ยุงแพร่โรคโดยติดเชื้อ เมื่อไปกัดคนที่เป็นโรคไข้จับสั่นเข้าก่อน
เชื้อที่ยังเป็นตัวอ่อน
จะไปเจริญเติบโตแพร่กระ-จายอีกเป็นเรือนพันในไส้ ของมัน
แทรกซึมเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำลายของยุง แล้วมันก็เอาเชื้อไปปล่อย
เมื่อไปกัดคนอื่นต่ออีกต่อๆ ไป
นักจุลชีพวิทยา ของมหาวิทยาลัยคาส์ท เวสเติร์น รีเซิร์ฟ
แห่งสหรัฐฯ ได้เพาะพันธุ์ยุงสายพันธุ์ใหม่ ที่มียีนซึ่งควบคุมเปพไทด์
ที่เป็นสารชีวเคมีชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค โดยเจาะไชเยื่อหุ้ม
โดยไม่เป็นอันตรายกับเซลล์ปกติ
ให้ไปปิดกั้นไม่ให้ตัวเชื้อโรคไข้จับสั่นเคลื่อนจากลำไส้ยุง
เข้าไปอยู่ในต่อมน้ำลายได้
ยุงพวกนี้จะคงออกลูกออกหลานแพร่พันธุ์ได้อย่างปกติ
โดยที่ทุกตัวจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันในตัว อันจะทำให้ยุงสิ้นฤทธิ์
กลายเป็นแมลงที่เพียงแต่สร้างความรำคาญให้เท่านั้น
แทนที่จะนำโรคมาให้ด้วยอย่างปัจจุบันน
อย่างไรก็ดี นักวิจัยยอมรับว่า
ยังมีปัญหาอีกหลายประการที่จะต้องขบ อย่างเช่น
จะต้องมีการเปลี่ยนมาทดลองกับเชื้อโรคพันธุ์ที่เป็นกับมนุษย์
และทำกับยุงที่มีอยู่ในธรรมชาติ
ไม่ใช่กับยุงที่เพาะขึ้นในห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้นก็ยังไม่รู้ว่า
หากปล่อยยุงพันธุ์ใหม่ออกไปในธรรมชาติ
จะสร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อมหรือไม่.