สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเมตตาและพระมหา
กรุณาธิคุณแก่พสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้
ทรงให้ความสนพระทัยในศาสตร์แขนงต่างๆ
อย่างจริงจังเพื่อนำเอาความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย
งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็เป็นอีกแขนงหนึ่งที่พระองค์ท่านให้ความสนพระทัยอย่างจริงจัง
ในปีพุทธศักราช 2533 คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ
ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์
ทูลเกล้าฯถวายรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมประจำปีพุทธศักราช 2533
กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ กายภาพและคณิตศาสตร์
แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จากผลงานวิจัยที่ทรงงานในเรื่อง
"การศึกษาความถูกต้องของแผนที่การใช้ที่ดินจากภาพ
ถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง ซึ่งจำแนกโดยคอมพิวเตอร์"
นับเป็นพระอัจฉริยภาพด้าน วิทยาศาสตร์
ที่นอกเหนือไปจากพระอัจฉริยภาพทางการศึกษา อักษรศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม
ซึ่งเป็นที่ประจักษ์และยังความปลื้มปีติแก่พสกนิกรอยู่แล้ว
การที่ทรงมีพระราชหฤทัยฝักใฝ่ในวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เหล่านี้
มิใช่เพียงแต่สนพระทัยเท่านั้น หากแต่ทรงศึกษาอย่างจริงจัง
ทั้งจาก เอกสาร ตำราวิชาการต่างๆ
รวมทั้งทรงสละเวลาเข้าศึกษาในสถาบันอุดม- ศึกษาชั้นสูงทั้งในและต่างประเทศ
โดยเมื่อปีพุทธศักราช 2527 ได้ทรงเข้า ศึกษา ณ
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ในเนื้อหาวิชา
"การศึกษา ข้อมูลระยะไกล ระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ระบบเครื่องมือบันทึกข้อมูล ระบบ เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาและคอมพิวเตอร์"
ตลอดจนทรงออกภาคสนามเพื่อรวบรวมข้อมูลภาคพื้นดินและสภาพที่แท้ จริงภาคพื้นดิน
แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธาน
และพระอัจฉริยภาพที่จะ นำความรู้
ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ในการ
|
|
พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในสถานการณ์ของการแข่งขันและในโลกของของวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
เช่นในปัจจุบันเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าทัดเทียม
นานาอารยประเทศ
ประเทศไทยจึงควรเพิ่มจำนวนการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี จากร้อยละ 14
ของผู้ที่อยู่ในวัยอุดมศึกษา เป็นร้อยละ 40 ในอนาคต
และควรเพิ่มจำนวนการผลิตบัณฑิต ทางวิทยาศาสตร์ จากปัจจุบันร้อยละ 30
เป็นร้อยละ 70 ภายใน 20 ปีข้างหน้าจึงจะสามารถ แข่งขันกับประเทศต่างๆ
ที่เร่งพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเข้มข้น
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล
และทรงเล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ และต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเห็นว่าเพื่อให้การพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีสัมฤทธิผลอย่างจริงจัง
ควรมีการเตรียมนักเรียนให้มีความรู้พื้นฐานทางด้าน
วิทยาศาสตร์ก่อนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา
จึงทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อนำร่องการปฏิรูปการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระยะที่ 1
พุทธศักราช 2542-2544 เพื่อสร้างนักเรียนให้มีพื้นฐานความ
สามารถด้านวิทยาศาสตร์ ก่อนไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
โดยในระยะแรกมีโรงเรียน เข้าร่วมโครงการนี้รวมทั้งสิ้น 5 โรงเรียน
คือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนจิตรลดา
โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
และโรงเรียนปิยะชาติ จังหวัดนครนายก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานแนวคิด และทรง
มีพระราชานุเคราะห์แก่โรงเรียนดังกล่าว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้กรรมการบริหารของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 5
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ที่ผ่านมา ซึ่ง ดร.ธงชัย ชิวปรีชา
ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ได้เล่าถึงการที่มีพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าเฝ้า ในครั้งนี้ว่า
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชปฏิสันถาร
และทรงมีพระราชานุเคราะห์พระราชทาน เครื่องคอมพิวเตอร์ Sun Ray จำนวน
20 เครื่อง พร้อม Serverให้นักเรียนไว้ใช้สืบค้นข้อมูลทาง
วิทยาศาสตร์ทรงสนพระทัยปัญหาของโรงเรียนที่ขาดแคลนอาคารเรียน
อุปกรณ์การสอนห้องปฏิบัติการเอกสารค้นคว้า และ
พระราชทานพระราชานุเคราะห์ ในการพัฒนาศักยภาพ อาจารย์โดยพระราชทาน
ทุนส่งอาจารย์จากโรงเรียนในโครงการ นี้จำนวน 5
โรงเรียนให้ไปดูงานศึกษาฝึกอบรม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
และจากการเข้าเฝ้าฯในวันดังกล่าว
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี
ยังทรงได้พระราชทานแนวคิดในการ ดำเนินงานของโรงเรียนระบบใหม่
คือมีรับสั่งว่า โรงเรียนควรหารายได้เชิงวิชาการ
จากผลการ วิจัยของบุคลากร เช่น ผลิตพันธุ์พืชใหม่ๆ
ผลิต ซอฟต์แวร์ โดยจดทะเบียนลิขสิทธิ์ของโรงเรียน
ควรมีโครงการแลก เปลี่ยนครู และนักเรียนกับ โรงเรียน
ต่างๆ ในต่างประเทศเช่น ประเทศสา-
|
ธารณรัฐประชาชนจีน โรงเรียนซื่อจง
ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการพัฒนาอาจารย์และนักเรียนให้เป็นนักวิจัย
นักประดิษฐ์
นักเรียนของโรงเรียนนี้เป็นตัวแทนของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการแข่งขัน โอลิมปิกวิชาการ
นอกจากนี้ยังทรงสนพระทัยสอบถามความคืบหน้าของการดำเนินงาน
โครงการโรงเรียนนำร่อง ทางวิทยาศาสตร์ อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้
พระองค์ยังทรงเน้นย้ำว่าการพัฒนา
โรงเรียนในแนวทางดังกล่าวจะละทิ้งวิชาการทางด้าน กีฬา ดนตรี
ศิลปวัฒนธรรมหาได้ไม่
เพราะวิชาการเหล่านี้มีส่วนขัดเกลาให้คนมีความเป็น "มนุษย์"
โดยสมบูรณ์
ความสนพระทัยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่มีต่อเรื่องอาหารและโภชนาการ
และสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้นเป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อคนทั่วไป
ทรงมีรับสั่งว่า
"ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลกแห่งหนึ่งทีเดียว
แต่ที่จะปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เรายังมีปัญหาเรื่องการขาดสารอาหาร
ปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัย และเรื่องการเจ็บป่วยต่างๆ
ซึ่งโรคเหล่านี้น่าจะมีการป้องกัน หรือเป็นแล้วมีการรักษาได้
เพียงปฏิบัติตัวให้ถูกต้องในเรื่องการกินอยู่เรื่องสุขภาพอนามัย
ได้เห็นบางคนที่ต้องหมดเนื้อหมดตัวด้วยการรักษาโรค
ที่เป็นอยู่ด้วยราคาแพงยิ่งกว่าการเสียเงินซื้ออาหารรับประทานเสียอีก
เป็นการสูญเสียสำหรับประเทศชาติ
และสำหรับตัวบุคคลนั้นไปอย่างน่าเสียดาย"
ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงแสวงหาความรู้ใหม่ๆ และวิชาการในทางลึก
โดยทรงให้ความสนพระทัยด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร
ทรงโปรดให้สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
จัดสัมมนาวิชาการพิเศษด้านอาหารและโภชนาการถวาย ติดต่อกันเป็นเวลา 10
ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 จนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากนี้
พระองค์ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาดูงานภาคสนามในจังหวัดอุบล-ราชธานี
และประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
ถึงแม้ว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี
ทรงได้แก้ปัญหาต่างๆ ไปจนลุล่วง
ระดับหนึ่ง แล้วก็ตามแต่ด้วยพระวิริยะอุตสาหะและพระเมตตา- ธิคุณที่มีต่อพสกนิกร
ประกอบกับพระปรีชาสามารถ ของพระองค์ท่านที่ทรงนำวิชาการต่างๆ
ที่ได้ทรงศึก- ษา
นำมาผสมผสานกันเพื่อช่วยให้การแก้ปัญหา ต่างๆ
สามารถสัมฤทธิผลดียิ่งขึ้น เช่น พระองค์ทรง
|
|
เล็งเห็นว่างานด้านแผนที่และสารสนเทศจะนำมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาวางแผนด้านโภชนาการได้
โดยพระองค์ทรงประยุกต์ใช้วิชาการที่ทรงศึกษา ณ
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ในเนื้อหาวิชา
"การศึกษาข้อมูลระยะไกล ระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ระบบเครื่องมือบันทึกข้อมูล ระบบเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาและคอมพิวเตอร์"
นอกจากจะทรงใช้วิชาการด้านแผนที่และสารสนเทศในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว
ยังรวมถึงงานวางแผนแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการด้วย
ดังเห็นว่ามีหัวข้อที่ทรงโปรดเกล้าฯให้สถาบันวิจัยโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดถวายในเรื่อง
"ปัญหาและการดำเนินงานทางโภชนาการในระดับต่างๆ
ความไม่มั่นคงทางอาหารและระบบแผนที่และสารสนเทศของกลุ่มเสี่ยง"
ทุกเนื้อหาวิชาที่ทรงศึกษาได้พระราชทานแนวคิดแก่นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
นำไปปฏิบัติเป็นโครงการแก้ปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
พระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
มีส่วนอย่างยิ่งที่ช่วยพัฒนาประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิต
ของประชาชนคนไทยจนเป็นที่ประจักษ์
และยังความปลื้มปีติต่อพสกนิกรชาวไทยโดยทั่วหน้า
แต่พระเมตตาธิคุณนี้มิได้มีให้แต่เพียงชาวไทยเท่านั้น
หากแต่แผ่ไพศาลไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือในงานด้านโภชนาการ
เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังที่ได้มีพระราชดำรัสว่า
"เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องสำคัญ สิทธิสำคัญคือ
เป็นคนแล้วต้องมีกิน ต้องสามารถได้กินที่มีคุณภาพ
อันนี้ก็แปลว่าจะพยายามช่วยเหลือเขา ในปัจจุบันนั้น
นอกจากประเทศไทยแล้วถ้าในต่างประเทศที่จะอาศัยความรู้ของเรา
ไปทำให้มีประโยชน์ได้ก็ยินดีจะช่วยเหลือเขา"
ด้วยพระเมตตาและพระกรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุข
ของประชาชนชาวไทยและมนุษยชาติ ในวโรกาสวันพระราชสมภพ 2 เมษายน
พ.ศ.2545 ข้าพระพุทธเจ้ามหาวิทยาลัยมหิดล ขอพระราชานุญาตถวายพระพร
ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน.
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้ามหาวิทยาลัยมหิดล