ฉบับที่ 251 ปักษ์หลัง16-31 มีนาคม 2548 |
เด็กดื้อเพราะใคร พ่อแม่สอนลูกไปคนละทิศทาง
แถมยังทะเลาะกันต่อหน้าลูก |
||
ในงานพุทธาฯที่ผ่านมา หลายชุมชนตื่นตัวในเรื่องของ การดูแลสุขภาพบรรจุตารางออกกำลังกายเป็นกิจวัตรหนึ่งของวิถี ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ชาวอโศกมีสุขภาพดีถ้วนหน้าในวาระที่พ่อท่านจะมีอายุครบ ๗๒ ปีในปีนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มี.ค. ๒๕๔๘ ในช่วงก่อนฉัน พ่อท่านได้แสดงธรรมที่พุทธสถานสันติอโศก ถึงบุญญาวุธหมายเลข ๔ สุขภาพบุญนิยม ว่า ผู้ที่มีสุขภาพดี ตามวิธีไทยไทในเครือข่ายชุมชนอโศก จะต้องมีคุณลักษณะ ๗ ข้อ เพื่อที่พวกเราจะได้รับรู้ สังวร ประพฤติปฏิบัติ กระทำให้สอดคล้องกับ แนวทางกับทฤษฎีหลัก จะได้เป็นสังคมที่มีสุขภาพดี ลักษณะของคนที่มีสุขภาพดีในชุมชนชาวอโศก
คือ ลองตรวจดูว่าตัวเราเข้าข่ายสุขภาพดีตามวิถีไทยไทกี่ข้อ ข้อใดที่บกพร่องก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น จะได้มีสุขภาพดีกันถ้วนหน้า - เด็กวัด - |
||
การเลือกตั้งในชุมชนภูผาฟ้าน้ำ มิติใหม่ของการเมืองแบบอาริยะ มิติใหม่ของระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นในชุมชนภูผาฟ้าน้ำ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ มี.ค.๔๘ กล่าวคือ มีการเลือกตั้ง ประธานชุมชน และคณะกรรมการชุมชนภูผาฟ้าน้ำ โดยมี คณะกรรมการการเลือกตั้งของชุมชน (กกต.) เป็นผู้ดำเนินการ เลือกตั้ง ที่ศาลาซาวปี๋ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. ชาวชุมชนได้ทยอยมาลงคะแนนในใบเลือกตั้งซึ่งจัดพิมพ์ไว้เรียบร้อยพร้อมรายชื่อผู้ลงสมัครราวๆ ๔๐ กว่าคน คณะ กกต. ของชุมชน ก็มีรายชื่อลงสมัครด้วย รายชื่อพิมพ์ติดไว้ บริเวณทางเข้า มีคูหาลงคะแนน ๓ คูหา หีบหย่อนบัตรเลือกตั้งอยู่ถัดไป คณะกรรมการการเลือกตั้งฯ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ แนะนำวิธีกากบาทบัตรเลือกตั้ง ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส และยินดี ในการบอกกล่าวแนะนำ อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน จนถึงคนสุดท้ายที่มาหย่อนบัตรเลือกตั้งเลยทีเดียว เมื่อสมณะฉันภัตตาหาร ณ ศาลาซาวปี๋เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาเปิดหีบเลือกตั้ง ซึ่งตรงกับเวลา ๑๒.๐๐ น. ชาวชุมชนทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ต่างมานั่งลุ้นกัน อยู่หน้ากระดาน ลงคะแนน โดยมีคุณน้ำแรง ทำหน้าที่ตรวจว่าบัตรแต่ละใบ เป็นบัตรดีหรือเสีย แล้วประกาศให้ทุกคนได้ทราบโดยทั่วกัน อย่างไม่มีตุกติก ไม่มีพรรคมีพวก หลังจากนั้น คุณสมใจ ได้ทำหน้าที่ เป็นผู้ประกาศ รายชื่อคณะกรรมการฯ ที่ถูกกาในบัตรเลือกตั้ง ส่วนคุณทองธรรม และ คุณร่มเย็น เป็นผู้กาคะแนน บนกระดาน โดย กกต.ชุมชน ก็มีรายชื่อลงสมัครกับเขาด้วยโดยปริยาย เพราะไม่มีการสมัคร แต่สมาชิกชุมชน ทุกคนมีสิทธิ์เป็นประธาน และกรรมการชุมชน นั่นเอง เสร็จจากการเลือกคณะกรรมการ ๑๑ คน ที่ได้รับเลือกตั้งแล้ว ก็มาถึงการเลือกประธานชุมชน ซึ่งใช้วิธีหยิบบัตรที่ลงคะแนน แล้ว การขานชื่อ และการให้คะแนน บนกระดานก็ทำเช่นเดียวกัน แต่การเลือกประธานชุมชน รู้สึกจะตื่นเต้นกันหน่อย เวลาอ่านชื่อ จึงมีเสียง เฮๆ ลุ้นให้คะแนนกัน บรรยากาศในการเลือกตั้ง ครั้งนี้อบอุ่น ไม่มีการแก่งแย่ง แข่งขัน เอาเป็นเอาตาย มีรายชื่อให้ขีดคะแนนก็เฮ คนไม่มีรายชื่อ ก็ไม่ได้แสดงอาการไม่พอใจ หรือแสดงอาการ อิจฉาริษยาว่าตนต้องได้ ทุกคนยินดี เบิกบานและพอใจ ผู้สื่อข่าวยังไม่เคยเจอหรือพบเห็น วิถีประชาธิปไตยจริงๆได้เกิดขึ้นแล้ว งานนี้นับเป็นจุดเกิดของการเมืองน้อยๆ ที่เริ่มทำ อย่างถูกต้อง เสียงเชียร์ เสียงประกาศ ยังความสนุกสนาน ตื่นเต้นน้อยๆ ให้คะแนนเสร็จ ได้ผลการเลือกประธานชุมชน คือ คุณทองธรรม เสียงเฮ เสียงสาธุก็ดังขึ้น ไม่มีเสียงปืน ไม่มีการชกต่อย ทะเลาะวิวาทกัน แต่จิตสำนึกได้เกิดขึ้น ในดวงใจของ ชาวชุมชนทุกคนว่า ต้องช่วยกันพัฒนาชุมชน พัฒนาตัวเอง ให้เป็นชุมชนเข้มแข้ง ให้ตนเองเข้มแข็ง ให้เป็นตัวอย่าง ยืนหยัด ยืนยัน การเมืองจะต้องมีคุณธรรมกำกับ ศาสนาจะต้องมีในจิตใจ ของผู้เล่นการเมืองทุกคน จะกีดกันออกไม่ได้ ถึงจะสมกับ การเมือง ระบอบประธิปไตย ที่ไม่มีหัวคะแนน ไม่มีคะแนนจัดตั้ง ไม่มีการล็อบบี้กัน งานนี้สะอาดบริสุทธิ์ เพื่อให้ประชาธิปไตย ได้เกิดขึ้นจริงๆ ท่านอาจารย์ ๑ (สมณะบินบน ถิรจิตโต) ได้กล่าวสรุปปิดการเลือกตั้งว่า "ขอให้มาหัดเป็นผู้ยอม และยอมให้เขาว่าได้ ไม่ใช่ ได้รับเลือกขึ้นมา มีตำแหน่งแล้วว่าไม่ได้ จะต้องเป็นผู้ให้เขา ว่ากล่าวตักเตือนได้ และนี่แหละคือรายได้ของฝ่ายบริหาร ที่เข้ามา ทำงานเสียสละ แต่ไม่มีรายได้แบบโลกีย์ อีกทั้งฝ่ายบริหาร ที่เราได้เลือกขึ้นมา จะทำงานไปได้ ก็ต้องอาศัยคนในชุมชน ทุกคนช่วยบริหาร แม้จะไม่มีหัวโขน ก็ต้องช่วยกันในทุกด้านที่ดี ชุมชนจึงจะมีความเข้มแข็งได้" คุณอิทธิ (ชัดคม) เกษกุล "การเลือกตั้งก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งใหม่ที่ดี ที่ทุกคนในชุมชนสามารถที่จะเป็นคณะกรรมการได้ทุกคน โดยไม่มีขอบเขต หลายคนก็จ้องว่า จะเลือกใคร เป็นวิธีแบบใหม่ เป็นสิ่งแปลกใหม่ ที่ผู้สมัครก็ไม่ต้องไปหาเสียง บางคน เขาคิดว่า จะเลือกเรา เขาก็มาถามว่า 'ถ้าฉันเลือกคุณ คุณจะทำประโยชน์อะไร ให้กับชุมชนบ้าง' ซึ่งผมก็บอกว่า 'ถ้าคุณเลือกผม คุณก็ต้องเลือกตัวคุณเองด้วยนะ จะได้มาช่วยกันทำงาน' ซึ่งไม่เหมือนการเมืองทั่วไป ที่มักจะต้องใช้เงินซื้อเสียง แต่ที่นี่ไม่มี อย่างนั้น และผลการเลือกตั้ง ก็ออกมาเป็นสิ่งที่ดี คนในชุมชนก็รู้ว่า ใครทำงานบ้าง ใครไม่ได้ทำงานบ้าง ส่วนประธานชุมชน ก็ไม่ต้องมีการสมัคร แต่ผลออกมาก็ดี เข้าเป้า เพราะเขาจะเลือกใคร เขาก็มองดู ก็ดูดี" คุณหนึ่งในธรรม บุญยัง "เป็นการคัดเลือก โดยมีการเลือกตั้ง เป็นการเปิดกว้าง คือคนในชุมชนมี ๔๘ คน ก็เปิดโอกาสให้ทุกคน มีสิทธิ์เลือกตั้งประธาน และคณะกรรมการ เข้ามาบริหารชุมชน เป็นประชาธิปไตย มีบัตรเสีย มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ๑๐๐ % เป็นการที่ได้เรียนรู้ ในการเลือกตั้ง เป็นตัวอย่างให้เด็กนักเรียน ที่มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้ บรรยากาศทั่วไป ก็เป็นไปอย่างธรรมชาติ ถ้าเป็นการเลือกตั้งที่เราเคยประสบมา ก็จะมีการหาเสียง แต่ของเราไม่มีการหาเสียง เป็นสิ่งที่ดี มีคณะกรรมการ การเลือกตั้งของชุมชนคือ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งของชุมชน คอยดูแลการเลือกตั้ง ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ช่วยจัดสถานที่เลือกตั้ง จัดตั้งคูหา ทำบัตรการเลือกตั้ง ช่วยนับคะแนน ในหน่วยเลือกตั้ง เป็นต้น" ปะบัวบุญ "วันนี้ได้มาดูการเลือกตั้งครั้งแรกของชุมชนภูผาฯ จากภาพที่เห็นในขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้งชุมชน กำลังหยิบ ใบคะแนนเลือกตั้ง ขึ้นมาอ่านทีละใบ มีการเลียนแบบชาวโลกได้เหมือนมาก ทุกอย่างย่อส่วนมาทำ อย่างแนบเนียน สะท้อน ความรู้สึก จากภาพที่เห็นผ่านจอตา เมื่อคณะกรรมการของเรา อ่านบัตรเลือกตั้งผ่านไป หลายใบแล้ว ความรู้สึกหนึ่งได้เกิดขึ้น ในความคิดว่า นี่น่าจะเป็นแบบจำลอง ในการเลือกตั้งแบบบุญนิยม ที่เป็นระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง ซึ่งต่างกัน โดยเนื้อหา อย่างสิ้นเชิง เพราะไร้ทุน ไร้เงิน ไร้การหาเสียง อย่างชาวโลก ทำกัน ระบอบประชาธิปไตย อย่างชาวโลก จะเอาเงิน เป็นตัวตั้ง เอาตัวตำแหน่ง ที่จะต้องให้ได้มาเป็นตัวผล แต่ที่นี้ไร้เงินซื้อเสียง มีแต่ความเต็มใจ ของผู้มาลงคะแนนที่ชุมชน และเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า การทำงานกับชาวอโศก ประธานชุมชนก็ดี กรรมการก็ตาม เงินเดือนไม่มี ทำงานไม่ถูกใจ อาจจะได้ ถูกด่า เป็นค่าตอบแทนก็ได้ ตำแหน่งรับไปแล้ว ต้องทำใจด้วย แม้กระนั้นก็ยังเต็มใจทำ เพราะทำแบบบุญนิยม เลือกก็เลือกแบบ บุญนิยม ณ วันนี้พ่อท่านได้พาทำ การเมืองแบบบุญนิยม หากชาวอโศกเรา พากันเลือกตั้งแบบบุญนิยมทุกชุมชน แล้วเขาจะมา ดูเราทำกันไหมเนี่ย... เพราะไม่มีใครทำได้ เราต้องทำนำไปก่อน ไม่มีการใส่ร้าย ป้ายสี ไม่มีการแย่ง หัวคะแนนกัน ไม่ต้อง หาเสียงเหนื่อย ไม่ต้องฆ่ากัน บุญนิยมนั้นดีอย่างนี้เอง" คุณทองธรรม เจนชัย ประธานชุมชนภูผาฯ คนล่าสุด "...เมื่อได้รับตำแหน่งนี้ก็ตั้งใจจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อเป็นการตอบแทน พระคุณ ของศาสนา พ่อท่าน สมณะ สิกขมาตุ ที่ท่านได้สั่งสอนมา และจะใช้ตำแหน่งหน้าที่นี้ในการลดละกิเลส ให้มีทุกข์ น้อยลง ไม่ว่าโลกธรรม และอัตตามานะ เพราะต้องประสานสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับคน หลายฝ่าย หลายฐาน ต้องมีคนที่พอใจ และไม่พอใจ และขออนุโมทนากับคณะกรรมการ การเลือกตั้งชุมชน ทุกท่านที่ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ อย่างเต็มที่ และขอขอบคุณ ชาวชุมชน คุรุ และนักเรียนทุกคน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจ ให้งานนี้สำเร็จด้วยดี" ท้ายนี้ก็ขอให้กำลังใจกับทุกท่าน และให้กำลังใจแด่เธอ คุณทองธรรม ซึ่งเป็นทั้งคนวัด และประธานชุมชน ขอให้ร่วมมือร่วมใจกัน พัฒนาชุมชน ให้ก้าวไกล สมกับที่ได้ชื่อว่า ดอยแพงค่า. - กรักตรงธรรม รายงาน - |
||
คลินิคเทคโนโลยี สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ คณะเทคโนโลยี การอาหาร มหาวิทยาลัย ราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา ทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิต จุลินทรีย์ สู่ชุมชน หลักสูตรจุลินทรีย์ ในซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว และเทมเป้ ให้แก่ชุมชนชาวอโศก โดยสองครั้งแรก จัดอบรมที่ศีรษะอโศก และในครั้งที่สามนี้ จัดอบรมที่ชุมชนศาลีอโศก เมื่อวันที่ ๒๒-๒๔ มี.ค.๔๘ โดยมีผู้เข้ารับการอบรม ๔๐ คน จากชุมชนศาลีอโศก ชุมชนสันติอโศก ชุมชนทักษิณอโศก ชุมชนหินผาฟ้าน้ำ ชุมชนดอยรายปลายฟ้า กลุ่มเพชรผาภูมิ และกลุ่มวังสวนฟ้า การอบรม ครั้งนี้ นำทีมโดย ผศ.วารุณี ประดิษฐ์ศรีกุล (อาจารย์หยุย) และคณาจารย์อีก ๓ ท่าน ซึ่งเป็นการอบรม ทั้งในภาคทฤษฎี และ ปฏิบัติ เกี่ยวกับการผลิต หัวเชื้อซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว และเทมเป้ รวมทั้งกรรมวิธี การผลิตซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว กะปิเจ ปลาร้าเจ เทมเป้ และ เต้าหู้ยี้ ให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และรสชาติดี งานนี้ชาวเราได้ฝึกเป็นนักวิทยาศาสตร์นอกห้องทดลอง (Lab) ได้เรียนรู้การทำอาหารเลี้ยงเชื้อ การเขี่ยเชื้อ การเพาะเชื้อ การนับเชื้อ จุลินทรีย์ ด้วยสายตา และกล้องจุลทรรศน์ แม้จะยากไปบ้างสำหรับหลายคน แต่ทุกคนก็พอใจ ที่ได้สร้าง ความคุ้นเคย รู้ที่มาที่ไป ของเชื้อจุลินทรีย์ตัวดีๆ ที่เรานำมาทำกินทำใช้ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ก็เป็นที่หวังว่าในอนาคตอันใกล้ เราจะมีแหล่งผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ เพิ่มขึ้นจากชุมชนสันติอโศก (โดยเทคนิคการแพทย์ของเรา คุณชุติมา อโศกกตระกูล) เป็นชุมชนศาลีอโศก และชุมชนศีรษะอโศก ไว้บริการชุมชนชาวมังสวิรัติ ที่ทำผลิตภัณฑ์อาหารหมัก จากถั่วเหลือง และถั่วต่างๆ ได้อย่างพอเพียง รวมทั้งมีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ จนสามารถนำออกจำหน่ายได้ ซึ่งคงเป็นความ ภาคภูมิใจของชาวเรามิใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซีอิ๊ว มีหลายคนตั้งใจไว้ว่า จะพยายามทำซีอิ๊ว ตราเด็กผอม มาแข่งกับซีอิ๊ว ตราเด็กอ้วนให้ได้ ก็มาช่วยกันเชียร์(ชาตินิยม) กันหน่อยก็แล้วกัลล์ล์ล์ ความรู้สึกของผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ น.ส.อนงค์ คชสารทอง ศาลีอโศก "ได้เห็นความสำคัญของงานวิจัยมากขึ้น ต้องมีงานวิจัย มีหลักการ มีทฤษฎีมาช่วย คุณภาพ จึงจะดีคงที่ จะทำแบบลูกทุ่งก็ได้แต่มีสิทธิ์เสียหาย การผลิตซีอิ๊วเต้าเจี้ยว มีตัวแปรเยอะต้องมีความตั้งใจ เอาใจใส่ และมี ความสะอาดมากๆถึงจะทำได้ดี" น.ส.สร้างขวัญ ชุมชนดอยรายปลายฟ้า "การเรียนรู้เรื่องหัวเชื้อเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจ แต่ถ้าแยกการสอน ระหว่าง ผู้ผลิต หัวเชื้อกับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ก็คงจะดี เพราะเป็นการเรียนรู้ ลงลึกคนละแบบ และจะไปนำเสนอชุมชน ที่จะสร้างเรือน ซีอิ๊วเต้าเจี้ยว ให้เป็นมาตรฐาน" น.ส.กลั่นบุญ ชูทอง ทักษิณอโศก "ได้ความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อน จะนำไปพัฒนาของที่ทำอยู่และอาจทดลองต่อเชื้อดู" น.ส.พุดสามสี สันติอโศก "ปกติเป็นผู้ผลิตเทมเป้ในชุมชน มางานนี้ได้ประโยชน์ ได้ความรู้ที่เป็นวิชาการมากขึ้น" นางอบเชย ชุมชนหินผาฟ้าน้ำ "ได้รู้จักเชื้อราดียิ่งขึ้น ได้รับรู้สูตรใหม่ๆ จะไปทดลองทำดู" โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจุลินทรีย์สู่ชุมชน นี้ จะมีจัดอีกสองครั้งในราวต้นเดือนพฤษภาคมนี้ โดยแยก การผลิต อบรมเป็น ๒ ส่วน คือการผลิต หัวเชื้อจุลินทรีย์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ ผู้ใดที่คิดว่าจะนำความรู้ความสามารถ ในด้านดังกล่าว ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ในชุมชนได้ หรือต้องการต่อยอดความรู้เดิม ขอเชิญสมัครด่วน ภายในงานปลุกเสกฯ หรือภายในเดือน เมษายนนี้ นะคะ.
|
||
สุขภาพที่ดีเริ่มจากการรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ที่ถือว่าจำเป็นมากที่สุดและควรรับประทาน ให้มากกว่าอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน เสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมารณรงค์ให้ทุกคนรับประทานผัก ผลไม้ อย่างน้อย ก็ครึ่งหนึ่ง ของอาหารที่เราบริโภค ดังนั้นวันนี้ เราจึงอยากแนะนำ แหล่งปลูกผักที่มีคุณภาพ สามารถบริโภค ได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล ด้วยฝีมือการปลูกของ ลุงอ่าง เทียมสำโรง เกษตรกรคนเก่ง ลูกค้าธนาคาร เพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาปักธงชัย จ.นครราชสีมา ลุงอ่าง บอกว่า แต่ก่อนทำนาและปลูกผักสวนครัวเหมือนเช่นตอนนี้ แตกต่างกันตรงที่ว่าตอนนั้นต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ยาฆ่า แมลงเป็นหลัก ทำให้รายได้บางส่วนถูกตัดตอนไปกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขณะที่สุขภาพ ร่างกาย ความสมบูรณ์ในผืนดินทำกิน เริ่มลดน้อยลง โชคดีที่มีโอกาสเข้าไปอบรม โครงการสัจธรรมชีวิต ที่ปฐมอโศก พร้อมกับภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ทำให้เกิดแนวคิด และพลังมุ่งมั่น ที่จะกลับไปสู่วิถีการผลิต แบบธรรมชาติ และการพึ่งพาตนเอง อย่างจริงจัง ลุงอ่าง ปฏิวัติระบบการผลิตที่เคยทำมาในช่วง ๒๐-๓๐ ปีก่อน โดยหันมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ สารสมุนไพรไล่แมลงใช้เอง เริ่มจากนาข้าว และตามมาด้วยสวนผัก ปรากฏว่า เพียง ๖ เดือนหลังความพยายามทุกๆอย่างเริ่มเห็นผลอย่างเด่นชัด พืชผัก นาข้าว เขียวขจีกว่าเดิม สุขภาพกายสุขภาพใจ ดีขึ้น รายจ่ายลดลง ทำให้มีรายได้ เพิ่มขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ เมื่อทุกคนรู้ว่า ลุงอ่าง ทำสวนผักไร้สารพิษ ต่างมาติดต่อขอซื้อ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะพ่อค้า ที่เข้ามาติดต่อ ขอซึ้อถึงสวน ลุงอ่าง มั่นใจว่า ผักไร้สารพิษที่ปลูกสลับหมุนเวียนตลอดปี
จะมีตลาดรองรับอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะคนส่วนใหญ่ เริ่มหัน มาใส่ใจกับเรื่องสุขภาพ
โดยเฉพาะเรื่อง อาหารการกิน ผัก ผลไม้ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ก็จะพยายามถ่ายทอดความรู้
เรื่อง การทำผักไร้สารพิษนี้ ไปยังเกษตรกร รายอื่นๆ ด้วย เพราะอยากให้ทุกคน
ได้รับสิ่งดีๆ เหมือนที่ ลุงอ่าง กำลังได้รับอยู่ในขณะนี้ ส่วนใครที่สนใจผักไร้สารพิษติดต่อ
ลุงอ่าง ได้ที่ ๔๖ หมู่ ๖ บ้างกลาง ต.บ่อปลาทอง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
๓๐๑๕๐ โทร. ๐-๖๐๕๓-๗๒๗๐ หรือสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมที่ ธ.ก.ส.สาขาปักธงชัย
โทร. ๐-๔๔๔๔-๑๙๒๕, ๐-๔๔๔๔-๑๙๖๓.
|
||
สัมภาษณ์ สมณะเดินดิน ติกขวีโร นอกจากศาสนาจะแยกเป็นเทวนิยม กับอเทวนิยมแล้ว การดูแลสุขภาพแบบอเทวนิยมเป็นอย่างไร ปัญหาใหญ่ของแต่ละ ชุมชนคืออะไรกันแน่ และข้อคิด เป็นของฝากจาก สมณะเดินดิน ติกขวีโร # การดูแลสุขภาพแบบอเทวนิยมเป็นอย่างไรคะ? - ในช่วงนี้พ่อท่านเน้นเรื่องศาสนาพุทธ แบบอเทวนิยมอย่างชัดเจน เพื่อให้เรายืนบนลำแข้งของตนเอง เราจะต้องสร้าง จิตวิญญาณ ของเราให้เป็นพระผู้สร้าง พระผู้ประทาน และพระผู้มีจิตวิญญาณบริสุทธิ์ โดยเป็นพระเจ้า ที่จิตวิญญาณ ของเราเอง ดังนั้นการดูแลสุขภาพ แบบอเทวนิยม จะต้อง คิดพึ่งตัวเอง หมอดี หมอวิเศษ ยาวิเศษ อยู่ที่ตัวเราต้องสร้างขึ้นมาเอง ไม่ใช่ไปวิ่งหายาดี หมอวิเศษจากภายนอก จริงๆแล้วกระแสการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของชาวอโศก คนของเราค่อนข้างจะตื่นตัวมากถ้าเปรียบเทียบกับคนข้างนอก ทุกวันนี้ ตามโรงพยาบาลคนแน่นขนัด ทั้งคนไข้ทั้งหมอ เครียดไปตามๆ กัน เพราะว่านับวันๆ คนที่คิดจะดูแลตัวเอง จะไม่มี คิดแต่จะไปพึ่งหมอพึ่งยา ถ้ามีข่าวว่า มีหมอฝังเข็มที่ไหนเก่ง ก็จะเฮละโล กันไปฝังเข็ม มีข่าวว่าหมอยาที่ไหนดี ก็จะพากัน ไปหาหมอยา มีหมอนวดที่ไหนเจ๋ง ก็จะแตกตื่นกันไป ซึ่งทั้งหมดนี้ เราสามารถดูแลตัวเองได้ ไม่ต้องไปเสียเวลา ทั้งเราทั้งหมอ เราจะต้องมีสัมมาทิฐิก่อนว่า ยาวิเศษสุดหรือหมอที่วิเศษสุดจริงๆ อยู่ที่ตัวเราเอง อยู่ที่การสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้ดีขึ้นมา ภูมิต้านทาน ที่แข็งแรงจะสามารถ รักษาโรค ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าโรคมะเร็ง ถ้ามีภูมิต้านทานแข็งแรง ก็เอามะเร็งอยู่ได้ แม้แต่โรค เอดส์ ก็เกิดจาก ภูมิต้านทานร่างกายบกพร่อง ถ้าเรามีวิถีชีวิต ในการทำ ๗ อ. ให้ดีขึ้นมา ภูมิต้านทานร่างกายของเราก็ดีขึ้นได้ เราจะต้องชัดเจนว่า ยาดีหมอดี หรือสุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง ชาวอโศกมีองค์รวมของการรักษาซึ่งตกตะกอนอยู่แล้วในการที่จะทำ ๗ อ.ให้ดี แต่อาจจะมีปัญหาซับซ้อนอยู่ตรงที่ว่าสูตร ของเราเยอะ จนบางครั้ง ไม่รู้ว่า จะกินอะไรดี ออกกำลังกายสูตรไหนดี ซึ่งตรงนี้คงต้องค่อยๆมาสังเกต เรียนรู้ตัวเราเอง ต้องเป็นหมอที่ตัวเราเอง เพราะไม่มีอะไร ที่จะไปยึดมั่นตายตัวได้ ในแต่ละวันก็ต้องเผชิญสิ่ง ที่แตกต่างกัน บางวันอากาศร้อน อาหารก็จะต้องออกเชิงเย็น แต่ถ้าอากาศเย็น หรือเราเย็นอยู่แล้ว เราก็ต้องเอาอาหาร ที่เป็นเชิงร้อน เข้ามาเสริม ชีวิตของเราแต่ละวันก็ไม่เหมือนกัน อากาศบางวันก็แตกต่างกัน การใช้งานบางวัน ก็นั่งมาก บางวันก็ทำงานหนัก ใช้กำลังร่างกายหนัก บางวัน ก็พักผ่อนน้อย ถ้าเราพยายาม ที่จะฟังเสียงสัญญาณวิเศษ ที่ภายในร่างกาย ของเราส่งมา จะมีสัญญาณบอกว่า เราควรจะกินอย่างไร ควรจะทำอย่างไร แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ เรามักจะ ไม่สนใจ เอาแต่ใจของเราอย่างเดียว หรือยึดจัดทางความคิดมากไป ปัญหาการเจ็บป่วยของชาวอโศกก็เกิดจากการมากไปกับน้อยไป บางคนไม่ สนใจสุขภาพตัวเองเลย จะเป็นอย่างไรก็ช่าง ป่วยจึงคิดหาหมอ หรือบางคน วันทั้งวัน ไม่ได้คิดอะไร คิดแต่เรื่องป่วยเรื่องสุขภาพของตัวเองอย่างเดียว พวกนี้ก็จะเป็นความ ไม่พอดี ดังนั้น เราควรจะทำความคิดของเราให้พอดีๆ ไม่ไปยึดมั่นอะไร จนสุดโต่ง อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นแล้วว่าร่างกายมีเหตุปัจจัยในแต่ละวันๆที่แตกต่างกัน เราก็ควรสังเกตดูว่าควรจะปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม อากาศ การทำงาน อย่างไร แค่ใช้ความรู้สึกรับฟังร่างกายอยู่เสมอๆ อาตมาคิดว่าในร่างกายของเราจะมีคำตอบ ที่ชัดเจนที่สุด นี่คือการดูแลรักษาสุขภาพแบบอเทวนิยม โดยการเอาพระเจ้า หรือหมอวิเศษมาอยู่ที่ตัวเราเอง ด้วยการสร้าง ภูมิต้านทานของเราให้แข็งแรงด้วย ๗ อ. แล้วจะแก้ปัญหาเรื่องโรคทุกโรคได้หมด
- พวกเราแต่ละคนๆได้สร้างบารมี สร้างความดีกันมาคนละหลายสิบปี บางคนก็ยี่สิบกว่าปี น้ำหนักของความดีก็เยอะ ยิ่งมี ความดีเยอะเท่าไร ยิ่งเราไปยึดมั่น ก็จะเป็นความดีที่ไม่ดีมากเท่านั้น เหมือนการกินแมคโครฯเป็นสิ่งที่ดี เพราะเขาจะเน้น เรื่องงดหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นตัวที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บ แต่ถ้าไปยึดจัด จนโดนหวาน ก็เหมือนกับจะตายเลย โดนเค็ม ไตก็จะพัง ทันทีอย่างนี้ สุดท้ายเลยกลายเป็นคนป่วย ที่กินอะไรก็ไม่ได้เลย ต้องใช้สูตรนี้อย่างตายตัว ในเรื่องของธรรมะถ้าเราไปยึดอะไรตายตัว มันก็รอวันที่จะตัวตายทั้งนั้นแหละ พ่อท่านถึงเสนอว่ากินแมคโครฯนั้นดี แต่ให้กิน แมคโครฯโพธิรักษ์ คือไม่ใช่ไปยึดมั่น ไปหลงว่า อาหารสำคัญที่สุด โกรธก็เพราะว่ากินอาหารผิด คิดอย่างนี้ก็ไม่ได้ไปล้าง อนุสัยอาสวะ ไม่ได้ล้างจิตวิญญาณ พ่อท่านเคยให้คำอธิบายเรื่องของ อัตตามานะ เราไปยึดดีอะไรมากเท่าไรก็เป็นอัตตามานะมากเท่านั้น อย่างยึดว่าแกงแขกดี ความจริงแกงแขกดี เพราะเป็นเหมือน ต้นตระกูลของมังสวิรัติ ที่มีเครื่องเทศมีโปรตีนครบครัน ไม่มีปัญหาว่าใคร ธาตุเย็น ธาตุร้อน กินได้ทุกคน แต่อย่าไปคิดว่า ต้องแกงแขก ต้องแกงแขก แล้วบังคับให้คนอื่น ต้องมาทำอย่างตัวเอง ถ้าไปยึดมั่น อย่างนี้ก็เป็นอัตตามานะ ปัญหาของชุมชนเราทุกวันนี้ก็คือ มีเรื่องที่จะทำดีในชุมชนแต่ละแห่งหลายมุมหลายเรื่อง แต่ถ้าเราไปยึด จะกลายเป็น เอาดี ที่มีแต่ละมุมมาฟาดฟันกัน ทำให้เกิด ความไม่สงบสุข ทำให้หมดความเป็นพี่เป็นน้อง สามี-ภรรยาบางคู่มาปฏิบัติธรรมด้วยกัน อยู่กันจนจะเข้าโลงแล้ว พึ่งจะมาหย่ากันตอนอายุ ๗๐ พอไปถามจริงๆแล้ว ไม่ได้มี เรื่องอะไรเลย เป็นเรื่องที่จะทำดี คนละเรื่อง แต่ตกลงกันไม่ได้ว่า ควรจะทำเรื่องอะไรก่อน นี่ขนาดครอบครัว ที่เข้าอกเข้าใจกันดี๊ดี นี่ไม่ใช่ครอบครัวเดียวกัน คนละพ่อคนละแม่ ความยึดถือต่างกัน มาอยู่รวมกัน ต่างคนต่างยึดดีของตัวเอง นี่ล่ะจะเป็นความดี ที่ไม่ดี เป็นปัญหาใหญ่ ถ้าทุกวันนี้ แต่ละคนมาศึกษาเรียนรู้และคิดแก้ไขตัวเอง ต้องเน้นว่าต้องคิดแก้ไขตนเอง นะ เพราะว่า ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ จะใช้พลังคิดมุ่งที่จะไปจัดการคนอื่น ในชุมชนแต่ละแห่ง ต่างก็คิดหวังว่า น่าจะมีอัศวินม้าขาว มีสมณะ เก่งๆมีสิกขมาตุเจ๋งๆมาช่วยปราบคนนั้นคนนี้ให้ ซึ่งก็เหมือนสังคมทั่วๆไป ที่รอหวังว่าจะมีอัศวินม้าขาว มาแก้ปัญหาสังคม โดยไม่มีใครคิดจะแก้ปัญหาของตัวเองก่อน ดังนั้นการแก้ปัญหาในชุมชนแต่ละแห่ง จะต้องมาศึกษา เรื่องการยึดดีถือดี หลงดี อันเป็นความดี ที่ไม่ดีกันอย่างสำคัญ กันทีเดียว
- ได้เห็นบรรพชนของพวกเรา ซึ่งเป็นผู้อายุยาวของแต่ละชุมชน สัมผัสแต่ละชีวิตแล้วรู้สึกประทับใจ ทั้งที่แต่ละคนสังขาร ไม่เอื้ออำนวย ต่อการปฏิบัติธรรม ไม่เอื้ออำนวยในการทำงานเสียสละเลย บางคนก็ปวดขา ปวดเอว ปวดนั่นปวดนี่ ปวดไปหมด ทั้งตัว ถึงกระนั้น ก็เห็นถึงความอุตสาหะวิริยะ อดทนของคนที่กระโผก กระเผกสู้ ทำงานกันทั้งวัน ได้เห็นว่าในแวดวงของเรา ชีวิตของผู้เฒ่าผู้แก่ผู้อายุยาว เหล่านี้เป็นตัวหลัก เหมือนกับ หน่วยดับเครื่องชน พร้อมที่จะทิ้งชีวิตให้กับศาสนา อยากให้พวกเราคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นวัยที่มีกำลังมากกว่า มีสติปัญญาที่จะจดจำเรียนรู้อะไรได้เร็วกว่า ดับเครื่องชน เหมือนผู้เฒ่า ผู้แก่บ้าง โดยการเพิ่มศรัทธา ให้มากขึ้น ถ้าเรามีคนแบบผู้อายุยาว ปัญหาในชุมชนจะไม่ค่อยมากเท่าไร เหมือน พ่อสั่งลุย แล้วก็ลุย ไปได้ทั้งวัน ปัญหาของ คนหนุ่มสาว ก็จะฟุ้งซ่าน คิดบริหาร แทนสมณะสิกขมาตุ ดีไม่ดีก็เพ่งโทษถือสา เรียกร้อง พอกามเกิดขึ้น อัตตามานะ ก็กระแทกซ้ำเข้าไปอีก เพราะไม่มีกำลังเพียงพอ ที่จะเข้ามาเพ่งมองตัวเอง จะเห็นว่าผู้อายุยาวจะมีความศรัทธาสูง โดยเฉพาะเรื่องกรรม เรียกว่ากัมมสัทธา เขาคิดจะทิ้งชีวิตให้กับศาสนา ไม่ว่าขึ้น ทำวัตร ช่วยกิจกรรม เพราะเขารู้แล้วว่า ชีวิตที่ผ่านมา ๖๐-๗๐ ปี มันเป็นชีวิตที่ทิ้งให้กับโลกียะเฉยๆ ไม่ได้อะไรเลย เหลือแต่กรรม ที่เขาจะมาสั่งสม ความเชื่อเรื่องกรรม จึงมีสูง เขามีวิปากสัทธามี ความเชื่อเรื่อง กฎแห่งกรรม เหมือนกับศาสนาพระเจ้า ที่กลัวมาก ที่จะทำผิด กลัวต่อพระเจ้า กลัวเรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องที่จะไปติเตียน ผู้ที่มีศีลสูง จะระมัดระวัง หรือ กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อมั่นในผลแห่งกรรม ถ้าเราเชื่อมั่นในผลแห่งกรรม ก็ไม่ต้องวิตกกังวลเดือดร้อนใจอะไร เพราะว่ากรรม มันเป็นของของตน จะประสบความสำเร็จ ไม่ประสบความสำเร็จ เราจะสุข-จะทุกข์ จะจน-จะรวย ขึ้นกับอยู่กับกรรมของเราเอง เรามีหน้าที่ ทำเหตุปัจจัย ให้ดีที่สุด แล้วเรียนรู้ความจริง ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ ถ้าเหตุปัจจัยเป็นสิ่งที่ดีเราก็อนุโมทนา ถ้าเป็นเหตุปัจจัยที่ไม่ดี เราก็เรียนรู้ว่าเป็นวิบากของเรา ที่จะชดใช้ ถ้าเราเชื่อว่า กรรมเป็นทรัพย์ของตน เราก็จะวางใจ เรามีหน้าที่วางใจ และทำเหตุปัจจัยให้ดีที่สุด เรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น พร้อมที่จะดับเครื่องชน เพราะเรามี ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อฟัง ในคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า ทั้งเอาไปปฏิบัติตาม จนเกิดการเชื่อถือ ได้เห็นจิตที่ดีที่วิเศษของเรา หลุดพ้นจากโลกียะ จากสิ่งที่เราติดยึดออกมาว่า มันเบาสบายอย่างไร เป็นความเชื่อมั่น เป็นความศรัทธา ในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ ผู้อายุยาวที่เขาสามารถดับเครื่องชน เพราะเขาตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องของกรรม เหมือนกับคนที่เขาศรัทธา ในเรื่องของ พระผู้เป็นเจ้าฉันนั้น อยากจะฝากให้พวกเราคนหนุ่มสาวที่ยังมีพละกำลัง มีความรู้ความสามารถ ถ้าเราเอาพลังงานมาให้ความสำคัญ ให้ความ เกรงกลัว ในเรื่องของกรรม ผลของกรรม กรรมเป็นทรัพย์ของของตน ในเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็จะทำให้เรา ไม่วอกแวก ไม่วอแวไม่ไปเสียเวลาไม่ไปฟุ้งซ่าน ในกิจการในความเลว ความร้าย ความบกพร่อง ของคนอื่น สามารถล็อคพวงมาลัย เหยียบคันเร่งให้เต็มเกจ์ อย่างที่พ่อท่าน สั่งให้ลุยอย่างเต็มที่ได้ ก็จะเป็นพลัง เป็นมวลมหาศาล ให้กับศาสนา อย่างมากทีเดียว การดูแลสุขภาพด้วย ๗ อ. จะทำให้เราเป็นหมอรักษาตัวเองได้ หัดวางดีให้เป็น แล้วบำเพ็ญดีให้แก่ตัวเอง ก็จะถึงพร้อม ประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน.
|
||
กาละพิเศษเวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งสำหรับวันพิเศษสุดของนักเรียนสัมมาสิกขาทุกพุทธสถานที่จบการศึกษามัธยมฯ
ปีที่ ๖ สำหรับปีการศึกษาที่ ๔๗ นี้มีนักเรียนจบการศึกษาทั้งหมด ๕ พุทธสถาน
ดังรายละเอียดต่อไปนี้ พิธีการรับกลด ปีนี้ออกจะอบอุ่นกว่าทุกปีเพราะสมาคมศิษย์เก่าเตรียมงานต้อนรับตั้งแต่งานพุทธาฯ เพื่อน้องโดยเฉพาะ เมื่อถึงวันงาน ความพร้อมเพียง ของพี่มีให้เห็น นับตั้งแต่วันสุกดิบที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๘ เวลาเที่ยงตรง ลงทะเบียนประชุมหารือ ตั้งชื่อ รุ่นปี'๔๗ คิดกันอยู่นาน ด้วยความตั้งใจ สรุปจึงได้ชื่อ "รักพ่อ" ออกจะหวานนิดๆ แต่ด้วยรักและจริงใจน่าดู หลังจากนั้นถึงเกมวัดใจ ซึ่งงานนี้พี่ศิษย์เก่าและรุ่นน้องสัมมาสิกขาปฐมอโศกเตรียมไว้ให้รุ่นรักพ่อโดยเฉพาะบรรยากาศ นะหรือ สุดยอดเกินบรรยาย โหด มันดี ฮาสุดสุด เป็นน้ำใจของพี่น้อง ที่ปรารถนาดีอย่างสุดซึ้ง จบแล้วก็อย่าได้ลืมกัน ภาคค่ำมีการแสดง ความคิดสร้างสรร บรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง พี่ป้า น้าอา รวมทั้งสมณะมาร่วมดูการแสดงด้วย ประกอบ กับอาหารค่ำนี้พิเศษมาก ทุกอย่างดูลงตัว และลงตัวยิ่งขึ้น เมื่องานนี้ศิษย์เก่ารุ่นพี่ มาสมทบมากมาย แถมยังร่วมแจม การแสดงด้วย ช่วงเวลาก่อนปิดงาน พี่จืด ประธานสมาคมศิษย์เก่า ได้มาเล่าความเคลื่อนไหว ของสมาคมให้น้องฟัง เล่าให้น้อง เห็นความสำคัญ ของสมาคม ไม่รู้ว่าน้องจะให้ความสำคัญขนาดไหน แน่นอน เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ปิดงานสำหรับ ค่ำคืนนี้ พรุ่งนี้เป็นวันแห่งชัย และวันเริ่มต้น กับสิ่งใหม่ๆ และแน่นอนคงมีบ้าง หลายคนที่แอบตื่นเต้น จนแทบนอนไม่หลับเชียวล่ะ เช้าวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘ เสียงระฆังเตือนบอกเวลาสำหรับอรุณรุ่งเช้าอันสดใสภารกิจที่ต่างต้องทำคือการดื่มธรรม จากความปราถนาดีของ สมณะ สิกขมาตุ ที่กรุณา นำข้อคิดมาฝาก รูปละ ๓ นาที ด้วยความหลากหลายที่ลงตัว จึงทำให้ บรรยากาศ ของการทำวัตรเช้าวันนี้ รื่นเริงในธรรม กันเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เนื้อหาคือ "ให้นักเรียนทบทวน และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเป็นเกาะป้องกัน เน้นการถือศีล ๕ ทานมังสวิรัติให้ได้ ที่สำคัญ บ้านหลังนี้ ยังคงต้อนรับอยู่เสมอ" เสียงสาธุ ดังกึกก้อง เมื่อสมณะรูปสุดท้าย ปิดรายการทำวัตรเช้าวันนี้ หลังจากนั้น ออกกำลังกาย และใส่บาตรร่วมกัน อิ่มบุญกันถ้วนหน้าละซิ ยิ้มแป้นกันเชียว และแล้วพิธีที่สำคัญ และทุกคนรอคอยก็มาถึง พ่อท่านมาถึงเวลา ๐๘.๓๐ น. คุรุพิธีกรกล่าวเปิดงาน ความเป็นมา และความสำคัญ ของพิธีรับกลด ของผู้สำเร็จการศึกษา จากนั้นนักเรียนได้ทยอยรับกลดจากพ่อท่านผู้ก่อตั้งและให้แนวการศึกษาบุญนิยม นักเรียนขึ้นรับกลดด้วยความภาคภูมิ ท่ามกลาง ความปลื้มปีติ ของผู้มาร่วมงาน ทั้งผู้ปกครอง นักเรียน ญาติธรรม และน้องๆ สัมมาสิกขา ต่างแสดงความยินดี ด้วยในความสำเร็จในครั้งนี้ (งานรับกลดครั้งนี้ พ่อท่านยังไม่แจก "จี้ใบโพธิ์" ให้ แต่จะแจกให้ที่ งานคืนสู่เหย้าฯ ที่บ้านราชฯ ฉะนั้น ใครไปคนนั้นได้ ใครไม่ไปก็ไม่ได้) จากนั้นพ่อท่านให้โอวาทแก่นักเรียน "กลดหมายถึงบ้านเคลื่อนที่ของพระอาริยะ... การมอบกลด จะเป็นประเพณีของ สัมมาสิกขา ไปอีกนาน.... คนเราถ้าไม่สู้ คนนั้นก็แพ้อัตตา นี่แหละสนามรบโลกุตระ ยิ่งรบยิ่งได้อาริยะจะท้อทำไม" นอกนั้น พ่อท่านยังได้เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆง่ายๆเลยว่า อยู่ในหมู่ชาวอโศก ดีกว่าอยู่กับสังคมข้างนอกอย่างไร... สรุปว่า พ่อท่านเทศน์ ได้ดีมากสุดยอด จนคณะทีมอัดเทปตั้งเป้าว่า งานคืนสู่เหย้า จะจัดเป็นแผ่น VCD แจกศิษย์เก่า เลยทีเดียว สำหรับผู้มาร่วมงานได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้ สมณะมือมั่น ปูรณกโร "ปีนี้พาเด็กนักเรียนสัมมาสิกขาศาลีอโศกมาร่วมงานทั้งโรงเรียนให้เด็กได้รู้ว่าการรับกลดนี้ดี อยากให้ เด็กมีความใฝ่ฝัน เรียนให้จบ ม.๖ให้ได้ เพื่อจะได้รับกลด จากพ่อท่านเป็นความภาคถูมิใจ และการมาครั้งนี้ เป็นการแสดง ความยินดี กับนักเรียนที่จบไปแล้ว สุดท้ายขอฝากว่า การศึกษายังไม่จบ ซะทีเดียว ชีวิตของเรามีมากมาย ที่ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะ เราเอง จะต้องเป็นอาริยะบุคคล เป็นคนดีมีกุศล ต้องใฝ่ทางนี้ให้มาก ตราบใดเรายังเป็นไม่ได้ ยังไม่เข้ากระแส การศึกษา ก็ยังไม่จบ อยากให้เราให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มากๆ" ศิษย์เก่า เยาวทัศน์ บุญกล้า "ภูมิใจแทนน้องๆยินดีด้วยที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรค มาจนถึงวินาทีสุดท้าย ของรั้วสัมมาสิกขา ยินดีกับน้อง ทุกพุทธสถานค่ะ ฝากคน ที่ออกจากวัดไป พยายามนำสิ่งที่เรียนมา ให้กับชีวิตข้างนอกให้ดี สำหรับคนอยู่วัด ก็พยายามทำ ในสิ่งที่ตั้งใจทำให้ดีค่ะ" นายประทับบุญ หอมเนียม(เอ๋) สัมมาสิกขาราชธานีอโศก "รู้สึกภูมิใจกว่าจะถึงวันนี้ มีอุปสรรคมากมาย เคยล้ม เคยท้อ เคยคิดว่า จะออก แต่ก็ลองตั้งใจดู คิดว่าชาตินี้เจอ ชาติหน้าอาจไม่ได้เจอ ๖ปีสู้จนถึงวันนี้ครับ ภูมิใจมาก ผมจะอยู่วัด เพื่อทดแทนบุญคุณ หมู่กลุ่มนี้ครับขอบคุณครับ" นางสาวพิมลพัทธ ไกลลาศ สัมมาสิกขาสีมาอโศก "รับกลดยินดี ดีใจที่ตัวเองสามารถฟันฝ่าอุปสรรคมาถึงจุดนี้ได้ จบแล้ว คิดถึงวัด ตอนนี้ ทำงานที่กรุงเทพฯ แล้วจะเรียนต่อที่รามฯ บริหารธุรกิจ เอกกิจการการตลาด ก็ยังทานอาหารมังสวิรัติอยู่ ถือศีล ๕ ฝากน้องๆ ตั้งใจและพยายาม อยู่ให้จบนะคะ" นายทรหด ทะทำมัง(ตู่) สัมมาสิกขาสันติอโศก "ดีใจครับเพราะว่าอยู่มา ๖ ปี อยู่ได้ภูมิใจครับ ชีวิตเหมือนการสอบการ รับกลด คือข้อสอบอันหนึ่ง รับกลดจากมือพ่อท่าน ภูมิใจมากๆ ชีวิตมีอยู่ครั้งหนึ่ง ฝากน้องๆให้อยู่จนถึง ม.๖ แม้เราไม่ดีเลิศ แต่ขอให้ ฟันฝ่าจนจบ ชีวิตเป็นของน้อง สู้ให้จบแล้วกัน" แม้งานรับกลดผ่านไปกลิ่นอายของความประทับใจยังคงอยู่
ใช่ จะยังคงอยู่ในความทรงจำตลอดไป |
||
คนเรายิ่งเกิดนานก็ยิ่งความจำเสื่อมนะคะ อวัยวะอะไรก็หย่อนยานไปเสียหมด ยกเว้นอย่างเดียวที่ตึงคือหูเพราะการได้ยิน จะลดลง สำหรับสมองแล้ว ถ้าไม่อยากให้เสื่อม เร็วกว่าเพื่อนร่วมรุ่น ก็ต้องใช้งานให้มากหน่อย อย่าปล่อยให้อยู่เฉยๆนะคะ วิธีใช้งานของสมอง มีหลายวิธี แต่มีวิธีหนึ่ง ที่นักวิจัยได้ทำการวิจัยไว้ คือการเต้นรำ หรือกิจกรรมเข้าจังหวะ ได้มีการทดลองของแพทย์ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา โดยนำเอาอาสาสมัครที่อายุมากกว่า ๗๕ ปี จำนวน ๔๖๙ คน เข้าร่วม การวิจัย โดยคุณปู่คุณย่าเหล่านี้ ไม่มีใครเป็นโรค ความจำเสื่อมมาก่อน แต่ละคนมีการกระทำในกิจวัตรประจำวัน ที่แตกต่างกัน เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นรำ หรือนั่งๆนอนๆ อยู่เฉยๆ อีก ๕ ปีต่อมา นักวิจัยติดตามผลการวิจัย จากการมีกิจกรรม ที่แตกต่างกัน พบว่ากิจกรรมที่ทำให้สมอง เสื่อมช้าที่สุดคือ การเต้นรำ เรื่องนี้นักวิจัย ให้เหตุผลว่า การเต้นรำเป็นการ ออกกำลังกาย และการใช้สมองควบคู่กัน การออกกำลังกาย เป็นการกระตุ้น ให้เลือดไปเลี้ยงสมอง ส่วนการต้องจำท่าเต้นรำ ก็เป็นการกระตุ้นสมอง ให้ทำงานเพื่อให้เต้นได้ถูกท่า และถูกจังหวะ ส่วนผู้สูงอายุที่อยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร สมองและร่างกาย เสื่อมเร็วกว่า ผู้สูงอายุ ที่มีการขยับเขยื้อน เคลื่อนกายบ่อยๆ และยังมีการวิจัยออกมาอีกว่า การขาดกิจกรรมยามว่าง ในผู้สูงอายุ ทำให้ความจำเสื่อมเร็วด้วยค่ะ อ่านแล้วทำให้นึกถึงการออกกำลังกายด้วยการ "ฟ้อนเจิง" ที่ลานนา อโศกคราวเข้าค่ายสุขภาพที่จัดที่เชียงใหม่ เมื่อปลายปี'๔๗ การ"ฟ้อนเจิง" น่าจะเป็นการ ออกกำลังกาย ที่ชลอความเสื่อม ของสมองได้ ไม่ต่างอะไรกับการเต้นรำของอเมริกา และยังเป็น การอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีโบราน อันดีเอาไว้ด้วย ดูจากผู้นำทำแล้ว ก็รู้สึกว่าทั้งฉลาด และแข็งแรง น่าจะเป็นการ ออกกำลังกาย ที่ควรเผยแพร่ และปฏิบัติไม่น้อยเลย และการออกกำลังกายแบบนี้ ก็มีเมื่องานฉลองหนาวฯ บนภูผาฟ้าน้ำ ที่ผ่านมาด้วย อย่าลืมออกกำลังกาย เพื่อป้องกันความจำเสื่อม และทำให้ร่างกายแข็งแรงนะคะ. - กิ่งธรรม - |
||
กิจกรรมชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน ปฐมอโศก - อินทร์บุรี สมณะเสียงศีล ชาตวโร ได้รับรางวัลดีเด่น ผู้นำสุขภาพและเกษตรไร้สารพิษ จากชมรมบ้านสุขภาพ นำโดย ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ ร่วมกับ พระนักพัฒนา หลายรูป โดยมี พลเอกหาญ เพทาย อดีตขุนศึกจากเขาค้อ เป็นผู้มอบ ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ เป็นผู้หญิงไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับพระราชทานรางวัลผู้เชี่ยวชาญดีเด่น ด้านเกษตรอินทรีย์ จากองค์การ อาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO) จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราช กุมารี ร่วมกับ ชาวพิลิปปินส์ และชาวอินเดีย ดร.รสสุคนธ์ ได้จัดงานวันกตัญญูต่อแผ่นดินขึ้นที่บ้านสุขภาพ อ.บ้างฉาง จ.ระยอง โดยมีพระและฆราวาส มาจากเครือข่าย หลายจังหวัด และจากต่างประเทศ มาร่วมงานนี้ เป็นจำนวนมาก มีการจัดอภิปราย บรรยาย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันตลอดงาน
เช่น การบรรยายเรื่องการทำน้ำมันดีเซลจากน้ำมันพืช ใช้แล้วในครัวเรือน
การสร้างป่าชุมชน พื้นที่เล็กๆ ภายในบ้านเพื่อเพิ่มความเย็นและความสดชื่นในบ้าน
มีการรักษาสุขภาพ ด้วยสมุนไพร การนวด การฝังเข็ม ฯลฯ |
||
หน้าปัดชาวหินฟ้า เจริญธรรม สำนึกดี พบกับ นสพ.ข่าวอโศก
ฉบับที่ ๒๕๑(๒๗๓) ปักษ์หลัง ๑๖-๓๑ มีนาคม ๒๕๔๘ ๑. ประวัติของนางงามรายปักษ์ คุณลดาวัลย์
ทิพย์สุมณฑา นั้นจบการศึกษา มศว.บางเขน (ไม่ใช่บางแสน) สำหรับข่าวประจำหน้าปัดชาวหินฟ้าในรอบปักษ์นี้มีดังนี้ ต่อไปนี้ก็เป็นแง่คิดจากท่านร่มเมือง ซึ่งจิ้งหรีดเห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังประสบภาวะเช่นดังที่กล่าวมา เสียงเทศน์ของท่าน ดังมาจาก ปฐมอโศกว่า "อยากจะให้กำลังใจ และให้ความรู้สึกที่ดีกับตัวเธอมากๆ ด้วยตัวเธอบอกว่า เริ่มจะเกิดจิตท้อแท้ หดถอยกับการขยันทำวัตร และการปฏิบัติธรรม อาตมาก็เห็นใจ และสงสารชีวิต การเดินทางของคนอยู่วัด ถ้าไม่สามารถแข็งแรงมากเพียงพอ ในการทำความแจ้งแทงทะลุกับตัวเองและสิ่งแวดล้อม อาตมาก็เห็นเลยว่า มันจะตันๆ ตื้อๆ เซ็งๆเบื่อๆ ต่อสิ่งที่เป็นอยู่ และอาจจะทำให้ดิ้น ไปแสวงหาทางออกใหม่ๆ ที่ตัวเองชอบ ตัวเองถนัด แต่ใจลึกๆก็รู้อยู่แก่ใจว่า มันไม่เจริญขึ้น มันไม่ได้บำเพ็ญ เลยขัดแย้ง กับตัวเองไปอีก ลองถามใจตัวเองดีๆว่า ปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในใจเรานั้น มันมาจากอะไรกันแน่ล่ะ จากคุณภาพของวัตรนั้นๆ หรือ จากเหตุปัจจัยที่ไม่ลงตัว หรือจากจิตใจเราเอง สับสนและว้าวุ่นกันมาก และทำไมเราไม่สามารถจะเอาประโยชน์จากตรงนี้ได้ล่ะ!ที่แน่ๆ เราได้มีโอกาสบำเพ็ญ ได้มีโอกาสฝึกฝนตัวเอง มีโอกาสดีได้ ต่อสู้ และทนกับความขี้เกียจของตัวเอง ต้องสูญเสีย ความสุขความสบาย มันเป็นการอาศัยองค์รวมช่วยเราให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมนะ ถ้าเราทำคนเดียว และโดดเดี่ยวตัวเอง มันยากมากๆ ยังไม่ง่ายจริงๆ คนขยัน คนได้มีโอกาสบำเพ็ญนั้นได้เปรียบมากกว่าคนขี้เกียจและคนปล่อยตัวนะ! ถ้ายังหาอะไรๆ ที่ดีขึ้นกว่ายังไม่ได้ เราก็ไม่ควร ทอดทิ้งสิ่งเดิมๆ ที่มันยังไม่สร้างความเสียหายเลยนี่! ค่อยๆคิด และพูดคุยกับใครๆดีๆ ทุกๆมุมทุกๆด้าน ชีวิตคนเราไม่อาจจะอยู่กับเรื่องเดียวได้หรอก และไม่อาจจะอยู่คนเดียว ได้ด้วย เราต้องอยู่ด้วยค่าเฉลี่ย กับเรื่องอื่นๆด้วย อยู่ด้วยค่าเฉลี่ยกับคนอื่นๆด้วย ชีวิตเราจึงอยู่กับภพตัวเอง ไม่ได้แน่ๆ เอาแต่ได้ เอาแต่ตัวเองไม่ได้เลย! ขอย้ำว่าชีวิตเกิดมาต้องขยันทนและขยันสู้จริงๆนะ! แต่เรามีเพื่อนที่ร่วมเดินทางสู้ไปกับเราด้วยอยู่นี่ ไม่เหงาหรอก ไม่โดดเดี่ยว หรอก! และไม่ได้ถูกทอดทิ้งนา! ขอให้เรา ตั้งใจดีๆ และขยันอ่านศึกษาให้ชัดๆเจนๆจนแจ้งแทงทะลุให้ดีๆ ฝึกทบทวน อ่านจิตให้แม่นๆเถอะ! อ่านให้ซื่อๆ ตรงๆเถอะ! และจะต้องขยัน บำเพ็ญศีล อยู่กับข้อวัตรปฏิบัติให้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย แล้วเราจะเห็น อะไรๆดีๆมากๆขึ้นเองนะ" นี่เป็นคำเทศนา ที่ให้กำลังใจ ที่น่าประทับใจนะฮะ...จี๊ดๆๆๆ...
สิกขมาตุแม้จะบวชได้ไม่นาน แต่ก็ปฏิบัติมานานกว่าจะเลื่อนฐานะขึ้นมาเป็น นักบวช เป็นผู้ขวนขวายในกิจน้อยใหญ่ของหมู่ พอดีสิกขมาตุ มาบรรจบ ไม่สามารถ ไปร่วมงานปลุกเสกฯ ครั้งที่ ๒๙ ที่ศีรษะอโศกได้ อุปัชฌาย์และหมู่นักบวช จึงให้ สม. แสงฝน ไปเป็นเกจิฯแทน การอยู่บ้านราชฯ นอกจากช่วยงาน ด้านอบรมจิตวิญญาณ เป็นหลักแล้ว ยังได้ช่วยทำซอสมะเขือเทศ ส่งให้ทางอุทยานบุญนิยม ได้ใช้ซอสที่มีคุณภาพ ดีกว่าที่จะไปซื้อที่ตลาดมาใช้ จนแม่ครัว ที่อุทยานฯ ติดใจ แต่ก็มีอกุศลวิบากตามติดตัวมาที่บ้านราชฯ
ที่เห็นๆก็มี ๓ อย่างคือ สิกขมาตุได้สรุปให้จิ้งหรีดฟังว่า "ถือว่าดิฉันโชคดีที่ได้เปลี่ยนสถานที่(บางครั้งก็เศร้าๆ อยู่นะคะ) จึงได้ตัดกิเลสไปในตัว ขอขอบพระคุณ ที่มีนโยบายนี้เกิดขึ้น ทำให้ดิฉัน เกิดอะไรดีๆในจิตตัวเอง และพร้อมที่จะเปลี่ยนจิตใจ ให้ดีพร้อมบริสุทธิ์ ตัดกิเลสไปเรื่อยๆค่ะ" สาธุ นะฮะ จิ้งหรีดรู้สึกว่าชีวิตนักบวช ดูเหมือนสุขสบาย แต่ก็ไม่ง่ายเลยนะฮะ เพราะไม่มีสิทธิ์ทำอะไรตามใจตัวเอง ติดสถานที่ ก็ไม่ได้ ไม่เชื่อก็ถาม สิกขมาตุแสงฝน ดูก็ได้นะฮะ ถ้าใครอยากรู้ความจริง...จี๊ดๆๆๆ...
ปรากฏว่า ตั้งแต่ที่ประชุมชุมชนได้กำหนด วันเลือกตั้งประธานและคณะกรรมการชุมชนชุดใหม่ในวันที่ ๑๙ มี.ค.๔๘ ชาวชุมชน ก็คึกคัก กับการเลือกตั้งกันมา จนถึงวันเลือกตั้งเลยทีเดียว ยิ่งได้ กกต.ของภูผาฯ ชุดแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งมี ๕ ท่านคือ นางรักษ์ศีล นางน้ำแรง นางทองธรรม น.ส.สมใจ นางร่มเย็น ที่ชาวชุมชน มอบอำนาจ ในการจัดการ เลือกตั้ง ทั้ง ๕ ท่านก็ได้ทำหน้าที่ รับผิดชอบได้อย่างน่าประทับใจ ยิ่งในวันเลือกตั้ง ก็จัดคูหากาบัตร ได้ไม่แพ้ทางโลกเลย ที่น่าประทับใจก็คือ มีการติดรายชื่อสมาชิกชุมชนภูผาฯ ที่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งให้สมาชิกได้มาตรวจสอบสิทธิ์ของตน ส่วนใคร ที่ติดธุระจำเป็น ก็สามารถใช้สิทธิ์ เลือกตั้งคณะบริหารของชุมชนล่วงหน้าได้ ในวันเลือกตั้ง (๑๙ มี.ค.๔๘) กกต.ภูผาฯ จัดสถานที่กันตั้งแต่วันที่ ๑๘ มี.ค. โดยให้นักเรียน สส.ภ.มีส่วนร่วมด้วย เช่น จัดทำ คูหา และกล่อง ที่ใส่บัตรเลือกตั้ง เป็นต้น เปิดคูหาให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลา ๑๐.๔๕ น. สมาชิกที่มาลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นคนสุดท้าย คือ คุณพิศ ก็ได้หย่อนบัตร ลงกล่องเรียบร้อยซะแล้ว ที่น่าประทับใจอีกประการก็คือ สมาชิกชุมชนได้ออกมาใช้สิทธิ์เต็มจำนวน ๑๐๐ % ขนาดอยู่ถึงภาคใต้ ยังโทรศัพท์มาใช้สิทธิ์ เมื่อได้เวลาเปิดคูหา ตอน ๐๘.๐๐ น. พอดี ยิ่งตอนได้เวลานับบัตรคะแนนเลือกตั้ง ชาวชุมชนมาลุ้นคะแนนกันแบบสนุกสนาน ว่า ประธานและคณะกรรมการที่ตัวเองเลือก จะได้เข้ามาเป็นผู้บริหาร ของชุมชนหรือไม่ โดยเฉพาะช่วงประกาศคะแนน ประธานชุมชนฯ คนใหม่นั้น คะแนนสูสีกันมาก เสียงเฮเล็กๆ สร้างสีสรรให้การเลือกตั้ง ที่ไม่มีการหาเสียงใดๆ เลย นอกจากแค่ติดชื่อ ผู้มีสิทธิ์เป็นประธาน และคณะกรรมการ ไว้ที่ศาลาซาวปี๋เท่านั้น ส่วนใครอยากรู้ว่า ประธานและคณะกรรมการชุดใหม่เป็นใครกันบ้าง ก็ติดต่อสอบถามจากสมาชิกชุมชนภูผาฯได้ทุกคน เพราะทุกคน มาลงคะแนนเลือกตั้ง ไม่มีใครนอนหลับ ทับสิทธิ์เหมือนการเลือกตั้ง ข้างนอกหรอกฮะ...จี๊ดๆๆๆ...
จิ้งหรีดมองตาม กกต.ภูผาฯไป ก็เห็นท่านอาจารย์ ๑ กับสมณะที่ภูผาฯ กำลังนั่งฉันที่ศาลาอย่างสำรวม จิ้งหรีดก็เลย ร้องอ๋อ เลยว่า นี่แหละ ผู้รักษาความสงบ ที่แท้จริง เพราะท่านรักษาความสงบ ทั้งทางกาย วาจา และจิตของท่าน อยู่ตลอดเวลานั่นเอง การเลือกตั้งที่ชุมชนภูผาฯ ครั้งนี้ เราจึงมีผู้รักษาความสงบตัวจริง อยู่ในสถานที่ที่ใช้การเลือกตั้งด้วย พอสมาชิกชุมชน เห็นสมณะ ที่ศาลาที่นั่งฉันอย่างสงบ ก็พลอยทำให้ตัวเอง ต้องสำรวมกาย วาจา ใจให้สงบ ในการลงคะแนนที่คูหาไปในตัว แต่ก็มีเหมือนกันที่บางคนอาจสงบข้างนอก
แต่ข้างในนั้นตื่นเต้นจนกาบัตรเพลิน เลือกประธานฯและกรรมการ เกินกว่าที่กำหนด
กลายเป็นบัตรเสียไปก็มี
ช่วงนี้จิ้งหรีดก็ได้ข่าวจากวงการศึกษาที่ปฐมอโศกว่า มีศิษย์เก่าสัมมาสิกขาปฐมอโศก พร้อมที่จะมาเป็นครูประจำชั้น ของน้องๆ เช่น เต ต่าย หยก เป็นต้น เพื่อแบ่งเบาภาระ ของคุรุ และเป็นการกตัญญูกตเวที ต่อสถาบันที่ชุบชีวิต และจิตวิญญาณ จิ้งหรีดก็รู้สึกอนุโมทนา ถ้ามีศิษย์เก่า มีความคิดเช่นนี้...จี๊ดๆๆๆ...
ฮะ..จิ้งหรีดขออนุโมทนากับโครงการดีๆนี้ของ ๓ บริษัท ที่ให้ทางเลือกที่ดีๆกับลูกหลานของเราอีกทางหนึ่ง และยินดีด้วย กับนักเรียน ที่ได้ทุนการศึกษาปีนี้ จี๊ดๆๆๆ...
พบกันใหม่ฉบับหน้า
|
||
ร่วมสัมมนาที่รัฐสภา
ประเด็นอบายมุขเข้าตลาดหุ้น พระรู้สึกห่วงสังคมหลงมัวเมา
คนนับหมื่นยื่นหนังสือคัดค้าน เมื่อวันอาทิตย์ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๘ ตัวแทนชุมชนสันติอโศกและนักเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก ชั้น ม.๔,๕ พร้อมญาติธรรม จำนวน ๓๐ คน ไปร่วมสัมมนา เรื่อง "สังคมไทยได้หรือเสีย เมื่อบริษัทเบียร์-เหล้าเข้าตลาดหลักทรัพย์" ณ ห้องประชุม คณะกรรมาธิการ ๓๑๓-๓๑๘ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ กทม. เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อมูลจากสังคม ถึงประโยชน์หรือโทษ ที่จะเกิดขึ้น หากบริษัทเบียร์-เหล้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเพื่อเป็นการชี้นำ สิ่งที่ถูกต้องดีงาม ให้แก่สังคม รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหา ของประเทศชาติที่ต้นเหตุ อันจะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ อย่างยั่งยืน โดยผู้ร่วม สัมมนา มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน แขนงต่างๆประมาณ ๒๕๐ คน หลังจากลงทะเบียนแล้ว นายชงค์ วงษ์ขันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา กล่าวรายงาน นายผ่อง เล่งอี้ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา กล่าวเปิดการประชุม สัมมนา "....เข้าเมืองตาหลิว ต้องหลิ่วตาตาม !...เข้าเมืองตาบอด เราก็สมควรแล้วหรือ ที่จะควักลูกตาให้บอดตาม หากประเทศ มีเงิน แต่สังคมทราม.... ที่ว่าเหล้าเบียร์เป็นสินค้า วัฒนธรรมประเภทหนึ่ง... น่าจะเป็นหายนภัย มากกว่า.... คุณอยู่ได้อย่างไร เมื่อกำไรที่เพิ่มขึ้น แลกกับอนาคตชีวิตคน...คุณยังยิ้มสู้โลกได้อย่างไร? .....ฯลฯ" เวลา ๐๙.๔๐-๑๑.๔๐ น. เป็นการอภิปราย เรื่อง "สังคมไทยได้หรือเสียเมื่อบริษัทเบียร์-เหล้าเข้าตลาดหลักทรัพย์" โดย พระเทพวิสุทธิกวี, นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สถาบันสุขภาพจิต และวัยรุ่น, ผู้แทน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย, นายดำรง พุฒตาล สมาชิก วุฒิสภากรุงเทพมหานคร, คุณวิสา สารสาท นางแบบโฆษณา ทูต ชิเซโด้ ดำเนินการอภิปรายโดย นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ประธานอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาสังคมไทย ได้หรือเสีย เมื่อบริษัทเบียร์-เหล้า เข้าตลาดหลักทรัพย์ หลังจากนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา แสดง ความคิดเห็น พระเทพวิสุทธิกวี "พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ชัดเจนว่า น้ำเมาทำให้ปัญญาด้อย รู้สึกอึดอัดใจกับผู้ที่สนับสนุนบริษัทน้ำเมา เหล่านี้ หากำไร จากหายนะของสังคม การที่เราสร้าง สิ่งมึนเมา ทำให้สังคมมืดมิด มัวเมามืดบอด พยายามลดความมืดมัวแก่ประชาชน และเยาวชน อย่าพากันหลงมืดในสิ่งมัวเมา บุญบาปในชาตินี้ ชาติหน้า หากใครคิดแบบสัมมาทิฐิ ชาติหน้าจะเกิดมาในที่ที่ดี" นายดำรง พุฒตาล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ "คนไทยติดอันดับ๕ ของโลก ที่ดื่มสุรามากที่สุด สุราเป็นสะพานเชื่อมสู่ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ โรคภัย และอุบัติเหตุ...." นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย "การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ จะเพิ่มขึ้นจริง แต่เราจะยอม เอาเงินเหล่านั้น มาแลกกับความเสื่อม ในสังคมหรือ..." คุณวิสา สารสาท นางแบบโฆษนา ทูตชิเซโด้ "อยากให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าสู่ระดับโลก ก็คงต้องหวัง ดุลพินิจจากผู้ใหญ่ ในสังคม เยาวชนคนรุ่นใหม่ จะได้รับผลกระทบอย่างไร ก็หวังว่าประเทศไทย จะก้าวเข้าสู่อันดันดับต้นๆ ในด้านสิ่งที่ดีงาม" นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สถาบันสุขภาพจิตและวัยรุ่น "สุรามิใช่สินค้าธรรมดา เพราะจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย เป็นสาเหตุ ของการเกิด ตับแข็งฯลฯ ทำให้มึนเมา ขาดสติ เกิดอุบัติเหตุ ต้องพาส่งโรงพยาบาลฉุกเฉิน... รายได้ไม่คุ้มรายจ่าย... ส่งผลกระทบต่อผู้นำครอบครัว...เงินทุนมาก การผลิตมาก ผลกระทบ ก็มาก หากผลิตมากขึ้น ต้นทุนจะต่ำลง... ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียมากขึ้น ปกป้องธุรกิจมากขึ้น...สร้างค่านิยมใหม่ แนวลบให้กับสังคม (เห็นธุรกิจอบายมุข เป็นเรื่องธรรมดา).... เด็กจะถูกทำลาย เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใหญ่ เป็นธุรกิจไร้มนุษยธรรม น่าจะเพิ่มความรับผิดชอบ ต่อสังคมให้มาก การดำเนินงาน ของรัฐ ไม่ควรขัดแย้งกับ นโยบายตัวเอง" หลังจากจบการอภิปราย ได้เปิดให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นเยอะแยะหลากหลาย มุมมอง ปิดท้ายด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขึ้นไปพูดว่า "...ไม่มีเหตุผลอันใด ที่จะนำเหล้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ เหล้าบุหรี่หาซื้อง่ายกว่า พระไตรปิฎกเยอะ...ฯลฯ" ซึ่งเป็นที่ถูกอกถูกใจ ผู้เข้าร่วมสัมมนาอย่างมาก การสัมมนาครั้งนี้ สถานีวิทยุรัฐสภา FM.๘๗.๕ เม็กกะเฮิร์ต ถ่ายทอดสดออกอากาศทั่วประเทศด้วย ส่วนนักเรียนที่เข้าร่วมสัมมนา ได้แสดงความรู้สึกดังนี้ นายศักดา ยมโคตร นร.สส.สอ.ชั้นม.๕ "ผมรู้สึกว่า คนในสังคมเริ่มให้ความสนใจ และไม่นิ่งเฉยในเรื่องที่เป็นความเสื่อมเสีย และได้ร่วมแรง ร่วมใจกันทุกหน่วยงาน คัดค้านกันในเรื่องนี้ แต่ยังมีอีกหลายท่าน ไม่เห็นความสำคัญตรงนี้ ไม่คิดถึงผล ที่จะเกิดขึ้นตามมา ในภายหน้า... การประชุมวันนี้ เป็นเสียงที่ไม่เห็นด้วย และคัดค้าน ไม่ว่าประการใดๆ แต่การตัดสิน อยู่ที่กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าจะเห็นสมควรหรือเปล่า ส่วนผมในฐานะ คนไทยคนหนึ่ง ที่มีส่วนเป็น เจ้าของประเทศนี้ ผมไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะมีประโยชน์ด้านใดๆก็ตาม เพราะผลเสียตามมาประเมินค่ามิได้" น.ส.วลัยพร สัญญรัตน์ นร.สส.สอ. ชั้นม.๕ "ได้รู้ความเป็นไปของสังคมว่าไปถึงไหนแล้ว แม้จะเป็นเด็กวัด แต่โชคดีกว่า คนอีกหลายคน ที่ไม่ได้มาสัมผัส กับวิถีชีวิต อีกแบบหนึ่ง อีกทั้งเป็นการบูรณาการ วิชาภาษาไทย ในเรื่องการอภิปราย ตอนเรียน ไม่เข้าใจ แต่วันนี้เข้าใจแล้วว่า การอภิปราย เป็นแบบนี้เอง สนุกมากๆ ปรบมือตลอด เมื่อโดนใจ" น.ส.เกษรา บุญยิ่ง นร.สส.สอ.ชั้น ม.๕ "ถึงเราจะเป็นเยาวชน เราสามารถแสดงความคิดเห็นกับเรื่องที่มันมีผลกระทบ ระยะยาว เพราะเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ทำลายเศรษฐกิจ และสังคมไทย มอมเมาชีวิตให้ตกต่ำ นำไปสู่ความหายนะและการผิดศีลทุกข้อ" นายอำพล สุดสวาท นร.สส.สอ.ชั้นม.๔ "สนุกดี ได้ความรู้ ได้เห็นโทษภัยของเหล้าเบียร์....ในสังคมก็ยังมีคนที่เสียสละ แต่คน ส่วนมากยังเห็นแก่ตัว ไม่ค่อยคิดถึง ส่วนรวม ประเทศชาติ ได้ฝึกตนในด้านการมีส่วนร่วม ทางสังคมมากขึ้น ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ การฟังการสัมมนา ระดับประเทศ ได้ฝึกความอ่อนน้อม ถ่อมตน เนื่องจาก เราเป็นเด็ก ต้องทำตัวให้เหมาะสม ถูกกาละเทศะ ได้ฝึกความอดทนในเรื่องการไม่ใส่รองเท้า แม้คนอื่นจะมองยังไง แต่เราก็ภูมิใจในชุดที่ไม่เหมือนใคร" น.ส.รัชนี พลพรมราช นร.สส.สอ. ชั้นม.๔ "ได้ฝึกฝนตนเองในด้านศีลธรรม คือมีส่วนร่วมในการดูแลสังคม ทำให้มีจิตเมตตา ได้ฝึกพิจารณา ด้วยวิจารณญาณว่า สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี ในฐานะที่เราเป็นเยาวชนคนหนึ่งของชาติ จะช่วยชาติอย่างไร" ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ ผู้จัดการสถาบันบุญนิยม ให้สัมภาษณ์ถึงการไปร่วมสัมมนาครั้งนี้ว่า "แต่ละท่านที่ร่วมสัมมนา ได้นำข้อมูล ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากนำเรื่องดังกล่าว เข้าตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งประชาชนที่มาร่วมประชุมสัมมนาประมาณ ๒๕๐ คนในห้องประชุม ก็มีความเห็นตรงกันหมด ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแน่นอน หากนำเรื่องดังกล่าวเข้าตลาดหุ้น ตั้งแต่เรื่อง ของสุขภาพ อุบัติเหตุ ครอบครัวแตกแยก หรือแม้แต่การท้องโดยไม่ได้ตั้งใจ ความสูญเสีย นับเป็นมูลค่า มากกว่าที่รัฐบาล จะได้จากภาษีสรรพสามิต หรือบริษัทเบียร์จะได้กำไร ก็มาจากความยากจน ของประชาชน เป็นจำนวนมาก ทุกคนมีความเห็น ตรงกันว่าเบียร์-เหล้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ จะเป็นผลเสียต่อประเทศ ทางด้านศาสนา ได้อภิปรายว่า อบายมุข เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเพิ่มขึ้นมา ตรงกันข้ามกลับควรจะลดลงด้วยซ้ำไป" นายผ่องสรุปว่า จะแจ้งเรื่องนี้ให้รัฐบาลทราบโดยเร็วว่า ทางด้านประชาชนมีความเห็นอย่างนี้และได้ไปสุ่มประชามติสอบถาม ไปทางโรงเรียน วัดต่างๆ ๙๐% ที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งอันนี้คือเสียงของ ประชาชนที่แท้จริง เมื่อวันที่ ๒๓ มี.ค. ผู้จัดการสถาบันบุญนิยม พร้อมด้วยญาติธรรมจากชุมชนอโศก ๙ แห่งทั่วประเทศ เดินทางมารวมตัว ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยในวันนี้ มีพี่น้องจากพุทธ คริสต์ อิสลาม เครือข่ายองค์กรประชาชน เครือข่ายงดเหล้า ฯลฯ ประมาณ ๑ หมื่นคน จาก ๑๒๘ องค์กร มาร่วมคัดค้าน การนำเบียร์ช้าง เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยระบุว่าเป็นของมึนเมา ทำลายสุขภาพ ในระยะยาว ซึ่งเป็นผลให้ทางตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ต้องเลื่อนพิจารณา กรณี บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจส์ หรือ "เบียร์ช้าง" เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯอย่างไม่มีกำหนด.
|
||
ข้าพเจ้า นางชลธร ทัศนา มีอาชีพเป็นนักธุรกิจขนาดเล็ก เกิดที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ แต่มาทำธุรกิจอยู่ที่เกาะสมุย หาดเฉวง เป็นบังกาโล ขนาดเล็กประมาณ ๑๐ ห้อง เมื่อสัญญา ที่เกาะสมุยใกล้จะหมด ข้าพเจ้าและครอบครัวได้มองหาที่อยู่ใหม่ เพราะที่อยู่เก่าที่สมุยราคาแพงมาก จนไม่สามารถเช่าอยู่ต่อไปได้ ข้าพเจ้าและครอบครัว ได้มาพบที่ดินที่เขาหลัก เขตบางเนียง ที่ราคาพอประมาณ ที่ข้าพเจ้าและครอบครัวพอจะซื้อได้ เลยตกลงซื้อ เพราะเบื่อการเช่า ที่ต้องย้ายตลอดเวลา เมื่อที่ดินราคาแพงขึ้น และเมื่อได้ที่ดินแล้วข้าพเจ้าและครอบครัวได้กู้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพื่อเอาเงินมาลงทุนปลูกสร้าง และเมื่อสร้างเสร็จ กำลังจะเปิด ในวันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๗ คืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ แต่ยังไม่ทันที่จะได้เปิด คลื่นยักษ์ก็ได้ถล่มเข้าใส่บังกาโล ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ คลื่นยักษ์ไม่ได้พังแต่บังกาโล แต่ได้พังบ้าน ของข้าพเจ้าอีก ๑ หลัง พังอนาคต พังเงินออม ตลอดชีวิต ของข้าพเจ้า และทำให้ข้าพเจ้าหมดตัวไม่พอ แถมทิ้งหนี้สิน ให้ข้าพเจ้า จากธนาคารอีก ๕ ล้าน ๒ แสนบาท และหนี้นอกระบบ อีก ๓ ล้าน ๕ แสนบาท ตอนนี้ข้าพเจ้ายังไม่รู้ว่า จะทำยังไงดี กับอนาคตที่เหลืออยู่ ได้แต่รอว่าเมื่อไหร่รัฐจะช่วย ออกมาเสียที ชีวิตจะได้ เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพราะการล้มครั้งนี้ ไม่สามารถที่จะลุกขึ้นสู้ได้ด้วยตัวเอง ต้องรอภาครัฐเข้ามาช่วยอุ้ม เพราะว่า เงินหมด แล้วที่ดินอยู่ในธนาคาร และเครดิต ก็ไม่มีแล้ว ข้าพเจ้ามีน้องสาวอยู่ ๑ คนที่เป็นคู่คิด และเป็น คู่ทุกข์คู่ยาก ได้ต่อสู้ มาด้วยกัน และเราก็หมดตัวเหมือนกัน เพราะเราเป็นคู่หุ้นกัน ข้าพเจ้ามีลูกชาย ๒ คน คนโตอายุ ๑๓ ปี คนเล็กอายุ ๑๑ ปี เป็นชาย ทั้งคู่ น้องของข้าพเจ้าชื่อ โศรดา ทัศนา มีลูกชาย ๑ คน ตอนนี้เราทั้งคู่พี่น้อง มาอาศัยอยู่ที่ ศูนย์ผู้อพยพหนีภัยสึนามิ ที่บ้านปากวีป และเริ่มหัดทำอาชีพใหม ่ด้วยการหัดทำขนมทองม้วน จากสมณะและญาติธรรม ชาวอโศก ที่มาช่วยบรรเทา ทุกข์ยาก ของผู้ประสบภัย ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งใจ และสำนึกในพระคุณ ของพระคุณเจ้า และชาวคณะทุกๆคน ขอให้ได้รับความเคารพและศรัทธาอย่างสูงสุดจากข้าพเจ้า ขอให้ทุกคนพบแต่ความสุขและเจริญในทุกๆด้านเทอญ จากใจของข้าพเจ้า นางชลธร ทัศนา และผู้ประสบภัยบ้านปากวีปทุกๆคน.
|
||
ได้มาประเมินผลโรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก
ด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน และด้านผู้บริหาร ผลของการประเมินตามมาตรฐาน การศึกษาแห่งชาติ ๑๖ มาตรฐาน ของโรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ดี - พอใช้ - ต้องปรับปรุง มีดังนี้ ด้านผู้เรียน มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่พึงประสงค์ ดี ด้านครูผู้สอน มาตรฐานคุณธรรมของครู
ดี ด้านผู้บริหาร มาตรฐานการจัดองค์กร โครงสร้าง
และการบริหารงานของผู้บริหาร ดี |
||
ปฏิทินงานอโศก
|
||
ป้าสุกัลยาปฏิบัติธรรมที่สีมาอโศกมานานหลายปี แล้ววันหนึ่งเมื่อต้องสูญเสียลูกสะใภ้และลูกชายภายในเวลาไล่เรี่ยกัน ป้าก็ทำใจได้ หากเกิดขึ้นกับเรา จะทำใจได้ เช่นป้าหรือไม่หนอ # ชีวิตวัยเยาว์ ๙ ขวบกว่าถึงได้เข้าโรงเรียน เพราะปลัดอำเภอมาบอกแม่ว่าหากไม่ให้ป้าเข้าโรงเรียนผิดกฎหมายนะ แม่ถึงให้ไป เรียน ๓ ปี ก็จบ ป.๔ อยู่ ป.เตรียม ๒-๓ เดือน ครูก็ให้ขึ้น ป.๑ อยู่ไม่กี่เดือน ก็สอบขึ้น ป.๒ จบ ป. ๔ แล้วมาช่วยที่บ้านค้าขาย พอมีเวลา ก็ไปเรียนกวดวิชา จนจบ ม.๓ # ชีวิตคู่ พ่อบ้านเป็นคนดีมาก ใจเย็น เราชอบเข้าวัดทั้งคู่ ถือศีล ๘ กันมา ๑๐ กว่าปีแล้ว ชาติหน้าป้าไม่เอาแล้ว มันทุกข์ค่ะ เมื่อก่อนต่างคนต่างไม่รู้ # ครึ่งคนครึ่งพระ # การฝึกฝนในวัด ปี ๒๕๓๖ ป้าไปเข้าพรรษาที่สีมาอโศก ตอนนั้นท่านมนาโปเป็นสมภาร ถัดมาอีกปีนึง ก็ไปปลูกบ้านที่ชุมชนสีมาอโศก จำได้ว่า เป็นวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๒๕๓๗ ก็อยู่มา จนถึง พ.ศ.๒๕๔๒ ลูกสะใภ้-ลูกชายเสียชีวิต ป้าก็กลับไปอยู่ชัยภูมิ ไปเลี้ยงหลาน ๓ คน เพราะพ่อแม่เขาเสียชีวิตทั้งคู่ ก็ยังปฏิบัติตัวเหมือนอยู่วัด ทำวัตร สวดมนต์ สังวรศีล แต่ละวันก็จะคิดว่าศีลเราด่างพร้อยหรือไม่ ไปอยู่สีมาฯช่วยทำขนมเทียน อยู่ห้องจักร ตอนหลังไปช่วยฐานอาหารเสริม แล้วไปอยู่บ้านเพิ่มบุญ ๑ พรรษา ที่ขอนแก่น ไปช่วย ชมร.โคราช อยู่ ๓-๔ ปี เมื่อก่อน ป้าเป็นคนเจ้าอารมณ์ ขี้โมโห พระท่านก็เทศน์ว่า การโมโหก็เหมือนกับเอาหัวไปชนเสา เราก็เจ็บ และคนข้างเคียง ที่เราระบายออกไปก็เจ็บด้วย พ่อบ้านเขาพาป้าเข้าวัด ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ เริ่มถือศีล สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น จนปี ๒๕๒๙ มาเจออโศก หลังจากนั้น ๕-๖ เดือน พ่อบ้าน ก็ทานมังฯ จนถึงทุกวันนี้ พ่อบ้านชื่อ สะอาด สินโพธิ์ # โชคดีที่ได้เข้าวัด ป้าว่าอยู่ที่ไหน เราก็ได้ปฏิบัติธรรม อยู่ที่บ้านก็เจอสภาวะอีกอย่าง ก็ต้องทำใจ ป้าโชคดีที่ได้เข้าวัด ได้ไปอยู่ในที่ที่ มีคนสอน ให้เราฝึกจิต ฝึกใจ ถ้าไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้ศึกษาธรรมะมาก่อน คงเข้าโรงพยาบาลโรคประสาท ทุกวันนี้ที่เข้มแข็งได้ เพราะได้มาฝึก ในวัด ก็เป็นโจทย์อีกอย่างหนึ่ง ที่เราได้ฝึก และต้องสอบให้ผ่าน เมื่อก่อน ป้าเป็นโรคกระเพาะ เป็นไซนัส เพราะเป็นคนซีเรียส จริงจังกับชีวิตมากเกินไป พอมาเรียนรู้เรื่องจิต โรคก็หายไป # ฝากคนที่ไม่เข้าวัด
ป้าสุกัลยาผ่านมามากมายทั้งสุข-ทุกข์ ป้าบอกว่าตั้งใจจะเดินบนเส้นทางสายนี้ไปจนตาย แล้วท่านล่ะตั้งใจจะเดินทางบนเ ส้นทาง สายใด โลกุตระหรือโลกียะ? - บุญนำพา รายงาน - |
||