ฉบับที่ 255 ปักษ์หลัง16-31 พฤษภาคม 2548 |
ยึดข้อเสนอของตัวเองหรือเปล่า การประชุมเป็นเรื่องของสัตว์สังคมที่เจริญ |
||
ส่วนอาริยชนนั้นจะมีความสามารถในการปฏิบัติตน คือสติ ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อม รู้ตัวอยู่จริงๆ สติสัมปชัญญะ ปัญญา แล้วก็มีธัมมวิจัย ถ้าเป็นอาริยชนก็จะมีธัมมวิจัยที่สำคัญ มีประสิทธิภาพ วิจัยธรรม รู้จักกุศล อกุศลถึงขั้นโลกุตระ โลกียะ วิจัยเป็นโลกียะอย่างไร เป็นโลกุตระ เพราะวิจัยออกทั้งกายกรรม วจีกรรม กับจิตตัวเอง วิจัยในจิตตัวเองออก ว่าจิตของตัวเอง มีอำนาจอย่างไรแค่ไหน ทำอย่างนี้เหมาะสม ไม่เหมาะสม การแสดงออก บำเรอกิเลสตัวเอง หรือไม่บำเรอกิเลสตัวเอง เข้าใจ นั่นคือสติอาริยชน ธัมมวิจัยของอาริยชน และความเพียร วิริยะของอาริยชนก็จะตามไป พยายามเพียรรู้ วิจัยให้ชัด บทบาท ในการวิจัยก็จะมากกว่ากันหน่อย ปุถุชนบทบาทในการวิจัยก็จะน้อย วิจัยไปตามประสากิเลส เออ..อย่างนี้มันจะได้ อย่างนี้มันจะสมใจ อย่างนี้มันจะแสดงราคะ ออกไปได้สุขสมใจ อย่างนี้มันจะแสดงโทสะสุขสมใจตามที่กิเลส มันจะมีฤทธิ์มีแรงเท่าไรก็แล้วแต่ เดี๋ยวนี้มันจะแสดง ความหลง เลอะเทอะบ้าๆบอๆ อะไรก็ตามใจ มันก็จะแสดงไปตามภูมิธรรม มันมีการวิจัยที่จะแสดงออก โดยอัตโนมัติ มันก็มีการวิจัย ตัวเองจะต้องเลือกทำอย่างไรตอนนี้ เราจะทำอย่างไรออกมา มันเร็ว ของเรามันมีอัตโนมัติเยอะ ปฏิบัติธรรมจะต้องพยายามมีธาตุรู้เข้าไปตามรู้ให้เร็ว วิจัยให้เร็ว ทัน แล้วก็มีแรงที่จะไประงับสิ่งที่ไม่ควรให้แสดงออกทางกาย วาจา แม้มันจะเกิดอยู่ในใจเป็นตัวบงการ มีกิเลส ก็พยายามระงับ ถ้าเป็นอาริยชนก็จัดการกับตัวต้นตอ คือจิตวิญญาณ กิเลสมันอยู่ ในจิตวิญญาณก็จะปหาน ก็จะสังวร การสังวรก็จะสังวรตามภูมิธรรมของคน ปุถุชนก็สังวร ไม่ใช่ไม่สังวร สังวรระวังไป เท่าที่เขามีภูมิ กัลยาณชนก็สังวรตามฐานะที่เขามีภูมิ อาริยชนก็สังวรยิ่งกว่ากัน เพราะรู้โลกุตระ รู้โลกียะ รู้ว่าอย่างนี้ คนโลกุตระไม่ทำหรอก บำเรอกิเลสอย่างนี้ไม่เอา ยิ่งแสดงออกทางกาย ทางวาจา ยิ่งแย่ จะชัดเจนกว่า จะมีภูมิธรรมรู้ดีกว่า ความแตกต่างของสติ ธัมมวิจัย วิริยะที่เป็นสัมโพชฌงค์ หรือยิ่งสติปัฏฐาน
๔ ก็จะต่างกันไปหมด ถ้าเป็นปุถุชน สติปัฎฐาน ๔ รู้จักกายในกาย เวทนาในเวทนา
เขาไม่รู้จักอารมณ์ของเขาเป็นยังไง เขาไม่รู้เรื่อง มีแต่จะทำให้สมอารมณ์
ทำให้สมอารมณ์อยาก จิตเป็นอะไร มีราคะมูล มีโทสะมูล พยายามที่จะทำให้มันเป็นวีตะราคะ
วีตะโทสะ วีตะโมหะ ไม่รู้เรื่อง ปุถุชน กัลยาณชน ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเลย
อาจจะรู้เรื่องบ้างโดยปริยาย รู้การกด การข่ม การระงับบ้าง ตามแบบฤาษี
ฤาษีเขาพาทำ ก็จะมีการฝึกฝน ตนเองแบบฤาษี หัดระงับ หัดยับยั้ง แบบฤาษีก็ใช้พลังกดข่มเลย
ถ้าแบบฤาษีกรุง ฤาษีป่าก็กดข่มเลย เป็นแบบสมถะ อาตมาว่าเชิงปัญญา เชิงเหตุผล ยังมีกว่า ยิ่งมีญาณปัญญา รับรู้อาการลิงคะ นิมิต ของจิตของกิเลสทันที มันมีทุกข์อย่างไร มันมีบทบาทอย่างไร แล้วมันก็ไม่ได้เป็นความจริง มันไม่ได้เที่ยงได้แท้อย่างไร เดี๋ยวมันก็ทนๆเอาบางทีมันก็จะจางคลายไปเอง หรือไม่ทนเอามันจะบ้าบอหนักหนาสาหัสขึ้นกว่านั้นก็ได้ แล้วมันก็พาทุกข์ ไม่ใช่ตัวแท้ตัวจริงอะไรหรอก ลดละได้ ระงับได้ หลายๆตัวอย่างที่เราฆ่ากิเลส ปราบกิเลสตายไปแล้วได้ มันก็มีตัวที่เป็นตัวอย่าง มันไม่ใช่ของจริงหรอก มันไม่มีตัวตน มันมาหลอก เราหลงไปสะสมมันมา มันก็เลยมากอบมากองอยู่กับเราไปเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราฟาดฟันมัน ล้างมัน ชำระมัน ด้วยวิธีการปฏิบัติของเรา ทำให้มันลดละจางคลายได้ มันหมดได้จริงๆ มันไม่มีตัวมีตนจริงหรอก มันตาย มันไม่มีตัวตนอยู่ในตัวเราจริงเลย เราก็ไม่ได้เดือดร้อน เราก็ไม่ได้ตกต่ำ ไม่ได้เป็นคนเสียหาย อะไรเลย มีแต่จะเจริญพัฒนา มีแต่ประเสริฐวิเศษ เราก็พิจารณาเข้าไปจริงๆ ประสิทธิภาพในการ พิจารณาพวกนี้ ให้เหตุให้ผล ให้หลักฐานความจริง ให้หลักฐานอ้างอิงของผู้ที่ปฏิบัติได้มาเป็นตัวอย่าง มาเป็นวิธีการหาความจริง มีหลักฐาน เหตุผล มีความจริงที่ยืนยัน เห็นด้วยปัญญา รู้ด้วยปัญญา เข้าใจด้วยปัญญา แล้วมันก็จางคลายด้วยวิปัสสนาวิธีกับสมถะวิธี ก็มี ๒ อย่างเท่านั้น ถ้าเราได้ทำจริง จิตก็จะลด อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว รู้หรือยังว่าจิตของเราอยู่ระดับไหน หากยังงงอยู่ ลองไปปรึกษาสมณะหรือสิกขมาตุดูนะ จะกระจ่างแจ้ง จางปาง.... - เด็กวัด - |
||
ผู้ว่าฯและรองผู้ว่าฯจากทุกจังหวัดมาร่วมงาน ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ พ.ค. ๒๕๔๘ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย(คกร.) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดงานอบรมสัมมนา กสิกรรมไร้สารพิษเพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ ๑๒ "การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์" ณ ศูนย์การศึกษาและเรียนรู้ กสิกรรมไร้สารพิษ เศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านชุมชนราชธานีอโศก ต.บุ่งไหม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ภายใต้คำขวัญ ของงานว่า "รักษ์ดิน รักษ์ฟ้า รักษ์คนที่มาเพื่อฟ้าดิน" วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อ ๑. นำเสนอตัวอย่างกรณีความสำเร็จของเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ โดยมีการพัฒนาจิตใจเป็นพื้นฐานหลักที่สำคัญ ๒. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ในการทำงานจริงของเกษตรกรที่มีการพัฒนาองค์ความรู้แบบครบวงจร ในสามอาชีพกู้ชาติ คือ การทำ กสิกรรม ธรรมชาติ การทำปุ๋ยสะอาด และขยะวิทยา เป็นการจัดการขยะให้มีคุณค่า แปลงขยะให้เป็นปุ๋ย ทำกสิกรรมไร้สารพิษ การ แปรรูปผลผลิต มีกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มและการพึ่งตนเอง เพื่อการพัฒนา คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ผู้ร่วมอบรมสัมมนาประกอบด้วย ที่พักสำหรับผู้มาร่วมงาน มีพี่เลี้ยงสีต่างๆดูแลรับผิดชอบดังนี้ บ้านคุ้มตะวันออก เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.ทั้งหมด พี่เลี้ยง สีเขียวเข้ม เฮือนศูนย์สูญชั้น ๑ เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ฝ่ายชาย พี่เลี้ยงสีแดง, ฝ่ายหญิงพักที่เฮือนตะเคียนและบ้านพัก พี่เลี้ยงสีเขียวเข้ม โรงแชมพู เกษตรกรจากกรมพัฒนาที่ดินและผู้ดูแลคนพิการฝ่ายชาย พี่เลี้ยงสีเทา, ฝ่ายหญิงพักที่หม่องค้าผง พี่เลี้ยงสีชมพู บ้านคุ้มตะวันออก แขกวีไอพี สำหรับญาติธรรมและเครือแหฝ่ายหญิงพักและกางเต็นท์ในหมู่บ้าน ฝ่ายชายพักที่เฮือนศูนย์สูญชั้น ๑ ในส่วนของอาหารสำหรับผู้มาร่วมงาน อาหารนานาชนิดจัดบริการไว้ที่เต็นท์หน้าเฮือนเพิงกันไปจนถึงเฮือนหนองหม้อแกง อาหารจานเดียว ที่บ้านคุณป้าสำเนียง, เมี่ยงญวนที่บ้านสุขภาพ และอาหารภารตะที่บ้านคุณเพชรตะวัน ซุ้มนิทรรศการจัดไว้ที่บ้านในชุมชนมี ๑๗ แหล่งเรียนรู้ มีทั้งเอกสารแจกฟรี
สาธิตให้ดู มีตัวอย่างให้ชมและชิม และมีผลผลิต จำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ
คือ และที่เต็นท์บริเวณตลาดอาริยะมี ๑๕ แหล่งเรียนรู้ คือ รายการในแต่ละวันมีดังนี้ ๑๕ พ.ค. ผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาเดินทางเข้าพื้นที่ ลงทะเบียน รับเอกสาร เข้าที่พัก ๑๘.๓๐ น. รายการสาระบันเทิง, ปฐมนิเทศ โดยสมณะเดินดิน ติกขวีโร ได้กล่าวแนะนำและพูดถึงวัฒนธรรม ของหมู่บ้านว่า.... หมู่บ้านชุมชนราชธานีฯเป็นหมู่บ้านยากจนอันดับที่ ๕ ของจังหวัดอุบลฯ ประสบกับอุทกภัยติดต่อกันมาหลายปี แต่ละบ้าน จึงไม่มีข้าวของมากมาย ยกเว้นส่วนกลางซึ่งมีไว้เพื่อต้อนรับผู้มารับการอบรม พวกเราเป็นคนจน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่กันด้วยระบบสาธารณโภคี ปลอดจากอบายมุข นอนแต่หัวค่ำตื่นแต่เช้า งานเพื่อฟ้าดินเป็นงานที่ยกให้ฟ้าดินเป็นใหญ่ และเป็นผู้กำหนดว่า อากาศจะร้อน หรือฝนจะตก..." หลังจากนั้นชมวีดิทัศน์ แนะนำหมู่บ้านราชธานีอโศก, วีดิทัศน์ผู้นำจิตวิญญาณชาวอโศก พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ การก่อเกิด พุทธสถานต่างๆ การก่อเกิด ร.ร.สัมมาสิกขา, การไปร่วมซับขวัญชาวใต้ และรายการสุดท้ายเอื้อไออุ่น โดยพ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์ บริเวณลานโคกใต้ดิน เวทีธรรมชาติ ๑๖ พ.ค. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง บอกเล่าความเป็นมาของการทำเกษตรอินทรีย์ ว่าชาวอโศกเริ่มทำเกษตรอินทรีย์มายี่สิบกว่าปีแล้ว ที่หมู่บ้านศีรษะอโศก ต่อมามีการอบรมเกษตรกร(ลูกค้า ธ.ก.ส.) ตามศูนย์อบรมของชาวอโศก ๒๐ ศูนย์ มีเกษตรกร ผ่านการ อบรม ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๗ ประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ มีจังหวัดนำร่อง เรื่องเกษตรอินทรีย์ ๒๔ จังหวัด เกษตรกรรายย่อยจะพ้นจากความยากจนจะต้องทำ ๒ อย่างพร้อมๆกัน คือ ๑.ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี ๒.รู้จักประหยัด เลิกอบายมุข หลังจากนั้น ฯพณฯ รมว. กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และมอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และ ข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ ว่า "....วันนี้ถือว่าเป็นวันดีอย่างยิ่งที่เราจะได้มีโอกาสมาร่วมกันทำสิ่งที่ดีๆให้เกิดขึ้นในแผ่นดินไทย และสิ่งที่เราจะร่วมกันทำ ในวันนี้ ท่านนายกฯก็อยากให้เกิดความยั่งยืนต่อเกษตรกรเพื่อ ผลของเกษตรกรเองที่จะได้รับผลดี ซึ่งการสัมมนา การแก้ไขปัญหา ความยากจน อย่างยั่งยืน ด้วยเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะเป็น กิจกรรมหลักในงานกสิกรรมไร้สารพิษเพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ ๑๒ นี้ พวกเราเองคงได้ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงตรากตรำพระวรกาย โดยไม่ ทรงรู้สึก เหน็ดเหนื่อยเพื่อขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากของพี่น้อง เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่ขณะนี้ จะต้องเผชิญ ปัญหา กับความยากจน ซึ่งเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ด้วย... ที่ชุมชนอโศกก็เป็นชุมชนหนึ่ง ที่พ่อท่าน ก็ได้ยึดหลัก แนวเศรษฐกิจ พอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทำให้เกิดความสำเร็จในการที่จะหลุดพ้นจาก พิษภัยของความยากจน การหลุดพ้น จากพิษภัย ของความยากจนไม่ได้หมายความว่าเราต้องร่ำรวย แต่เราพออยู่พอกิน เรามีความสุขกาย สุขใจ ดังนั้น เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษที่เมื่อครู่ท่านประธาน ท่านธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ ได้กรุณากล่าวไปเมื่อสักครู่นี้ ก็จะเห็นได้ว่า จะเป็นประโยชน์ที่จะสร้างความยั่งยืนให้เกษตรกรต่อไป ท่านนายกรัฐมนตรี ท่าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้เห็นความสำคัญ เนื่องจากท่านเอง ได้มีโอกาสพูดคุยใกล้ชิดกับ ท่านพล.ต.จำลอง และได้ทราบถึงประโยชน์จากการที่เรายึดแนวพระราชดำริมาช่วยกันผลักดันในกลุ่มต่างๆ แล้วตัวอย่าง ตรงไหนที่ดี รัฐก็มีหน้าที่เข้าไปส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น ให้มีกำลังทำให้มากขึ้น ดิฉันกับชาวอโศกนั้น ก็มีความใกล้ชิดกันมานานแล้ว ก็ได้เห็นถึงตัวอย่างที่ดี ตั้งแต่การให้จิตวิญญาณ ของความรู้สำนึก ในความรับผิดชอบ ของแต่ละครอบครัวที่จะเข้าร่วมทำโครงการนี้ นั้นคือต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน ต้องเข้าใจ ต้องเห็น ประโยชน์ และต้องรักที่จะทำจริง เพื่อประโยชน์สุขของครอบครัวนั้นๆ ดังนั้นการที่เราได้ใส่คุณธรรมลงไป ก็คือใส่ปุ๋ยใจ แล้วก็ให้ปุ๋ยกับแผ่นดินที่จะเป็นปุ๋ยที่ยั่งยืน เป็นปุ๋ยทางด้านอินทรีย์ ก็ต้อง ควบคู่กัน ดิฉันเองก็ชื่นชมและศรัทธาในแนวทางที่พ่อท่าน ทางท่านประธาน คกร.และท่านจำลองได้ทำมา ตลอดระยะเวลา นับสิบปีนี้นะคะ ดังนั้น ในวันนี้เมื่อท่านนายกรัฐมนตรีได้เห็นประโยชน์ และได้นำแผนเกษตรอินทรีย์มาเป็นแผนชาติ กำหนดให้มีเป้าหมาย มียุทธศาสตร์ แล้วก็มีระยะเวลาของความสำเร็จโครงการภายใน ๔ ปีสำหรับรัฐบาลนี้ เราจึงต้องมาร่วมแรงมาร่วมใจกันทำ นโยบายของรัฐบาลนั้นที่จะเกี่ยวพันกับเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกก็คือเรื่องของเกษตรอินทรีย์ คือการไม่ใช้สารเคมีเลย ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ท่านได้กรุณาเป็นประธาน ตรงนี้เราได้บรรจุ เป็นหนึ่งใน ๑๖ สินค้าที่เป็นยุทธศาสตร์ของชาติ คือเราได้มีการแบ่งกันปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรออกเป็น ๓ กลุ่ม เราได้บรรจุ เอาเกษตรอินทรีย์ซึ่งแต่เดิมไม่มีบรรจุในแผนเข้ามาอยู่ในกลุ่มที่สอง ที่เราเรียกว่าเป็นกลุ่มดาวรุ่งดวงใหม่ หรือที่เขาใช้ภาษา สภาพัฒน์ฯ ว่า New of unity มีโอกาส มีความเป็นไปได้ ในอนาคตที่สูง แล้วก็เป็น tend เป็นแนวโน้มของโลก ที่เดี๋ยวนี้ อะไรก็มี วิวัฒนาการดีขึ้น คนก็สุขสบายขึ้น ตอนนี้ก็หันกลับมาดูตัวเองแล้วว่าเราใช้สารเคมีเยอะ ก็กลับมาสู่ธรรมชาตินะคะ เกษตรอินทรีย์จึงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกถวิลหา อยากจะมีอายุยืน อยากจะแข็งแรง อยากจะไม่เจ็บไม่ป่วย เราจึงกำหนดให้เป็น ยุทธศาสตร์ ที่ ๒ ก็อยากจะเรียนให้ท่านผู้ว่าฯและรองผู้ว่าฯ ว่า เกษตรอินทรีย์เมื่อเข้าเป็นแผนยุทธศาสตร์ เราก็จะสนับสนุนให้มีการทำที่ยั่งยืน โดยสำคัญที่สุดต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกรก่อนว่า การทำเกษตรอินทรีย์หมายถึงเราไม่ใช้สารเคมีนะคะ แล้วสินค้า ผลิตผล ที่ได้จากเกษตรกรในส่วนนี้ที่เหลือจากกิน เหลือจากใช้ หรืออีกกลุ่มที่ทำขายนั้นเรายกระดับออกชูข้างหน้า จะเป็นยุทธศาสตร์ ที่ช่วยอุ้มสินค้าตัวอื่นในการสู้กับตลาดโลกได้ ทุกวันนี้เราจะเจอปัญหาตลอด ว่าเราส่งผัก ผลไม้ ส่งหมูเห็ดเป็ดไก่ไปต่างประเทศก็จะถูกตีว่ามีสารพิษ เราเป็นเหมือนกับ ประเทศ ที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก แต่เหมือนอาหารไม่ได้มีมาตรฐาน ดิฉันตั้งเป้าไว้ภายในปีหน้า เราจะตรวจรับรองสินค้าที่ไม่มีสารหรือที่มีสารไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานโลก แล้วก็ดึงคุณภาพของ สินค้าเรา ขึ้นทุกตัว ไม่ต้องให้ใครมาคอยบอกว่าของเราไม่ดี ยุทธศาสตร์ตรงนี้ เราดึงเกษตรอินทรีย์ขึ้นมาชู แล้วก็จะทำในเรื่องของการส่งออกด้วย ก็จะสร้างความน่าเชื่อถือ ให้เห็นว่า ประเทศไทยได้สนับสนุน แล้วคนไทยได้ผลิตสินค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์ได้ และเป็นที่นิยมบริโภค ต้นเดือนหน้า ดิฉันจะนำเรื่องนี้ เข้า ครม. ซึ่งก็ต้องให้ท่านผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดได้กรุณาทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับแผนใหญ่ แล้วท่านก็ชูประเด็นไปเลยว่า นี่คือเกษตรอินทรีย์จากจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ ผักผลไม้หรือจะเป็นข้าวชนิดต่างๆ ก็มีโลโก้ที่รับรองจากประเทศ เหมือนที่บริษัท เขาทำ ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯก็ทำตัวคิว มีคิวให้เกษตรอินทรีย์ จังหวัดก็รับรองมาจากจังหวัด หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ ก็จะรับรองเวลาส่งออก ถ้าเราดึงความเชื่อถือขึ้นมาได้เรื่อยๆ เราก็จะเป็นผู้ผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคมไทยและสังคมโลก คือผลิตของที่ไม่มีสารพิษ ไปให้ผู้บริโภค รับประทาน ทั้งคนไทยทั้งลูกค้าเราในต่างประเทศ ส่วนอีกกลุ่มใหญ่ที่ท่านจำลองทำ ก็ทำกันเต็มที่ นำร่อง ๒๔ จังหวัด นายกฯบอกว่าให้นำร่องทั้งประเทศได้หรือไม่ ก็ต้องขอ ความกรุณา ท่านจำลองต่อไป แต่อีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นกลุ่มของโครงการ การลดการใช้สารเคมีในการเกษตรทุกอย่างต้องทำทุกจังหวัด เป้าหมายก็คือ ๔-๕ ปี ข้างหน้า ต้องลดได้ครึ่งหนึ่ง ของการใช้สารเคมีในทุกจังหวัด ที่จะให้ความรู้แก่เกษตรกร ที่กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ ทุกกรมต้องช่วยกัน ร่วมกันกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เราจะนำร่องในช่วง ๔ ปีนี้ให้ได้ไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านครอบครัว จะเริ่มจากปีนี้ในการอบรม จะเป็นการให้มีความรู้ความเข้าใจว่า จะลดใช้ สารเคมี จะใช้อะไรทดแทนได้ ก็คือมีเกษตรอินทรีย์ มีปุ๋ยชีวภาพในแต่ละชนิดที่เหมาะสมกับการปลูก หรือ การเลี้ยงสัตว์ ในแต่ละอย่าง โดยจะต้องมีพื้นที่เป้าหมาย ท่านผู้ว่าฯจะต้องกะเกณฑ์พื้นที่เป้าหมาย นำเกษตรกร เข้ามาอบรม เข้ามาหาความรู้ โดยเตรียมการตั้งแต่ปีนี้ไป กลุ่มไหนทำได้ ชาวบ้านมีการร่วมแรงร่วมใจพร้อมใจกันว่าจะลดการใช้ปุ๋ยเคมี เราก็จะสนับสนุน โรงปุ๋ยจะต้องมีตามนโยบาย หนึ่งตำบลหนึ่งโรงปุ๋ยก็จะทยอยเกิด แต่จะไม่สร้าง โรงปุ๋ยก่อน ต้องเอาคนก่อน ต้องคนทำเป็นก่อน ทั้งคนอาสา เป็นเกษตรอินทรีย์ และคนอาสาเข้าโครงการ ลดการใช้สารเคมีเป็นสองมือ แต่ใช้อ่างน้ำใบเดียวกัน คือใช้เกษตรอินทรีย์ ดังนั้นคนที่อาสาจะเป็นเกษตรอินทรีย์ ผลิตผลของเขาก็จะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วก็จะขายได้ราคาแพงกว่า แน่นอน ส่วนอีกมือหนึ่ง ก็คือโครงการลดการใช้สารเคมี โดยจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้าไปทดแทน ดังนั้นตรงนี้สองส่วนแล้วใช้อ่างเดียวกัน ดิฉันจะไม่สร้างโรงปุ๋ยก่อน ท่านนายกฯก็ไม่เห็นด้วย ให้เอาคนเป็นที่ตั้ง เกษตรกรร่วมแรงพร้อมใจมีปริมาณเรียบร้อยแล้ว รัฐลงทุน โรงปุ๋ยให้ เกษตรกรรวมตัวกันมาบริหาร ซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรด้วยราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม แล้วมาผลิต แล้วขายคืน ให้เกษตรกรในราคาที่ย่อมเยากว่า เพราะรัฐเป็นคนลงทุนค่าเครื่องมือ ค่าโรงงานให้ รูปแบบจะออกมาในลักษณะนี้ ก็ขอให้ท่านผู้ว่าฯ ในแต่ละจังหวัด เกษตรจังหวัด ได้ร่วมกันกับทางกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงมหาดไทย ได้เข้าใจหลักการ แล้วช่วยกัน ดำเนินการในส่วนนี้ วันนี้ที่เราได้เริ่มต้นในการที่จะได้สนับสนุนเครือข่ายกสิกรรม ไร้สารพิษ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เครือข่ายกสิกรรมที่ยั่งยืน โดยใช้แนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ก็ขอแสดงความขอบคุณ และก็ชื่นชมสำหรับทุกท่าน ตั้งแต่ท่านจำลอง ท่านธำรงค์ จนถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ทุ่มเท จนสามารถ อบรมเกษตรกรได้กว่า ๖๐,๐๐๐ ราย ผ่านการอบรมสัจธรรมชีวิต คือต้องใส่ปุ๋ยให้คนที่จะทำก่อน ดิฉันก็อยาก จะฝาก ท่านผู้ว่าฯ ด้วยว่า เกษตรกรในแต่ละจังหวัดที่จะเข้าโครงการท่านต้องใส่ปุ๋ยที่ใจเขาก่อนด้วย ให้เขาศรัทธา ให้เขามีใจ ให้เขามีคุณธรรม แล้วเขาจะเอาตัวเองไปดำเนินโครงการให้ได้ประสบความสำเร็จ แล้วเราก็จะผลิตผล ที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติออกมาได้ วันนี้จึงเป็นสิ่งที่ดีที่เราได้นำสองส่วนมาผสมผสานกัน ทั้งเรื่องของความตั้งใจ
คุณธรรม แล้วเรื่องของวิชาการ ทางด้าน เกษตรอินทรีย์ สุดท้ายก็ต้องขอกราบนมัสการและกราบขอบพระคุณ พ่อท่าน ท่านสมณะโพธิรักษ์ ที่ได้ให้การสนับสนุนกับกระทรวงเกษตรฯ ทั้งในการให้ใช้ สถานที่ และวิทยากร ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็คงจะรบกวนพ่อท่าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประธานใหญ่ของ เกษตรอินทรีย์ และท่านธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ อีกหลายงาน ก็ต้องขอกราบพระคุณล่วงหน้าว่า คงจะต้องรบกวนกันอีก หลายงาน ในการที่จะช่วยกันทำให้เกษตรกรมีความเข้าใจในเรื่องเกษตรอินทรีย์ และสามารถปฏิบัติได้อย่างได้ผลอย่างแท้จริง และ กราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่มาร่วมงาน และหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ และขอบพระคุณ ท่านจำลอง อีกครั้งหนึ่ง" ในโอกาสนี้ ผู้ว่าฯ จ.อุบลฯได้มอบเงินสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ ให้แก่หมู่บ้านราชธานีฯ จำนวน ๑ แสนบาท โดยคุณหญิง สุดารัตน์ เป็นผู้มอบให้ผู้ใหญ่บ้าน นายรินไท มุ่งมาจน หลังจากนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และแขกผู้มีเกียรติ รับของที่ระลึก จากพ่อท่าน เสร็จแล้ว คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ทำพิธีเปิดงานเพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ ๑๒ ด้วยการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า บริเวณ หน้าเฮือนศูนย์ ๘๐ ดวง เสร็จแล้ว ประธาน คกร. นำ รมว.กระทรวงเกษตรฯไปยังเรือท้าวแถนพญามูล เพื่อเขียนใบ สัจจะอธิษฐาน เนื่องในวันวิสาขบูชาที่จะถึง ซึ่งท่านได้เขียนว่า สุจริต เสียสละ อดทน และให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว หลังจากนั้น เยี่ยมชมโรงปุ๋ย, โรงเรียนเกษตรอินทรีย์วิถีไทย แล้วเดินทางกลับ ขณะเดียวกันในบริเวณเฮือนศูนย์สูญ ผู้ว่าฯและรองผู้ว่าฯแบ่งกลุ่มเป็น ๖ กลุ่ม เดินชมเต็นท์นิทรรศการต่างๆภายในงาน ๖ แหล่ง การศึกษาเรียนรู้ สำหรับผู้เข้ารับการอบรมฯศึกษาเรียนรู้ตามฐาน ต่างๆตามความสนใจ ๑๓.๐๐ น. หลังรับประทานอาหาร ผู้ว่าฯและรองผู้ว่าฯ ๗๖ จังหวัด สัมมนาที่เฮือนโสเหล่ สำหรับที่เฮือนศูนย์สูญ ผู้เข้ารับ การอบรมสัมมนาเสวนาเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง บนเส้นทางสามอาชีพกู้ชาติ" ดำเนินรายการโดย คุณธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ ผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย คุณวิวัฒน์ ศัลยกำธร, พ่อทองเหมาะ แจ่มแจ้ง, คุณแก่นฟ้า แสนเมือง, พ่อชมพู จากอำนาจเจริญ แต่ละท่าน ได้พูดถึงชีวิตแต่หนหลังที่ดำเนินชีวิต ตามกระแสทุนนิยม อยากรวย อยากสบาย แต่สุดท้าย ก็ก้าวข้ามอบายไม่ได้ เมื่อหันกลับมาสู่ วิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง บนเส้นทางสามอาชีพกู้ชาติ กลับพบความสุขที่แท้จริง ๑๕.๐๐ น. ผู้ว่าฯและรองผู้ว่าฯ จากจังหวัดนำร่องเกษตรอินทรีย์เดินทางไปศึกษาดูงาน ที่กองพลทหารราบที่ ๖ ซึ่งทำ เกษตรอินทรีย์ และ จังหวัดนครพนมอีก ๒ แห่ง และมีการสัมมนาต่อในวันรุ่งขึ้น ๑๖.๓๐ น. ขบวนแห่เพื่อฟ้าดิน แสดงเอกลักษณ์พื้นบ้านของแต่ละภาค นำขบวนด้วยป้ายงานเพื่อฟ้าดินครั้งที่ ๑๒ พระบรม สาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและข้อความว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม" เริ่มต้นขบวนแห่เป็นกลองตุ้ม วัฒนธรรมดั้งเดิมอีสาน จากบ้านห้วยขะยุง,บ้านท่าลาด เครือแหราชธานีฯ ถัดมาเป็นขบวน กองพันเพื่อฟ้าดิน ตีกองสะบัดชัย วัฒนธรรมภาคเหนือ จากภูผาฟ้าน้ำ และเหล่าทหารเพื่อฟ้าดิน รวมพลังทุกเครือข่าย พร้อมอาวุธ คือจอบ ถัดมาเป็นขบวนหนังตะลุง วัฒนธรรมภาคใต้ ต่อด้วยขบวนกลองยาว จากปฐมอโศก และเครือแห ภาคกลาง ขบวนแห่ผลผลิตกสิกรรมไร้สารพิษ และพิณแคนอีสาน ของโรงเรียนชาวนา จังหวัดยโสธร และ อำนาจเจริญ และ ปิดท้ายด้วย กลองยาวอีสาน เครือแหราชธานีฯ เริ่มต้นขบวนที่บ้านสุขภาพผ่านไปยังเฮือนตะเคียน, เฮือนเพิงกัน, เฮือนโสเหล่ และไปสิ้นสุดที่หน้าพญาแร้งเฮือนศูนย์สูญ ตลอดขบวนแห่ ผู้มาร่วมงานให้ความสนใจยืนชมตลอดสองข้างทาง ๑๘.๓๐ น. รายการสาระบันเทิง สัมภาษณ์ คุณมาร์ติน วิลเลอร์ และครอบครัว ข้อคิดและวิถีดำเนินชีวิตที่มักน้อย สันโดษ ตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง พออยู่พอกิน ก็พบแต่ความสุข ดำเนินรายการโดย คุณสุชัย มุขยนันนท์ ๑๗ พ.ค. ๐๘.๓๐ น. เข้าศาลาศูนย์ฝึกอบรม แบ่งกลุ่มเจาะลึก "สัจธรรมชีวิต" พบสมณะ ๑๐ กลุ่มแยกตามสถานที่ต่างๆ คือ ชั้น ๒, ๓, ๔ เฮือนศูนย์, ใต้ร่มเถาวัลย์เปรียง, เรือท้าวแถน พญามูล, เรือเหลือง, เรือเขียว, เฮือนโสเหล่, ใต้ร่มจามจุรีริมฝั่งมูล และ กลุ่มพิเศษ เกษตรกรโรงเรียนชาวนา พบพ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์ บริเวณเฮือนศูนย์สูญ ๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ น. แต่ละกลุ่มทัวร์วิชาการตามความสนใจ และห้องเรียนพิเศษ โดยคุณลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง บริเวณ เฮือนศูนย์สูญชั้นล่าง ๑๓.๐๐ น. กิจกรรม "เวทีเสริมภูมิปัญญา" แบ่งกลุ่มสัมมนา ๖ กลุ่มตามหัวข้อดังนี้
๑๖.๐๐ น. ตามอัธยาศัย เยี่ยมร้านค้าชุมชน พักผ่อน หรือ ล่องเรือแม่น้ำมูล
โดยจัดเรือไว้ ๒ ลำ ลำละ ๒ เที่ยว ใช้เวลาล่องเรือเที่ยวละ ๒๐ นาที ช่วงแรก ดำเนินรายการโดยสมณะเดินดิน ติกขวีโร สัมภาษณ์นิสิตสวนสุข (ลำพัน) ชะเอม เกษตรตัวจริง ผู้ปลูกผักพื้นบ้าน ไว้มากมาย นับร้อยชนิด และ ผอ. ธ.ก.ส.จังหวัดตรัง นายอุทัย หนูวาด ผอ.ติดดิน ดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง นำพี่น้อง เกษตรกร ทางภาคใต้ เข้ารับการอบรมสัจธรรมชีวิต จนละเลิกอบายมุข พลิกผันชีวิตพบเศรษฐกิจที่พอเพียง ช่วงที่สอง ดำเนินรายการโดย สมณะเสียงศีล ชาตวโร สัมภาษณ์ คุณวิชัย อุ่นขาว ผู้ประสบความสำเร็จจากการปลูกผักหวาน และ พ.ต.ท.ภัทรพล(สมชาย) กมล สวป.อ.แกดำ จ.มหาสารคาม สารวัตรที่มีแต่ให้ ยึดแนวพระราชดำริ เน้นการป้องกัน มากกว่าการปราบปราม จนประสบความสำเร็จ เป็นที่รักใคร่ของผู้ใต้บังคับบัญชาและพี่น้องประชาชน ช่วงสุดท้าย ดำเนินรายการโดยสมณะนาไท อิสสรชโน สัมภาษณ์ญาติธรรมกลุ่มละโว้ธานีที่ประสบความสำเร็จจาก กสิกรรม ธรรมชาติ ที่ทำงานสอดร้อยเป็นขบวนการกลุ่มที่น่าสนใจ ๑๘ พ.ค. ๐๗.๐๐ น. ผู้เข้ารับการอบรมเดินไปยังริมฝั่งแม่น้ำมูล ร่วมกล่าวปฏิญาณ เพื่อสร้างพันธะทางใจที่พึงปฏิบัติ ๓ ข้อ ให้ระลึก ถึงกัน และเป็นกำลังใจเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคได้อย่างมีพลัง ร่วมกันสร้างแนวทางปฏิบัติที่จะตอบแทนบุญคุณของแผ่นดิน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดย ๑.จะหยุดการใช้ปุ๋ยเคมี, สารเคมี อันเป็นเหตุให้ดินเสื่อม น้ำเป็นพิษ
จะหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ฟื้นชีวิตให้กับดิน, น้ำ ปฏิญาณทั้ง ๓ ข้อนี้ เพื่อร่วมกันสร้างมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นพลังกู้ดินฟ้า ฟื้นฟ้า พัฒนาสังคมให้เกิดสันติสุข มอบเป็นมรดก แก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป ทางเจ้าภาพได้เตรียมผักมังกรหยกไว้สำหรับผู้สนใจนำกลับไปปลูกเผยแพร่ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่าย รสชาติดี โดยเฉพาะ ผัดมังกรหยกไฟแดง ที่ผักบุ้งไฟแดงก็ต้องหลีกทางให้ รวมตัวกันที่เฮือนศูนย์สูญอีกครั้งหนึ่ง ตัวแทนเกษตรกร, เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.และกระทรวงเกษตรฯ สรุปแนวทาง ในแนวทาง การแก้ไขปัญหา ความยากจน อย่างยั่งยืนและเปิดใจผู้ร่วมสัมมนา ดำเนินรายการโดยคุณธำรงค์ แสงสุริยจันทร์ รายการ พรก่อนจาก โดยสิกขมาตุกล้าข้ามฝัน อโศกตระกูล, สมณะฟ้าไท สมชาติโก, สมณะเดินดิน ติกขวีโร ว่า ผู้ที่จะประสบ ความสำเร็จจากกสิกรรมธรรมชาติ จะต้องเป็นผู้ที่หัวใจเป็นบุญนิยม มีแต่ให้ฟ้าดินอย่างแท้จริง สุดท้ายเป็นพิธีอำลาอย่างเรียบง่าย แล้วแยกย้ายกันไป กอบกู้ฟ้าดิน หยุดการใช้เคมีทุกชนิด หยุดการนำสารเคมี (อบายมุข) เข้าสู่ร่างกาย พลิกฟื้นผืนแผ่นดินด้วยกสิกรรมธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยสะอาด เพื่อฟื้นฟูฟ้าดิน เยียวยาพระแม่ธรณี เพื่อฟ้าดิน ที่สะอาดบริสุทธิ์ เป็นมรดกตกทอดไปยังลูกหลานของเราในภายภาคหน้า.... กสิกรแข็งขลัง เป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม.... งานกสิกรรมไร้สารพิษ เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ ๑๒ ดำเนินมาครบ ๑ นักษัตร ด้วยความร่วมมือร่วมใจของนักบวช เหล่า ญาติธรรม ผองเพื่อน ร่วมอุดมการณ์ และหน่วยงานราชการ ที่ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ เพื่อพี่น้องเกษตรกรระดับรากหญ้า ชนกลุ่มใหญ่ ของประเทศ ผู้มีพระคุณต่อแผ่นดิน ผลิตอาหารมาเลี้ยงพวกเราทุกคน ขอขอบพระคุณชาวนา ที่ปลูกข้าวให้พวกเรารับประทาน...สาธุ...!! ผู้มาร่วมงานได้ให้สัมภาษณ์ ดังนี้ ในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ ความรู้ตรงนี้จะไปถ่ายทอดให้เขาไปขยาย ไปปฏิบัติ ผลก็คือส่วนหนึ่งเราจะต้องให้เขาเห็นของจริง ที่พักก็ดี ห้องน้ำมีน้อยไปหน่อย ไม่พอ การอาบน้ำบางครั้งรีบร้อน คนมาเป็นร้อยเป็นสองร้อย พักกันหลายหน่วยงาน ส่วนอาหารการกินสะดวกดี ไม่มีปัญหา จุดเน้นก็คือห้องน้ำ ผมเลือกฐานสุขภาพ ได้ความรู้เยอะ อยากเสนอว่า ถ้าต่อไป อยากให้หมุนเวียนไปหลายๆฐาน เพราะคนที่ดูจุดเดียว ก็จะได้ความรู้ ตรงจุดนั้น แล้วมีเวลาจำกัด รายการสัจธรรม พบสมณะ ได้ธรรมะที่ดี สอนให้คนรู้จักพึ่งตนเอง อันไหนพออันไหนไม่พอ" นายปกรณ์ จันทรศิริ สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน จ.ชัยภูมิ "มาครั้งแรก ดีมากเลยครับ ผมได้ยินเรื่องของพ่อท่านมานาน เคยเจอกับ กลุ่มหินผาฟ้าน้ำ ผมตั้งใจมา และวาดภาพว่าต้องมาเจอความมีประสิทธิภาพ ผมบอกลูกน้องว่า นอกจากเรามา แผนงานโครงการ เราต้องมาดูการจัดการด้วยนะ เพราะองค์กรเขาต้องใหญ่ เขาจัดการกันยังไง เพราะของเรานิดเดียว คน ๒๐- ๓๐ คน เราบอกว่า เราทำงานใหญ่ พอมาเทียบกับที่นี่ พอมาเห็นเข้าจริงๆ ตกตะลึง ที่เราสร้างภาพว่าต้องใหญ่ แต่กลับใหญ่กว่า ที่เราคิดไว้อีก ก็รู้สึกว่าเป็นบุญนะครับ เรื่องที่พัก ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ถือว่าดีแล้วครับ เพราะว่าบางส่วนเราเตรียมพร้อมแค่ไหนมันก็จะมีปัญหา ยิ่งคนจำนวนมาก ยิ่งมีปัญหา ผมตั้งใจมาฟังธรรมะ จากพ่อท่านโดยตรง ที่หาจากที่อื่นไม่ได้ แม้แต่เรื่องปลอดสารพิษ หลวงพ่อบอกว่า ถ้าตราบใด คนยังไม่มี ศีล ๕ ทำยังไงก็ไม่ไร้สารพิษ ถ้าเรายังไม่ไร้สารพิษ ผมเลือกฐานฟังตอบปัญหาทุกข้อจากพ่อท่าน เพราะผมตั้งใจมาเรื่องนี้โดยตรง ที่นี่มีตัวอย่างของเมืองอาริยะ และสาธารณโภคีว่าเป็นอย่างไร เคยได้ยินแต่นามธรรม มาที่นี่ได้เห็นเป็นรูปธรรม" นายอุทัย หนูวาด ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส. จ.ตรัง "ผมเคยมาอบรมที่บ้านราชฯรุ่นที่ ๓ เคยมาที่นี่ ๒-๓ ครั้ง ครั้งนี้ได้ ความหลากหลาย เพราะมีข้าราชการมาด้วย เขาก็ได้ไปเผยแพร่ไปขยายผลกิจกรรมสังคมที่อยู่กันอีกรูปแบบหนึ่ง เขาสามารถ พึ่งตนเองได้และประสบความสำเร็จ ผมคิดว่ามันถึงเวลาแล้ว เพราะเรามองอีกมุมในสังคมที่อยู่ในทางด้านนอก เราถูกมอมเมา ถูกการสื่อสาร ปิดบังค่อนข้างมาก แล้วชาวบ้านจะมองไม่เห็น สัจธรรมความจริงว่าขณะนี้ตัวเองอยู่ในสถานะไหน จะเดิน ไปถึงจุดนั้น มีอะไรเป็นหลักประกันว่าเขาจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน เกิดความมั่นคง ลูกก็ไม่อยากอยู่บ้าน พ่อแม่ ก็ไม่มีงานทำ สร้างแต่หนี้สิน นี้คือข้อเท็จจริงที่ผมช่วยชาวบ้านอยู่หลายหน่วยงาน ๒-๓ ปี ก็เห็นว่ามีปัญหามาก ชาวบ้านภาคใต้ ยังเลี้ยงตัวเองไม่ได้ แล้วเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองมียางพารา แล้วก่อหนี้ล่วงหน้าไว้ค่อนข้างมาก ทำไปทำมา ก็ไม่มีโอกาส หลุดพ้นจากหนี้สิน ผูกพันถึงลูกถึงหลาน ได้แนวคิดในเรื่องการพัฒนาอาชีพ เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น มีฐานงานเพิ่มขึ้นกว่าเดิมในรูปแบบของพลังงานทดแทน ตอนบ่ายผมเข้าไปในนั่งฟังเรื่องสุขภาพ ตอบปัญหาของพ่อท่าน และเมล็ดพันธุ์ ได้แนวคิด เห็นชาวบ้านสนใจ มีการจดบันทึก มีความกระตือรือร้น ถ้าวัดโดยการประเมินถือว่างานครั้งนี้ประสบความสำเร็จ คือสามารถทำให้ชาวบ้านมีความคิดเพิ่มขึ้น คือที่อื่นเขาอาจถูกปิดบังบางอย่าง เช่น ธุรกิจเขาต้องสงวนสูตรของเขา สูตรน้ำยาต่างๆเขาจะบอกไม่หมด ในเรื่องตัวเลข กลยุทธ์ แต่ทางอโศกบอกให้หมดเลย สามารถเอาไปทำได้เลย ตรงนี้เป็นส่วนดีที่ผมมองเห็นว่าน่าจะเป็นหนทาง ถ้าองค์กรของรัฐ หรือผู้ใหญ่ให้ความสำคัญผมว่าจะขยายผลไปได้เร็ว เพราะชาวบ้านมาเห็นจริง และเราไปต่อเติม เขาก็รวมกลุ่มกันได้ ปรับสภาพจิตใจชาวบ้านได้ ก็สามารถขยายผลได้ ผมพักในหมู่บ้านไม่ติดขัดอะไร ห้องน้ำน้อยแต่คนมาก ก็เป็นธรรมดาเพราะเราบริการคนมาก เรื่องของการต้อนรับดีมาก ก็เห็นคนกลับกันบางส่วนเหมือนกัน นโยบายของท่าน รมว.เป็นสิ่งที่ทางอโศกทำมาก่อนแล้ว ถือว่าเป็นการเสริมนโยบายให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น งานนี้พวกเราเตรียมอาหารไว้สำหรับต้อนรับคนเป็นจำนวนมาก เช่น แจ้งมา ๔๐๐ แต่มาเพียง ๒๐๐ ทำให้ข้าวของ ที่เตรียมไว้เสียหาย ผมคิดว่าถ้าคนที่มาอยู่ได้ตลอดงาน มาอยู่อย่างนี้ ผมก็คิดว่าเขาคงมีความพอใจ เพราะความสำเร็จของการต้อนรับ อยู่ที่ ความพอใจของคน ผมฟังดูก็ไม่มีใครบ่นอะไร แต่คนที่เพิ่งมาอาจจะมีบ้าง แต่สำหรับผมหรือคนที่เคยมาแล้วไม่มีปัญหา เพราะในชีวิตจริง ผมก็ใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่แล้ว แต่คนที่มาใหม่ น่าจะมีข้อมูลบ้างว่า เขารู้สึกยังไง" ไม่ประสงค์ออกนาม สำนักงานสหกรณ์ จ. กาฬสินธุ์ "มาครั้งแรก ก็ได้ความรู้ตามที่เราต้องการ ผมสมัครใจมาด้วย กลับไป จะไปแนะนำชาวบ้านกลุ่มสมาชิกที่ดูแลอยู่แล้ว ให้หันกลับมาใช้ปุ๋ยชีวภาพตามนโยบายของรัฐบาล ปกติก็ใช้เคมีเยอะ จริงๆ ชาวบ้าน หรือสมาชิกไม่ค่อยใช้ชีวภาพ เพราะเห็นผลช้า แต่ตอนนี้ถ้าใครมาอบรม เห็นผล เห็นของจริงที่นี่ ตามซุ้มต่างๆ คิดว่า น่าจะเปลี่ยนความคิดได้ ผมจะเอาตรงนี้ไปเผยแพร่ให้กับชาวบ้าน ผมเคยไปอบรมมาหลายแห่ง แต่ที่นี่จะบอกชัดเจน ไม่ปิดบัง เพราะทำเพื่อ เผยแพร่ เพราะที่อื่น เขาทำเป็นธุรกิจ ประทับใจตอนเช้าที่พ่อท่านเทศน์ รายการของวิทยากรที่เป็นเกษตรกรตัวอย่าง และทุกๆท่าน รายการบันเทิง ก็สนุกดี สัมภาษณ์คุณมาร์ตินก็สนุกดี ฝรั่งเขายังคิดแบบนี้ เราคนไทยต้องเปลี่ยนแนวความคิดได้แล้ว ส่งลูก ไปเรียนในเมือง ทำงานบริษัท ทั้งๆที่เรามีทรัพย์สมบัติอยู่บนผืนแผ่นดินไทยมากมาย มีองค์ความรู้มากมาย แต่เราไม่รู้ คิดผิด ที่พักใช้ได้ครับ ไม่ลำบากหรอกครับต้องนอนรวมกัน ตอนแรกคิดว่าจะนอนไม่ได้
แต่ดูไปดูมาก็เอ่อ...คนอื่นอยู่ได้เราก็อยู่ได้ แต่คนออกไปนอนโรงแรมก็มีนะ
ผมดูห้องน้ำห้องอะไรต่างๆก็สะอาดดี ที่พักก็มีพัดลม แล้วการต้อนรับก็ดี
เลยนอนที่นี่ ดีกว่า ผู้ประสานงาน ธ.ก.ส. "ผมมาตั้งแต่เริ่มอบรมครั้งแรก ครั้งนี้สถานที่พัฒนาเยอะ แต่รูปแบบก็เดิมๆนะ มีผู้อบรมเหมือนปีที่แล้ว ปีที่แล้ว ชาวบ้านมาเยอะเราก็ดูแลกันได้ ปีนี้ข้าราชการมาร่วม ก็ดูแลกันไม่ทั่วถึง เขาก็แว่บๆไปข้างนอกกัน เพราะเขามีรถ แล้วหาย สาบสูญไปเยอะ แล้วชาวบ้านที่ ธ.ก.ส.พามา กับข้าราชการพามา จะต่างกันเยอะ ถ้าข้าราชการพามา มาแล้วก็ไปเหมือนข้าราชการ แต่ของ ธ.ก.ส. ถ้า ธ.ก.ส.อยู่ ชาวบ้านก็อยู่ด้วย จริงๆแล้ว งานนี้ข้าราชการ เป็นหลัก ธ.ก.ส.เป็นตัวเสริมเท่านั้น แต่ ธ.ก.ส.กลับอยู่มากกว่า ดูๆก็รู้จักกันหมด ข้าราชการที่มา ที่ต้องปรับปรุง ก็คือเรื่องเดิม เรื่องที่พัก จำนวนคน ปริมาณที่พัก ปีนี้คนลดลง
แต่ที่พักซ้ำซ้อนกัน อย่างปีนี้ให้นอนรวมกัน ถ้าเป็นชาวบ้าน ไม่เท่าไหร่
แต่เป็นส่วนราชการค่อนข้างจะลำบาก เขามีความรู้สึกส่วนตัวของเขาอยู่ ไม่อยากปะปนกับใคร
สัก ๔-๕ คนก็ไหว แต่ถ้าเป็นร้อยก็ลำบากเหมือนกัน ผมคิดว่า เราควรจะจำกัดปริมาณคนอบรม
ให้เพียงพอกับที่พัก แต่ก็คงยาก เพราะบางที เราก็ต้องการผลงานเร่งด่วน
ระดมโครมลงมาทีเดียว ใช่ไหม แทนที่จะทยอยมาทีละนิด ทีละหน่อย แต่นี่โครม
ลงมาครั้งเดียว ก็เรียบร้อยเลย เป็นปัญหาเดิม เหมือนช่วงแรก ที่เราอบรมร้อยกว่าคน
ต่อมาก็สองร้อยกว่าคน ปัญหาเกิดขึ้นปุ๊บ คนไม่ได้ความรู้เลยช่วงนั้น ในช่วงร้อยกว่าคนนั้นโอเค
กำลังพอดี ถ้ามากกว่านี้ ก็ไม่ได้เนื้อ คนลงพื้นที่มาก วุ่นวายไปหมด ผมอยู่รับ
ผู้ลงทะเบียนที่เต็นท์ ไม่ได้เข้ามาที่นี่ อาหารก็เคยชิน แต่แม่ครัวเก่าๆหายหมด
เที่ยวนี้ไม่เห็น มาอบรมทีไร ได้กินฝีมือกันตลอด". |
||
กรมการปกครองดูงานบ้านราชฯ วันเสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เวลา ๑๖.๓๐-๑๘.๓๐ น. หมู่บ้านชุมชนราชธานีอโศกได้ต้อนรับเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่คณะบริหารของกรมการปกครอง อธิบดีกรมการปกครองและรองอธิบดี ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการกองในส่วนกลาง ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๓๑๖ ท่าน การต้อนรับจัดที่บริเวณตึกศูนย์สูญ เวลา ๑๗.๐๐-๑๗.๓๐ น. ฟังการแสดงธรรมของพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ หลังจากนั้นอธิบดีกรมการปกครอง คุณศิวะ แสงมณี ได้ถวายของที่ระลึก และรับมอบของฝากชุมชนจากพ่อท่าน รวมทั้งรองอธิบดีกรมการปกครอง ๓ ท่านคือ คุณชนินทร์ บัวประเสริฐ, คุณก้องเกียรติ อัครประเสริฐ และคุณธีระบูลย์ ไพบุดดี หลังจากนั้นเป็นการบรรยาย การมอบแนวทาง การดำเนินงาน ของกรมการปกครอง โดยอธิบดีกรมการปกครอง และศึกษาดูงานเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ ก่อนที่จะเดินทางกลับ คุณศิวะ แสงมณี อธิบดีกรมการปกครอง ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ พูดถึงเรื่อง เกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่ต่อไปเราอยากให้มีโรงงานปุ๋ย ทุกอำเภอ ท่านรัฐมนตรี พูดถึง ราชธานีอโศก ผมก็คิดว่าไหนๆท่านนายอำเภอ และปลัดจังหวัด มาสัมมนาแล้ว พวกเราก็น่าจะมาดูที่นี่ เพราะสมัยผมเป็น ผู้ว่าราชการ จังหวัดอุบลราชธานี ก็เคยพาคณะปลัดอำเภอ มาอบรมธรรมะ และดูงานเรื่องเกษตรอินทรีย์ มาดูของจริง เพื่อจะได้เกิดความคิด กลับไปขยายผลต่อไป" คุณมงคล คำเพราะ นายอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ "การมาสัมมนาครั้งนี้เนื่องจากอธิบดีเปลี่ยนเป็นคนใหม่ จึงมา รับมอบนโยบายของอธิบดี วัตถุประสงค์ก็คืออยากให้นายอำเภอทุกภาค โดยแบ่งเป็นจุดๆ ว่าจะมารับนโยบาย ไปปฏิบัติงาน อย่างไร นอกจากนี้เรื่องที่เป็นประโยชน์ที่นายอำเภอจะไปส่งเสริมเช่นเรื่องปุ๋ย การมาดูงานครั้งนี้ เป็นหนึ่งในโปรแกรม ของการอบรม เพื่อนายอำเภอ จะมีแนวทางพาชาวบ้านมาอบรมดูงาน เรื่องเกษตรอินทรีย์ ที่อำเภอผม ก็ได้พาชาวบ้านทำ ได้ประสานกับ ศีรษะอโศก ในเรื่องของการทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด" คุณเลิศสิน จึงจรัสทรัพย์ นายอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น "วันนี้ได้มาดูงานที่นี่ ดีมากครับ ซึ่งเป็น หมู่บ้านในฝัน ที่กรมการปกครอง อยากจะได้ ที่นี่มีความสงบเรียบร้อย ดูจากพี่น้องที่นี่ก็หน้าตาสดใส ยิ้มแย้ม และก็ได้ธรรมะจาก หลวงพ่อ โพธิรักษ์ด้วย ดีมากครับ ขอบคุณมากครับ" คุณสุชัย บุตรสาระ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอบ้านแพด จังหวัดของแก่น "มาดูหมู่บ้านราชธานีอโศก รู้สึกประทับใจ มีความคิดว่าน่าจะเป็นหมู่บ้านที่เราจะส่งเสริมตามนโยบายของรัฐบาลที่อยากจะมีหนึ่งอำเภอ หนึ่งหมู่บ้าน ในฝัน นำร่องอำเภอละหนึ่งหมู่บ้านก่อนที่จะขยายผล ก็มีความคิดว่าจะนำผู้นำ หมู่บ้านมาดูแนวทางศึกษาที่นี่ เพื่อไปขยายผล ในพื้นที่ ถ้าชุมชนเป็นอย่างนี้หลายๆชุมชนเชื่อมั่นว่าสังคมเราประเทศเราก็จะมีแต่ความสงบ" คุณวิสา พูนศิริรัตน์ กองวิชาการ
กรมการปกครอง "มาประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงาน ตามนโยบาย ของรัฐบาล ที่โรงแรมเนวาด้า แกรนด์ เรามาอบรมกันสองวัน
การมาศึกษาดูงานเรื่องที่สำคัญที่ต้องทำ คือ การแก้ไขปัญหา ความยากจนของประชาชน
ซึ่งในการแก้ไขความยากจน แนวทางอันหนึ่งเรื่องที่ให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม
ซึ่งมีหลายแนวทาง เช่นแนวทางของราชธานีอโศก ในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์
ก็เป็นแนวทางหนึ่ง การใช้แผนชุมชน แผนเครือข่ายชุมชน ของกลุ่มอินแปง จังหวัดสกลนคร
ก็มีการนำมาพูดกันที่นี่ เรื่องที่มาวันนี้ก็เป็นเรื่องของชุมชน ในการแก้ปัญหา
ความยากจน เพื่อนายอำเภอ จะมีแนวทางพาชาวบ้านมาอบรมดูงาน มาศึกษาดูงานที่ราชธานีอโศก
วันนี้ก็ได้รับความรู้ ที่เป็นประโยชน์ที่เอาไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
และเป็นการส่งเสริมประชาชนในพื้นที่ ได้มีแนวทาง ในการดำเนินชีวิตต่อไป". |
||
ชาวไทยภูเขา...เมินปลูกฝิ่น ในขณะที่ผักอินทรีย์ตามท้องตลาดพยายามดีดตัวเองให้ดูแตกต่างจากผักที่วางขายในตลาดสดทั่วไปอยู่นั้น ผักอินทรีย์ของ มูลนิธิโครงการหลวงก็ลอยลำติดตลาดคนรักสุขภาพไปเรียบร้อยแล้ว... ภายใต้สโลแกนที่ว่า "สด สะอาด ปลอดภัย" ทำให้ ผักอินทรีย์ ของ มูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งเป็นโครงการฯที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งขึ้นเพื่อลดพื้นที่ปลูกฝิ่นและฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร ช่วยเหลือชาวเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น "ขายดิบขายดี จนผลิตไม่ทัน" ดร.สุทัศน์ ปลื้มปัญญา ผอ.สำนักพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวและว่า... "...ทั้งนี้ คงเป็นเพราะผลผลิตจากโครงการฯ มีการควบคุมการผลิตที่ดี ได้การรับรองมาตรฐาน GAP- จากกรมวิชาการเกษตร GMP- จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และ HACCP จากแคมป์เดนและเชอร์รีวูด ประเทศอังกฤษ ทำให้ ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ..." โครงการผักอินทรีย์นั้น สำนักพัฒนาเกษตรที่สูงร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงดำเนินงานมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เป็นโครงการ ที่มุ่งพัฒนาผลิตพืชผักเมืองหนาวโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้พันธุ์พืชจีเอ็มโอ แต่จะใช้วัสดุธรรมชาติ และใช้ข้อได้เปรียบ ความหลากหลาย ทางชีวภาพบนที่สูงแทน เพื่อเพิ่มความต้านทานโรคและแมลงให้กับพืชที่ปลูก รวมถึงการนำงานวิจัย ที่มีอยู่ มาใช้เป็นฐานในการพัฒนาและส่งเสริมให้ชาวบ้าน ปัจจุบันพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ของโครงการหลวง ๖ แห่ง คือที่อ่างขาง, ปางดะ, อินทนนท์, หนองหอย, แม่แฮ และ ห้วยน้ำริน ในการดำเนินงาน มีทั้งแปลงสาธิตเพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรได้เรียนรู้และศึกษาวิธีการปลูกผักอินทรีย์ และพื้นที่ ในการส่งเสริมเกษตรกร ซึ่งเวลานี้มีพื้นที่รวมประมาณ ๒๖๑ ไร่ เกษตรกรเข้าร่วม ๑๖๙ ราย มีผักที่ได้รับการรับรองแล้ว ๖๘ ชนิด เป็นผักอินทรีย์ ๒๔ ชนิด ปีที่ผ่านมาเฉพาะเกษตรอินทรีย์ทำรายได้สูงเกือบ ๕ ล้านบาท นางเสาวนีย์ เกษมพิทักษ์กุล หนึ่งในชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่เข้าร่วมโครงการปลูกผักอินทรีย์กับโครงการหลวง เล่าว่า ก่อนหน้านี้ ปลูกสตรอเบอร์รี่ และใช้สารเคมีตามปกติ ต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่มาชวนให้เข้าร่วมโครงการปลูกผักอินทรีย์ ก็ย้ายมาเช่าพื้นที่ ในหมู่บ้านแม่กลางหลวง ร่วมกับชาวเขาอีกหลายคน บนพื้นที่ ๑๓ ไร่ ที่ทางโครงการหลวงได้สำรวจแล้ว "เจ้าหน้าที่มาแนะนำว่า การปลูกผักอินทรีย์ไม่ต้องใช้สารเคมี ใช้สารสกัดจากธรรมชาติแทน ซึ่งก็เห็นว่าดีต่อสุขภาพ ร่างกาย และลูกสาวที่ยังเล็ก จึงสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เวลานี้บนเนื้อที่ ๒ งาน ได้เลือกปลูกผักกาดหัว แรดิช เบบี้ฮ่องเต้สลับกันไป โดยเอาเมล็ดพันธุ์ ของโครงการฯมาปลูกก่อน เก็บขายได้ก็หักกลบลบหนี้กันไป ที่ผ่านมาเบบี้ฮ่องเต้อินทรีย์ขายได้ราคา ๒๓-๓๕ บาท/กก. บ้างก็ปลูกเบบี้ แครอท ได้ราคาดีเหมือนกัน กก.ละ ๔๔-๕๐ บาท" นอกจากนี้ ยังมีพืชผักเมืองหนาวอีกหลากหลายชนิดที่ได้ผ่านการวิจัยแล้ว อาทิ คะน้า ถั่วฝักขาว กะหล่ำปลี คะน้ายอดดอยคำ กะหล่ำปลีหัวใจ ซึ่งล้วนทำรายได้ให้ไม่เลวเลย เมื่อเทียบกับผักใช้สารเคมี ทว่าการทำการเกษตรอินทรีย์นั้น ต้องใช้ความอดทน ช่วงปีแรก ผลผลิตอาจได้ไม่มาก แต่จะไปชดเชยกัน ในเรื่องราคาที่สูงกว่า และจะดีขึ้นในระยะยาว ทั้งในเรื่องผลผลิต และ โครงสร้างของดิน ซึ่งนอกจากพืชผักแล้วอนาคตโครงการหลวงเตรียมพัฒนาไปสู่ไม้ผล งานนี้จึงไม่เพียง ส่งผล ให้ชาวเขา มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเท่านั้น
แต่ยังทำให้พวกเราได้บริโภคของดี ปราศจากเคมีอีกด้วย... |
||
ข่าวอโศกฉบับนี้มีข้อคิดจากงาน เพื่อฟ้าดินที่ผ่านมา จะมีอะไรบ้าง ติดตามได้จากท่านสมณะเดินดิน ติกขวีโรได้เลยค่ะ # ท่านได้ข้อคิดอะไรจากงานเพื่อฟ้าดินที่ผ่านมา? - ยิ่งนับวันๆ ก็ยิ่งได้เห็นการผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวอโศก เป็นเอกีภาวะที่พวกเราแต่ละชุมชน แต่ละ พุทธสถาน ผนึกประสาน มาช่วยกันแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี งานนี้เป็นงานที่ใหญ่มากๆ มีทั้งกระทรวงมหาดไทย มีทั้งกระทรวงเกษตรฯ และมีอีกหลายหน่วยงาน จากกระทรวงอื่นๆ เข้ามาร่วมอบรมสัมมนาภายในงานนี้ด้วย ซึ่งมันเป็น งานใหญ่ มากๆ ที่เราแทบจะไม่มีเวลาตั้งตัวได้ทัน แต่จากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มาช่วย ร่วมไม้ร่วมมือกัน ไม่ได้แยก ศีรษะอโศก ราชธานีอโศก ปฐมอโศก หรือชุมชนใครชุมชนมัน งานครั้งนี้อาตมาก็คิดว่า แม้จะไม่ได้ผล ในภายนอก สมบูรณ์ แต่ได้ความผนึกประสานจิตวิญญาณของพวกเรา เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างนี้ อาตมาก็พอใจมากๆ ๒. งานนี้เป็นงานที่จัดยากมากกว่างานทุกงานของชาวอโศก อย่างงานฉลองหนาวเราก็มีการเตรียมตัว เพื่อเครื่องป้องกัน ความหนาวไปก็จบ งานร้อนเดือนเมษาฯ ที่ศีรษะอโศกก็มีต้นไม้ให้ความร่มรื่นอย่างพอสมควร งานฉลองน้ำ มีเรือมีแพ มีเครื่องป้องกันน้ำก็จบ แต่งานเพื่อฟ้าดินเป็นงานที่จับทิศทางไม่ได้ ว่าจะออกมาท่าไหน เพราะมันพร้อมที่ฝนจะตก พร้อมที่ แดดจะออก เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว และจำนวนคนก็กำหนดไม่ได้อีก มีเหตุปัจจัยที่คนจะมาเกินจากที่เราคิดอีกมากมาย แล้วธรรมชาติก็ค่อนข้างที่จะแปรปรวนมากที่สุด แต่พวกเราก็ได้ข้อสรุปกันว่า ถ้าเราไม่เอาใจตัวเราเองเป็นใหญ่ ยกให้ฟ้าดินเป็นใหญ่ได้แล้ว ทุกอย่างจะง่ายมาก ตัวอย่างวันเปิดงานเราจะจุดโคมลอย ก็มีคนทักท้วงว่า เปิดงานถ้าฝนตก จะมีปัญหาไม่สามารถเปิดงานได้ คุณแก่นฟ้า แสนเมืองเขาเป็นคนจุดประกาย ทางความคิดว่า ถ้าฝนตกมาเขาจะสบายใจมาก และเขาก็อยากให้ฝนตก เพราะว่าถ้าฝนตกมาก็ไม่ต้องมาคอยตื่นเต้น หวาดเสียว ว่าโคมจะลอยสู่อากาศไหม เขาจะสบายใจมากถ้าฝนตก การใช้จุดโคมลอยต้องใช้คนหลายร้อยคนมาเตรียมการ ถ้าฝนตกได้ จะดีมาก แต่ถ้าฝนไม่ตกเราก็ดำเนินการตามที่ได้วางแผนไว้ ได้ข้อคิดว่างานเพื่อฟ้าดิน เราจะต้องทำเพื่อฟ้า เพื่อดินจริงๆ เลย คือให้ฟ้าเป็นใหญ่ไม่ได้เอาใจเราเป็นใหญ่ ถ้าเราเอาใจเราเป็นใหญ่ก็ไม่ได้ทำเพื่อฟ้าเพื่อดิน การทำกสิกรรมให้สำเร็จก็เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าคนที่ไม่ได้เอาใจตัวเองเป็นใหญ่ ทำให้เพื่อฟ้า เพื่อดิน คนนั้นก็จะประสบ ความสำเร็จอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเดือนเมษาฯ พฤษภาฯที่บ้านราชฯ ปลูกอะไรก็จะไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ เพราะอากาศร้อนจัด หรือถ้าฝนตกมาก็เกิดความเสียหาย แต่ถ้าเราปลูกพืชมงคล ปลูกถั่ว ปลูกงาในช่วงนี้ ซึ่งเป็นพืชมงคลที่เป็นพืชบำรุงดินอย่าง สำคัญ และเป็นอาหารที่สำคัญของคนกิน ข้าว ถั่ว งาจะงามมากในฤดูนี้ อย่างนั้นนี่ถ้าเราคิดเพื่อฟ้าเพื่อดิน เราจะได้พืชผัก ธัญญาหาร ที่อุดมสมบูรณ์ ดินก็อุดมสมบูรณ์ เพราะเราคิดให้ฟ้าให้ดิน แต่ถ้าเราเอาพืชปัญญาอ่อนไปปลูก มันจะหน้าแตก ไปตามๆ กัน งานเพื่อฟ้าดินก็เห็นความสำคัญอย่างหนึ่งว่าเป็นงานที่เราจะต้องคิดให้เพื่อฟ้าเพื่อดินและปลูกให้เพื่อฟ้าเพื่อดิน และพืชสำคัญเพื่อฟ้าดินเราจะต้องไม่ลืมข้าวถั่วงาซึ่งเป็นพืชมงคล # ทุนนิยมกำลังผงาดและยิ่งใหญ่ มีเรื่องที่พวกเราจะต้องระมัดระวังอย่างไรบ้าง? - ทุกวันนี้ทุนนิยมก็กำลังเข้ามาเชื่อมประสานกับเรา เราเองก็จะต้องชัดเจนแม่นเป้าในหลักการ อุดมการณ์ของบุญนิยม อย่างยิ่งทีเดียว แม้แต่ที่บ้านราชฯ เองที่ผ่านมาก็มีนักธุรกิจจากเกาหลี เขามีกิจการใหญ่อยู่หลายประเทศทีเดียว เขาได้มีโอกาส เอาเจล ว่านหางจระเข้ ไปใช้ได้ผลดี แก้ปัญหาเรื่องผมหงอกให้กลายเป็นผมดำได้ เขาติดใจถึงกับเดินทางมาดูแหล่งผลิต ที่บ้านราชฯ และยิ่งได้มาสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน สัมผัสอุดมการณ์ของพวกเรา เขายิ่งศรัทธามาก เขาชวนเราทำธุรกิจ เพื่อจะผลิต สินค้าตัวนี้ร่วมกันทันที โดยเขาจะเอาเครื่องจักรมาให้ เอาผู้เชี่ยวชาญมาให้ ระบบการค้าแบบทุนนิยม การส่งสินค้าไปเมืองนอก จะทำอะไร อย่างไร เขาจะให้คนมาสอนในการทำบัญชี ระเบียบที่จะส่งของไปเมืองนอก เขาจะส่งคนมาสอนให้หมด โดยมีเงื่อนไขว่า เขาขอผูกขาดเป็นผู้แทนสินค้า ที่ประเทศเกาหลีแต่เพียงผู้เดียว พวกเราก็รู้สึกตื่นเต้นดีใจ ที่จะได้ยกระดับมาตรฐานสินค้า และก็สามารถส่งออกนอกได้อีกด้วย แต่เมื่อมาพิจารณา ในคณะ กรรมการกันอีกที ก็รู้สึกว่ามันเป็นงานที่ใหญ่เกินตัวมากไป เราแค่ทำเฉพาะส่งในเครือข่ายของเราก็ยังทำไม่ทันอยู่แล้ว จะส่งไป เกาหลีตามที่เขากำหนดมา มันคงเกินความสามารถของเรา ครั้งแรกก็ได้ปฏิเสธเขาไปโดยอาศัยมติ จากคณะกรรมการ ของชุมชน ถ้าจะค้าขายก็เป็นแบบค้าขายโดยเรามีเท่าไหร่เราก็ทำเท่านั้น จะทำตามข้อกำหนด ตามระบบทุนนิยม ซึ่งเราไม่มี ความชำนาญ ในเรื่องนี้เลย เราก็คิดว่าเขาจะเลิกราไปแล้ว แต่ปรากฏว่า เขาก็เดินทางมาหาเราอีก เขายังเสนอว่า น่าจะขยาย โรงงานให้มากขึ้น ร่วมกันทำกิจการสักแปดสิบล้าน เขาจะหาเงินมาให้ด้วย แต่ว่าเขาจะร่วมลงทุนด้วย คือเป็นหนี้ร่วมกัน จะหาทุนให้ จะหาผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำการผลิต แบบไร้สารพิษ และอยู่ได้นาน อีกด้วย สุดท้าย เราก็ปฏิเสธไปอีกว่า ระบบของเรา จะไม่สร้างหนี้ ไม่มีหนี้ อุดมการณ์ของบุญนิยมคือไม่มีหนี้ และเราก็จะทำ เท่าที่เราทำได้ ก็คิดว่าเขาจะเลิกไปแล้ว สุดท้ายเขากลับมาตกลงใหม่ ให้เอาตามเราเป็นหลัก คือให้เราเป็นคนร่างสัญญา ขึ้นมาเอง ส่วนที่จะสร้างหนี้ เขาก็ยกเลิก ให้เราเป็นผู้เขียนสัญญาเองทั้งหมด ซึ่งในเรื่องนี้ก็ทำให้ได้ข้อคิดอย่างสำคัญว่า อำนาจการ ต่อรอง เราสามารถที่จะมี ข้อที่ ไม่เสียเปรียบได้ เพราะเราใช้คณะกรรมการเป็นหลัก ถ้าเป็นการเจรจาตัวต่อตัว เราเสียท่าเขา ไปนานแล้ว เพราะเขา ก็จะเอาเงิน มาให้ เอาเครื่องจักรมาให้ เอาอะไรมาให้เราเยอะแยะมากมายเลย เราจะไม่มีเวลา ไตร่ตรอง พิจารณา แต่เมื่อเรา เอาเข้า คณะกรรมการ เราจะมีเวลากลั่นกรอง และทำให้เรามีอำนาจ ต่อรองมากขึ้น ซึ่งเขาก็รู้ว่า นี่คือ จุดแข็งของเรา เหมือนกัน เวลาที่จะมาลอบบี้พวกเรา แต่ละคนๆไม่ได้เลย เวลาเขามีจดหมายมา เขาก็บอกว่า ขอให้คณะกรรมการทุกท่าน พิจารณาด้วย การทำงานโดยคณะกรรมการ จะมีสิทธิ์อำนาจในการต่อรองมาก ทำให้เรา ไม่เสียเปรียบ หรือต้องเดินไป ตามเกมทุนนิยม และข้อคิดที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ เราจะต้องมาคำนึงเหมือนกันว่า ถ้าเราเปิดโครงการใหญ่ เหมือนที่ทำธุรกิจ ๘๐ ล้าน จะทำให้ วิถีชีวิตของชุมชนของเราเปลี่ยนไปเหมือนกัน เพราะเราจะต้องไปทำ เรื่องที่ไม่ได้เป็นสาระอะไรมากมาย เงิน ๘๐ ล้าน จะต้องใช้คน ตั้งมากมาย ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายในชีวิตของเรา เป้าหมายจริงๆ ก็คือมาสร้างคน การมาสร้างทำกสิกรรมไร้สารพิษ ทำเนื้อหาสาระอะไร มากไปกว่านี้ ดังนั้นตรงนี้ เราเองก็พิจารณาทบทวนกันเพื่อที่จะไม่ให้เงินมาเป็นตัวบทบาทที่กำหนดวิถีชีวิต ของพวกเรา แต่อย่างไรก็ดีพ่อท่านเองก็ให้เราระมัดระวังอย่างยิ่งและก็ไม่ถึงกับตีทิ้งหรือปฏิเสธเขาไป พ่อท่านก็อยากให้ โครงการนี้ เป็นตัวอย่างในการทำธุรกิจกับต่างประเทศ จะเป็นตัวอย่างอันหนึ่ง ที่เราจะต้องพิจารณาระมัดระวังกัน อย่างรอบคอบ เพื่อที่จะไม่ให้ทุนนิยม เข้ามาครอบงำพวกเราได้ # ชาวอโศกจะมีงานเข้ามามากมาย ทำอย่างไรที่จะทำงานมากมายได้อย่างมีความสุข? - งานมากมายหรืองานไม่มากมายก็อยู่ที่จิตใจของเราเป็นสำคัญ ถ้าจิตของเราสงบตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่านหวั่นไหว งานมาก ก็จะเป็นงานไม่มากได้ พ่อท่านเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน งานมากมายเยอะแยะ แต่ก็ดูเหมือนท่านไม่ได้มากมายอะไร ท่านมีแต่ ความเบิกบาน สบายอกสบายใจอยู่ตลอดเวลาแม้งานมากมายแต่ก็ดูไม่มากมาย เพราะท่านมีจิตที่สงบตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน หวั่นไหว ไปตามอำนาจของโลกธรรม จิตฟุ้งซ่านหวั่นไหว มันจะทำให้เราดูงานเยอะไปหมด จนไม่มีแรงจะทำอะไร และก็อยู่ที่ว่าเราวางฟอร์มชีวิตของเราไว้อย่างไร ถ้าวางฟอร์มใหญ่เหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อหนึ่งเขาจะบอกว่า เล็กๆ ไม่, ใหญ่ๆทำ งานจะดูมากมายเหมือนกัน ถ้าเราชอบจะเป็นผู้จัดการ มากกว่าจะเป็นผู้รับใช้ ก็จะทำให้เรางานมันดูเยอะแยะ งานที่คิด จะไปจัดการคนนี้ งานที่จะไปกำหนดคนโน้นคนนั้น ให้มาทำอย่างที่เราต้องการงานมันจะมากขึ้นมาทันที แต่ถ้าเรา เปลี่ยนมาเป็น เราพยายามที่จะกำหนด ตัวเราเอง แทนที่จะไปกำหนดคนอื่น เรากำหนดตัวเราเองให้เข้าไป ประสานสัมพันธ์ กับผู้อื่น ได้อย่างไรงานเราจะน้อยลงทันที เพราะการไปกำหนดคนอื่น ไปกำหนดหมู่กลุ่มให้มาเป็นอย่าง ที่ตัวเองคิด จะหัวระเบิด ทันทีเลยหล่ะ แต่ถ้าเราเปลี่ยนความคิด มากำหนดตัวเราเองให้เข้ากับผู้น้อยก็ดี ผู้ใหญ่ก็ดี ให้เข้ากับหมู่กลุ่มให้ได้ ก็ดี งานเราจะน้อยลงไปมาก ถ้าเราทำจิตใจของเราให้เป็น ผู้รับใช้งานเราจะน้อยลงไปมากทีเดียว แต่ถ้าเราทำใจเป็นผู้จัดการ จะไปแก้ปัญหาคนนั้น ไปจัดการคนนี้ จะเอาเรื่องเอาราวคนโน้น งานเราก็จะยุ่งวุ่นวาย วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือเราต้องพยายามทำชีวิตของเราให้มีระบบให้มากขึ้น มีการทำกิจวัตรให้สมบูรณ์ มีการทำกิจกรรม ที่จัดลำดับความสำคัญของงาน ถ้ากิจวัตรดีมีเวลาศึกษาธรรมะ มีเวลาทำเจโตสมถะ มีเวลาบริหารร่างกาย เมื่อระบบดี เกิดขึ้นแล้ว มันก็จะมีจิตที่สงบแยกแยะว่า อะไรสำคัญก่อนหลังจัดลำดับ หนึ่ง สอง สาม ก็ทำงานไปตามลำดับ และถ้าเรา สามารถทำงานอย่างตั้งจิตมีความเป็นผู้รับใช้อ่อนน้อมถ่อมตน ประสานสัมพันธ์กับผู้อื่น เราจะสามารถทำงาน ได้มากมาย ด้วยความรู้สึกว่างานก็ไม่ได้มากมายอะไร เพราะทำตามลำดับความสำคัญไปเท่านั้นเอง ดังนั้นงานน้อยงานมาก ก็อยู่ที่เรา สงบตั้งมั่นได้มาก งานก็จะน้อย แต่เราฟุ้งซ่านหวั่นไหวไปกับโลกธรรมมาก งานก็ดูมากมายจนไม่มีแรงทำอะไร เราต้องพยายาม ศึกษา พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า เรายินดีที่จะให้จิตใจของเราสงบหรือไม่ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ ที่จะทำให้จิตใจของเรามีพลัง ในการทำงาน แม้มากก็จะไม่รู้สึกว่ามันมาก เพราะเราทำตามลำดับ ความสำคัญได้อย่างถูกต้อง * หมายเหตุ |
||
งานคืนสู่เหย้าเข้าคืนถ้ำสัมมา สิกขาปี'๔๘ จัดขึ้นที่หมู่บ้านชุมชน ราชธานีอโศกในวันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘ มีศิษย์เก่า ร่วมงาน ๑๔๐ ชีวิต ดำเนินงานโดยสมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา สมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา(สศส.) SAMMASIKKHA ALUMNI ASSOCIATION เป็นองค์กรบุญนิยมองค์กรที่ ๖ ของชาวอโศก มีวัตถุประสงค์ของสมาคมดังนี้ ๑. ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นสาธารณ ประโยชน์ และสนับสนุนกิจกรรมทุกประเภทที่เป็นการเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ยังผลประโยชน์ แก่มวลสมาชิกโดยรวม โดยไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี และกฎหมายบ้านเมือง ๒. แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสานสัมพันธ์พี่น้องให้รักมั่นกลมเกลียวกันยิ่งๆ ขึ้น ๓. มุ่งส่งเสริมการสร้างอาชีพที่เป็นสัมมาอาชีพแก่มวลสมาชิก ๔. การดำเนินการทั้งปวงด้วยวิถีทางแห่งพุทธศาสนา ประธานสมาคมคือนางสาวอุ่นเอื้อ สิงห์คำ กิจกรรมในงานคืนสู่เหย้าเข้าคืนถ้ำ มีดังนี้ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ หลังจากนั้นเป็นพิธีมอบธงศิษย์เก่า ซึ่งเป็นธงสามสีประกอบด้วยแม่สีคือข้างบน สีแดง ตรงกลางสีเหลือง ด้านล่างสีน้ำเงิน ตรงกลางเป็นสัญลักษณ์ของสมาคมคือใบโพธิ์ สีเขียวหมายถึงโพธิสัตว์ มีเลขศูนย์อยู่ตรงกลางหมายถึงสุญญตา มีตัวหนังสือ อยู่ใต้ใบโพธิ์ คำว่าสมาคมศิษย์เก่าสัมมาสิกขา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีผ้าผูกยอดธง เขียนข้อความว่า เลือดพี่ เลือดน้อง คล้องวิญญาณ สานวัฒนธรรมบุญนิยม ในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมไหว้คุรุ รับพรจากคุรุ และกิจกรรม ๘ ด่านผ่านฉลุย รายการภาคค่ำเป็นรายการเล่าสู่กันฟัง แต่ละคนถ่ายทอดประสบการณ์และสภาวะของการต่อสู้กับโลกภายนอก โดยแบ่งกลุ่มย่อย แล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกมาเล่าสรุป วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ความรู้สึกของผู้มาร่วมงานมีดังนี้ มาครั้งนี้หิวธรรมะมาก แต่ในงานนี้ได้ไม่มากเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะวัยที่ไม่เหมาะกับกิจกรรมที่เขาจัด ต่อไปคิดว่า จะไปร่วมงาน ปลุกเสกฯ การจัดงานศิษย์เก่าน่าจะแยกวัย กลับมาครั้งนี้รู้สึกว่าสำนึกเปลี่ยนไป หนูสงสารพ่อท่าน ใจหนึ่ง ก็อยากมาช่วยงาน แต่อีกใจหนึ่งเราก็ไปสร้างการงานสร้างหนี้สิน สร้างครอบครัว ตั้งจิตอธิษฐาน ตอนที่เขียน ซึ่งเขียนแบบ สำนึกผิด หนูจะพยายามรักษาศีล ๕ ทานมังสวิรัติ ถ้าเป็นไปได้ ถ้าคิดถึงที่นี่ ก็จะทำทันที ไม่เฉพาะวันพระ นางสาวข้าวหอม วรรณวงศ์ ศิษย์เก่าสัมมาสิกขาสีมาอโศก สิ่งที่ประทับใจคือภาคภูมิใจที่จบ ม. ๖ ของสัมมาสิกขา ปลื้มมาก ตอนเรียน ก็มีความสุขกับเพื่อนๆ กับการงาน ช่วงที่เข้า ม. ๑ มีเพื่อน ๒๗ คน ตอนจบ ม. ๖ เหลือ ๑๐ คน ก่อนจบ ม.๖ ท่านสมณะ สิกขมาตุฝากเรื่องถือศีลให้มั่นคง รู้เท่าทันโลก ตอนที่จบใหม่ๆ ใจหนึ่งก็โล่งที่สามารถทำได้ แต่อีกใจหนึ่งก็หวั่นๆ ว่าเราต้อง ไปเผชิญกับโลกกับอะไรมากมาย ไม่มีเกาะไม่มีพี่เลี้ยงเราต้องเข้มแข็งให้มากกว่านี้ ตอนนี้หนูสมัครเรียนนิเทศศาสตร์ มสธ. และช่วยธุรกิจของพี่ชาย การมีสมาคมศิษย์เก่าทำให้สัมพันธ์กันทั้งรุ่นน้องรุ่นพี่และกับน้องๆ มางานนี้ประทับใจ ทุกกิจกรรม โดยเฉพาะที่ดูวีดิทัศน์ อยู่ข้างนอกจะพยายามถือศีล ๕ ให้ดีที่สุด นายกระบี่พุทธ แก้วคำ ผู้ประสานงาน ผมเป็นนักเรียน กศน. ศีรษะอโศก ในสมัยก่อนเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ครั้งแรก มีนักเรียน ทั้งโรงเรียน ๒๐ คน ตอนที่จบใหม่ๆ ผมคิดจะไปรวย ก็ไปดิ้นรนด้วยตนเอง ได้เห็นว่า การได้ฝึกฝนจากวัด ทำให้ไม่ยาก ในการเรียนด้วย ทำงานไปด้วย ผมเรียนจบปริญญาตรี ๒ ใบ คือ จบรัฐศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันกำลังเรียน ปริญญาโท ขณะนี้ทำงานเป็นพนักงานบริษัท มีบริษัทส่วนตัว แต่ตอนนี้ความคิด ที่อยากรวยเปลี่ยนไป ผมเริ่มจะเอาตัวเอง เข้าสู่หมู่กลุ่มมากขึ้น การที่ออกไปนอกหมู่กลุ่ม ผมตั้งใจว่า แม้จะทำตัวไม่ดีอย่างไรก็ตาม อย่างน้อยก็ต้อง กินอาหารมังสวิรัติ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งผมก็ทำได้มาตลอด ๑๐ ปีที่จบมา ผมรู้สึกว่า ได้ประโยชน์จากการทำงาน ให้กับหมู่กลุ่ม มันแตกต่าง กับ การทำงานข้างนอก ซึ่งเราจะได้รางวัลตอบแทนเป็นเงิน แต่พอมาทำงานที่วัด คนที่ทำงานมาก คือคนที่ ถูกว่ามาก เป็นเรื่องที่จะถูกขัดเกลา ผมคิดว่าการทำงาน เป็นการพิสูจน์ตนเอง เอาคำพูดของคนมาสร้างความมานะบากบั่น ให้พัฒนา ตนเอง ในขณะที่ทำงานบริษัทของตนเอง จะต้องใช้อัตตาสั่งคนอื่น เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย แต่ทำงานในวัด ต้องยอมผู้อื่น เวลาเข้าไปหาพ่อท่าน ท่านจะบอกว่า พยายามให้ใช้กฎหมู่ ใช้ความคิดของหมู่ อย่าใช้อัตตาตนเอง แม้เรื่องนั้น จะเป็นเรื่องที่ดี ทำงานกับหมู่กลุ่ม ได้ลดอัตตาตนเอง อย่างมาก รับฟังผู้อื่นได้มากขึ้น ทำใจรอคอยผู้อื่น ได้มากขึ้น. |
||
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า แสงแดดจากดวงอาทิตย์เป็นพลังมหาศาลของโลก ถ้าพระอาทิตย์ดับลงเมื่อใด ก็เท่ากับขาดไฟ ขาดพลังงาน ทุกอย่างบนโลกใบนี้จะเย็นยะเยือก และยุติลง และในทางกลับกันถ้าโลกใบนี้หมุนเขาไปใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไปก็จะทำให้เกิดความร้อนแผดเผาเป็นจุรณได้ แสงแดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงมีทั้งคุณและโทษได้เช่นกัน แล้วแสงแดดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพและความงามของเราได้อย่างไร เกี่ยวข้องมากเลยค่ะเพราะว่าแสงแดดอ่อนๆในยามเช้านั้นแสนจะอ่อนโยนและเมตตาต่อมนุษย์ เนื่องจากแสงแดด ในยามเช้านี้ ถ้าได้มีโอกาสกระทบผิวกายของเราแล้ว จะช่วยให้คอเลสเตอรอล ในตัวของเรา สร้างวิตามินดี ขึ้นเอง โดยตามธรรมชาติ เมื่อวิตามินดีรวมกับแคลเซียม และฟอสฟอรัสแล้วจะทำให้กระดูก ฟัน เล็บ แข็งแรงสวยเป็นเงางาม และยังช่วยป้องกัน อาการ เป็นตาแดง หรือตาอักเสบได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีผลทำให้วิตามินเอ ในร่างกายทำงานได้ผลสูงสุดด้วย คือ จะทำให้ผิวสวย ผิวพรรณจะสดชื่นและเปล่งปลั่ง ผิวนวลราบรื่น เลือดฝาดสมบูรณ์ แลเป็นคนมีชีวิตชีวา สุขภาพก็ต้องดีขึ้น แน่นอน แต่..ถ้าโดนแสงแดดที่จัดจ้านเกินไปก็จะทำให้เจ็บป่วยไม่สบายได้เหมือนกันอีกทั้งจะทำให้ผิวพรรณหยาบกร้าน แก่เร็ว เป็นมะเร็ง ผิวหนัง และเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายได้เหมือนกัน จะเห็นว่าเป็นแสงแดดเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน เราจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เพื่อให้รู้จักกับธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้เหมาะสมกลมกลืนกับเราให้มากที่สุด เพราะธรรมชาติมีทั้งคุณอนันต์ และโทษมหันต์ถ้าเราไม่เข้าใจและใช้ธรรมชาติไม่ถูกต้อง คงคล้ายๆกับการศึกษา และ ปฏิบัติธรรม ที่ต้องดูให้เหมาะสมกับฐานะแห่งตนเช่นกัน เนื่องจากธรรมของพระพุทธองค์ ไม่ใช่หน้าผาที่โกรกชัน แต่มีการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอน ค่อยลุ่มลึกลงไป ตามลำดับ แห่งสติปัญญา และกำลังของแต่ละบุคคล ถ้าการปฏิบัตินั้นเหมาะสมกับตน บนความไม่ประมาทก็คงจะยังสุขมาให้ตามธรรมนั้นๆเช่นกันนะคะ. - กิ่งธรรม - |
||
ตั้งแต่เกษตรอินทรีย์ได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติแล้วเมื่อไม่นานมานี้ แต่ละจังหวัดก็เริ่มตื่นตัว และพยายามผลักดัน ให้เป็นเกษตรอินทรีย์ กันทุกจังหวัด เพราะทางรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนเรื่องนี้ลงไปไม่น้อย ทางจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้ว่าฯ,รองผู้ว่าฯ และเกษตรจังหวัด ย้ายมาอยู่ใหม่ทั้งชุด การเคลื่อนไหวครั้งแรกก็คือ ส่งเกษตรกร ให้ไปดูงาน ตามจังหวัดต่างๆ ที่มีชื่อเสียงด้านเกษตรอินทรีย์ เช่น จ.สุรินทร์, จ.นครราชสีมา เป็นต้น ปรากฏว่า พอไปถึงเขาก็บอกว่า "ทำไมมาถึงที่นี่ เขาเองก็ไปดูงานและได้ความรู้มาจากสิงห์บุรี ที่ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน อ.อินทร์บุรี" จากนั้นมา เกษตรจังหวัด ก็มาขอพบและนิมนต์ให้ไปช่วยวางแผนกับ ผู้ว่าฯ, รองผู้ว่าฯ และบรรยายให้กับแกนนำ มีเกษตร อำเภอ, อบต.อำเภอและจังหวัด ฟังที่ศาลากลางจังหวัด ท่านรองผู้ว่าฯ วีระศักดิ์ อนันตมงคล ไปดูงานที่แม่ฮ่องสอน พบผู้ว่าฯ จ.สุรินทร์ (นายเกษมศักดิ์ แสนโภช) จะเชิญให้มาบรรยายที่สิงห์บุรี เพราะท่านมีชื่อเสียงมาก ที่ทำให้สุรินทร์ โด่งดังเรื่อง ข้าวอินทรีย์ มาแล้ว ท่านผู้ว่าฯ จ.สิงห์บุรี ก็แนะนำกับ รองผู้ว่าฯ สิงห์บุรีว่า ให้ไปหาท่านเสียงศีล ที่อินทร์บุรี ท่านก็อยู่สิงห์บุรี ก็เลยทำให้ ได้รับการยอมรับจากทางผู้หลักผู้ใหญ่ ของทางจังหวัดมากขึ้น กว่าคนสิงห์บุรี จะรู้จักอะไรดีๆ ของคนสิงห์บุรีด้วยกัน ก็ต้องรอ ให้คนจังหวัดอื่นเขาบอก เหมือนคนไทยด้วยกัน ไม่ค่อยเชื่อถือคนไทยด้วยกัน ต้องรอให้ฝรั่ง ต่างชาติยอมรับเสียก่อน จึงจะยอมรับ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเป็นปกติของคนไทยจริงๆ. |
||
หน้าปัดชาวหินฟ้า เจริญธรรม สำนึกดี พบกับ นสพ.ข่าวอโศก ฉบับที่ ๒๕๕(๒๗๗) ปักษ์หลัง ๑๖-๓๑
พ.ค.๔๘ วิสาขะฯ...จิ้งหรีดได้อ่านความรู้สึก
สัจจะอธิษฐาน...จิ้งหรีดไป ชมร.ช.ม. เจอคุณใบหญ้า ทราบว่า ช่วงนี้ไปผ่าตัดมา ตอนนี้กินอาหารร้อนๆไม่ได้ เพราะจะทำให้ หน้าบวม กินได้แต่อาหารเย็นๆเท่านั้น แต่ถึงแม้สุขภาพจะยังไม่สมบูรณ์ดี เธอก็ยังตั้งใจว่า ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันวิสาขะฯ จะกิน อาหารมื้อเดียว ไม่กินข้าวเย็น และหากถึงวันวิสาขะฯแล้วยังปฏิบัติได้ดี ก็จะ ตั้งสัจจะอธิษฐานต่อไป สาธุ... จี๊ดๆๆๆ... แล้งนี้โหด...จิ้งหรีดผ่านไปที่ชุมชนเพชรผาภูมิ แม้จะมีผู้อยู่ในชุมชนไม่มาก แต่งานก็คืบหน้าไปมาก ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ ฝึกอบรม โรงอาหาร ทางเดินเชื่อมต่อ ระหว่างกุฏิ การปลูกผักต่างๆภายในชุมชน เป็นต้น พอเห็นแล้วก็รู้สึกประทับใจกับ ทุกๆ คน ยิ่งพอได้รู้เบื้องหลังแล้ว ก็ยิ่งประทับใจมากขึ้น เพราะกว่าจะปลูกผักให้ผ่านฤดูแล้งได้ ก็เล่นเอาคุณพูลศีล คุณบุญยอม ต้องเป็นลม ไปตั้งหลายครั้ง ฝ่ายคุณหลิน เพื่อนคุณสาว เวลาไปตักน้ำจากสระเพื่อไปรดต้นไม้ ก็กลิ้งไปหลายตลบจนตกสระ ดีแต่ว่า ไม่เป็นอันตรายอะไร สาธุ... จี๊ดๆๆๆ... น่าประทับใจ... ที่สันติฯ วันก่อน สะเก็ด พฟด.... จิ้งหรีดเห็น สม.ผาแก้ว ชาวหินฟ้า ช่วยงาน สม.กล้าข้ามฝัน จนเสียงแหบเสียงแห้ง แต่งานก็ไปได้ราบรื่น เพราะหมั่นปรึกษาหารือภันเตนี่เอง ช่วยให้ไม่ต้องลองผิดลองถูกโดยไม่จำเป็น... พอไปถึงบ้านราชฯ ช่วยเตรียมงาน ปรากฏ ว่า สองศรีพี่น้องต่างวัย แต่โสดเหมือนกัน อาอรสา กับน้องตูน ก็แข่งกันไอ จนอาติ้ว(ปีกรัก) ที่ช่วยกันเตรียมงาน พฟด.อยู่ เกิดเห็นใจว่า ถ้าต่างฝ่ายต่างไอในเต็นท์เดียวกันจะดีหรือ เลยเป็นธุระช่วยจัดหา ที่พักให้เป็นบริเวณที่เรียนเก่าของสมุนพระราม ก็ได้ผล ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ทางบ้านราชฯยังช่วยหามุ้งมาให้นอนอีกด้วย ก็ยิ่งช่วยให้ผู้ไปช่วยงาน มีกำลังใจเต็มเปี่ยม... การต้อนรับแขก วีไอพี ก็เตรียม การณ์กันว่า จะช่วยกันนำอาหารไปบริการ แต่พอถึงเวลาจริง แขกระดับผู้ว่าราชการจังหวัด และ รองผู้ว่าฯ กลับเดินมารับบริการเอง ก็สร้างความประทับใจ ให้บรรดาแม่ให้ทั้งหลาย นี่แหละสิ่งที่คาดก็อาจไม่เป็นตามที่คาด แต่เราเตรียมไว้ก่อน ไม่น่ามีปัญหา ส่วนแขกที่มิใช่วีไอพี แม้เราจะบริการ เหมือนวีไอพี ก็ไม่น่าเสียหาย เพราะบางที จะแยกแยะว่า ใครเป็นวีไอพีหรือไม่ ก็ไม่ง่ายเลย นะฮะ แต่บางคนอาจจะแยกแยะได้ อย่างคุณศรีฟ้า บอกจิ้งหรีดว่า พอแขกวีไอพีเดินมา ก็พอเดาได้จากบุคลิกภายนอก ที่เห็น ส่วนใคร อยากรู้ว่า คุณศรีฟ้าทำไมถึงได้เดาแม่น ก็ลองไปสอบถามที่บ้านอโรคยา ข้างชุมชนสันติอโศกนะฮะ... ทางฝ่ายแจกอาหารตามซุ้มก็ชื่นชมว่า ปีนี้ผู้รับผิดชอบตามหาตัวง่าย ทำให้เวลามีปัญหาก็สามารถปรึกษาได้ทันท่วงที ต่างกับ เมื่อหลายปีที่แล้ว ผู้รับผิดชอบไม่ค่อยอยู่ เพราะต้องสวมหมวกหลายใบ ทำให้การทำงานไม่ราบรื่นเท่าที่ควร ก็ต้องขอชื่นชม คุณวันชัย ที่เป็นยอดฝีมือ ด้านปรุงก๋วยเตี๋ยว มังสวิรัติ รับผิดชอบงานดี คอยตรวจงานให้ความช่วยเหลือ จนแม่ครัว ที่มาช่วยงาน ประทับใจ เลยฝากคำชมมากับจิ้งหรีด... หลายคนประทับใจชาวบ้านราชฯ ที่มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ช่วยงานกันดี โดยเฉพาะเรื่องเชื่อฟังผู้นำ ทำให้การทำงานราบรื่น แม้มีอุปสรรค ก็ผ่านไปได้ด้วยดี... จิ้งหรีดได้ยินคุณพลอยไพรบ่นน้อยใจ นิดๆว่า ทางสันติอโศกไม่ได้ประชุมเตรียมงาน พฟด.กันชัดเจน เมื่อดูบ้านราชฯ ที่มีการ เตรียมการกันดี โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย... แต่ก็ปรับใจได้ เพราะมุ่งนำมาเป็นแบบฝึกหัดตัดกิเลส ทางสำนักพิมพ์กลั่นแก่นก็ไปแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับอุปกรณ์ทำดีท็อกซ์ คุณศีลสนิทก็นึกฉงนตัวเองว่า มาผิดงาน หรือเปล่า หนอ เพราะทางแขกผู้มาร่วมงาน จะถามว่าเป็นเครื่องมือทำน้ำหยดให้ต้นไม้หรือ? จนมีคนที่รู้ ก็มาอธิบาย ให้ผู้อื่นฟัง จนเครื่องมือ ทำดีท็อกซ์ ได้รับการตอบรับอย่างดี ขายหมดจน แม้แต่นิทรรศการก็ต้องขายให้ผู้มาร่วมงาน ที่ขอร้องให้ขาย เขาจะไปประกอบเอง จิ้งหรีดได้ยินสมณะ บอกคุณศีลสนิทว่า นี่แหละเกี่ยวข้องกับเกษตรกร ตรงที่ช่วยให้เกษตรกร มีวิธีล้างพิษ ในร่างกาย สุขภาพของเกษตรกร ก็จะแข็งแรง สามารถทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นไหม โยงมาเกี่ยวกับเกษตรกร ได้อย่างยิ่งนะฮะ... จี๊ดๆๆๆ... รับรางวัลระดับโลก... นายสัญชัย ตุลาบดี ซึ่งเป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ได้รับหนังสือจากกรมควบคุมโรค ลงนามโดย นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองอธิบดีปฏิบัติการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ไปรับรางวัล "Tobacco Free World Awards" ในพิธีเปิดงานวันงดสูบบุหรี่โลก ในวันที่ ๓๑ พ.ค.นี้ ณ บริเวณรามาฮอล์ชั้น ๑ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ห้างสรรพสินค้า มาบุญครอง กทม. ในฐานะที่คุณสัญชัย เป็นนักวิชาการสาธารณสุข ๗ เป็นบุคคลที่องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศยกย่อง ให้เป็นบุคคลดีเด่น เนื่องจากมีผลงาน ด้านการรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ด้วยดีตลอดมา ในการนี้ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า โสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ จะเสด็จเป็นองค์ประธาน งานเริ่มเวลา ๑๖.๐๐ น. ณ บริเวณรามาฮอล์ ชั้น ๑ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง กทม. โดย น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดี กรมควบคุมโรค จะกราบทูลเบิกผู้ทำคุณประโยชน์และผู้ให้การสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ เข้ารับโล่เกียรติคุณ จำนวนทั้งสิ้น ๒๐ ราย งานนี้หากญาติธรรมท่านใดอยู่ใกล้หรือสนใจ จะไปร่วมแสดงความยินดีกับญาติธรรมสัญชัย ก็สามารถ ไปร่วมงาน ได้ตามวัน และสถานที่ดังกล่าว จิ้งหรีดก็ขอแสดงความยินดีกับคุณสัญชัยด้วยนะฮะ และเห็นด้วยว่า บุหรี่นี่เป็นภัยต่อมนุษยชาติ โดยมีงานวิจัยแล้วว่า การสูบบุหรี่ จำนวน ๑ มวน ทำให้อายุสั้นลง ๖ นาที ถ้า ๑ ซอง(๒๐ ม้วน) อายุก็จะสั้นลงกว่าเดิม ๒ ชั่วโมง ก็ลองคิดดู ก็แล้วกันว่า เวลา ๒ ช.ม. เราสามารถทำดีอะไรได้อีกตั้งหลายอย่าง คุณว่าจริงไหมฮะ... จี๊ดๆๆๆ... เกือบไป... วันก่อนรถชาวเราที่ออก เดินทางไปเยี่ยมคุณยายใจพร้อม ซึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่ ร.พ.สรรพสิทธิ์ฯ จ.อุบลราชาธานี แต่พอขับ ออกจากบ้านราชฯ ไปได้ไม่ไกล ก็เจออุบัติเหตุเข้าให้ คนในรถเห็นกันคาตาว่า ล้อหลังของรถ ที่นั่งอยู่ ได้วิ่งแซงล้อหน้า ไปซะแล้ว โชคดีที่รถไม่ได้เสียหลัก ไม่เช่นนั้น คนในรถวันนั้น อาจต้องไปอยู่เป็นเพื่อนคุณยายใจพร้อม ที่โรงพยาบาลแทนที่ แค่เพียง ตั้งใจจะไปเยี่ยมเท่านั้น ส่วนใครอยากรู้รายละเอียด ลองเรียนถาม สม.กล้าข้ามฝันได้ฮะ ข้างฝ่ายคุณยายใจพร้อม แม้อายุมาก แต่น่าประทับใจจริงๆ เพราะกำลังใจดีมากๆ ทำให้พวกเราได้ดูเป็นตัวอย่างของ ผู้มีศรัทธา จิตใจจะยินดี กระปรี้กระเปร่าเสมอ แม้ยามเจ็บป่วยก็ตาม สาธุ... จี๊ดๆๆๆ... ข่าวดี... เมื่อทราบว่า คุณหมอพจน์ (ซึ่งท่านได้ดูแลสุขภาพพ่อท่านมาโดยตลอด) ว่า ยามนี้ได้ตัดสินใจ ย้ายเข้ามาอยู่บ้านราชฯ เป็นการถาวรแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๕ พ.ค.ที่ผ่านมา แถมยังบอกกับจิ้งหรีดว่า จะขออยู่ที่นี่ไปเรื่อยๆ จิ้งหรีดเองได้ฟังแล้ว ก็นึกไม่ถึง จริงๆ และรู้สึกอนุโมทนา สาธุ กับคุณหมอด้วยเป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เพราะอายุคุณหมอ ก็มากแล้ว แต่ก็ยังตัดสินใจมาอยู่ได้ แล้วอย่างนี้จะไม่ให้จิ้งหรีด และชาวบ้านราชฯ ยินดีได้อย่างไร สาธุ...จี๊ดๆๆๆ... ยอดหายไป... จิ้งหรีดบินไปเกาะต้นนั้นต้นนี่ สงสัยมาหลายเพลาแล้วว่า ยอดหายไปไหนกันหมด ยอดที่ว่าหายไปน่ะ "ยอดไม้" อดไม่ได้ เลยลองสอบถามญาติธรรมที่เดินผ่านมา ถึงได้รู้ว่า ที่สันติฯฮิตทานยอดพืชยอดไม้ที่กินได้ มาระยะหนึ่งแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าต้นพริกต้นอะไร ตอนนี้ยอดเลยไม่ค่อยมีให้จิ้งหรีดบินไปเกาะนั่นเอง แหม! โชคดีนะ ที่จิ้งหรีดไม่ใช่หนอนชาเขียว ไม่นั้น คงต้องร้อง "ชีหมี่โจได๋" เหมือน ในโฆษณา ก็ประโยชน์สูง-ประหยัดสุดขนาดนี้ยังไงซะ จิ้งหรีดก็ต้องยกปีกเชียร์ ล่ะฮะ... จี๊ดๆๆๆ... คติธรรม-คำสอนของพ่อท่านประจำฉบับ พบกันใหม่ฉบับหน้า |
||
พายุหมุนกระหน่ำ
ชมร.ช.ม. เมื่อเวลาประมาณ ๕ โมงเย็นเศษ ของวันอังคารที่ ๓ พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกในร้าน ชมร.ช.ม. ช่วยกันเก็บกวาด ทำความสะอาดและเตรียมของเพื่อจะขายในวันต่อไปตามภารกิจปกตินั้น ก็ได้เกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญเมื่อพายุถล่ม ชมร. สาขาเชียงใหม่ ทำให้ข้าวของในร้านปลิวกระเด็น กระจัดกระจาย แม้เสาขนาดใหญ่ที่รับน้ำหนักของหลังคา บริเวณที่ ให้บริการลูกค้า ก็ได้เอียงไปตามแรงลม ส่วนคานไม้ก็แตกในบางจุดและได้เคลื่อนหลุดจากเสาร้าน หมิ่นเหม่ทำท่าจะพังลงมา สร้างความตื่นตระหนกแก่สมาชิกในร้านเป็นอย่างยิ่ง น.ส.แก่นกลั่นบุญ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ได้เล่าให้นักข่าวฟังว่า "ช่วงนั้นพวกเรากำลังเตรียมของสำหรับวันต่อไปตามปกติ ก็ได้ยิน เสียงฟ้าร้องเสียงดังมาก พอดัง เปรี้ยง! ติดตามมาด้วยเสียงลมที่พัดมากระทบกับต้นไม้ หลังคา อาคารและข้าวของ แรงขึ้น เรื่อยๆ ข้าวของก็เริ่มกระเด็นตามแรงลม สักพักฝนก็ตกลงมาผสมเพิ่มหนักขึ้นๆ ทีนี้ทั้งฝนทั้งลมก็หมุนม้วน ซัดเข้ามาใน ชมร. อย่างหนักมาก พวกเราเริ่มดูท่าทีกัน ใครหยิบจับอะไรได้ ที่คิดว่าจะได้รับความเสียหายก็ช่วยกันเคลื่อนย้าย อย่างเช่น หนังสือ ธรรมะ พอจะเก็บทัน ก็ช่วยกันเท่าที่จะทำได้ แต่ก็ทนแรงลมที่หนักขึ้นๆ ไม่ไหว ก็เลยทยอยเข้าไปอยู่ที่โกดังเก็บของ... สักพักใหญ่หลังพายุสงบ พวกเราก็ช่วยกันเก็บกวาดร้าน หลังจากเดินดูสภาพร้านที่แทบจะไม่หลงเหลือสภาพเดิม ก่อนเกิด เหตุการณ์ ไฟฟ้าก็ดับด้วย ต้องใช้เทียน ในขณะเก็บกวาด เช้าของวันรุ่งขึ้น ร้านก็เปิดบริการลูกค้าตามปกติ เหลือร่องรอยบางจุดที่รอการซ่อมแซมและสะสาง นายช่างฝีมือและทีมงาน ที่อาจารย์ ๑ ส่งลงมาจากดอยแพงค่า ก็มาซ่อมและดูแลความเรียบร้อย อย่างจริงจังและรวดเร็ว สร้างความปลอดภัย และ มั่นใจ ให้แก่พวกเรา ได้ถ้วนหน้า หลังเกิดเหตุเพียงไม่กี่วัน โดยส่วนตัว ยังไม่เคยเจอเหตุการณ์ แบบนี้ พายุลม ฝน แถมยังหมุนอีก เมื่อ ปี'๔๖ ก็เจอสภาพพายุลูกเห็บที่ถล่มบ้านเห็ด แต่ก็ไม่ได้อยู่ ในขณะเกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ได้เห็นภัยจากธรรมชาติจริงๆ และทำให้ได้คิดถึงเรื่องความตาย วิบาก และ กรรมปัจจุบันว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ มีศีลอยู่หรือเปล่า ทำดีพอแล้วหรือยัง". |
||
รำปิ้งกล้วยร้อนๆจ้า |
||
ประวัติ รู้จักอโศก ยายปลูกบ้านอยู่ที่ดอยรายปลายฟ้า ปลูกกุฏิ ก็ไปๆมาๆระหว่างบ้านกับดอยรายฯ เวลามีงานอบรมฯก็ช่วยทำอาหาร เตรียมผัก แกะหอม-กระเทียม พ่อบ้านเสียชีวิตเมื่อปี ๒๕๓๘ ตอนนั้นเขาอายุ ๗๓ ปี เมื่อเรามาปฏิบัติธรรมกับชาวอโศก ก็ทำใจได้ ห่วง ผัสสะ ฝาก ยายอายุ ๗๘ ปีแล้ว แล้วยังออกกำลังกายทุกวัน แหม! ใครที่อายุยังน้อยๆ แล้วขี้เกียจออกกำลังกาย รู้จักแต่ใช้ ไม่รู้จักดูแลรักษา ระวัง อายุจะตามใบหน้า ไม่ทันนะ - บุญนำพา รายงาน - |
||
ปฏิทินงานอโศก โฮมไทวัง ม.วช. ครั้งที่ ๑๐ ณ พุทธสถานราชธานีอโศก เสาร์ที่ ๔ - อาทิตย์ที่ ๕ มิ.ย.๔๘ อโศกรำลึก ครั้งที่ ๒๓ ณ พุทธสถานสันติอโศก พฤหัสฯที่ ๙ - อาทิตย์ที่๑๒ มิ.ย.๔๘ |
||
ดีเดย์ ๑ มิ.ย. ชวนปิดไฟ ๑ วัน ๑ ชม. ช่วย ๗๐๐ ล้าน อุตสาหกรรม l กระทรวงพลังงาน ชง ครม.สัญจรผนึกกำลังทั้งรัฐ-เอกชน ลุยแผนประหยัดพลังงานทั้งระบบ เปิดแคมเปญ ปลุกจิตสำนึก คนทั้งชาติ ดีเดย์ ๑ มิ.ย.นี้ รณรงค์ ปิดไฟ ๑ ดวง ๑ ทุ่ม ทุกครัวเรือน นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยเมื่อวันที่ ๑๓ พ.ค.นี้ ภายหลังการร่วมหารือกับนายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)สัญจร วันที่ ๑๗ พ.ค. ๒๕๔๘ กระทรวงพลังงาน จะเสนอแผน การประหยัด พลังงาน เข้าสู่การพิจารณา โดยแบ่งกลุ่มการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ๓ กลุ่ม คือ ๑. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่จะใช้การประหยัดพลังงานเป็นผลงานวัดการดำเนินงานของระดับปลัดกระทรวงและอธิบดี กรมต่างๆ ๒. ภาคเอกชนตั้งเป้าจะประหยัดพลังงานประมาณ ๑๕ % และ ๓. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่ต้องหาวิธีปลุกจิตสำนึกในการลดใช้ทั้งไฟฟ้า น้ำมัน เช่น การรณรงค์ปิดไฟ ปิดแอร์ ทั้งนี้ การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกซึ่งกำหนด วันดีเดย์ ๑ มิ.ย.๒๕๔๘ จะจัดทำเป็นแคมเปญ ได้แก่ โครงการ "รวมพลังคนไทย ปิดไฟช่วยชาติ" โดยกำหนดให้มีการปิดไฟที่ไม่ใช้ ๑ ดวง ๑ ทุ่ม ช่วยชาติประหยัดไฟ ซึ่งหากทุกบ้านปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ ๑ ดวง วันละ ๑ ชั่วโมง จะช่วยชาติประหยัดไฟได้ปีละ ๗๐๐ ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีแผนการส่งเสริม การใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล ก๊าซธรรมชาติ หรือเอ็นจีวี จะเร่งแผนให้เร็วขึ้นอย่างน้อย ๑ ปี นายมิ่งขวัญ กล่าวว่า การคิกออฟในวันที่ ๑ มิ.ย. จะมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ อสมท.ด้วย. (จาก นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ ๑๔ พ.ค.๔๘) |
||
สาธารณสุข l ภูมิปัญญาชาวบ้านวิเคราะห์สูตร "ผงนัว" ผลิตจากพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดใช้แทนผงชูรส กินแล้วดีต่อร่างกาย เพราะไม่มี สารกันบูด ผสมในอาหารได้หลายชนิด ทั้งต้ม ยำ ผัด ย่าง เผยฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น รู้คุณค่าก่อนคนไทย สั่งนำเข้า จำนวนมาก นายยุงยุทธ ตรีนุชกร ครู ภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์แผนไทย คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติบรรยายเรื่อง ผงนัว สารปรุงรส เพื่อสุขภาพ ที่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกว่า จากการทำงานคลุกคลีกับชุมชน ในภาค อีสาน ทำให้เห็นสภาพการเจ็บป่วยใกล้เคียงกับชุมชนเมือง จึงร่วมกันวิจัยวิถีชีวิตพื้นบ้าน พบว่า รายจ่ายเพื่อซื้อผงชูรส ของชุมชน ชาวกะเริง ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งในภาคอีสานแถบ จ.สกลนคร มีจำนวนเงินค่อนข้างสูง "เราเข้าไปทำแผนแม่บทชุมชน วิจัยศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้านที่เปลี่ยนไปทำให้สุขภาพเริ่มแย่ลง ซึ่งพบว่าจากเดิมชาวบ้าน เคยบริโภค อาหาร จากพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเมื่อระบบเกษตรฯ เริ่มเปลี่ยนเป็นเน้นส่งออก ทำให้ชาวบ้าน เน้นผลิต เพื่อขาย และต้องพึ่งพิงอาหารถุง อาหารกระป๋อง ที่มีผงชูรสเป็นส่วนประกอบ ทำให้ชาวบ้านเป็นโรคเหมือนคนในเมือง ทั้งโรค หัวใจ โรคเครียด โรคประสาท ความดันโลหิตสูง เดิมพบชาวบ้านอายุยืนกว่า ๑๐๐ ปี ซึ่งส่วนใหญ่กินอาหารพื้นถิ่น" นายยุงยุทธ กล่าว นายยงยุทธ กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสกลนคร สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกันผลิต "ผงนัว" ซึ่งแปลว่า ผงที่นำมาเติมในอาหารให้รสชาติอร่อย กลมกล่อม ทดแทน ผงชูรส ปลอดภัยไร้สารพิษโดยมีส่วนประกอบเป็นพืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งผักพื้นบ้าน นำมาทำให้สุก บางส่วน ตากแห้ง บดผสมกันเป็นผงนัว ใช้ปรุงรสแกง ต้น อ่อม แจ่ว ส้มตำ ผัด หมักและย่าง ทั้งนี้ ตัวอย่างส่วนผสมที่นำมาผลิตผงนัว แยกเป็นแต่ละรสชาติ เช่น รสเปรี้ยวได้จาก ใบมะขามอ่อน ใบชะมวง ใบส้มป่อย ผักติ้ว ใบมะกอก รสมันหวาน ได้จากยอด มะรุม ยอดผักหวานบ้าน ยอดคอนแคน ไหมข้าวโพด ฟักทองนึ่ง ข้าวเหนียวนึ่ง มันแกว หรือ มันเทศ ขมหวาน เบื่อเมา ได้จาก ผักโขม ใบผักแป้น ใบชะพลู ใบน้อยหน่า ใบกระเทียม ลดพิษ ได้จาก ยอดย่านาง ใบหม่อน ขมิ้นชัน ใบขิงทรายข่า และใบมะกรูด "ยอดคอนแคน ผักก้านตรง เป็นยาบำรุงกำลัง ใช้ยอดอ่อนหมกไฟให้กลิ่นหอมตากแห้งแล้วบดผสมในผงนัว รสหวาน ยอด มะรุมให้แคลเซียมสูง ผมอยากให้ทางนักวิจัยได้ไปวิเคราะห์วิจัยอย่างเป็นระบบเพราะผมได้สอบถามผู้ที่กินผงนัวพบว่า โรคร้าย หลายโรคของเขา ทุเลาลงอย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะเบาหวาน สามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี อาการปวด เมื่อย อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นอาการของการได้รับสารพิษจากผงชูรสก็หายเป็นปลิดทิ้ง" นายยงยุทธกล่าวและว่า ขณะนี้ผงนัว ที่ผลิตที่ จังหวัดสกลนคร ได้รับความนิยมสูงในฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าในเร็ววันนี้ประเทศไทยก็สามารถวางจำหน่ายได้ ส่วนประเภท ผงบดละเอียด ที่ชาวบ้านทำนั้น ก็มีขายในท้องถิ่น ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี. (จาก นสพ.เอ็กซ์-ไซท์ ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ ๑๗-๑๘ ก.พ.๔๘) |
||