ถ้าบอกว่า วันที่ 20 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันป่าไม้โลก"
ก็คงจะช้าไปในความรู้สึกของใครหลายคน
แต่ในความรู้สึกของคนรักษ์ป่าแล้ว
ไม่เคยมีอะไรสายเกินกว่าการปล่อยให้ป่าถูกทำลาย วันนี้ ป่าไม้
ทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า กำลังถูกบุกรุกและทำลายอย่างรวดเร็ว
จำเป็นต้องได้รับการอนุรักษ์พันธุกรรมอย่างเร่งด่วนแล้ว
ซึ่งการอนุรักษ์ จำต้องมีพื้นฐานความรู้
และความเข้าใจโครงสร้างทางพันธุกรรม
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ป่า และระบบการสืบพันธุ์ของพันธุ์
ไม้แต่ละชนิดด้วย
|
ปัจจุบัน ทรัพยากรป่าไม้ของไทย
ได้ถูกทำลายและลดลงอย่างต่อเนื่อง จากรายงานของกรมป่าไม้
ระบุไว้เมื่อปี 2541 เหลือพื้นที่ป่าเพียง 25.28%
ของเนื้อที่ป่าไม้หรือประมาณ 129,722 ตร.กม.
โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากไฟป่า การลักลอบตัดไม้
ซึ่งการเกิดไฟป่า
|
ก็มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ
การหาของป่า ล่าสัตว์ เผาไร่ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
สิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้ได้พื้นที่ป่าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมาได้
ก็คือการกระตุ้นให้ทุกคนตื่นตัวและเห็นความสำคัญ ของทรัพยากรธรรมชาติ
และการอนุรักษ์ทรัพยากรด้านป่าไม้
เหตุนี้จึงมีการศึกษาระบบนิเวศน์ชนิดพันธุ์พืชและไม้ป่า
เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่สำหรับการศึกษาทางด้านพันธุกรรม
และความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่านั้น
ยังมีการศึกษาน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาวิจัยสาขาอื่น
ความหลากหลายทางพันธุกรรม มีความสำคัญ
และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
และความหลากหลายนี้ยังหมายรวมถึงความหลากหลายของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตในพื้นที่นั้นๆด้วย
ยิ่งในบริเวณนั้นมีจำนวนชนิดและความหลากหลายของสรรพชีวิตมากเท่าใด
ก็จะมีความยั่งยืนของระบบนิเวศน์มากขึ้นเท่านั้น สิ่งเหล่านี้
ตรงกันข้ามกับแนวคิดของการปลูกป่ารูปแบบที่ใช้ไม้เพียงไม่กี่ชนิดพันธุ์กับพื้นที่ป่าทั้งผืน
ที่จะไม่เกิดประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์ของป่า
อันหมายรวมไปถึงสัตว์ป่า ภูเขา แม่น้ำ ฯลฯ
เพราะอาจเป็นการปลูกต้นไม้มากว่าการปลูกป่า !!!
การวางแปลงปลูกพืช
เพื่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ของป่าเสื่อมโทรม
ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ทางภาคเหนือของประเทศ ไทย
ภายใต้การสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาจาก
โครงการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษานโยบาย
การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) โดยการสนับสนุนของ
ศูนย์ พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ |
|
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ระบุว่าการหาพรรณไม้ที่เหมาะสม
ปลูกทดแทนไม้ที่สูญเสียไปในแต่ละพื้นที่
เป็นวิธีการฟื้นฟูสภาพป่าที่ดีกว่าการปลูกป่าแบบเก่า
ดีกว่าอย่างไรนั้น รศ.ดร.วิไลวรรณ อนุสาร-สุนทร
อาจารย์ประจำจากภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หนึ่งในคณะผู้วิจัย กล่าวว่าการปลูกป่าในลักษณะดังว่านี้
ใช้เทคนิคที่เรียกว่า frame work species ซึ่งจากการศึกษาพบว่า
สามารถฟื้นฟูความหลากหลาย ทางชีวภาพของป่าเสื่อมโทรมได้
มีการเพิ่มขึ้นของชนิดสัตว์ป่า ความ หลากหลายทางชีวภาพ
และคงไม้ดั้งเดิมไว้ได้ และ ป่าสามารถฟื้นฟูสภาพได้ด้วยตัวเอง
ถือเป็นการปลูกไม้ภายใต้วงจรธรรมชาติที่ยั่งยืนกว่าการปลูกแบบเดิม
คณะผู้ศึกษา ไม่ได้หยุดอยู่เท่านี้
เตรียมติดตามตรวจสอบระยะเวลาการฟื้นตัว
ของความหลากหลายทางชีวภาพในแปลงฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศ
ไทยอีกด้วย ส่วนผลจะออกมาเป็นเช่นไรนั้น
ทีมงานจะติดตามนำมาเสนอกันต่อไป อย่างไรก็ตาม การจะให้
ก้าวไปสู่จุดหมายได้นั้น
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของระบบธรรมชาติ
จะต้องมีส่วนในการรับรู้และตัดสินใจในการใช้อย่างยั่งยืนด้วย
ดวงแก้ว
ผุงเพิ่มตระกูล