ฉบับที่ 266 ปักษ์แรก 1-15 พฤศจิกายน 2548 |
ผู้สร้างปัญหา?! ในชุมชนหรือในวัดใดก็ตาม มักจะมีปัญหาหนักอกหนักใจหนักสมองกับบุคคลประเภทไหน ถ้าเรารวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือในวัดที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ก็จะชัดเจนขึ้นว่า ส่วน ใหญ่เกิดจากบุคคล ประเภท เดียว คือ พวกเอาแต่ใจ พวกเอาแต่ใจแยกออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. พวกเคร่ง ที่เสนออะไรแล้ว จะต้องเอาให้ได้ เรียก พวกเคร่งเกิน ๒. พวกหย่อน ที่เสนออะไรแล้ว จะต้องเอาให้ได้ เรียก พวกหย่อนเกิน พวกเคร่งเกินนี่ จะมีลักษณะยึดจัดในกฎ-กติกาของตัวเอง แต่มักอ้างตำราหรือหมู่เป็นพวกหลงความถูกต้อง ถ้าใครไม่เอาด้วย ก็จะ ดูถูก คนอื่นว่า ย่อหย่อน ไม่เอาจริง ไม่เด็ดขาด พวกหย่อนเกินนี่ จะมีลักษณะรักความสะดวกสบาย ไม่พยายามพึ่งตนหรือตั้งตนอยู่ในความลำบาก ชอบ เรียกร้องความอบอุ่น ความรัก ความเข้าใจ ถ้าใครไม่เอาด้วย ก็จะดูถูกคนอื่นว่า เคร่งไป ไร้น้ำใจ ไม่อบอุ่น คำดูถูกดูแคลนต่างๆจะหายไปจากใจของคน ๒ ประเภทนี้ ถ้าทำตาม ความต้องการของพวกเขา ถ้าเป็นสำนวนกิเลสในใจ ก็ว่า มึงทำตามกู ก็หมดปัญหา โดยที่เขาไม่รู้ว่า เขานั่นแหละคือผู้สร้างปัญหาหากยังไม่พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนิสัยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ฆราวาส หรือ แม้กระทั่ง นักบวช บุคคล ๒ ประเภทนี้ไปอยู่ที่ไหน ก็มักจะช่วยสร้างรอยหยักในสมองให้แก่ผู้บริหาร หรือคนในชุมชน หรือคนในวัดนั้นๆ. |
||
ธรรมะพ่อท่านฉบับนี้ ขอ นำธรรมที่พ่อท่านได้เทศน์ทำวัตรเช้าเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ ก.ค.๔๘ ที่สันติอโศก ตอนหนึ่งไว้ว่า "อปัณณกปฏิปทา ๓ ก็อยู่ในโพธิปักขิยธรรมนั่นทั้งหมด เสร็จเรียบร้อย ต้องพยายามให้ดีจริงๆ เราชาวอโศกจะต้อง ๔ ๕ ๗ ๘ แล้ว ก็จะต้อง รู้จัก อปัณณกธรรม ๓ ที่เป็นตัวหลักไม่ผิด ในชีวิตของคนต้องเรียนรู้หลัก ๓ นี้ นี่คือหลักปฏิบัติที่ไม่ผิดจริงๆ แล้วก็ต้องเรียนรู้ โพธิปักขิยธรรมด้วย เรียนรู้แต่อปัณณกธรรม ๓ แต่ปฏิบัติไม่เป็นนัยละเอียดปฏิบัติไม่เป็น หรือสูตรอื่นๆ ที่จะเอามาขยายความ สัมมาทิฐิสูตรหรือว่า มิจฉาทิฐิสูตร สักกายทิฐิสูตร อัตตานุทิฐิสูตร อะไรนี้เป็นต้น หรือแม้แต่เรื่องอื่นๆ เขาจะทำให้บริบูรณ์ในนั้น บริบูรณ์ในศีล บริบูรณ์ในศรัทธา หรือว่าแม้แต่ อวิชชาสูตร อะไรพวกนี้ที่เคยหยิบมาอธิบาย สูตรนั้นสูตรนี้ มันก็จะขยายความชัดเจนไปทั้งหมด ถ้าเราสามารถที่จะรู้จัก หลักใหญ่ๆ จริงๆ หลักปฏิบัติใหญ่ก็โพธิปักขิยธรรม ซึ่งครบโพชฌงค์ ครบมรรคองค์ ๘ โพชฌงค์๗ มรรค๘ ครบ และวิธี ปฏิบัติ สติปัฏฐาน๔ สัมมัปปธาน๔ อิทธิบาท๔ ก็เป็นวิธีปฏิบัติ ถ้าเข้าใจ ๓ ตัวนี้ (สติปัฏฐาน๔ สัมมัปปธาน๔ อิทธิบาท๔) ไม่ได้ คนที่ปฏิบัติธรรมของพุทธไม่มีทาง ส่วนอินทรีย์ ๕ พละ ๕ นั้นเป็นผล มันเป็นสิ่งที่จะสั่งสมลงไปในวิบากของเรา ซึ่งเป็นผลของการปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา ๓, ๔ ๕ ๗ ๘... เพราะฉะนั้นเราชาวอโศก ต้องจำไว้ให้ดีๆว่า ต้องศึกษา ต้องฝึกฝน ต้องเรียนรู้ แล้วก็ปฏิบัติให้เกิดผล เกิดประโยชน์ จากหลัก ๔ ๕ ๗ ๘ พวกเรานี้ ชัดๆ แล้วก็ปฏิบัติฝึกเพียรเอาเอง เราต้องพากเพียร ต้องพยายาม ที่จะให้มันเกิด เกิดตามหลัก ที่เราเรียนรู้ ภาษาแล้ว รู้ความเข้าใจแล้ว ว่าหลักปฏิบัติมันเป็นอย่างนี้ และ เราก็ต้องปฏิบัติให้ได้ตามหลักที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน๔ อิทธิบาท๕ แล้วก็ ๕ คือ อินทรีย์ ๕ พละ๕, ๗ ๘ ก็คือ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ เพราะฉะนั้น ๔ นี่แหละเป็นตัวภาคปฏิบัติแท้ ส่วนชีวิตของเราเดินอยู่ในฐานมรรค ๘ อยู่แล้ว ต้องเข้าใจสัมมาทิฏฐิ ก็คือ ทำความ เข้าใจให้ได้ ทำความรู้ให้ชัดเจน เสร็จแล้วก็ต้องพากเพียรปฏิบัติอยู่ทุกอิริยาบถ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ต้องมีความพยายาม ต้องมีสติ นั่นแหละ เป็นตัวที่จะนำพา ตัวพยายามหรือตัวสติก็คือ เป็นตัวโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ มีธัมมวิจัย มีวิริยะ ต้องมีตัวนั้น ไม่มีไม่ได้ ธัมมวิจัย แถมมาอีกในโพชฌงค์ เป็นตัวที่จะต้องวิจัยธรรมให้เป็น ถ้าวิจัยไม่ได้ วิจัยไม่เป็น คุณก็ไม่มีทางบรรลุธรรมให้เป็น ถ้าวิจัยไม่ได้ วิจัยไม่เป็น คุณก็ไม่มีทางที่จะบรรลุ ฉะนั้นถ้าสามารถทำอยู่ในหลักพวกนี้ครบ พากเพียร แล้วมันก็จะ สั่งสมมรรคองค์ ๘ เราก็เรียนมาแล้วในมหาจัตตารีสกสูตร เราปฏิบัติ มรรค ๗ องค์ นี่แหละสัมมาทิฏฐิ ทำความเห็นให้เข้าใจ แล้วก็วายามะ สติเป็นตัวคู่หู อัศวิน คู่หูที่จะร่วมอยู่ใน สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นความเห็น ที่เราเข้าใจแล้ว... ในยุคแรกๆ พ่อท่านก็เน้นให้ชาวอโศกถือศีล ๕ ละอบายมุข ๖ แต่มาถึงปัจจุบันนี้ พ่อท่านก็เน้นให้ชาวอโศกต้องจำหลักปฏิบัติ และ พึงปฏิบัติ ให้ได้ ในหลักอปัณณกปฏิปทา ๓ และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ. - เด็กวัด - |
||
เอาแต่ใจตัว คือ ชั่วโดยอัตโนมัติ คำความข้างต้นเป็นโศลกธรรมมหาปวารณา ครั้งที่ ๒๔ ซึ่งเพิ่งจะผ่านไปหมาดๆ พ่อท่านได้นำมากล่าวในช่วงให้โอวาท เปิดประชุม มหาปวารณา กับหมู่สมณะ แม้กระนั้นโศลกธรรมบทนี้ ก็เหมาะกับทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ คนแก่ สิกขมาตุ เพราะต่าง ล้วนมีภาวะเอาแต่ใจตัวด้วยกันทั้งนั้น จะมากหรือน้อยอย่างไรเท่านั้นเอง ซึ่งเจตนาของ พ่อท่าน จริงๆ ต้องการเน้นกับพวกเราชาวอโศก เพื่อเร่งรัด พัฒนาตนเองกันภายในหมู่ชาวอโศก ก่อนการให้โศลกนี้ พ่อท่านเตือน "สมณะที่ได้มีเครื่องแบบแล้ว ฆราวาสเขา ยกให้ ต้องระวังสังวรให้ดีๆ ยิ่งบวชนาน ทำให้หลง ตนเอง แล้วมัน จะเกิดอัตตามานะโดยไม่รู้ตัว เราต้องระวังสังวร อัตตา อรูปอัตตาของเรา มันยึดที่ตัวเรา ผยองในตัวเรา แล้วมัน ก็ไม่แคร์ใคร แล้วก็เอาแต่ ใจตัว อันนี้มันเป็นโดยอัตโนมัติ เป็นโดย ที่ไม่ได้คิด อัตตามานะตัวนี้มันเป็นมาแต่เกิด เป็นโดยธรรมชาติ จะต้องมีสำนึกสังวร ต้องอ่านใจตนเองเสมอๆ เอ้ เราเอาแต่ใจตัว เอาแต่ความคิดของเรา เอาแต่ความเห็นของเรา ความเชื่อ ของเรา ความถูกต้อง ของเรา ไม่เห็นใจคนอื่นบ้าง คนอื่นอาจจะไม่ถูกจริงๆ คนอื่นเขาทำไม่ได้หรอกอย่างนี้ เขายังไม่ถึง ขั้นนี้หรอก แต่เราเข้ม เรายึดตรงนี้ จริงถูกต้อง เข้ม อย่างนี้สะอาด อย่างนี้บริสุทธิ์ ดีขนาดนี้ จริงดี แต่คนอื่นเขาไม่ได้ คนอื่นเขาฐานไม่ถึง แล้วคุณจะต้องตีเปาะเลย ขีดบรรทัดต้องตรงนี้ ยืดไม่ได้ หยุ่นไม่ได้ ต้องอ่านใจตนเอง เอ้อ เข้าใจ แล้วเราจะยืดหยุ่นกับเขาได้ไหม คิดกว้างเอื้อมเอื้อออกไป ถ้ามันเหมาะสม ก็เอาเถอะ เหตุการณ์ นี้ยุคนี้วาระนี้ ต้องยืดหยุ่น เขาหน่อย ถ้าวาระอย่างนี้ไม่ยืดหยุ่นหรอก เพราะว่ามันพอแล้ว มันสมบูรณ์อยู่แล้ว มันจะเฟ้อแล้ว ไม่ต้อง ยืดหยุ่นหรอก เคร่งอย่างนี้ได้ คุณก็เคร่งไป แต่ถ้ายุควาระที่มันต้องการมวล ต้องการการประสาน เราก็ต้องมีกาลัญญุตา ดูตนเองด้วย ดูบริษัทของเราด้วย ในหมู่เรา คนที่มีจริตเข้ม ไม่ยึดหยุ่นก็มี คนที่มีจริตยืดหยุ่นมากเกินไปก็มี ก็ต้องฝึกทั้งคู่ ให้มันพอเหมาะพอสม คนที่ยืดหยุ่น มากไปก็ต้องปรับ ให้พอเหมาะพอสม คนที่ไม่ยืดหยุ่นเลย ก็ต้องหัดรู้จักอะไรที่จะเป็นองค์ประกอบอยู่บ้าง มันจะได้อ่านใจ ตนเอง มันจะได้ ฝึกฝน ไม่เป็นอัตตา ซ้อนอยู่ในตัวเรา จะเป็นผู้บริหาร ผู้ที่ถูกต้อง ผู้ที่ดีงาม เป็นผู้นำหมู่ก็ตาม เป็น ผู้ใหญ่ที่สุด เป็นประธานก็ตาม ก็ต้องฝึกตัวนี้ ถ้าไม่ฝึกตัวนี้ หมู่ไม่ใหญ่ ใหญ่ได้ก็ช้า โดยเฉพาะธรรมะมันยาก มันเอาได้ยาก มันเป็นได้ยาก ถ้าไม่มีความลึกซึ้ง ก็ไม่สามารถปรับพวกนี้ได้อย่างมี สัปปุริสธรรม ๗ ยุคนี้มีศรีธนญชัยเยอะแยะมากมาย ถ้าเผื่อเราไม่ทัน แล้วเราก็ไม่พยายามปรับนั่นปรับนี่ มันก็เจริญไม่ได้" หลังงานมหาปวารณาแล้วพ่อท่านได้รับนิมนต์ไปที่ โรงเรียนผู้นำ จ.กาญจนบุรี เพื่อเยี่ยมเยียนและโปรดบรรดาผู้ช่วยงาน ทั้งหลาย ปีนี้ มีบ้านสร้างขึ้นมาใหม่ ๖-๗ หลังคาเรือนแล้ว และกำลังจะมีสร้างเพิ่มขึ้น พ่อท่านได้เปรยปรายจุดไฟ ให้ความหวังก ับชาวโรงเรียนผู้นำว่า ถ้ามีบ้านแล้วมีคนอยู่มีสำเนาทะเบียนบ้านถึง ๔๐ หลังคาเรือนขึ้นไป จะให้เป็นสังฆสถาน ทำเอาหลายคน ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ดูมีความหวัง ขึ้นมาบ้าง แต่อาจจะเป็นหมู่บ้าน ของคนชราหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะดูมีแต่ คนสูงอายุ หนุ่มสาว เด็กๆ ไม่ค่อยจะเห็น ต้องเอาใจช่วยและลุ้นดูกัน ต่อไป จริงๆก็อยากจะให้เกิดเจริญขึ้น เป็นหมู่บ้าน เป็นสังฆสถานให้ได้ จึงขอตีฆ้องร้องป่าว ชักชวนญาติธรรมที่ต้องการมีวิถีชีวิต มีการงาน อย่างที่โรงเรียนผู้นำเป็น และต้องการ ธรรมชาติแวดล้อม ภูเขา ต้นไม้ ป่าเขาอย่างนั้นก็เชิญ แต่ก็ต้องอยู่ในเกณฑ์และหลักการ ของที่นั่นเขาด้วยนะ จากการแสดงธรรมที่โรงเรียนผู้นำ พ่อท่านได้พูดถึง "การทำงานร่วมกันย่อมต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา สำคัญ อยู่ที่ ต้องอ่าน จิตใจตนเอง แล้วปรับแก้สิ่งที่ไม่ดีของตน แต่ถ้าเราไปบอกคนอื่นให้แก้ไขสิ่งไม่ดีของเขา มันเป็นเรื่องลำบาก โอกาสเกิดการ ชิงชังกันมีได้ แม้เราจะเป็น ผู้ใหญ่ที่เขายกให้ ถ้าเราจะว่าแรงๆ จะเอาแต่ใจตัวอย่างไร โดยวัฒนธรรม โดยวิถีชีวิตเขา ต้องยอมอยู่แล้ว เช่น นายทหาร มีวินัยว่านายว่าอย่างไร ลูกน้องต้องปฏิบัติตาม ซึ่งมันเป็นการกำหนดบังคับ แบบนี้มันไม่ใช่ลักษณะของธรรมะ ไม่ใช่ลักษณะของ สัจธรรมชั้นสูง แต่มันก็ต้องอาศัยบ้างเหมือนกัน ไม่เช่นนั้น มันจะเกิด การรวน เราก็ต้องเข้าใจว่าของเขาก็ต้องมีอย่างนั้น ไม่เช่นนั้น มันไม่เด็ดขาด เป้าหมาย ที่ต้องการจะไม่สำเร็จ แต่ซ้อนลึก ในวิธีปฏิบัติ คนปฏิบัติด้วยอำนาจบาตรใหญ่อย่างนี้ มันไม่ดี โดยจริงแล้ว เราชนะเขา เราเอาอำนาจข่มเขาได้ ทำให้เขา ทำตามที่เราต้องการได้ แล้วเขาก็ทำด้วยความจำนน แท้จริง เขาไม่ชอบ เขาไม่อยากทำ แต่เขาจำเป็นต้องทำ คุณได้ผลสำเร็จ หนึ่ง อัตตาคุณโตขึ้น เพราะคุณได้บำเรอใจคุณที่ได้ตามสั่ง ตามต้องการของตนเอง สองคนนั้น เขาไม่ชอบใจก็สั่งสมไปแล้ว พยาบาท จองเวรจองกรรม จะน้อยจะมากก็สั่งสมเป็นพลังงานทางจิต ต้องพยายามประสาน ลดหย่อน กันลงมาบ้าง ของเขา ครึ่งหนึ่ง ของเราครึ่งหนึ่ง หรือของเรา ๓๐ ของเขา ๗๐ อย่างนี้มันก็จะเกิดการสมาน งานก็จะเป็นไปได้ อย่างโศลกที่เคยได้ให้ไว้ ปราชญ์จะไม่สร้างอำนาจ จนคนอื่นเกรง ไม่กล้าติ ไม่กล้าท้วง ส่วนคนแค่ฉลาดจะสร้างอำนาจ ให้กับตนเอง จนคนอื่นเกรง ไม่กล้าติ ไม่กล้าท้วง อยากให้พวกเราคุยกันให้ดีๆ ขบวนการกลุ่มต้องศึกษาและเอามาใช้ให้ดีๆ ผู้ใหญ่ต้องพยายามแสดงออกให้เห็นว่าทุกคน ช่วยกันคิด ทุกคน ช่วยกันร่วม แล้วงานก็จะมีอิทธิบาทกันอย่างดี อโศกได้ดีเพราะประชุม แต่บางทีก็เฟ้อในการประชุม ลงมติได้แล้วก็ยังไม่แล้วสักที คนที่เก่งคนเดียว ถ้าเราตายแล้วคนอื่นทำไม่ได้ต่อ อย่างนี้ก็จบ อย่างหลายสำนักที่ผู้นำเก่งอยู่คนเดียว เมื่อตายก็ไปไม่รอด เมื่อทุกคนร่วมกันทำงาน ก็เป็นไปได้ เป็นพลังรวมที่เป็นไปดี คานธีบอกว่าคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน แต่อาตมาบอกว่าคำตอบอยู่ที่คน ถ้าไม่มีคนที่มีมรรคผลหมู่บ้านก็ไม่เป็นไปได้ดีหรอก ต้องพยายามระมัดระวังอย่าเอาแต่ใจตัว เราต้องระวังดูตัวเองให้ดีๆว่าเราเอาแต่ใจตัวไหม ผู้ที่หมู่ได้ตกลงกันไว้ดีแล้ว ถ้าไม่ยอมตามมติ ยังไปหาเสียงข้างนอก หรือไปปฏิบัติอย่างที่ตนเองทำหรือเป็น อย่างนี้มันไม่เป็น ผลดีต่อตนเอง ต่อสังคมส่วนรวม ผู้ใหญ่ต้องระมัดระวังให้มากๆ เมื่อเขายกให้เราก็ต้องพยายามที่จะไม่เอาตัวเป็นใหญ่ ถอดตัวถอดตนอย่างวิเศษ" อีกโศลกธรรมหนึ่งของงานมหาปวารณา ปีนี้คือ คนจนมหัศจรรย์ คือ ผู้กอบกู้สังคมให้ไปรอด มุ่งเน้นสื่อกับคนภายนอกทั่วไป ซึ่งก่อนหน้านี้ การให้คำความโปรยหน้าปกเราคิดอะไรเล่มที่ผ่านๆมา เน้นลักษณะของเศรษฐศาสตร์ บุญนิยม เปรียบเทียบกับ ทุนนิยม เป็นต้นว่า บุญนิยม คนทำ-จุลภาค คนได้ประโยชน์-มหัพภาค (จนกระจุก รวยกระจาย) ทุนนิยม คนได้ประโยชน์-จุลภาค คนทำ-มหัพภาค (รวยกระจุก จนกระจาย) คำว่า คนจนมหัศจรรย์ นับเป็นศัพท์ภาษาอีกคำหนึ่ง ที่พ่อท่านให้ความหมาย และกำหนดใช้อธิบายลักษณะ สภาวธรรม ที่เกิดขึ้น ในสังคม โดยยัง ไม่มีผู้ใดในสังคมใช้คำความนี้ คนจนโดยทั่วๆไปในสังคมก็เห็นๆ กันอยู่ เป็นสามัญทั้งโลก เข้าใจ ตรงกันหมด แต่คนจนมหัศจรรย์นี้ ยังไม่มีใคร เคยกล่าวอธิบายไว้ ซึ่งพ่อท่านได้นำเอาหลักธรรมวรรณะ ๙ (๑.สุภระ เลี้ยงง่าย ๒.สุโปสะ บำรุงง่าย ๓.อัปปิจฉะ มักน้อย ๔.สันตุฎฐิ สันโดษ ใจพอ ๕.สัลเลขะ ขัดเกลากิเลสตนและท่าน ๖.ธูตะ มีศีลเคร่ง ๗.ปสาทิกะ มีอาการที่น่าเลื่อมใส ๘.อปจยะ ไม่สะสม ๑๐.วิริยารัมภะ ยอดขยัน) มาอธิบายถึงลักษณะคนจนมหัศจรรย์ และได้นำพาชาวอโศกให้เป็นเช่นนี้ เป็นกลุ่มหมู่ที่ทำงานอยู่กับสังคม ไม่ได้หลีกลี้หนีผู้คนไปอยู่ ป่าเขาที่ไหน โดยมีระบบ สาธารณโภคี ทุกคนทำงานให้กับส่วนกลาง ไม่มีใครมีเงินเดือนรายได้ กินใช้ร่วมกัน จากกองกลาง มีวิถีชีวิต และ วัฒนธรรม เป็นอีกอย่างหนึ่ง ต่างจากสังคมส่วนใหญ่ แต่สอดคล้องกับถ้อยคำของหลวงปู่พุทธทาสที่ว่า ดุจดัง ก้อนน้ำแข็ง ท่ามกลาง เตาหลอมเหล็ก ขณะที่ฝ่ายศาสนากระแสหลักมองชาวอโศกว่าเป็นพวกนอกรีต ทำธรรมวินัยให้วิปริต ไม่ใช่พุทธ แต่ก็ยังมีนักวิชาการได้ สะท้อน ความคิดเห็น เป็นอีกด้านหนึ่ง เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ๒๖ ก.ย. ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สสส.) ได้มีชาวอโศกกลุ่มหนึ่งนำผล การวิจัย มานำเสนอ เรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะจิตวิญญาณ ศึกษากรณีชุมชนชาวอโศก ท่ามกลางที่ปรึกษาและ ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๖ ท่าน มีทั้งพระ วุฒิสมาชิก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยหัวเฉียว-เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร ผู้จัดการ แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสื่อสร้างสรรค์ ประธานเครือข่าย ความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน จากเสียง ที่สะท้อนของท่านผู้รู้เหล่านั้นว่า น.พ.บัญชา พงษ์พาณิช "ระบบบุญนิยมนี่เป็นจุดแข็งของชาวอโศก กิจกรรมบุญนิยม ๑๑ ด้าน เป็นปฏิบัติการสร้างสุขภาวะ ของชุมชน ทั้งโลกนี้ จะมีชุมชนอย่างนี้น้อย อยากให้แสดงให้เห็นว่านี่แหละคือกระบวนการของชุมชนในการสร้างความสุข" น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ "อยากให้ขยายวิธีคิดในเชิงสังคมออกมาให้ชัด ต้องโยงให้เห็นว่าเราทำงานอย่างไร มีกระบวนการ อย่างไร วิเคราะห์ การพัฒนาคนมาพัฒนาสังคม ทำอย่างไรให้คนทำงานโดยไม่เอาเงินเดือน และร้านนั้นไม่ขาดทุนเพราะอะไร เรามีของดี ถ้าสื่อให้ดี งานวิจัย จะมีประโยชน์มากและจะเป็นหนังสือที่มีคุณค่า ทำให้งานวิจัยของเราต่อยอดในสิ่งที่สอด คล้องกับความเป็นจริง งานบุญนิยม ๑๑ อย่าง คือหัวใจของสังคม เป็นองค์รวมของการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์" ดร.วิลาสินี พิพิธกุล "ชุมชนอโศกสร้างกลไกของบุญนิยมขึ้นมา มันท้าทาย แล้วก็สกัดกั้นทุนนิยม อยากให้เน้นให้เห็นชัดเจน ว่าบุญนิยม มีส่วนช่วยสร้าง สุขภาวะทางจิตวิญญาณได้อย่างไร ที่บอกว่ามีการทบทวน การระลึกรู้ การควบคุมตัวเองตลอดเวลา อยากให้บอกว่าใช้อย่างไร แล้วได้ผลกับเยาวชนของชุมชน อโศกเอง อย่างไร ช่วยให้เยาวชนที่อยู่นอกชุมชนควบคุมตัวเองได้หรือเปล่า เรื่องศีลก็เหมือนกัน อยากรู้ว่าเราเอาศีล มาเป็น ข้อกำหนดให้คนปฏิบัติได้อย่างไร ทำให้คนยอมรับได้อย่างไร" ศ.สุกัญญา สุดบรรทัด "สันติอโศกไม่อยู่นิ่ง ไม่ปิดตายอยู่กับที่ ทั้งๆ ที่เป็นคนเคร่งศีลมากนะคะ แต่ว่ามีการเคลื่อนไหว ทางสังคม อย่างเช่น เรื่องการคัดค้านเอาเหล้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่เคลื่อนไหว ก็มองเห็นความนิ่ง อยากให้เขียน ออกมาให้เห็นตรงนี้" พระดุษฎี เมธังกุโร "เมื่อสงฆ์ชาวอโศกแยกตัวออกจากคณะสงฆ์ ทำให้ไม่ค่อยทะเลาะกับรัฐบาล ไม่ทะเลาะกับคณะสงฆ์ จึงมี พลังทำงาน ข้างในมาก แล้วมีจุดเด่น คือมีปัจจัยสี่ ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับสังคมข้างนอกเลยก็ได้ เราอยู่ของเราเองได้ ถ้าเกิดปัญหา อะไรขึ้นมา สังคมจะอยู่ กันไม่ได้ แต่ชาวอโศกอยู่ได้ พึ่งตนเอง ด้านการบริหาร อโศกไม่เป็นเผด็จการ มีสังฆะ มีการประชุมกันในทุกระดับ ไม่มีพ่อท่านอยู่ ก็ทำต่อได้ พ่อท่านอยู่ ก็ทำต่อได้ คนธรรมดา หลายๆ ความคิดจะมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา "ปปัญจธรรม" ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ แล้วก็ทิฏฐิ สันติอโศกเก่งมากในการที่พยายามจะสู้กับเรื่องตัณหา แต่ว่า ตัวมานะ ตัวทิฏฐิ นี่ไม่แน่ใจ" ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช "ดิฉันว่าเรามีความเข้าใจร่วมกันอยู่บ้างว่าการทำงานชิ้นนี้นี่ ส่วนหนึ่งก็ให้ชาวอโศก เข้าใจตัวเอง มากขึ้น และดิฉันเองก็คิดว่า ให้คนข้างนอกเข้าใจ ชาวอโศก มากขึ้น แล้วก็นำสิ่งที่เรียกว่า การปฏิบัติในเรื่องของสุขภาวะ ด้านจิตวิญญาณ ของชาวอโศก มาเทียบเคียงกับหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ข้อมูลมันดีมาก แล้วมันก็เยอะมาก ตอนนี้ นักวิจัย อยู่ในสภาพข้อมูลท่วมอยู่ กำลังตะเกียกตะกาย ให้พ้นจากข้อมูล"
เสียดายที่เลยหน้ากระดาษมาเยอะแล้ว อยากจะสรุปให้คิดกันสักนิดว่า สิ่งๆเดียว วิธีการอย่างเดียวกัน สามารถที่จะแก้ไข สารพัดโรค ได้จริงๆหรือ?. |
||
'เอาแต่ใจตัว คือชั่วโดยอัตโนมัติ' พ่อท่านครบรอบ ๓๕ พรรษา
งานมหาปวารณาครั้งที่ ๒๔ จัดในระหว่างวันที่ ๔ - ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เริ่มเตรียมงานจากการเข้าค่ายบูรณาการการศึกษา บุญนิยม ของนักเรียนโรงเรียนสัมมาสิกขา ทั่วประเทศระดับชั้น ม.๔ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ต.ค.-๒ พ.ย. โดยนักเรียนมีการทำงาน ในภาคเช้า และภาคบ่าย ส่วนภาคค่ำเป็นการเรียนรู้วิชาการ การจัดกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมมีดังนี้ # วันที่ ๔ พ.ย.๔๘ กิจกรรมเริ่มในเวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ชั้นล่างศาลาวิหาร เป็นการฟังการบรรยาย เรื่องการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เชิงบูรณาการ ตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง โดยคุณเบญจรัตน์ อนันต์พงษ์สุข ผอ.สำนักตรวจราชการ กรมพัฒนาที่ดิน หลังจากนั้นในช่วงเวลา ๑๐.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ฟังการบรรยาย เรื่องแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี ของ กรมพัฒนาที่ดิน โดยคุณเสียงแจ๋ว พิริยพฤนต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุกรมพัฒนาที่ดิน ๑๐.๔๕ - ๑๑.๓๐ น. ฟังการบรรยายเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดย ว่าที่ ร.ต. สมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ ผอ. ส่วนช่วยเหลือเกษตรกร หลังจากเสร็จสิ้น การบรรยาย สมณะได้เข้าสู่พิธีมหาปวารณาที่ ศาลาวิหารต่อ ฝ่ายฆราวาสรับประทานอาหารที่โรงครัวและโรงบุญ ภาคบ่ายเริ่มในเวลา ๑๓.๐๐ น. ณ หอประชุมชาวบ้านซึ่งมีสมาชิก คกร. ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังจำนวนมาก จนต้อง ออกมานั่ง นอกห้อง ประชุม ในช่วงแรก เป็นการบรรยายของ ผอ. ศูนย์คุณธรรม คุณนราทิพย์ พุ่มทรัพย์ ให้ความกระจ่าง ในบทบาท ของศูนย์คุณธรรม ซึ่งได้ทำงาน ร่วมกับ สถาบันบุญนิยม หลังจากนั้นเป็น การทำความเข้าใจร่วมกันของ ศูนย์บุญนิยมสิกขา แต่ละแห่ง เรื่องการทำงาน ในหัวข้อ ๒ ประการคือ ๑. พัฒนาคน ๒. การปรับปรุงฐานงานที่มีอยู่เดิม กิจกรรม ได้เสร็จสิ้นในเวลา ๑๖.๑๐ น. แยกย้ายกลับไป ทำภารกิจส่วนตัว และรับประทาน อาหารเย็น กิจกรรมในภาคเย็น เป็นการบรรยายเรื่องนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดย คุณสุนัย เศรษฐบุญสร้าง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำให้เครือข่ายได้เข้าใจว่า จะทำงาน ประสานกับ หน่วยราชการ อย่างไร กิจกรรมเสร็จสิ้นในเวลา ๒๑.๐๐ น. # วันที่ ๕ พ.ย.๔๘ ภาคบ่ายเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. มีกิจกรรมประชุมการวางแผนงานปีใหม่และงานเพื่อฟ้าดิน โดยมีพ่อท่านเป็นประธาน จาก การประชุม การทำงาน ปีใหม่ตลาดอาริยะเพิ่มความเป็นสาธารณโภคีมากขึ้น ในภาคเย็นเวลา ๑๘.๓๐ - ๒๑.๐๐ น. มีกิจกรรม การแสดงที่ เวทีธรรมชาติ รายการภาคค่ำ ในวันนี้มีอุปสรรคฝนตกปรอยๆ แต่พ่อท่านและญาติธรรม ได้อยู่ร่วม จนกิจกรรมเสร็จสิ้น # วันที่ ๖ พ.ย.๔๘ เวลา ๐๖.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. เป็นการสัมมนากรรมการพรรคเพื่อฟ้าดินและสถาบันบุญนิยม ที่บริเวณชั้นล่างศาลาวิหาร พ่อท่าน เป็นประธาน หลังจากนั้นเป็นรายการธรรมก่อนฉัน เรื่องขุมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร? ดำเนินรายการโดย สมณะบินบน ถิรจิตโต สมณะ ที่ร่วมรายการคือ สมณะเลื่อนฟ้า สัจจเปโม, สมณะฟ้าไท สมชาติโก, สมณะร่มเมือง ยุทธวโร หลังจากนั้นถวาย ภัตรสมณะ แล้วรับประทานอาหาร ที่โรงบุญและโรงครัว เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. เป็นรายการ ปวารณาฆราวาส มีผู้ร่วมรายการคือ คุณสมพงษ์ ฟังเจริญจิตต์, น.พ.วีระพงษ์ ชัยภักดิ์, คุณรัศมี กฤษณมิษ และคุณขวัญดิน สิงห์คำ ได้บอกข้อบกพร่อง ที่ชาวอโศกควรแก้ไขตนเอง ดำเนินรายการโดย สมณะเดินดิน ติกขวีโร ภาคค่ำในวันนี้ในช่วงประมาณ ๑๗.๐๐ น. ฝนตกแรงกว่าวันที่ผ่านมากิจกรรมจึงเปลี่ยนมาที่ใต้ศาลาวิหาร การเตรียมสถานที่ แบบร่วมแรงกัน ในเวลา ประมาณใกล้ ๑๙.๐๐ น. กิจกรรมจึงได้เริ่มขึ้นกิจกรรมเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. # วันที่ ๗ พ.ย.๔๘ หลังจากรับประทานอาหารแล้วเดินทางกลับบ้านอย่างสวัสดิภาพ. ความคิดเห็นของผู้มาร่วมงาน คุณปลูกขวัญ รักพงษ์อโศก ฝ่ายประสานงานโรงบุญฯ ชุมชนปฐมอโศก "ปีนี้ มีผู้มาร่วมตั้งโรงบุญจำนวน ๓๐ ร้านเพิ่มขึ้น มากกว่า ปีที่ผ่านมา และมีการจัดเวลาบริการอาหาร บรรยากาศในการแจกแต่ละร้านเลือกเมนูเองตามใจชอบ การแจกผู้ให้ผู้รับยิ้มแย้ม แจ่มใสกันดี ผู้ทำงานรู้สึกว่า งานปีนี้ลงตัว การประสานระหว่างแม่ข่ายและลูกข่ายกว้างขึ้น เครือแหมากันเยอะ ปีนี้เป็นปีครบรอบ ๗๒ ปี ปิตุบูชาพ่อท่าน ทางปฐมอโศก ขอขอบคุณ ทุกเครือแห ที่ให้ความร่วมมือ และญาติธรรมกลุ่มต่างๆ ชาวปฐมที่เพิ่งเสร็จจากงานเจ ก็มาเตรียมงาน ประทับใจการเข้าค่าย นักเรียน ม.๔ ปีนี้งานหนักมาก มาลอกคลองให้เพื่อจะเปิดพลาภิบาลและเคลียร์พื้นที่ภูเขา น้ำตก ให้เป็นหาดทราย ที่สวยงาม เด็กลุยงาน กับศิษย์เก่า เห็นแล้วประทับใจ และบรรยากาศภาคค่ำที่ฝนตกโปรยปราย มีการนำเพลงพ่อท่านมาร้องแล้วพ่อท่านบรรยาย ทำให้เราได้รู้ว่า พ่อท่านเขียนเพลง แต่ละเพลง มีความรู้สึกอย่างไร มีความหมายอย่างไร พ่อท่านอยู่กลางสายฝนมีร่ม ลูกๆก็นั่ง กางผ้ายาง กันฝนชม นักดนตรี ก็ร้องไปกางร่มกันไป เป็นภาพที่ประทับใจมาก" นางสาวอาบา แย่แบวกู่ นักเรียนสัมมาสิกขาราชธานีอโศก "มาช่วยเตรียมงานมหาปวารณา เข้าค่าย ม.๔ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ต.ค. ตอนแรก ไม่ค่อยสนิทกัน แต่พออยู่ไปเริ่มสนิทกัน เพื่อนๆ น่ารักเข้ากันและคุ้นเคยกันมากขึ้น การเรียนที่ได้ทำประโยชน์กับชุมชน และ เรียนด้วย ประทับใจ กิจกรรมลอกคลอง ไม่เคยทำมาก่อน และได้ช่วยงาน ช่วงงานมหาปวารณา สนุกและอาหารอร่อยเลือกทานที่โรงบุญ ประทับใจ ที่ได้เรียน ตอนภาคค่ำที่สุด การเรียนรู้ในห้องเรียนสนุกมาก ให้คิดเองทำเองมีหลายๆ วิชาในเวลาเดียวกัน" สมณะฟ้าไท สมชาติโก "ปวารณาก็คือ การที่เรามาปวารณาตัวว่า เราจะเป็นคนที่น้อมตัวลงไปรับฟังสิ่งที่เขาจะบอกกล่าวเรา แม้ได้ยินมาก็ดี ได้ฟังมาก็ดี จะจริงหรือไม่จริงเราก็พิจารณาเอาเองโดยไม่ต้องมีเหตุผลโต้ตอบ รับฟังไว้ว่าสิ่งนี้ดีไหมถูกต้องไหม ถ้าถูกต้องก็แก้ไข ถ้ามัน ไม่ถูกต้อง ก็วางใจเอา ในกระแสสังคมปัจจุบันคนจะรับฟังกันโดยข้อที่คนเขามาบอกกับเราน้อย สังคมเลยมีปัญหา สังคมชาวพุทธ เป็นสังคม ที่มีปัญหาน้อย เพราะรับฟังคำติติงได้ รับฟังคำบอกกล่าวได้ กิจกรรมของสงฆ์ ชาวอโศก ปีหนึ่ง ก็จะมาร่วมประชุมร่วมกัน โดยสงฆ์ชาวอโศก มาสรุปเรื่องราวกิจกรรมของสมณะ ที่ทำมาในเวลา ๑ ปี แล้วมาบอกกล่าวกัน ในข้อบกพร่อง มาติงเตือนกัน ในข้อบกพร่อง และวางแผน พัฒนาการของกลุ่มชาวอโศก ต่อไปใน ๑ ปี ทิศทางก็คือ ลดละกิเลส พวกเราก็ถือศีลได้ กินมังสวิรัติได้ กามก็ไม่จัดจ้าน ก็เหลือแต่ อัตตา ตัวตน ความยึดดีของเรา ความเอาแต่ใจตัวของเรา อย่างโศลกธรรมที่พ่อท่านบอก ไว้ บรรยากาศ ของหมู่สงฆ์ดี เป็นพี่เป็นน้อง ขัดเกลากัน อย่างมีศิลปะขึ้น". |
||
การทำเกษตรอินทรีย์ทุกวันนี้ได้เดินก้าวหน้าไปอย่างมาก เรียกได้ว่า... น่าจะครอบคลุมทุกภาคการผลิต... ตั้งแต่ภาคการ เกษตรกรรม, การประมง และการปศุสัตว์ ...แต่ยังติดขัดอีกหลายปัญหา...!!! โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน จึงมีการจัดตั้งโครงการ KU Fresh ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ ที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในพื้นที่ ๑๐๐ กว่าไร่ เพื่อเป็นแหล่งสาธิต...ส่งเสริมพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ และหารายได้สนับสนุนโครงการต่างๆ พร้อมกับ ให้ความรู้ และการฝึกอบรม แก่เกษตรกร ในการปรับเปลี่ยนภาคการผลิตแบบเดิมๆ มาเป็นเกษตรอินทรีย์... ดร.ถวัลย์ศักดิ์ เผ่าสังข์ ผช. อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้จัดตั้งโครงการผลิตพืชผักอินทรีย์ ภายใต้ตราสินค้า "KU Fresh" พร้อมกับ ต้องการประชาสัมพันธ์การบริโภคผักและผลิตภัณฑ์จากเกษตรอินทรีย์ให้มากยิ่งขึ้น... โดยมีการใช้พื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ จำนวน ๔๐ ไร่ รวมเข้ากับพื้นที่ระหว่างการประปากับโรงเรียนสาธิต อีกจำนวน ๖๐ ไร่ แบ่งเป็น ๘ แปลง แปลงละ ๖ ไร่ ใช้ระยะเวลาการเพาะปลูก ๖ สัปดาห์ โดยวางแผนสลับหมุนเวียนกันสัปดาห์ละ ๑ แปลง ...เพื่อต้องการให้มีผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในทุกสัปดาห์ ที่ผ่านมามีกำลังผลิตสูงสุด ๒,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ต่อสัปดาห์ ปัจจุบัน ทำการเพาะปลูกเพียงแค่ ๓๐๐ ต.ร.ว. ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตถึง ๑,๕๐๐ กิโลกรัมต่อไร่...โดยใช้แรงงานจำนวน ๑๐ คน โครงการ KU Fresh มีแผนการที่จะเพิ่มการเพาะปลูกให้ครบ ๔๘ ไร่ ภายในปี พ.ศ.๒๕๔๙ นอกจากนี้ยังมีโครงการ ที่จะนำ เทคนิคการผลิต ผักอินทรีย์ ไปขยายในพื้นที่ ของเกษตรกรที่ร้องขอมาอีก ๑๐๐ ไร่ เพื่อร่วมกันผลิตผักอินทรีย์ป้อนเข้า สู่ตลาด ขนาดใหญ่ ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ...รวมทั้งยังส่งออกไปในต่างประเทศซึ่งจะมีรายได้ในรูปค่าลิขสิทธิ์ ภายใต้ชื่อ KU Fresh สำหรับเกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการจะได้รับการตรวจสอบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เมื่อทุกแปลงที่ผ่านการตรวจสอบ มาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ เมื่อทุกแปลง ที่ผ่านการตรวจสอบจะได้รับ ใบรับรองมาตรฐาน ได้แก่ ใบรับรองสินค้าอนามัย จาก กรมวิชาการเกษตร, ใบรับรอง จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และตราสัญลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ที่ได้มาตรฐาน ประเทศไทย... งานนี้ KU Fresh ได้เลือก บริษัทไออนิค จำกัด เข้ามาเป็นผู้ผลิตปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีเทคโนโลยี การผลิตที่ ทันสมัย ได้มาตรฐาน ประกอบกับ ได้มีการตรวจสอบแปลงสาธิตที่ประสบความสำเร็จ เห็นผลได้อย่างชัดเจน และ มีความพร้อมเต็มที่... ใครสนใจเข้าร่วมโครงการ KU Fresh ติดต่อกริ๊งกร๊างไปที่ ดร.ถวัลย์ศักดิ์ ๐-๑๙๓๙-๘๙๗๕ ในวันและเวลาราชการ. (จาก นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒ พ.ย.๔๘) |
||
ศูนย์คุณธรรมระดม องค์กรภาคีร่วมจัดงาน "สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติและตลาดนัดคุณธรรม ครั้งที่ ๑" ในวันที่ ๒๘ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ ณ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ ทาง สถาบันบุญนิยมร่วมจัดแสดงนิทรรศการมีชีวิต โดยจัดซุ้มแปลงผัก รักษ์ดิน ให้โอกาสตนเอง ฟื้นฟู สุขภาพกายและใจ ด้วยการคืนสู่วิถีชีวิต ที่เรียบง่าย และใส่ใจธรรมชาติ ชมแปลงเมล็ด ธัญญาพืชงอก ปลูกง่ายแบบตรงใจคนเมือง เรียนรู้ การเพาะเมล็ดพืชกินเอง หัดปรุงอาหารง่ายๆ ให้คุณค่า และความอร่อย เชิญชิมน้ำ ธัญพืชงอก อาหารมังสวิรัติ เชิญชวนสมัครสมาชิก ชมรมสัจจะอธิษฐาน พร้อมรับหนังสือธรรมะแจกฟรี ชมตัวอย่าง หนังสือ และวีซีดีธรรมะ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชน ในเครือแห สถาบันบุญนิยม แผนที่แสดงที่ตั้ง ศูนย์บุญนิยมสิกขา ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ วันที่ ๒๘ ต.ค. ๒๕๔๘ ต่อจากนั้นชมวีดิทัศน์ "ร่วมแรงแข็งขัน ร่วมกันทำดี" และพิธี "จุดเทียนคุณธรรม และการอ่านบทกวี" คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดิน เชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) เปิดเผยว่า การจัด สมัชชา คุณธรรมแห่งชาติ เป็นการเปิด เวทีสาธารณะเพื่อระดมข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ที่จะกระตุ้นให้เกิด การค้นหา ทางออก และการริเริ่ม แนวทางพัฒนาคุณธรรมรูปแบบใหม่ๆ โดยมีประเด็น ที่เข้าสู่กระบวนการสมัชชาคุณธรรม ทั้งหมด ๙ ประเด็น ได้แก่ ๑. การพัฒนาวัฒนธรรมจิตอาสา เครือข่ายของศูนย์คุณธรรม มี ๙ กลุ่ม ได้แก่ ๑. กลุ่มจิตอาสา ๒. กลุ่มเด็ก เยาวชน และครอบครัว ๓. กลุ่มสื่อ ๔. กลุ่มการศึกษา ๕. กลุ่มศาสนา ๖. กลุ่มเครือข่ายชุมชน ๗. กลุ่มการเมือง และการปกครองท้องถิ่น ๘.กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม ๙. กลุ่มกลไกทางสังคม ๑๐.๑๐ น. ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ปาฐกถาเรื่อง "พลังคุณธรรมพลังแผ่นดิน" ๑๑.๑๐ - ๑๖.๓๐ น. เริ่มประชุมสมัชชาคุณธรรมเฉพาะ ๙ กลุ่ม วันที่ ๒๙ ต.ค. ๒๕๔๘ ๑๔.๓๐ - ๑๕.๓๐น. ฯพณฯนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประธานในพิธีรับมอบข้อเสนอ "ประกาศเจตนารมณ์ สมัชชาคุณธรรม แห่งชาติ" และปาฐกถาพิเศษ "คุณธรรมนำไทยแข็งแรง" ต่อด้วยการเดินชมนิทรรศการ และร่วมฐานกิจกรรม ผู้มาร่วมงาน ในวันนี้แน่นมาก สรุปในงานนี้เราได้มีโอกาสมอบหนังสือธรรมะ ๔ เล่มและผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ฯพณฯนายกรัฐมนตรี นำหนังสือธรรมะไปแจก ประมาณ ๑,๘๖๐ เล่ม รับสมัครสมาชิก ชมรมสัจจะอธิษฐาน ๓๘๕ คน - คนเดินทาง |
||
นายกฯห่วงสังคมยุค 'ทุนนิยม' 'ทักษิณ' ไปร่วมงาน 'สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ' ซาบซึ้งรสธรรมท่าน'พุทธทาส' ผลักดัน กทช.กสช. จัดตั้งทีวีปลูกฝังคุณธรรม เยาวชน บอกสังคมยุคทุนนิยมน่าห่วง พวกเศรษฐี-มีฐานะ ไม่ค่อยแสดงออกเรื่องคุณธรรมจริยธรรม นักการเมืองเลวกลับได้ดี 'ทักษิณ'ร่วม'สมัชชาคุณธรรม' จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "คุณธรรมนำไทยแข็งแรง" ว่า รัฐบาลรู้สึกดีใจมากที่ผู้นำศาสนาทุกศาสนา และ เครือข่าย ต่างๆได้สนับสนุน ให้เกิดการทำความดีในสังคมไทย ซึ่งการดำรงอยู่ของทุกประเทศ จะต้องประกอบด้วย แท่งหลัก ๓ แท่งด้วยกัน คือ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ว่าในทุกสังคม ๓ แท่งหลักนี้เติบโต ไม่เท่ากัน ปัญหาในปัจจุบัน คือแท่งด้านสังคมเตี้ยกว่าแท่งอื่นๆ ซึ่งมาจาก ความอ่อนแอ ของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาและสถาบันศาสนา ตอนนี้ ถึงเวลาที่ทุกคน จะต้องช่วยกันทำให้สถาบันทั้ง ๓ อย่างนี้ เข้มแข็ง เพื่อนำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง บอกพวกเศรษฐีไม่มีจริยธรรม ระบุคนไทยไม่รู้จักแก่นพุทธ นายกฯกล่าวว่า ปัญหาของสังคมไทยปัจจุบันมักไปสนใจกระพี้ ทะเลาะกันเพราะเรื่องกระพี้ สุดท้ายโยนแก่นทิ้ง อย่างเรื่อง ศาสนาพุทธ ในปัจจุบันก็เหมือนกัน มาเถียงกันเพราะเรื่องที่เป็นกระพี้ แต่เรื่องแก่นไม่สนใจ สื่อมวลชนเอง ก็ต้องเห็น ความสำคัญ ในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมด้วย เพราะสื่อเสนออย่างไร สังคมก็ซึมซับไปอย่างนั้น ดันทีวี'คุณธรรม'-พุทธทาสบันดาลใจ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า "สมัยก่อนผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมอย่างลึกซึ้ง สมัยที่พล.ต.จำลองให้เข้ามาเป็น หัวหน้า พรรคพลังธรรม ผมมีแต่พลัง แต่ไม่มีธรรม มีแต่ความต้องการที่จะทำสิ่งที่ท้าทาย หลังจากออกมาแล้ว คิดจะทำ พรรคการเมืองใหม่ ภรรยาก็ได้เตือนว่า เธอต้องมีธรรมะให้มากกว่านี้ ถ้าไม่มีธรรมะเธอก็พัง ผมจึงไปหาหนังสือธรรมะมาอ่าน จนเมื่อได้อ่าน หนังสือ ของท่านพุทธทาส จึงมีความรู้ความเข้าใจ ศาสนาพุทธมากขึ้น เข้าใจคุณธรรม และจริยธรรมมากขึ้น" (จาก นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๓๐ ต.ค.๔๘)
|
||
เมื่อไม่นานมานี้เองคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ จะเล่าให้ฟังนะคะว่า คณะผู้วิจัยได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดจากสภาพการใช้งานจริงของผู้ประกอบการอาหารทอดในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๐๐ ราย พบว่า น้ำมันทอดปาท่องโก๋มีสารโพลาร์ (สารก่อมะเร็ง) สูงสุด รองลงมาคือน้ำมันทอดลูกชิ้น น้ำมันทอดเต้าหู้ น้ำมันทอดกล้วย น้ำมันทอดไก่ ตามลำดับ จะพามารู้จักกับสารโพลาร์กันสักหน่อยนะคะ สารโพลาร์ คือสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างการทอดอาหาร ซึ่งมีฤทธิ์ต่อการกลายพันธุ์คือทำให้เซลล์ดีกลายเป็นเซลล์ มะเร็งได้ สารนี้จะพบได้ สูงสุดหลังจากใช้น้ำมันทอดนาน ๒๐ ชม. จากการศึกษาวิจัยพบว่าการใช้น้ำมันทอดซ้ำ (เกินกว่า ๒ ครั้ง) หรือค่าของสารโพลาร์เกินกว่าร้อยละ ๒๕ ของน้ำหนัก มีแนวโน้มทำให้เกิดมะเร็งปอด จากการสูดดมไอระเหยของน้ำมัน ระหว่าง ปรุงอาหาร จึงไม่ใช่ เรื่องแปลกว่า ทำไมคนที่ไม่สูบบุหรี่แต่เป็นมะเร็งปอดได้ นอกจากนั้นยังพบว่าก่อให้เกิดเนื้องอกในตับและปอด ทำให้เกิดมะเร็งบนผิวหนัง และเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลองด้วย มีข้อสังเกตการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดที่พอมองเห็นคือ มีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ มีฟองมาก เป็นควันง่าย เหม็นไหม้ ไม่ควรใช้ต่อไป จะเห็นว่าการบริโภคน้ำมันที่เสื่อม สภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่สะสมในร่างกายซึ่งทำให้เกิดมะเร็งได้ อยากจะเตือนพวกเราทั้งหลาย ที่ยังนิยมของทอด ว่าแค่การสะสมไขมันที่ไม่เสื่อม ก็เป็นอันตรายอยู่แล้ว ยิ่งถ้าไปสะสมไขมันที่เสื่อมสภาพเข้าแล้ว จะอันตราย เพิ่มขึ้นเท่าใด ก็ได้โปรดสังวรระวังให้มากด้วย อย่าลืมว่า "ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ" มาช่วยกันลด หรือดับเหตุอันที่จะเกิดผลไม่ดีกันเถอะค่ะ. - กิ่งธรรม - |
||
กิจกรรมชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนปฐมอโศก - อินทร์บุรี งานวันรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทางศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริลำตะคอง ต.คลองไผ่ ได้จัดงานฉลองครบรอบ ๕๐ พระชันษา และครบรอบ ๑๒ ปีของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการประชุมวิชาการวาระแห่งชาติ เกษตรอินทรีย์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง และนิทรรศการเรื่องทรัพยากรไทย สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มาร่วมออกร้านกันเต็มพื้นที่กว่าร้อยไร่ มีโรงเรียนกว่า ๒๐๐ แห่งมาร่วมจัดนิทรรศการและแสดงกิจกรรม ด้านเกษตรอินทรีย์ ทางเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทยและชุมชนตามพุทธสถาน ต่างๆก็ได้รับเชิญมาร่วมงานยิ่งใหญ่นี้ด้วย งานนี้คุณสุนัย เศรษฐบุญสร้าง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ มาเป็นประธานเปิดงานแทน รมว.กระทรวงเกษตรฯ และที่สำคัญพิเศษก็คือ พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ได้รับนิมนต์ให้ขึ้นร่วมอภิปรายเรื่อง "ยิ่งทำยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี" ร่วมกับวิทยากร หลายท่าน และสมณะเสียงศีล ชาตวโร ก็ได้รับนิมนต์ให้ขึ้นร่วมอภิปรายเรื่อง "ขบวนการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ เกษตรอินทรีย์ เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง" ในงานนี้มีการถ่ายทอดออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตรตลอดทั้งวันทางคลื่น AM 1386 KHz และได้ถ่ายทำเป็นวีซีดีไว้ด้วย |
||
หน้าปัดชาวหินฟ้า เจริญธรรม สำนึกดี พบกับ นสพ. ข่าวอโศก ฉบับที่ ๒๖๖(๒๘๘) ปักษ์แรกวันที่ ๑-๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ ส่วนข่าวความเคลื่อนไหวในแวดวงชาวเราประจำฉบับนี้มีดังนี้ หนังสือสัจจะชีวิตฯ...มีผู้สอบถามกันเยอะว่า หนังสือสัจจะชีวิตฯ ภาคที่เหลือเมื่อไรจะออก(ซะที)? เรื่องนี้คณะทำงาน หนังสือ สัจจะชีวิตฯ ฝากบอกผ่านมาทาง จิ้งหรีด (ด้วยความเกรงใจท่านสมาชิกมากๆ) ว่า ที่เดิมคาดว่า หนังสือสัจจะชีวิตฯ ภาค ๒ จะออกทันงานอโศกรำลึก ๒๕๔๘ ส่วนภาค ๓ ซึ่งจะให้ออกช่วงงานวันมหาปวารณา ๒๕๔๘ และภาค ๔ ในช่วงงาน วันอโศกรำลึก ๒๕๔๙ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้ทันตามกำหนดที่ตั้งใจไว้แต่แรกเลย เนื่องจากการตรวจสอบต้นฉบับ ต้องอาศัยเวลาและความละเอียดรอบคอบมากๆ ซึ่งตอนนี้ พ่อท่านก็ติดภารกิจมากอยู่ ทางคณะผู้จัดทำเลยฝากขออภัย ท่านสมาชิก ที่ได้สั่งจองหนังสือไว้ทั้งชุดด้วย และแม้ว่า ค่ากระดาษค่าพิมพ์ จะเพิ่มมากขึ้นไปแล้ว แต่จิ้งหรีดก็ได้คำยืนหยัดว่า สำหรับ ผู้สั่งจองไว้แล้ว ราคาเดิมแน่นอนฮะ...ไม่เป็นไรนะฮะ รู้อยู่ว่าทุกฝ่ายก็เร่งกันสุดๆแล้ว แม้จะออกไม่ได้ทันตามกำหนด แต่หนังสือดีๆ อย่างนี้สมาชิกที่จองรุ่นบุกเบิกเขารอได้อยู่แล้วฮะ สาธุ...จี๊ดๆๆๆ ..... สะเก็ดมหาปวารณา...มหาปวารณาปีนี้ครบรอบ ๒๔ ปี หรือ ๒ นักษัตร พ่อท่านครบรอบ ๓๕ ปีของการบวช เมื่อวันที่ ๗ พ.ย. ๒๕๔๘ เพราะพ่อท่านบวช พ.ศ. ๒๕๑๓ ปีนี้พ่อท่านให้โศลกธรรมโดนใจชาวเรามาก ใครอยากรู้ว่ามีเนื้อหาอย่างไร ก็ดูตอนท้าย ของหน้าปัดชาวหินฟ้านะฮะ... จิ้งหรีดเห็นพ่อท่านพูดไปสักระยะก็ไอไปด้วย พ่อท่านบอกลูกๆว่า ไอเอาเสลดออกเป็นเสลดสีขาวแสดงว่าอาการดีขึ้น แต่ก่อน จะเขียวข้นเหนียว...ปีนี้พ่อท่านก็สอนพวกเราให้ฝึกอ่อนน้อม มีการปฏิสันถาร เพิ่มขึ้น พูดถึงเรื่องนี้แล้วก็ให้รู้สึกสงสาร ญาติโยมใหม่ๆ ที่มาสันติอโศก ถ้าโชคดีก็มีคนต้อนรับพอดี พ่อท่านบอกว่า พวกเราดูแข็งกระด้าง น่าจะเอาตัวอย่าง แบบฉื่อจี้ ธรรมกาย หรือแผนกต้อนรับของ พระอาจารย์ สมชาย วัดเขาสุกิม ซึ่งหลวงตาพรหม มักจะกล่าวชื่นชมอยู่เสมอ... ในที่ประชุมมหาปวารณา จิ้งหรีดก็ได้ รู้ว่า ดร.รินธรรมได้ทำการวิจัยเรื่อง "สุขภาพ จิตวิญญาณ ศึกษากรณีบุญนิยม" ซึ่งได้รับงบ สสส. ที่จุฬาฯผู้รู้ส่วนใหญ่มีความเข้าใจ ในชาวเรามากขึ้น และปีนี้จะมีการจัดงานปัญญาสมโภช แต่ก่อนเราเคย จัดงานศีล สมโภชที่สวนลุมฯ สมาธิสมโภชที่บ้านราชฯ ปีหน้าก็ถึงคราที่ชาวเราจะจัดงานปัญญาสมโภช โดยจะผนวก ตามงานหลักๆของชาวเรา จะงานไหนก็ให้ติดตามกันเองนะฮะ พ่อท่านเคยบอกลูกๆว่า อโศกในยุคปัญญา จะมีเรื่องราว มากมายเหมือนยุ่งวุ่นวาย ไม่รู้อะไรผิด-ถูก ดังนั้นเราต้องแม่นในจิตวิญญาณ แม้โลกจะยุ่งเหยิงวุ่นวาย แต่ใจเราจะไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่งเหยิงไปกับโลก... จิ้งหรีดได้ไปร่วมงานมหาปวารณา ครั้ง ที่ ๒๔ นี้ ก็ได้รู้ว่าเดี๋ยวนี้ชาวอโศกเรา เวลาจัดงานจะต้องโทรสอบถาม กรมอุตุนิยมวิทยา กันแล้ว โอ้โฮ!น่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ที่สันติอโศกและปฐมอโศก อย่างรายการ เวทีกลางแจ้ง กรมอุตุฯก็บอกว่า จะมีฝนตก ในภาคกลาง ประมาณ ๖๐ % อ้าว! แล้วเราจะตั้งเครื่องเสียงดีไหมในงานนี้ แล้วเป็นไงฮะงานมหาปวารณาปี'๔๘ นี้ เจอฝน ทุกวันก็ว่าได้ จึงต้องย้ายการแสดง เข้ามาในศาลาฟังธรรม แต่ในวันแรก ใครๆก็ประทับใจพ่อท่าน แม้ตาจะใช้งานได้ดี เพียงข้างเดียว ก็ยังอุตส่าห์นั่งให้กำลังใจลูกๆ ที่ขึ้นแสดงบนเวที ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาปรอยๆ จนจบรายการ ลูกๆ ต้องช่วยกัน เอาร่มไปกางกันฝนให้พ่อ เพราะเกรง พ่อท่านจะอาพาธเพราะฝนนี่แหละ แต่ลูกๆ ที่ขึ้นแสดงบนเวทีหลายๆกลุ่ม หลายๆคน รวมทั้งจิ้งหรีดก็รู้สึกซึ้งถึงคำที่ว่า "อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้า สุราลัยสู่แดนดิน เป็นสิ่งดี ๒ ชั้นพลันปลื้มใจ แด่ผู้ให้และผู้รับสมถวิล..." ...ตอนนี้ใจดิน ชาวหินฟ้า อารามิกาที่ปฐมอโศก กำลังฝึกเป็นคุรุ ใครเห็นก็ให้กำลังใจด้วย เพราะเป็นคุรุ ยากกว่าเป็นนักเรียน นะฮะ... เข้าคิวรอพบเป็นคิวยาว ก็ไม่รู้ว่า ท่าน คือใคร จะเหนื่อยไหม โยมใจกลั่นบอกกับจิ้งหรีดว่า โยมก็เป็นคนหนึ่งที่รอคิว เพราะได้ เห็นทุกข์ ทำให้เห็นธรรม เห็นสมณะ และเข้าถึง เข้าใจว่าทุกข์นี้ดีนะ อ้าวแล้วท่านคือใคร ที่โยมขอคิวเข้าฟังธรรม เป็นใคร มาจากไหน ก็ให้สอบถามสมณะคือใคร อโสโก นะฮะ... อาป๊อก หัวแตก มีคนบอกว่า อาป๊อก ถูกหินหัวแตกถึง ๒ ครั้งใกล้ๆกัน ก็ที่โคราชช่วงไปรับเสด็จพระเทพฯ กับช่วงก่อนงาน มหาปวารณามีคนบอกจิ้งหรีดว่า อาป๊อกหัวแตกถึง ๒ ข้าง คือ หัวแม่เท้าข้างซ้ายกับข้างขวา จิ้งหรีดจึงได้ถึงบางอ้อว่า หัวอะไร มี ๒ หัว ด้วยเหตุนี้ช่วงเตรียมงานจึงได้เห็นอาป๊อกนั่งรถไปตรวจงานตามจุดต่างๆในฐานะแม่งาน... ปีนี้ของหายกันบ่อย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะพวกเราจับขโมยเก่งขึ้นกว่าปีก่อนๆ หรือขโมยมามากขึ้น ไปศาลาค้าก็เจอพวกล้วงกระเป๋า แทรกตัวเข้ามา อยู่ที่พักชายเสียบชาร์จโทรศัพท์ไว้ก็หาย เอาย่ามไว้ที่ศาลางาน ก็ยังหาย โอ้!จิ้งหรีดคิดว่า พวกเราคงต้อง ระวังกันมากขึ้น พวกโจรชักรู้แกวแล้วนะฮะ... คุณหนึ่งเพียรทำงานช่วยโรงพิมพ์ที่ศาลางาน ใครๆก็มักจะฝากของให้คุณหนึ่งเพียรช่วยดูแลที่ศาลางาน จิ้งหรีดคิดว่า อาจเป็น เพราะมีหน้าที่รับฝากรองเท้า เวลามีงานอบรม เลยอาจถูกเข้าใจผิดว่า มีหน้าที่รับฝากของ คุณหนึ่งเพียรบอกว่าไม่ไหวนะฮะ ท่านที่ฝาก จะต้องรับผิดชอบของเองนะฮะ เพราะไม่มีเวลาดูแลตลอด... มีญาติธรรมบอกจิ้งหรีดว่า รู้สึกประทับใจรายการ "ฝันให้ไกล ไปให้ถึง" โดยอาจารย์หญิงและคุณสมพงษ์ โดยเฉพาะ คุณหนึ่งเพียร บอกจิ้งหรีดว่า อยากให้ก็อปปี้เทปไปให้ชาวอโศกทั่วประเทศได้รับฟังกัน... กลับจากงานมหาปวารณา คุณคิมเปิดแก๊สต้มถั่ว ปรากฏว่า เกิดอุบัติเหตุแก๊สรั่ว เสียงยังกะเครื่องบินบิน คุณหนึ่งในธรรม สวมหัวใจ บางระจันเข้าไปปิดวาล์วได้สำเร็จ ท่ามกลางความใจหายใจคว่ำที่ ชมร.ช.ม. นี่ปลอดภัยได้คงเพราะ อานิสงส์ ขายจานละ ๕ บาทนะฮะ... คุณต้นหญ้า (ม.วช.)ที่ปฐมฯ ประทับใจตัวเองในงานปีนี้ว่า ตัวเองยอมได้ดีขึ้น ใครให้ทำอะไรก็ทำ จิ้งหรีดเห็นคุณต้นหญ้า ช่วยงานอยู่ ปชส. ก็ช่วยเอาภาระคนที่ไม่มีที่พัก เพราะได้เห็นความเดือดร้อนของผู้ มาร่วมงานที่ไม่รู้ว่าจะพักที่ไหนมากขึ้น แต่ทุกอย่าง ก็เป็นไปด้วยดีเพราะมีพวกเรา คอยช่วย แม้ฝนจะตกเป็นอุปสรรค... คุณบัวเพ็ญ จาก มร.ฐ. บอกกับจิ้งหรีด ว่า รู้สึกประทับใจเวลาเห็นสมณะประชุมเสร็จก็เดินลงมาตักอาหาร เห็นแล้วก็เกิดปีติ มีความสุข นอกจากนี้ตัวเองยังได้สลายภพ การทำอาหาร เพราะสร้างภพว่า จะทำอาหาร อย่างนั้นอย่างนี้ แต่พอไม่ได้ทำ ก็ทำใจได้อย่างนี้ เป็นการไม่เอาแต่ใจตัวก็เป็นการละชั่วโดยอัตโนมัติ...คุณบัวพระเคยทำอาหารผัดน้ำมัน มางานนี้เจอเมนู ผัดผัก ไม่ผัดน้ำมันเพื่อสุขภาพ ก็ได้สลายภพชาติชรามรณะ นี่แหละ ทางแห่งจรณะ ๑๕ ...โรงครัวปีนี้ถือว่าลงตัวอีกแบบ และรู้สึกประทับใจชาว มร.ฐ.ที่ยกทีมมาช่วยงาน เขาให้ทำงานแนวไหนก็ทำได้ ไม่ขัดแย้ง ให้ขัดเคือง ไม่ลงตัวนี่ก็ถือว่า ดีแบบอัตโนมัติ... โรงบุญฯปีนี้ก็ช่วยโรงครัวได้มาก ปีก่อนมี ๒๓ โรง ปีนี้มีถึง ๓๐ โรง บางโรงก็ปล่อยหางให้ชาวเราได้เก็บบุญกันแทบไม่ทัน ก็น่าชื่นชมนะฮะ...บางคนบอกว่างานปีนี้ดูมีปัญหานั้นนี้ แต่คุณปลูกขวัญบอก จิ้งหรีดว่า ปีนี้มีความสุขมากกับการทำงาน เป็นทีม สาธุ นี่แหละฮะมุมมอง... จิ้งหรีดถามท่านแก่นผาว่า มหาปวารณา ปีนี้มีข้อบกพร่องอะไร ท่านบอกไม่เห็น จิ้งหรีดถามสมาพร ศิษย์เก่า สส.ฐ.ที่ช่วยงาน อยู่ศาลาค้า ๑ ก็บอกว่าเห็นข้อบกพร่องเหมือนกัน จิ้งหรีดอยากรู้จึงรีบถามว่าบกพร่องอะไรรึ สมาพรพบอกว่า ตัวเองบกพร่อง ที่ไม่มีเวลาไปช่วยจุดอื่น...โอ้ สาธุ ส่วนใครเห็นปัญหาก็อย่าโยนให้คนอื่นนะฮะ โยนให้ตัวเองก่อน แล้วจะได้อบอุ่นมากขึ้น ในงานครั้ง ต่อๆไป...จี๊ดๆๆๆ ..... ยังสนุกในการทำดี...ในพรรษาที่ผ่านมาที่ปฐมอโศก จิ้งหรีดได้เห็นคุณแคทพยายามปรับปรุงตัวเองด้านคิดเร็ว ทำเร็ว ให้รู้จัก ช้าลง รู้จักการรอคอยชาวบ้านชาวเมือง คุณแคทเปิดใจกับจิ้งหรีดว่า ตอนแรกก็รู้สึกอึดอัดมากๆๆๆ ถ้าอึดอัดก็อาศัย นั่งนิ่งๆ พิจารณาช้าๆ ฝึกอยู่นานพอเหมาะก็เริ่มทำได้บ้างในบางเรื่อง ก็ปรับปรุงต่อไป แม้สุขภาพจะไม่ค่อยดี ก็พยายามดูแลตัวเอง ให้ดี ถ้าวันไหนไม่ไหวก็พัก ส่วนเรื่องงานนั้นเพียบอยู่แล้ว ตั้งแต่ได้รับเป็นผู้จัดการโรงเรียน สัมมาอาชีวฯ ก็ต้องประชุม อบรม สัมมนาข้างนอก สอนเด็ก เป็นครูประจำชั้น คุณแคท ก็บอกกับจิ้งหรีดแบบตรงไปตรงมาตามสไตล์ ว่า ก็มึนไปพักใหญ่เลย แต่ก็ไม่ต้องห่วง นะฮะ เพราะช่วงนี้คุณแคทบอกว่า เริ่มปรับตัวได้และพูดกับจิ้งหรีดว่า "สนุกดีค่ะกับการที่ได้มาอยู่ตรงนี้ สนุกกับการทำงาน สนุกกับการศึกษาจิตใจ ทั้งผู้ใหญ่และเด็กนักเรียน ทำให้เห็นและรู้อะไรมากขึ้น" จิ้งหรีดใช้ชื่อเรียก ผจก.ร.ร.สัมมาอาชีวสิกขาปฐมอโศก ว่า คุณแคทบางคนอาจไม่รู้ หรืออาจคิดว่าเป็นคนละคนกับคนที่ชื่อ น.ส.ผารุ้ง หมีน้ำเงิน จิ้งหรีดก็ขอกระซิบบอกความจริงให้นะฮะว่า เป็นคนเดียวกัน ใครอยากรู้จักมากกว่านี้ว่า เหตุใด จึงทำงาน อย่างสนุกได้ ก็ไปพบที่ที่ทำงานของเธอได้ ซึ่งอยู่ที่ห้องทำงานในศาลาช่างปฐมอโศก มีคำๆหนึ่งที่จิ้งหรีดได้ยินได้ฟังมาจากผู้รู้ว่า ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติธรรมจริง เราจะมีลักษณะ "ทำงานก็สนุก ถ้าให้หยุดก็สบาย" ไม่รู้ว่า พวกเราพอทำใจเช่นคุณผารุ้งได้บ้างหรือยังฮะ...จี๊ดๆๆๆ ..... คติธรรม-คำสอนของพ่อท่านประจำฉบับ ในงานมหาปวารณา '๔๘ นี้ พบกันใหม่ฉบับหน้านะฮะ |
||
เตรียมงาน พฟด.ปี'๔๙ ๑. เป้าหมาย และนโยบาย สำหรับ ธกส. หรือหน่วยงานอื่นที่มีความประสงค์จะร่วมงาน ขอให้แจ้งล่วงหน้าและช่วยคัดผู้มาร่วมงานให้อยู่ในเกณฑ์ ตามมาตรฐาน ของชาวอโศก ๒. องค์ความรู้ที่จัดแสดง แบ่งเป็น ๙ ทาง ๓. รูปแบบของงาน - คนเดินทาง |
||
ในอดีตที่ผ่านมา คุณยายเป็นแกนหลักของกลุ่มอุบลอโศก เมื่อหมู่บ้านชุมชน ราชธานีอโศกเริ่มก่อตั้ง คุณยายได้มาร่วม บุกเบิกสร้างบ้าน ปลูกต้นไม้ ท่านขยันทำงานและเป็นผู้ไม่หยุดอยู่ในเรื่องการศึกษา คุณยายเป็นนักเรียน กศน. รุ่นแรกของ บ้านราชฯ # ประวัติ # เจออโศก # ชุมชนบุญนิยม # มรรคผล # ทุกวันนี้ # ฝาก - หิ่งห้อยริมมูล รายงาน - |
||
'สุเมธ'
ห่วงสื่อ - ระบบศึกษา สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติจัดประชุมครั้งแรก 'ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม' เร่งสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนและยกระดับให้สังคมไทย สันติสุขยั่งยืน 'หมอเสม' ให้ยึดหลัก 'โยนิโสมนสิการ' ด้าน 'ดร.สุเมธ' ซัดระบบการศึกษา มุ่งเน้นแต่ให้เยาวชน หารายได้ ละเลยคุณธรรม เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ ศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรมจัดการประชุม "สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และตลาดนัดคุณธรรม" นัดแรก โดยมี นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ราษฎรอาวุโส เป็นประธาน นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธาน ศูนย์คุณธรรม และมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิเมืองไทยใสสะอาด ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "พลังคุณธรรม พลังแผ่นดิน" นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องพัฒนาคนและสังคม รวมทั้งจัดให้มีองค์กรที่ส่งเสริม สนับสนุน ในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรมมีชื่อว่า "ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดิน" ขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี เวลานี้ ศูนย์คุณธรรม ตระหนักว่าสังคมไทย มีคุณธรรมความดีเป็นพื้นฐาน ผู้คนจำนวนมากพยายามส่งเสริมและปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม ความดี ความงาม ถึงกระนั้น ก็ยังต้องจัด ให้มีการประชุมใหญ่ เพื่อสร้างขบวนการการมีส่วนร่วม และให้เกิด การเชื่อมโยง ระหว่างศูนย์กับประชาชน เพื่อร่วมกันทำงาน พัฒนาคุณธรรม ให้เกิดขึ้น ในทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้ง จะได้สร้าง เครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับสังคมไทย ให้เป็นสังคมสันติสุข อย่างยั่งยืน สืบไป ต่อมา นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว กล่าวว่า มีความสุขสบายใจเป็นอย่างมากที่ได้มาร่วมประชุมวันนี้ เพราะเรื่องคุณธรรม มีความสำคัญ กับมนุษยชาติ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมนุษย์นั้นมีจิตใจที่สูง ไม่จิตใจต่ำเยี่ยงสัตว์ ผู้ที่มาร่วมประชุมครั้งนี้ ต่างเป็นมนุษย์ เป็นคนที่มี คุณธรรม สำหรับคุณธรรม นั้นคือองค์ประกอบของความอยู่เย็นเป็นสุข และพัฒนาสังคม ให้มีความเข้มแข็ง ในฐานะที่ตนเป็นพุทธศาสนิกชน ขอยกตัวอย่าง หลักธรรมะ ที่ทำให้เห็นว่ามนุษย์กับสัตว์นั้น ต่างกัน อย่างสิ้นเชิง นั่นคือ หลักโยนิโสมนสิการ(พิจารณาเพื่อเข้าถึง ความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผล ไปตามลำดับ จนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะ และความสัมพันธ์แห่ง เหตุปัจจัย หรือตริตรอง ให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว : จากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์โดย พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งเป็นเครื่องปรุงแต่ง ความรู้สึกของเรา ทำให้คนเรา มีคุณธรรม ทำแต่เรื่องดี งดเรื่องไม่ดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ถ้าหากรู้จักและเข้าใจ ก็จะเข้าถึง หนทางแห่งการดับทุกข์ "ท่านทั้งหลายต้องรู้จักคุณธรรมควบคู่ไปกับศีลสมาธิปัญญา ขอให้ท่านทั้งหลายร่วมกันยืนรำลึกถึงคุณธรรม ที่ท่านทั้งหลาย ได้ร่วมกัน ทำมาเป็นเวลา ๑ นาที และขอฝาก ข้อความนี้ไว้ในใจของทุกคนที่มาร่วมงานว่า เมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ ขอให้ คุณธรรมเป็นใหญ่ ในแผ่นดิน" จากนั้นทุกคน ร่วมกันยืน เพื่อรำลึกถึงคุณธรรม เป็นเวลา ๑ นาที ต่อมา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวว่า เรื่องคุณธรรมพูดกันมาก ฟังจนเบื่อ เสมือนว่าถ้าพูดต่อไปแล้วเหมือนพูดกับกำแพง ไม่ได้รับเสียง สะท้อนกลับมาเลย "ผมคิดว่ามนุษย์นี้เป็นสัตว์ที่แปลก สติปัญญาของมนุษย์นั้นไม่ต้องถกเถียงกันอีกแล้วว่าสูงส่งแค่ไหน แต่แปลกที่มนุษย์ เอาชนะได้ หลายสิ่ง หลายประการ แต่ไม่สามารถเอาชนะธรรมได้ ประการแรกคือธรรมชาติ มนุษย์มีเทคโนโลยีอย่างสูงส่ง ทำ อะไรไปนอกโลกได้ แต่ไม่สามารถ เตือนภัยให้กับชีวิตตั้ง ๒๐๐,๐๐๐ คน ให้รอดตายจากสึนามิได้ หรือมนุษย์ลงทุนกัน อย่างมโฬาร แต่ไม่สามารถทำให้ปากีสถานรอดตาย ๓๐,๐๐๐ คนได้ แปลกสุดท้าย คือมนุษย์กลับมาเป็นสัตว์ธรรมดา อยู่ภายใต้อิทธิพล ของธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ไม่เคย ให้ความเคารพ ไม่เคยนึกถึงบุญคุณ ที่ธรรมชาติให้เลยสักนิด มนุษย์ทุกวันนี้ ทำลายล้างธรรมชาติอย่างน่าสลดใจที่สุด ทั่วโลกกำลังทำลาย ทุกสิ่งทุกอย่าง" ดร.สุเมธกล่าว ดร.สุเมธกล่าวว่า มีคนถามบวชมา ๔ ครั้งได้อะไร ตนบอกว่าได้มาตัวเดียว คือสติ คำง่ายๆเรียบๆ แต่ถ้าคุณขาดสติ ไม่มีทาง จะรักษาศีลได้ เพราะฉะนั้น ทุกนาทีมนุษย์เราจะเลวหรือไม่เลว ก็อยู่ที่สติ เหตุการณ์ชั่วร้ายในทั่วโลก หรือในแผ่นดินนี้ จะทุจริต คอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง เกี่ยวกับ ยาเสพติด การกระทำที่ผิดทั้งหมด เกิดขึ้นเพราะขาดสติใช่หรือไม่ "ในฐานะปุถุชนธรรมดาย่อมรู้อะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรเลว อะไรเป็นธรรม หรืออธรรม เป็นวิสัยของมนุษย์ธรรมดาสามัญ จะต้อง เข้าใจ ถ้าใครไม่เข้าใจตรงนี้คนนั้นเป็นอมนุษย์" ดร.สุเมธกล่าว ดร.สุเมธให้สัมภาษณ์ภายหลังการกล่าวปาฐกถาพิเศษ ว่า เรื่องการเสริมสร้าง คุณธรรมให้กับเยาวชนของเรา สื่อนั่นแหละ ที่ทำให้ มันแย่ เพราะเยาวชนรับสื่อทุกวัน เพราะฉะนั้น อยากให้สื่อช่วยพิจารณาในการนำเสนอบ้าง ปรับเปลี่ยน สร้างสรรค์ อย่าปล่อยให้ ข่าวคุณธรรม ไปอยู่ในหน้า ๓ หน้า ๔ กว่าจะเปิดหาเจอ มันยากลำบาก หน้าแรกก็เปลือยกันมาเลย ดังนั้น สื่อต้องปรับ ต่อมาคือพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องเอาใจใส่ลูกให้มาก เพราะนับวันอยู่กับเด็กน้อยมาก เด็กอยู่กับเพื่อน และหน้าจอ โทรทัศน์ ต้องปรับเปลี่ยนทั้งระบบ ตั้งแต่อนุบาล จนถึงมหาวิทยาลัย ดร.สุเมธกล่าวว่า ปัญหาคุณธรรมของเยาวชนส่วนสำคัญเกิดจากระบบการศึกษา ที่เวลานี้การศึกษาไทยมี แต่ให้ความรู้เพื่อ มุ่งไปหาเงิน แต่ไม่เคย ให้ความสนใจ ด้านคุณธรรมเท่าไหร่ สมัยก่อนยังมีบทเรียนสอนเกี่ยวกับคุณธรรม สอนให้เอื้ออารีต่อกัน แต่เดี๋ยวนี้ไม่มี สอนแต่ความรู้ อย่างเดียว เอาแบบฝรั่งตะวันตกมากเกินไป ต่างฝ่ายต่างอยู่แบบตัวใครตัวมัน ไม่มีถนอมจิตใจ ซึ่งกันและกัน "สภาวะเศรษฐกิจขณะนี้แบบนี้ทุกคนต่างไปคนละทิศคนละทาง สิ่งต่างๆ ควรให้กลับมาอยู่ในความพอดี อย่างที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้ตรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจะได้ไม่ต้องแย่งชิงกัน และสามารถทำให้อยู่กัน ตามอัตภาพ ที่ตนเองมีได้" ดร.สุเมธกล่าว. (จาก นสพ.มติชน ฉบับวันที่ ๒๙ ต.ค.๔๘) |
||
ปฏิทินงานอโศก |
||
อ่านฉบับย้อนหลัง: