ฉบับที่ 256 ปักษ์แรก 1-15 มิถุนายน 2548 |
ฝึกไปนิพพาน ในสังคมของชาวบุญนิยม
หรือทางโลกก็ตาม ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ความเคยชินและเคยตัวของคนนั้น มิใช่จะแก้ไขกันได้ง่ายๆ ขนาดเจ้าตัวตั้งใจแก้ไขก็ยังยากเลย ดังนั้นถ้าหมู่กลุ่มจะคิดช่วยก็ต้อง ประมาณให้ดีเช่นกัน มิฉะนั้นหมู่กลุ่ม ก็จะกลายเป็นปัญหาสำหรับคน ๒ ประเภทนั้น ข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ ที่คิดว่าน่าจะพอเหมาะก็คือ ถ้าเป็นลูกอีช่างสงบ หมู่กลุ่มอาจจะให้โอกาสพูดแสดงความคิดเห็นบ้าง แต่ไม่บีบคั้น หรือถ้าจะแก้ไขตัวเอง ก็คือ ฝึกปรุงคิด แบบสงบจากกิเลส ในประเด็นต่างๆ ที่พูดกันในที่ประชุม ส่วนลูกอีช่างเสนอ ถ้าหมู่กลุ่มไปเบรค หรือแสดงความไม่เห็นด้วยตรงๆ ลูกอีช่างเสนอจะรู้สึกน้อยใจ และเพ่งโทษหมู่ จนไม่รู้จัก จิตวิญญาณตัวเองได้ กระทั่งกลายเป็นปัญหาวิจารณ์หมู่นอกที่ประชุมอย่างเสียหาย ดังนั้นหมู่กลุ่ม ควรเห็นใจรับ ข้อเสนอนั้น ไว้พิจารณา ส่วนจะทำตามหรือไม่ ก็แล้วแต่กรณี ถ้าในกรณีหมู่ไม่ทำตาม ลูกอีช่างเสนอ ก็จะได้รู้ตัวเองว่า ตัวเองเสนอไป อย่างยึดถือเป็นอัตตา เกิดทุกข์ ฉะนั้น ที่คนประเภทนี้ มักอ้างว่า ก็เสนอให้หมู่พิจารณา เท่านั้น จะได้เห็นกิเลสตัวเอง ชัดเจนขึ้นว่า มันไม่เท่านั้นนะ การพูดกับความเป็นจริง มันไม่ตรงกัน มันเฉโกต่างหาก เขาก็จะมุ่งแก้ไขตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องดีๆ ที่มักชอบเสนอให้ ผู้อื่นทำ ก็จะเริ่มฝึกทำที่ตัวเอง ให้ดีก่อนในหลายๆ เรื่อง แต่ถ้าเขาวางได้จริง ก็เป็นการเสนอตามจริต หมู่กลุ่มก็จะได้ประโยชน์ อย่างน้อยก็ได้ฝึกวางตัวรำคาญ จะได้ไปนิพพานง่ายขึ้น เพราะพ่อท่านบอกว่า คนขี้รำคาญ ไปนิพพานไม่ได้. |
||
คืนวันที่ ๑๕ พ.ค. ๔๘ พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ เอื้อไออุ่น ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนางานกสิกรรมไร้สารพิษ เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ ๑๒ ที่ราชธานีอโศก พ่อท่านได้อธิบายถึงวิธีไม่โกรธ ใครไม่อยากโกรธอ่านตรงนี้ .... เขาว่าเราไอ้...หมา หางก็ไม่มี ขาก็เดิน ๒ ขา ไม่ได้เดิน ๔ ขาซะหน่อย ขนก็ไม่ได้รุ่มร่ามอะไร เราก็ดูเรา เขี้ยวเราก็ไม่ได้มี เหมือนเขี้ยวหมา หรือจะหมายถึงว่านิสัยของเราเลวเหมือนหมาหรือเปล่า ต่ำเหมือนหมา ระดับหมาหรือเปล่า เราก็ตรวจ ความจริงว่า เขาว่าเราประหนึ่งหมา เราเลวเหมือนหมามั้ย เราก็ตรวจดู ประเด็นไหนล่ะ เขาว่าเราเหมือนหมา มันลักษณะไหนล่ะ มันต่ำ มันหยาบคาย มันสถุลแบบไหน ระดับเทียบกับหมาด้วยซ้ำ เราก็ตรวจ อาตมาก็ว่าพวกนี้ไม่ค่อยแม่น เอเราไม่ได้ ขนาดนั้นนะ เทียบกับ หมาเลย ตาไม่ดีคนนี้ เราก็รู้เขา เขาตาไม่ดี ข้อมูลไม่ครบ ไปได้ข้อมูลผิดๆเพี้ยนๆ จากไหนก็ไม่รู้ แล้วมาว่าเรา อย่างนี้เป็นต้น คือเรื่องเหล่านี้ที่อาตมาพูดให้ฟังนี่ ยกตัวอย่างตัวเองก็ตาม ไม่ใช่อวดอ้างอวดโอ่อะไรหรอก แต่ก่อนอาตมาก็โกรธเป็น ถือสาเป็น ใครด่าโกรธเป็นเหมือนกัน ถือสาเป็นเหมือนกัน แต่มาปฏิบัติธรรม แล้วเราก็เข้าใจความจริง เราไปโกรธเขาทำไม พอโกรธเข้าแล้ว นี่มันทุกข์ ทุกข์คืออะไรเราต้องเรียนรู้ ทุกข์อริยสัจพระพุทธเจ้าสอน มันทุกข์จริงๆ เวลาโกรธ ใครไม่เชื่อก็อย่าเชื่อ ไม่ง้อ อยากโกรธ โกรธไป ตัวใครตัวมัน เวลาโกรธแล้วนี่มันทุกข์ ถ้าเขาด่าเรา ถ้าเราถูก เขาด่าเรา แล้วเราก็โกรธ บ้าจี้นะซิ เขาด่าเรา เราถูกแท้ๆ แล้วก็โกรธเขา เขาด่ามันก็อยู่ที่เขา แล้วด่าผิดๆ ด้วย ไปโกรธเขาทำไม เขาด่าผิดๆ เราถูก เราเป็นอย่างนี้ แต่เขาด่าเราอีกอย่าง ไม่ใช่ ด่าแล้วมันไม่ใช่ อย่างที่เขาว่า แล้วเราก็ไป โกรธเขา มันไม่ถูกต้องเลย ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเขาด่าเราไม่ถูก เขาว่าเราเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เขาว่าเราต่างๆนานา เอ๊...เราก็ตรวจตัวเรา เราไม่ได้เป็นอย่างนั้น นี่นา มันผิดอยู่ที่เขา เขาควรจะโกรธ เขาควรจะเสียใจเพราะเขาด่าผิด แต่ถ้าเขาด่าถูกต้อง เขาด่าเราเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ชั่วอย่างนั้น เสียหายอย่างนี้ ไม่ดีอย่างโน้น เขาด่าเราถู้กถูก แล้วโอ้โฮใช่เลย ส่วนมาก เราเป็นอย่างนั้นจริงๆแล้วขี้มักจะโกรธนะ มันผิดนะ ถ้าเขาด่าเราถูก มันไม่ดีอย่างนั้น โอ...ใช่ เราควรจะไหว้เขา ขอบคุณที่บอกให้รู้ว่าเราผิดอย่างนั้นเราผิดอย่างนี้ ขอบคุณ แล้วจะได้แก้ไข ปรับปรุง เออมันผิดจริงๆ ไม่ดีอย่างนั้นจริงๆ โอ้ด่าถูกนะ มีข้อมูลครบ ตาดีนี่ ปัญญาดีนี่ บางทีเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ แม้เรารู้ตัวเขาว่าเรา ทั้งๆที่เราชั่วอย่างนั้น แล้วเขาบอกซ้ำ บอกย้ำ บอกให้อีก ก็ดี เขาเตือนเรา เราก็ควรกราบขอบคุณเขา สรุปแล้วถ้าเราผิด เขาว่าเรา แหมเราผิดจริงๆ มันก็ไม่ควรโกรธ ควรกราบ ถ้าเราถูกต้องเขาด่าเราผิดๆ ก็ผิดมันไม่ได้ อยู่ที่เรา มันอยู่ที่เขา เขาด่าไม่ถูกต้อง เขาด่าไม่ถูกที่เราเป็น เราเป็นอย่างหนึ่ง เขาด่าอีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่าเราดี เขาด่าว่าเราชั่ว มันไม่ถูก แล้วเราจะไปโกรธทำไม เราไม่ใช่คนบ้าจี้ เพราะฉะนั้นเขาด่าถูกก็ไม่ควรโกรธ เขาด่าผิดก็ไม่ควรโกรธ โกรธแล้วก็ทุกข์ เพราะฉะนั้นใครโกรธเมื่อถูกใครเขาตำหนิ ติเตียน ใครเขาด่าให้ คนไหนโกรธ คนนั้นโง่ลูกเดียว โง่ยกกำลังสาม โง่ลูกเดียว เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว ไปโกรธทำไม ใครเขาจะด่า จะว่ายังไง ว่าก็รับฟังแล้วก็มาตรวจสอบตัวเอง ถ้าตรวจสอบแล้ว เราก็รู้ตัวเราก็ผิดจริงๆ เราก็แก้ไขปรับปรุง เราก็เจริญอย่างเดียว ขอบคุณ ที่ให้เราเจริญ แต่เขาด่าผิดก็แล้วไป ฟังไว้นะ แล้วเอาไปพิจารณาเอาไปใช้กับตัวเอง ใครอยากจะเลิกโกรธมั่ง ยกมือ โอ้โห มีคนยกมือเยอะแยะเลย ไปฝึก พยายามตั้งสติสัมปชัญญะดีๆ อย่ารีบโกรธก่อน มันจะชิน มันจะวูบเลย ด่า โกรธไปแล้ว มันโกรธไปแล้วก็มายับยั้งอย่างที่อาตมาว่า แล้วก็มาพิจารณาอย่างที่อาตมาว่า จะเลิกหายโกรธ อ่านใจ ตัวเองเลย แต่ก่อน เราร้อนเร่าๆ นั่นแหละเรามีตาทิพย์รู้จิตกำลังโกรธ กำลังเห็นอาการโกรธ เรียกว่าเห็นโทสะมูล คนตาทิพย์เห็นโทสะในตัวเราเอง คนนั้นเรียกว่า เป็นคนมีฌาน มีวิชชา มีวิปัสสนา ญาณ ญาณที่เห็นของจริง วิปัสสนาญาณ ญาณที่เห็นโกรธ มันไม่มีตัวตน หรอกโกรธ แต่มันมีอาการ คนมาฝึกอย่างชาวอโศกมาฝึก รู้ อาการโกรธ อาการโลภ อาการราคะ อาการอะไรๆต่างๆนานาสารพัด แล้วเราก็จะรู้ของจริง แล้วเราฝึกลด นี่คือวิธีปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า เรียกว่าวิปัสสนา การปฏิบัติหรือ โพธิปักขิยธรรม ภาษาพระ จะต้องมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม มีสติปัฏฐาน ๔ รู้จักกายในกาย รู้จักเวทนาในเวทนา รู้จักจิตในจิต ธรรมในธรรม กุศลธรรม และอกุศลธรรม ก็แยกแยะออกเป็น เรียกว่าอกุศลจิต อะไรก็แล้วแต่ นี่คือธรรมะพระพุทธเจ้า..." - เด็กวัด - |
||
ปิตุบูชา + หยาดน้ำใจ งานอโศกรำลึกครั้งที่ ๒๓ เพิ่งจะผ่านพ้นไป มีสองคำที่น่าจะได้กล่าวถึง คือ ปิตุบูชา และ หยาดน้ำใจ ใครที่ได้มาร่วมงาน คงจะได้เห็นป้ายข้อความ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ...ปิตุบูชา ๗๒ ปี พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ ที่จริง พ่อท่าน เพิ่งจะย่าง ๗๒ ปี คือครบ ๗๑ ปีเต็มเมื่อ ๕ มิ.ย.๔๘ ที่ผ่านมา หลายคนเข้าใจว่าพ่อท่านเต็ม ๗๒ ปีแล้ว แม้แต่สมณะหลายรูป ก็เข้าใจเช่นนั้น ในใบคำปฏิญาณ จึงใช้คำว่า "วันครบรอบ ๗๒ ปีของพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์" ในงานอโศกรำลึกครั้งนี้ ได้มีพิธีกล่าวคำปฏิญาณร่วมกันของลูกๆชาวอโศกต่อหน้าพ่อท่าน โดยมีสมณะเดินดิน ติกขวีโร เป็นผู้นำกล่าว จริงๆแล้ว พิธีกรรมนี้ ได้ทำกันมาก่อนแล้ว ในงานโฮมไทวัง วันที่ ๕ มิ.ย. ที่ริมแม่น้ำมูลบ้านราชฯ ท่ามกลาง ธรรมชาติ บรรยากาศ ยามเช้านั้น ดูดีมาก แต่สำหรับงานอโศกรำลึกนี้ ทำกันในค่ำของวันที่ ๑๐ มิ.ย. ท่ามกลางลูกหลาน ชาวอโศก ที่มาร่วมงาน กว่าสองพันคน ก็ขลังไปอีกแบบด้วยจำนวนปริมาณคนมาก กล่าวเป็นเสียงความเดียวกัน ที่มีความหมาย บอกถึงความตั้งใจที่ดี ทำให้พลังของ กุศลธรรม ที่กล่าวนั้น มีฤทธิ์ต่อจิตใจของผู้คนในที่นั้นไม่น้อย ผู้เขียนขอนำคำกล่าวนั้น บางส่วน โดยเฉพาะ ในช่วงสุดท้าย มาถ่ายทอดดังนี้ "...และสุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งสัจจาธิษฐานว่า ถ้าหากข้าพเจ้าทั้งหลาย จะต้องเกิดมาอีก กี่ชาติกี่ชาติก็ตาม ขอได้มีโอกาส มาร่วมบุญบารมี กับพ่อท่านใน ทุกๆชาติ เพื่อให้เข้าถึงในสิ่งที่ยังไม่ได้เข้าถึง เพื่อให้ได้บรรลุในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อเป็นธรรมทายาท แบ่งรับมรดกธรรม ที่พ่อท่านได้สืบทอดมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะได้ช่วยกันทุ่มเท แรงกายแรงใจ อุทิศชีวิตที่เหลือนี้ ให้กับพระศาสนา ให้ได้ มากที่สุด เท่าที่ข้าพเจ้าแต่ละคน จักทำได้" สิ่งสำคัญมากๆที่ต้องกล่าวถึงคือของที่ระลึกจากพ่อท่าน ซึ่งพ่อท่านให้เรียกของสิ่งนี้ว่า หยาดน้ำใจ ไม่ใช่หยดที่ไหลแปะๆ เป็นหยดๆ แต่นี่ไหลเป็นสาย จึงเรียกว่าหยาด และอย่าไปเรียกว่าเป็นของชำร่วย ซึ่งมันเป็นการลดค่าของของที่ระลึก ความเป็นมาของ "หยาดน้ำใจ" นี้ เนื่องมาจากดำริที่พ่อท่าน คิดจะทำของที่ระลึกสักชิ้นหนึ่ง สำหรับแจกให้ลูกๆ ชาวอโศก ในวาระย่าง ๗๒ ปีนี้ พ่อท่านได้คิด และเขียนร่างแบบ ด้วยตัวเอง ให้ช่างลองไปทำมาให้ดู จนกระทั่ง ได้แบบที่พอใจแล้ว ก็จึงให้คุณสุนีย์ บำรุง และครอบครัวของคุณปะนรินทร์ ซึ่งมีอาชีพ เป็นช่างทอง รูปพรรณ ได้นำไปช่วยทำ นอกจาก ช่วยทำให้แล้ว ยังช่วยออก ค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่ให้ ถือเป็นการทำบุญ สร้างของที่ระลึ กถวายให้พ่อท่านด้วย อีกส่วนหนึ่ง พ่อท่านเติมให้จากผู้ที่ได้มาบริจาค พ่อท่าน ระมัดระวังอย่างมาก ที่จะกล่าวถึง เรื่องราคา ค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วยต้องการ เน้นสำคัญ ต่อผลทางจิตวิญญาณ ที่เนื่องมาจาก วัตถุเท่านั้น ไม่ต้องการเน้นสำคัญ เรื่องราคาของสิ่งของ เพราะถ้าผู้ที่ รู้สึกว่าแพง ก็จะมีผลเสีย ทางจิตใจได้ อาจจะมองว่า ฟุ้งเฟ้อ แทนที่จะมองว่า พ่อท่านแม้ไม่มีสมบัติเป็นส่วนตัว แต่ก็อุตส่าห์ จัดทำ ของมีราคาให้ได้ หรือผู้ที่ยึดถือว่าถูก ก็จะไปลดค่า ทางจิตใจ ของสิ่งของไป ผลทางจิตใจ แทนที่จะอยู่ที่สิ่งของ อันเนื่อง มาจาก สิ่งแทนตัวตน ของพ่อท่าน กลับกลายไปอยู่ที่ราคา สิ่งของ ซึ่งนั่นไม่ใช่ สาระสำคัญ ของการทำหยาดน้ำใจแจก หยาดน้ำใจมีแบ่งเป็น ๓ แบบ ๑.สำหรับบุคคลพิเศษจำนวน ๗๒ ชิ้น ๒.นักบวชและผู้เตรียมตัวบวช ๗๒๐ ชิ้น ๓.สามัญกับ ญาติธรรม ๗,๒๐๐ ชิ้น แบบพิเศษนั้น เพิ่งแจกไปชิ้นเดียว กับญาติผู้ใหญ่ ผู้มีบุญคุณ โยมป้าส้มจีน พรหมพิทักษ์ ซึ่งเคยเลี้ยงดู พ่อท่าน ตั้งแต่ยังเด็กๆ พ่อท่านตั้งใจทำให้เกิดผลทางจิตวิญญาณ สำหรับลูกๆชาวอโศกโดยเฉพาะ ไม่ได้คิดจะแจกกับคนทั่วไป ที่ยังไม่ได้ลดละ ปฏิบัติธรรม อะไร ที่ตรงข้อต่อ ของตัวใบโพธิ์ กับห่วงด้านบน มีกระบอกเล็กๆ บรรจุเส้นผม ของพ่อท่านไว้ให้ โดยมีเดือยเล็กๆ ยื่นออกมา (คล้ายปาก นกแร้ง) เพื่อให้เป็นสิ่งแทนตัวพ่อท่าน หากลูกๆชาวอโศก ที่ได้รับไป จะใช้เป็นกำลังใจ ในการปฏิบัติธรรม ลดละกิเลสของตน เมื่อใด ที่กิเลสจะเกิด ก็ระลึกถึงสิ่งนี้ เสมือนมีพ่อท่านอยู่ด้วย จะได้เกิด หิริโอตตัปปะ งดเว้นอกุศลเหล่านั้น มิให้เกิดขึ้น เพราะคำว่า ผมนั้น คือ สรรพนาม บุรุษที่ ๑ จึงหมายถึงคำเรียกตัวพ่อท่านเอง ผมจึงเป็นสิ่งแทนทั้งรูป คือส่วนหนึ่ง ของ สรีระพ่อท่าน และนาม คือ "ผม, ฉัน, ข้าพเจ้า" อันคือ พ่อท่านด้วย เนื่องด้วยพ่อท่านได้ปลูกฝังให้เกิด สัมมาทิฐิ สอนเทวนิยมและอเทวนิยมกับลูกๆชาวอโศกมามาก จึงเห็นควรทำสิ่งนี้ ให้เกิดผล ทางจิตวิญญาณ เสริมการปฏิบัติธรรมด้วย โดยเชื่อว่า ลูกๆชาวอโศก ที่ได้สิ่งนี้ไป จะไม่เอาไปใช้อย่างเทวนิยม หรือหลงเป็น ของขลัง มีฤทธิ์เดช ช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน ทำมาค้าขึ้น เมตตามหานิยม หรือ เอาไปใช้ ในการอ้อนวอนขอโน่น ขอนี่ อย่างที่ทั่วไป เขาใช้วัตถุมงคลกัน เพื่อผลตามแบบเทวนิยมนั้น จึงไม่ได้คิดแจกคนทั่วไป ที่ยังไม่มีสัมมาทิฐิ แต่ก็จะมียกเว้นบ้างสำหรับผู้เคยร่วมงาน ต่างๆกันมา เพื่อนๆที่รู้จักพ่อท่านเป็นส่วนตัวมาก่อน ผู้สนิทชิดเชื้อ หรือกรณีพิเศษ อื่นใด ที่พ่อท่านจะพิจารณา เป็นรายๆไป แม้กับชาวอโศกเอง ที่หลงๆไปแล้ว ด้วยวัยความชรามาเยือน เดินเหินลำบาก ที่สำคัญไม่รู้กุศลอกุศลอะไรเป็นอะไรแล้ว พ่อท่าน ก็เห็นว่า ไม่ควรแจกให้ เพราะผลทางจิตใจไม่เกิด ให้ไปก็ไม่รู้เรื่องอะไร ลูกๆ หลานๆ ของชาวอโศก ผู้ชรานั้นก็ไม่ได้เป็น ชาวอโศกด้วย ไม่ได้เข้ามาชิดใกล้ ในแวดวง ชาวอโศก แม้บ้านจะอยู่ใกล้ก็ตาม มีผู้สงสัยว่าพ่อท่านได้เก็บรวมรวมเส้นผมที่ปลงไว้เองหรือ คำตอบคือ ใช่ แล้ว ให้ปัจฉาสมณะ เช่น สมณะชัดแจ้ง วิจักขโณ สมณะ หนักแน่น ขันติพโล เป็นผู้เก็บรวมรวม รักษาไว้ โดยที่ตอนนั้น ก็ไม่ได้คิดมาก่อน ว่าจะมีการทำของที่ระลึกอย่างนี้ เพียงแต่ พ่อท่านคิดว่า เป็นสิ่งหนึ่ง ที่น่าจะทำประโยชน์ได้ในอนาคต อีกคำถามหนึ่ง พ่อท่านเอาเวลาที่ไหน ไปบรรจุเส้นผมลงในกระบอก คำตอบคือพ่อท่านไม่ได้ทำเอง ไม่มีเวลามานั่งทำ เรื่องอย่างนี้ สมณะหนักแน่น ขันติพาโล เป็นผู้ บรรจุเป็นหลัก ในช่วงแรกๆมีสมณะชัดแจ้ง มาช่วยบ้าง ก่อนงานอโศกรำลึก ผู้เขียนเป็นกังวลว่าการแจกในงานอย่างนี้ จะกันคนนอก ที่ไม่ใช่ญาติธรรม ไม่ให้ผสมโรง เข้ามารับด้วย ได้ยาก เพราะสถานที่เปิดโล่ง คนทั่วไป ผ่านไปได้ง่าย ยิ่งมีงานเทศกาล อย่างนี้ มี อาหารแจกหลากหลาย อีกทั้งสิ่งของ ที่แจก ก็ดูมีราคา สวยงามก็สวยไม่แพ้เครื่องประดับมีราคา เป็นใครก็อดใจยาก แม้แต่เด็กๆ เล็กๆข้างซอย ก็จะเข้ามาขอรับด้วย ถ้าเข้ามาขอรับ จะปฏิเสธก็ยากแล้ว จะใช้คำพูดอย่างไร ไม่ให้เสียความรู้สึก จึงได้เสนอว่า น่าจะมีการออกบัตร จากฝ่าย ลงทะเบียน ผู้มาร่วมงาน แล้วให้ฝ่ายทะเบียน ซักถาม ถ้าไม่คุ้นหน้า ส่วนญาติธรรม ก็ออกบัตรให้ รับรองว่า ได้ผ่านการ ลงทะเบียนแล้ว และนำบัตรนี้ มาแสดง เพื่อขอรับของที่ระลึกจากพ่อท่าน ก็จะช่วยควบคุมได้ ส่วนคนที่ยังไม่ใช่ ญาติธรรม ท่าที ดูยังไม่เข้าใจอะไรนัก ไม่สมควร ที่จะได้รับของที่ระลึก ก็ให้ลงชื่อมาร่วมงานธรรมดา พ่อท่านก็เห็นด้วยที่ควรจะมีวิธีการคัดเลือก แต่ให้ข้อคิดว่า อย่าทำให้ดูรู้สึกว่ายุ่งยาก ขั้นตอนมาก ให้ดูเป็นกันเองง่ายๆ เหมือนลูกกับพ่อ ที่อบอุ่น ผู้เขียนได้ฝากเรื่องนี้ให้หลายคนช่วยคิดวิธีการ คุณแซมดินเสนอว่าให้แจกเป็นเวลา เฉพาะหลังทำวัตรเช้าและค่ำ ซึ่งจะไม่ค่อย มีคนนอก ส่วนทางด้านสมณะหลายรูป ไม่ได้คิดเสนออะไร มีสองรูป ที่เสนอให้ปล่อยฟรี ด้วยเหตุผลว่า คนนอกจะเข้ามารับ ก็คงไม่กี่ราย ผู้เขียนไม่มีเวลาไปคิด หรือจัดวิธีการอะไรได้อีก เพราะแค่งาน ที่ทำอยู่ ก็จะไม่ทันอยู่แล้ว จึงปล่อยให้มันเป็นไป โดยธรรม เมื่อถึงเวลางานจริงๆ พ่อท่านเลือกที่จะแจกในช่วงฉันอาหารเป็นหลัก เวลาอื่นมีแจกบ้างแต่น้อย แม้จะมีเสียงท้วงว่าดู ไม่งาม สายอนุรักษ์ จะถือสาได้ แต่พ่อท่าน ไม่ได้ให้ความสำคัญ กับเรื่องใครจะศรัทธา หรือจะเสื่อมศรัทธา เพราะเหตุนี้นัก บอกเพียงว่ าเวลาอื่นมันไม่เหมาะ และไม่มีเวลาให้ แจกในห้อง อย่างนี้แหละ คนจะได้ไม่กรูเกรียว ประเจิดประเจ้อเกินไป วันนั้นคนที่มาเข้าคิวรอรับของที่ระลึกแถวยาวสองแถว ตั้งแต่บันไดไปจนถึงประตูทางออก ข้างห้องศูนย์ฝึกอบรม จะด้วยเพราะ กลัวของหมด หรือศรัทธามาก หรืออย่างไร ก็สุดจะบรรยาย เข้าใจว่า บรรยากาศมันชวนใจ ให้เข้าแถวด้วย ขนาดชาวปฐมอโศก รู้อยู่แล้วว่า จันทร์ ๑๓ มิ.ย. พ่อท่านจะไป ปฐมอโศก และจะไปแจกที่นั่นด้วย ก็ยังอุตส่าห์มาเข้าแถว รอเหมือนกัน เขาบอกว่า เข้าแถวรออย่างนี้ มันได้บรรยากาศ ดี อีกรายรีบบึ่งรถจากโคราชมา เพื่อจะรับ และที่รีบขึ้นรถโดยสารจากอุบลฯ มาก็มี ที่โทรศัพท์ บอกกัน ปากต่อปาก ถึงคนที่ตนรู้จัก แล้วยังไม่ได้มา เพื่อแจ้งชวนกัน ให้รีบมารับก็มาก บ้างก็ไปขนกันมา ทั้งครอบครัว ยกโขยง กันมา ทั้งอุ้มลูกจูงหลาน ลูกเด็กเล็กแดงแบเบาะอยู่ ก็ยังอุตส่าห์อุ้มเอามาขอรับด้วย บ้างก็ขอจะรับ แทนคนที่ตนรู้จัก แรกๆ พ่อท่าน ใช้มาตรการเข้ม ไม่อนุโลมให้รับแทนกันได้ ต่อมาก็อนุโลมให้รับแทนได้ สำหรับรายที่เดินไม่ไหวแล้ว และรู้จักเท่านั้น พ่อท่านตำหนิสมณะที่ได้ไปเที่ยวชักชวนญาติโยมที่ใส่บาตรให้มารับ รวมทั้งญาติธรรมที่ได้ไปชักชวนใครต่อใคร ซึ่งยังไม่คบคุ้น รู้จักมักจี่ กันเท่าไรนัก เพิ่งจะรู้จัก เขาเพิ่งจะสนใจปฏิบัติธรรม ก็ไปลากจูง ชวนกันมารับ ของนี้อาตมาต้องการแจก ให้กับลูกๆ ชาวอโศก ไม่ใช่แจกดาษดื่น กับใครก็ไม่รู้ แรกทีเดียวพ่อท่านตั้งใจว่าจะทยอยแจกทั้งปี ๗,๒๐๐ ชิ้นนี้ แต่มาถึงวันนี้หมดไป ๔,๓๓๑ ชิ้นแล้ว ญาติธรรมต่างจังหวัด ที่ยังไม่ได้รับ อีกก็มาก เข้าใจว่าไม่ถึงเข้าพรรษาจะหมดเสียก่อนกระมัง ถ้าขืนแต่ละคนไปบอกใครต่อใคร มารับกันอย่างนี้อีก หมดเร็วแน่ เมื่อพ่อท่านมาปฐมอโศก ผู้เขียนเองก็ไม่ได้บอกญาติพี่น้อง ซึ่งเขาก็มีศรัทธา พี่สาวออกจากอาชีพครู แล้วไปช่วยที่ร้าน มรฐ. อยู่บ้าง ส่วนพี่ชาย น้องสาว ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไร แต่ก็มีศรัทธา สำหรับญาติผู้ใหญ่คนอื่นๆ ก็ห่างแล้ว แม้จะปฏิบัติธรรมอยู่ แต่ก็ไปศรัทธาอื่น มากกว่า โยมน้าที่ได้ถวายที่ดิน ปฐมอโศก ให้ผืนแรก แต่ก็ห่างไป ญาติเหล่านี้ ผู้เขียนไม่ได้บอกใครเลยสักคน ในอนาคต ถ้าจะมีกลุ่มธุรกิจเข้ามาปั่นราคา ของที่ระลึกนี้ เหมือนกับที่ได้มีการปั่นราคา พระเครื่องรุ่นต่างๆ แล้วโฆษณากัน ว่าเหนียว ว่าขลังต่างๆนานา พ่อท่านแช่งไว้ล่วงหน้าแล้ว. |
||
พ่อท่านให้เฉพาะลูกๆที่มารับเอง ๒ นักษัตรของงานอโศกรำลึก บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ครั้งที่ ๒๔ ณ พุทธสถานสันติอโศก ระหว่างวันที่ ๙-๑๒ มิ.ย.๔๘ ๖ มิ.ย. นร.สัมมาสิกขาชาวอโศก ชั้น ม. ๕ เข้าห้องเรียนบูรณาการเตรียมงานอโศกรำลึก ๗ มิ.ย. ประชุมสมณะมหาเถระที่พระวิหารชั้น ๒ มีสมณะมหาเถระเข้าร่วมประชุม ๒๗ รูป จากจำนวน ๓๓ รูป สมณะมหาเถระ รูปสุดท้าย คือสมณะร่มเมือง ยุทธวโร ๘ มิ.ย. สัมมนาคุรุชาวอโศกที่พระวิหาร ชั้น ๒ ปีนี้โรงบุญมังสวิรัติจัดที่บริเวณลานทรายตึกแดงและหน้าห้องเครื่องมือ และเปิดบริการ ๒ ช่วง คือ ๐๖.๐๐-๐๙.๐๐ น. เพื่อให้ ผู้มาร่วมงาน และผู้มาร่วมแจกโรงบุญ ได้มีโอกาสฟังธรรม และเปิดอีกช่วง คือ ๑๑.๐๐-๑๕.๐๐ น. มีผู้มาร่วมแจกโรงบุญ ๙๐ กว่าร้าน โดยบางร้านแจกตลอดทั้ง ๔ วัน บางร้านแจก ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ วัน หมุนเวียนกันไป สำหรับผู้มาลงทะเบียนจะได้รับแจกหนังสือจากบริษัทฟ้าอภัยซึ่งพิมพ์ถวายเป็นปิตุบูชา ๔ เล่ม คือ ประนีประนอมด้วย นานาสังวาส, พุทธเป็น อเทวนิยมอย่างนี้, เนื้อแท้เนื้อธรรมของมหาเถรสมาคมกับสันติอโศก, ปฏิบัติธรรมคืออะไร และ เท็ปธรรมะ สำหรับ ลูกอโศกพันธุ์แท้ ที่มาร่วมงาน จะได้รับของที่ระลึกจากพ่อท่าน คือ หยาดน้ำใจ พระโพธิสัตว์ จากมือ พ่อท่านโดยตรง ซึ่งมีเพียง ๗,๒๐๐ อันเท่านั้น ปรากฏว่ามีญาติธรรมมารับไปในช่วงงานมากถึง ๕ พันกว่าอันแล้ว สำหรับสถานที่พักในงานอโศกรำลึก แม้ว่าชุมชนสันติอโศกจะได้ชื่อว่ามีพื้นที่น้อยกว่าพุทธสถานอื่นๆ แต่ก็จัดที่พักไว้ต้อนรับ พี่ๆน้องๆ จากชุมชนต่างๆไว้เต็มพื้นที่ทุกตารางนิ้ว ดังนี้ สมณะ พักที่กุฏิ, โบสถ์, สัปปายะชาย, ฟ้าอภัยเก่าชั้น ๔, ๕ และที่มูลนิธิ เพื่อนช่วยเพื่อน ฝ่ายชายพักที่ ศาลา วิหาร, ชมร. นร.ชาย พักที่ตึก สัมมาสิกขาชั้น ๔, ๕ และดาดฟ้า ฝ่ายหญิงพักที่ ตึกขาว-ตึกนวล, ดาดฟ้า ตะวันงาย ๑, ๒, กู้ดินฟ้าชั้นบน, แด่ชีวิต ๑ ห้อง, ฟ้าอภัยชั้นล่าง, ตึกสัมมาสิกขาชั้นล่าง, ใต้โบสถ์ และ ศาลาฟังธรรม นร.หญิง พักที่ตึกนวล ชั้น ๓, ๔, ๕, ๖, ห้องสมุด, ห้องพักคุรุ, บ้านป้าเสน่ห์ สำหรับรายการในแต่ละวันมีดังนี้ ๙ มิ.ย. หลังจากนั้น นร.สัมมาฯปฐมอโศกร้องเพลงพญาแร้งถวายเป็นปิตุบูชา และตามด้วยรายการแสดงบนเวที โดยวงฆราวาส ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น. ฟังบรรยาย โครงการอบรมสมาชิกแกนนำระดับพื้นที่ พรรคเพื่อฟ้าดิน สาขาลำดับที่ ๑๐ (สาขาบึงกุ่ม) เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ" โดย ผช.รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คุณสุนัย เศรษฐบุญสร้าง ดำเนินรายการ โดย อ.จรัสเรือง ศิริวัฒนรักษ์ ๑๘.๐๐ น. ยัญพิธีศักดิ์สิทธิ์บูชา พระบรมสารีริกธาตุ บนพระวิหาร เสร็จแล้วชมภาพยนตร์ข่าวเด่นประจำปี เช่น การขนเรือยักษ์ครั้งล่าสุด ที่มี อาสาสมัครร้อยกว่าชีวิตร่วมกันผนึกกำลัง, คุณหญิง สุดารัตน์ เป็นประธานงานพ.ฟ.ด. ที่ราชธานีอโศก, ซับขวัญชาวใต้ ผู้ประสบภัย คลื่นสึนามิ ที่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และ ชมผลงานของ นร.สัมมาสิกขาศาลีฯ, ชุมชนภูผาฯ และบ้านราชฯ ๑๐ มิ.ย. ๑๑ มิ.ย. รายการสาระบันเทิงบนเวที ๑๒ มิ.ย. ผู้มาร่วมงานได้ให้สัมภาษณ์ ดังนี้ น.ส.ฝากฝน หมายยอดกลาง วังน้ำเขียว "ได้ประโยชน์ในการปลุกจิตวิญญาณ เติมพลังจากพ่อท่าน เพื่อจะได้สานงาน ด้านศาสนา สังคม ได้ประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน เพราะเราเป็นลูกไกลพ่อ มาร่วมงาน แต่ละปี จะได้อะไรใหม่ๆตลอด จะเก็บประโยชน์ตน ให้มาก ชอบรายการอธิษฐาน ปฏิญาณ ทั้ง ๒ วัน ทำวัตรเช้า และก่อนฉัน รายการอื่นๆ ก็ดีมาก ที่ทุกคนแสดงออก บรรยากาศแบบอโศก น่ารักและดูดี ตามประสาเรา ประทับใจพ่อท่าน ที่ให้เวลา กับลูกๆตลอด ตั้งแถวรอรับหยาดน้ำใจ ช่วงพิธีบูชาพ่อ จะน้ำตาคลอ ตั้งใจ สืบสานงาน พ่อท่านทุกชาติ จะปฏิบัติตน ให้ถึงเป้าหมาย ให้ถึงความหลุดพ้นในที่สุด" นางหนึ่งในธรรม บุญยัง ภูผาฟ้าน้ำ "ในงานมีองค์ประกอบครบพร้อมทางจิตวิญญาณ มีการประชุมทุกหน่วยงานของ บุญนิยม ได้ฟังแนวคิด ในการพัฒนาชุมชน ในการประชุมคณะกรรมการพรรคเพื่อฟ้าดิน จากพ่อท่าน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน โดยทำตน ให้เป็น คนจนมหัศจรรย์" นายจันทร์แดง ฐานะ ม.วช.ปฐมอโศก "ผมปลื้มใจได้เห็นพ่อท่านแจกของที่ระลึก ได้ฟังเทศน์พ่อท่าน และลูกหลาน ชาวอโศก มากันเยอะ ตารางงานดูเหมาะสมดี โรงบุญเปิดเป็นเวลา มีระเบียบ ประทับใจรายการ บูชาพระบรมสารีริกธาตุและบูชาพ่อ ผมตั้งใจมา แม้ว่าสุขภาพ จะไม่ค่อยดี ก็ค่อยๆปีนบันไดขึ้นไป ผมตั้งใจ จะอยู่ทำงาน กับชาวอโศกตลอดไป" น.ส.สกุลเดือน สอนศูนย์ ม.๖ สัมมาสิกขาปฐมอโศก "ได้ช่วยงานล้างหาง เพื่อนๆที่ปฐมฯ มาช่วยหมดโรงเรียน ที่ล้างจาน จะยุ่ง เพราะคนข้างนอก มาร่วมงานเยอะ ต้องขยันบอกและเราต้องทำให้เรียบร้อยไว้ตลอด ประทับใจรายการบูชาพระบรมสารี ริกธาตุ หนูตั้งใจ จะทำตัวเป็นรุ่นพี่ที่ดี" นายหินทอง ดีรัตนา กทม. "โรงบุญจัดระบบได้ดีมาก เป็นเวลา อาหารไม่เหลือเยอะ คนทำงานก็ไม่เหนื่อย บางคนก็ได้ฝึก ไม่กินมื้อเย็น ต้องขอบคุณ ทีมขยะ ทีมล้างจาน ทำงานได้ดีมาก อยากให้ยัญพิธี กับพิธีกรรม อย่าต่อเนื่องกัน อาจเว้นวรรคบ้าง" นายตายจริง ชาวหินฟ้า รปภ. "ช่วยเตรียมงานเป็นปีที่ ๔ ร่วมกับทีม ม.วช. การเตรียมงานค่าย ม.๕ น้องๆรับผิดชอบดี ปีนี้ทำงาน ได้ลงตัว โรงบุญอาจคับแคบ ก็แก้ปัญหาโดยประกาศให้ญาติธรรมทยอยมา เวทีก็ราบรื่น แต่ใต้ศาลา ยังขาดคนจัดระเบียบ การนั่ง ทำให้นั่งได้น้อย งานนี้ตั้งใจ ไม่โกรธ ไม่ถือสา ใช้สูตรยิ้มได้ทุกทิศ คือลูกศิษย์พระโพธิรักษ์" พ.จ.อ.หลักบุญ ไชยคุณ ราชธานีอโศก "เป็นงานภายใน เรียบง่าย ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก อบอุ่นเป็นกันเองดี ขอบคุณ ที่จัดรถไปรับ ที่สถานีรถไฟดอนเมือง ยัญพิธีดูขลัง ประทับใจพิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุและปิตุบูชา ข้อเสนอแนะ จุดบริการน้ำดื่ม ถังเล็กไปน้ำไม่พอดื่ม, โรงบุญ อาหาร มากพอเพียง ค่อนข้างแออัดยัดเยียดแต่ก็พอเป็นไป จัด ๒ เวลาดีแล้ว, ห้องน้ำ-ห้องส้วม สะอาดดี, สถานที่ฟังธรรม ต้นเสาเยอะ มองไม่เห็น ผู้แสดงธรรม ควรมี โทรทัศน์วงจรปิด วางไว้ให้ทั่วถึง มางานนี้ได้ตื่นมาทำวัตรทุกวัน และได้เข้าร่วมประชุมพรรคการเมือง ญาติธรรมมาร่วมงานเยอะมาก อบอุ่น ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน เป็นวันพบญาติ รวมญาติกันจริงๆ" น.ส.มิ่งเมฆแก้ว แช่มช้อย ศิษย์เก่าปฐมอโศก "มาร่วมงานเกือบทุกปี ตั้งใจแน่วแน่เลยคือจะกินมังสวิรัติตลอดไป และจะพยายาม มาวัดให้บ่อยที่สุด" น.ส.รอยรักธรรม มหาปิยศิลป์ นครปฐม "ได้ร่วมกิจกรรมปิตุบูชา ประทับใจมาก และการแสดงธรรมของพ่อท่านเรื่อง ทิฏฐิ ๑๐ ดีมากๆ รูปแบบงาน ค่อนข้างลงตัว โดยเฉพาะโรงบุญแจกเป็นเวลา ทำให้ผู้มาร่วมงาน ได้อานิสงส์ ในการฟังธรรม ด้วย ปีนี้ญาติธรรม จากจังหวัดต่างๆ มาร่วมงานกันมาก ตั้งใจว่า จะขอเป็นลูกพ่อท่าน ให้ดีที่สุด" นางประภาพรรณ ประชาโชติ จ.เลย "อยากมาอยู่กับหมู่กลุ่ม แต่ยังใช้วิบากไม่หมด ศาลาวิหารก็ยังไม่เสร็จ ยังไม่ได้ช่วย พ่อท่านเลย เหมือนอกตัญญู เอาตัวเองให้รอด จะหลุดจากการเป็นลูกพ่อค่ะ โรงบุญเป็นระบบขึ้น ประทับใจ รายการ ปิตุบูชา และ การแสดงของชุมชนต่างๆ" ด.ช.ทศพล คูณทัน กทม. "ผมอยู่ใกล้วัด มาร่วมงานที่นี่ ชอบตรงที่มีไอติมและน้ำแข็งไส อร่อยครับ ผมมีเพื่อนใหม่หลายคน นิสัยก็ดี ผู้ใหญ่ที่นี่ใจดี ไม่ดุ ผมชอบปีนก้อนหิน ต้นไม้ ที่นี่มีที่วิ่งเล่น บ้านผมแคบ ห้องเล็กๆ" ด.ช.กุ้ยช่าย ศาสตรทรัพย์ ตะวันงาย ๒ "แม่กับพ่อมาแจกขนมกุ้ยช่าย ผมชอบกินก๋วยเตี๋ยวอาซ้อ, น้ำแข็งไส". |
||
กว่า ๙๘.๕ ล้านไร่ หรือร้อยละ ๗๕ ของพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศกำลังประสบปัญหาภาวะเสื่อมโทรมของดิน ที่เกิดจาก การเร่งแข่งขัน ด้านการผลิต โดยอาศัยปุ๋ยเคมี และยากำจัดศัตรูพืชที่หาง่ายใช้ง่าย โดยมิได้คำนึงถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ อากาศ และสิ่งมีชีวิตในวัฏจักร รวมถึงมนุษย์ ในฐานะผู้บริโภค # หยุดสารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน # อำเภอบางสะพาน แหล่งผลผลิตปลอดสารพิษ # ๗๐ หมู่บ้านบางสะพานร่วมรักษ์สิ่งแวดล้อม นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในการร่วมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมพัฒนาคุณภาพชีวิต
ที่ดีขึ้น ของชุมชน และยังสะท้อนให้เห็นถึง ศักยภาพเกษตรกรไทย จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
ที่ไม่ก่อผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม. |
||
สมณะเดินดินนำ นิสิตม.วช. ตั้งสัจจาธิษฐานที่ริมมูล
กตัญญูต่อครูบาอาจารย์ สีประจำสถาบัน คือ สีน้ำตาล และ
สีขาว สีน้ำตาลหมายถึงแผ่นดิน สีขาวหมายถึงศาสนา ปัจจุบัน สัมมาสิกขาลัยวังชีวิต มีคุรุ ๒๔ คน นิสิต ๒๐๔ คน แบ่งออกเป็น
๖ วิชชาเขต คือ สำหรับปีการศึกษา ๒๕๔๘ มีนิสิตใหม่ที่ผ่านการสัมภาษณ์แล้วจะเข้ารับเข็มและบัตรประจำตัวนิสิตจากวิชชาธิบดี
ทั้งหมด ๓๗ คน ชาย ๑๐ คน หญิง ๒๗ คน จาก ๖ วิชชาเขตดังต่อไปนี้ งานโฮมไทวัง'๔๘ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓-๕ มิถุนายน ณ สัมมาสิกขาลัยราชธานีอโศก
กิจกรรมมีดังนี้ *** วันที่ ๔ เวลา ๑๘.๓๐ น. รายการเอื้อไออุ่นกับพ่อท่าน ณ ชั้นล่างตึกศูนย์สูญ มีผู้เข้าร่วมฟังประมาณ ๕๐๐ คน *** วันที่ ๕ ในวาระสำคัญก่อนครบรอบ ๗๒ ปี พ่อท่าน นิสิตและญาติธรรมที่มาร่วมงานได้ร่วมตั้งสัจจาธิษฐานถวายเป็น ปิตุบูชา ณ ริมแม่มูล โดยมีสมณะ เดินดิน ติกขวีโร เป็นผู้นำกล่าว คำปฏิญาณ หลังจากนั้น ฟังการแสดงธรรม จากพ่อท่าน ก่อนจะเข้าสู่พิธี มอบเข็ม กับบัตรประจำตัว นิสิตใหม่ ที่ตึกศูนย์สูญ ในเวลา ๐๘.๐๐ น. หลังจากพิธีรับมอบเข็มและบัตรนิสิต เป็นช่วงเวลาของทุกคนที่มาร่วมงาน จำนวนประมาณ ๘๐๐ คน รับมอบของที่ระลึก จากพ่อท่าน ซึ่งมีชื่อว่า "หยาดน้ำใจของพ่อ" เป็นจี้เงิน รูปใบโพธิ์ ตรงกลาง มีช่องว่าง เป็นรูปหัวใจ และมีจี้เล็กๆ รูปหยดน้ำ บรรจุเส้นผม ของพ่อท่าน อยู่ตรงกลาง บรรยากาศอบอุ่นไปด้วยลูกหลาน ของพระโพธิสัตว์ ตั้งแต่วัยทารก จนถึงผู้อายุยาว ทุกคนที่ได้รับของ ที่ระลึก จะลงชื่อ ตัวบรรจงในสมุด หลังจากนั้น พ่อท่านได้แสดงธรรม จนถึงเวลา ๑๐.๓๐ น. รับประทาน อาหาร ที่ศาลาเพิงกัน แล้วเดินทางกลับ นิสิตใหม่และญาติธรรม ที่มาร่วมงาน ให้สัมภาษณ์ดังนี้ นิสิตปริญญา(เย็นไท) ฐานะ วิชชาเขตปฐมอโศก นิสิตใหม่ ใบเพียร ชาวหินฟ้า อายุ
๔๒ ปี วิชชาเขตศีรษะอโศก นิสิตใหม่ อาริยะ อาริยเมตไตรย์ อายุ
๓๙ ปี สัมมาสิกขาราชธานีอโศก นิสิตเข็มทอง (จุนเจือ) เดชพร อายุ
๖๕ ปี วิชชาเขตสีมาอโศก นิสิตประกายบุญ รักพงศ์อโศก อายุ
๔๒ ปี วิชชาเขตศาลีอโศก นิสิตใหม่สุวภาพ เพชรสุข อายุ ๓๖
ปี วิชชาเขตสันติอโศก คุรุใบลาน นาวาบุญนิยม คุรุสัมมาสิกขาลัยวังชีวิตราชธานีอโศก นายกลางเมือง เวียงแก้ว อายุ ๕๗
ปี ญาติธรรมกลุ่มอุบลอโศก |
||
คำปฏิญาณ เนื่องในวันครบรอบ ๗๑ ปีของพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ และบัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็ได้พึ่งพาอาศัยสมณพราหมณ์ผู้นั้น คือ พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ ผู้นำสัมมาปฏิบัติ จนส่งผลให้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เกิดแสงสว่างในชีวิต มีสัมมาทิฐิ ๑๐ และสัมมามรรค สัมมาผล ตามธรรมสมควรแก่ธรรม เกือบตลอดชีวิตของการกอบกู้ศาสนาที่ผ่านมา พ่อท่านได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ด้วยเลือดทุกหยด และเหงื่อทุกหยาด เพื่อประโยชน์และความสุข ของมวล มนุษยชาติมาตลอด จวบจนวาระสำคัญ ในโอกาสนี้ ที่พ่อท่านจะมีอายุครบรอบ ๗๒ ปี ข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นลูกๆ ที่ได้ถือกำเนิดทางจิตวิญญาณ ขอปฏิญาณตนร่วมกันว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะขยันหมั่นเพียร ตั้งใจศึกษา ฝึกฝนอบรมตน ให้เกิดมรรคเกิดผลยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยความไม่ประมาท ในโทษภัย แม้มีประมาณน้อย พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย จักสมัครสมานสามัคคี ด้วยการปฏิบัติตามสาราณียธรรม
๖ คือ และให้เข้าถึงคุณธรรมตาม พุทธพจน์ ๗ ได้แก่ และสุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งสัจจาธิษฐานว่า ถ้าหากข้าพเจ้าทั้งหลาย จะต้องเกิดมาอีกกี่ชาติกี่ชาติก็ตาม ขอได้มีโอกาสมาร่วมบุญบารมี กับพ่อท่าน ในทุกๆ ชาติ เพื่อให้เข้าถึงในสิ่งที่ยังไม่ได้เข้าถึง เพื่อให้ได้บรรลุในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อเป็นธรรมทายาทแบ่งรับมรดกธรรม ที่พ่อท่าน ได้รับสืบทอดมาจากองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะได้ช่วยกันทุ่มเทแรงกายแรงใจ
อุทิศชีวิตที่เหลือนี้ ให้กับพระศาสนา ให้ได้มากที่สุด เท่าที่ข้าพเจ้าแต่ละคน
จักทำได้ สัจจาธิษฐานของข้าพเจ้าทั้งหลาย จะเกิดจริงเป็นจริง ก็ด้วยการเอาจริง
เพราะผู้ที่จะบรรลุความจริงได้นั้น ต้องเอาจริง สาธุ. |
||
คำถามนี้ดูออกจะเป็นคำถามที่กวนๆ แต่น่าคิดนะคะ "คุณหายใจเป็นหรือไม่" เพราะจริงๆ แล้วทุกคนก็หายใจกันอยู่จนถึงวันนี้ ไม่เช่นนั้นคุณก็จะไม่มีโอกาสได้อ่านคำถามนี้ แต่จะเคยมีใครคิดบ้างไหมว่า การหายใจเข้าออกตลอดเวลาจนเป็นอัตโนมัตินั้น ยังไม่ดีพอยังมีการหายใจที่ดีกว่านี้อีก ลองสังเกตตัวเองว่า การหายใจเข้าครั้งหนึ่ง แล้วออกครั้งหนึ่ง อากาศที่เข้าไปทั้งหมดได้ออกมาหมดหรือเปล่า? หลายท่าน คงบอกว่าหายใจเข้าไปเท่าไรก็หายใจออกเท่านั้น แต่ถ้าท่านลองสังเกตจริงๆ จะเห็นว่าอากาศที่หายใจออก ไม่ใช่อากาศ ชุดเดียวกับ อากาศที่หายใจเข้า ทั้งหมด ทดสอบได้โดยเมื่อเราคิดว่า หายใจออกตามปกติหมดแล้ว เรายังสามารถ ใช้แรง บังคับให้หายใจ ออกต่อได้อีก ปรากฏว่าเราทำได้ และเห็นเอง ว่ายังมีอากาศส่วนหนึ่ง ยังเหลืออยู่จริงๆ ดังนั้นถ้าเราหายใจตามปกติตามสบาย อากาศเสียที่เหลืออยู่จากการหายใจออก ไม่หมดครั้งก่อน จะคลุกเคล้ากับอากาศดี ที่เราหายใจเข้าไป ครั้งใหม่ ทำให้ความบริสุทธิ์ของอากาศที่หายใจเข้าไปใหม่ลดลงซึ่งไม่เป็นผลดีเลย จึงทำให้เกิดข้อคิดว่า ถ้าเช่นนั้น เรามาฝึกหัด การหายใจเสียใหม่จะดีไหม? โดยหายใจออกใ ห้มากที่สุด พยายามบังคับ ให้อากาศเสีย ออกไปให้หมด หรือ เหลืออยู่น้อยที่สุด เพื่อว่าตอนหายใจเข้า ปอดของเราจะได้แต่อากาศดีๆ และนำอากาศที่ดี ไปใช้ให้ได้มากที่สุด จึงจะเป็น การหายใจ อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด นี่แหละจึงจะเรียกว่าหายใจเป็น การฝึกหายใจ เข้าออกให้หมดนั้นอาจนอน หรือนั่ง ในท่าสบายๆ หรือยืนทำก็ได้ ถ้าฝึกทำเป็นประจำจะดีต่อร่างกายของเรามากเลยนะคะ จะเห็นว่าหลังจากการฝึก ๒-๓ วัน เส้นเลือดดำตามที่ต่างๆ ของร่างกายเราจะดูขาวสะอาดขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจาก เลือดของเรา สะอาดขึ้น เกิดจากการเผาผลาญ เซลล์ที่ตาย ทิ้งไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผิวพรรณก็จะสดใส ร่างกายก็จะแข็งแรง คงไม่ต่างอะไรกับคนปฏิบัติธรรมเป็น การพยายามหายใจออกให้มากที่สุดนั้น ก็เหมือนกับการพยายามเอากิเลสออกจากใจ ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เช่นกันนะคะ เหมือนกับ เป็นการชำระจิตใจ ให้สะอาด ส่วนการหายใจเข้าให้ลึกที่สุด และยาว ที่สุดนั้น ก็เหมือนกับ การซึมซับ เอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเข้าไว้ในจิตใจ ให้มากที่สุด จิตใจก็จะสะอาด แข็งแรง และตั้งมั่น การปฏิบัติธรรม ก็จะยาวนาน ค่ะ การปฏิบัติทั้งการหายใจที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องจะทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจของเรามีความสุข ควบคู่กันไป นี่แหละค่ะ...ผลของการหายใจเป็น. - กิ่งธรรม - |
||
ผวจ.สิงห์บุรีร่วมชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน
จัดงาน สิงห์บุรี พลิกฟื้นผืนแผ่นดิน ชมรม เพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกับทางจังหวัดสิงห์บุรี จัดงาน "สิงห์บุรีพลิกฟื้นผืนแผ่นดิน" โดยมี ฯพณฯ รมว.เกษตรและสหกรณ์ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานเปิดงาน ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกับทางจังหวัดสิงห์บุรี จัดงาน "สิงห์บุรีพลิกฟื้นผืนแผ่นดิน" โดยมี ฯพณฯ รมว.เกษตรและสหกรณ์ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ ๓ มิ.ย.๔๘ จังหวัดสิงห์บุรี โดยการนำของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี นางจุฑามาศ ประทีปะวณิช ได้จัดงานวัน สิงห์บุรีพลิกฟื้นผืนแผ่นดิน โครงการ วันข้าวอินทรีย์ และผลิตพืช อาหารปลอดภัย ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี งานเริ่มต้นด้วยการเสวนาเรื่อง "จะพัฒนาเกษตรอินทรีย์กันได้อย่างไร" มีผู้ร่วมเสวนาหลายท่าน คือ นายชินกร ไกรลาส ศิลปินแห่งชาติ, ลุงบุญปลูก ศรีบุญโฮม (ลุงเล็ก ชาวนาจากขอนแก่น), สมณะเสียงศีล ชาตวโร จากชมรม เพื่อนช่วยเพื่อน, รอง ผวจ.สิงห์บุรี นายวีระศักดิ์ อนันตมงคล,นายคณิต ม่วงนิล จากคิวเซ โดยมี นายศักดิ์ณรงค์ อุตสาหกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ พอถึงเวลา ๑๐.๓๐ น. ฯพณฯ รมว. เกษตรและสหกรณ์ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เดินทางโดยเฮลิคอบเตอร์ มา เป็นประธาน ทำพิธีเปิด มีท่าน ผวจ.สิงห์บุรี เป็นผู้ต้อนรับ และรายงานประธานทราบ เวลา ๑๑.๐๐-๑๑.๓๐ น. นายชินกร ไกรลาส ศิลปินแห่งชาติ ทำพิธีทำขวัญข้าว จากนั้นเกษตรกรลงนาม เจตนารมณ์ ในสัญญาสัตยาบันการผลิตข้าวอินทรีย์ ต่อผู้ว่าราชการ จังหวัดสิงห์บุรี โดยมี ฯพณฯ รมว. เกษตร และสหกรณ์ เป็นพยาน หลังจาก นั้นเวลา ๑๑.๓๐-๑๒.๐๐ น. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรและสหกรณ์, ผวจ.สิงห์บุรี,เกษตรกร และ ข้าราชการ ร่วมหวานข้าวในทุ่งนา จากนั้นได้เยี่ยมชมกิจการการสาธิต นิทรรศการของภาคเอกชนและส่วนราชการที่มาร่วมงาน ในงานนี้มีเกษตรกรมาร่วมงานประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ คน เบื้องหลังความสำเร็จของงานนี้ก็คือ ท่านพลตรีจำลอง ศรีเมือง ท่านได้ไปร่วมเปิดอบรม โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย ของจังหวัดสิงห์บุรี รุ่นที่ ๑ ที่ชมรม เพื่อนช่วยเพื่อน โดยพลตรีจำลอง ได้ช่วยประสานงาน ติดต่อเพื่อเรียนเชิญ รมว.เกษตรและสหกรณ์ มาเป็นประธานเปิดงาน ในครั้งนี้ โดยในงานนี้ท่าน รมว.เกษตรและสหกรณ์ คุณหญิงสุดารัตน์ ได้กล่าวกับสมณะเสียงศีล ชาตวโรในช่วงหนึ่งว่า "...ต่อไปจะต้องขอให้ช่วยอบรมหนักขึ้น จะนัดประชุมวางแผนกับทางเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ(คกร.) ซึ่งมีคุณธำรงค์และ คุณสุนัย เป็นหลักอีกที..." ต่อไปทางศูนย์อบรมต่างๆของชาวเรา ที่เคยมีประสบการณ์ให้การอบรมสัจธรรมชีวิตเกษตรกรกันมาแล้วหลายต่อหลายรุ่น คงจะต้อง เตรียมตัว ตั้งหลัก เผื่อจะต้องร่วมกันสะสมบุญร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์ในโอกาสต่อๆไป. |
||
หน้าปัดชาวหินฟ้า เจริญธรรม สำนึกดี พบกับข่าวความเคลื่อนไหวของชาวเราใน นสพ.ข่าวอโศก ฉบับที่ ๒๕๖(๒๗๘) ปักษ์แรก ๑-๑๕ มิ.ย.๔๘ สำหรับหน้าปัดชาวหินฟ้าฉบับนี้ ขอนำเสนอ ดังนี้ ปิตุบูชา... ก็คึกคักสำหรับงานอโศก อาหารอินเดียย้อนยุคมาในงาน ท่านโสรัจโจพาคณะมาบริการเพื่อสุขภาพ บริการเต็มสูตรที่ชั้นล่าง ตึกสัมมาสิกขา หลายคนบอก ฉันหรือกิน แล้วไม่ง่วง เหมือนกินอาหารเดิมๆ จิ้งหรีดคิดว่า คงเป็นเครื่องเทศ ที่ช่วยย่อย ใครสนใจ ก็ไปถามไถ่กันเองก็แล้วกัน ได้ข่าวว่า ทางสีมาอโศก ก็ทำเป็น ส่วนในชุมชนสันติอโศก ครูหญิงกับกระต่าย ก็มาฝึก ซึ่งก็ดูแข็งขันกันดี... จิ้งหรีดขึ้นไปกราบ พระบรม สารีริกธาตุ เห็นอาอ๋อย จากศีรษะอโศก นั่งเจโตสมถะ อยู่บนพระวิหารฯ ส่วนอาโก้ ก็เดินจงกรม แต่จิ้งหรีด ไม่ได้ถามว่า เกิดบรรลุ อะไรบ้าง... สมณะมหาเถระก็มาประชุมก่อนงาน พ่อท่านก็ชื่นชมว่าเป็นเรื่องดี เพราะหลายหัวดีกว่าหัวเดียว(แต่ยกเว้นหัวฝีนะฮะ) ท่านเดินดิน ก็ช่วยดำเนินการประชุม พอวันรุ่งขึ้น ก็มาเป็นประธาน กล่าวเปิดงาน สัมมนาคุรุสัมมาสิกขา จิ้งหรีดได้มีโอกาส ฟังท่านกล่าวเปิด ก็ได้เห็น ความเป็นยอดคุรุ ของพ่อท่านว่า ไม่เบื่อหน่ายความ ซ้ำซาก มีชีวิตชีวา-เบิกบาน รู้จักบูรณาการ และไม่เอาตัวเอง เป็นศูนย์กลาง โอ้โฮ้ คุรุคงต้องมาตรวจตัวเอง กันเป็นเบื้องต้น ได้ยินอากวีบอกว่า มาเป็นคุรุเพราะจำใจ แต่ตอนนี้เป็นอย่างไร ก็คงต้อง ไปถามกันเอง... พ่อฮังดิน ตั้งแต่มาอยู่เป็นชาววัดสีมาฯ ตัวเล็ก เพรียวลมมากขึ้นจนผิดตาจิ้งหรีด แถมยังเป็นคุรุพาเด็กทำงานได้อย่าง สนุกสนาน ใครสนใจ ก็ไปสอบถามกันเองได้นะฮะ...ปิตุบูชา ๗๒ ปี ของพ่อท่าน เราคงทำการศึกษา ให้บูรณาการได้ลงตัว เพื่อสร้าง ทายาท ที่มีคุณภาพ... อาตั๋ง (ฟังฝน) กำลังเรียนปริญญาโท ก็เอาแบบสอบถามมาให้สมณะฝ่ายการศึกษาตอบ เพื่อเป็นข้อมูล ส่งอาจารย์ที่ปรึกษา ในการทำปริญญา... อาไพรศีล มารายงานการบูรณาการวิชาภาษาไทยที่สอน หลายคนสนใจ เข้าใจว่า การเอาเด็กเป็นศูนย์กลางคือ ให้เด็กเขียน รายงาน เป็นภาษาไทย โดยตั้งกรอบ แบบกว้างๆ คือ ให้เขียน อย่างอิสระ แล้วคุรุก็สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ ทางวิชาการได้... ที่บ้านราชฯก็มีตัวอย่างการศึกษาแบบบูรณาการที่ชัดเจน เช่น กรณีนายดำ ด.ญ.นิล ด.ช.ปานนี้ จิ้งหรีดฟังคุณถึงดิน รายงาน ก็เห็นเป็นรูปธรรม และรู้สึกอนุโมทนา ต่อความเอาภาระ ของคุรุ ถ้ามีการศึกษาเช่นนี้ มีทายาทอโศก ตามที่พ่อท่านแนะนำ ได้แน่... ในช่วงพ่อท่านฉันที่ห้องทำงาน (๙ มิ.ย.๔๘) มีญาติธรรมไปรับ หยาดน้ำใจพระโพธิสัตว์ เป็นจำนวนมาก เพราะที่ระลึกชิ้นนี้ ให้เฉพาะ ลูกๆที่มารับด้วยตัวเอง จิ้งหรีดเห็นญาติโยมเข้าแถวเรียงยาวจากคลังเสียงมาถึงห้องสื่อธรรมะเลย ก็รู้สึกประทับใจ ในศรัทธา ของญาติธรรม... อย่างอาจารย์จงจินต์ บอกกับจิ้งหรีดว่า นอกจากจะต่อแถวยาวแล้ว ยังถูกยกเลิกแถว ถึง ๔ ครั้ง บางครั้งก็เกือบจะถึงคิว ที่จะได้รับ ของที่ระลึก จากพ่อท่าน แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ บอกให้เลิกแถวชั่วคราว เพราะต้องการให้พ่อท่าน ได้มีโอกาสพักบ้าง บางคนก็บอกจิ้งหรีดว่า รอเข้าแถวกว่า ๒ ชั่วโมง จึงจะได้ของที่ระลึก จิ้งหรีดได้ยินสมณะบอกว่า ยิ่งรอนาน ก็ยิ่งได้ธรรมะ (หรือบุญ) เพราะต้องเสียสละ ฝึกใจเย็น หรือมีศรัทธาที่เข้มแข็ง จึงรอได้นานขนาดนั้น... ชาวปากช่องก็มาร่วมงานอโศกรำลึก คุณหลั่นได้รายงานเรื่องพี่ชายว่า จิ้งหรีดลงตำแหน่งผิดไป ความจริงคุณสัญชัย ตุลาบดี ไม่ได้เป็น นายแพทย์สาธารณสุข แต่เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขวิชาการ ระดับ ๗ ทำงาน รณรงค์เรื่องการงดสูบบุหรี่ จนเข้าตาองค์การ อนามัยโลก ซึ่งรางวัลที่ได้รับนี้ ประเทศไทย ได้เพียง ๑ ท่านเท่านั้น มิใช่ ๒๐ ท่าน ตามที่จิ้งหรีดได้บอกข่าวไป ในฉบับที่แล้ว ก็ต้องขออภัย ท่านผู้อ่านด้วย... เรื่องเอาภาระการงาน จิ้งหรีดก็เห็นคนหนึ่งในหลายคนคือ คุณเก็บบุญ ช่วยเอาภาระหลายด้าน แต่คนเอาภาระมักจะดูเอาจริง เอาจัง จะเห็นได้ตอนจัดคนเข้าแถว ให้เป็นระเบียบ ก็เป็นธรรมดานะฮะ แต่ก็เป็นจุดอ่อนของคนขยันเอาภาระที่ควรฝึกปรับให้ดู อ่อนโยนขึ้น ส่วนคนที่ไม่ได้เอาภาระเหมือนเขา ก็อย่าเอาแต่นั่งวิจารณ์อย่างเดียว ก็ควรขมีขมัน เข้ามารับภาระ ให้มากขึ้นนะฮะ ช่วงรอพ่อท่าน นำแถว เดินขึ้นสู่พระวิหารฯ เพื่อทำพิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ จิ้งหรีดได้ยินสมณะ ถามท่านเดินดินว่า จะไปบอกพ่อท่าน ดีไหมว่า หัวแถวอยู่ประตู ข้างศูนย์อบรม ฝั่งซอยเทียมพร ท่านเดินดินบอกว่า คุณเก็บบุญ เขาเห็นแล้วล่ะ เดี๋ยวเขาคงเอาภาระ นำพ่อท่านมาเอง จิ้งหรีดเกาะอยู่ที่ต้นไม้ ก็คอยดูเหตุการณ์อยู่ สักครู่ก็เห็นคุณเก็บบุญ เดินพาพ่อท่าน ออกมาทางประตู ห้องสื่อธรรมะ นี่แหละ ผู้เอาภาระ ที่สมณะผู้ใหญ่ สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ สาธุ... การปิดโรงบุญฯเวลาบ่าย ๓ โมง มีผลอย่างไร จิ้งหรีดข้างวัดก็รายงานว่า ก็ช่วยให้ร้านค้ามังสวิรัติข้างวัด มีญาติธรรม เข้าไปอุดหนุน กันตรึม ในช่วงเย็น ถ้าถามว่า ดีไม่ดี ก็อยู่ที่จะถามใคร จริงไหมฮะ...จี๊ดๆๆๆ... สังคมดอยแพงค่า...เมื่อวันที่ ๒๖-๓๐ เม.ย.ที่ผ่านมา ในงานยุวพุทธทายาท ครั้งที่ ๔ ที่ภูผาฯ มีเด็กมาเข้าอบรม สิบกว่าคน งานนี้ เน้นให้เด็ก มีศีล ๕ ละอบายมุข ๖ และพึ่งตน จนเป็นที่พึ่ง ของผู้อื่นได้ การอบรมครั้งนี้ ได้นำแนว การอบรมของ อ.หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา มาใช้ เน้นการอบรมให้เรียบง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีกิจกรรมบางส่วนคงเดิม แต่ก็ไม่เหมือน เดิม...การเดินป่าปีนี้ ก็ยังมี วันที่เด็กๆ ไปเดินป่า จิ้งหรีดเกาะอยู่บนศาลา สิบโมงกว่าแล้ว เห็นเด็กที่ไปเดินป่า กลับมาเอาข้าวไป บอกว่าเดินไปถึงจุดหมายแล้ว แต่ลืมข้าว! งานนี้คงต้อง ไปถามสมณะ ประจำกลุ่มผ้าพันคอ สีเหลืองว่า วันนั้นได้ฉันหรือไม่? งานนี้มีเด็กบางคน พ่อแม่จ้างให้มา บางคน จิ้งหรีด ได้ยินข่าวว่า มีหมูกระทะเป็นรางวัล หากกลับจาก เข้าค่าย ไม่รู้ว่ามาเข้าค่ายแล้ว หมูจะโชคดีหรือไม่? (แต่หลังจบค่าย ได้ข่าวว่า เด็กชักจะกลัวบาป ถ้ากลับไปกินหมูกระทะ)... คณะกรรมการชุมชนภูผาฯ ชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง จิ้งหรีดเห็นว่า มีไฟแรงในการพัฒนาชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ๕ ส. หรือ การสร้าง โรงปุ๋ย ก็เป็นไปด้วยความฉับไว สร้าง ๓ วันเสร็จ เลย คุณงานช่างว่า สร้างโรงปุ๋ยเสร็จ จะเดินทาง ไปกับพ่อนิทัศ (โยมพ่อของ สมณะถักบุญ อาจิตปุญโญ) เพื่อไปช่วยสร้างกุฏิบนเรือที่ บ้านราชฯเมืองเรือ ให้พ่อท่านพักที่เรือ คุณปางป่า ก็ตั้งใจว่า ปีนี้จะมีโครงการ ทำนาสวรรค์ เลยมาปรึกษา อาจารย์ ๑ ว่า นาสวรรค์จะทำอย่างไร อาจารย์ ๑ บอกว่า อาตมา สามารถแนะนำ เรื่องการทำนาบุญได้ เพราะนาบุญ จะทำให้เข้าถึงสวรรค์ อย่างแท้จริง... ชมร.ช.ม. จิ้งหรีดผ่านไปเห็นปรับปรุงห้องครัวใหม่ ด้วยการปูกระเบื้อง ดูสะอาดดี แต่เมื่อวันจันทร์ที่ ๒ พ.ค.ที่ผ่านมา ลมพายุ ดันหลังคา เอนไป ๔ นิ้ว เกือบจะได้ปรับปรุง หลังคาใหม่แล้วซิฮะ งานช่างและทีมงาน จากภูผาฯ ต้องลงไปช่วยดึงหลังคา คืนเหมือนเดิม ตอนแรกงานช่างลงไปดู ก็รู้ว่าลำพังตัวเอง คนเดียว ทำไม่ไหว จึงต้องขึ้นมาขอทีมงานที่ ภูผาฯลงไปช่วย ก็พอดีสร้าง โรงปุ๋ย ได้เสร็จทันเวลา ภายใน ๓ วัน นี่แหละดรีมทีม...ก็น่าชื่นชมอีกว่า คนในทีมงานช่าง จะมาช่วยจัดระเบียบ ห้องเครื่องมือ หลังงาน พ.ฟ.ด. ที่บ้านราชฯ โอ้โฮ้! นี่แหละฝันของจิ้งหรีด จะได้เป็นจริง ยังไงๆ ก็เอาแค่น้องๆ ท่านดงเย็น ก็คงพอ เครื่องไม้เครื่องมือ จะได้กลับ เข้ามาอยู่ ในห้องเครื่องมือ ไม่ต้องกระจัดกระจาย ไปตามดอย แม้แต่ในท้องไร่ท้องนา จนแซวกันเองแล้วว่า อ๋อ! นี่กระมัง จึงเป็นดอยแพงค่า ตามที่พ่อท่านบอก...จี๊ดๆๆๆ... เก็บตก พ.ฟ.ด....งาน พ.ฟ.ด.ที่บ้านราชฯ ปีนี้ที่จัดกันเป็นครั้งที่ ๑๒ ครบรอบ ๑ นักษัตรพอดี รมว.เกษตรและสหกรณ์ ก็ได้ฤกษ์ มาเปิดงาน เป็นครั้งแรก ตั้งแต่มีงานนี้มา ในส่วนตัวจิ้งหรีด ที่ได้รับรายงาน จากจิ้งหรีดอีกตัวหนึ่ง ที่อยู่ประจำสันติฯ แต่มีโอกาส ไปร่วมงาน ก็บอกว่า งานไม่หนัก แต่งานไปเรื่อยๆ ต้องเดินมาก เพราะสถานที่แต่ละแห่ง อยู่ห่างกัน แถมเดินหลงอีก จะไปศูนย์สุขภาพ แต่เดินเข้าไป ในหมู่บ้าน หาทางออกได้ แต่ไม่รู้จะเดินไปทางไหน พอดีสังเกตเด็ก ที่ขี่จักรยานมาด้วยสัญชาตญาณ จิ้งหรีดคิดว่า คนนี้ต้องเป็นชาวบ้านราชฯ แน่นอน จึงถามทางไป ศูนย์สุขภาพ จะไปฟังหมอสมนึก ที่มาพูด ในงาน ก็ได้ผลฮะ ได้ฟังคุณหมอ สมนึก ก็ได้ข้อสรุปว่า ต้องคุมเรื่องอาหารต้องออกกำลังกายด้วย จะเสริมให้สุขภาพดีขึ้น แม้ตรวจสุขภาพทุกปี ก็ยังมีสิทธิ์พลาดได้ อย่างพยาบาล ที่ รพ.สรรพสิทธิ์ฯ ตรวจสุขภาพ ทุกปี พอปีที่ ๗ เจอมะเร็ง! นี่แหละก็ไม่ควรประมาทในชีวิต ในวัย ส่วนสิทธิ ที่จะพลาด จิ้งหรีด ก็ไม่อยากได้หรอกฮะ สิทธิ์ประเภทนี้ แต่ไม่อยากยังไง ก็มีสิทธิ์พลาด ได้ทุกคน จริงไหมฮะ... จิ้งหรีดที่ช่วยงานกับชาวสันติอโศก ที่ เฮือนเพิ่งกัน รายงานมาว่า ในวันจันทร์ที่ต้อนรับผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ พอดีจิ้งหรีด อยู่แผนก ผลไม้ ดูโต๊ะ ที่ไม่ได้เช็ด จิ้งหรีดคอยดูจนตาเหล่ ก็เผื่อแขกจะเข้ามาทานต่อ คอยดูผลไม้ที่เหลือ จะให้ผู้มาร่วมงาน ได้ช่วยเก็บ มาจากโต๊ะ ผลไม้ ที่บริการก็มีทั้งที่ปอกเปลือกให้ และไม่ปอกเปลือก อีกทั้งยังต้องช่วยเก็บ ล้างเช็ดถูร่วมกับ นร.สัมมาสิกขา ชั้น ม.๖ เด็กๆ บอกจิ้งหรีดว่า อยากกลับแล้ว จิ้งหรีดก็ถามว่า กลับไปไหนล่ะ พวกเขาก็บอก กลับวัด จิ้งหรีดก็ร้องอ้าว! นี่ก็วัดเหมือนกัน ไม่ใช่หรือ? เด็กก็บอกว่า ไม่ใช่! อยากกลับสันติฯ เหนื่อยแล้ว คิดถึงสันติฯ จิ้งหรีดก็ถามย้ำว่า อยากกลับสันติฯ แน่นะ เดี๋ยวพอเรียนๆ จบแล้ว ก็ไม่อยู่ เด็กก็รีบตอบว่า ก็แล้วแต่ตอนนั้น จิ้งหรีดรู้สึกว่า ถ้าเด็กเขาเอาปัญญาเถียงกิเลสได้ น่าจะดีกว่า นี่ไปเถียงแทนกิเลส ก็ได้แต่สอนตัวเองว่า อย่าเป็นอย่างเด็กเขาล่ะ แต่ก็ ได้ทำความคุ้นเคยกับเด็กๆ จิ้งหรีดก็รู้สึก เอ็นดูพวกเขา แม้จะเป็นเด็กโต ถึง ม.๖ แล้วก็ตาม พอได้เวลาบ่าย ๓ โมง ก็บอก ให้เด็กไปพักกันก่อน พวกเขาจะได้มีแรง เพราะตอนค่ำ ต้องไปแสดง บนเวที จะได้ยิ้มออก ก็บอกสำทับไปว่า อย่าลืมยิ้มนะ...จี๊ดๆๆๆ... ตบะธรรม... เรื่องตบะธรรมจะว่าเป็นของคู่กับนักปฏิบัติธรรมก็ได้ พอดีในช่วงงานปลุกเสกฯ ครั้งที่ ๒๙ ที่ศีรษะอโศก จิ้งหรีดได้ยิน คุณกรัก และคุณปะ ที่ไปร่วมงานตั้งตบะ เพื่อปรารภความเพียร ฟังแล้วก็รู้สึก อนุโมทนา จึงขออนุญาตคุณกรัก-คุณปะ เอามาเผยแผ่ เป็นตัวอย่าง แก่ญาติโยมไว้ ณ โอกาสนี้นะฮะ ๑. กรักตรงธรรม ของดเส้นหมี่ทุกอย่าง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหน เป็นไงฮะ ญาติโยมจะเอาอย่างบ้างก็ได้นะฮะ ส่วนระยะเวลาได้ข่าวว่า คุณกรัก-คุณปะ ตกลงว่า จะรายงานตบะกัน ในช่วงงานอโศกรำลึก'๔๘ ว่าแต่ว่า ผลเป็นอย่างไรบ้างฮะ แต่ถึงอย่างไรจิ้งหรีดก็คิดว่า การมีตบะช่วยให้เรามีสติและความอดทนเพิ่มขึ้นในชีวิต อันจะช่วยให้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไปได้ดีขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ขันติ คือ ความอดกลั้นเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง (ขันตี ปรมํ ตโป ตี ติกขา) สาธุ...จี๊ดๆๆๆ... คติธรรม-คำสอนของพ่อท่าน พบกันใหม่ฉบับหน้า |
||
๑๐๐ ปี พุทธทาส เทศนาธรรม 'อยู่อย่างไรในโลกวิปริต' งานรำลึกล้ออายุ ท่านพุทธทาส แห่งสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มีเหล่าสหายธรรม จำนวนมาก จากทั่วสารทิศ มาร่วม ชุมนุมประจำปี เพื่อร่วมล้อ ปณิธาน สืบสาน การปฏิบัติธรรมของท่าน ซึ่งยังคงเหนียวแน่นเช่นเคย แม้การมรณภาพ ท่านพุทธทาส เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ เข้าครบขวบ ปีที่ ๑๒ ปีนี้ครบรอบ ๙๙ ปีแห่งการล้ออายุท่านพุทธทาส แต่การจัดงานเน้นความเรียบง่าย และประหยัดตามแนวทางของท่าน เริ่มด้วย การร่วมอดอาหาร ๑ วัน ถวายเป็นของขวัญ และตลอดทั้งวัน ณ ลานหินโค้ง คณะศิษยานุศิษย์ได้นำเทปพระธรรมเทศนา ที่เทศน์ และบันทึกเสียงไว้ ในวันล้ออายุ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ เรื่อง ความวิปริต, เราจะอยู่ในโลกอันวิปริตนี้ ได้อย่างไร และเรื่อง การร่วมมือ ต่อต้าน ความวิปริต เปิดให้กัลยาณมิตร และสหายธรรมร่วมงานรับฟัง พร้อมด้วยการเข้าอุโบสถศีล ปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา บำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา ต่อเนื่องอีก ๓ วันถวายเป็นอาจาริย บูชา ถือเป็นงานปฏิบัติธรรมประจำปี ณ ธรรมาศรมนานาชาติ พระภาวนาโพธิคุณ(อาจารย์โพธิ์) เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล บอกเล่าว่า การจัดงานปีนี้ไม่มีพิเศษอะไร เน้นที่แก่นแท้และสาระ ของงาน ไม่ยึดเอากระพี้มาเป็นหลัก ซึ่งเป็นแนวทาง ที่ท่านพุทธทาส ยึดปฏิบัติมา แม้สิ้นท่านพุทธทาสมาเกือบ ๑๒ ปี แต่สวนโมกข์ ที่นี้เหมือนกับว่า ท่านยังอยู่ เพราะยังมีสาระต่างๆ ของท่านให้ศึกษาปฏิบัติอีกหลายประการ และรูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้ง ของท่าน ที่หน้ากุฏิเดิม ช่วยได้มากทีเดียว "ปัจจุบันยังมีผู้เดินทางมาปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง บางช่วงอาจจะน้อย บางช่วงมีเข้ามามากเหมือนปกติ และมีสถานศึกษา หลายแห่ง จัดโครงการ นำนักเรียนนักศึกษา มาเข้าค่าย ปฏิบัติธรรม อยู่บ่อยครั้ง ทำให้คนหนุ่มสาว ไม่ได้ห่างจากวัด ยังมีคนรุ่นใหม่ ที่จะสืบสาน พระพุทธศาสนา และสวนโมกข์ต้องมีการพัฒนา ทั้งการจัดสถานที่จอดรถ ที่ด้านหน้าประตูใหญ่ ไม่ให้เข้ามาวิ่งรบกวน ผู้ปฏิบัติธรรม" พลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หนึ่งในผู้มาร่วมงานปีนี้ พูดคุยกับบรรดาสหายธรรม ว่า เดินทางมา สวนโมกข พลาราม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๔ จนถึงปัจจุบัน แต่ไม่ได้มาทุกปี เว้นบ้าง ที่เดินทางมาในครั้งนี้ เพื่อมาฟังธรรมะ ของอาจารย์ พุทธทาส เพราะธรรมะ ของท่าน เป็นธรรมะตรงตามหลักธรรม ของพระพุทธองค์ แม้ว่าในครั้งนี้ ท่านอาจารย์ จะไม่ได้สอน ด้วยตัวท่านเอง ก็ตาม บรรยากาศ สวนโมกข์ ยังสงบร่มรื่นเหมือนเดิม เหมาะที่จะปฏิบัติธรรม มีความเปลี่ยนแปลงบ้างเฉพาะส่วนของผู้ปฏิบัติธรรมลดลงไม่เหมือนที่อาจารย์ยังอยู่ แต่สวนโมกข์ไม่เน้น เรื่องคนมาก คนน้อย แต่ขอให้มีคนปฏิบัติ "การบรรยายธรรมของอาจารย์พุทธทาสและกิจกรรมวันล้ออายุ อยากให้มีการเผยแพร่ ไปทั่วประเทศมีการจัดในวงกว้าง ไม่จำเพาะ เจาะจง ธรรมะที่อาจารย์พุทธทาส เผยแผ่ไม่ล้าสมัย นำมาใช้แก้ปัญหา สังคมไทย ได้ทุกยุคสมัย และไม่เฉพาะ ชาวพุทธ นับถือ ศาสนาใดก็ได้ สามารถเข้าถึงธรรมะของอาจารย์ เพราะธรรมะคือธรรมชาติ ใครก็ได้ที่เข้าถึง ปณิธานของ อาจารย์ คือการพยายาม ออกจากโลกวัตถุ เพราะโลกวัตถุมุ่งทำลายบ้านเมือง สำคัญที่สุดให้ถือและทำตามคำสอน พระพุทธเจ้าว่า กรรมคือ การกระทำ ท่านไม่ได้สอน สิ่งงมงาย ไสยศาสตร์ แต่ยุคปัจจุบัน เราเขวไปมาก จึงอยากให้ประชาชน ได้ตระหนัก ท่ามกลางกระแสสังคม ที่ผันผวน" นางสุดใจ กฤษณพุทธคุณ อายุ ๘๔ ปี ชาว จ.นครศรีธรรมราช ที่มาปฏิบัติธรรม ที่สวนโมกข์ทุกๆปี ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี บอกว่า แม้ท่านพุทธทาสไม่อยู่ รู้สึกว่าทุกอย่าง ยังเหมือนเดิม เหมือนสมัยที่ท่านอาจารย์อยู่ แต่อาจจะมีบางอย่าง ขาดหายไป ไม่เห็น ท่านอาจารย์พุทธทาส นั่งอยู่ที่ม้าหินอ่อน หน้ากุฏิเหมือนแต่ก่อน ซึ่งต้องยอมรับว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรม ของโลก ทุกอย่าง มันเป็นเช่นนั้นเอง อีกมุมหนึ่งที่ลานหินโค้ง ช่วงระหว่างพักการปฏิบัติธรรม ท่านอาจารย์โพธิ์ ได้สนทนาธรรมกับพลตรีจำลอง ศรีเมือง ในหลาย ปัญหา ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยโดยเฉพาะ การทวนกระแสสังคม กรณีการต่อต้านเหล้า เข้าตลาดหลักทรัพย์ การใช้เงิน ผิดประเภท ตลอดจน ปัญหา การท่องเที่ยวของบ้านเรา ซึ่งปัญหาการท่องเที่ยวอาจารย์โพธิ์ได้ให้ข้อคิดว่า ปัจจุบันเราเน้น การได้เงิน เข้าประเทศ มากเกินไป การจัดการ เรื่องการท่องเที่ยว ควรจะส่งเสริม ให้มีสาระมากกว่าเดิม จัดการท่องเที่ยวอย่างไ รให้สอดคล้องกับ วิถีของชาวพุทธ เพราะนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่ง ที่เดินทางเข้าประเทศเรา เพราะความเป็นธรรมชาติ และความเป็นเมืองพุทธ หรือธรรมะ "ปัจจุบันเห็นว่าอบายมุข เข้ามาถึง ในบ้านโดยไม่ต้องออกไปแสวงหานอกบ้านก็เจอ ตื่นขึ้นมาก็เจอ ก่อนจะนอนก็เจอ เจออยู่ ทุกวัน คือปัญหาเรื่องสื่อละครทีวี มีทั้งอบายมุข มีทั้งการเน้น ให้คนหลง ในวัตถุ และขอวิงวอน ถึงผู้บริหารประเทศว่า อย่าเห็นแก่รายได้ จนเกินไป" ๙๙ ปีแห่งการล้ออายุท่านพุทธทาสปีนี้ ยังสืบสานตามแนวทางปณิธานผู้ก่อตั้งสวนโมกข์ไม่เสื่อมถอย จริงอยู่วันนี้ผู้ก่อกำเนิด สวนโมกข์ ได้ดับเสื่อมสลายไปแล้ว แต่สาระคำสอน ท่านพุทธทาส ยังก่อประโยชน์ ต่อการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ได้ถึงปัจจุบัน เสมือนว่าพุทธทาสจักยังไม่ตาย และยังเป็นทางสว่างต่อสันติสุขของบ้านเมืองสืบไป.
ตำนานสวนโมกข์ "ข้าพเจ้ามอบชีวิตและร่างกายนี้ ถวายแด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า" เพราะเหตุนี้จึงมีชื่อ พุทธทาส คำประกาศของท่านพุทธทาสภิกขุที่ให้ไว้เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๗๕ ยุคสมัยที่บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เกิดการ เปลี่ยนแปลง การปกครอง และเป็นช่วงเวลาที่ พระเงื่อม หรือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ตัดสินใจหันหลังให้โลก และมุ่งหน้า กลับบ้านเกิดที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี หลังได้ไปเรียนปริยัติธรรมจนตระหนักได้ว่า การเรียนนั้นยังเจือปนไปด้วยยศศักดิ์และไม่ใช่หนทางที่จะค้นพบความบริสุทธิ์ จากนั้นสวนโมกข์ หรือสวนโมกขพลาราม จึงค่อยๆถือกำเนิดขึ้น นับแต่ พ.ศ.๒๔๔๙ ที่ท่านพุทธทาสเกิดจนถึงวันนี้ นับเป็นเวลา ๙๙ ปีแล้ว ที่ท่านพุทธทาสได้ค้นพบหลักธรรมทางศาสนา และได้ถ่ายทอดให้กับผู้คนโดยมีศูนย์กลางที่สวนโมกข์ สวนโมกขพลารามในวันนี้ พระภาวนาโพธิคุณ เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล เล่าให้ฟังว่า ถ้าไม่มีพระอาจารย์พุทธทาส ก็ไม่มี สวนโมกข์ ที่เรียกว่า สวนโมกขพลาราม เพราะเป็นความหลุดพ้นจากทุกข์ หัวใจสำคัญของสวนโมกข์อยู่ที่ "โมกข" นั่นเอง "สวนโมกข์ยังคงอยู่ต่อไปด้วยทุกคนทุกฝ่าย เพราะสวนโมกข์ตามความหมายทางธรรมที่แท้จริงของท่านพุทธทาส หาใช่สวนโมกข์ ที่มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ไม่ แต่คือพรหมวิหารธรรม ที่เจริญงอกงาม อยู่ในจิตวิญญาณ ของเพื่อนมนุษย์ผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายทั้งหลาย" และในโอกาสที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ที่จะถึงในปีหน้า จะเป็นวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ท่านพุทธทาส สำนักพิมพ์สุขภาพใจ จะจัดโครงการ "๑๐๐ ปีชาตกาล สืบสานปณิธานพุทธทาส" ขึ้น เพื่อนำเสนอผลงานคำสอนของท่านให้ขจรขจาย เป็นการสืบสาน ปณิธาน ของพุทธทาส ๓ ข้อ คือ การเข้าถึงหัวใจ ของศาสนาของตน การทำความเข้าใจ ระหว่างศาสนา และการออกมาเสีย จาก อำนาจวัตถุนิยม. |
||
การแก้ไขความวิปริตของโลก ธรรมะบรรยายของท่านพุทธทาส เรื่องการต่อต้านแก้ไขความวิปริตของโลก ซึ่งเปิดให้บรรดาสหายธรรมทั้งหลาย สดับตรับฟัง เมื่อวันงานล้ออายุ ๙๙ ปีพุทธทาส มีเนื้อหาเกี่ยวกับ วิธีการเพื่อจะร่วมมือกัน ต่อต้านความวิปริต และแก้ไขความวิปริต ของโลก ให้หมดไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างขวางกว่าที่คนคนหนึ่งจะทำแต่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ท่านพุทธทาสได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด ซึ่งจะขอสรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญ ดังนี้ วิธีการที่จะร่วมมือกันเพื่อจะต่อต้านความวิปริตให้หมดไปนั้น ทำคนเดียวไม่ได้ ในขั้นแรกนั้นต้องอาศัยความ เข้าใจซึ่งกัน และกัน ของทุกฝ่าย เพราะแต่ละคน มีหน้าที่โดยธรรม ที่จะต้องช่วยกันแก้ไข ไม่ใช่หน้าที่อ้าง ตามกฎหมาย เพราะการช่วยกัน แก้ความทุกข์ ของผู้อื่นนั้น เป็นการปฏิบัติธรรมะอยู่ในตัวเอง คือมันทำลายความเห็นแก่ตัว คนที่ไม่เอาใจใส่ ปัญหาของผู้อื่น ก็เพราะเห็นแก่ตัว ถ้าทำความเข้าใจ ร่วมกันไม่ได้ ว่าความวิปริตเลวร้ายอย่างไร ความร่วมมือก็มีไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อต้องการ ความร่วมมือ ก็ต้องทำ ความเข้าใจ ในเหตุผลที่ว่าต้องร่วมมือกัน ให้ถือเอาการช่วยผู้อื่นนั้นเป็นการปฏิบัติธรรม ขั้นต่อไปถึงหมู่ชนที่เรียกกันว่า สังคม สังคมที่มีผลประโยชน์ หรืออุดมคติขัดกัน ก็รวมกันไม่ได้ แต่ถ้าอาศัยบารมีของศาสนา เรียกร้อง ความร่วมมือกัน ช่วยกันทำให้โลกคงอยู่ เป็นหน้าที่ของทุกคน เมื่ออยู่ได้แล้วแต่ละคนหรือแต่ละพวก ก็แสวงหาประโยชน์ตามความประสงค์ของตนก็ได้ แต่อย่าให้โลกมันหมดไปเสีย ให้มีโลก เป็นพื้นฐาน สำหรับยืนอยู่ เป็นที่อยู่อาศัย ของคนในโลก สำหรับประกอบ กิจกรรม ไปตามความต้องการของตัว ถ้าทำ ความเข้าใจ ในระหว่างสังคม ได้ในลักษณะนี้ ก็พอจะร่วมมือกันได้ โลกนั้นมันต้องเป็นไป ในทางของสันติ เป็นไปในลักษณะ ที่ผู้อื่น พอจะรับได้ หรือ กลืนลงคอได้ ไม่เอาแต่ตามใจตัวเอง คนถ้าอวิชชา หรือโมหะครอบงำแล้ว ก็มุทะลุ ดุดัน ถือเอาแต่ตามทิฐิ ถ้าไปเสพคบกับมันนาน มันเหนียวแน่นมันยากจะละได้ ในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งของสังคมใดก็ตาม ควรพยายามให้สังคมนั้นทำอะไรเป็นไปอย่างที่เรียกว่าเป็นมนุษย์ อย่าให้เป็นยักษ์ มาร ภูติผีปีศาจ เอาความเป็นมนุษย์ เป็นพื้นฐาน สำหรับทั้งหมด ไม่ควรเอาความเห็น ที่แตกต่างมาเป็นสาเหตุสำหรับ ทำลายล้างกัน แม้จะขัดกันบ้าง มันก็มีทางออกอย่างอื่น ชนิดที่ไม่ต้องทำลายกัน สำหรับโลกปัจจุบัน ยิ่งจะต้องเป็นอย่างนี้ มากขึ้น คือ อยู่ร่วมกัน โดยสันติได้ ทั้งที่อุดมคติหรือประโยชน์ไม่ตรงกัน ถือเสียว่า เคารพพระเจ้าแล้วก็ไม่รบราฆ่าฟันกัน ต่างตั้งหน้าทำมาหากิน หรือว่าหาผลประโยชน์ของตนตามที่ต้องการ โลกนี้ก็จะ ไม่วิปริตมาก จะไม่มีวิปริตการณ์มาก เหมือนกับว่า อยู่รวมๆกัน แล้วก็ทำมาหากินต่างกัน มันจะดีเสียอีกที่จะไม่กระทบกระทั่งกัน แต่ที่ไม่เป็นอย่างนั้นเพราะเห็นแก่ตัว จนก้าวก่ายเข้า ไปในประโยชน์ของผู้อื่น แย่งชิงประโยชน์ผู้อื่น หรือลักล้วงประโยชน์ของเขา อย่างแยบคาย อย่างนี้ เป็นการทำลายโลกมากกว่า ไม่ควรที่จะมีอยู่ในโลก ศาสนาเป็นสิ่งที่แต่ละคนยึดมั่น หรือถือเป็นหลัก อย่าใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเคยมีมาแล้ว ในประวัติศาสตร์ การกระทำแบบนี้ไม่มีความเป็นศาสนา เหลืออยู่ ฉะนั้นควรทำความเข้าใจเสียใหม่ ให้ศาสนานั้นเป็นที่พึ่ง ของมนุษย์ด้วยกัน ทุกศาสนา แม้ว่าจะมีคำสอนต่างกัน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นศัตรูกัน |
||
ญาติธรรมชาวอโศกรับรางวัล โทแบคโก อวอร์ด นายสัญชัย ตุลาบดี ญาติธรรมชาวอโศกได้รับเลือกให้รับรางวัลคนไทยที่มีผลงานดีเด่นด้านบุหรี่หรือโทแบคโก อวอร์ด (Tobacco Award) ในงานวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี ๒๕๔๘ เมื่อเวลา ๑๖.๐๐ น.วันที่ ๓๑ พ.ค.ที่ผ่านมา ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รมว.สาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานวันงด สูบบุหรี่โลก ประจำปี ๒๕๔๘ ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การค้า มาบุญครองเซ็นเตอร์ ซึ่งปีนี้ เน้นคำขวัญ "ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่" พร้อมมอบรางวัล คนไทย ที่มีผลงานดีเด่นด้านบุหรี่ หรือโทแบคโกอวอร์ด (Tobacco Award) ให้นายสัญชัย ตุลาบดี นักวิชาการสาธารณสุข ระดับ ๗ หัวหน้างาน ยาเสพติดและสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ศ.นพ.สุชัย กล่าวว่า บุหรี่เป็นสาเหตุของโรคที่คุกคามชีวิตมนุษย์อย่างน้อย ๒๕ โรค องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ปัจจุบัน มีประชากรโลก เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ ๕ ล้านคน และคาดว่า อีก ๒๕ ปีข้างหน้า อาจเพิ่มเป็น ๑๐ ล้านคนต่อไป สำหรับ ประเทศไทย จากผลสำรวจ ล่าสุดเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ มีคนไทยอายุ ๑๑ ปีขึ้นไปสูบบุหรี่ ๙.๖ ล้านคน มีนักสูบหน้าใหม่ซึ่งกว่า ๘๐ % เป็นกลุ่มวัยรุ่น เพิ่มปีละ ๒๐๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ คน หากปล่อยให้เยาวชนติดบุหรี่แล้ว คาดว่าในอีก ๒๐ ปี จะทำให้จำนวน ผู้สูบบุหรี่ของไทย คงอยู่ที่ ๑๑ ล้านคน ค่าใช้จ่ายที่ซื้อบุหรี่ ๑๑ บาท/วัน/คน รวมค่าใช้จ่ายที่ซื้อบุหรี่ ๔๐,๙๐๐ ล้านบาท/ปี ขณะเดียวกันมีผู้เสียชีวิต จากการสูบบุหรี่ ปีละ ๔๒,๐๐๐ คน เฉลี่ยวันละ ๑๑๕ คน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค ที่เกิดจากบุหรี่ ที่สำคัญได้แก่ โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ และ ถุงลมโป่งพอง ซึ่งเป็นโรคที่ทุกข์ทรมานมากสูงถึงปีละ ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท ศ.นพ.สุชัย กล่าวต่อไปว่า การลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ให้ได้ผลจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อไปนี้จะเข้มงวดบังคับใช้กฎหมายบุหรี่ ๒ ฉบับ ที่ใช้เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ได้แก่ พ.ร.บ.ควบคุม ผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ในปี ๒๕๔๘ นี้ กระทรวง สาธารสุข ได้จัดวางแผนขั้นต่อไปหลายเรื่อง ทั้งการขึ้นภาษีบุหรี่จาก ๗๕ % เป็น ๘๐% การเพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ ให้ครอบคลุมถึง ล็อบบี้โรงแรม สวนสาธารณะ สถานพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทย ร้านอาหารที่ไม่ติดแอร์ ศ.นพ.สุชัย กล่าวถึงมาตรการทางกฎหมายเพื่อสกัดเยาวชนเข้าถึงบุหรี่ได้ยากขึ้น จะบังคับไม่ให้ร้านค้าบุหรี่ทั่วประเทศซึ่งมี ๕๐๐,๐๐๐ แห่ง โฆษณาตั้งบุหรี่ขายหน้าร้าน อีกต่อไป ให้ติดเพียงป้าย ขนาดเอ ๔ ว่า "ที่นี่มีบุหรี่ขาย" เท่านั้น โดยจะเริ่ม ตรวจจับในวันที่ ๒๔ ก.ย.นี้ และทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง ขอความร่วมมือห้ามนำเข้าบุหรี่ซองเล็กที่มีบุหรี่ต่ำกว่า ๒๐ ม้วน ห้ามแบ่งขายบุหรี่ ห้ามขายบุหรี่ ในรัศมี ๕๐๐ เมตร จากโรงเรียน และห้ามนำเข้าบุหรี่ที่มีกลิ่นหรือรสผลไม้ ขณะนี้อยู่ระหว่าง ดำเนินการ ในอนาคต จะเพิ่มภาพคำเตือน พิษภัยบุหรี่ บนซองบุหรี่จาก ๖ ภาพเป็น ๑๒ ภาพด้วย ทางด้านนายสัญชัย ตุลาบดี หัวหน้างานยาเสพติดและสุขภาพจิต หน่วยงานสาธารณสุข จ.มุกดาหาร ซึ่งเป็นผู้เดียว ที่ได้รับ คัดเลือก ให้รับรางวัล คนไทยที่มีผลงานดีเด่น ด้านบุหรี่ในครั้งนี้ กล่าวถึงความรู้สึก ในเรื่องนี้กับผู้สื่อข่าว "ข่าวอโศก" ว่า "ผมคิดว่า การที่เราสะสมกรรมดีไว้ ก็มีผลเกิดได้ชัดเจน ซึ่งแต่ก่อนรางวัลจะเป็นคนที่มีชื่อเสียง หรือเป็นที่รู้จักในสังคม หรือ มีความรู้สูง หรือ มีสถานภาพทางสังคมสูง ส่วนผมเอง เป็นคนธรรมดา ทำงานอยู่บ้านนอก งบประมาณในการทำงานก็จำกัด ปีหนึ่งไม่ถึง แสนบาท ในขณะที่ประชากรในมุกดาหารมีถึง ๓ แสนกว่าคน การทำงานที่จะให้ได้ผลจึงต้องทุ่มเทเป็นพิเศษ และหาแนวร่วม สนับสนุน ให้เกิดผล เด่นชัด ต่อสังคม โดยแนวทางต่อไปจะขอความร่วมมือกับวัดต่างๆในจังหวัด ให้วัดของเรา เป็นสถานที่เขตปลอดบุหรี่ ซึ่งก็ตรงกับ หลักคำสอนในพุทธศาสนา อันจะช่วยให้วัด ได้มีบทบาท เป็นแกนนำ ในการทำความดี อย่างน้อย ก็ในเรื่อง ลดละเลิก การสูบบุหรี่ในวัด ซึ่งจากที่ได้มีโอกาสสนทนากับท่านเจ้าคณะอำเภอ ซึ่งส่วนใหญ่ ก็ไม่สูบบุหรี่ อยู่แล้ว อีกทั้งผมได้เคย ทำเรื่องนี้ ให้วัดเป็นเขต ปลอดอบายมุข โดยเน้นเรื่องสุรามาก่อน เมื่อปีที่แล้ว ท่านจึงเข้าใจ และ เห็นดีด้วย เป็นส่วนใหญ่ แต่ที่มีปัญหาคือ ญาติโยม ยังทำตามความเคยชิน ผู้นำชุมชนเกือบทั้งหมด ก็ยังไม่รู้กฎระเบียบ ของทางคณะสงฆ์ จึงมีการละเมิดกันเป็นปกติ อีกทั้ง พระท่านบางรูป ก็ยังเกรงใจ ญาติโยม ที่ทำผิดกฎระเบียบ อยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่วัดป่าของธรรมยุติกนิยกาย ส่วนใหญ่จะทำ ตามกฎระเบียบได้ สำหรับชุมชนต่างๆ ก็จะพยายาม เข้าไปทำความเข้าใจ ควบคู่ไปกับ การขอความร่วมมือ ทางคณะสงฆ์ อันจะช่วย ให้งานที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ จะเป็นงาน ปลอดอบายมุข" น.ส.พัชรี ตุลาบดี ญาติธรรมกลุ่มปากช่อง วัย ๔๕ ปี เปิดเผยความรู้สึกในครั้งนี้ว่า "ชื่นชมกับพี่ชาย ที่ได้ทำเรื่องรณรงค์ ให้ประชาชน งดสูบบุหรี่ อย่างจริงจังและจริงใจ มาเป็นเวลานาน บรรยากาศของ งานรับรางวัล ครั้งนี้ ก็มีวัยรุ่น ให้ความสนใจ เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็มีดารานักร้อง จากค่ายเพลงอาร์เอส มาร่วมงานและให้การสนับสนุน ช่วยให้บริเวณงาน มีสีสัน และคึกคักมากขึ้น" น.ส.สุคนธ์ทิพย์ อุดมผล อายุ ๒๙ ปี "งานนี้รู้สึกว่าสบายๆ ไม่มีพิธีรีตองอะไรมาก รู้สึกดีใจกับคุณสัญชัยที่ได้รับรางวัล ที่ทำงานด้านนี้ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี และเป็นคนเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลในปีนี้ และเป็นคนแรก ที่มาจากส่วนภูมิภาค เพราะที่ผ่านมา ผู้ได้รับรางวัลในปีก่อนๆ จะเป็นข้าราชการ ใน กทม. อีกทั้งบางปี ก็ได้รางวัลเป็นองค์กร แต่ปีนี้เป็นบุคคล ซึ่งจะต้อง มีผลงานเด่นจริงๆ จึงจะได้ ขนาดเจ้าของร้านขายบุหรี่ใน จ.มุกดาหารถึงกับบ่นว่า มาเปิดขายผิดที่ เพราะที่อื่น ยังไม่เข้มงวดเท่าที่นี่ ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า คุณสัญชัย เป็นผู้ทำงานรับใช้ประเทศชาติ และหน่วยงานของตน อย่างดียิ่ง" น.ส.เกษศิณี สำโรง อายุ ๔๗ ปี ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ระดับ
๘ สำนักงานสาธารณสุข จ.มุกดาหาร |
||
งานอโศกรำลึกครั้งที่ ๒๔ คุณยายแก้วเดินทางไกลมาร่วมงาน คุณยายเป็นผู้อายุยาว อยู่ที่ดอยรายปลายฟ้า สุขภาพยังแข็งแรง * ประวัติแม่อุ๊ย * รู้จักชาวอโศก สุขภาพแข็งแรง ไม่ปวดเมื่อย แต่เหงือกไม่ดี หูยังได้ยิน แต่ตั้งแต่ปีใหม่ ตามองไม่เห็น ๑ ข้าง ยังสอยเข็มเล่มใหญ่ได้ * ความรู้สึกต่ออโศก ประทับใจพ่อท่าน ท่านเป็นผู้นำลูกๆให้ปฏิบัติธรรมถูกทางตรงทาง แต่ข้างนอกไม่มีใครนำ * ชีวิตในวันนี้ ทุกวันนี้มีความสุข ตื่นเช้าแล้วไปช่วยงานในครัว ช่วยปอกหอม กระเทียม คัดถั่ว ช่วยแยกอาหารที่สมณะบิณฑบาต ช่วยถอน หญ้าในสวน ที่กุฏิ กวาดใบไม้ มีงานอะไรก็ช่วยทำ ถ้าอยู่เฉยๆจะง่วงนอน ทำงานแล้วเราก็ไม่ง่วง ยายเลยหางานทำ หากเราอยู่เฉยๆไม่ทำงาน ก็ไม่สบายใจ เวลามีงานอบรม ยายก็ช่วยงานในครัว * สุดท้ายยายบอกว่า แล้วคนที่บุญถึง แต่ไม่ต่อบุญ (ขอขอบคุณ คุณฟองจันทร์ ทิพยรัตน์ ช่วยแปล) |
||
อ่านฉบับย้อนหลัง: