"...ตอนนี้สวนผมไม่มียุงเลย ผิดกับเมื่อก่อนนี้
ยุงป่ามันมากแทบจะบินเข้ามาเปิดเข้าไปในมุ้งเองได้"
|
.....เป็นคำพูดของชายวัย 75 ปี รศ.ดร.อรรถ บุญนิธี
เกษตรกรผู้อยากจน เจ้าของสวน "บุญล้อมสวน" อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี
จากคำพูดคำนี้ เล่นเอาผู้ฟังทั้งหลาย หูผึ่งไปตามๆ กัน ว่ามันเป็นไปได้
อย่างไร ยิ่งตอนนี้ มีการรณรงค์ ในเรื่องป้องกันยุง โดยใช้งบประมาณ
จำนวน มากมาย แล้วที่สวนแห่งนี้ มีร่องสวน แล้วก็มีต้นไม้
ขึ้นหนาแน่น... ทำไมจึงไม่มียุง!!
รศ.ดร.อรรถ บุญนิธี
อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่อยู่ในวัย |
เกษียณ ยืนยันในคำพูด แล้วก็บอกต่อว่า...
ผมได้ศึกษาเรื่องจุลินทรีย์มานานแล้ว พอหลังจากที่เกษียณอายุราชการ
ก็มาอยู่สวน แล้วปลูกผัก ปลูกพืชกินเอง ก็เลยเอาวิชาที่เราได้ศึกษา
มาประกอบในการทำการเกษตร
โดยเอาจุลินทรีย์มาทำประโยชน์ (ในอากาศทั่วๆ ไป มีตัวจุลินทรีย์ลอยปะปนอยู่)
วิธีการก็คือ นำเอาเศษพืชผัก อาหาร มาหมักกับน้ำตาล ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม
ในช่วงเวลาที่พอควร ก็จะได้น้ำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายรูปแบบ
เมื่อเอาหัวเชื้อจุลินทรีย์มาผสมกับน้ำ แล้วนำไปใช้งานในการฉีดพ่นใบต้นพืช
จะทำให้ต้นพืช เจริญเติบโตได้ดี ผลผลิตดกดีมีคุณภาพ และแมลงศัตรูพืชไม่รบกวน
สาเหตุนี้ อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ในสวน "บุญล้อมสวน" ไม่มียุง
และหัวเชื้อฯนี้ ก็สามารถ นำไปใช้ได้กับพืชแทบทุกชนิด
แม้แต่ในน้ำที่มีการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ก็สามารถที่จะเอาน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์นี้ ผสมแล้วเทลงไปในบ่อเลี้ยง
ทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงไม่เน่าเสีย ป้องกันโรคระบาด
และทำให้น้ำนั้นแข็งแรง เจริญเติบโตได้ดี
เมื่อทำการทดลองได้ผลแล้ว ดร.อรรถ
ก็นำ วิทยาการนั้นมาถ่ายทอดโดยการเปิดอบรม
และก็มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมไม่น้อย จากนั้น ไม่นาน ก็มีพวกปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ออกมาขายกัน ในตลาดการเกษตร
ซึ่ง ดร.อรรถ
บอกว่าความจริงแล้วในการสกัด น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์นี้
มันเป็นเพียงฮอร์โมนอา- |
|
หารเสริมให้กับพืชเท่านั้น
ไม่ใช่อาหารหลักอย่างพวกไนโตรเจน โปแตสเซียม และฟอสฟอรัส
ซึ่งเป็นอาหารหลัก มีความจำเป็นสำหรับพืชมาก
ถ้าจะเปรียบเทียบแล้ว การให้อาหารทางใบของหัวเชื้อจุลินทรีย์ ก็เหมือนกับว่า
ให้การบำรุง ร่างกายมนุษย์ โดยทางสายยางอย่างเช่นการให้น้ำเกลือ
และการให้สารหลัก ก็ให้คนกินข้าวปลา อาหารที่เข้าทางปาก
อย่างไรก็แล้วแต่ ในการใช้น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ กับต้นพืชก็สำคัญเช่นกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม... ถ้าน้อยไปก็ไม่ดี มากไป
ต้นพืชอาจตายได้!!
ศาสตร์และความรู้นี้ รศ.ดร.อรรถ บุญนิธี
จะถ่ายทอดและอภิปรายให้กับผู้ที่สนใจฟัง ณ หอประชุมใหญ่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 8 มิถุนายน ที่จะถึงนี้
ใครสน อยากได้ความรู้นี้ จองที่นั่งได้ที่ โทร. 0-2940-5923,
0-2940-6513 ในเวลาราชการ.
ปัญญา
เจริญวงศ์