ฉบับที่ 248 ปักษ์แรก 1-15 กุมภาพันธ์ 2548 |
ความสำเร็จของงานฉลองหนาวฯ แต่อย่างไรก็ตาม ในความหนาวเหน็บก็มีไอแดดอุ่นจากโรงบุญฯ ของญาติธรรมกลุ่มต่างๆในลานป่าสัก ที่มีกิริยาวาจา อ่อนน้อม ในการให้ ถ้อยที ถ้อยอาศัย ทำให้ผู้รับรู้สึกสบายใจอบอุ่น แม้แต่โฆษกทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ ก็มีการพูดเชิญชวนอย่างมีความนอบน้อมต่อผู้มาร่วมงานทุกฝ่าย อันส่งผลให้งาน ฉลองหนาวฯ ที่มีเป้าหมายให้ญาติธรรม หรือผู้มาร่วมงานได้ขึ้นไปพักผ่อน และสังสรรค์กันได้ดำเนินไป ตามเป้าหมาย ส่วนด้านการแสดงในปีนี้ก็น่าประทับใจ ที่ทางเจ้าภาพได้ให้ผู้ที่ตั้งใจขึ้นไปแสดงทุกคนได้เป็นเจ้าภาพ ร่วม โดยให้พูดคุย ตกลงกันเอง ว่าจะแสดงก่อนหรือหลัง เป็นแบบธรรมชาติ ซึ่งก็น่าทึ่งน่าประทับใจว่า ผู้แสดงแต่ละท่าน ก็พูดจา ตกลงกันได้ ด้วยดี อย่างพี่อย่างน้อง ยิ่งกว่าพี่น้องท้องเดียวกันในทางโลก ข้อสำคัญการไม่ถือสาหาความกันของเจ้าภาพทุกคน แม้จะมีอะไรเกินๆขาดๆ หรือผิดพลาดบกพร่องไปบ้าง ก็ทำให้งาน สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สิ่งนี้ก็คงเป็นข้อคิดของเจ้าภาพของชาวเราทุกงานว่า งานทุกงานของชาวอโศกจะสำเร็จลงได้ด้วยดี เพราะเราต่างถือศีล ไม่ถือสา. |
||
๓
สิ่งที่ต้องสร้างในงานฉลองหนาว "...เกิดเป็นคนแล้วจะต้องสร้าง
๓ สิ่งนี้ให้ได้ คือ - เจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุติอันไม่กลับกำเริบ สุดยอดของมนุษย์ต้องเอาให้ได้คือนิพพานนั่นเอง - สมรรถนะ ความรู้ความสามารถที่มนุษย์พึงมีพึงเป็นสิ่งที่ดี ความรู้ความสามารถของโลกนี่แหละที่ดี ที่มีคุณค่า ที่มีประโยชน์ เราต้องมี ต้องฝึกฝน อบรม ปลูกข้าวเป็น ปลูกข้าวเก่ง เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิศวะ เป็นนักสื่อสาร เป็นนักการศึกษา เป็นนักพาณิชย์ เป็นนักอะไรก็แล้วแต่ ความรู้ที่มันเป็นประโยชน์ ในสังคมมนุษย์ต้องอาศัย ใช้สอย อย่างพระพุทธเจ้า ในยุคของท่าน ท่านไปศึกษาในตักศิลา มีความรู้ถึง ๑๘ แขนง ท่านเรียนจบหมดเลย ครบ ไม่ขาดหกตกหล่น... สมัยนี้เรียนไปเถอะ อะไรที่เป็นประโยชน์ คุณค่ามากๆ แต่บางอย่างไม่ต้องเรียนเลย วิชาเดรัจฉาน วิชาไสยศาสตร์ ไม่ต้องไปเรียนเลย ไม่ต้องใช้เลย....คนจะต้องมีความสามารถ มีความรู้ มีสมรรถนะของตน มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี เก่งเท่าไหร่ก็ดี ไม่เป็นไร เพื่อมาสร้างสรรค์ เอามาใช้สอย - พฤติกรรม ๓ ในสมมุติสัจจะของโลกให้เชี่ยวชาญ เราต้องมีความรู้อันนี้แล้วต้องฝึกฝนให้เป็น มนุษย์ต้องมีพฤติกรรม อันเหมาะสมกับสังคม ต้องรู้จักมารยาท ของสังคม ต้องรู้สังคม ต้องรู้วัฒนธรรมสังคม ต้องมีพฤติกรรมที่รู้ ที่นี่เขามีวัฒนธรรมอย่างนี้ พฤติกรรมอย่างนี้ เขาจะทำวิธีอย่างนี้ เขาเคารพนับถือ เขาถือสา เราจะไปทำสิ่งที่เขาถือสา จะไปละเมิด สิ่งที่เขาถือสาก็ไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น เราจะต้องมีโลกวิทู ต้องมีความสามารถ ต้องมีกรรม ๓ ต้องมีสมรรถนะ ในพฤติกรรม มีนิสัยดี สังคมนี้เรามีนิสัยดี มีพฤติกรรมที่ดี บางคนรู้นะ แต่ทำไม่เป็น ไม่ฝึกเลย ทำไม่เป็นกับเขา ถ้าใครฝึกหัด ได้ดี มีกรรม ๓ ในสมมุติสัจจะต่างๆของโลกได้ดีก็จะแจ๋ว จะเห็นว่าชีวิตเราศึกษามาทางนี้แล้วมันประหลาด มันทวนกระแส โลกเขาจะต้องไปหรูหราฟู่ฟ่า ไปงดงาม ไปร่ำรวย ไปมีอะไรของเขา โลกเขาก็ปรุงแต่ง ของเขาขึ้นไป แต่พวกเรากลับหันทิศทางมาทางนี้ มันตลก ตอนแรกๆเขาไม่เชื่อหรอก เขานึกว่า พวกเราสร้างภาพ เขานึกว่า พวกเรานี้โง่เง่า มาถึงวันนี้เขาก็คลายๆใจ บอกว่านี้มันไม่โง่นะ แต่เขายังไม่ยอมรับ ว่าเราฉลาดกว่าเขา เขาไม่เข้าใจหรอกว่าสาระของชีวิตมันคืออะไรกันแน่ เขาก็ไปไล่แย่งพยับแดด ไปไล่ฟองคลื่น ระวังเถอะ ไปไล่ฟองคลื่นมากๆ ระวังเจอ สึนามิเข้า วิ่งไล่จับฟองคลื่น อยู่นั่นแหละ วิ่งไล่พยับแดด พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนี้จริงๆ โลกธรรมต่างๆ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขต่างๆ มันเหมือน พยับแดด มันว้อบแว้บๆ มันไม่มีตัวตน มันหาย ฟองคลื่นประเดี๋ยวมันมา มันก็หายตัว มันไม่มี มันไม่อยู่ทรงตัว มันก็วูบวาบมาประเดี๋ยวเดียว แล้วก็เปลี่ยนไป คนพวกนั้นก็ไปไล่จับจะยึดมั่นถือมั่นจะต้องให้ได้เป็นหลักเป็นฐาน จะได้เป็นตัวเป็นตน ถ้าใครมีปัญญาฟังดีๆเถอะ อย่างนั้นแหละ เราก็ล่ามาทั้งนั้น ไม่มีละเว้น ไม่มีใครไม่เคยล่าลาภยศสรรเสริญโลกียสุข พระพุทธเจ้าก็เคย อาตมาก็เคย กระเหี้ยน กระหือรือมาทั้งนั้น แต่มาถึงวันนี้ อาตมานี้ชัด จะให้อาตมา ไปไล่ล่า อาตมาไม่เอา มาเป็นอย่างนี้ดีกว่า ยังไงก็ดีกว่า อยู่กันอย่างนี้เป็นสุข แล้วยิ่งเดี๋ยวนี้เราเป็นคณะ มีหมู่ มีกลุ่ม มีวัฒนธรรม มีระบบวิธี มีทางดำเนินชีวิต แล้วก็อยู่ไปยิ่งโตขึ้นทุกวัน มีรูปร่างแข็งแรง ขึ้นทุกวัน มีฐานของกลุ่มหมู่บุคคลของวัฒนธรรม มีวิถีการดำเนินชีวิต มีจารีตประเพณีมีอะไรต่ออะไรขึ้นไปอีก ตัวเล็กตัวน้อย เกิดขึ้นมา ก็จะรับถ่ายทอดไปเรื่อยๆ จะซึมซับ ตั้งแต่เด็กเกิดมา ยิ่งทางอื่นไม่มีทางเลือกแล้ว พ่อแม่ไม่ได้อยู่ ข้างนอก กลุ่มชาวอโศกแล้ว ถอนบ้านถอนเรือนถอนเสามาหมดแล้ว ทรัพย์ศฤงคาร ก็เอามาเข้ากองกลางหมดแล้ว เขาจะซึมซับไป ฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง มันเหมือนเคาะไปในคีย์คอมพิวเตอร์ มันเกิดกดเข้าไป มันก็สั่งสมอยู่ในนั้น สักวันหนึ่ง เขาก็จะมีรหัส มีความรู้ เขาก็จะกดไปใช้งานได้ในอนาคต มันจะถ่ายทอดซึมซับไป แล้วมันจะเกิดพรรคคณะกันไปเรื่อยๆ ยังเหลือแต่วัยรุ่น ขณะนี้ที่พ่อแม่ก็ยังไม่มา ยังกกทรัพย์สินเงินทองบ้านช่องเรือนชานอยู่ข้างนอก ลูกมาอยู่ที่นี่แล้ว จบ ม.๖ เราก็บอกอยู่เถอะ นี่ทรัพย์ของเรา ไม่หรอกทรัพย์ของฉันอยู่กับพ่อกับแม่ฉัน ไม่เอา กิเลสมันพาไป แต่ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่โน้น เข้ามาอยู่นี่แล้วนะ มันยากแล้วนะ เด็กก็จะไม่ไป พ่อแม่มาอยู่นี่หมดแล้ว อย่างนี้ก็เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เขาออกไป ไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นใครยังไม่ถอนเสาบ้าน ถอนออกมา เข้ามาอยู่ในหมู่ นับวันอาตมาว่าพวกเราจะเข้าใจ แล้วมันจะเป็นไปได้ มันรีรออะไรอยู่ เหตุปัจจัยอะไร ก็พิจารณาให้ดีๆ เอ๊ะ..เราจะชักช้าอยู่ทำไม ระวังนะคลื่นสึนามิมาปรากฏตัวแล้ว คลื่นทางภูเขา คลื่นทางอะไรอีกเรายังไม่รู้ คลื่นทางภาคกลาง คลื่นอะไร ยังไม่รู้ล่ะ ที่เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติเรายังไม่รู้มันรุนแรงมากขึ้น..." - เด็กวัด - |
||
สดจากปัจฉาสมณะ
ผู้ที่ได้ไปร่วมงานฉลองหนาว(๒๘-๓๐ ม.ค.) ก็คงจะได้เห็นและทราบบ้างแล้ว ถึงอาการยอกเจ็บเอวเดินไม่ปกติของพ่อท่าน จะลุก จะนั่ง จะเดินมีอันเป็นเจ็บเอวไปหมด จะก้าวขึ้นที่สูงหรือลงที่ต่ำ ต้องมีคนช่วยประคองพยุงไว้ ถึงขนาดพ่อท่าน เปรยว่า หมดสภาพเลย ไม่เคยเจ็บเอวต้องประคองปีกอย่างนี้มาก่อนในชีวิต แถมพูดติดตลกว่าจะนั่งก็ต้องสุภาพ (ขยับเคลื่อนตัวช้าๆ) ในรายการเอื้อไออุ่น(๒๘ ม.ค.)พ่อท่านบอกเล่าว่า "มีอาการเป็นมาตั้งแต่วันที่ ๓ ม.ค. วันนี้หนักที่สุด เมื่อกี้นี้เขาไปเอายา คลายกล้ามเนื้อมาให้ฉัน จะนั่งลงฉันยังไม่ได้ต้อง ประคองกัน มันยอก ย่อตัวนั่งเก้าอี้ไม่ได้ สองคน ต้องคอยประคอง โอ้โฮ กว่าจะนั่งลงได้ต้องหลายเที่ยว แล้วเดินประคองกันมา เดินขึ้นบันไดดิน โอ้โฮ ก้าวขึ้นไม่ได้ ต้องให้ถอยหลัง แล้วประคอง กันขึ้นมา โอ้โฮ ทำไมอาการมันเป็นถึงขนาดนี้ มันไม่ใช่ปวด อาการปวดคือนั่งเฉยๆก็ปวด แต่นี่ไม่ใช่ ถ้าขยับก็เจ็บ ขยับแรง ก็เจ็บมาก มันเคล็ด มันยอก ถ้าขยับเปลี่ยนท่านี่จะเจ็บ อาตมาเคยคุยโม้ไว้บ่อยว่า อาตมา ไม่เคยปวดเอว ปวดหลัง ปวดคอ ปวดนั่นปวดนี่ นั่งทำงาน ต่อเนื่องวันๆไม่ต่ำกว่าสิบชั่วโมง มาคราวนี้มันหนักกว่าปวดนะ มันยอก.." หลังรายการเอื้อไออุ่นแล้ว สมณะดินดีอาสาเอาไม้ไผ่เหลามัดรวมกัน เป็นเหมือนแส้ มาตี บริเวณที่พ่อท่านมีอาการ ยอกเจ็บ พ่อท่านก็ยอมให้ทำ ก่อนกลับไปพักนอน เช้าวันรุ่งขึ้น ๒๙ ม.ค.คุณเจ็ดแก้วได้มาช่วยแนะนำให้พ่อท่านปรับลมปราณ โดยอธิบายว่าเพื่อให้ออกซิเจนไปไล่กรดออก ใช้ออกซิเจน มาเป็นตัวแก้ขับสารพิษ พร้อมกับแนะนำท่าบริหารต่างๆ ให้พ่อท่าน ได้ทำเอง ต่อมาคุณเจ็ดแก้วได้แนะคุณแรงผา ซึ่งสนใจวิชานี้ว่า ถ้าพ่อท่านหายปวดเริ่มตึงขึ้น ก็ใช้ท่าบิดอย่างเมื่อครู่นี้ กระดูกแต่ละข้อช่องว่างจะเพิ่มขึ้น เส้นปลายประสาท ก็จะส่งอาการทำให้โล่งขึ้น จึงไม่เหมือนการกดเส้น อันนี้เป็นการจัดระบบประสาท เวลาพ่อท่านขยับมันจะแปล้บๆๆ เพราะกล้ามเนื้อ กับเส้นประสาทมันถูกบิดไป ถ้าใช้นวดเส้นก็ยิ่งจะปวด...คุณเจ็ดแก้วกล่าวไว้อย่างนี้ ต่อจากคุณเจ็ดแก้ว คุณใจเพชรและคุณแรงผาช่วยกันดึงเลือดที่คั่งอยู่ที่ผิวหนังบริเวณหลังออก โดยการใช้น้ำมัน เสลดพังพอน ทาบริเวณหลัง เพื่อถอนพิษร้อน จากนั้นใช้เหรียญสิบบาทขูด เพื่อดึงเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ที่คั่งอยู่ที่ผิวหนังออก โดยจะแลกเปลี่ยน ออกซิเจน มาระบายคาร์บอนไดออกไซด์ระบายกรดแล็กติกต่างๆ เลือดข้างล่างก็จะวิ่งได้สะดวกขึ้น เป็นการซ่อม สุขภาพอีกแบบ ใช้เวลาในการขูดประมาณ ๒๐ นาที จากนั้นใช้เข็มปักเพื่อเปิดรูให้เลือดที่เสียออก โดยมีถ้วย สุญญากาศ ครอบ ถ้าเลือดออกแล้วจะเบา จุดใดที่ไม่มีปัญหาก็จะไม่มีเลือดออกมา เสร็จจากดูดเอาเลือดเสียออกแล้ว คุณใจเพชรได้ช่วยบิดดัดลำตัวและขาเล็กน้อย ก็เป็นอันเสร็จอีกวิธีการหนึ่ง เช้าวันต่อมา ๓๐ ม.ค.พ่อท่านลุกตื่นมาบอกเล่าอาการว่า อาการยอกกระจายตัวมากจุดขึ้น แต่ไม่เจ็บแรงอย่างเมื่อวาน ๒๙ ม.ค. กว่าจะกลับขึ้นกุฎีได้ สมณะต้องช่วยกันพยุงประคองหิ้วปีก เช้านี้ พ.ต.ท. สะอาดดี และคุณใจเพชร ช่วยกันกดนวด จากอาการเจ็บยอกอย่างรุนแรงนี้ ทำให้ ยกเลิกการไปเชียงราย สมณะเดินดินอาสาไปแทน และได้นิมนต์พ่อท่าน ลงไปพัก ในเมือง เพื่อรอการเดินทางกลับสันติอโศก ด้วยเหตุผลว่าข้างบนที่ภูผาฟ้าน้ำนี้อากาศเย็น จะทำให้อาการเจ็บยอกเอว รุนแรง ยิ่งขึ้นได้ เมื่อลงมาถึงที่พักในเมืองเชียงใหม่ เจ้าของที่พักได้ไปเรียกหมอจีนธิเบตมาช่วยตรวจแมะและรักษาให้ หลังจากแมะตรวจ และวัดความดัน ชีพจรด้วยเครื่องดิจิตอล หมอได้ซักถามเรื่องการขับถ่าย การกิน การหลับนอน ฯลฯ หมอธิเบตวินิจฉัยว่า พ่อท่านเป็นโรคหัวใจที่กำลังจะเริ่มหนัก และเป็นโรคไตแบบจีน (ไม่ใช่ไตอย่างฝรั่ง) คือสมอง กระดูก ฟัน การขับถ่าย และว่า เริ่มขาดอาหารด้วย ส่วนการรักษาหมอธิเบตเริ่มโดยให้พ่อท่านนอนราบ แล้วใช้นิ้ว ของหมอบีบกดที่นิ้วเท้าก้อย ของพ่อท่าน (ไล่ขึ้นไปที่ละนิ้วเท้า) แล้วอธิบายว่าจะมีอาการเจ็บแปล้บขึ้นไปถึงสันหลัง ท้ายทอย และมาที่หน้าผากถึงหัวคิ้ว ลงมาที่ตา และจมูก ขณะที่พ่อท่านบอกว่าไม่รู้สึกว่าจะเจ็บขึ้นมา เจ็บแต่นิ้วเท้าที่ถูกกดบีบ หมอธิเบตบอกว่า พ่อท่านใช้สมาธิ กั้นไว้ จึงไม่รู้สึกว่ามีอาการแปล้บขึ้นไป พ่อท่านยิ้มขำบอกไม่ได้เอาสมาธิอะไรมากั้น ต่อมาให้พ่อท่านนั่ง หมอกดมือที่บริเวณหลังและเอวที่มีอาการเจ็บยอก แล้วเอาฝ่ามือทั้งสองของหมอถูกันไปมา ก่อนประกบ ที่ท้อง และหลังท้องของพ่อท่าน แล้วนิ่งอยู่สักครู่ อีกท่าหนึ่งใช้ฝ่ามือวางแปะที่ปีกแขนทั้งสองหลังต้นคอ แล้วอธิบายว่า เป็นการส่งพลังมาให้ พลังที่ว่านี้จะมีลักษณะหมุนซ้าย หมุนขวา วนขึ้น วนลงบ้าง เมื่อหมอถามว่า ร้อนมาถึงหน้าอกไหม พ่อท่านตอบว่า มันร้อนเฉพาะจุดที่ฝ่ามือแปะ และพลังหมุนซ้าย หมุนขวา วนขึ้นลง วนลงล่างอะไรนั้น ก็ไม่รู้สึกว่ามีอย่างนั้น อีกท่าหมอธิเบตยืนชิดเข้ามาทางด้านข้างไหล่ขวาของพ่อท่าน แล้วใช้สองมือของ หมอโบกให้ลมพัดมาที่ใบหน้าและท้ายทอย ของพ่อท่าน แล้วถามว่ารู้สึกเย็นซ่าสบายเหมือนสูบออกซิเจนหรือเปล่า พ่อท่านก็ตอบว่ามันเย็น แบบลมพัดไปตามมือ ที่โบกมา เท่านั้น ท่าสุดท้ายใช้มือ ลูบดึงนิ้วมือของพ่อท่านไปมา หมอย้ำว่าอาการที่พ่อท่านเจ็บเอว ไม่ใช่เป็นเรื่องกล้ามเนื้อหรือเส้น วิชาที่นำมาตรวจรักษานี้มาจากเต๋า แต่ไม่ใช่เต๋า อย่างเจ้าแม่กวนอิม แต่เป็นเต๋าที่ให้พลัง จากผู้รักษาไปยังผู้ป่วย ถ้าผู้รักษามีพลังน้อยกว่าผู้ป่วย จะทำให้โรคภัยไข้เจ็บของ ผู้ป่วย จะเข้ามาสู่ผู้รักษาเอง ดังนั้นผู้จะรักษาคนอื่นต้องมีพลังที่เหนือกว่า โดยเปรียบเทียบ เพิ่มเติมว่าที่ไหนแห้ง ไฟจะไหม้ ไปที่นั่น นี่คือพลัง เช้าวันรุ่งขึ้น ๓๑ ม.ค. พ่อท่านลุกตื่น ขึ้นมาบอก อาการยอกเจ็บหลังมากขึ้นกว่าช่วงที่อยู่บนภูผาฟ้าน้ำ นี่เจ็บมาถึงด้าน หน้าท้อง และอก แถมแน่นๆเสียดๆด้วย ก่อนนี้นั่งธรรมดาก็ยังไม่เจ็บยอกอย่างวันนี้ เมื่อหมอธิเบตมาถามอาการ และ จะมารักษาให้อีก ว่าอาการเจ็บเป็นเรื่องปกติของการรักษา ที่มีการขับพิษออกมา ถ้าวันนี้ทำต่อ จะเจ็บมากขึ้นกว่าเดิม พ่อท่าน จึงปฏิเสธ เนื่องจากวันนี้จะเดินทางกลับ ถ้าเจ็บมากๆเดี๋ยวจะไปไม่ไหว ช่วงสายคุณทุ่งไทและคุณเหมือนพรได้มาช่วยดูแลรักษา ตามวิธีการของแพทย์แผนไทย อาการที่พ่อท่านเป็นนี้ คือโรคของเลือด และลม เป็นลมสัตถะกะวาตคือลมเสียดแทง เป็นลมร้ายไม่อยู่กับที่ จากขวาไปซ้ายหรือซ้ายไปขวาได้ แทงขึ้นหน้าอกลงท้องก็ได้ โรคลมนี้เป็นนานและหายช้ามาก ไม่ใช่ลมจุกเสียด อาการที่เป็นและวิธีการรักษานี้มีบอกไว้แล้วในคัมภีร์ชวดาร ดังนั้น อาการ เจ็บยอกเอว ของพ่อท่าน จะไปกดคลายกล้ามเนื้ออย่างไรก็ไม่หาย จะไปเอกซเรย์อย่างไรก็ไม่เจอ การรักษาของแพทย์แผนไทยจึงพยายามไล่ลมออก มีทั้งกดจุด ลูกประคบสมุนไพร พอกทาฝ่าเท้า(เพื่อขับพิษออกมา หลังการพอก ทาฝ่าเท้าจะมีจุดดำขึ้นมา และจะจางหายไปเอง) และการให้ยาแก้ลมในเส้น ได้แก่ยาอนันตคุณ ยาลม ๑๐๘ และ ยาหอมชื่นใจให้ฉันด้วย เมื่อพ่อท่านกลับมาที่สันติอโศก คุณทุ่งไทและคุณเหมือนพรก็ตามมาดูแลต่อ เมื่อพ่อท่านไปปฐมอโศก ๗-๘ ม.ค. ก็ได้ให้ คณะพลาภิบาลของปฐมอโศกรับช่วงต่อ มีเกร็ดเล็กๆที่เกือบทำให้พ่อท่านเป็นลม หลังการอบสมุนไพรครั้งที่สอง ออกมาจาก ตู้อบ พ่อท่านมีอาการอ่อนเพลียมาก หายใจแรงเหมือนคนเหนื่อยมากๆ ต้องจัดที่ให้พ่อท่านนอนพัก อยู่เป็นนาน จึงดีขึ้น ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ใจหายกันไปตามๆ คุณแดนดิน บอกว่าเตรียมช้อนเอาไว้แล้ว ถ้าพ่อท่านเกิดเป็นลมชักขึ้นมา จะใช้ได้ทัน คณะแพทย์แผนไทยได้รายงานสรุปผลการรักษาว่า พ่อท่านมีอาการดีขึ้น ๘๐ % เหลือเพียงอาการเส้นตึงเล็กน้อย หลังตื่นนอน ใหม่ๆ อาการที่เหลือจะค่อยๆทุเลาลงไปเอง (หากไม่มีเหตุปัจจัยอื่นเข้ามาแทรก) และต้องอาศัยการออกกำลังกาย บริหารกาย และปรับอิริยาบถให้สมดุล เช่นฝึกโยคะและฤๅษีดัดตนเข้าช่วย จึงเข้าสู่ภาวะปกติ. |
||
ชาวอโศกจัดแข่งกีฬาอาริยะ แม่จันทร์แชมป์ ๓ สมัยผ่าฟืน ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ดอยแพงค่า จัดงานฉลองหนาวธรรมชาติอโศก ครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ ม.ค.๒๕๔๘ ที่อุณหภูมิ ๘-๑๐ องศาเซลเซียส เป็นงานที่เปิดโอกาสให้พวกเราได้มาพักผ่อน อย่างเต็มที่หลังจากตรากตรำทำงานมาตลอดทั้งปี โดยเฉพาะ พวกเราเพิ่งกลับจากงานซับขวัญชาวใต้ ๒๗ ม.ค. ประมาณ ๘ โมงเช้า พ่อท่านพร้อมปัจฉาสมณะถึงท่าอากาศยานนานาชาติ จ.เชียงใหม่ มีสมณะ-สิกขมาตุ ญาติธรรม ไปรอรับพอสมควร แล้วแวะไปเยี่ยมญาติธรรม คุณไพโรจน์ ภัทรโกศล อายุ ๘๕ ปี หลังจากนั้นไปฉันอาหารที่บ้าน คุณใจประนม เจริญทรัพย์ ที่ อ.สันทราย ซึ่งเตรียมอาหารไว้ต้อนรับพวกเรามากมาย สำหรับที่ ชมร.ช.ม.หยุดบริการ ๑ เดือน จะเปิดบริการในวันที่ ๓ ม.ค. ประมาณบ่าย ๒ โมงพ่อท่านเดินทางถึงดอยแพงค่า มีอาจารย์หนึ่ง(สมณะบินบน ถิรจิตโต) สมณะ ญาติธรรม รอรับอยู่ตลอดเส้นทาง สำหรับสัมภาระของผู้มาร่วมงาน มีรถรับส่งบริการอย่างประทับใจ มีจุดบริการน้ำร้อนสำหรับขับไล่ความหนาวตลอดเวลา และ แผนกล้างจาน ก็เตรียมน้ำอุ่นไว้สำหรับล้างจาน ที่โรงครัวและโรงบุญ ปีนี้มีผู้มาลงทะเบียนทั้งหมด ๗๐๒ คน เป็นสมณะ-พระอาคันตุกะ ๖๘ รูป, สิกขมาตุ ๗ รูป, ญาติธรรม ๖๒๗ คน ซึ่งจะได้รับ เท็ปธรรมะ และหนังสือภูผาฟ้าน้ำนิวส์ ฉบับที่ ๑๒ แก่ผู้มาลงทะเบียน ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. รายการที่ลานธรรมชาติ "สมณะร่วมรำลึกถึงสึนามิ" สมณะที่ร่วมเดินทางไปซับขวัญชาวใต้ ขึ้นพูด รำลึกถึงเหตุการณ์ และประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่านที่ได้รับ ดำเนินรายการโดยสมณะฟ้าไท สมชาติโก ในช่วงแรก และ สมณะบินบน ถิรจิตโต ในช่วงสุดท้าย ๒๘ ม.ค. โรงบุญเปิดบริการตั้งแต่ ๖ โมงเช้า อาหารแบบเรียบง่ายมีมากมายไว้บริการ ปีนี้โรงบุญย้ายไปอยู่ในป่าสัก ทำให้ได้บรรยากาศ แบบธรรมชาติยิ่งขึ้น ประมาณ ๘ โมงเช้า พ่อท่านนำหมู่สมณะบิณฑบาตในชุมชน ๙ โมงเช้าพ่อท่าน แสดงธรรมก่อนฉัน หลังการแสดงธรรม มีขบวนแห่โรงบุญฯ ฟ้อนเจิง ศิลปะการฟ้อน ที่แฝงด้วยท่าออกกำลังกายแบบภูมิปัญญาล้านนาที่น่าทึ่ง การปล่อยโคม (หรือว่าวลม) จำนวน ๘ ลูก และมีตลาดอาริยะน้อยๆ จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันแก่พี่น้อง ปะกาเกอะญอ และญาติธรรมที่มาร่วมงาน ๑๒.๓๐ น. นัดหมายญาติธรรมที่จะช่วยทำแนวกันไฟป่าที่ศาลาซาวปี๋ และ ๑๓.๐๐ น. ออกเดินทางไปทำแนวกันไฟ โดยมีพี่น้อง จากบ้านหัวเลานำทีมบุกเบิก ญาติธรรมให้ความร่วมมือมากมาย จนสามารถแบ่งออกเป็น ๙ สาย ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. รายการเอื้อไออุ่น โดยพ่อท่าน ๒๙ ม.ค. ช่วงเช้ามีการฟ้อนเจิงไล่ความหนาว
๑. เก็บผักป่าประเภททีม ๓ คน โดยเน้นคุณภาพและปริมาณ คือ รู้สรรพคุณ ว่าเป็นยาหรืออาหาร ความหลากหลาย ในชนิดของผักป่า ที่เก็บได้ ทีมชนะเลิศที่ ๑ ทีมหัวเลาชาย, ที่ ๒ ทีมปายผสม, ที่ ๓ ทีมหัวเลาหญิงป่าแป๋ ๒. จักตอก ประเภทเดี่ยว โดยเน้นคุณภาพและปริมาณ คือ เส้นเสมอกันและมีปริมาณมากกว่า ชนะเลิศที่ ๑ นางลานนา จากบ้านราชฯ, ที่ ๒ นายอำนวย จากกลุ่มฮอมบุญ, ที่ ๓ นางใจทิพย์ จากดอยรายปรายฟ้า ๓. หักฟืน ประเภททีม ๓ คน การเก็บฟืนจากป่าโดยไม่ทำลายธรรมชาติและทำ ให้ป่าสะอาดขึ้น ทีมชนะเลิศที่ ๑ ทีมหัวเลา, ที่๒ ทีมเด็กดอย, ที่ ๓ ทีมฮอมบุญ ๔. ผ่าฟืนชาย ประเภทเดี่ยว
ชนะเลิศที่ ๑ คุณชัชวาล บ้านหัวเลา, ที่ ๒ คุณเสน บ้านหัวเลา, ที่ ๓ คุณประยูร
ศีรษะอโศก ๕. ตำข้าว ประเภททีม ๕ คน ทีมชนะเลิศที่ ๑ ทีมศีรษะอโศก, ที่ ๒ ทีม น.ร.ส.ส.ภ.(ภูผาฟ้าน้ำ), ที่ ๓ ทีมแด่ชีวิต ๖. ตักทราย ประเภททีม ๗ คน ทีมชนะเลิศที่ ๑ ทีมหัวเลา ๑ คุณสุวัจน์, ที่ ๒ ทีมหัวเลา ๒ คุณบุญธรรม, ที่ ๓ ทีมหัวเลา ๓ คุณจันทร์ รางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศที่ ๑-๒-๓ ทั้งประเภททีมและประเภทเดี่ยว จะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณติดเหรียญ ๒๕ สตางค์, เหรียญ ๑ บาท และเหรียญ ๕ บาท ตามลำดับ มีของชำร่วยมอบให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในแต่ละทีม และรางวัลปลอบใจ เป็นของชำร่วย มอบให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ๑๘.๐๐ น. การแสดงภาคค่ำของผู้ไปร่วมงานแบบธรรมชาติ และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาอาริยะทุกประเภท โดยสมณะเดินดิน ติกขวีโร เป็นผู้มอบ เนื่องจากพ่อท่านอาพาธ ๓๐ ม.ค. แยกย้ายกันเดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ สำหรับสมณะเดินดิน ติกขวีโร, สมณะ-สิกขมาตุ ไปกิจนิมนต์ที่ ดอยรายปลายฟ้า แทนพ่อท่าน ส่วนพ่อท่านเดินทางกลับสันติอโศกวันที่ ๓๑ ม.ค. สำหรับผู้ไปร่วมงานได้ให้สัมภาษณ์
ดังนี้ ได้มาช่วยงานครัว ตัดไม้เตรียมกีฬาอาริยะ ได้ตำข้าวเป็นครั้งแรก งานที่นี่ไม่ค่อยหนักเท่าไหร่ จะเน้นเรื่องศีลมากกว่า ประทับใจ คอร์สมหัศจรรย์เพราะทำให้รู้จักอธิศีล ทำให้เราสังวรมากขึ้น ถ้าทำได้จริงๆจะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดย เฉพาะอธิศีล ของศีลข้อที่ ๔ ค่ะ" นายขยันยอม ธนูศิลป์ มว.ช.สันติอโศก "อากาศหนาวกว่าที่คิด มางานนี้ได้พัก รู้สึกสบายๆ เหมือนมาทำกายภาพบำบัด ตอนเช้าต่อสู้กับความหนาว ตอนเย็นไปอาบน้ำพุร้อน กล้ามเนื้อผ่อนคลายดี ประทับใจทีมงานที่เขาเสียสละมาก ตี ๔ ตี ๕ ก็ตื่นมาทำงานแล้ว" นางทองธรรม เจนชัย ภูผาฟ้าน้ำ "ปีนี้จัดแบบธรรมชาติ ไม่เน้นว่าต้องสมบูรณ์แบบ อยู่แบบธรรมชาติๆ เพื่อให้ญาติธรรม ได้พักผ่อน การแสดงก็แบบธรรมชาติ ก็เลยไม่หนักมาก ชาวเขาที่เราไปแลกของ ๕ หมู่บ้านก็มาหมด ๕ หมู่บ้าน ที่กลับไปก่อน ก็ไม่ได้มาลงทะเบียน สำหรับตลาดอาริยะชาวเขาก็บอกว่าซื้อน้ำมัน เสื้อผ้าได้ราคาถูก โรงบุญย้ายไปอยู่ในป่าสัก ทำให้ญาติธรรมกินได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ ไม่ต้องกังวลว่าสมณะจะมองเห็น กินตรงไหนก็ได้ ที่ขาดคือผ้าห่ม หลายคนนอนไม่หลับ ถือเป็นข้อบกพร่องของเจ้าภาพที่ต้อนรับไม่ทั่วถึง ปีนี้ถือว่าธรรมชาติมากที่สุด" นางใบหญ้า ตันวิระ ผู้ประสานงาน "พวกเราไปงานสึนามิ กลับมาเวลาเหลือน้อย ทุกปีเด็กจะมาช่วยเตรียมงานเยอะ แต่ปีนี้ มีบ้านราชฯ ทีมเดียวที่ขึ้นมาช่วย ก็ประทับใจ มากเพราะเขาเอาภาระดี ทีมที่ไม่ได้ไปสึนามิ ก็ช่วยเตรียมพื้นที่ ปีนี้อาจารย์ ๑ บอกว่าเราจะเน้นคำว่าเรียบง่าย ซึ่งก็เรียบง่ายจริงๆ ก็มีที่ให้นอน มีอาหารให้ทาน แม้แต่เวทีก็ทำเรียบง่าย ไม่มีอะไร ช่วงเตรียมงานก็ประทับใจเด็กๆที่ช่วยกันตักส้วม ๒-๓ วัน ส่วนเด็กเล็กก็เอาน้ำไปเสิร์ฟพี่ๆตามจุดต่างๆ งานนี้เหนื่อยน้อยลง เพราะพวกเราเป็นงานและวางใจกันได้ อาจารย์ก็ไม่อยู่เหมือนตั้งใจให้พวกเราจัดการกันเองเป็นธรรมชาติจริงๆ ปัญหาก็มี แต่เราวางใจแล้วก็ช่วยกัน กีฬาปีนี้ก็กระจาย หลายชนิดที่พวกเราได้รางวัลไม่ใช่เฉพาะบ้านหัวเลา แล้วเขาก็ไม่ลง เช่น ตำข้าว ถ้าเขาลงเราไม่ได้อยู่แล้ว หรือเก็บผักป่า หากเขาลงเขาจะได้หมด เราเลยขอร้องให้เขาเป็นหัวหน้าแต่ละทีม รางวัลเขาก็คืนให้เอาแต่ของชำร่วย โรงบุญน้อยกว่าปีที่แล้ว ทุกปีปฐมฯ เป็นหลัก แต่ปีนี้ติดงานศพคุณฟ้าดาว พอดีปีนี้คนก็น้อยก็เลยพอดีกัน ก็บรรลุ เป้าหมาย ที่เน้นให้พวกเราได้มาพักผ่อน ใครอยากพักก็พัก ใครอยากกินก็กิน แล้วอากาศก็ไม่หนาวจัด บางส่วน ก็ไปอาบน้ำพุร้อน ที่โป่งเดือด เวทีการแสดง ใครอยากแสดงก็ขึ้นไป หากคนดูไม่ถูกใจเดี๋ยวเขาปรบมือก็ลงไปเอง มีตั้งแต่ตอนบ่ายๆ แล้วที่มาส่วนมาก เป็นคนในๆ ขอบคุณพี่น้องทุกคนที่มาช่วย ก็รู้อยู่ว่าเดินขึ้นก็เหนื่อยแล้ว ต้องหอบผ้าห่มมาอีก เตรียมสู้หนาว หวังว่าภูผาฯ จะเป็นที่ ให้พวกเรา ชาวอโศก ที่เหนื่อยจากการงานมาพักตามสบาย" นายคงเด่น จันทร์หนองฮี ออกแบบของรางวัล "concept (ข้อคิดเห็น)นี้ อาจารย์หนึ่งนำเสนอว่า เรามีการตำข้าว ฝัดข้าว กินทุกวัน ก็ให้มีสัญลักษณ์คือ กระด้ง เรามีแป้นเกล็ดแล้วพ่อท่านเปรียบเหมือน พญาแร้ง จะทำยังไงที่ของเล็กๆที่ดูไม่มีราคา ให้มองเป็นคุณค่าขึ้นมาบ้าง แล้วเชียงใหม่เขาจะทำหม้อดิน ก็เอากระด้ง พญาแร้ง หม้อดิน มาผสมกัน ช่วยกันทำ ๔ คน ภาพรวมของงานเป็นไปตาม concept ที่อาจารย์หนึ่งวางไว้ เป็นธรรมชาติจริงๆ เรียบง่าย ซึ่งผมรู้สึกฝืน เพราะไปยึด การแสดง บนเวที งานปีใหม่ที่บ้านราชฯ แต่พอสรุปงานในแต่ละวันก็เป็นไปตามที่เราวางไว้ เป็นเพราะพวกเรา ยังเกร็งๆ กันหรือเปล่า ภาพความเป็นธรรมชาติก็ยังไม่ชัดเจนนัก อาจารย์มากระซิบว่าพวกเราจะตีกัน (มีผัสสะ) หรือเปล่า จริงๆพวกเรา ก็ระมัดระวัง กัน อยู่ส่วนหนึ่ง ฉันพี่ฉันน้อง เพราะเข้าใจกันอยู่แล้ว มีตัวประสานอยู่ก็คงไม่มีอะไร หากว่ามีการร่วมกับบุคคล ภายนอก ก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น จุดแปลกใหม่ของงานครั้งนี้ คือ รูปแบบในการวางแปลน การเตรียมการที่มีเหตุปัจจัยมาเปลี่ยน เช่น สึนามิ การประชุม เตรียมงาน ก็น้อย ด้วยเหตุของการวางใจด้วย และเข้า concept ของอาจารย์ที่อยากให้เรียบง่ายจริงๆ ขาดก็ให้รู้ว่าขาด เกินก็ให้รู้ว่าเกิน เอาตามธรรมชาติ ที่มันจะเป็น แต่เราก็ตระเตรียม กันพอประมาณ เท่าที่ยังชีพจริงๆ |
||
รายงานความเป็นไป
ของกสิกรรมไร้สารพิษ(ตอนจบ) ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ พาหมู่คณะไปเยี่ยมคุณพลอยไพรที่กลางดงอีกโดยเดินทางไปเช้าเย็นกลับ โดยไปร่วมลงแปลง เท่าที่ทีมงานจะทำกันได้เป็นการเปิดโลกทัศน์ในเรื่องกสิกรรมไร้สารพิษให้กับผู้ร่วมเดินทาง ตอนบ่ายนัดกับป้าจินดาไปที่คลอง ๑๒ ปทุมธานี เพื่อไปดูสวนส้มของลุงนำ อยู่บนพื้นที่จำนวน ๘ ไร่ เป็นสวนส้ม ที่ไม่ได้รับ การใส่ปุ๋ย และยาเคมีทุกชนิดมาแล้วประมาณปีเศษๆ เพราะฐานะทางการเงินของครอบครัวลุงนำเอง ผลก็พอใช้ได้ ในแปลงที่ปลูกต้นส้ม โดยส่วนใหญ่ แข็งแรงดี แต่ส้มมีรสชาติเปรี้ยวมาก หากได้รับการบำรุง อีกสักหน่อย ผลผลิต ก็จะมี คุณภาพที่ดีขึ้นมาได้ แต่ที่สำคัญตัวผู้ผลิต ยังติดอยู่ในอบายมุข คือยังดื่มยังสูบอยู่ ก็ได้ให้ความเห็น กับผู้ที่แนะนำมาว่า เราต้องเชิญเขามาเข้าร่วมอบรมสัจธรรมชีวิตที่ทางสันติอโศกจัดในเดือนหน้านี้ก่อน จากนั้น ก็แวะไป คลอง ๑๓ ไปเก็บผัก บ้านป้าจินดา แวะเยี่ยมให้กำลังใจคุณเพลิงชัยแล้วลากลับ สันติอโศก ๒๕-๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๗ เดินทางไปสวนกู้ไท ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งกระทิงล่าง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งดูแลการผลิต โดยคุณธเรศ ซึ่งเป็นญาติธรรมเก่าแก่ และทางทีมงาน เคยเดินทางไปที่นี่แล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว ครั้งนี้เดินทางไป เพราะทราบว่า มีผลผลิต คือมะเขือเทศ สีดา และกล้วยน้ำว้า ส่วนความคืบหน้า ในกระบวนการผลิต ทางคุณธเรศ ได้เปิดหน้าดินเพิ่ม ทำแปลงไว้ และปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดินไว้ จากเดิมอีกพื้นที่หนึ่ง และผลผลิต ที่คาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ ในครั้งหน้าคือ คะน้า ผักชี ถั่วฝักยาว ทั้งนั้นทั้งนี้ทุกอย่าง แปรผันตามสภาพภูมิอากาศ ในท้องที่นั้นๆด้วย เนื่องจากปัจจุบัน เป็นฤดูฝน ทีมงานพักที่นี่ ๑ คืน พอรุ่งเช้าหลังจากร่วมรับประทานอาหารกับเจ้าของพื้นที่ซึ่งได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีเยี่ยม พวกเรา ก็เดินทางต่อไป ยังอำเภอบางแพ บ้านของคุณนี (ปีกฟ้า) เยี่ยมคุณแม่ซึ่งป่วยอยู่ และไปเก็บผลผลิตในสวน ของบ้านคุณนี ได้ผลผลิตจำพวก กล้วย มะกรูด มะพร้าวน้ำหอม หลังจากนั้นก็เดินทางกลับสันติอโศก. |
||
|
||
กิจกรรมชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนปฐมอโศก
- อินทร์บุรี วันที่สองของงาน ในช่วงเช้า ๐๕.๐๐-๐๘.๐๐ น. สมณะเสียงศีล ชาตวโร ได้บรรยายร่วมกับอ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร เรื่อง "ธรรมะกับการเกษตร" ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่า การทำเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติ ให้ประสบผลสำเร็จ ต้องมีพื้นฐาน ของธรรมะ ถ้าจิตมีแต่ความโลภ อยากได้มากๆ เพื่อหาเงินมาฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยเที่ยวอบายมุข ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเขามาลงทุน เริ่มต้นก็ผิดทางแล้ว หนี้สินจะพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ทำมาหากินได้มาก็ส่งพ่อค้าปุ๋ย ผ่อนต้น ผ่อนดอก หมดไม่เหลืออะไร เหนื่อยเปล่า เห็นมาเยอะแล้ว เกษตรกรจะต้องตั้งหลักตรงที่ ทำให้พออยู่พอกิน เหลือจึงขายพึ่งตนเองให้มาก ทำปุ๋ย ทำน้ำชีวภาพใช้เอง จึงจะอยู่รอด ต้องรู้จัก เชื่อมั่น อดทน รอคอย และให้อภัย อย่าไปหลงใหลอบายมุข เมืองไทยเราอุดมสมบูรณ์ที่สุด ไม่น่ามีคนจน แต่ทุกวันนี้ เป็นหนี้เป็นสินกันเกือบทั้งบ้านทั้งเมือง เรามีตัวอย่างของเกษตรที่เคยอบรมสัจธรรมชีวิตกับเรา แล้วมีชีวิตที่ดีขึ้น หมดหนี้หมดสินหลายราย เพราะเขารู้จักนำธรรมะ มาใช้กับชีวิตประจำวัน รู้จักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงอยู่รอด สนใจรายละเอียดของงาน ดูได้จาก VCD จากชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน ปฐมอโศก |
||
เห็บเข้าหูภูผาเมฆ (ตอน ๑) เมื่องานฉลองหนาวฯที่ผ่านมานี่เอง ผู้เขียนได้มีโอกาสไปตั้งหน่วยพบาบาลที่ ภูผาฟ้าน้ำ มีผู้ไปใช้บริการอบอุ่น พอสมควร ไม่มากมาย เหมือนปีก่อนๆ ส่วนใหญ่มีอาการเกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ รองลงมาคือระบบทางเดินอาหาร อาหารเป็นพิษ กระดูก และกล้ามเนื้อ บาดแผล และผื่นแพ้ เป็นต้น อาการเหล่านี้ ผู้เขียนพอมีประสบการณ์การ ดูแลให้อาการบรรเทา เบาบางลง ได้ตามสมควรแก่อัตภาพ แต่เหตุการณ์มิใช่เพียงเท่านี้ มีคนไข้รายสำคัญคนหนึ่งคือ ด.ช.ภูผาเมฆ แพงค่าอโศก (แห้งแก๋ง) ซึ่งเป็นบุตรชาย ของคุณภูฟ้า (ยุทธนา) และ คุณน้ำแรง ซึ่งมีอาการปวดหูมาก โดยคุณน้ำแรงสงสัยว่า เห็บจะเข้าหู ซึ่งผู้เขียนเอง ไม่มีประสบการณ์ ในเรื่องนี้เลย จึงแนะนำให้ส่งโรงพยาบาล ไปพบแพทย์ ครั้งแรกแพทย์ก็ให้ยามารับประทาน และยามาหยอดหูโดยไม่ได้ส่องดูเลยว่า ภายในหูมีอะไรอยู่ ๑ วันผ่านไป ด้วยความทุกข์ ทรมาน เนื่องจากอาการไม่ดีขึ้นเลย ข้าพเจ้าจึงพาไปพบแพทย์อีกครั้งกลางดึก แพทย์ส่อง ดูหูเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเด็ก ดิ้นมาก และพบว่ามีขี้หูจำนวนมาก แพทย์จึงคิดว่า น่าจะปวดหูจากขี้หูนี้ จึงให้ยา ไปละลายขี้หู และนัดว่าอีก ๒ วัน ให้มาดูด เอาขี้หูออก หลังจากผ่านไป ๒ วัน อาการปวดหูไม่มี วี่แววว่าจะดีขึ้นเลย จึงพาไปโรงพยาบาลตามนัด และขอพบหมอหูโดยตรง เมื่อได้พบหมอหู ท่านจึงได้ส่องดูภายในหูอย่างละเอียด แม้เด็กจะไม่ยินยอม ดิ้นรนต่อสู้ ก็ช่วยกันจับส่องดูให้แน่ชัดว่ามีอะไร และแล้วก็พบตัวการสำคัญ คือ เห็บ ๑ ตัว อ้วนพีกำลังดูดเลือดเป็นอาหาร แพทย์จึงคีบออกมา แล้วให้ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด และยาหยอดหู แล้วนัดมาอีก ๑ อาทิตย์ นับว่าเป็นที่โล่งอกโล่งใจเป็นอย่างยิ่ง ที่สามารถกำจัดต้นเหตุ แห่งความเจ็บปวดได้ แต่กว่าจะหาเหตุได้ก็เล่นเอา "แห้งแก๋ง" และญาติผู้ดูแลใกล้ชิด ต้องทุกข์ทรมานไปด้วย คิดแล้ว คงไม่ต่างอะไรกับ ความทุกข์ ในใจคน ถ้ากำจัดต้นเหตุคือ กิเลสทั้งหลายทั้งปวงลงได้ ความทุกข์ทั้งหลาย ก็คงมลายสิ้น ไม่เหลือ แม้ซากไว้ให้ดู ค่ะ...เรามาช่วยกันกำจัดต้นเหตุแห่งทุกข์กันเถอะ กว่าจะออกได้ ก็อาจจะเจ็บปวดไม่แพ้ "ภูผาเมฆ" ที่ดิ้นเร่าๆ เมื่อตอน เอาเห็บ ออกจากหู แล้วฉบับหน้า จะเอาเรื่องของ "เห็บ" ตัวการสำคัญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ อย่าลืมติดตาม ตอน ๒ นะคะ เพราะจะมีอะไร ที่เราคิดไม่ถึง และไม่รู้มาบอกค่ะ. - กิ่งธรรม - |
||
ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน
ร่วมซับขวัญชาวใต้ สมณะเสียงศีล ชาตวโร สมณะเพื่อพุทธ ชินธโร และเพื่อนสมณะอีกหลายรูป ได้ไปดูที่เกิดเหตุ ที่หนักที่สุด มีคนตาย มากที่สุด คือที่บ้าน น้ำเค็ม ซึ่งได้สัมภาษณ์ ชาวบ้านที่เหลือ อยู่และถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอสภาพความเสียหาย ที่แทบจะไม่เหลืออะไรเลย หลายครอบครัว ตายหมดทั้งครอบครัว ขณะที่กำลังดู พื้นที่เกิดเหตุอยู่นั้น ก็มีผู้สื่อข่าว จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๒-๓ คน มาขอสัมภาษณ์ บอกว่าจะไปลง ในสกู๊ปข่าวหน้าหนึ่ง ซึ่งต่อมาก็ได้ลง ในฉบับวันจันทร์ที่ ๒๔ ม.ค.๔๘ ดังมีเนื้อหา และรูป ที่ได้ลงในข่าวอโศกแล้ว นอกจากนี้ก็มีผู้สื่อข่าวจากต่างประเทศ ถ่ายทำเป็นวิดีโออีก ๒ ประเทศ คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสวีเดน ซึ่งมีนักท่องเที่ยว จากสองประเทศนี้ เสียชีวิตจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิในประเทศไทยมากที่สุด โดยผู้สื่อข่าว ทั้งสองประเทศ ได้สัมภาษณ์ สมณะเสียงศีล ในเนื้อหาคล้ายๆกันคือ ผู้สื่อข่าวถามว่า ท่านมาจากไหน?, มาที่นี่เพื่อวัตถุประสงค์อะไร และรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ครั้งนี้ สมณะเสียงศีล ชาตวโร ก็ได้ตอบว่า พวกเราเป็นนักบวชในศาสนาพุทธ มาจากหลายจังหวัด มาเพื่อ ที่จะช่วยเหลือทางด้านจิตใจ ช่วยแบ่งปัน ความทุกข์ จากชาวบ้าน ที่ประสบเหตุ คลื่นสึนามิ ชาวบ้านกำลังเสียขวัญและมีความทุกข์มาก ในฐานของนักบวช ก็จะช่วย ให้กำลังใจ ให้เขาลืมความโศกเศร้า และมีกำลังใจ ต่อสู้กับชีวิตต่อไป ในกลุ่มของพวกเรา จะมีทั้งนักบวช และฆราวาส จะมาเป็นตัวอย่าง ของผู้ที่อยู่อย่างเรียบง่าย อยู่ง่าย กินง่าย เสียสละและมีน้ำใจ ฆราวาส หรือเด็กๆ ก็จะช่วยกันเก็บขยะ ทำความสะอาด ห้องน้ำห้องส้วม ทำอาหารเลี้ยงกัน ช่วยตัดผมให้ฟรี แจกเทปและหนังสือธรรมะ เป็นเพื่อนคุย กับเขา ให้เขาได้ระบายความทุกข์ ปรับทุกข์ได้ แล้วเราก็จะค่อยๆแนะนำให้เขารู้จักทำจิตใจ ให้เข้มแข็ง ให้มีกำลังใจสู้ต่อไป ส่วนคำถามที่ว่ารู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ครั้งนี้ สมณะเสียงศีล ก็ตอบไปว่า รู้สึกใจหายเหมือนกัน เพราะเหตุการณ์ ร้ายแรง อย่างนี้ ไม่เคยมีในเมืองไทย แต่ก็ซึ้งในน้ำใจของคนไทย ที่ไม่ทิ้งกันในยามทุกข์ยาก จะเห็นได้ว่า มีสิ่งของ เสื้อผ้า อาหาร และ ผู้คนมาช่วยเหลืออย่างล้นหลาม สื่อมวลชนต่างๆ ก็เสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง สร้างความอบอุ่นให้กับ พี่น้องชาวใต้ เป็นอย่างมาก หน่วยงานของรัฐและเอกชน ก็ทุ่มเทช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และรวดเร็วอย่างที่เห็น พวกเราก็มาช่วยในส่วนที่จำเป็นคือด้านของจิตใจ ซึ่งสำคัญมากและต้องใช้เวลาพอสมควร เราจึงต้องมาอยู่กัน หลายวัน (การสัมภาษณ์ ยาวพอสมควร ได้ตอบเป็นภาษาไทย โดยมีล่ามช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษ) และเราก็ได้ถาม ความรู้สึก ของเขา ต่อเหตุการณ์นี้เหมือนกัน ซึ่งเขาก็ตอบว่า เขาเสียใจ แต่มันเป็นเหตุการณ์ ทางธรรมชาติ เกิดขึ้นได้ทั่วโลก โทษใครไม่ได้ แต่คนไทย มีน้ำใจดีมาก ช่วยกันเต็มที่. |
||
หน้าปัดชาวหินฟ้า เจริญธรรม สำนึกดี พบกับ นสพ.ข่าวอโศก ฉบับที่ ๒๔๘(๒๗๐) ปักษ์แรก ๑-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ สำหรับข่าวประจำ หน้าปัดชาวหินฟ้าในรอบปักษ์นี้มีดังนี้ ฉลองหนาวฯ...ปีนี้ชาวเราไปซับขวัญทางภาคใต้ก่อนงานฉลองหนาวธรรมชาติอโศก ครั้งที่ ๓(๕) ก็กลับกันช่วงปลายเดือน หรืออาจอยู่ซับขวัญต่อถ้าจำเป็น สมาชิกสถาบันบุญนิยม ก็ประชุมปรึกษาหารือถึงการไปช่วยทางจิตวิญญาณ ตามที่รัฐบาล ได้ขอความช่วยเหลือมา ทางภูผาฯก็เสนอว่า จะงดงานฉลองหนาวฯในช่วงปลายเดือน ม.ค.๔๘ นี้ก็ได้ จะได้ไม่ต้องกังวล หรือเป็นห่วง แต่พ่อท่านคงเห็นว่า เป็นงานที่ชาวเรา จะได้มีโอกาสพักผ่อนและสังสรรค์กัน หลังจากเดินทางไปช่วยซับขวัญญาติพี่น้องชาวใต้ ที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ จึงเมตตาชาวเราให้คงงานฉลองหนาวฯไว้ แล้วชาวเราก็ได้มีโอกาสขึ้นมาบนดอยแพงค่า พักผ่อนกันแบบ จริงๆจังๆ ในเรื่องการเตรียมงานก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก มาก เพราะชาวเราอยู่แบบวรรณะ ๙ อยู่แล้ว ยิ่งผ่านสนามใหญ่ตามศูนย์ต่างๆที่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา การมาภูผาฯครั้งนี้ก็เหมือนมาแดนสวรรค์ อย่างเห็นๆกันในชาตินี้ จะเห็นได้ว่า บางคนเริ่มตัดสินใจ ขอมาสร้างบ้าน อยู่ในชุมชน บางคน ขออยู่พักและฝึกฝนต่อไป อากาศปีนี้ก็หนาว แต่หนาวน้อยกว่าปีที่แล้ว เพราะหนาว ในระดับแค่ ๑๐ องศาเซลเซียส... นักเรียน ม.๖ จากสัมมาสิกขาแต่ละแห่งก็มาฝึกปฏิบัติธรรม ก็รู้สึกว่า หลายคนคงไม่ผ่านบทฝึกที่นี่ไปได้ง่ายๆ เพราะจะไม่มี โอกาส ไปไหนๆตามใจตัวเอง แต่ก็มีบางคนที่ได้ประโยชน์ น.ส.ปานชีวัน ไวยพัฒน์(นุ่น) ม.๖ สส.ธ. ก็เป็นเด็กวัยรุ่นที่มาฝึกฝนตัวเองในครั้งนี้ แม้สุขภาพในช่วงงานจะไม่แข็งแรงเต็มที่ แต่ก็ได้ธรรมะจากการมาฝึกที่ภูผาฯ เธอบอกกับจิ้งหรีด ว่า "ได้เอาจริงเอาจังกับการถือศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ แม้จะมีเวลาอยู่ฝึก ไม่มากก็ตาม แต่ก็ภูมิใจที่ทำได้ มันฝืน มันทรมาน แต่ก็ผ่านมาได้ ได้นั่งสมาธิไม่ให้ฟุ้งซ่าน ถ้าฝึกบ่อยๆ สมาธิเราก็จะดีขึ้น ได้ฝึกความยินดีกับทุกเหตุการณ์ ทุกสถานการณ์ บางอย่างอาจมองหาความยินดีกับมันยาก ทำให้เกิดความทุกข์ แต่ถ้าเราฝึก ความยินดีเก่งแล้ว เราจะมีความสุขกับสิ่งที่เราไม่ชอบนั้น ได้ฝึกฝืนอดทน สู้กับความหนาวทุกเช้า-เย็น ได้เห็นความอ่อนน้อม ของน้องๆ ภูผาฯ ซึ่ง แสดงถึงความน่ารัก มีความรู้สึกอยากให้นักเรียน บ้านราชฯ เป็นแบบนี้บ้าง" โอ้โฮ! น้องๆที่ภูผาฯ ได้รับคำชม แบบนี้ คงหน้าบานเป็นดวงจันทร์ข้างขึ้น แต่ก็มีพี่ ม.๖ จากบางแห่งแถวบึงกุ่ม แม้จะประทับใจ ที่ได้มาฝึก แต่ก็มี ข้อเสนอแนะว่า "อากาศหนาว น้ำเย็น น่าจะมีเครื่องทำน้ำอุ่นเยอะๆ น้ำมันขุ่น ห้องน้ำไม่เพียงพอ น่าจะมีบริการก่อไฟเนอะ และที่พักฝ่ายหญิง น่าจะมีที่ไว้สำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้า และน่าจะมีบริการผ้ายางขณะทำงาน น่าจะเตรียมอุปกรณ์ ให้พร้อม เช่น ผ้าปิดปาก เพราะฝุ่นมันเยอะ มีบริการผ้าห่มเยอะๆ และน่าจะมีห้องสำหรับการเข้าคอร์ส เป็นห้องกระจก ที่มองเห็นธรรมชาติ แต่อากาศข้างนอกไม่เข้า จะช่วยบรรเทาหนาวเกิดความอบอุ่น เพิ่มพลังให้แก่จิตใจจ้า" จิ้งหรีดได้ฟังข้อแนะนำของคุณเธอ ก็เห็นภาพบรรยากาศการมาฝึกที่ภูผาฯของเด็กๆว่า มิใช่สะดวกสบายง่ายเลยนะ จึงยิ่งรู้สึก ชื่นชมเด็กที่ทนฝึกอยู่ได้ เพราะเจอแค่อากาศหนาวจิ้งหรีดก็แทบจะถอดใจแล้ว ส่วนนิสัยใจคอกระด้างที่ติดมานาน ก็คงต้องใช้เวลา หลายฤดูหนาวกว่าจะกล่อมเกลาได้ที่ ยังไงๆคุรุทั้งหลายรวมทั้งผู้ใหญ่ด้วยนะฮะ คงเข้าใจถึงการฝึกฝน ขัดเกลานิสัยของคนนะฮะว่า ไม่ง่ายเหมือนทำบะหมี่สำเร็จรูปแบบยำยำ มาม่า ไวไว(เจ) แค่เด็กอยู่ฝึก ๒-๓ เดือน จะเปลี่ยน นิสัยกันได้ แค่ทนอยู่กับเราได้โดยไม่มีสิทธิ์ไปไหนตามใจตัวเองก็อกอีกแป้น (กิเลส)จะตายแล้วละฮะ จริงไหมฮะ... เรื่องโฆษกกีฬาอาริยะ ใครก็ชื่นชมอาแก่นฟ้าที่พากย์ได้อย่างสนุกสนาน ท่านโพธิสิทธิ์ก็ยังพูดชื่นชมบ่อยครั้ง ยังไงๆปีหน้า อย่าลืมมาช่วยพากย์อีกนะฮะ รวมทั้งพี่ถึงดิน ก็เป็นลูกคู่ของอาแก่นฟ้าได้อย่างถึงดินเช่นกัน ไม่เสียทีที่ฝึกจากเวทียุวพุทธฯ มานาน... เรื่องกระเป๋าปีนี้ต้องยกให้อาใฝ่ธรรม กับ ครูเอ๋ จิ้งหรีดขอยกให้ว่าเป็นนักจัดระเบียบดาวรุ่ง เหมาะกับหน้าที่นี้มาก แม้บางท่าน อาจจะได้กระเป๋าช้าบ้าง แต่รับรองว่าไม่มีหาย ดังงานปีนี้เป็นประกัน พิสูจน์ฝีมือแล้วว่า สอบผ่าน ก็อาจมีบางอย่างที่เอื้อมไม่ถึง เช่น บริขารสมณะ ท่านเด่นตะวันกับท่านเมืองแก้ว ต้องตามหาบาตร อันนี้จิ้งหรีดก็ขอฝากลูกศิษย์ ที่ช่วยถือบาตรและกลด ให้สมณะ ช่วยเอาภาระส่งบริขารให้ท่านถึงที่ด้วย... คุรุดีบุญ ก็เป็นโฆษกชั้นดีของชาวภูผาฯ อีกคนหนึ่ง งานนี้พูดประกาศจนโต๊ะหาย เอกสารหาย เพราะมีคนขนไปใช้แบบไม่ทัน รู้เนื้อรู้ตัว แต่ก็กลับมาคืนได้ในท้ายสุด อย่างนี้ตัวตนก็คงหายแน่ๆ นี่แหละยอดโฆษกขนานแท้...จี๊ดๆๆๆ... ควันหลง...จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ "สึนามิ" ถล่มภาคใต้ ๖ จังหวัด ทำให้ได้เห็นน้ำใจจากคนเกือบทั่วโลก ที่ได้แสดงความ มีน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนี้ รวมทั้งชาวบุญนิยมซึ่งเมื่อได้รับการติดต่อจากศูนย์คุณธรรมฯ ให้มาช่วยซับขวัญชาวใต้ และได้ลงมติว่าจะลงไปช่วยแล้ว ก็มีหน่วยเคลื่อนที่เร็ว นำโดยท่านกลางดิน ไปสำรวจพื้นที่ส่งข้อมูล ให้ส่วนกลาง เพื่อพิจารณาว่า จะช่วยด้วยวิธีใดบ้าง จนกระทั่งในที่สุด พ่อท่านและคณะได้ธรรมยาตราลงใต้ในวันที่ ๑๑ ม.ค.๔๘... พอวันที่ ๑๓ ม.ค. ทางไอทีวีได้ถ่ายทอดสดการบิณฑบาตของสมณะ สิกขมาตุ โดยมีญาติธรรมเดินตามประมาณ ๒๐๐ คน ช่วงเที่ยงก็มีข่าวออกอีกครั้ง จิ้งหรีดเห็นท่านเสียงศีล ท่านกล้าดี ท่านดินไท ท่านหินเพชร กำลังรับฟังความทุกข์จากชาวบ้าน โดยแยกเป็นกลุ่มๆ ที่บริเวณศูนย์บางม่วง ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์ใหญ่ที่สุดในจำนวน ๗ ศูนย์ ที่ชาวบุญนิยมไปปักหลัก นสพ.มติชนในวันนี้ จิ้งหรีดก็ได้มีโอกาสอ่านที่ภูเก็ต ก็มีภาพสมณะโปรดสัตว์ ใน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา แถมในหน้า ๘ ก็ยังมีข่าว อีแร้งสีน้ำตาล ซึ่งกำลังจะสูญพันธุ์ตกลงมาจากฟ้าลงมาทางภาคใต้ของไทย ใครอยากรู้ว่าเหตุใด จึงเกิดความประจวบเหมาะ อย่างนี้ ก็คงต้องถามผู้รู้กันเอง หรือจะถามพญาแร้งก็ได้ ถ้าใครรู้จัก... ครูเอ๋ ญาติธรรมชาวเรา เปิดใจให้จิ้งหรีด ฟังว่า ลาออกจากครู มาเปิดร้านมังสวิรัติริมคลอง แล้วเพิ่งตัดสินใจเซ้งไปไม่นาน เลยช่วยให้มีโอกาสไปร่วมซับขวัญชาวใต้ ได้บุญไปพะเรอเกวียน นี่แหละความดีมีทุกโอกาส ถ้าเราไม่ประมาท ก็จะไม่พลาด จากความดี (ที่สูงยิ่งๆขึ้นไป)... ช่วงพ่อท่านพาหมู่ทั้งนักบวชและฆราวาส เดินธรรมยาตราพร้อมการออกโปรดสัตว์ในช่วงเช้า(๑๙ ม.ค.) ที่บ้านน้ำเค็ม ทำให้ ญาติธรรม และชาวบ้านแถบน้ำเค็มบางส่วน ถึงกับน้ำตาซึม ด้วยปีติ โดยเฉพาะคุณจิ๋ม พาสามี ออกมาใส่บาตร ด้วยความปีติ จนตัวสั่น มือสั่น ขณะใส่บาตร เพราะเป็นครั้งแรกที่คุณจิ๋มมีโอกาสที่พ่อท่านมาโปรดถึงที่ คุณจิ๋มนั้นต้องเผชิญชะตากรรมถูกไฟไหม้บ้านถึง ๓ ครั้ง แต่ก็พอฟื้นตัวขึ้นมาได้ แต่เจอคลื่นยักษ์คราวนี้ แม้บ้านจะยังอยู่ เพราะมีบ้านอื่นขวางทางคลื่นยักษ์ไว้ แต่ก็ทำให้ ข้าวของเสียหายไปมากมาย และยิ่งกว่านั้นก็คือ คลื่นยักษ์ได้พัดพาลูกค้า ให้สูญหายตายจากและย้ายออกไปจากบ้านน้ำเค็มเป็นจำนวนมาก ถึงเปิดร้านขาย แล้วใครจะมาซื้อสินค้าเหมือนก่อนล่ะ ตอนไฟไหม้ก็ยังมีลูกค้า พอฟื้นตัว ฟื้นฐานะขึ้นมาใหม่ได้ แต่ครั้งนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่า จะขายของฟื้นกิจการได้หรือไม่ ยังไงๆ จิ้งหรีดก็ขอเอาใจช่วยนะฮะ... ในช่วงรอสรุปงานของศูนย์ต่างๆ ที่อุทยานพระนารายณ์ จิ้งหรีดเห็นบรรยากาศแล้วคล้ายงานระดมธรรมที่สวนลุมฯ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ซึ่งปีนั้นพ่อท่านก็พาเดินธรรมยาตรา ไปสวนลุมฯร่วมงานระดมธรรมวันวิสาขบูชา๒๔ มาปี ๒๕๔๘ นี้ นับแล้ว ก็ครบรอบอีก ๒๔ ปี ต่อมาพอดี สาธุ... จี๊ดๆๆๆ... ควันหลงวันเด็ก...งานวันเด็ก สันติอโศกจัดเมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๔๘ ยังได้รับความร่วมไม้ร่วมมือด้วยดีทั้งจาก คณะครู-นักเรียน สัมมาสิกขา ผู้ปกครอง นร.พุทธธรรม ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดกันอย่างง่ายงาม เน้นสาระของคุณค่าชีวิต มากกว่าวัตถุ และบันเทิงเริงรมย์ เริ่ม งานด้วยการบิณฑบาตของสมณะและสิกขมาตุ แล้วกล่าวเปิดงานโดยสมณะซาบซึ้ง สิริเตโช สำหรับคำขวัญวันเด็กที่พ่อท่านให้ในปีนี้คือ "ทั้งเด็กและคนแก่ ถ้ามีความรัก ความเกื้อกูล จะสมบูรณ์ด้วยความสุข" ส่วนคำขวัญ ของท่านนายกฯ ทักษิณ คือ "เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด" โดยคิดและพูดในทางที่ดี อันจะนำมาซึ่งการกระทำที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อสังคมบ้านเมืองสืบไป...และก็พลาดไม่ได้กับกิจกรรม "แข่งขันป้อนข้าวแม่" ที่น่ารักและสร้างความประทับใจให้กับทีมกองเชียร์ ปีนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันหลายคู่ หนึ่งในนั้นมีแชมป์เก่าของเราอยู่ด้วย และ ก็เป็นไปตามคาดหมาย คุณตำนานศิลป์ แชมป์เก่าก็คว้ามาได้อีกสมัย อย่างเป็นเอกฉันท์ซะด้วย ก็ขนาดจิ้งหรีดเอง เห็นแล้ว ยังซาบซึ้ง น้ำตาคลอไปกับเขาด้วย โดยเฉพาะประทับใจกับภาพที่ช่วยซับเหงื่อให้แม่ ป้อนข้าวแต่ละคำ ก็ประณีตมาก ดีใจ ที่เห็นเด็กๆรุ่นใหม่ มีโอกาสได้เห็นตัวอย่างที่ดีเหล่านี้ กิจกรรมดีๆอย่างนี้น่าส่งเสริมและเพิ่มพูนให้มากขึ้น ก็ขอเป็นกำลังใจ ให้กับทีมงานที่จัดกิจกรรมดีๆอย่างนี้ด้วยนะฮะ รายงานข่าววันเด็กสันติฯ นี้โดย นักข่าวก้อย นันทนา ส่วนงานวันเด็กที่ศาลีอโศกปีนี้ นักข่าวดิว รายงานมาว่า ปีนี้ชาวชุมชนศาลีฯ พร้อมใจกันทำอาหารเลี้ยงเด็กๆด้วยความสุขใจ ที่ได้มีส่วนได้บริการลูกหลาน กิจกรรมมีตั้งแต่เช้าตรู่ร่วมฟังธรรมจากสมณะ แล้วเข้าครัวร่วมกันปรุงอาหารถวายสมณะ สิกขมาตุ และชาวชุมชน ซึ่งเป็นบรรยากาศแปลกใหม่ที่ให้แง่คิดแก่เด็กและชาวชุมชนในอีกมุมมองหนึ่ง ช่วงบ่ายมีการแสดง ประสานกัน ระหว่างชาวชุมชนและเด็กๆ ตกเย็นสนุกสนานกับการจับฉลากของขวัญ ที่เรียกเสียงหัวเราะดังออกมาเป็นระยะๆ สาธุ...จี๊ดๆๆๆ... พึ่งเจ็บ...นายสมบูรณ์ สุสังข์ อายุ ๗๘ ปี อยู่ จ.จันทบุรี ป่วยเป็นมะเร็งที่ปอด มรณัสสติ คติธรรม-คำสอนประจำฉบับ พบกันใหม่ฉบับหน้า |
||
เปิดชื่อ
๕๐ กรรมการผู้นำชุมชน เปิดโผ ๕๐ ปราชญ์ชาวบ้าน
ประเดิมชุดแรกสภาผู้นำชุมชนแห่งชาติ มากันพร้อม รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า คณะกรรมการการศึกษาและยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย สภาผู้นำชุมชนแห่งชาติ พ.ศ... ซึ่งประกอบด้วยผู้นำชุมชนต่างๆ หรือปราชญ์ชาวบ้านกว่า ๑๖ คน โดยมีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานได้ร่วมกันประชุม เพื่อพิจารณา รายชื่อ ผู้นำชุมชน ๕๐ คน จากทุกภาคและเชี่ยวชาญ หลากหลายองค์ความรู้ ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภา ผู้นำชุมชนแห่งชาติ เสร็จสิ้นแล้ว และได้แจ้งเรื่องอย่างไม่เป็นทางการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทราบ เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเห็นชอบโดยหลักการ และให้เสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการกลั่นกรอง เสนอเรื่องไปยัง คณะกรรมการกลั่นกรอง เสนอเรื่องคณะรัฐมนตรี ชุดที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อพิจารณา รายละเอียด ในข้อกฎหมาย อีกครั้งอย่างเร่งด่วน ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ข่าวแจ้งว่า สำหรับรายชื่อผู้นำชุมชนทั้ง ๕๐ คน ประกอบด้วย ๑.นางทองดี โพธิยอง ๒.นายจอนิ โอ่โดชา จากเชียงใหม่ ๓.นายชูศักดิ์ หาดพรม จากน่าน ๔.นางมุกดา อินต๊ะสาร จากพะเยา ๕.นายประเสริฐ สุริยวงษา จากลำปาง ๖.เจ้ากรองแก้ว ลังการ์พินธ์ จากลำพูน ๗.นายสุรินทร์ อินจง จาก พิษณุโลก ๘.นายพรหมา สุวรรณศรี จากนครสวรรค์ ๙.นายธรรมนูญ เทศอินทร์ และ ๑๐.นายบุญเลิศ จงธรรม จากพิจิตร ๑๑.นายอัษฎางค์ สีหาราช จากอุตรดิตถ์ ๑๒.นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว จากเชียงราย ๑๓.นายปรีชา ทองอู๋ จากเลย ๑๔.นายประหยัด โททุมพล จากสกลนคร ๑๕.นายหวัง วงศ์กระโซ่ จากมุกดาหาร ๑๖.นายสวัสดิ์ สมานพงษ์ จากอำนาจเจริญ ๑๗.นายมั่น สามสี จากยโสธร ๑๘.นายชารี ตากุด จากกาฬสินธุ์ ๑๙.นายบุญจันทร์ ภูนาเพชร จากอุดรธานี ๒๐.นายสน รูปสูง และ ๒๑.นายพิทยาพันธ์ และศรีภา จากขอนแก่น ๒๒.นายเกิด ขันทอง จากอุบลราชธานี ๒๓.นายฝนไทย ชาวหินฟ้า จากศรีสะเกษ ๒๔.นายสังคม เจริญทรัพย์ จากสุรินทร์ ๒๕.นายทองคำ แจ่มใส และ ๒๖.นายคำเดื่อง ภาษี จากบุรีรัมย์ ๒๗.นายอำนาจ หมายยอดกลาง และ ๒๘.นายสมคิด สิริวัฒนากุล จากนครราชสีมา ๒๙. นายธงชัย คงคาลัย จากนครนายก ๓๐.นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม จากฉะเชิงเทรา ๓๑.นายอนุสิทธิ์ ธำรงรัตนศิลป์ จาก สระแก้ว ๓๒.นายสิทธิชัย คำพันธุ์ จากปราจีนบุรี ๓๓.นายดำรงศักดิ์ ชุมแสงพันธุ์ จากระยอง ๓๔. นายพยอม อภัยพงษ์ จากจันทบุรี ๓๕.นายโชคชัย ลิมประดิษฐ์ จากประจวบคีรีขันธ์ ๓๖.นายทองแทน เลิศลักทธภรณ์ จากสมุทรสาคร ๓๗.นางพันธ์ทิพย์ บุญตาด และ ๓๘.นางนิตยา พร้อมพึ่งบุญ จากกรุงเทพฯ ๓๙.นายอุดร บุตรสิงห์ จากอุทัยธานี ๔๐.นายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ จากพระนครศรีอยุธยา ๔๑.นางจินดา บุญจันทร์ จากชุมพร ๔๒.นายประยงค์ รณรงค์ จากนครศรีธรรมราช ๔๓.นายประพาส ธรรมศรี จากกระบี่ ๔๔.นายจีรศักดิ์ ท่อทิพย์ จากภูเก็ต ๔๕.นายมนัส ชนะสิทธิ์ จากพัทลุง ๔๖.นายอัมพร ด้วงปาน จากสงขลา และ ๔๗.นายลัภย์ หนูประดิษฐ์ จากสงขลา ๔๘.นายมะดามิง อารียู จากยะลา ๕๐.นายดีอราแม ดาราแม จากนราธิวาส ข่าวแจ้งว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาซึ่งประกอบด้วย ๑.พระครูสังฆวิชัย วัดปรักไม้ลาย อ.สันกำแพง จ.กำแพงเพชร ๒.พระอธิการมนัส ขันติธัมโม วัดโพธิ์ทอง อ.เมือง จ.จันทบุรี ๓.พระครูสุวัตถิธรรมวัฒน์ วัดสามัคคีธรรม อ.คุรบุรี จ.พังงา ๔.พระอาจารย์สุปิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.ตราด ๕.นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร จากศูนย์ เกษตรธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ราชบุรี ๖.นายวิชิต นันทสุวรรณ จากมูลนิธิสถาบันพัฒนาทรัพยากรชุมชน ๗.นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ๘.น.ส.สมสุข บุญญะบัญชา ผู้อำนวยการสถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ๙.นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ๑๐.นายชบ ยอดแก้ว สำหรับอำนาจหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชนนั้นได้ระบุไว้หลายประการ เช่น เสนอนโยบายและข้อเสนอแนะทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต่อคณะรัฐมนตรี และประสานด้านนโยบายระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชนและชุมชน รวมทั้ง การสนับสนุน และส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน และภาคประชาชนทุกระดับ โดยสามารถเชิญบุคคลใด หรือส่วนราชการ และหน่วยงาน ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลหรือจัดส่งเอกสาร นอกจากนี้ยังให้อำนาจ ในการติดตามตรวจสอบ เรื่องที่ สภาผู้นำชุมชน มีมติเห็นชอบ และส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี มอบเป็นนโยบาย ให้หน่วยงานราชการ แต่หากหน่วยงานราชการ ไม่ปฎิบัติตาม ก็ให้อำนาจสภาผู้นำชุมชน ดำเนินการจนถึงที่สุดได้. (จาก นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๔ ม.ค.๔๘) |
||
ปฏิทินงานอโศก งานปลุกเสกฯ ครั้งที่ ๒๙ ณ พุทธสถานศีรษะอโศก อาทิตย์ที่ ๓ - เสาร์ที่ ๙ เม.ษ.๔๘ |
||
คุณป้าทองสุข เป็นบรรพชนอีกผู้หนึ่งของชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย มาอยู่ช่วยงานตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ และกำลังตัดสินใจ ว่าไปอยู่ในชุมชนบุญนิยมของชาวอโศกที่ไหนดี * โสดเพราะเห็นทุกข์ ตอนวัยรุ่นเห็นแม่คลอดน้อง เดี๋ยวคลอดๆ ถ้าแต่งงานกลัวมีลูกมากเหมือนแม่ เราเป็นคนจนด้วย มีคนมาสู่ขอ ๓ คนป้า ก็หนีตลอด พ่อจะให้แต่งงาน กับคนฮินดู ป้าคิดว่าถ้าแต่งแล้วจะไม่มีคนเลี้ยงน้อง บอกพ่อแล้วแต่พ่อไม่เชื่อ เลยหนีออก จากบ้าน ไปทำงานร้านอาหาร ทำงานบ้านต่างๆ แล้วไปเข้าวัด รักษาศีล ๘ เรียนนักธรรม อยากพ้นทุกข์ เห็นพ่อแม่ เลี้ยงลูกมาก ทุกข์ คนที่แต่งงานแล้วก็ทะเลาะเบาะแว้ง เลยยิ่งไม่อยากแต่ง ประทับใจ คำสอนที่ว่า บุตรรัดคอ ทรัพย์รัดขา ภรรยารัดมือ ซาบซึ้งมาก พอพ่อเสียเลยสบายในเรื่องนี้ พ่อเสียตอนป้าอายุ ๒๕ ส่วนแม่ยังมีชีวิตอยู่อายุ ๘๐ ปี ไม่กลัวว่าไม่มีใครเลี้ยง คิดว่าทำปัจจุบันให้ดีที่สุด เรารักษาศีล ยิ่งมาเจอชาวอโศกยิ่งไม่กลัว ตอนนั้นคิดว่าถ้าไม่มีใครเลี้ยง ก็ไปอยู่บ้านพักคนชราก็ได้ * ของเก่าที่ติดตัวมา * ก่อนเจออโศก ปี ๒๕๒๓ เจอ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็เริ่มทานมังสวิรัติจนถึงทุกวันนี้ ปี ๒๕๒๔ ได้ข่าวว่าคุณจำลองขายอาหารมังสวิรัติ ที่สวนจตุจักร อยากช่วยเลยไปอยู่ที่สันติอโศก อยู่ช่วยงานที่ชมร.จนถึงตุลาฯ ปี ๒๕๓๔ ที่เชียงใหม่เปิดศาลามังสวิรัติ จึงย้ายไปช่วย ที่ศาลามังสวิรัติ แล้วออกไปช่วยน้องสาว * สุดท้าย พยายามทำให้ดีที่สุด ชาตินี้หากไม่เจอชาวอโศกคิดว่าเสียชาติเกิด ไม่คิดไปที่ไหนอีกแล้ว กำลังตัดสินใจไปอยู่บ้านราชฯ หรือปฐมฯถึงจะเหมาะ ยังตัดญาติไม่ค่อยได้ ยังห่วงน้องที่ช่วยอยู่ ร่างกายก็บริจาคให้ โรงพยาบาล ไม่กลัวตาย น่าอนุโมทนาที่วันพระป้าก็ขอลานายจ้างไปถือศีลปฏิบัติธรรมที่วัด คนสมัยนี้วันพระก็ไม่รู้จัก บางคนจะเข้าวัด ก็คงเป็นวันที่ เขาหามมาเท่านั้นเอง ระวังนะ...พ่อท่านบอกว่าอาทิตย์หนึ่งมาวัดวันเดียวก็ ซ..ว..ย..แล้ว เราไม่ได้ไปวัดนานแค่ไหนแล้วนี่ ? - บุญนำพา รายงาน - |
||
อ่านฉบับย้อนหลัง: