ในยามค่ำได้จัดฉายภาพวิดีโอ "วันวานของเรา..." ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำมา ในรอบ ๒๐ กว่าปี ที่ผ่านมาแล้ว ในวันอาทิตย์ก็ได้ฟังเทศน์ "อุ่นไอรัก..." โดยพ่อท่าน สร้างความซาบซึ้งและประทับใจ ให้กับ ผู้มาร่วมงาน เป็นอย่างมาก คณะพุทธธรรมทั้งเก่าและปัจจุบัน ได้ถ่ายรูปร่วมกับพ่อท่าน ในงานมีของที่ระลึกแจก ทั้งจากซุ้มการละเล่น และถุงผ้าฝีมือของนักเรียนพุทธธรรม รุ่นปัจจุบัน รวมถึง วันอาทิตย์จบงาน ก็มีหนังสือเราคิดอะไร และหนังสือชีวิตดีทีละก้าว ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากครูเก่า พุทธธรรม มอบให้เป็นของที่ระลึกอีกด้วย "ขอขอบพระคุณ พ่อท่าน หมู่สมณะ-สิกขมาตุ คณะครู และผู้สนับสนุนการ จัดงาน คืนสู่เหย้า ... พุทธธรรม สันติฯ ทุกท่าน และขอขอบพระคุณพ่อครัวแม่ครัว ที่มาทำอาหารให้ทุกคน ได้รับประทานในงานนี้ สาธุ!". - ดาวศศิธร รายงาน - |
หน้าปัดชาวหินฟ้า เจริญธรรม สำนึกดี พบกับข่าวในแวดวงชาวอโศกใน นสพ.ข่าวอโศก ฉบับที่ ๒๔๓ (๒๖๕) ปักษ์หลัง ๑๖-๓๐ พ.ย.๔๗ สำหรับฉบับนี้ ในหน้าปัดชาวหินฟ้ามีดังนี้ น้ำใจหลั่งไหล...สถานการณ์ทางภาคใต้ยังคงร้อนระอุ ภาครัฐก็พยายามอย่างยิ่ง ที่จะแก้ไขสถานการณ์ ให้คลี่คลาย ฝ่ายภาคเอกชนและภาคประชาชนเอง ก็ประสานใจ พยายามจะช่วยเหลือ ทุกวิถีทาง อย่างตอนนี้ ไปที่ไหนๆ จิ้งหรีดก็เห็นแต่คนพับนกสันติภาพ เพื่อร่วมไปโปรยปรายจากใจถึงใจ สู่พี่น้องชาวใต้ทั้ง ๓ จังหวัด ที่กำลังเผชิญชะตากรรม อย่างที่ ชมร.ช.ม.ก็มีการสาธิตพร้อมแจกกระดาษพับนกสันติภาพ บริการแก่ลูกค้า ที่มาซื้ออาหาร ส่วนที่สันติฯ เหล่าญาติธรรมก็ช่วยกันพับนก โดยมี บจ.ขอบคุณตั้งกล่องรับนกกระดาษไว้หน้าร้านด้วย หรือแม้แต่ประธาน มูลนิธิธรรมสันติ คุณจินดา จันทร จิ้งหรีดก็เห็นขะมักเขม้น พับนกสันติภาพ แถมยังตั้งอกตั้งใจเขียนข้อความ ส่งกำลังใจ ไปกับนกทุกๆตัวซะด้วย นี่แหละหนอ ธารน้ำใจและมิตรภาพที่แท้จริงนั้น ไม่มีขีดจำกัด ด้วยเชื้อชาติ ภาษา หรือศาสนาใดๆเลย เห็นอย่างนี้แล้วน่าอนุโมทนาจริงๆ ก็ขอให้ความสงบสุขใน ๓ชายแดนภาคใต้ กลับคืนมา โดยเร็วนะฮะ สาธุ...จี๊ดๆๆๆ... ข่าวดี...ขณะนี้ หนังสือ "สัจจะชีวิต ของ สมณะโพธิรักษ์" ภาค ๑ พิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านญาติธรรม ที่ได้สั่งจอง หนังสือดังกล่าวไว้สามารถรับหนังสือได้ที่สันติอโศก จิ้งหรีดเห็นรูปเล่ม และเนื้อหาแล้ว ถูกใจจริงๆ ปีใหม่นี้ จัดเตรียมเป็นของขวัญได้อย่างดีทีเดียวฮะ ก็ขออนุโมทนากับทีมงาน ผู้จัดทำอีกครั้ง สาธุ...จี๊ดๆๆๆ... ข่าวงานกุศล...แจ้งข่าวจากชุมชนน้องใหม่ว่า วันที่ ๒๓-๒๙ พ.ย.๔๗ นี้เป็นวันอุโบสถศีล ของชุมชน เพชรผาภูมิ ซึ่งเป็นงานประจำปี ที่อบรมญาติธรรมให้มีคุณธรรมอันมั่นคง หากใครสนใจ โดยเฉพาะญาติธรรม ที่อยู่ใกล้เคียง สมัครเข้ารับการอบรม ได้เลยนะฮะ...จี๊ดๆๆๆ... คืนสู่เหย้าฯ...งานคืนสู่เหย้า ชาวพุทธธรรมที่ผ่านมาหมาดๆ จิ้งหรีดได้เห็นศิษย์เก่าพุทธธรรม มาร่วมงาน คืนสู่เหย้า ที่สันติอโศก บางคนจากไปร่วม ๒๐ ปี ก็ยังกลับมาพบกันได้อีก ก็นับเป็นอีกก้าวหนึ่ง ของชาว พุทธธรรม ที่จะรวมพี่รวมน้อง ตามหาพี่ๆน้องๆ ที่เคยซนเคยเรียนที่วัดด้วยกันมา นี่จิ้งหรีด ก็ยังนึกไม่ถึงว่า เฟย (ตำนานศีล) ลูกชายของคุณนรินทร์ ที่ไปบุกเบิกวังสวนฟ้า จะเข้ามาเป็นคนวัดที่สันติฯได้ จิ้งหรีดในฐานะ ชาวพุทธธรรม ก็ต้องกราบขอบพระคุณ ท่านกล้าจริง ตถภาโว ที่ช่วยดูแลวัยรุ่น ให้อยู่วัดกันได้ดี คุณหลง (มนต์ชัย) ก็เป็นอีกหนึ่งศิษย์เก่าพุทธธรรม ที่มาอยู่เป็นคนวัด ก็ขอให้กำลังใจ คุณครูพุทธธรรม ที่สอน เด็กพุทธธรรมว่า อย่าท้อนะฮะ หรือถ้าท้อ ก็อย่าถอยนะฮะ แม้เด็กพุทธธธรรม จะมีชื่อเสียง จนขนาดท่าน ตรงมั่น เปิดใจว่า แต่ก่อนยังรู้สึกขยาด เพราะความซนนั้น รู้กันอยู่ว่า อยู่ในขั้นปราบเซียน ใครอยากจะมีวรยุทธ์ สอนเด็กได้เก่งๆ ก็ต้องมาฝึกกับเด็กพุทธธรรมนี่แหละฮะ ไม่เชื่อก็ถามท่านกล้าตาย ปพโล ดูก็ได้ฮะ...จี๊ดๆๆๆ... ไฟป่า...ปีนี้เริ่มแล้งแล้ว สิ่งที่ทางการเป็นห่วง ก็คือไฟป่า เพราะคาดการณ์ว่า ในปีนี้จะเกิดไฟป่า มากที่สุด ในรอบ ๖ ปี จิ้งหรีดก็ขอให้ท่านสมณะและญาติธรรมที่ภูผาฯ (ซึ่งปีที่แล้ว ไปช่วยกันดับไฟป่า จนเกือบเอาชีวิต ไม่รอด) ยังไงๆปีนี้ก็ระมัดระวังมากหน่อยนะฮะ แม้จะมีวรยุทธ์ แบบท่านอาจารย์ ๒ (คือท่าวิชา โดดฝ่า เปลวไฟได้) ก็ตาม ส่วนใครอยากจะได้วิชานี้ไปป้องกันตัว ก็ปรึกษาขอเรียนจากท่านอาจารย์ ๒ ได้นะฮะ... จี๊ดๆๆๆ... งูทวงหนี้...จิ้งหรีดไปที่ปฐมอโศก ก็ ได้ข่าวว่า คุณปะน้ำใจถูกงูกัด ๑ ครั้ง ขณะกำลัง จะไปฟัง ม.วช. ทำเตวิชโช ที่ศาลาชาวบ้าน งูกัดแถวปัจจัย ๔ ก็เลยต้องหันมาทำเตวิชโชตัวเองแทน คุณปะบอกจิ้งหรีดว่า ชาตินี้ เท่าที่ นึกออก ไม่เคยฆ่างูเลย เห็นงูแล้วมีแต่วิ่งหนี แต่ชาติก่อน ไม่แน่ใจ หรือเคยฆ่าสัตว์ชนิดอื่น แล้วมันกลับ มาเกิด เป็นงูหรือเปล่าก็ไม่รู้ นอกจากไม่รู้แล้ว ยังมองไม่เห็นรอยเขี้ยวงูด้วย แต่รู้สึกระบม อยู่ข้างใน ต่อมาจิ้งหรีด ก็ได้ข่าวว่า ป้าภิญญา เจ้าสำนักปัจจัย ๔ ก็ถูกงูกัดอีกคน ข่าวว่าอาการหนักอยู่เหมือนกัน พอดีสามีก็เสียชีวิต ลูกจึงมารับ กลับไปร่วมงานศพสามีด้วย ก่อนหน้านี้เจ้าลูกหมู(อ่อง) หลานของอาใบพุทธ ก็ถูกกัดแถวปัจจัย ๔ ด้วยเช่นกัน คุณแม่ลงทุนใช้ปากช่วยดูดพิษงูให้ลูก ข่าวว่า งูแถวปัจจัย ๔ นี่ดุแต่พิษน้อย แต่ก็เล่นเอา คุณปะ น้ำใจ ปวดจนนอนไม่หลับทั้งคืน ได้เหมือนกัน ดังนั้น ใครที่ผ่านแถวปัจจัย ๔ ก็ขอให้เดิน ด้วยความระมัดระวัง แล้วกัน เพราะท่านอาจจะพบกับสิ่งที่เกินปัจจัย ๔ (งู) มาทวงหนี้กรรม สำหรับท่าน ที่เคยทำ เวรกรรมมามาก ส่วนท่านที่เวรกรรมไม่มาก ก็ต้องตั้งอยู่บนความไม่ประมาท นะฮะ...จี๊ดๆๆๆ... วิถีชีวิตคือห้องเรียน...จิ้งหรีดได้มีโอกาสอ่านประวัติของเช ยอง ซุก โค้ชเทควนโดที่คนไทย จ้างมาฝึก ให้นักกีฬาไทย เขาให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประเทศเกาหลี นักเรียนคนไหนเป็นนักกีฬา ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมมาก และซ้อม ตลอดปี เพราะที่เกาหลีมีการแข่งขันกันบ่อย นักกีฬาจึงไม่มีเวลาเข้าห้องเรียน แต่สามารถเลื่อนชั้นได้ โดยใช้กีฬาเป็นตัวตั้ง จิ้งหรีดก็มีแง่คิดว่า คุรุของเราก็ไม่ค่อยมีเวลาเข้าห้องเรียน เด็กของเราก็ไม่ค่อย มีเวลาเข้าห้องเรียน เพราะถ้า จะฝึกทำงานให้เป็น ไม่เสียหาย ก็ต้องมีเวลาต่อเนื่อง ดังนั้น การเลื่อนชั้นของการศึกษายุคใหม่ ก็น่าจะมี การทำงาน และคุณธรรมเป็นตัวตั้งเหมือนกัน เด็กที่เรียนจบก็จะมีภาวะศีลเด่น เป็นงาน ส่วนด้านชาญวิชา เราน่าจะหาวิธี บูรณาการในขณะทำงาน อาจจะเข้าห้องเรียน บ้าง แต่ไม่เน้น เพราะถือว่าวิถีชีวิต เป็นห้องเรียน เหมือนกับคนวัด ที่ทำกิจวัตรนั้น ก็เป็นการเข้าห้องเรียน แบบชาววัด เราจะทำอย่างไรให้วิถีชีวิตของคนวัดกับนักเรียนในวัด มีความสอดคล้องกันเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ครูวิชาการ ก็คิดสอนวิชาการ ลงไปในวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งเป็นห้องเรียนห้องใหญ่ ซึ่งคุรุบางแห่งก็ให้งานมหาปวารณาเป็นห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนรู้จักคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยมีวิชาต่างๆ ที่คุรุช่วยกันร่างกำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดภาวะศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา และสอดคล้องกับ การศึกษาแห่งชาติ ของกระทรวงศึกษาธิการ ใครอยากรู้ก็อาจไปถาม อ.ฟังฝน ดูก็ได้ว่าเป็นอย่างไร (ว่าตรงกันหรือเปล่า)...จี๊ดๆๆๆ... โธ่เอ๋ย!...โลกเร่าร้อนฟอนไฟจะไหม้ฟ้า ไม่เว้นแม้แต่พุทธสถานสันติอโศก ที่มักปรากฏว่า มีบุคคลไม่พึงประสงค์ แวะเวียนมาเสมอๆ...ล่าสุด ใช้มุข "เฮียสั่งให้มาเอา เจ๊สั่งให้มาหยิบ" เที่ยวเข้าบ้านโน้นออกบ้านนี้ แล้วฉกฉวย ทรัพย์สินไปอย่างใจเย็น พอใครถาม ก็ใช้คาถา "เฮียสั่งให้มาเอา" สะกดคนถามได้ชะงัด เพราะมัก ไม่มีใคร ถามต่อว่า เฮียที่ว่านี้ใครกันแน่ โชคยังดีที่เจ้าของบ้านตัวจริงเข้ามาพอดี ก็เกือบจับได้ แล้วเชียวนะ (แต่แค่เกือบ จับได้) ใครสงสัย สอบถามรูปพรรณสันฐานได้ที่ คุณแสงขวัญ วงษ์นรา ได้ฮะ...จี๊ดๆๆๆ... เต่าใหญ่...ใครแวะมาที่สันติอโศกช่วงนี้ จะได้พบเห็นเต่าตัวใหญ่นอนอืดอยู่กลางถนน เขียนอย่างนี้ อาจสงสัย เพราะหลายต่อหลายคน สงสัยเหลือเกินว่า ไฉนหนอจึงต้องเทปูนหล่อหลังเต่า (สำหรับชะลอรถ) เพิ่มอีก ทั้งๆ ที่มีอยู่แล้วตั้ง ๓ ตัว ก็ขอเฉลยว่า ช่วงนี้ มอเตอร์ไซค์ไร้ทะเบียน มาป้วนเปื้อน แถวซอย ๔๔ (ข้างศูนย์มังสวิรัติ หน้าสันติอโศก) ขับขี่สร้างความรำคาญ ก็ไม่ว่ากัน แต่นี่มาผิดศีลข้อ ๒ แถมเสียอีก โดยกระชากสร้อยคอ ของลูกค้า (ที่มาจอดรถซื้อของ )แล้วซิ่งหายลับตา ชาวสันติฯ จึงร่วมมือร่วมใจแก้ปัญหา มีโครงการติดตั้ง กริ่งฉุกเฉิน ก็ขอเชิญชาวชุมชนทุกคน ร่วมสอดส่องเป็นหูเป็นตาด้วยนะฮะ...จี๊ดๆๆๆ... ส่งเสริมทำใจ...ร้านมังสวิรัติของสีมาอโศก ทำได้เก๋และเท่ในทางดี คือ เปิดตลาด ไร้สารพิษขึ้นในร้าน แม่ค้า ที่มาขาย พืชผักก็ต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของเราก่อน แถมทางร้านก็รับซื้อพืชผักไร้สารพิษของแม่ค้า หากเหลือจากจำหน่าย แหม!ใจป้ำจริงๆ ลูกค้าก็ให้การตอบรับที่ดี มีผลให้ มร.ส.ในช่วงนี้มีลูกค้ามาอุดหนุนเพิ่มขึ้น ส่วนเรื่องการขายอาหาร แบบให้ลูกค้า บริการตนเอง คิด ๑๐ บาท ถ้าตักกับใส่ข้าว ไม่เกิน ๒ อย่าง ถ้ากับข้าว ๓ อย่าง ก็คิดเพียง ๑๕ บาท โยมเข็มพร(จุนเจือ) บอกกับจิ้งหรีดว่า ตอนนี้ทำใจได้ดีขึ้นมากแล้ว ถ้าเห็นลูกค้า ตักพูนจาน จิ้งหรีดคิดว่าในเรื่องนี้ ไม่ได้มีเฉพาะที่ มร.ส.เท่านั้น ที่อื่นๆก็มีฮะ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ แผนกคิดเงิน บางคน ใครจะทำใจ ให้วัดได้ดีกว่าทำเงินให้วัด ก็มีแบบทดสอบจากสวรรค์ ส่งมาแล้วนะฮะ ยังไงๆก็ทำใจให้ได้ ก่อนพ่อท่าน อายุครบ ๗๒ ปี ก็จะดีนะฮะ...จี๊ดๆๆๆ... ควันหลง...แจ้งข่าวบรรยากาศขายอาหารในช่วงเทศกาลเจของกลุ่มญาติธรรมปากช่อง แม้มาล่า ไปหน่อย แต่อ่านแล้ว เป็นข่าวความเคลื่อนไหวที่มีประโยชน์และทำให้เห็นพลังในการรวมกลุ่มของญาติธรรม กลุ่มนี้ อย่างน่าอนุโมทนา เพราะจัดงาน(ที่มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน)ปีนี้เป็นปีที่ ๑๒ (เริ่ม พ.ศ.๒๕๓๖) ในขณะที่ ทีมอาปอ และเด็กสัมมาสิกขาศีรษะอโศก ก็มาช่วยงานต่อเนื่องเป็นปีที่ ๙ แล้ว โดยปีนี้มีเด็กศีรษะฯ มาช่วย ๓๕ คน แต่ปีนี้มีเด็กเล็กเยอะ ส่วนเด็กโตที่มาส่วนใหญ่ ก็ยังไม่เป็นงาน เลยทำให้ได้บุญทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ต้องมีการปรึกษา หารือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะอาหารก็ขายดีสุดๆ แต่รุ่งขึ้นเด็กหลายๆคน ก็เปลี๊ยนไป กระตือรือร้น เอาภาระจนงานลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งงานนี้เด็กๆส่วนใหญ่ ก็บอกว่า ได้ประโยชน์จากงานนี้มาก รู้สึกสนุก แม้จะเหนื่อยกว่าอยู่วัดอีก ส่วนพี่ ม.วช.ก็สรุปได้ว่า ๑.ระบบการทำงานของกลุ่มปากช่อง เด็กที่มาจะได้ประโยชน์มาก เพราะได้ฝึกฝน อย่างเต็มที่ ๒.ขอให้ผู้ใหญ่ทางปากช่องใจเย็นกับการบริหารงาน ให้เวลา และให้โอกาสเด็ก ในการปรับตัว-เรียนรู้ -ฝึกฝน ๓.จัดเวลาพักผ่อนในช่วงว่างให้เด็ก-คนทำงานอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ฯลฯ จิ้งหรีดอ่านแล้ว ก็รู้สึกอนุโมทนากับทีมงานทั้งของกลุ่มปากช่องและทีมเด็กศีรษะฯที่มีประวัติการทำงานร่วม กันยาวนาน นี่ถ้าทั้งสองฝ่าย ไม่ปฏิบัติธรรม คงไม่สามารถร่วมบุญกันได้ขนาดนี้ สาธุ...จี๊ดๆๆๆ... พบกันใหม่ฉบับหน้าฮะ... - จิ้งหรีด - |
กิจกรรมชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน อินทร์บุรี เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ ทางชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน อินทร์บุรี จะต้องเกี่ยวข้าว ที่เป็นข้าว ไร้สารพิษ เราจึงจัด ให้มีการฟื้นประเพณีโบราณ คือการทำขวัญข้าว บูชาแม่โพสพ และประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งนับวัน จะหาดูได้ยาก ในสมัยนี้ งานนี้มีผู้ใหญ่มาร่วมงานด้วยหลายท่าน คือ งานนี้มีเกษตรกร ชาวนาที่โพธิ์ชัยและใกล้เคียงมาร่วมงานกว่าร้อยคน ทางชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน เลี้ยงอาหาร กลางวัน มีข้าวผัดกะเพรา,ผัดไทย,ไอศกรีม,ลุงทองเหมาะกับป้าทวีได้ทอดปาท่องโก๋และน้ำเต้าหู้ สูตรชาววัง เลี้ยงตลอดวัน ทีมหมอทำขวัญข้าว ขับขานตำนานการทำนาและบูชาแม่โพสพดังลั่นทุ่ง เป็นที่แปลกตาแปลกใจ และประทับตา ประทับใจคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก จากนั้นก็เชิญผู้ใหญ่ที่มาในงาน ร่วมเกี่ยวข้าวกัน อย่าง สนุกสนาน เป็นพิธีเก่าแก่ที่หาดูได้ยาก เคียวเกี่ยวข้าว เดี๋ยวนี้ก็แทบจะไม่มีใครได้เห็น และเกี่ยวกัน ไม่เป็นแล้ว นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่งานคราวนี้ ได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่ของบ้านเมืองและ เกษตรกร ที่มาร่วมงาน เป็นการพิสูจน์ ให้เห็นว่า เกษตรอินทรีย์สามารถทำได้ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พิชิตความยากจนได้จริง เราได้พิสูจน์มาแล้ว ในงานนี้ได้ฟื้นประเพณีโบราณให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นหลายๆอย่าง เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว พิธีทำขวัญข้าว...ฯลฯ ทางชมรมได้บันทึกภาพเป็นวิดีโอไว้อย่างละเอียด สนใจติดต่อได้ที่ ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน ตู้ ปณ ๖๗ ปทจ. นครปฐม ๗๓๐๐๐ มี ๒ แผ่น แผ่นละ ๕๐ บาท เท่านั้นเองและเมื่อวันที่ ๒๙ พ.ค.๔๗ สมณะเสียงศีล ชาตวโร ได้รับนิมนต์ จากมูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน ให้ไปบรรยายเรื่อง ฝึกวิถีไทย ใฝ่วิถีธรรม ในงานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนา ในเทศกาลวิสาขบูชา ที่สนามหลวง. |
ชื่อ นางบุญญา คูหาวิไล คุณยายบุญญา รู้จักอโศกมาตั้งแต่สมัยแรกๆ ผ่านวัยมาถึง ๙๑ ฤดูฝน ความทรงจำแต่วัยเด็ก ยังมิลืมเลือน บ้านทาวน์เฮาส์ หน้าสันติฯก็แบ่งให้มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อนของท่านจันทร์ฯ ใช้ประโยชน์ ส่วนคุณยาย อาศัยอยู่ห้องข้างล่าง ไปรู้จักกับคุณยายกันเลยค่ะ *** ความทรงจำ ต้องไปเรียนที่โรงเรียนเข้ารีต (โรงเรียนคริสต์) เพราะโรงเรียนของพุทธต้องข้ามน้ำ แม่เป็นห่วง มีเด็กคนหนึ่ง ชอบล้อฉัน เพราะฉันเป็นเด็กพุทธคนเดียว พอเห็นพระแจวเรือ เขาก็จะว่าพระทุกที หนักเข้าฉันก็ทนไม่ได้ ตีกันเลย เอาซะงอมเลย บาทหลวงก็ตีคู่กรณี แต่ไม่ตีฉัน ตอนนั้นใจร้อน อายุ ๑๑ ขวบ เรียนได้แค่ ช.ช้าง ฉันก็ออก มาเรียนเองที่บ้าน *** ชีวิตครอบครัว แต่งงานแล้วมีลูก ๘ คน และลูก บุญธรรมอีก ๑ คน รวมเป็น ๙ ส่วนลูกบุญธรรมนั้น เพราะพ่อแม่เขา เกิดแล้ว ไม่เอา ฉันก็เลยสงสาร เอามาเลี้ยง จนเขาแต่งงาน ก็ยังแวะเวียนมาหาฉันอยู่ถึงทุกวันนี้ แต่งงานแล้วฉันก็ขายของจิปาถะในบ้าน ส่วนพ่อบ้านวิ่งรถบรรทุก แล้วมาซื้อรถโดยสารวิ่ง จากท่ามะกา มาบ้านโป่ง -กรุงเทพฯ เขาเสียชีวิตไป ๒๐ กว่าปีแล้ว *** เจออโศก *** ชีวิตเปลี่ยนไป ไปทุกแห่ง งานพุทธาฯ ปลุกเสกฯ ปฐมฯ จนอายุ ๘๐ กว่าถึงไม่ได้ไป เพราะพ่อท่านบอกว่า คนแก่เกินอย่าไป ก็เลยไม่ไป *** ไม้ใกล้ฝั่ง *** ทุกวันนี้ คุณยายบอกว่า โมโหลดลง นักปฏิบัติธรรมที่โมโหยังไม่ลด ใครพูดอะไรมาก็สวนกลับ ยังมีความชอบ และ ไม่ชอบ อยู่เหมือนเดิม พิจารณาตัวเองได้แล้ว ท่านได้เสื่อมจากกุศลธรรมแล้วนะ. - บุญนำพา รายงาน -
|
หลักการเซ็นเซอร์การแสดงของชาวอโศก * ห้ามแต่งหน้า สำหรับปีนี้มีการกำหนดวันแสดงละครของแต่ละพุทธสถานในงานปีใหม่โดยนำข้อมูลของปี'๔๗
มาหมุนเวียน เพื่อความเสมอภาค กำหนดได้ดังนี้ - ทีมเซ็นเซอร์ละครชาวอโศก - |